ปกิณณกธรรม ตอนที่ 640


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๔๐

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๕


    ท่านอาจารย์ เพราะขณะนี้ เป็นธรรมโดยฟัง แน่นอน ใช่ไหม แต่ว่าเป็นธรรมจริงๆ ในขณะที่กำลังเห็น กำลังคิด กำลังมีนิวรณ์เกิดขึ้นหรือเปล่า แม้แต่ว่าถ้าขณะนี้มีนิวรณ์จริงๆ เกิด มีใครรู้บ้างไหม กำลังเรียนเรื่องนิวรณ์ แท้ๆ ดอกไม้บนโต๊ะนี้ก็สวย ใช่ไหม กามฉันทะนิวรณ์ เกิดก็ไม่รู้ พอมาเรียน ก็รู้จักชื่อ แต่ตอนกำลังชอบ ไม่รู้ว่าขณะนั้นก็คือ กามฉันทะนิวรณ์

    เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรม ให้ทราบว่า มีสิ่งที่มีจริงๆ เป็นธรรม เราสามารถที่จะเข้าใจว่าเป็นธรรมยิ่งขึ้น นั่นคือประโยชน์ของการศึกษา

    สำหรับกามฉันทะนิวรณ์ก็ทราบแล้ว ว่าได้แก่ความติดข้องซึ่งก็เป็นลักษณะของโลภเจตสิก พยาบาทนิวรณ์ มีจริงๆ หรือเปล่า หรือมีแต่ชื่อ มีจริง เวลาที่เกิดโกรธ รู้ไหมว่าขณะนั้น กั้นกุศลตั้งหลายอย่าง ไม่อภัย แล้วก็ยังจะโกรธต่อไปอีก อาจจะบางคนโกรธมากขึ้นไปอีก ถึงกับคิดที่จะเบียดเบียน ประทุษร้าย บางคนก็มีคนเตือนว่า พูดอย่างนี้ไม่เหมาะ คนอื่นฟังแล้วเขาจะไม่สบายใจ ก็กลับหาเหตุผลว่าต้องพูดอย่างนี้ ไม่พูดอย่างนี้ไม่ได้ หรืออะไรอย่างนี้ นี่ก็แสดงให้เห็นว่า พยาปาทะก็เป็นลักษณะของอกุศล ซึ่งเป็นความขุ่นเคืองใจ แล้วก็ความขุ่นเคืองใจมีต่างระดับ ตั้งแต่ระดับที่เล็กน้อยที่สุด จนกระทั่งถึงของความผูกโกรธ คือไม่ลืมไปง่ายๆ คือธรรมที่เกิดแล้วดับ ความโกรธเกิดขึ้นแล้วก็ดับ แต่ว่าเรื่องราวยังจำไว้ จนกว่าจะเห็นว่า สัญญาความจำมีประโยชน์อะไร ในเมื่อเพียงจำ ในเมื่อสิ่งนั้น ไม่มี สิ่งนั้นในขณะนี้ไม่มีแล้ว ขณะที่ทุกคนกำลังนั่งอยู่เดี๋ยวนี้ ทุกสิ่งกำลังมี แล้วไม่มี มีแล้วไม่มี ไม่มีแล้วทุกอย่าง แต่สัญญาจำสิ่งที่ไม่มีว่า ยังคงมีอยู่ ก็ลองคิดดู เมื่อไรจะถึงระดับของปัญญา ที่สามารถจะเห็นความไม่มีสาระของสัญญาว่าจำทำไม ในสิ่งที่ไม่มีแล้ว เพราะฉะนั้น ก็ทุกอย่างที่ทรงแสดงไว้ ๔๕ พรรษา เป็นความจริง ไม่ว่าจะพูดถึงเรื่องนิวรณ์ก็โยงไปถึงเรื่องเรื่องอื่น คือเป็นเรื่องธรรมที่เป็นจริงทั้งนั้นเลย แล้วแต่ว่าเราจะไตร่ตรอง แล้วก็เข้าใจสิ่งที่เราได้ยินได้ฟัง มากน้อยแค่ไหน อย่างท่านพระอานนท์ ท่านได้ยินธรรมข้อเดียว ท่านแทงตลอดกี่บท ๖ หมื่น คิดดู ปัญญาแค่ไหน ของเราก็ จากนิวรณ์ ก็ไปถึงอะไรนิดๆ หน่อยๆ ถึงสัญญาถึงอะไร แต่ของท่านพระอานนท์ ๖ หมื่น ไม่อย่างนั้นจะไม่มีพระไตรปิฎก ทั้งพระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งท่านเป็นผู้วิสัชชนา โดยท่านพระมหากัสสปะ เป็นผู้ถาม

    เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่การอบรมปัญญา มีได้ตั้งแต่ค่อยๆ เกิด ค่อยๆ รู้ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริงยิ่งขึ้นจนกระทั่งวันหนึ่งก็สามารถที่จะประจักษ์แจ้ง ลักษณะของสภาพธรรมตรงตามที่ได้เรียน ไม่ผิดเลย ถ้าผิดก็คือว่า คำของพระผู้มีพระภาค ต้องเป็น ๒ พูดแล้วอย่าง ๑ เป็นอีกอย่าง ๑ แต่นี้ไม่มีเลย เพราะการตรัสรู้ทำให้รู้ ความจริงของสภาพธรรม ซึ่งไม่มีใครสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ อย่างพูดถึงเรื่อง พยาปาท ทำไม พูด อกุศลทั้งนั้น คนก็ไม่ชอบฟัง บางคนก็บอกว่า ชอบฟังเรื่องกุศล ไม่ชอบฟังเรื่อง อกุศล ผู้ที่ไม่ชอบฟังเรื่อง อกุศล ละ อกุศลหรือยัง ถ้ายังไม่ได้ละอกุศล แต่ไม่ชอบฟังเรื่องอกุศล แล้วเมื่อไรจะรู้ว่ามีอกุศล ที่จะต้องละ นี่ก็เป็นเรื่องที่จะเห็นประโยชน์ของพระธรรมทั้งหมด ที่ทรงแสดงโดยนัยต่างๆ ก็ ๒ ข้อนี้ก็ชัดเจน ใช่ไหม กามฉันทะก็กั้น พยาปาทก็กั้น ถีนมิทธะ ตอนนี้ใครกั้น บ้างหรือเปล่าก็ไม่ทราบ ยังไม่เช้านัก ใช่ไหม อาจจะกั้นตอนอื่น เป็นเรื่องจริง พอเราจะนึกถึงนิวรณ์ ๕ ขณะหนึ่งขณะใด รู้ได้เลยว่า มี ขณะนี้ที่พอใจ จะเป็นข้าวของบนโต๊ะ หรือที่ ๑ ที่ใดก็ตาม กามฉันทะแล้ว ขุ่นเคืองนิดหนึ่งก็ พยาปาทแล้ว แล้วจะหนีไปไหน ถ้าไม่รู้ตามความเป็นจริง ก็เกิดง่วงขึ้นมาหรือเบื่อ หรืออะไรสักอย่าง ถีนมิทธะแล้ว ตัวจริงของธรรมทั้งหมด ซึ่งไม่มีใครเห็น

    ถ้าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ทรงตรัสรู้ ไม่ทรงแสดง แม้มีก็ไม่มีใครเห็นนอกจากไม่เห็น หรือเห็นบ้าง ยังไม่เห็นโทษอีก ใช่ไหม ก็เป็นระดับหลายชั้น มากของปัญญา กว่าที่จะรู้จริง ข้อสำคัญที่สุด ก็คือว่าเป็นความรู้จริง ซึ่งค่อยๆ เกิดขึ้น ค่อยๆ อบรม ค่อยๆ เจริญขึ้น ทุกคนรับรอง ใช่ไหม ยังมีถีนมิทธะ ใครไม่มี ไม่ใช่ว่าตรงนี้ เดี๋ยวนี้ แต่ใครไม่มี ถีนมิทธะ

    ผู้ฟัง พระอรหันต์

    ท่านอาจารย์ นี่คือต้องทราบตามความเป็นจริง ไม่อย่างนั้น บางคนอาจจะไปเพียรผิด ถ้าอยาก ถ้าอยากเป็นอะไร

    ถ.เป็นอกุศล

    ท่านอาจารย์ ต้องมีปัญญา ธรรมทั้งหมดจะรู้ได้ด้วยปัญญา ไม่ใช่รู้ได้ด้วยโลภะ เราอยากจะรู้แต่ง่วง แต่ขณะนั้นปัญญาไม่เกิด ก็รู้ไม่ได้ เพราะว่าสภาพที่รู้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่โลภะ แต่เป็นปัญญา ต้องมีความเห็นที่ถูกต้องจริงๆ เรื่องของการที่จะเข้าใจธรรมให้ตรง เรื่องของการที่จะรู้แล้วละ ไม่ใช่เรื่องของเราด้วยความต้องการที่สามารถจะกระทำได้ แต่พระธรรมทั้งหมด เพื่อให้มีความเห็นถูก ว่าไม่มีเรา

    ผู้ฟัง เราจะทำได้อย่างไร

    ท่านอาจารย์ เป็นเราแยก หรือว่าเป็นความรู้ที่รู้ถูกตามความเป็นจริงของสภาพธรรม ในขณะนั้น เวลานี้บางคนอาจจะสงสัย ถีนะเป็นอย่างไร มิทธะเป็นอย่างไร พอเจอชื่อก็เริ่มคิดสงสัยต่างๆ นานา แต่เวลาถีนมิทธะเกิด ไม่รู้ แต่พยายามไปรู้ ตอนที่ ถีนมิทธะไม่เกิด แล้วมีทางที่จะรู้ไหม ว่าลักษณะนั้นๆ ชื่อเรียกว่าอย่างนี้ แต่สภาพนั้นจริงๆ คือเป็นอย่างนี้แหละ ก็รู้โดยการฟังก่อน ว่าชื่อนี้ทรงมุ่งหมายถึงสภาพธรรมอะไร เพื่อให้รู้ว่าสภาพธรรมนั้นมีจริง แล้วก็มีชื่อต่างๆ กัน เพราะเหตุว่า ลักษณะของสภาพธรรมนั้นต่างกัน นิวรณ์ที่ ๕ เมื่อกี้ตอบหรือยัง ใครไม่มีถีนมิทธะ ตอบแล้ว ได้แก่ ถีนมิทธเจตสิก คือต้องทราบด้วย ว่าปรมัตถที่มีจริง ปรมัตถธรรมใดเป็นอะไร เช่นพวกนี้เป็นเจตสิกทั้งหมดได้กี่เจตสิก จากนิวรณ์ นี้

    ผู้ฟัง ๘ เจตสิก

    ท่านอาจารย์ ได้ ๘ เจตสิกแล้ว ๕๒ ก็ไม่ยากเลย เป็นอกุศลเจตสิก หรือว่าเป็นเจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง

    ผู้ฟัง เป็นอกุศลเจตสิก

    ท่านอาจารย์ เป็นอกุศลเจตสิก ถ้ารู้แล้วก็ตามๆ ไปได้ถึงหลายตอน ไม่ใช่สัพพจิตสาธารณเจตสิก ไม่ใช่อัญญสมานาเจตสิกแต่เป็น อกุศลเจตสิก ๘ อกุศลเจตสิกทั้งหมด มี ๑๔ เหลืออีกเท่าไร แค่ ๖ ไม่ยากเลย

    ผู้ฟัง กรรม ซึ่งเป็นโลภะ อันนี้หมาย นับถึงทั้งแถวของโลภะ นับเจตสิกทั้งหมด ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้ไม่ได้แยกเลย ว่าเป็นไปในภพภูมิ หรือเป็นไปในอะไร ถ้าไม่แยกรวมทั้งหมด แต่ที่ใดที่แยกก็ต้องจำกัดลงไปว่า เป็นไปในเรื่องของกาม รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือว่าเป็นไปในภพ หรือในรูปภพ อรูปภพ

    ผู้ฟัง เมื่อกี้นี้ท่านอาจารย์ถามว่า ถีนมิทธะ ใครละได้ บอกว่าพระอรหันต์ ทีนี้ ง่วงนอน พระอหันต์ ก็แปลว่าไม่เคยง่วง หรืออย่างไร จึงละได้ นี้คือคำถาม

    ท่านอาจารย์ ถ้าจะกล่าวอีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์มีสติไหม หรือหลงลืมสติ ขณะที่สติเกิด เป็นจิตประเภทไหน

    ผู้ฟัง โสภณเจตสิก

    ท่านอาจารย์ สำหรับ พระอรหันต์

    ผู้ฟัง สำหรับพระอรหันต์ คือ กิริยา

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เป็นอกุศลไม่ได้

    ถ.ขอบพระคุณ อันนี้คือคำตอบ

    ท่านอาจารย์ นิวรณ์ที่ ๔ อุทธัจจะ กุกกุจจะนิวรณ์ เคยเกิดแน่นอน ใช่ไหม ไม่มีใครที่ไม่เกิด เพราะว่าอย่างอุทธัจจะ ลักษณะของ อุทธัจจเจตสิก ลำพังอุทธัจจะ จะเห็นง่าย หรือเห็นยาก

    ถ.เห็นยาก

    ท่านอาจารย์ เวลาที่จิตไม่เป็นโลภะ ไม่เป็นโทสะ ไม่มีวิจิกิจฉา ความสงสัย ขณะนั้นจะรู้ลักษณะของอุทธัจจะ พอสมควรที่จะรู้ได้ แต่ยาก เพราะเหตุว่าปกติ อุทธัจจเจตสิกเกิดกับอกุศลจิตทุกประเภท ไม่เว้นเลย อุทธัจจะ เกิดกับโลภะ เกิดกับโทสะ แล้วก็เกิดกับโมหมูลจิต ที่เป็นวิจิกิจฉาสัมปยุตตด้วย

    เพราะเหตุว่า ถ้าไม่มีอุทธัจจะเป็นอกุศลไม่ได้ แต่เพราะเหตุว่า อกุศลจิตทุกดวงหรือทุกประเภท จะต้องมี อกุศลสาธารณะ ๔ ดวง อกุศลสาธารณเจตสิก ๔ ดวง คือ โมหะ ได้แก่ อวิชชานั่นเอง หรือว่าโมหเจตสิก อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ บางคนพอได้ยินชื่อเจตสิกก็อยากจะรู้จักหน้าตาทันที พยายามที่จะให้อธิบาย ว่าเมื่อไร ลักษณะเป็นอย่างไร แต่ว่าความจริงแล้ว ลักษณะของเจตสิกที่เกิดรวมกัน พร้อมกันในจิตแต่ละขณะมาก ถ้าลักษณะนั้นๆ ไม่ปรากฏ จะรู้ได้ไหม อย่างหิริ ขณะนี้มี มี มีหรือเปล่า หิริ ขณะใดที่กุศลจิตเกิด เราไม่ใช่เป็นเราที่จะไปรู้ว่าเป็นเรา มีความละอายที่จะไม่รู้ธรรม จึงได้มาศึกษา นั่นเป็นเราคิด แต่ทันทีที่กุศลจิตเกิด ต้องมีหิริเจตสิก เกิดพร้อมกับโอตตัปปเจตสิก ซึ่งจะต้องมีโสภณสาธารณะเจตสิก ๑๙ ดวงเกิดร่วมกัน โดยที่ว่าเพียง ๑ ขณะจิตจะสั้น จะเล็กน้อยสักแค่ไหนขณะนี้ก็เกิน ๑ ขณะไปอยู่เรื่อยๆ แต่ว่ามีเจตสิกที่เกิดกับจิตนั้นๆ ตามที่ได้ทรงแสดงไว้ จากการตรัสรู้ ซึ่งถ้าสภาพธรรมใดไม่ปรากฏ อยากไปถามสักเท่าไรก็ ไม่มีทางที่จะรู้ลักษณะจริงๆ ได้แต่แนวความคิดเป็นชื่อ แล้วจากคำอธิบายต่างๆ ว่าเจตสิกนั้นๆ มีลักษณะอย่างไร มีกิจการงานอย่างไร มีการปรากฏ และมีเหตุใกล้ ที่จะให้เกิดขึ้นอย่างไร แต่ตัวเจตสิกจริงๆ ซึ่งเกิดรวมกัน หลายๆ เจตสิก ถ้าลักษณะของเจตสิกใดไม่ปรากฏ ไม่มีทางที่จะรู้ลักษณะของเจตสิกนั้นเลย

    นี่ก็เป็นเรื่องที่ให้เห็นว่า แต่ละเจตสิก นี่ก็รู้ยาก แม้แต่โลภเจตสิกก็ไม่ง่ายที่จะรู้ ทันทีที่ชอบหรือติดข้อง เร็วแสนเร็ว ขณะนั้นต่างกับขณะที่เห็น ขณะที่เห็น ไม่มี อหิริกะ อโนตตัปปะ เกิดร่วมด้วยเลย แต่ขณะที่เป็นโลภมูลจิตเกิด มีอหิริกะ อโนตตัปปะเกิดร่วมด้วยแล้ว

    เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมให้ทราบ ศึกษาพระปัญญาคุณที่ทรงพระมหากรุณาแสดง พระธรรม ๔๕ พรรษา ละเอียด ลึกซึ้ง สุขุม โดยประการทั้งปวง แต่ว่าผู้ที่จะเริ่มเข้าใจพระธรรม ก็ต้องมีความรู้ว่า พระธรรม คืออะไร มีจริง สามารถที่จะรู้ได้ เข้าใจได้ โดยประการใด คือ ๑ โดยการฟัง โดยการไตร่ตรอง โดยการรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้น ที่ละเล็กทีละน้อย จนกว่าสามารถจะประจักษ์แจ้งได้จริงๆ

    เพราะฉะนั้น ลักษณะของเจตสิกทั้งหมด ก็ยาก สำหรับอุทธัจจะ เมื่อเกิดรวมกับ อกุศลจิตทั้งหมด ลักษณะของโลภะปรากฏ ลักษณะของอุทธัจจะปรากฏ ไหม ลักษณะของโลภะปรากฏ เวลาที่เป็น โลภมูลจิต ลักษณะของอุทธัจจะปรากฏไหม

    ผู้ฟัง ไม่ปรากฏ

    ท่านอาจารย์ ไม่ปรากฏ เวลาที่โทสะเกิดขึ้น ลักษณะของโทสะปรากฏไหม ลักษณะของอุทธัจจะปรากฏไหม ไม่ปรากฏ

    เพราะฉะนั้น ก็ไม่ใช่เป็นผู้ที่เลือก อยากจะรู้เจตสิกนั้น อยากจะรู้เจตสิกนี้ แต่เป็นผู้ที่ศึกษาธรรมด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องว่า เป็นการศึกษาเพื่อละความไม่รู้ แล้วความไม่รู้ของเรา มีมากสักแค่ไหน ใช่ไหม เมื่อฟังครั้งหนึ่งก็รู้นิดหนึ่ง ฟังอีกก็รู้อีกหน่อยหนึ่ง ค่อยๆ รู้ ไปเรื่อยๆ แต่ทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า มีสิ่งที่เราไม่รู้ มากมาย จากพระธรรมที่เรากำลังศึกษา แม้แต่เพียงสูตรเดียว ก็ยังเป็นเรื่องของสภาพธรรม ที่ทรงพระมหากรุณาแสดงไว้ เพื่อให้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ยิ่งขึ้นคือ ละ ด้วยความรู้ โดยการที่ค่อยๆ ละความไม่รู้จากการฟัง จากการพิจารณาจนกระทั่งถึงอบรมเจริญปัญญาที่ประจักษ์แจ้งได้จริงๆ

    กุกกุจจะ ก็กล่าวไปถึงแล้ว ใช่ไหม ถ้ามีทำอย่างไรดี บางคนก็ ห่วงกังวลเหลือเกิน ทั้งวัน มีแต่เรื่อง ทำอะไรไปแล้ว พูดอะไรไปแล้ว เราคิดอะไรไปแล้ว ทางฝ่ายอกุศล ที่ไม่ดี ทางฝ่ายกุศล บางคนก็ยังคิดแถมต่อไปอีก นั่นก็ยังไม่ได้ทำ นี่ก็ยังไม่ได้ทำ กุศลทั้งหลาย กุศลโน้น กุศลนี้ ก็ยังไม่ได้ทำ ก็ทำไมไม่ทำ ใช่ไหม จะได้ไม่ต้องมานั่งกังวลใจ แต่ว่าสภาพธรรมทั้งหลาย ก็แสดงให้เห็น ความจริงของแต่ละคนที่สะสมมา ที่จะเป็นแต่ละคนจริงๆ จะไปรู้คนอื่น รู้ได้ไหม เขากำลังกังวลใจ หรือว่ากำลังมี กุกกุจจะ รำคาญใจ รู้คนอื่นไม่ได้ แต่สำหรับเราเอง ปัญญาทำให้เราเห็นว่า อกุศลทุกประเภทไม่ควรที่จะเจริญขึ้น แต่ปัญญาเท่านั้น จึงสามารถที่จะรู้ได้ว่า ไม่มีประโยชน์ ถ้าจะคิดถึงสิ่งที่ได้ทำไปแล้ว แต่ประโยชน์ คือ ทำสิ่งที่เป็นกุศลทันที ถ้าทำยังไม่ได้อีกก็ กุกกุจจะอีก ใช่ไหม ยังไม่ได้ทำสักที ว่าจะทำก็ยังไม่ได้ทำ ก็เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ

    เพราะฉะนั้น การฟังก็คือ ไม่ใช่เป็นการเร่งรัดด้วยความเป็นตัวตน ว่าให้ไปทำกุศล อย่าทำอกุศล แต่ปัญญาที่ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ เข้าใจก็จะเปลี่ยนเป็นการสะสมใหม่ ที่จะเป็นสังขารขันธ์ไม่มีความเป็นเรา ที่จะไปทำได้ แต่รู้ว่าอาศัยความเข้าใจ ที่เกิดขึ้น จนถึงกาล ที่สภาพธรรมใดเกิดปรากฏ ก็มีความรู้ในลักษณะของสภาพธรรมนั้นว่า เพราะมีปัจจัย ไม่ใช่เพราะเราอยากให้เกิดอกุศล ไม่มีใครอยากให้เกิดเลย แต่ทันทีที่เกิดรู้เลยว่า เพราะมีปัจจัย ก็จะทำให้เป็นผู้ที่คลายความเป็นเรา เพราะว่ากว่าจะละคลายความเป็นเรา ไม่เร็ว เพราะเหตุว่าเราสะสมความยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรามานานมาก แต่ว่าเวลาที่กุศลจิตเกิด ก็สามารถที่จะรู้ได้ เวลาที่อกุศลจิตเกิด ก็สามารถจะรู้ได้ ตามสติระดับขั้นต่างๆ ขั้นระลึกได้ด้วยความเป็นเรา ยังไม่ใช่การรู้ลักษณะของสภาพธรรมก็มี แต่ขณะที่ระลึกได้ ขณะนั้น เป็นสติ เป็นฝ่ายกุศล

    ผู้ฟัง อุทธัจจะ เขาเกิดกับอกุศลจิตทุกดวง มีความพิเศษอย่างไร สำหรับ กุกกุจจะ ซึ่งแสดงอุทธัจจะ ร่วมด้วย

    ท่านอาจารย์ กุกกุจจะ เป็นสภาพธรรม ที่มีจริง เวลาเกิดขึ้นขณะนั้น เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล

    ผู้ฟัง อกุศล

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็เป็นนิวรณ์ คือแสดงเรื่อง นิวรณธรรม ซึ่งเป็นธรรม เครื่องกั้น หรือว่าขัดขวางกุศล

    ผู้ฟัง อันอื่นที่เป็น อกุศล ท่านจะไม่มีเพิ่ม อุทธัจจ แต่โดยเฉพาะกุกกุจจะ อุทธัจจะ เข้ามาร่วมด้วย อันนี้มีความสำคัญอย่างไร ที่จะต้องแสดง เจตสิกทั้ง ๒ ตัวร่วมด้วยในอันนี้

    ท่านอาจารย์ มีความสำคัญเพราะว่า กุกกุจจะเริ่มจะเผยตัว ไม่เคยรู้มาก่อนไม่เคยคิดมาก่อนเลย ว่าฟุ้งซ่านอย่างนี้ ลักษณะอย่างนี้ แต่ว่าประกอบด้วยอะไร ถ้าประกอบด้วยโลภะ ไม่เห็นแน่นอน ถ้าประกอบด้วย กุกกุจจะ ก็ยังเห็น ลักษณะของความคิดต่างๆ

    ถ.อยากจะเรียนสิ่งที่กำลังปรากฏ ก็คือ กุกกุจจะนี้แหละ อย่างกำลังปรากฏ บังเอิญผมนั่งอยู่ ติดประตูพอดี เข้าออกบ่อย มันก็กุกกุจจะ นิดหน่อย นี่คือสิ่งที่กำลังปรากฏ

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวก่อน คุณสุกิจ ทำอะไร ไม่ทำอะไร ที่จะเป็นกุกกุจจะ

    ผู้ฟัง มันนิดหน่อย ผมก็กำลังมองหา

    ท่านอาจารย์ เป็นความขุ่นใจ พยาปาทนิวรณ์ หรือว่า อุทธัจจะ กุกกุจจะนิวรณ์ ต้องแยกกัน

    ผู้ฟัง กุกกุจจะนิวรณ์

    ท่านอาจารย์ กุกกุจจะ คือรำคาญใจ ไม่สบายใจในสิ่งที่ได้ทำไปแล้ว

    ผู้ฟัง ที่ได้ทำไปแล้ว

    ท่านอาจารย์ ในความไม่ดี ที่เราได้ทำไปแล้ว เราก็คิด แล้วเราก็ไม่สบายใจ

    ผู้ฟัง อันนี้ไม่ได้ทำ เพียงแต่

    ท่านอาจารย์ ก็ต้องเป็น พยาปาทนิวรณ์

    ผู้ฟัง เป็นพยาปาท อย่างนั้นผมเข้าใจผิด

    ท่านอาจารย์ ขุ่นใจ ถ้า อุทธัจจะ กุกกุจจะ ก็คือมีความรำคาญใจ ในอกุศลที่ได้ทำแล้ว และในกุศล ที่ยังไม่ได้ทำ ควรจะทำแต่ก็ไม่ได้ทำ พอคิดได้ รำคาญใจไหม เราควรจะทำ แต่เราไม่ได้ทำ แต่ก็ถูกต้องที่ว่าเกิดกับ โทสมูลจิต จะไม่เกิดกับโลภมูลจิต เพียงแต่ว่าขณะนั้น เป็นโทสมูลจิต แต่ไม่มีกุกกุจจะนิวรณ์

    ถ.ทีนี้ อุทธัจจะ กับกุกกุจจะ นี้ไม่เกิดร่วมกัน ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เกิดร่วมกัน เพราะอุทธัจจะ ต้องเกิดกับอกุศลจิตทุกประเภท แต่ว่าลักษณะของอุทธัจจะ ไม่ปรากฏเวลาเกิดกับ โลภะ หรือ โทสะ อุทธัจจะ เป็นอกุศลสาธารณะต้องเกิดกับ อกุศลจิตทุกชนิด อุทธัจจเจตสิก

    ถ.อุทธัจจะกับกุกกุจจะ จะเกิดนิวรณ์ธรรม อันนี้จะเกิดร่วมกันเสมอ หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่า อุทธัจจะ ต้องเกิดกับ อกุศลจิตทุกประเภท เวลาที่กุกกุจจะ เกิด ก็ต้องมี อุทธัจจะ เวลาโลภะเกิดก็ต้องมี อุทธัจจะ เวลาโทสะเกิดก็ต้องมี อุทธัจจะ

    ผู้ฟัง ขอบพระคุณ

    ท่านอาจารย์ ขณะใดที่อกุศลเกิด อกุศลเจตสิกทั้งหลาย และอกุศลจิตต้องมีอุทธัจจเจตสิกเกิดร่วมด้วย ข้อ ๕ เป็น วิจิกิจฉานิวรณ์ ความสงสัย เชิญคุณประเชิญ สงสัยอะไรบ้าง วิจิกิจฉา

    ถ.ความสงสัยใน เรื่องของสภาพธรรม ถึงจะเป็นวิจิกิจฉา แต่ว่าถ้าสงสัยว่า อาหารนี้ ชื่ออะไร หรือว่าทางนี้จะไปทางไหน อย่างนี้ไม่เป็น ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เป็นชื่อที่เรียก เท่านั้นเอง แต่ไม่ใช่เป็นวิจิกิจฉาเจตสิก เพราะเหตุว่าลักษณะของวิจิกิจฉา ถ้าพูดถึงว่าเป็นลักษณะที่สงสัยไม่แน่ใจ ก็มีเป็นประจำวันได้ ใช่ไหม พอเห็นสิ่งที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน เราก็สงสัยว่า นี่อะไร หรือว่าเรียกอะไร หรือไปที่ไหนก็ได้ ใช่ไหม เราก็เอ๊ะ ที่นี่อะไร เขาเรียกอะไร ถนนหนทางที่เมืองไทย ที่กรุงเทพนี้แหละ รู้จักชื่อกันหมดไหม นั่นเป็นเรื่องชื่อ แต่ไม่ใช่เป็นเรื่องสภาพธรรม เพราะฉะนั้น ก็ไม่ใช่วิจิกิจฉาเจตสิก แล้วขณะนั้นเป็นอะไร ถ้าไม่ใช่วิจิกิจฉาเจตสิก ขณะนั้นเป็นอะไร วิธีคิดก็คือค่อยๆ ไล่ไป เป็นกุศลจิตหรือเปล่า ไม่เป็นแน่ ต้องเป็นอกุศลจิต ๑ ใน ๑๒ ใช่ไหม แล้วแต่จะเกิดกับอะไร เกิดกับโลภะ ความอยากรู้ก็ได้ ใช่ไหม ตราบใดที่ยังมีความต้องการที่จะ รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร แต่สำหรับพระอรหันต์แม้ท่านไม่มีแล้ว ไม่มีอกุศลใดๆ เลย แต่ท่านก็ไม่รู้ชื่อได้ แต่ท่านจะไม่มีลักษณะที่เป็นความสงสัย เป็นแต่ เพียงที่ท่านไม่รู้จักชื่อ เท่านั้น

    ถ.การสงสัยทั่วๆ ไป เป็น ปฏิรูปกะ

    ท่านอาจารย์ ถ้าเราเข้าใจความหมาย นี้ แต่ไม่รู้คำว่า ปฏิรูปกะ ได้ ใช่ไหม แต่พอได้ยินแล้วมีคำอธิบาย เราก็รู้ได้ว่า หมายความถึงสภาพธรรม ขณะไหน อย่างไร

    ผู้ฟัง ตกลงสงสัยนี้ มันมีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ สงสัย ด้วยโลภะโทสะ มันก็ไม่ใช่ วิจิกิจฉา แต่ถ้าเผื่อสงสัยความจริงของสภาพธรรม หรือเกี่ยวกับสภาพธรรม หรือธรรมนี้ อันนี้จึงจะเป็นวิจิกิจฉา ใช่ไหม นี้คือความต่างกัน อันนี้ถูกหรือเปล่าไม่ทราบ

    ท่านอาจารย์ แล้วก็ในขณะนั้น สงสัยอยากจะรู้ชื่อ คือว่า สงสัยลักษณะที่กำลังปรากฏ

    ถ.อันนี้อีกอันหนึ่ง อันนี้ละเอียดอ่อนมาก ถ้าสงสัยอยากจะรู้ชื่อ กับสงสัยอยากจะรู้สภาพธรรม

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่สงสัยอยาก สงสัยในลักษณะที่กำลังปรากฏ อย่างขณะนี้ นามธรรมหรือรูปธรรม

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 103
    25 มี.ค. 2567