ปกิณณกธรรม ตอนที่ 626


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๒๖

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๕


    ผู้ฟัง เวลาจะตาย ทุกขเวทนามันเกิด

    ท่านอาจารย์ กำลังเกิดไปเรื่อยๆ คนนั้นก็ไม่รู้ว่าจะตายแล้ว หลังจากที่ทุกขเวทนานั้น ขณะนั้นดับ ก็จุติจิตก็ได้

    ผู้ฟัง ก็นึกอยู่ กลัว

    ท่านอาจารย์ ก็ยังไม่ตาย ตอนกลัว ก็ยังไม่ตาย เวทนาตอนนั้น คือ ความตกใจ ความกลัว ความโทมนัส ขณะนั้นยังไม่ตาย เพราะฉะนั้น เขาก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ เพราะเวทนาเขาสืบต่ออยู่เรื่อยๆ

    ผู้ฟัง อันนี้ปิดบังใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ไม่ให้รู้ว่าจะตายเมื่อไร

    ผู้ฟัง เรียนถามท่านมหานิพัฒน์ คือดิฉันสงสัยอยู่ คำที่ว่า หลงตาย คงจะไม่ใช่พวกคนแก่ที่หลงๆ ลืมๆ แล้วก็ตาย คงจะหมายถึงผู้ที่ขาดสติ หรืออย่างไร แต่ถ้าหมายถึงผู้ที่ขาดสติ ถ้าเราเป็นมนุษย์ที่เกิดมา ก็มีสติเกิดร่วมด้วย อย่างนี้เรียกว่าผู้ที่เป็นคนไม่หลงตายหรือเปล่า

    วิทยากร. อันนี้แหละ หลงตาย อย่างที่ท่านอาจารย์ว่า ก็ไม่รู้ว่าจะตายเมื่อไร

    ท่านอาจารย์ ก่อนตาย บางคนเป็นกุศลจิต บางคนเป็นอกุศลจิต เพราะฉะนั้น คนที่ไม่หลงตาย คือ ขณะนั้นกุศลจิตเกิดก่อน เพราะว่ากุศลจิตต้องมีสติเจตสิก และมีโสภณเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ถ้าขณะนั้นเป็นอกุศล หลงแน่ๆ เพราะว่ามีอวิชชาเกิดร่วมด้วย

    ผู้ฟัง อย่างนั้นพวกเราทุกคนที่นี่ก็ไม่ได้หลงตาย ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ยังไม่ตาย

    วิทยากร. ยังไม่ตาย

    ท่านอาจารย์ ยังไม่ตาย

    ผู้ฟัง ชาติที่แล้วที่เกิดมาเป็นคน

    ท่านอาจารย์ แน่นอน เพราะว่าการเกิดเป็นคน เป็นผลของกุศลกรรม แต่ชาตินี้ก่อนจะตาย จุติ ไม่มีใครรู้ได้

    ผู้ฟัง ในสูตรนี้ ท่านแสดงเรื่องของความตาย ปิดบังโลก แต่ว่ามีที่อื่น ท่านแสดงเรื่องของอวิชชา โมหะ ปิดบังไม่ให้รู้ ทุกสิ่งทุกอย่าง ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เพราะว่า ที่ใดที่มีโลภะ ที่นั้นก็ต้องมี อวิชชาด้วย เพราะฉะนั้น พระธรรมจะหลากหลาย ทรงแสดงไว้มากมาย แต่ต้องมีความเข้าใจ สอดคล้องกันโดยตลอด

    กลัวไหม ตาย เวทนาความรู้สึกก็สืบต่อกันไปอย่างนี้เหมือนเดิม แล้วก็ไม่รู้ว่าเมื่อไร เพราะฉะนั้น ก็คงจะไม่น่าตกใจ เพราะว่าเจ็บ ก็คือเจ็บ เหมือนกำลังเจ็บนี้แหละ แต่เจ็บก่อนจะตาย แล้วจิตที่จะเป็นกุศล และ อกุศล แล้วแต่กรรม ซึ่งเราไม่สามารถที่จะเลือกได้ แม้วาจะเป็นผู้ที่ทำบุญทำทานมามาก แต่ก็ไม่สามารถที่จะรู้ว่าก่อนจุติจริงๆ กรรมใด จะให้ผล

    ผู้ฟัง ผมนี้ นึกถึงความตาย ไม่ค่อยได้นึก ยังนึกว่าตัวเองจะอยู่ๆ อายุตั้ง ๗๐, ๘๐ นี้ ๗๐ กว่า แล้วก็ยังนึกว่ายังจะอยู่ ไม่นึกว่าตัวเอง ความตายมันไล่ติดมาทุกขณะ ไล่ติดมาตลอด ไม่นึกถึงตรงนี้ แล้วเมื่อไม่นึกถึงตรงนี้แล้ว มันเดือดร้อนหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ก็ปฏิสนธิจิตก็มี แล้วจุติจิตก็คือจิตประเภท ๑ เท่านั้นเอง เหมือนจิตอื่นๆ ทั้งหมด เพราะว่าเป็นจิต ขณะสุดท้ายที่จะทำให้ผลจากความเป็นบุคคลนี้ ซึ่งไม่รู้ตัวว่าเมื่อไร อย่างที่กล่าวถึง เมื่อกี้นี้ ใช่ไหม เพราะเวทนาก็ปิดบังเกิดดับสืบต่อ จนกระทั่งไม่รู้ แล้วก็ไม่พ้นจากสังสารวัฏฏ์ หรือไม่พ้นจากโลก ตายแล้วก็ต้องเกิดอีก อยากอะไรก็มีอีก อยากเห็น ใช่ไหม ชาตินี้ที่ไม่อยากตาย เพราะอยากเห็น อยากได้ยิน อยากได้กลิ่น อยากลิ้มรส อยากรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส อยากคิดนึก ไม่พ้น พอจุติจิตดับ ก็คือปฎิสนธิจิตเกิดสืบต่อ ไม่มีทางที่จะเลี่ยงพ้นไปจาก เห็น ได้ยินได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึก สืบต่อมาอย่างสนิทเลยทุกๆ ชาติโดยเวทนา ที่เกิดดับสืบต่อ นั่นเอง

    ผู้ฟัง อย่างนั้นแทนที่จะไปนึก กลัว หรืออะไรๆ ก็

    ท่านอาจารย์ ตายแล้วก็เกิด

    ผู้ฟัง ตายแล้วก็เกิด แล้วก็ขณะนี้ ที่ยังไม่ตายก็ควรจะรีบ รีบแสวงหาความรู้ ความเข้าใจในเรื่องตัวเองนี้ ในเรื่องโลก โลกตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้ได้ว่ามันเป็นโลกจริงๆ อย่างนั้น หรือเปล่า มันแตกสลายจริงๆ หรือเปล่า มันเกิดแล้วมันดับจริงๆ หรือเปล่า ต้องหาความรู้ ในเรื่องนี้ให้เข้าใจให้ได้ ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ แทนที่เรา จะไปนึกกลัวว่า จะตาย อะไรต่ออะไรนี่ ก็มาศึกษาเล่าเรียน ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในโลกนี้ให้ได้จริงๆ จะเป็นประโยชน์

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าเป็นผู้ไม่ประมาท ไม่มีใครรู้เลย ว่าจะจากโลกนี้วันไหน ข้อสำคัญคือไปไหน จะมีโอกาสได้ยินได้ฟัง อีกหรือเปล่า นี่ก็อาจจะเป็นเหตุ ๑ ที่ทำให้เราเห็นประโยชน์ ของการสะสมความเข้าใจถูก ในสภาพธรรม ในชาตินี้ การศึกษาธรรมต้องทราบว่า ศึกษาสิ่งที่มีจริงๆ ไม่ใช่ไปคิดเรื่องไม่มีจริง แล้วเอามา เล่าให้ฟังว่า นั่นเป็นนั่น นี่เป็นนี่ อย่างขณะนี้ เห็น มีไหม เห็น มีใช่ไหม จริง เป็นธรรมหรือเปล่า เกิดดับหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เกิดดับ

    ท่านอาจารย์ เกิดดับ เป็นโลกใช่ไหม

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ ถ้าเกิดดับ ก็เป็นอดีต เป็นปัจจุบัน เป็นอนาคต

    ผู้ฟัง เราได้ยินมาจากที่อื่น โลกนี้หมายถึง แตกดับ

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง แต่ต้องมีสิ่งที่แตกดับ คือสิ่งที่เกิดแล้วดับ ไม่ใช่พูดลอยๆ โดยไม่มีสิ่งนั้น ต้องสิ่งที่มีจริง เกิดแล้วดับ เพราะฉะนั้น อย่างปรมัตถธรรม ถ้ากล่าวถึงโลก จะได้แก่ สภาพปรมัตถธรรมเท่าไร ปรมัตถธรรม มี ๔ ถ้ากล่าวถึงโลก จะได้แก่ ปรมัตถธรรมเท่าไร ปรมัตถธรรม มี ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เพราะฉะนั้น ธรรมที่เป็นโลกได้แก่ ปรมัตถธรรม อะไรบ้าง เท่าไร

    ผู้ฟัง จิต เจตสิก รูป

    ท่านอาจารย์ เป็นโลกใช่ไหม นิพพานเป็นโลกุตตระ ก็ไม่เห็นจะไม่เข้าใจอะไร จะพูดว่าโลก จะพูดว่าขันธ์ ความหมายเดียวกันไหม ขันธ์เกิดดับหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เกิดดับ

    ท่านอาจารย์ ถ้าขันธ์เกิดดับ ขันธ์ก็เป็นโลก โลกเกิดดับหรือเปล่า เมื่อโลกเกิดดับ ก็เป็นอดีต เป็นปัจจุบัน เป็นอนาคต ก็เป็นขันธ์ การศึกษาธรรมต้องให้เข้าใจคำที่ทรงใช้ หลากหลาย เพื่อที่จะให้เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังมีจริงๆ ในขณะนี้

    ผู้ฟัง ก็พระองค์ไม่บัญญัติเป็นขันธ์ไปเลย

    ท่านอาจารย์ บัญญัติก็ได้ ปรมัตถธรรม ก็ ๔๕ พรรษาพูดเรื่องสภาพธรรมที่มีจริงๆ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ใน ๔๕ พรรษา โดยนัยหลากหลายเพื่อที่จะให้ผู้ฟังเข้าใจ

    วิทยากร. คุณเริงชัย อย่าลืมว่า เทวดา เขาถามเรื่องอะไร เขาถามเรื่องโลก พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ตรัสตอบเรื่องโลก ถ้าถามเรื่องขันธ์ ก็ตรัสตอบเรื่องขันธ์ แล้วแต่ๆ คนถาม แต่ทั้งโลก ทั้งขันธ์มันแตกดับไหม

    ผู้ฟัง ผมก็สงสัยว่า ทำไมพระองค์ไม่ ใช้คำว่า คน ถ้าใช้คำว่า คน ได้ไหม

    วิทยากร. พระพุทธองค์ ใช้แล้ว แต่คุณเริงชัย ไม่รู้ สัตวโลก คน เทวดา คน นั่นคือ สัตวโลก อันที่ ๓ สังขารโลก

    ผู้ฟัง เพิ่มเรื่องโลกอีกนิดหนึ่ง คือในคัมถีร์อภิธรรม ท่านขยายเรื่องโลกไว้ ตามศัพท์ จะมี ธาตุที่เป็น รากศัพท์ ก็คือ รุชธาตุ แล้วก็ รุจธาตุ มี ๒ ศัพท์ รุชธาตุ ท่านใช้ในศัพท์ที่ว่า รุชติกิโลโก โลกมีความเสื่อม เสื่อมหรือแตกดับ ชื่อว่าโลก อีกนัย ๑ โลกที่เป็นรุจ ท่านก็แสดงว่า เป็นสถานที่ตั้งอยู่ ของความต่างกันแห่งบุญ และบาป บางนัย ท่านก็แสดงว่า ดู ใช่ไหม คือเป็นที่ดู รุจ เป็นที่ดู บุญ และบาป แต่สถานที่ตั้งก็คือ ที่ตั้งอยู่ของความต่างกัน แห่งบุญ และบาป เพราะฉะนั้น โลกก็หลายความหมาย อาจารย์นิพัฒน์ จะขยายโลกเป็นที่ตั้ง อยู่แล้วในทุกข์ ในคำถามสุดท้าย

    วิทยากร. ท่านบอกว่าคำไหนที่ท่านอรรถกถาจารย์ไม่อธิบาย ท่านบอกว่า เป็นคำที่ตื้นง่ายๆ สำหรับท่าน แต่สำหรับพวกเราก็ไม่รู้ว่ามันง่าย

    ผู้ฟัง ทุกข์ในที่นี้หมายถึงอะไร

    วิทยากร. โลกมันก็ตั้งอยู่ในทุกข์ ท่านบอกว่า นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ ทุกข์เท่านั้นเกิด ทุกข์เท่านั้นดับ โลกตั้งอยู่แล้วในทุกข์ โลกเรารู้อยู่แล้ว คือ ขันธ์ จิต เจตสิก รูป ก็แล้วกัน ปรมัตถธรรม แล้วจิต เจตสิก รูป มันเกิดมันดับอยู่ตลอด มันเกิดมันดับอยู่ตลอด ก็ตั้งอยู่ในนี้ ในทุกข์นี้ เพราะมันเกิดมันดับอยู่ตลอดเวลา เพราะว่าท่านก็บอกอยู่แล้ว นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ ทุกข์เท่านั้นเกิด ทุกข์เท่านั้นดับ

    ผู้ฟัง มีคำถามจากท่านผู้ร่วมสนทนา คนอายุมากๆ แก่มากๆ รู้ว่ากุศล หรืออกุศล ผิดๆ ถูกๆ จะเป็นกุศล และอกุศล ที่จะได้ต่อไปในอนาคตหรือไม่ ทั้งๆ ที่เป็นอกุศล แต่เข้าใจผิดว่าเป็นกุศล อย่างนี้เป็นต้น อันนี้ จะเป็นกุศล หรืออกุศลที่จะได้ต่อไปในอนาคตหรือไม่

    วิทยากร. กุศลก็ต้องเป็นกุศล วันยังค่ำ จะเข้าใจผิด เข้าใจถูกก็ตาม แต่อกุศลก็ต้องเป็นอกุศล วันยังค่ำ คนจะเข้าใจผิด เข้าใจถูก เป็นเรื่องของคน

    วิทยากร. ถ้าท่านสั่งสมความเข้าใจผิดของท่านไปเรื่อย มันก็ติดไป แน่นอน ก็ต้องอบรมใหม่ สะสมใหม่

    วิทยากร. แต่ถ้าศึกษาธรรม เพื่อความรู้ ความเข้าใจ ถูกต้องจริงๆ รับรองว่าถึงหลง ก็ไม่ถึงขนาดที่ถามมา อย่าลืม ต้องตั้งใจศึกษาให้รู้ ให้เข้าใจธรรมจริงๆ อย่างผมลืมของ ลืมๆ ลืมจนสนิท จนนึกไม่ถึงเลย พอไปเจอ โอ้โห อันนี้เราลืมไปตั้งนาน เหมือนอย่างของนั้นไม่เคยมีเลย เพราะฉะนั้น สิ่งที่มีในชีวิตประจำวัน ของเรา พึงมีในความคิด

    ถ้าเข้าใจให้ถูกต้อง ตามหลักของพระพุทธศาสนาจริงๆ รับรองมันไม่หลงไม่ลืมขนาดนั้น ถึงลืมก็ถือว่าไม่ใช่ของเรา เพราะว่า ที่ว่าถือๆ ว่าเป็นของๆ เรา ก็เฉพาะในความคิดเท่านั้นเอง ถ้าไม่คิดเสียอย่าง มันไม่มีอะไรเป็นของๆ เรา เหมือนอย่างเราหลับ มีอะไรเป็นของเรา หลับสนิท ให้ฝัน มีอะไรเป็นของๆ เรา ไหม ไม่มีๆ เลย เพราะมันลืมหมด ในโลกนี้ลืมหมด เรื่องราวในโลกนี้ มันลืมหมด ในหลักมันไม่มีเรื่องราวในโลกนี้

    ท่านอาจารย์ ความหลงที่เข้าใจว่า กุศล เป็นอกุศลบ้างพวกนี้ อกุศล เป็นกุศลบ้าง ไม่ใช่หลงเฉพาะตอนแก่ ต้องมีมาตั้งนาน แล้วก็จะติดตามไป เพราะเหตุว่าพอเกิดใหม่ก็เป็นเด็ก ก็ยังมีความหลงนั้นติดตามไป เพราะฉะนั้น จะกล่าวว่าจะตามไปหรือไม่ตามไป ก็ทุกขณะ ที่สะสมก็ไม่สูญหายไปไหน เพราะว่าเป็นการเกิดดับสืบต่อของจิต

    ผู้ฟัง ได้ฟังธรรมของอาจารย์ ก็มีประโยคคล้ายๆ อย่างนี้ คือ มีคำถามว่า โลกอะไรปิดบังไว้ แต่ว่าเกี่ยวกับโลก อวิชชา แต่ว่าคำตอบไม่ใช่เป็น ตัณหา กลายเป็น มัจฉริยะ อันนี้มันจะเข้ากันได้ไหม

    ท่านอาจารย์ ได้ อย่างไรพระธรรมก็ต้องสอดคล้องกันหมด พอไม่รู้เพราะปิดบัง ก็ปิดบังยิ่งขึ้นๆ อย่างคนที่มี มัจฉริยะ เพราะไม่รู้เลย แท้ที่จริงก็คือสภาพธรรม ทั้งหมด ไม่ควรจะมี มัจฉริยะ เพราะว่าไม่เป็นของใคร เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งนั้นเลย วัตถุที่คิดว่าเรามี ความจริงก็เกิดดับไม่มีใคร เป็นเจ้าของ แม้แต่ตัวเจ้าของ ที่คิดว่ามีสิ่งนั้น ความจริงก็เป็นสภาพธรรมที่เกิดดับ แล้วก็ถ้าไม่มีความเข้าใจจริงๆ มัจฉริยะนี่ก็จะมากมาย แม้แต่มัจฉริยะในธรรมก็ยังมีได้

    วิทยากร. อกุศลทั้งปวงปิดบัง ในขณะที่เป็นอกุศล ขณะนั้นไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง

    ท่านอาจารย์ สิ่งที่มีอยู่ ใช่ไหม ก็คิดว่าเป็นของเรา ความจริงก็เป็นสิ่งซึ่งมี ขณะนั้นที่เห็น ที่ได้ยิน ที่เกิดขึ้นปรากฏในขณะนั้น

    พระธรรมเป็นศาสดาแทนพระองค์ เพราะฉะนั้น ถ้าได้มีการเข้าใจธรรม อย่าไปหวังว่า พอไปหาแล้วเราก็จะเกิด ความหายทุกข์ โดยที่ว่าไม่มีความเข้าใจของเราเอง แต่ต้องรู้ว่าการที่จะหายทุกข์ได้ คลายทุกข์ได้ ก็เพราะปัญญา ที่เกิดจากการฟังพระธรรม

    ผู้ฟัง ขอเรียนถาม ตอนที่จะจบ สุพรหมสูตร สุพรหมเทวบุตรได้ กล่าวดังนี้แล้ว ก็อันตรธานไปในที่นั้นเอง

    ท่านอาจารย์ ถ้าทุกคนในที่นี้ อีก ๗ วัน จะไปนรก เป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร เป็นไปได้หรือเปล่า ใครจะรู้ ใช่ไหม แต่ว่าพอจะเห็นได้ว่า ถึงแม้อย่างนั้น ได้ฟังอย่างนี้ ๗ วัน จะเป็นพระโสดาบันหรือเปล่า เป็นไม่ได้ เพราะฉะนั้น ทุกขณะที่มีการฟังพระธรรม พิจารณาไตร่ตรอง ให้เป็นความเข้าใจ ขณะนั้นเป็นปัญญาเจตสิก ถ้าเราเรียนเรื่องสภาพธรรม ที่ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ บุคคล สภาพธรรมที่เห็นถูกเข้าใจถูก ในสภาพธรรมนั้น ก็คือปัญญาเจตสิก ที่เกิดแล้วก็จะเจริญขึ้น ความเข้าใจก็เพิ่มขึ้น

    เพราะฉะนั้น อย่าประมาท การฟัง เพราะว่าจะเป็น อย่างสุพรหมเทพบุตร เป็นไปไม่ได้ ถ้าไม่มีการอบรมเจริญ การเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ยิ่งขึ้น เพิ่มขึ้นเพราะเหตุว่าอย่างอื่นนอกจากขณะนี้ มีไหม สิ่งที่ยังไม่เกิด ก็ยังไม่เกิด สิ่งที่หมดไปแล้วก็หมดไปแล้ว แต่สิ่งที่กำลังมี สามารถที่จะพิสูจน์ให้รู้ว่า เป็นลักษณะของธรรมแต่ละอย่าง ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ โดยละเอียด แล้วก็แสดงลักษณะของสติสัมปชัญญะ ซึ่งเป็นสติปัฏฐาน แต่ก่อนที่จะถึงสติปัฏฐาน ต้องมีความเข้าใจถูกต้องยิ่งขึ้น ในความเป็นอนัตตา ในลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในขณะนี้ เพราะฉะนั้น แทนที่สุพรหมสูตร หรือ สุพรหมเทพบุตรจะทำให้เราคิดผิด ว่าฟัง ๗ วัน ก่อนจะตาย ก็คงจะได้เป็นพระโสดาบัน เพราะคิดอย่างนั้นไม่ได้เลย เพราะว่ากว่าท่านจะสะสมมา ที่จะได้บรรลุคุณธรรมเป็นพระโสดาบัน ต้องมีความเข้าใจถูกเห็นถูก ในสภาพธรรม ที่มีจริงๆ ไม่มีความสงสัยในลักษณะของสติสัมปชัญญะ ซึ่งต่างกับสติขั้นทาน ขั้นศีล จิตที่สะดุ้ง เพราะความทุกข์ มีไหม

    ผู้ฟัง ผมสะดุ้งอยู่ตลอดเวลา เพราะว่าวันๆ หนึ่งนี้นะ ไม่ทราบมันเป็นอะไร มันจะนึกถึง คล้ายๆ ว่ามีอะไรคอยมากด มาบัง อะไรมากดมาบังเราอยู่ตลอดเวลา มันไม่โปร่งใส เป็นประจำเลย

    ท่านอาจารย์ เพราะอะไร

    ผู้ฟัง เพราะไม่รู้ ไม่เข้าใจสภาพธรรม ที่ปรากฏตามความเป็นจริง เพราะว่าการเข้าใจธรรม ท่านอาจารย์ก็บอกอยู่เสมอว่า ต้องเข้าใจขณะนี้ เพราะขณะนี้ มีเห็น ทุกคนเห็น รู้หรือเปล่า เข้าใจหรือเปล่า มีได้ยิน ทุกคนได้ยิน ได้กลิ่น อาจจะยังไม่มี ถ้าไม่ได้ ใกล้ดอกไม้ รสก็ยังไม่มีเพราะยังไม่ถึงเวลาจะทานอาหาร สัมผัสมี คิดนึกมี แล้วก็เข้าใจหรือเปล่าว่าเป็นธรรม นี้มันขาดตรงนี้ เมื่อขาดตรงนี้แล้ว มันก็เป็นความคิดนึก อย่างอื่นไปเอาไอ้โน่นมา เอาไอ้นี่มา มาทับถมว่าเป็น เรา ว่าเป็นตัวเรา ไปเอาความคิดที่คิดไปเรื่องราวต่างๆ คิดถึงคนโน้น คนนี้ คิดถึงเรื่องโน้น เรื่องนี้ เอาความคิดนั้นมาเป็นเรา ก็เลยกลายเป็นทุกข์

    ท่านอาจารย์ แล้วก็สมควรไหม ที่สะดุ้งอย่างนี้ สมควรไหม ที่จะสะดุ้งอย่างนี้ หรือแม้แต่เทพบุตร สุพรหมเทพบุตร ที่สะดุ้งขณะนั้น เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล

    ผู้ฟัง ก็เป็นอกุศล

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ต้องทราบธรรมตามความเป็นจริง ก่อนอื่นยัง อีกไกล ที่เราจะได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม ถ้าไม่มีความเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏจริงๆ

    การศึกษาธรรม เป็นเรื่องที่ละเอียด อย่าเพียงที่จะข้ามไป แต่ว่าทุกคำที่ได้ยินได้ฟัง ต้องทราบว่าขณะนั้น แท้ที่จริงแล้ว ไม่ใช่เราอย่างไร เป็นสภาพธรรม ที่เป็นอกุศล หรือกุศล ต้องตรง มิฉะนั้นก็จะเหมือนกับท่านผู้ถาม เมื่อกี้นี้ ใช่ไหม เข้าใจผิด เข้าใจถูก แล้วก็ตอนต่อไป จะเป็นอย่างไร ก็จะเป็นอย่างนี้ คือว่าก็คงเข้าใจผิด เข้าใจถูก ในสภาพธรรม ไปเรื่อยๆ

    การศึกษาธรรมอย่ารีบร้อน แล้วก็อย่าใจเร็วที่ คิดว่าจะต้องให้เป็นอย่างนั้น ให้เป็นอย่างนี้ แต่ต้องรู้จักตัวเองตามความเป็นจริง ข้อสำคัญที่สุดคือ รู้จักตัวเอง ตามความเป็นจริง แม้แต่คำว่า โลก ที่กล่าวถึงเมื่อกี้นี้ ฟังแล้วเข้าใจแล้ว แค่ไหน ถ้าเข้าใจจริงๆ ก็ต่อไปได้อีก เรื่องขันธ์แรื่องอะไรก็ไม่มีปัญหา แต่ว่าถ้าเราไม่เข้าใจแล้วเราจะรีบๆ ข้ามไป เราก็ไม่สามารถที่จะมีสติสัมปชัญญะ ที่จะรู้ลักษณะของโลก คือ สภาพธรรมที่กำลังเกิดดับในขณะนี้

    เพราะฉะนั้น ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ยังไม่เห็นความสวัสดีแห่งสัตว์ทั้งหลาย นอกจากโพชฌงค์ และตบะ โพชฌงค์ ก็เป็นองค์ธรรม ที่จะทำให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม ตบะก็เป็นความอดทนอย่างยิ่ง ต่อการที่จะอบรมเจริญ ความเห็นถูก ความรู้ถูกในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ซึ่งจะมีได้ก็คือ ด้วยการสำรวมอินทรีย์ คือสติสัมปชัญญะเกิด ไม่ว่าจะเป็นสภาพที่กำลังปรากฏ ทางตาก็มีจริง ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย มีจริง เพราะฉะนั้น ขณะใดที่มีการระลึกที่ลักษณะของสภาพธรรม คือ รู้ลักษณะนั้น ขณะนั้นก็จะทำให้สามารถประจักษ์แจ้งความจริงว่า ไม่มีเรา หรือไม่มีตัวตน เมื่อหมดความเป็นเรา ความทุกข์ก็จะต้องลดคลายลงไป

    ผู้ฟัง ถ้าเราจะเข้าใจสั้นๆ ว่าทุกอย่างเป็นธรรม ตรงนี้ก็ยังไม่ถูกต้อง ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ทุกอย่างเป็นธรรม ถูก แต่ไม่พอ

    ผู้ฟัง ไม่พอ ต้องขยายให้ทราบว่า ขณะนั้นโลกทั้ง ๖ อะไรปรากฏ หรือ

    ท่านอาจารย์ ก็พูดตามได้หมด พอถึงโลกทั้ง ๖ ก็พูดตามได้อีก แต่โลกจริงๆ เดี๋ยวนี้ ความเป็นโลกที่เกิดดับ ต้องมีลักษณะของสภาพธรรมให้เข้าใจถูก ให้ประจักษ์แจ้ง

    ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นก็ละเอียด

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ให้ความหมายของ การสำรวมอินทรีย์ เป็นอย่างไร แล้วก็ขณะนี้มีความสำรวมอินทรีย์อยู่ หรือเปล่า หรือว่าจะมีในขณะอย่างไร

    ท่านอาจารย์ สำรวมอินทรีย์ หรืออินทริยสังวร มีหลายระดับ ระดับของปาฏิโมกข์ก็มี คือตามพระวินัยบัญญัติ แต่ก็ยังไม่พอ เพราะเหตุว่า นั่นเป็นแต่เพียงปาฏิโมกขสังวรศีล สำรวมตามพระวินัย แต่ว่าจะมีแต่พระวินัยอย่างเดียว โดยที่จุดประสงค์ของพระวินัยนั้น เพื่อการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม เพราะฉะนั้น ถ้าเพียงแต่สำรวมในพระปาฏิโมกข์ แต่ว่าไม่สำรวมที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ไม่สามารถที่จะถึงโพชฌงค์ได้

    การสำรวมอินทรีย์ในที่นี้ ที่จะถึงความเป็นโพชฌงค์ ที่จะสละละวางทุกสิ่งทุกอย่าง คือรู้แจ้งอริยสัจธรรม ก็ต้องเป็นเรื่องของการอบรมเจริญสติปัฏฐาน เพราะฉะนั้น สำรวมอินทรีย์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อสติปัฏฐานเกิดแล้วก็ระลึก คือ รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังมีจริงๆ ที่กำลังปรากฏในขณะนี้

    ผู้ฟัง ในตำราที่ท่านอธิบายไว้ ท่านก็บอกว่า ภิกษุทั้งหลาย เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้ไม่ถือเอาในนิมิต และอนุพยัญชนะ ละอภิชชา และโทมนัส อะไรอย่างนี้ อันนี้จะหมายถึงสติปัฏฐานเลย ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ แน่นอน เพราะเหตุว่าถึงแม้ว่าจะ เป็นผู้ที่มั่นคงในการที่จะรักษาปาฏิโมกขสังวรศีล แต่ถ้าขณะนั้นไม่มีปัญญา ก็ย่อมสามารถที่จะล่วงละเมิดได้ เพราะฉะนั้น สังวรศีลอื่นๆ ก็ต้องอาศัย อินทริยสังวร ที่จะทำให้ศีลอื่นๆ สมบูรณ์ได้

    ผู้ฟัง จากประโยชน์ตรงนี้ ดิฉันเห็นจริงๆ เลย เพราะว่าถ้าอ่านอะไรไปแล้ว แล้วไม่ได้เข้าใจ การอบรมเจริญสติปัฏฐาน มันก็เหมือนสูญเปล่าไปเลย

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่เข้าใจ อย่างสำรวมอินทรีย์ แล้วทำอย่างไร สำรวมอย่างไร ถ้าสติปัฏฐานไม่เกิด

    ผู้ฟัง สำหรับโพชฌงค์ โดยความหมาย ในสติปัฏฐานหิมวันตสูตร ในโพชฌงคสังยุต ท่านแสดงชื่อ และความหมายของโพชฌงค์ ไว้มากมาย อย่างเช่น โพชฌงค์ เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์ของผู้ตรัสรู้นั้นบ้าง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์ของบุคคลผู้ตรัสรู้ และอรรถความหมาย โพชฌงค์เพราะอรรถว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ พราะอรรถว่าตรัสรู้ตาม เพราะอรรถว่าตรัสรู้เฉพาะ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ด้วยดี หมายความว่า เป็นขณะที่รู้แจ้งอริยสัจจธรรมตรงนั้น ใช่ไหม หรือว่าก่อนหน้านั้นก็จะเป็น โพชฌงค์ได้

    ท่านอาจารย์ โพธิปัคขิยธรรม ๓๗ รวม โพชฌงค์ ๗ ไว้ด้วย แม้แต่สติปัฏฐาน ถ้าไม่เคยระลึกลักษณะของสภาพธรรมเลย แล้วก็จะรู้แจ้งการเกิดขึ้น และดับไปของธรรมก็ไม่ได้

    ผู้ฟัง แต่ว่าโดยความหมาย โพชฌงค์ เหมือนกับว่า เป็นสติ และปัญญาที่กำลังที่จะใกล้จะตรัสรู้ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ถ้าเพียงเพิ่งเริ่มต้น โพชฌงค์ ก็ยังไม่สามารถจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ แต่สติ ที่เจริญขึ้นจากสติปัฏฐาน ก็จะถึงความเป็นโพชฌงค์

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 103
    25 มี.ค. 2567