ปกิณณกธรรม ตอนที่ 643


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๔๓

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ.๒๕๔๖


    ท่านอาจารย์ คุณวิจิตรกำลังเห็นอะไร เพราะว่าเป็นสิ่งที่มีจริง ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง แต่อวิชชาปิดบังไม่ให้เรารู้ ความจริงก็ให้เราคิดว่าเราเห็นหญิง หรือเป็นชาย แต่ความจริงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น ที่จักขุวิญญาณเห็น จักขุวิญญาณเห็นอย่างอื่นไม่ได้เลย นอกจากสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา เห็นไหม กว่าจะเอาความเป็นเราออกจากสิ่งที่ปรากฏทางตา

    ผู้ฟัง ที่ปรากฏทางตาเป็นชาย เป็นหญิง

    ท่านอาจารย์ คิด ไม่ใช่เห็น เห็นสิ่งที่ปรากฏเท่านั้น เห็นอย่างอื่นไม่ได้

    ผู้ฟัง คำว่า แล่นไป ไม่ใช่ชวนะหรือ

    ท่านอาจารย์ ก็แล้วแต่ถ้าไม่มีชวนะ ก็ มีแค่เห็น

    ผู้ฟัง ก็ใช่ แต่ใจความในนี้ต้องเป็นกิจของชวนะ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น คำนี้ คนที่ศึกษาแล้วก็ทราบว่าเป็นจิตขณะไหน เกิดดับสืบต่อกันอย่างไร แต่เราคงไม่ต้องไปกล่าวถึงจิตทีละขณะ ใช่ไหม ทันทีที่เห็นก็รู้ รู้อย่างเร็ว ไม่ต้องไป ช้าๆ เลย คำว่า แล่น

    ผู้ฟัง เรียนถามคำว่า ตทังคปหาน ยังไม่ถึงมรรคจิต ยังไม่ถึงญาณ เอาในชีวิตปัจจุบันนี้ ถ้าเป็น ว่า ตทังคปหาน เอาธรรมที่ตรงกันข้ามเป็นตัวประหาน

    ท่านอาจารย์ เวลาดับเป็นสมุจเฉทนี้ต้อง โลกุตตระ ใช่ไหม

    ถ.ใช่

    ส.ก่อนจะถึง เป็น ตทังคะ ใช่ไหม วิปัสสนาญาณทุกญาณเป็น ตทังคะชั่วขณะที่สภาพธรรมนั้นปรากฏ

    เรื่องของธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด เพราะว่าเราจะกล่าวอะไร เราคงต้องพิจารณาโดยรอบคอบ เพราะเหตุว่าแล้วแต่ความหมายของคำ อย่าง ตทังคปหาน ความหมายของคำว่า ปหาน ความหมายของ ตทังคะ คืออย่างไร เพราะว่าคงจะมีคำที่ทำให้เราไม่สามารถที่จะชี้ชัดลงไปได้ถ้าเรา ไม่ได้ศึกษาโดยละเอียด อย่างหน้า ๒ ที่เราว่า ทิฏฐิสมานุปัสสนา เห็นไหม เราเคยได้ยินอย่างที่คุณสุรีย์ว่า อนุปัสสนา บ่อยๆ

    พอเห็น คำว่า ทิฏฐิสมานุปัสสนา เราก็คิดว่าเป็นเรื่องของความเห็นถูก เพราะว่ามีคำว่า ปัสสนา เพราะฉะนั้น เราจะไปแปลคำบาลี โดยใจชอบของเราเองไม่ได้ ต้องถามผู้ที่รู้ ผู้ที่ศึกษาจริงๆ แล้วก็จะต้องมีการ นอกจากวิเคราะห์รูปศัพท์ออกมาแล้ว ความหมายแล้ว เราต้องดูเนื้อความในที่นั้น และประกอบกับ เนื้อความในที่อื่นด้วย แม้แต่คำว่า ตทังคปหาน ก็เช่นเดียวกัน เราก็คงจะต้องค้นคว้าต่อไปอีก ถ้ามีอะไรที่ จะแจ่มแจ้งกว่านี้ ชัดเจนกว่านี้ เพราะคำว่า ปหาน คำเดียวก็เหมือนกับ อนุปัสสนา เห็น ความเห็น ซึ่งปกติเป็นเรื่องของวิปัสสนา ตามเห็นที่ถูกต้อง แต่อันนี้ ตามเห็นด้วยความเห็นผิด ใช้คำนี้ด้วย

    ถ.ความสำคัญมันก็อยู่ที่คำว่า ปหาน

    ท่านอาจารย์ เราต้องศึกษาค้นคว้าอันนี้ ให้แน่ใจว่า คำนี้ใช้กว้าง แคบแค่ไหน กินความแค่ไหน แต่เท่าที่พบ ปหาน ก็เป็นเรื่องของการละ ค่อยๆ เข้าใจ ค่อยๆ คลาย ยังพ้นไปไม่ได้ทีเดียว จนกว่าจะคลายก่อน แม้แต่สิ่งที่กำลังปรากฏ มีความไม่รู้คือ อวิชชา แล้วจะคลาย ผู้ที่คลาย ก็รู้ ผู้ที่ยังไม่คลายก็รู้ ผู้ที่รู้เหตุที่จะให้คลายก็รู้ คือต้องมีเหตุ ไม่ใช่ด้วยความปรารถนาหรือความต้องการของเรา ต้องเป็นเหตุที่ถูกต้องด้วย ถ้าเหตุไม่ถูกอย่าคิดอย่าหวัง ที่จะคลาย แล้วถ้าไม่คลายอย่า คิดอย่าหวังว่าจะไปถึงการรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้

    ผู้ฟัง การศึกษาก็เป็นการสร้างเหตุหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง คือความเข้าใจ ขณะใดที่เข้าใจ ขณะนั้นก็คือเหตุที่ถูกต้อง เพราะว่าปัญญาเท่านั้นที่จะละกิเลสได้

    ผู้ฟัง การฟังการศึกษา จะเป็นพยัญชนะ หรือเป็นอรรถ ก็เป็นการสร้างเหตุ ที่จะเป็นบันได

    ท่านอาจารย์ ค่อยๆ สะสม จากวันโน้น นานแสนนาน ก็ถึงวันนี้ที่เราทุกคนนั่งอยู่ที่นี่

    ผู้ฟัง วิจิกิจฉาคือ ความสงสัยในสภาพธรรม ใช่ไหม อย่างสภาพธรรม แข็ง มีจริงหรือเปล่า สิ่งที่รู้แข็งมีจริงหรือเปล่า อะไรประมาณนี้ ใช่ไหม แล้วก็ส่วนที่มันเป็น อย่างเรื่องนรกสวรรค์ อย่างเรื่องกรรม ผลของกรรม คิดว่าเป็นปรมัตถธรรม

    ท่านอาจารย์ แล้วไม่มีสภาพธรรมเลยหรือ

    ถ.ต้องมีอยู่แล้ว เพราะว่าทุกอย่างถ้าไม่มีสภาพธรรม ก็ไม่มีปรมัตถธรรม แต่ว่า ในเรื่องราวที่มันเป็นกรรม ผลของกรรม หรืออย่างเรื่องนรกสวรรค์อย่างนี้ มันเป็นเรื่องราวมันเป็นบัญญัติ

    ท่านอาจารย์ ที่จริงที่จะรู้ลักษณะวิจิกิจฉาได้ ขณะนั้นต้องมีลักษณะของวิจิกิจฉาปรากฏ แล้วเมื่อนั้นก็จะรู้ว่า มีความสงสัยอะไร

    ผู้ฟัง ถ้าสงสัยว่า นรกมีจริง สวรรค์มีจริงไหม อย่างนี้เป็นวิจิกิจฉาไหม

    ท่านอาจารย์ เวลาที่คิดว่า นรกมีจริง สวรรค์มีจริงไหม สงสัยจริงๆ ในขณะนั้น สงสัยอะไร

    ผู้ฟัง สงสัยว่ามีจริงหรือไม่มีจริง

    ท่านอาจารย์ นั่น กำลังคิดว่า นรกมีจริงไหม สวรรค์มีจริงไหม ขณะนั้น ถ้าจะสงสัย สงสัยในอะไร

    ผู้ฟัง สงสัยใน จะสืบไปอย่างนั้นมันคงไม่พ้นไปจากปรมัตถธรรม

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จะหมดความสงสัยด้วยอะไร อย่างจะหมดความสงสัยในนรก หรือจะหมดความสงสัยในสวรรค์จริงๆ โดยมีคนมาบอกเราว่ามี เขาไปเห็นมาแล้ว หรือว่ามีไว้ในพระไตรปิฎก แต่เราจะหมดความสงสัยได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เพราะฉะนั้น จะหมดความสงสัยในนรกสวรรค์ ในรูปพรหม อรูปพรหมจริงๆ ต่อเมื่อรู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้น ถ้าไม่รู้ในลักษณะของนามธรรม จะหมดความสงสัยในความเป็นนามธรรมไหม อรูปพรหมจะมีได้อย่างไร เพราะเหตุว่าไม่มีรูปเลย เพราะคนส่วนใหญ่เข้าใจว่า รูปที่นามจะเกิดขึ้นได้เพราะมีรูป เป็นปัจจัย บางคนคิดอย่างนั้น คือแยกไม่ออกเลย ว่าถ้าไม่มีรูป แล้วจะมีนามได้อย่างไร แต่ถ้ารู้ความต่างจริงๆ โดยสิ้นเชิง โดยประการทั้งปวงของนามธรรม และรูปธรรม ว่านามธรรมคือธาตุรู้ มีลักษณะรู้ จะสงสัยในอรูปพรหมภูมิไหม ไม่ต้องมีรูปเลย ธาตุรู้หรือสภาพรู้จริงๆ ที่เป็นลักษณะรู้ มี แน่นอน ถ้าไม่สงสัยในอรูปพรหม จะหมดความสงสัยในนรกในสวรรค์ด้วยไหม

    ผู้ฟัง หมายความว่า พยายามหาเรื่องราวมาให้เชื่อมโยงกัน อย่างนั้นใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ นั่นเป็นการคิด เป็นการคิดซึ่งคิดไม่ออก เพราะว่านรก คิดอย่างไรก็ไม่เห็นแน่ สวรรค์ เวลานี้ใครจะคิด สักเท่าไร จะกล่าวว่าบนสวรรค์มี สวนนันทวรรณ มีสวนจิตลดา มีอะไรก็แล้วแต่ หมดความสงสัยไหมว่าเป็น อย่างไร ความต่างของ ๒ สวน ๓ สวน ๔ สวนจะเป็นอย่างไร แต่ว่าถ้ารู้ลักษณะของนามธรรม โดยการประจักษ์แจ้ง ในธาตุรู้ ขณะนั้นจะมีความสงสัยในลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมไหม ในขณะที่ประจักษ์แจ้ง ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม จะสงสัยในลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมไหม

    ผู้ฟัง ไม่สงสัย

    ท่านอาจารย์ ไม่สงสัย ถ้าไม่สงสัย อรูปพรหมมีได้ไหม โดยไม่ต้องมีรูปใดๆ เลยทั้งสิ้น มีแต่เฉพาะ สภาพรู้หรือธาตุรู้ ได้ไหม

    ผู้ฟัง ย่อมได้

    ท่านอาจารย์ เพราะรู้ ใช่ไหม จึงหมดความสงสัยในอรูปพรหม นรกมีได้ไหม ถ้าหมดความสงสัยในรูปพรหม จะหมดความสงสัยในนรกในสวรรค์ด้วยหรือเปล่า ก็เป็นแต่เพียงจิตเกิดขึ้นในที่ใด ภพภูมินั้น มีอะไร เหมือนอย่างในโลกนี้ มีสิ่งที่ปรากฏทางตา น่าพอใจบ้าง ไม่น่าพอใจบ้าง มีเสียง มีกลิ่นมีรส นามธรรมเป็นสภาพรู้ หรือธาตุรู้ ซึ่งเมื่อเกิดก็ต้องรู้ รูปธรรมในภูมิที่ยังมีรูปอยู่ นรกก็ยังมีรูป สวรรค์ก็ยังมีรูป เพราะฉะนั้น ถ้ารู้ความจริงของขณะที่เห็น ไม่มีคน ไม่มีอะไรเลย ไม่ต้องเรียกว่ามนุษย์ ไม่ต้องเรียกว่าเทวดา ไม่ต้องเรียกว่าอะไร แต่ว่ามีธาตุรู้ซึ่งกำลังรู้ รูปใน ๕ ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมีใจด้วยที่รับรู้รูปนั้นต่อ ก็จะหมดความสงสัยในทุกอย่าง ในภพภูมิอื่นด้วย

    ผู้ฟัง ไม่ใช่เป็นการพยากรณ์ไปก่อนหรือ

    ท่านอาจารย์ อะไร ก็กำลังประจักษ์ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม ต้องหมดความสงสัยแน่นอน ในลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม ใช่ไหม ความที่นามธรรม ไม่ใช่รูปธรรม โดยประการทั้งปวง แล้วก็มีได้ แล้วลักษณะนั้น ก็เป็นสภาพรู้ หรือธาตุรู้ ในขณะที่รูปไม่รู้อะไรเลย จะไม่สงสัยใน อรูปพรหม ใช่ไหม ถ้ารู้ลักษณะของนามธรรมโดยประจักษ์แจ้ง

    ถ.ถูกต้อง

    ท่านอาจารย์ โดยประจักษ์แจ้ง เมื่อหมดความสงสัยในอรูปพรหม จะมีความสงสัยในภูมิอื่นไหม

    ผู้ฟัง ไม่แน่

    ท่านอาจารย์ ทำไม ภูมิอื่นอย่างนรกอย่างนี้ นรกก็เห็น เห็นขณะเห็น จะเป็นที่นรก หรือว่าบนสวรรค์ ก็คือสภาพรู้ จะไม่เห็นว่าขณะนั้นเป็นเรา เพราะว่าเป็นธาตุรู้ซึ่งเป็นใหญ่ ในการรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่เจตสิก เป็นจิต เป็นใหญ่จริงๆ ในขณะนั้น ไม่มีสิ่งอื่นเลย ซึ่งจะใหญ่กว่า เพราะเหตุว่าเป็นสภาพที่มีแต่ธาตุรู้อย่างเดียว เมื่อมีแต่ธาตุรู้อย่างเดียวปรากฏ ความยิ่งใหญ่ของธาตุรู้จะแค่ไหน เพราะฉะนั้น ธาตุรู้นี้ ไม่ว่าจะอยู่บนสวรรค์ หรือว่าในมนุษย์ หรือว่าในพรหมโลก ในอรูปพรหมก็คือธาตุรู้ ซึ่งไม่เปลี่ยน

    ผู้ฟัง แต่หากเราไม่เคยศึกษาเรื่องราวของพวกนรกสวรรค์มาก่อน

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ไม่หมดความสงสัย ถ้าไม่ประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรม

    ผู้ฟัง แต่ว่าศึกษาเรื่องราวของสภาพธรรม

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นเพียงเรื่องราว ซึ่งเราคิดเหมือนเรื่องอื่น เรื่องบ้าน สงสัยเรื่องบ้านไหม บ้านไฟไหม้

    ผู้ฟัง ไม่สงสัย เพราะเห็น

    ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่ามีเห็น มีได้ยิน ใช่ไหม แต่เพียงแต่ว่าสมมติว่าเป็นบ้าน สมมติว่าเป็นมนุษย์ สมมติว่าเป็นสวรรค์ สมมติว่าเป็นนรก ทั้งหมดเป็นชื่อทั้งนั้น แต่ลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ เมื่อหมดความสงสัยในลักษณะของสภาพธรรมก็ไม่สงสัยในเรื่องอื่นด้วย

    ผู้ฟัง ไม่ได้เห็นนรกว่าเป็นนรก ไม่ได้เห็นสวรรค์ว่าเป็นสวรรค์

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าขณะนั้น ขณะที่รู้ธรรม ไม่มีนรก ไม่มีสวรรค์ แต่มีสภาพรู้ กับสิ่งที่เป็นรูปธรรม มีนามธรรม กับรูปธรรมปรากฏให้รู้

    ผู้ฟัง ส่วนรายละเอียดที่ว่านรกจะเป็นอย่างไร สวรรค์จะเป็นอย่างไร นั้นคืออีกเรื่องหนึ่ง ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ไม่มีความสงสัยเลยว่า ต้องเป็นนามธรรม และรูปธรรม

    ผู้ฟัง แต่ว่ายังไม่สามารถที่จะบรรยายได้ว่า ตรงไหนมีอะไรชั้นไหมมีอะไร อย่างไร ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ แต่จะต่างกันไหมกับ ๖ ทวาร

    ผู้ฟัง ไม่ต่างกัน แต่รายละเอียดปลีกย่อย

    ส. ถ้ารู้ความจริง ก็คือว่าต่อให้เป็นไฟ เป็นลม เป็นอะไรก็ตามแต่ ของนรกต่างๆ เป็นกลิ่นเป็นอะไร ของสวรรค์ ก็เป็นอย่างนั้นก็คือ ๖ ทาง เหมือนกันหมดเลย เกิดแล้วก็ดับไป

    ผู้ฟัง อย่างนั้นมันไม่ค่อยน่าอัศจรรย์

    ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นเรื่องแล้วน่าอัศจรรย์ ใช่ไหม มียมบาล มีนายนิรยบาล มีอะไร ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ตอนแรกคิดว่าเป็นอย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ นั่นคือสมมติ แต่แท้จริง ถ้าไม่มีสภาพธรรมอะไรๆ ก็มีไม่ได้

    ผู้ฟัง ผมก็จะถามเรื่องราวนรกสวรรค์ จะถามพระโสดาบันอย่างไร ก็คงจะยังไม่หมดความสงสัย จนกว่า จะประจักษ์เอง

    ท่านอาจารย์ ถ้าสามารถที่จะรู้ความจริงของนามธรรม และรูปธรรมเท่านั้น จึงจะหมดความสงสัย แค่นรกก็ยังเหมือนเรา ใช่ไหม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และอรูปพรหม ไม่มีรูปใดๆ เลยทั้งสิ้น ถ้าหมดความสงสัยในอรูปพรหมภูมิได้ ทำไมจะยังสงสัยในภูมิอื่น ซึ่งไม่ต่างกับตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ว่าที่ไหนๆ ก็คือ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส

    ผู้ฟัง ถ้าสติปัฏฐานเกิดระลึกรู้สภาพรู้ แค่นี้ก็สามารถที่จะเข้าใจอรูปพรหมได้แล้วด้วย ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ถ้ารู้ลักษณะของสภาพรู้โดยวิปัสสนาญาณ

    ผู้ฟัง ต้องถึงวิปัสสนาญาณ

    ท่านอาจารย์ แน่นอน

    ผู้ฟัง สติปัฏฐานไม่พอหรือ

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ประจักษ์เลย ในธาตุรู้ เพียงแต่กำลังเริ่มที่จะเข้าใจว่ามี ทั้งๆ ที่ฟังว่ามี มีสภาพรู้ หรือธาตุรู้ แต่ไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น ความต่างของนามธรรม และรูปธรรม ซึ่งไม่ใช่ เราก็ไม่ปรากฏ

    ผู้ฟัง เริ่มที่จะเข้าใจ เพราะสติปัฏฐาน ยังไม่ได้รู้ลักษณะของการแยกรูป หรือนามโดยเด็ดขาด

    ท่านอาจารย์ ค่อยๆ กำลังศึกษา ค่อยๆ ศึกษา ค่อยๆ เข้าใจขึ้น จนกว่าจะถึงความสมบูรณ์ ที่เป็นวิปัสสนาญาณ

    ผู้ฟัง เมื่อตอนช่วงเช้าๆ ท่านอาจารย์กล่าวถึง บอกว่า ถ้าลักษณะของเจตสิกไม่ปรากฏก็ศึกษาไม่ได้ ตรงนี้ ให้ท่านอาจารย์ขยายตรงนี้หน่อย

    ท่านอาจารย์ จักขุวิญญาณ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๗ ดวง ๗ ชนิด แล้วก็รู้ลักษณะของเจตสิกไหนบ้าง

    ผู้ฟัง ก็ไม่ทราบ

    ท่านอาจารย์ ในขณะที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้

    ผู้ฟัง ไม่ทราบเลย แต่จะมีสภาพรู้ปรากฏได้ไหม ตรงนั้น

    ท่านอาจารย์ แน่นอน ขณะนี้กำลังเห็น โดยการศึกษาทราบว่าเป็นจิต และเจตสิก ไม่ใช่แต่เฉพาะจิต แต่ขณะที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ ลักษณะของเจตสิกอะไรปรากฏ มีไหม

    ผู้ฟัง ไม่ปรากฏ

    ท่านอาจารย์ ไม่ปรากฏ ก็คือไม่เห็น

    ผู้ฟัง อีกเรื่องหนึ่ง ลักษณะของจักขุวิญญาณปรากฏ ก็เป็นสภาพธรรมปรากฏ จะต่างอย่างไรถ้าสติเกิดแล้วรู้ว่าเป็นสภาพธรรมปรากฏ

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้เห็น รู้ไหม ว่าเป็นธรรม

    ผู้ฟัง ไม่ทราบ

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าสติไม่ได้ระลึก เพราะฉะนั้น นามธรรมก็ไม่ได้ปรากฏกับสติ เพราะว่านามธรรมที่เห็นกำลังเห็น

    ผู้ฟัง อย่างไรก็ตาม ถ้าสภาพที่จักขุวิญญาณปรากฏก็รู้ แต่เราไม่รู้ว่าเป็นลักษณะของสภาพธรรม

    ท่านอาจารย์ ไม่มีชื่อ ไม่มีชื่อเลย ลักษณะของสภาพรู้ หรือธาตุรู้ เหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเป็นจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ อะไรก็แล้วแต่ ลักษณะของสภาพรู้ก็คือ เป็นสภาพรู้ ซึ่งต่างกับรูปธรรม ก่อนที่เราจะรู้ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม ที่เป็นจิตหรือเป็นเจตสิก ก็คือว่าต้องรู้ลักษณะที่เป็นสภาพรู้ก่อน แล้วลักษณะของสภาพรู้ที่ปรากฏ จะมีลักษณะของความเป็นจิต หรือเจตสิก

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์กล่าวอย่างนี้เหมือนกับว่า เราควรที่จะ ไม่ใช่ควรที่จะรู้ ความเป็นจริง เหมือนกับจะรู้ว่า หลงลืมสติต่าง กับมีสติก่อน ที่จะรู้รูปหรือ

    ท่านอาจารย์ แน่นอน ถ้าไม่อย่างนั้นขณะนี้ ที่ไม่มีสติเกิด รู้รูปอะไร

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์กล่าวว่า ที่เราศึกษา เราเพียงรู้แต่แนวความคิด ของพวกจิต ของเจตสิก ว่าเจตสิกอย่างไร มีลักษณะอย่างไร จริงๆ แล้วเราไม่สามารถรู้ได้ ใช่ไหม ตราบใดที่สติปัฏฐานยังไม่เกิด

    ท่านอาจารย์ ต้องพูดคำนี้ด้วย

    ผู้ฟัง อย่างนั้น ที่บางครั้ง เราคิดว่าเรามีเมตตา หรือเราคิดว่าบางครั้งเรามีอกุศลเจริญมากไหม เป็นความเข้าใจผิด

    ท่านอาจารย์ เมตตาก็เป็นเรา ไม่ใช่หรือ ขณะนั้น แล้วจะเป็นเมตตาที่ไม่ใช่เราได้อย่างไร

    ผู้ฟัง คืออยากจะทราบลักษณะของเจตสิก ที่เขาเกิดในขณะนั้นจริงๆ ว่าเรารู้จริงหรือเปล่า หรือว่าเป็นเพียงแค่คร่าวๆ

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้ ไม่มีอะไรเลย แต่เราไปจำชื่อ ความจริงก็คือ มีทั้งจิต และเจตสิก กำลังเกิดดับ แม้แต่ในขณะที่คุณวรศักดิ์ถาม ก็มีจิต และเจตสิก ไม่ใช่ว่าไม่มีจิต และเจตสิก แต่ไม่รู้ลักษณะของจิต และเจตสิก

    ผู้ฟัง ไม่รู้ลักษณะ อาจารย์กล่าวว่า ไม่รู้ลักษณะ

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้เป็นกุศล ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ไม่แน่ เพราะว่า

    ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นกุศล มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าไร อย่างน้อย

    ผู้ฟัง ๑๙

    ท่านอาจารย์ ๑๙ แล้วรู้เจตสิกไหน

    ผู้ฟัง ไม่รู้สักตัว

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่รู้สักตัว ก็ตรง ก็ตรง ถ้าสติปัฏฐานไม่เกิด ไม่ระลึก ก็ไม่สามารถจะรู้ได้ จะไปรู้ได้อย่างไร ถ้าสติปัฏฐาน ไม่ระลึกรู้ ไม่ใช่ระลึกเรื่อง ระลึกรู้ลักษณะ ที่เป็นลักษณะนั้นจริงๆ ขณะนี้เป็นลักษณะของสภาพธรรมทั้งหมดเลย เอาชื่อออกหมด มีแต่สภาพธรรมเท่านั้น ที่กำลังปรากฏ ทางตาสีสันกำลังปรากฏ ทางหูเสียงก็ปรากฏ ใจที่คิดนึกก็มีจริงๆ ไม่ว่าจะคิดเรื่องอะไร เป็นธรรมหมด

    เพราะฉะนั้น ปัญญาของเราก็ต้องตั้งต้น ที่จะฟังเข้าใจแล้วก็อบรมเจริญปัญญา ที่จะรู้ลักษณะของธรรม ซึ่งมีจริงๆ ทุกขณะ ไม่เคยขาดไปเลย ตราบใดที่ตาเห็น หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ใจคิดนึก ก็ต้องเป็นการที่สามารถจะรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ ได้ เพราะเป็นธรรม ถ้าเห็นอย่างนี้ จะรู้อย่างนี้ไหม

    ผู้ฟัง รู้อย่างนี้ รู้อย่างไร

    ท่านอาจารย์ ก็รู้ตามความเป็นจริง ว่านามธรรมเป็นนามธรรม รูปธรรมเป็นรูปธรรม ในพระไตรปิฎก ก็มีข้อความ ถ้าใครบอกว่าเป็นผู้ที่รู้แจ้งธรรม ดับกิเลสได้ เป็นพระอรหันต์ ควรเชื่อหรือว่าควรจะสนทนากัน

    ผู้ฟัง ควรจะสนทนา

    ท่านอาจารย์ สนทนาสอบถามว่าอย่างไร

    ผู้ฟัง สอบถามที่จะให้รู้

    ท่านอาจารย์ สอบถามว่าขณะนี้ เห็นอย่างนี้ กำลังเห็นอย่างนี้ รู้อย่างนี้ คือรู้อย่างไร นี่คือปัญญา เพราะฉะนั้น ถ้าเห็นอย่างนี้แล้ว ไม่รู้อะไร จะเป็นพระอรหันต์ได้ไหม เพราะฉะนั้น ถ้าคนที่จะมีปัญญาเกิดขึ้น ก็คือว่ากำลังเห็นอย่างนี้ รู้อย่างนี้คืออย่างไร กำลังได้ยินอย่างนี้ รู้อย่างนี้คืออย่างไร กำลังได้กลิ่นอย่างนี้ รู้อย่างนี้คือรู้อย่างไร เพราะมีสภาพธรรมจริงๆ แล้วถ้าผู้นั้นมีปัญญาผู้นั้นก็ต้องรู้สิ่งที่มีจริงอย่างนั้น ถูกต้อง

    ผู้ฟัง ไม่อย่างนั้น เราจะสามารถแยกกุศลเป็นกุศล แล้วอกุศลเป็นอกุศล

    ท่านอาจารย์ ถ้ายังไม่รู้ลักษณะว่าเป็นนามธรรม ก็เป็นชื่อ เพราะลักษณะของนามธรรมไม่ได้ปรากฏความเป็นนามธรรมเลย แต่เรียนเรื่องชื่อมาทั้งหมดบอกได้หมดเลย สติต่างกับสมาธิก็บอกได้ แต่ลักษณะของทั้งสติ สมาธิก็ไม่ได้ปรากฏเพราะว่าเป็นเราทั้งหมด

    ผู้ฟัง แล้วกุศลจะเจริญได้อย่างไร

    ท่านอาจารย์ กุศลเจริญจากการฟัง พิจารณาเข้าใจค่อยๆ เป็นความเข้าใจขึ้น ขณะที่เข้าใจ ก็ไม่ใช่คุณวรศักดิ์ไม่มีชื่อใดๆ เลย ไม่ใช่ของใครด้วย เป็นสภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง จากการฟังเป็นสังขารขันธ์ ทำให้ปัญญา ค่อยๆ เจริญขึ้น

    ผู้ฟัง แม้กุศลเจริญ เราก็ไม่สามารถที่จะไปรู้ได้ว่าขณะนั้นกุศลกำลังเจริญ

    ท่านอาจารย์ ถ้า ... ต้องพูดให้จบด้วย ถ้าสติปัฏฐานไม่เกิด ก็ไม่สามารถจะรู้ลักษณะของสภาพธรรมใดๆ เลย ทั้งๆ ที่ขณะนี้เป็นธรรมทุกอย่าง หนทางเดียว ใช่ไหม หรือว่าจะมีหนทางอื่น

    ผู้ฟัง หนทางเดียว แต่ฟังยากมาก

    ท่านอาจารย์ แน่นอน พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระปัญญาสูงสุด จึงสามารถประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังเป็นจริงอย่างนี้ได้

    ผู้ฟัง แล้วที่เราเห็นแสดงออกทางอาการ อย่างคนโกรธ หรือว่าคนดีใจ

    ท่านอาจารย์ ใครเห็น ใครเห็นคนโกรธ ทั้งเราทั้งเขาเลย เราเห็นเขาโกรธ

    ผู้ฟัง จริงๆ แล้วไม่ใช่

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เลย เห็นชั่วขณะดับแล้ว ขณะที่ได้ยินเดี๋ยวนี้เอง ไม่ใช่ขณะที่เห็น เพราะฉะนั้น เห็นอย่างไร รู้อย่างไร ในสิ่งที่ปรากฏ

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ที่เราอนุโมทนา สุ่มสี่สุ่มห้า เราก็ไม่รู้จริง

    ท่านอาจารย์ เป็นอย่างไรอนุโมทนา สุ่มสี่สุ่มห้า ไหนลองอธิบาย

    ผู้ฟัง จากการทึกทักของเราว่าเขากำลังทำความดีอยู่

    ท่านอาจารย์ จิตเป็นกุศล หรือเปล่า ขณะที่อนุโมทนา

    ผู้ฟัง มันก็เป็น แต่จริงๆ แล้วจิต เขาเป็นกุศลจริงๆ หรือเปล่า เราก็ไม่สามารถจะไปรู้ได้

    ท่านอาจารย์ แต่จิตของผู้อนุโมทนาเป็นกุศล หรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็นกุศลจริง หรือกุศลปลอมก็ไม่ทราบ เพราะว่าเราไม่ทราบว่า การกระทำของเขา หรือจิตของเขา ขณะนั้นเป็นกุศลจริง หรืออกุศล

    ท่านอาจารย์ เขาคือมีความคิด ใช่ไหม ว่าสิ่งที่ปรากฏเป็นเขา แต่จิตของผู้รู้ ขณะนั้นจะไม่มีใครเลยทั้งสิ้น นอกจากคิด

    เพราะฉะนั้น จะเข้าใจได้เลยว่า ความหมายของคำว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ถ้าไม่มีความคิด เพราะฉะนั้น สมมติบัญญัติทั้งหมด ทางมโนทวารนี้แน่นอน ตรงตามที่ได้ทรงแสดงไว้ เพราะว่าทางปัญจทวาร จะไปรู้เขา รู้เราไม่ได้เลย เห็นแต่สิ่งที่ปรากฏ ได้ยินแต่เสียงได้กลิ่น ยังไม่มีกลิ่นอะไร ยังไม่มีความหมายของเสียง ยังไม่มีรูปร่างสัญฐานอะไรๆ เลยทั้งสิ้น

    เพราะฉะนั้น จะรู้ได้เลยว่า ความต่างกันของทางปัญจทวาร และทางมโนทวารคืออย่างไร และโลกของสมมติบัญญัติตั้งต้นทางทวารไหน เห็นอยู่อย่างไร รู้อยู่อย่างไร ในสิ่งที่ปรากฏ

    ผู้ฟัง แม้แต่ขณะที่เราคิดว่า เรารู้ อย่างเช่น สภาพธรรม ที่เป็นลักษณะของง่วงเหงา หาวนอน ถีนมิทธะ เราง่วงขณะนั้น ไม่ใช่ว่าเรารู้จริงๆ ว่าเราง่วง

    ท่านอาจารย์ เราไม่รู้ว่าเป็นธรรม

    ผู้ฟัง แต่ขณะนั้นสภาพง่วง สภาพซึม สภาพเช่นนั้น แสดงออกมา

    ท่านอาจารย์ ทุกอย่างเป็นธรรม แต่ไม่รู้ว่าเป็นธรรม

    ผู้ฟัง ขณะนั้นก็ยังเป็น ไม่คิดว่า เรารู้ ลักษณะง่วงที่เกิดกับเรา

    ท่านอาจารย์ แล้วเรา อยู่ที่ไหน

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 103
    25 มี.ค. 2567