ปกิณณกธรรม ตอนที่ 631


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๓๑

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๕


    ท่านอาจารย์ ขณะไหนที่วิรัติทุจริต แต่ขณะนั้น ไม่ใช่ขณะที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีลักษณะจริงๆ ขณะนั้นก็เป็นเพียงสติขั้นศีล ไม่ใช่สติสัมปชัญญะ เพราะฉะนั้น สติสัมปชัญญะจะมี ในการอบรมเจริญสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา เพราะว่าต้องประกอบด้วยปัญญา ที่สามารถจะรู้สภาพธรรม แต่ถ้าโดยนัยของสมถะ สามารถที่จะรู้ความต่างของกุศลจิต และอกุศลจิต เพราะว่าถ้าเป็นอกุศล ไม่สงบ สมถะ คือความสงบของจิต ซึ่งจะต้องเป็นกุศล ที่เกิดบ่อยๆ ๆ จนกระทั่งความสงบ ค่อยๆ เพิ่มขึ้น จนถึงระดับถึงขั้นอุปจารสมาธิ และ อัปปนาสมาธินั้นเป็นเรื่องของสมถะ

    ผู้ฟัง แม้กระนั้นก็ยังไม่ถือว่าเป็นอินทริยสังวร เพราะว่าไม่เป็นไปเพื่อรู้แจ้งสภาพธรรมที่ปรากฏ

    ท่านอาจารย์ ขณะนั้นรู้ลักษณะของจิตหรือเปล่า

    ผู้ฟัง รู้ลักษณะของจิตที่เป็นกุศล และอกุศล แต่ว่าไม่ได้รู้ว่าลักษณะนั้น ไม่ใช่เรา

    ท่านอาจารย์ แต่ไม่ใช่สติปัฏฐาน เป็นสติสัมปชัญญะ แต่ไม่ใช่สติปัฏฐาน

    ผู้ฟัง แล้วไม่ใช่อินทริยสังวรด้วย

    ท่านอาจารย์ อินทรียสังวร ขณะนั้นทางตา ไม่มีที่จะระลึก ถ้าขณะนั้นไม่ใช่ความสงบของจิตเพิ่มขึ้น ทางใจมีไหน

    ผู้ฟัง ใจ ใจสงบแต่ว่า สงบถึงขั้นที่จะรู้ ว่าสภาพธรรม ไม่ใช่ เรา ไม่มี

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น สังวรได้ หลุดพ้นได้ แต่ไม่ใช่ด้วยปัญญาที่ละการยึดถือสภาพธรรม ว่าเป็นตัวตน ถ้าศึกษาต่อไปก็จะรู้ระดับของกุศลเพิ่มขึ้น ตามขั้น แม้แต่คำว่า หลุดพ้น ก็ใช้ในฌานได้ แต่ต่างกับการหลุดพ้นของปัญญาที่เป็นโลกุตตระ

    ผู้ฟัง หลุดพ้นชั่วครั้ง ชั่วคราว

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ก็เป็นวิกขัมภนะ เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น แต่ละคำจะมีความหมาย ที่จะต้องศึกษาเฉพาะเรื่องนั้นเรื่องนี้ แต่ว่าถ้าเป็นเรื่องของสภาพธรรม แล้วขณะนั้นเป็นปัญญาที่สามารถจะรู้ ลักษณะของสภาพธรรมนั้นจะค่อยๆ เข้าใจขึ้น สำหรับอินทริยสังวร ที่ไม่ใช่สติปัฏฐาน มีไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จะทำให้สติปัฏฐานบริบูรณ์ได้ไหม อินทริยสังวรที่ไม่ใช่สติปัฏฐาน

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ จะทำให้สติปัฏฐานบริบูรณ์ไม่ได้ แต่เวลาที่พูดถึง กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ในที่นี้มุ่งหมายถึงสติปัฏฐาน หรือเปล่า

    ผู้ฟัง มุ่งหมายเอาสติปัฏฐานอย่างเดียว

    ท่านอาจารย์ ใช่ เพราะเหตุว่า ถ้าเพียงแต่ปาฏิโมกขสังวรศีล ทางกาย ทางวาจา โดยที่สติปัฏฐานไม่เกิด ก็ไม่สามารถจะทำให้ถึงโพชฌงค์ถึงวิชชา และวิมุตติได้ถูกต้องไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เวลาที่สติปัฏฐานเกิด ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นอินทริยสังวร ที่ทำให้สุจริตทั้ง ๓ สมบูรณ์ เพราะขณะใดก็ตาม ที่สติปัฏฐานเกิด ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ขณะนั้น มโนสุจริต กายสุจริต วจีสุจริต แต่คูณด้วย ๖ ทวารก็ได้ หรือไม่ต้องคูณก็ได้ นี้ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า เริ่มที่จะต้องมีเพราะสติปัฏฐาน ทำให้ค่อยๆ บริบูรณ์ขึ้น โพชฌงค์ ก็เช่นเดียวกัน คือต้องค่อยๆ บริบูรณ์ขึ้น ไม่ได้หมายความว่าสติปัฏฐาน จะไม่ทำให้โพชฌงค์บริบูรณ์ แต่โพชฌงค์จะบริบูรณ์ทันที โดยที่ว่าไม่มีการอบรมเจริญสติปัฏฐาน หรือสุจริตทั้ง ๓ เพิ่มขึ้นไม่ได้ เพราะฉะนั้น ในขณะที่สติปัฏฐานเกิด สุจริต ๓ มี เพราะเหตุว่าเป็นสติปัฏฐาน เพราะฉะนั้น ก็จะทำให้มีสติปัฏฐานค่อยๆ บริบูรณ์ขึ้น เมื่อสติปัฏฐานค่อยๆ บริบูรณ์ขึ้น ก็จะทำให้โพชฌงค์บริบูรณ์ขึ้น ก็ต้องเป็นเรื่องของสติปัฏฐานเท่านั้น

    ขณะหนึ่งที่สติปัฏฐานเกิด กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ว่าจะเป็นทางกายที่เคลื่อนไหว ถ้าสติปัฏฐาน เกิด หรือทางวาจาที่พูด หรือทางใจ แม้ในขณะที่ไม่ได้เคลื่อนไหว เพราะฉะนั้น สุจริตนั้นเอง ที่มีสติปัฏฐาน ขณะนั้นก็จะทำให้สติปัฏฐาน ของเรามั่นคงขึ้นด้วย เพราะว่าต้องเป็นสติปัฏฐาน ที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง แต่แสดงถึงสุจริต ๓ จะมีได้เมื่อเป็นสติปัฏฐาน ขณะนี้ยังไม่มี ใช่ไหม กำลังมีหรือเปล่า หรือกำลังอบรม เพื่อที่จะถึง เพราะว่าทุกอย่างต้องเจริญขึ้นตามลำดับ ไม่ใช่ว่ามีเพียงเล็กน้อย นิดหน่อยก็สามารถที่จะไปรู้แจ้งอริยสัจได้

    สำหรับโพชฌงค์ ก็คือองค์ของสภาพธรรม ที่ทำให้มีการตรัสรู้ อริยสัจ ๔ จะปราศจากโพชฌงค์ ๗ นี้ไม่ได้เลย ต้องเริ่มจากสติปัฏฐาน ถ้าสติปัฏฐานไม่เคยเกิดเลย จะเป็นสติสัมโพชฌงค์ คือ สตินั้นจะเป็นองค์ที่ประกอบ ที่จะทำให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมไม่ได้ ขณะที่สติปัฏฐานเกิดรู้ลักษณะของสภาพธรรม ที่ต่างกันเป็นนามธรรมกับเป็นรูปธรรม ๒ อย่างนี้ต่างกัน ใช่ไหม หรือว่านามธรรมกับรูปธรรม เป็นสภาพธรรมอย่างเดียวกัน

    ผู้ฟัง คนละอย่าง

    ท่านอาจารย์ อย่างเสียงกับได้ยิน ถ้าไม่มีสภาพที่รู้ หรือธาตุรู้ ในเสียงที่ปรากฏ เสียงนั้นจะปรากฏไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น เสียงที่ปรากฏได้เพราะมีธาตุรู้ หรือสภาพรู้ ซึ่งเป็นจิตที่ได้ยินในขณะนั้น ขณะที่สติระลึกลักษณะของสภาพธรรม จะเห็นลักษณะที่ต่างๆ ๆ ของสภาพธรรมไหม นั่นคือ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เมื่อสมบูรณ์ถึงระดับที่จะเป็นสัมโพชฌงค์ แต่ว่าถ้ายังไม่ถึงระดับ ปัญญา เพราะว่าธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก เป็นสภาพที่รู้ในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนั้น ความรู้ ไม่ใช่เพียงขั้นฟัง ขั้นฟังที่รู้ กับขณะที่สติสัมปชัญญะเกิด แล้วก็มีการรู้ในลักษณะที่ปรากฏจริงๆ ที่ลักษณะ อย่างเวลาที่เราพูดถึง แข็ง แต่แข็งไม่ได้ปรากฏ กับเวลาที่แข็งกำลังปรากฏ และรู้ลักษณะนั้นว่ามีจริงๆ แล้วก็มีจริงว่า เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ไม่มีใครสามารถจะปฏิเสธได้ ขณะที่รู้อย่างนั้น ไม่ใช่เรา แต่เป็นปัญญา ซึ่งจะสมบูรณ์ถึงการเป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ พร้อมกับสติปัฏฐาน พร้อมกับสัมโพชฌงค์องค์ อื่นๆ ขณะที่สติสัมปชัญญะเกิด ต้องไปทำอะไรหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่ต้องทำอะไร

    ท่านอาจารย์ ใช่ ทำสติได้ไหม ยังไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น จะไปทำอะไรไม่ได้ แต่สามารถจะรู้ตามความเป็นจริงว่าขณะนั้น สภาพธรรมมีเป็นอย่างนั้น ในขณะที่สติปัฏฐานเกิด ค่อยๆ เข้าใจ ลักษณะของการที่ค่อยๆ เข้าใจ เป็นลักษณะของวิริยะไม่สามารถที่จะ เพียรอย่างแรงกล้าที่จะให้ประจักษ์การเกิดดับในขณะนั้น เป็นไปไม่ได้เลย ต้องเป็นการอบรม ขณะนั้นวิริยะทำหน้าที่ ที่ค่อยๆ เข้าใจถูก ค่อยๆ เห็นถูก ในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ จนกว่าจะถึงวิริยสัมโพชฌงค์ ค่อยๆ เพิ่มขึ้น จากสติปัฏฐาน สัมมัปปทาน อินทรีย์ พละ ไปเรื่อยๆ จนกว่า จะถึงสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น สภาพธรรมที่มีในขณะนั้น ปัญญาจะรู้ตามความเป็นจริงว่า ไม่ใช่เรา อย่างเวลาที่เราพูดถึงสติปัฏฐาน บางท่านอาจจะคุ้นกับการจะทำ เพราะคิดว่าต้องทำ แต่ความจริงสติ เป็นสภาพที่เกิด แล้วทำหน้าที่ของสติ คือ ระลึก ขณะใดที่สติปัฏฐานไม่เกิด ก็จะมีสติขั้นฟัง สติขั้นพิจารณา แต่ไม่ใช่สติที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏจริงๆ ในขณะนี้ ทางตากำลังปรากฏ ทางหูเสียงปรากฏ ทางจมูกลิ่นปรากฏ ทางลิ้นรสปรากฏ ทางกายเย็นร้อน อ่อนแข็งกำลังปรากฏ ทางใจคิดนึกก็มีกำลังคิดนึกอยู่ในขณะนี้

    เพราะฉะนั้น ถ้าสติปัฏฐานไม่เกิด จะไม่มีการรู้ลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรมใดๆ เลย มีแต่เพียงการคิดนึกเรื่องราวต่างๆ แต่ถ้าเป็นสติปัฏฐาน แล้วที่จะรู้ว่า เป็นสติสัมปชัญญะ ไม่ใช่สติขั้นทานศีล ก็คือ มีลักษณะของสภาพธรรม ที่สติระลึกลักษณะนั้น เป็นปกติ ธรรมดาอย่างนี้ แล้วค่อยๆ เข้าใจ ขณะที่กำลังฟังเดี๋ยวนี้ ถ้าค่อยๆ เข้าใจ สิ่งที่ปรากฏ หมายความว่ามีสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วค่อยๆ เข้าใจว่าสิ่งนี้แหละ ก็เป็นเพียงธรรมอย่างหนึ่ง ถ้าไม่มีการติดข้องในสิ่งนี้ สภาพธรรมอื่นปรากฏแล้ว แต่ถ้ามีการจงใจติดข้อง สภาพธรรมอื่นก็ไม่ปรากฏ แต่มีความต้องการที่ปิดกั้น ไม่เห็นการที่เกิดขึ้น ของสภาพธรรม ซึ่งแท้ที่จริงแล้วก็ ไม่สามารถที่จะไม่ดับ ทุกอย่างที่เกิดต้องดับ แล้วสภาพธรรมอื่นก็ปรากฏ

    เพราะฉะนั้น ก็จะมีเครื่องกั้น คือ ความไม่รู้ และความเข้าใจผิดในหนทางที่จะอบรมเจริญปัญญา ทำให้ไม่สามารถที่จะรู้ลักษณะจริงๆ ของสภาพธรรมที่ปรากฏ เพราะเกิดแล้วก็ดับ เป็นปกติ แต่ไม่ได้รู้อย่างนี้ ใช่ไหม ไม่ได้รู้ความจริง ตามปกติซึ่งจะต้องอบรมด้วยสติ ปัญญา วิริยะ แล้วถ้ารู้อย่างนี้ จริงๆ ปิติ ไหม สบายเบาไหม ไม่เดือดร้อนเลย ที่เดือดร้อนเพราะเป็นเราอยาก ทำอย่างไรถึงจะมีสติมากๆ ทำอย่างไรถึงจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม จะไม่มีการที่เป็นปิติเลย เพราะเหตุว่าดิ้นรน ด้วยความต้องการที่พยายามพากเพียรที่จะไม่รู้ สิ่งที่ปรากฏ

    ถ้าทำอย่างอื่น หมายความว่า มีความพากเพียรพยายามที่จะ ไม่รู้ สิ่งที่ปรากฏในขณะนี้ เพราะฉะนั้น หนทางนี้ ที่ว่าเป็นหนทาง ที่ละเอียดแล้วยาก เพราะเหตุว่าโลภะจะพาไปทางอื่น ซึ่งไม่ใช่ทางที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะที่ปิติเกิด ปัสสัทธิก็เกิดร่วมด้วย สมาธิก็เกิดร่วมด้วย ตัตรมัชฌัตตตาก็เกิดร่วมด้วย โดยย่อ

    ผู้ฟัง พูดถึงความบริบูรณ์นี้ เอาอะไรวัด แล้วญาณกุศลนี้จะวัด เอาอะไรเป็นตัววัด

    ท่านอาจารย์ วิปัสสนาญาณ

    ผู้ฟัง อย่างนั้นไม่มี ตัวหาร ตัวคูณเลย

    ท่านอาจารย์ ปัญญาที่เห็นแจ้ง เพราะฉะนั้น ต่างกับขณะที่กำลังเริ่ม ซึ่งไม่ใช่ขณะที่เห็นแจ้ง เพราะขณะที่เห็นแจ้ง เป็นวิปัสสนาญาณ

    ผู้ฟัง สมมติว่า ได้ระดับโสดาบัน เราก็ต้องทั้ง โพธิปัคขิยธรรม ๓๗ แต่ว่า มีความลึกซึ้ง แค่ระดับต้นๆ อย่างนั้น ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ปัญญาของพระโสดาบัน ต่างกับปัญญาของพระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์

    ผู้ฟัง ขณะที่อินทริยสังวรเกิด มีลักษณะคล้ายๆ กับทำได้ในอินทริยสังวร ส่วนสติปัฏฐานนั้น แน่นอนว่าไม่มีการทำ อันนี้ท่านอาจารย์ ขออนุญาต ชี้ความต่างอีกสักครั้ง เพราะผมมีคำถามต่อไป

    ท่านอาจารย์ ถ้ามีความเข้าใจถูกต้อง ว่าสภาพธรรม ที่มีจริงก็มีจิต มีเจตสิก มีรูป อะไรทำ ที่ว่าทำได้ อะไรทำ

    ผู้ฟัง คงจะเป็นสภาพของธรรม ซึ่งไม่ใช่มีใครทำ

    ท่านอาจารย์ ต้องเป็นจิต เจตสิก ทำหน้าที่ของจิต และเจตสิกนั้นๆ ถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้ ตั้งแต่ต้นจนตลอด ก็จะทำให้ เข้าใจว่า ไม่มีเรา ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล แม้เพียงในขั้นการฟัง แล้วเวลาที่สติ ระลึกที่ลักษณะของสภาพธรรม ลักษณะของสภาพธรรมก็ปรากฏ ในความเป็นธรรมแต่ละอย่าง ซึ่งปรากฏแล้วก็หมดไป ก็ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน โดยทฤษฎี โดยการศึกษา โดยปริยัติ ก็ไม่มีความสงสัย แต่ว่าตราบใดที่ไม่ประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ ขณะนั้นก็ยังคงมีความเป็นเรา ในความคิดนึก

    ผู้ฟัง ตรงนี้ ที่ว่า ทั้งจะเป็นอินทริยสังวร หรือสติปัฏฐานก็ไม่มีใครทำทั้งสิ้น แต่ว่าในลักษณะของ เมื่อเราพูดถึงปาฏิโมกขสังวร หรือว่าในเรื่อง แม้ในเรื่องของ ศีล ๕ เราก็รู้สึกว่า ขณะนี้เป็นศีล ขณะนี้ ก็เป็นกุศลเบื้องต้น ก็คือ ศีล กับทาน อันนี้พูดถึงเรื่องศีลเท่านั้น ขณะนี้เป็นศีล แต่ก็ไม่ใช่สติปัฏฐาน ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ มีสติหลายขั้น ขั้นฟัง ขณะนี้ที่เข้าใจ ก็ต้องมีสติเกิด ร่วมด้วยกับกุศลจิต

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ขณะที่เป็นอินทริยสังวร หรือว่าเป็นศีล เป็นกุศลขั้นศีลก็ตาม จะทำให้มโนสุจริต เจริญขึ้นได้ไหม

    ท่านอาจารย์ ที่กล่าวแยก เหมือนเป็นอย่างๆ ๆ แล้วก็แยกกัน แต่ถ้าจะรวมเป็นสติปัฏฐาน ระดับต่างๆ ได้ไหม อย่างสุจริต ๓ ที่จะบริบูรณ์ จะเป็นไปได้อย่างไร ถ้าไม่มีสติสัมปชัญญะ หรือไม่มีสติปัฏฐานเกิด เพราะไม่ใช่แต่เฉพาะกาย วาจา ต้องถึงใจด้วย ที่จะไม่เป็นอกุศล เพราะฉะนั้น ก็ต้องเป็นเรื่องของสติปัฏฐาน เพราะฉะนั้น ทั้งหมดตลอด ตั้งแต่สุจริต ๓ สติปัฏฐาน ๔ โพชฌงค์ ๗ วิชชา และวิมุตติ ก็เป็นเรื่องของสติปัฏฐานทั้งหมด เหมือนกับเวลาที่เราพูดถึง ปฏิจสมุปปาท อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร จะแยกไหม

    ผู้ฟัง ก็ไม่แยก

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เวลาที่เราพูดถึงเรื่องของสติปัฏฐาน นี้ ก็เช่นเดียวกัน ไม่ใช่หมายความว่า ต้องแยกเป็นคนละขั้น คนละตอน เพราะเหตุว่า ถ้าจะกล่าวถึง สุจริต ๓ จะบริบูรณ์ได้อย่างไร เมื่อไร ถ้าไม่มีสติปัฏฐาน

    ผู้ฟัง อย่างนั้น ผมก็ต้องยอมรับว่า การที่เราจะคิดว่า เราทำศีลได้ คือสมาทานศีล แล้วก็ปฏิบัติศีล ซึ่งบางครั้งสมาทานแล้วก็ไม่ได้ปฏิบัติ หรือว่าขณะที่ไม่ได้ สมาทานก็ปฏิบัติได้ อะไรต่างๆ เหล่านี้ เป็นต้น นี้ก็เป็นการเกิดขึ้นโดยเหตุ และปัจจัย

    ท่านอาจารย์ แล้วก็ขอให้ลองคิด สำหรับผู้ที่พยายามที่จะ มีศีลบริสุทธิ์ มีกาย วาจา ใจบริสุทธิ์ แต่ว่าไม่มีปัญญาเลย จะถึงวิชชา วิมุตติ ได้ไหม แค่กายวาจาสุจริต

    ผู้ฟัง แต่ก็ดี ก็ดีอยู่

    ท่านอาจารย์ ก็ดี แต่นี่ไม่ใช่เรื่องดี นี่เรื่อง รู้ แล้วละ หลุดพ้น ไม่ใช่เพียงแค่ดี ต้องพิจารณาธรรมจริงๆ แม้แต่คำที่ว่าให้บริบูรณ์ หรือจะทำให้บริบูรณ์ จะบริบูรณ์ได้อย่างไร

    ผู้ฟัง นั่นก็เข้าใจแล้ว่า ทำไมเราถึงมีความรู้สึกว่าต่างๆ กัน จริงๆ แล้วก็คือเรื่องเดียวกันทั้งสิ้น เพียงแต่ว่าเราไม่เข้าใจในสภาพของความเป็นจริง ที่มีสภาพธรรมนั้นเกิดโดยเหตุ และปัจจัยเท่านั้นเอง

    ท่านอาจารย์ เพราะขณะใดที่จิตเป็นกุศลเกิด ขณะนั้นไม่มีทุจริตทั้งกาย วาจา ใจ แต่ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมก็จะไม่ทำให้สติปัฏฐานบริบูรณ์ได้

    ผู้ฟัง ถ้าเราจะทำเพื่อสติปัฏฐานเราไม่เจริญ หรือไม่เกิดขึ้นเลย หรือว่าเจริญได้ยาก เราก็ทำไปก่อน

    ท่านอาจารย์ เราทำอะไรไปก่อน

    ผู้ฟัง ก็สมาทานศีล แล้วพยายามที่จะวิรัติต่างๆ

    แล้วจะถึงวิชชา วิมุตติไหม ปัญหาอยู่ตรงนี้ ถึงแม้ว่ากายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต เพราะขณะนั้นเป็นกุศล แต่จะถึงที่จะทำให้สติปัฏฐานบริบูรณ์ไหม

    ผู้ฟัง วิชชา และวิมุตติ ถึงความบริสุทธิตรงนั้น เป็นเรื่องของเวลา ในขณะนี้ ประเด็นของผมก็คือว่าต้องทำศีลก่อน ต้องทำทานก่อนหรือไม่อะไรอย่างนี้ ที่เอามาพูดเรื่องเดิมนั่นแหละ ไม่ใช่เรื่องอะไร

    ท่านอาจารย์ ถ้าทำทาน แล้วก็จะทำให้วิมุตติได้อย่างไร ทำให้วิชชาเกิดได้อย่างไร

    ผู้ฟัง อย่างน้อยก็เป็นทาน

    ท่านอาจารย์ ก็แค่ทาน

    ผู้ฟัง และศีล ก็เหมือนกัน สมมติว่าใครทำให้เราโกรธ เราอาจจะอยากพูด ผรุสวาจาใส่เขานี่ เราก็หยุดได้ ขณะนั้น นี่ก็อาจจะเป็นการบังคับ ไม่ให้พูดอันนั้น

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นเราไม่ใช่ เป็นการรู้ลักษณะของสภาพธรรม ในขณะนั้น ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ไม่ต้องอาศัยพระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย เพียงแค่ระดับนั้น แต่ที่จะถึงวิชชา และวิมุตติได้ ต้องเพราะพระปัญญาคุณ ที่ทรงตรัสรู้ และทรงแสดงธรรม

    ผู้ฟัง โพชฌงค์ ท่านเจริญไปตามลำดับของท่าน หรือเปล่า หรือว่าเจริญไปพร้อมๆ กัน ถ้าเพื่อเรามีเหตุปัจจัยที่สติปัฏฐานเกิด

    ท่านอาจารย์ นี่เป็นเหตุที่ทรงแสดงโพธิปัคขิยธรรม ๓๗ ไม่ใช่เฉพาะโพชฌงค์ ๗ เพราะฉะนั้น ใครที่ได้ยินคำว่าโพชฌงค์ ๗ แล้ว จะเจริญโพชฌงค์ ๗ อีก ๓๐ ไปไว้ที่ไหน

    ผู้ฟัง เอาไว้ก่อน

    ท่านอาจารย์ ไม่มีทางเป็นไปได้เลย เพราะโพชฌงค์เป็นองค์ที่จะให้ตรัสรู้ อันดับสูงสุด ที่มาจากขั้นต้น

    ผู้ฟัง ก็หมายความว่า ธรรมทั้งหลายจะสอดคล้องกันไปพร้อมๆ กัน

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง

    ผู้ฟัง นอกจากฟังธรรมเพื่อให้เกิดปัญญา แล้ว นี่ นานไปประพฤติปฏิบัติธรรมมันก็น่าจะมี ประโยชน์ บ้าง เหมือนกัน ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ประพฤติปฏิบัติ อะไร

    ผู้ฟัง ปฏิบัติสติปัฏฐาน หรือวิปัสสนา

    ท่านอาจารย์ ถ้าสติปัฏฐาน แล้วไปไหน

    ผู้ฟัง จริงๆ แล้วการเกิด ก็สติปัฏฐาน ไม่ได้หมายความว่า จะต้องไปนั่งหรือจะต้องไป

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้มี สิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ แล้วมีสิ่งที่ยังไม่มาถึง เพราะฉะนั้น มีสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะสิ่งที่ล่วงไปแล้วก็หมดไปแล้ว ไม่กลับมาอีกเลย สิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็ยังไม่ถึง เพราะฉะนั้น ขณะนี้ก็มีสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วจะรู้อะไร

    ผู้ฟัง รู้จักนามรูป

    ท่านอาจารย์ รู้สิ่งที่ปรากฏ ใช่ไหม เพราะว่าตลอดชีวิต นี้คะ ก็มีธรรมที่เกิดดับ สิ่งที่ดับไปแล้ว เราก็ไม่สามารถที่จะไปรู้ความจริงได้ สิ่งที่ยังไม่เกิด ไม่ปรากฏ ไม่ถึง ก็ไม่สามารถจะรู้ความจริงได้ เพราะฉะนั้น ถ้าจะรู้ก็คือรู้สิ่งที่กำลังมีค่อยๆ เข้าใจถูกขึ้น ไม่อย่างนั้น จะรู้อะไร จะไปรู้อะไรที่ไหน ถ้าไม่ใช่สิ่งที่กำลังปรากฏให้รู้

    ผู้ฟัง ทีนี้การปฏิบัติวิปัสสนา

    ท่านอาจารย์ ทีละคำ ปฏิปัตติ หมายความว่าอะไร

    ผู้ฟัง เฉพาะ

    ท่านอาจารย์ ปฏิ แปลว่า เฉพาะ ปัตติ หมายความว่าอย่างไร ปัตติ

    ผู้ฟัง ไม่รู้

    ท่านอาจารย์ ถ้าอย่างนั้น ก็ปฏิบัติไม่ได้ ใช่ไหม ใช้แต่คำว่า ปฏิบัติ แต่ไม่รู้ว่าปฏิบัติ คืออะไร แต่ขณะนี้มีสภาพธรรม หรือเปล่า

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ มี ปฏิปัตติ ถึงเฉพาะ ปฏิ เฉพาะ ปัตติ แปลว่า ถึง ถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏด้วยสติ ทีละอย่าง ถ้าสติไม่ระลึก ปัญญาก็ไม่สามารถ จะรู้ เพราะว่าสภาพธรรม เกิดแล้วดับไป เร็วมาก แล้วไม่กับมาอีกเลย เพราะฉะนั้น ขณะใดที่สภาพธรรมใดปรากฏ แล้วสติระลึก ค่อยๆ เข้าใจลักษณะนั้นถูกต้อง นี่เป็นหนทางเดียวที่จะรู้ว่า พระธรรมที่ทรงแสดงทั้งหมด สามารถที่จะประจักษ์ด้วยปัญญาของตนเองได้ ด้วยการอบรมปัญญา รู้ว่าสติสัมปชัญญะ คือขณะไหน นั้นเป็นปัญญา ใช่ไหม แต่ถ้าคนที่จะปฏิบัติวิปัสสนา แล้วก็ไม่รู้ลักษณะของสติสัมปชัญญะเลย แล้วก็จะเป็นวิปัสสนาได้อย่างไร

    เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า ขณะใดเป็นสติสัมปชัญญะ เป็นสติปัฏฐาน เพราะว่าแม้สมถภาวนา ก็เป็นสติสัมปชัญญะได้ แต่ว่าไม่ใช่สติปัฏฐาน

    สติปัฏฐาน เป็นสติสัมปชัญญะ แล้วเป็นสติปัฏฐาน เพราะว่าเป็นสติที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้สภาพธรรมก็กำลังปรากฏ

    แต่ไม่รู้ พอสภาพธรรมปรากฏ ก็คิดเรื่องอื่นไปเลย ขณะใดที่คิดเรื่องอื่น สภาพธรรมที่ปรากฏดับแล้วทุกครั้ง ขณะนี้กำลังเห็น แล้วก็คิด ขณะที่คิด เห็นดับแล้ว เพราะฉะนั้น ก็ไม่มีโอกาสที่จะประจักษ์ความจริงว่า เห็นมีจริงๆ เป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งต้องอาศัย จักขุปสาท เห็นจึงจะเกิดได้ แต่ถ้าไม่มีจักขุปสาท ไม่มีใครสามารถที่จะทำให้จิต เห็นเกิดขึ้นได้เลย มีจิตคิดนึก มีจิตได้ยิน เพราะฉะนั้น ในขณะนี้ ความจริงเป็นอย่างนี้ ขณะที่เห็น เป็นธรรมชนิดหนึ่ง ที่เราบอกว่าจิตอยู่ที่ไหน จิตทำอะไร จิตมีลักษณะอย่างไร ถ้าไม่พิจารณาตามคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็เพียงพูดเรื่องจิต แต่ไม่สามารถจะรู้ ลักษณะของจิต ซึ่งมีจริงๆ แล้วทรงแสดงไว้โดยประการต่างๆ เช่น โดยคำว่ามนินทรีย์ เป็นสภาพที่เป็นใหญ่ในการรู้ ถ้าเรายังคิดว่าเราจะบังคับจิต ขณะนั้น จิตไม่สามารถที่จะปรากฏ ความเป็นใหญ่ ของจิตได้ เพราะว่าจิตเป็นใหญ่ในการรู้

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 103
    25 มี.ค. 2567