ปกิณณกธรรม ตอนที่ 659


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๕๙

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๖


    ท่านอาจารย์ แต่ถ้าขณะใดที่สติปัฏฐานเกิด ขณะนั้นก็รู้ว่าเพราะอะไร เพราะมีปัจจัยที่สติปัฏฐานจะเกิด ในขณะนั้นเท่านั้น ไม่มีเรา เพราะฉะนั้น กว่าจะสละ ความเป็นเราออกโดยรอบ โดยทั่วจากสภาพธรรม ที่ปรากฏจริงๆ ก็จะต้องเป็นจิรกาลภาวนา เพราะฉะนั้น เมื่อเป็นจิรกาลภาวนา ทำไมไม่เริ่ม

    เพราะฉะนั้น การที่เราจะสงบหรือไม่สงบ ก็ตามเหตุ ตามปัจจัย ไม่ใช่เราอยากสงบก่อน แล้วก็สติปัฏฐานจะเกิดทีหลัง แต่ว่ารู้แม้แต่ว่าจิตจะสงบ หรือไม่สงบ ก็เพราะเหตุปัจจัย แล้วถ้าเรามีการสะสมมาจนถึงการฟังพระธรรมระดับนี้ มีความเข้าใจสติปัฏฐาน เรายังคิดว่าจะมีเหตุปัจจัยที่จะทำให้เราล่วงศีลหรือทำทุจริตที่ร้ายแรง หรือเปล่า ในเมื่อเราสามารถที่จะเริ่มเข้าใจว่าเป็นนามธรรม เป็นรูปธรรม แล้วทุกอย่างที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ก็จะเป็นปัจจัยให้เห็นความละเอียดของกิเลส ที่ได้สะสมมา ตามความเป็นจริงในขณะนั้น ก่อนที่จะถึงการล่วงทุจริต ซึ่งผู้ที่สติสัมปชัญญะไม่เกิด ก็จะมีการล่วงทุจริตแน่นอน เพราะเหตุว่าไม่รู้แม้แต่ขณะที่เป็นอกุศลที่เกิดขึ้น ยังไม่ถึงขั้นทุจริต ก็ย้อนไปถึงครั้งอดีต ในครั้งพุทธกาล ผู้ที่รู้แจ้งอริยสัจจธรรม โดยที่ไม่ได้สงบถึงขั้นฌาน มีมากหรือมีน้อยกว่าผู้ที่ถึงขั้นฌานจิต

    ผู้ฟัง มีมากกว่า

    ท่านอาจารย์ มีมากกว่าเพราะอะไร อยู่ในยุคสมัย ที่เป็นกาลสมบัติ ได้ฟังพระธรรมจากพระโอษฐ์ได้ทรงแสดงพระธรรมโดยละเอียด แต่บุคคลต่างๆ เหล่านั้นก็ ยังเป็นผู้ที่มีปกติ อบรมเจริญสติปัฏฐาน แล้วก็สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม โดยไม่ถึงความสงบขั้นฌาน

    ผู้ฟัง เพราะมันยาก ถ้าจะได้ทั้ง ๒ อย่างมันยากมาก

    ท่านอาจารย์ แล้วบุคคลสมัยนี้เล่า

    ผู้ฟัง ก็ควรที่จะเป็นอย่างใด อย่างหนึ่ง ใช่ไหม โดยเฉพาะเรื่องของวิปัสสนา

    ท่านอาจารย์ เราต้องทราบแน่ ว่าทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เรามีกุศลจิตไหม มี เรามีอกุศลจิตไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ บันดาลให้เกิดอย่างหนึ่งอย่างใดได้ไหม ไม่ได้เลย แต่การฟังจะทำให้รู้ว่า กุศลที่จะสามารถรู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริงได้ ก็ต่อเมื่อสติสัมปชัญญะเกิด อันนี้แน่นอนแต่บังคับไม่ได้ ใช่ไหม เพราะฉะนั้น เมื่อ บังคับไม่ได้ ก็แล้วแต่อะไร จะเกิด เพราะรู้จริงๆ ว่าไม่มีใครบันดาลได้ ถ้ารู้จริงๆ จะหยุดทำไหม หรือหยุดคิดจะทำอะไรหรือเปล่า เพราะว่าขณะนี้เห็นมี จะทำอะไร ถ้าไม่ค่อยๆ เข้าใจลักษณะของเห็น ที่กำลังมีจริงๆ ให้เข้าใจถูกต้อง ได้ยินก็มีขณะนี้ แล้วถ้าไม่มีการที่จะเข้าใจลักษณะของได้ยิน จะไปทำอะไร ที่จะทำก็ต้องไม่รู้ลักษณะของได้ยินที่กำลังได้ยินอยู่ ในขณะนี้ ก็ไม่มีการที่จะอบรม การเข้าใจถูกเห็นถูกในลักษณะของได้ยินที่กำลังปรากฏ เพราะว่าเป็นเรื่องยาก จึงต้องฟัง แล้วก็มีความมั่นคง ส่วนความสงบของจิต จะเกิดระดับไหน แล้วแต่เหตุปัจจัย ไม่ต้องห่วงเลย ทุกอย่างในชีวิต จะเกิดไม่ได้ ถ้า ไม่มีเหตุปัจจัยที่จะเกิด

    ผู้ฟัง การที่จะพิจารณาต่างๆ ที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึง ในเรื่องของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตรงนี้เหมือนกับว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง หรือว่าไม่เห็นผล ถ้าจะศึกษา และเข้าใจตรงนี้ เหมือนกับว่าไม่ค่อยรู้อะไรเลย แต่ทีนี้ถ้าไปพิจารณา เช่นเรื่องอาการ ๓๒ เป็นต้น ตามที่ท่านแสดงทั้งความเป็นปฏิกูล โดยสี โดยสัณฐาน แล้วพิจารณาไปก็เห็นจริงอย่างนั้น รู้สึกสงบ เหมือนจะได้ผล ดูจะก้าวหน้า

    ท่านอาจารย์ แล้วผลนั้นทำให้ออกจากสังสารวัฏฏ์ หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ถ้าเป็นสมถะก็ไม่ออก

    ท่านอาจารย์ ก็สงบ ว่าได้ตั้งมากมาย ได้ความสงบ ได้อะไรตั้งหลายอย่าง ที่ได้ ทำให้ออกจากสังสารวัฏฏ์หรือปล่า

    ผู้ฟัง ไม่ ท่านอาจารย์ คือให้เข้าใจในสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ โดยความเป็นอนัตตาจริงๆ โดยไม่ต้องไปห่วงในส่วนอื่นๆ ที่ดูเหมือนกับจะเป็นประโยชน์ แต่จริงๆ แล้วมันเป็นเครื่องล่อ อย่างนั้นจะใช่ไหรือไม่

    ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วการที่ ใครจะคิดถึงความไม่งาม ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยที่จะคิดอย่างนั้น คงคิดไม่ได้ ใช่ไหม เพราะฉะนั้น การที่เราจะเพียงคิดถึงความไม่งาม กับการที่จะรู้ว่า ลักษณะที่ไม่งาม ก็คือลักษณะที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตานั่นต่างหากที่เป็นความไม่งามอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้น ถ้าเราเพียงแต่ จะมีความทรงจำแล้วก็การคิดเรื่อง ความไม่งาม แล้วเมื่อไร คำถามก็คือว่าเมื่อไร สติสัมปชัญญะ จะเริ่มเกิด ระลึกลักษณะของสภาพธรรม

    ผู้ฟัง ก็ไม่ทราบ

    ท่านอาจารย์ เราก็คิดแต่ว่า ผม ขน เล็บฟัน หนัง ไม่งามไปเรื่อยๆ วันนี้ก็คิด พรุ่งนี้ก็คิด วันต่อไปก็คิด แล้วเมื่อไร สติสัมปชัญญะ จะระลึกลักษณะของสภาพธรรม แต่ถ้าเรามีความเข้าใจถูก ว่าผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ขณะนี้เกิดแล้วดับ แล้วก็การที่เราจะมีความรู้สึกต่อ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ที่เป็นโลภะ หรือโทสะ ก็เป็นสิ่งที่มีจริง ไม่ใช่ไม่จริง แล้วก็เคยยึดถือความรู้สึกนั้นๆ ว่าเป็นเรา เมื่อไรจะไม่ยึดถือสภาพที่คิดนั้นว่าเป็นเรา

    นี่เราก็จะค่อยๆ สะสมอบรมปัญญา ที่สามารถที่จะเข้าใจถูก ว่าหนทางที่จะดับกิเลส มี ไม่ใช่หนทาง เพียงระงับกิเลสเท่านั้น ที่มี แม้แต่หนทางที่ดับกิเลสเป็นสมุจเฉท ก็มี แล้วถ้าหนทางที่ ดับกิเลส มี แล้วค่อยๆ อบรม ทุกอย่างที่สะสมมาจะเกิดขึ้นปรากฏให้รู้ความเป็นปัจจัย ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่มีปรากฏ ถ้าไม่มีปัจจัยก็เกิดไม่ได้เลย ปรากฏไม่ได้เลย ตามความเป็นจริง นี้จึงจะเป็นเรื่องละ มิฉะนั้นก็เป็นเรื่องติด เรื่องเอา เรื่องต้องการ เพราะว่า ขณะที่ถามนี้ก็คือต้องการสงบ ถ้าเกิดขึ้นก็มีปัจจัยที่จะเกิดพิจารณาอย่างนั้นไม่ดีกว่าหรือ จะได้ไม่ติด สำคัญอยู่ตรงจุดนี้ ถ้าเกิด ขณะนั้นก็เกิดเพราะมีปัจจัย ที่จะพิจารณา ตามที่ทรงแสดง เพราะฉะนั้น พระธรรมที่ทรงแสดง ๔๕ พรรษา แล้วแต่อัธยาศัยของใคร ที่ฟังแล้ว สังขารขันธ์จะปรุ่งแต่ง ให้มีความสงบระดับไหน ที่จะให้คิดอย่างไร ที่จะให้กระทำอย่างไร แต่ทั้งหมดต้องอบรมเจริญสติปัฏฐานด้วย และการอบรมเจริญสติปัฏฐาน ไม่ใช่สามารถจะบังคับให้สติปัฏฐานเกิด หลังจากที่สงบแล้ว

    ผู้ฟัง อาจารย์ก็คือให้อบรม ในที่นี้ก็คือ อบรมสติปัฏฐาน

    ส.ถูกต้อง เพราะว่าถ้าชาติไหนที่ไม่มีคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีโอกาสที่จะสะสม การอบรมเจริญสติปัฏฐาน ก็อย่างมากก็คือสะสม เรื่องของความสงบ

    ผู้ฟัง ก็ตั้งแต่ขั้นการศึกษา การเข้าใจ ก็ต้องให้เข้าใจจริงๆ จากตรงนี้

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง

    ผู้ฟัง ฟังดูแล้วเหมือนกับว่า ถ้าเราไม่ได้เข้าใจเรื่องการอบรมเจริญสติปัฏฐานแล้ว ทุกอย่างที่ศึกษามามันจะไม่มีประโยชน์เลย ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เราก็ไม่เข้าใจธรรม แล้วก็ไม่มีทางที่จะรู้ว่า ไม่ใช่เรา เพราะเหตุว่าจริงๆ แล้ว ในการที่จะมีสติปัฏฐานสูตร ๔ คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็เพื่อที่จะละ วิปลาส ๔ ซึ่งการที่จะละ วิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ในสิ่งที่ไม่ใช่สุขว่าสุข ในสิ่งซึ่งไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน ในสิ่งที่ไม่งามว่าไม่งาม ซึ่งลักษณะ ๓ ก็มีไตรลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ว่าสำหรับการที่เราติดมาก ในความงามไม่ว่าใครทั้งนั้นก็ต้องมี สุภวิปลาสด้วย ที่จะต้องละ ซึ่งพระอนาคามีบุคคล เป็นผู้ที่ละได้ พระโสดาบันยังไม่สามารถที่จะละ สุภวิปลาส มีใครละแล้วบ้าง เป็นไปไม่ได้เลย ไม่ใช่ฐานะ ต้องตามความเป็นจริง พระโสดาบันสามารถ ที่จะละวิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง เพราะเหตุว่าได้ ประจักษ์ความไม่เที่ยง ละวิปลาสในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน ว่าเป็นตัวตนได้ เพราะเหตุ ว่าพระโสดาบันได้ประจักษ์สภาพธรรม ที่ไม่ใช่ตัวตน ตามความเป็นจริง แต่ก็ยังมีวิปลาส ที่เหลือ คือ สุขวิปลาส กับสุภวิปลาส ซึ่งสุภวิปลาส นี่ จะได้ด้วยพระอนาคามี แล้วสุขวิปลาสก็ละได้ด้วยพระอรหันต์ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่ต้องเจริญปัญญา ที่สามารถที่จะรู้ ลักษณะของไตรลักษณ์ จึงสามารถที่จะดับกิเลสได้

    เพราะฉะนั้น การรู้ลักษณะของไตรลักษณ์ ตั้งแต่เริ่ม อบรมเจริญปัญญา โดยที่สติสัมปชัญญะเกิด แล้วก็รู้ลักษณะของสภาพธรรม จนกระทั่งประจักษ์การเกิดดับ ลักษณะที่เกิดดับ งามไหม มีใครคิดว่าลักษณะที่เกิดดับงามบางไหม ที่เคยเป็นความงามทั้งหลาย ทั้งหมด แต่ก็ประจักษ์ลักษณะที่เกิด และดับไป จึงสามารถที่จะถึงความเป็นพระอนาคามี ที่จะดับความยินดี พอใจ ในรูปในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ได้เป็นสมุจเฉท ไม่เกิดอีกเลย เพราะว่าเพียงแต่ว่าจะมี ความคิดในเรื่องความไม่งาม เพียงขั้นคิด ก็จะทำให้ขณะที่คิดก็ไม่ยินดี แต่ว่ามีใครจะคิดอย่างนั้นได้ จนกระทั่งสามารถจะดับความยินดี ในความงามของสภาพธรรมได้ เป็นไม่ได้เลย ใช่ไหม เพราะเหตุว่า เป็นเรื่องของอนุสัยกิเลส ซึ่งเป็นกิเลสที่ละเอียด เพราะเหตุว่าซึมติดอยู่กับจิต อย่างเวลานี้ก็ขอ

    ยกตัวอย่างซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ถ้าเราจะไปล้างมือ แล้วก็ฟอกสบู่ มือใครสะอาดบ้างตอนนี้ ออกจากบ้ามาแล้วนี่ ก็แล้วแต่ ว่า สิ่งที่ออกมาจะดำ จะสกปรก มากน้อยเพียงใด นี่แค่ตอนเช้า แต่ถ้าเป็น ตอนค่ำจะเพิ่มขึ้นอีกไหม แค่ ๑ วัน สิ่งที่เห็นเป็นรูปธรรม ยังเกาะติดอยู่ที่มือ โดยที่เรามองไม่เห็นเลย นี่คือรูป แต่สภาพของนามธรรมนี่ ไม่ใช่สิ่งที่ใครสามารถที่จะเห็นได้ แต่กิเลสอกุศล ความไม่งาม ความที่เป็นสภาพธรรม ที่เป็นอกุศล เมื่อเกิดกับจิต จะมากสักแค่ไหน ๗ เท่า ๗ เท่า ทุกวาระที่มีการเห็นการได้ยิน จะซึมแล้วก็ติด เข้าไปในเนื้อของจิต เป็นอนุสัยซึ่งจะดับได้ด้วยโลกุตตรมรรค เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่า เป็นเรื่องของแม้สภาพธรรมทั้งหมด ที่เกิด แล้วก็มีไตรลักษณะ ไม่งาม ซึ่งเราก็ได้มีการค้นคว้า แล้วก็ได้ตรวจสอบ หลักฐานกับภาษาบาลี

    วิทยากร. ในเล่ม ๗๗ หน้า ๕๕๗ อธิบาย คำว่า ไม่งาม ว่าเพราะยังมีกิเลส คือเศร้าหมอง และ สังกิเลส แสดงว่ายังมีกิเลส ความไม่งามของเขา นามธรรมเขาจะไม่เปรอะเปื้อนหมือนอย่างรูปธรรมหลอก อาการ ๓๒ ของเขาไม่งามโดยสังขาร โดยเส้นผม ขน เล็บ ฟัน หนัง พวกนี้เขาจะไม่งามเหมือนอย่างที่เราเห็นกันว่าเป็นปฏิกูล สกปรกแบบนั้น แต่นามธรรมไม่งามเพราะยังมีกิเลสอยู่ มันจะต่างกันตรงนี้

    แต่อย่างไรก็แล้วแต่ ผมก็เห็นด้วยในข้อที่ว่า ถึงจะเป็นอสุภะอย่างไรก็แล้วแต่ ต้องมีไตรลักษณ์ มิฉะนั้นแล้ว อุทยัพพยญาณ จะเกิดมาแล้วไม่เห็นไตรลักษณ์ได้อย่างไร อุทยัพพยญาณเกิดแล้วก็ต้อง เห็นไตรลักษณ์ เพราะฉะนั้น ความเป็นไตรลักษณ์ต้องมีมาในที่สุด ที่จริงเวทนาเป็นทุกข์ จิตไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายก็เป็นอนัตตา แต่สัตว์ทั้งหลายผู้เข้าใจผิด มีความเห็นคลาดเคลื่อนในธรรมทั้งหลาย มีเวทนาเป็นต้น เหล่านั้นว่า เป็นสุข เป็นของเที่ยง เป็นอัตตา เขาจะพูดเฉพาะ ๓ อย่างนี้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เขาจะพูดเฉพาะ ๓ อย่างนี้เลย ถ้าเป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน เขาจะพูดเรื่องเป็นสุข เที่ยง เป็นอัตตา พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรื่องสติปัฏฐาน ๓ ที่เหลือ ก็คือ ๓ อย่างที่ผมว่า ไว้ก็เพื่อที่จะให้สัตว์เหล่านั้น ละ วิปลาสนั้น โดยการแสดงถึงความทุกข์เป็นต้น ก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ข้อความตรงนี้มันทำให้น่าคิด

    ท่านอาจารย์ แต่ที่นี้ถ้าเราทราบว่า เป็นลักษณะ ไตรลักษณ์ ที่เป็นอสุภะ แล้วอย่างกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ลมหายใจก็มี เพราะฉะนั้น ที่เป็นอสุภะของ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    วิทยากร. ตรงนี้ นะ ตรงข้อความเหล่านี้ ถ้าสมมติพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังอยู่เราก็คงจะต้อง ไปถามว่า มันอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ดิฉันคิดว่าเราไปเพ่งเล็งเฉพาะเรื่องปฏิกูลมนสิการ แต่กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ไม่ใช่เฉพาะปฏิกูลมนสิการ มิฉะนั้นข้อความนี้ก็จะขัดกับข้อความที่ว่าลักษณะที่เป็นไตรลักษณ์นั่นเอง เป็นอสุภะ

    วิทยากร. แต่แม้กระนั้นเขาก็พูดถึงว่า ถ้าสุภวิปลาส เขาพูดเรื่องกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน แล้วถ้าสติปัฏฐาน ๓ ที่เหลือเขาจะพูดถึงอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าส่วนใหญ่ อะไรงามที่คนเห็น จิตงามใครมองเห็นบ้าง หรือจิตไม่งามใครมองเห็นบ้าง แต่รูปที่ไม่งามเป็นปฏิกูลพอจะเห็น

    เพราะฉะนั้น ก็ทรงแสดงเรื่องนี้ ก็สรุปว่าทั้งนามธรรม และรูปธรรม เป็นอสุภะ มีใครเห็นว่า อวิชชาไม่งามมาบ้างตั้งแต่เช้า อวิชชาทั้งนั้นเลย ขณะใดที่กุศลจิตไม่เกิด ความไม่งามของอวิชชา เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่ว่าต้องเป็นเรื่องของปัญญา ที่สามารถที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม แล้วเห็นแม้แต่ความไม่งามด้วย มิฉะนั้นเราก็จะคิดถึงแต่เพียง รูปเท่านั้นที่ไม่งาม

    มีคำถามมาว่า เมื่อพระโสดาบัน ไม่ถือว่าสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ไม่ถือว่าสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน เพราะว่ามีความเห็นรู้แจ้งอริยสัจจธรรมแล้ว ทำไมถึงยังคงเห็น สิ่งที่ไม่งาม ว่างาม และเห็นสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข เพราะเหตุว่าดูเหมือนกับว่า เมื่อได้เห็นอริยสัจ ที่เป็นอนิจจัง และอนัตตาแล้ว ก็ควรที่จะเห็น ความไม่งาม และความเป็นทุกข์ด้วย

    วันหนึ่งๆ เราพอใจในอะไรมาก ในความงามหรือเปล่า ตั้งแต่ตื่นเป็นผู้ที่พอใจในความงามหรือเปล่า เพราะฉะนั้น วันหนึ่งๆ เราติดข้อง ในตัวตน ด้วยตัณหา ด้วยความพอใจอย่างยิ่ง แล้วโดยเฉพาะก็ในเรื่องของความงามด้วย

    เพราะฉะนั้น ถ้าคิดถึงการสะสม ที่สะสมมาทุกขณะ วาระของชวนะที่เป็นโลภะที่ติดข้องในความงาม วันนี้ เท่าไร เฉพาะวันเดียว ถอยกลับไปอีกเท่าไร ซึ่งความติดข้องมีด้วยตัณหา ด้วยมานะ ด้วยทิฏฐิ ตัณหา เห็นชัดเลย ใช่ไหม ในความงามในความเป็นเราต่างๆ แต่ว่าด้วยมานะ เห็นบ้างไหม ละเอียดกว่าตัณหา ใช่ไหม ทั้งๆ ที่เราแต่งตัวสวยงามมีเสื้อผ้า มีอะไร เราก็พอใจในความงามของเสื้อผ้า เครื่องใช้อะไรทุกอย่างในบ้าน มีมานะด้วยหรือเปล่า ในสิ่งต่างๆ เหล่านั้น มีมากไหม เรามีรถอะไรบ้าง เรามีเสื้อผ้าอะไรบ้าง เรามีอะไรบ้าง ทุกอย่างแม้แต่บ้านช่อง ก็อาจจะมีคนเปรียบเทียบ บ้านนี้กับบ้านนั้น บ้านไหนสวย สนามหญ้า บ้านนี้กับบ้านนั้น ดอกไม้บ้านนั้นกับบ้านนั้น

    วันหนึ่งๆ ความเป็นเราด้วยตัณหามากมายมหาศาล ที่มองเห็น หรือว่ามองไม่เห็น เพราะเหตุว่าไม่รู้ตัว ก็ได้ คิดว่าวันหนึ่งๆ เราก็ไม่ได้มีอกุศลอะไร แล้วก็ยังมีความเป็นเราด้วย ความสำคัญตน ตามสิ่งต่างๆ ที่มี แม้แต่ความรู้ หรือว่ายศถาบรรดาศักดิ์ ลาภยศต่างๆ แล้วก็ความเห็นเรามีมากน้อยแค่ไหน ในวันหนึ่งๆ

    เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า โลภะ หรือความติดข้อง ที่เป็นไปด้วยความเห็นผิด จะน้อยกว่าอย่างอื่น ตั้งแต่เช้าลืมตาขึ้นมาทุกวัน เพราะฉะนั้น เมื่อพระโสดาบันบุคคลท่านดับความเห็นผิดเป็นสมุจเฉท ไม่มีปัจจัยที่จะเกิดอีกเลย

    แต่พระโสดาบัน หรือว่าผู้ที่อบรมเจริญปัญญาทุกท่านรู้จักตัวเองตามความเป็นจริง ถ้าไปบังคับไว้ ไม่มีทางที่จะดับกิเลสได้เลย เพราะว่าขณะนั้นเราเต็มที่ แต่เรามองไม่เห็นเลย เพราะฉะนั้น ความเป็นทาสของโลภะ เราไม่รู้สึกตัวเลย ว่าเราเป็นทาสในเรื่องไหนบ้าง แม้แต่ในเรื่องความคิด ที่ต้องการจะอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม ที่มีความต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใด แม้ในขณะที่สติสัมปชัญญะเกิดระลึก ลักษณะของสภาพธรรมเพียงเล็กน้อย ต่อจากนั้นถ้าไม่เป็นผู้ที่ละเอียด และไม่เป็นผู้ที่ไว ก็ไม่สามารถที่จะเห็นว่า หลังจากนั้นแล้วเป็นอะไร ก็อกุศลมีเหตุปัจจัยมากมายให้โอกาสของสติสัมปชัญญะ ที่จะระลึกลักษณะของสภาพธรรมนิดหน่อย ต่อจากนั้นก็มีปัจจัยที่จะเกิด

    เพราะฉะนั้น แม้ว่าพระโสดาบัน ท่านจะรู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริง ท่านเห็น ความติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ตามความเป็นจริงว่ายังมีอยู่ เพราะฉะนั้น ท่านรู้ว่าท่านไม่ใช่พระอนาคามี แล้วก็ไม่ใช่พระสกทาคามีด้วย ท่านเพียงแต่ไม่เห็นผิดในสภาพธรรม ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน แล้วก็สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม จนกระทั่งดับกิเลส คือ ความสงสัย ความไม่รู้ในอริยสัจ แล้วก็ความเห็นผิดต่างๆ ไม่เกิดอีกเลย

    ผู้ฟัง ถ้าจะพูดถึงความงามคืออะไร สิ่งที่เราบอกงาม เป็นอย่างไร ถึงเรียกว่าไม่งาม

    ท่านอาจารย์ ที่บ้านคุณวิจิตรมีดอกไม้ไหม งามหรือเปล่า ก็เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องพิจารณา จนกระทั่งเป็นปัญญาของตนเอง การศึกษาพระธรรม พระธรรมครบถ้วน แต่ว่าผู้ที่ศึกษา ผู้ที่ฟัง จะได้ปัญญาจากการศึกษา และการฟังต่อเมื่อเป็นการพิจารณา แล้วก็เป็นความเข้าใจของตัวเอง แต่ถ้ายังไม่เป็นความเข้าใจของเรา เราก็เพียงสรรเสริญ ว่าพระธรรมประเสริฐสุด ละเอียดจากการตรัสรู้ เป็นความจริงทุกประการ เราก็เพียงสรรเสริญอย่างนี้ จนกว่าเราจะสามารถค่อยๆ เข้าใจความจริงจากพระธรรม แล้วก็เป็นปัญญาของเราเองเมื่อไร ก็จะรู้ได้ว่าที่เราสรรเสริญ ขณะที่ยังไม่รู้ความจริงเลย กับขณะที่มีความเข้าใจเพิ่มขึ้น ก็มีความต่างกัน

    ถ้ารู้ว่าสภาพธรรม ขณะนี้ ที่มีจริงๆ เพียงเพื่อสติระลึก ค่อยๆ เข้าใจแต่ละคำ แล้วพิจารณา ขณะนี้มีสภาพธรรมที่มีจริงๆ ไม่ต้องเรียกว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง หรือว่าลมหายใจ หรือว่าอะไรๆ ทั้งหมด แต่ว่าสิ่งที่กำลังมีจริงๆ ในขณะนี้ สติอาศัยระลึก หมายความว่าสติปัฏฐาน ก็เป็นระดับของความเข้าใจ ในเรื่องลักษณะของสภาพธรรม ที่ไม่ใช่ตัวตน ถ้าไม่มีความเข้าใจขั้นต้นอย่างนี้ สติปัฏฐานก็เกิดไม่ได้ วันนี้เราก็พูดเรื่องเห็นเรื่องได้ยิน ซึ่งเป็นสภาพธรรม โลภะ โทสะ อะไรก็ตามแต่ก็เป็นชื่อ แต่ว่าขณะนี้ลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ มีไหม ต้องมี ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ก็เพียงอาศัยระลึก คือสติเกิดแล้วก็ระลึกลักษณะของสภาพธรรมนั้น ทำไมจึงกล่าวว่าเพียงอาศัยระลึก เพราะเหตุว่าสภาพธรรมเกิดแล้วดับเร็วมาก แล้วก็ไม่ค่อยจะมีการระลึกลักษณะของสภาพธรรมเลย แม้ว่าจะได้ยินได้ฟังมานานสักเท่าไรก็ตาม จนกว่าจะมีเหตุปัจจัยที่ทำให้สติปัฏฐาน อาศัยสิ่งที่มี ที่กำลังปรากฏระลึก เพื่อจะได้มีความเห็นที่ถูกต้องในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ถ้าเข้าใจแค่นี้ก่อน จะมีปัญหาไหม อะไรๆ ทั้งหมดที่มีจริงๆ ขณะนี้แล้วไม่เคยรู้ และอวิชชามากมายสักแค่ไหนในวันหนึ่ง เศร้าหมอง แล้วก็ไม่งามมานักหนาเลย สะสมมาตั้งแต่ เช้า

    แต่ว่าสิ่งที่เป็นจริงในขณะนี้ ก็เกิดดับเร็วมาก เพราะฉะนั้น เป็นเพียงสติ อาศัยระลึก เพื่อที่จะได้มีความเห็นถูก มีความเข้าใจถูก ในสิ่งที่ปรากฏ ถ้าเข้าใจอย่างนี้แล้ว ทรงแสดงแยกสิ่งต่างๆ ที่มีโดยสภาพธรรมนั้นๆ เช่น การที่เคย ยึดถือกาย มีใครบ้าง ที่ไม่เคยยึดถือกาย

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 103
    25 มี.ค. 2567