ปกิณณกธรรม ตอนที่ 641


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๔๑

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๖


    ผู้ฟัง ถ้าสงสัยอยากจะรู้ชื่อ กับสงสัยอยากจะรู้สภาพธรรม

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่สงสัยอยาก สงสัยในลักษณะที่กำลังปรากฏ อย่างขณะนี้ นามธรรมหรือรูปธรรม

    ผู้ฟัง ถ้าหากว่าสงสัยในชื่อ กับสงสัยในสภาพธรรม อันนี้มันจะรวมเข้าอยู่ใน วิจิกิจฉาด้วย ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ อันนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ ว่าสิ่งที่เราเรียน เราเพียงเรียนเรื่องคำต่างๆ ซึ่งกล่าวถึงสภาพธรรม แต่ละอย่าง แต่ว่าไม่ใช่การรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เรากล่าว หรือเราพูด ถ้าขณะนั้นไม่ใช่ปัญญาที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ อันนี้เป็นความต่างกันมาก

    เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า เพียงขั้นฟังอย่างนี้ ไม่สามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมเลย สภาพธรรมกำลังปรากฏกำลังเกิดดับ แล้วเราก็บอกว่าเราศึกษาธรรม แต่ขณะที่ว่าเราศึกษาธรรม เราศึกษาเรื่อง และชื่อของธรรม แต่ว่าศึกษาธรรมตัวจริงๆ ต้องขณะที่สติสัมปชัญญะ เกิดหลังจากที่เราได้เข้าใจแล้ว ว่าขณะนี้เป็นธรรมทั้งหมดขั้นฟัง เป็นธรรมทั้งหมดขั้นฟัง แต่คำนี้ต้องตรง กับความรู้ของเราจริงๆ ด้วย ว่าสิ่งที่กำลังปรากฏ ขณะนี้เป็นธรรมจริงๆ เราพูดว่าเป็นธรรม แต่เราต้องอบรมเจริญปัญญา ถึงการรู้แจ้งว่าทุกอย่างในขณะนี้ เป็นธรรม เพราะสติปัฏฐานระลึกลักษณะที่เป็นธรรม เพราะว่าทุกคนไม่ปฏิเสธเลย เป็นธรรมทั้งหมด ไม่มีเรา ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล เพราะอะไร เป็นจิต เป็นเจตสิก เป็นรูป ความจริงคือเท่านั้น

    เพราะฉะนั้น ถ้าเรากล่าวอย่างนี้ ก็คือว่าปัญญาขั้นฟังของเรา เริ่มเข้าใจตรงนี้ แต่ว่าเป็นแต่เพียงความเข้าใจขั้นฟังเท่านั้น ก็จะต้องอบรมเจริญหนทาง ที่สามารถที่จะกล่าวตามความเข้าใจที่ได้อบรมแล้วว่าเป็นธรรม เพราะว่าสติสัมปชัญญะระลึกลักษณะของธรรมที่กำลังมีจริงๆ แต่ละอย่าง แต่ว่าเป็นความจริงที่สั้นมาก เพียงปรากฏแล้วหมดไป นี้ก็คือต้องเข้าใจจริงๆ ว่าเราจะมีความสงสัย ในชื่อ ในเรื่องของสภาพธรรมด้วย และในตัวของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะว่าจะหมดความสงสัยไปทันทีไม่ได้เลย ที่จะดับความสงสัยได้หมดไม่เกิดอีกเลยเป็นสมุจเฉท คือโสดาปัตติมรรคจิตเกิด

    แสดงให้เห็นว่า แม้สภาพธรรมจะมีปรากฏแต่กว่าจะอบรมเจริญปัญญา จริงๆ ที่จะค่อยๆ รู้ ค่อยๆ เข้าใจ จนกระทั่งสามารถหยั่งถึงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังเกิดดับ แล้วก็ละคลาย ความเป็นเรา จนกว่าจะถึงโสดาปัตติมรรคจิตซึ่งดับวิจิกิจฉาได้ เป็นสมุจเฉท ไม่เกิดอีกเลย เมื่อนั้นเราก็จะรู้ความหมาย และลักษณะอรรถของวิจิกิจฉา เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่าแม้สภาพธรรมจะมีปรากฏ แต่กว่าจะอบรมเจริญปัญญาจริงๆ ที่จะค่อยๆ รู้ ค่อยๆ เข้าใจ จนกระทั่งสามารถหยั่งถึงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังเกิดดับ แล้วก็ละคลายความเป็นเรา จนกว่าจะถึงโสดาปัตติมรรคจิตซึ่งดับวิจิกิจฉาได้เป็นสมุจเฉท ไม่เกิดอีกเลย เมื่อนั้นเราก็จะรู้ความหมาย และลักษณะอรรถของวิจิกิจฉา เพราะว่าวิจิกิจฉาหมด แล้วเวลาที่วิจิกิจฉาเกิด ก็เป็นลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นวิจิกิจฉา ไม่ใช่เรา แต่ว่าถ้าสติสัมปชัญญะไม่เกิด ก็เป็นเรามีวิจิกิจฉา เห็นสักกายทิฏฐิไหม เรามี ไม่อย่างนั้นก็สักกายทิฏฐิ ๒๐ ก็ไปนั่งจำ ในขันธ์ ๕, ๔ อย่างเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ แต่ว่าจำ กับการที่รู้ในขณะที่มีจริงๆ ว่า เรามีความสงสัย หรือว่าเรามีความโลภ หรือว่าเรามีความโกรธ ขณะนั้นก็เข้าใจอรรถของสักกายทิฏฐิ ในความหมายที่ว่า เรามี ขณะที่กำลังเข้าใจ มีวิจิกิจฉาเจตสิกไหม ไม่มี ต้องทราบด้วย ขณะเข้าใจแม้เรื่องราวขณะนั้นเป็นกุศล จะมีวิจิกิจฉาไม่ได้ แต่ไม่ได้หมดวิจิกิจฉาเจตสิกเลย ถ้าไม่ถึงโสดาปัตติมรรค

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์พูดตอน ๖ โมง เรื่องปฏิจจสมุปบาท อันนี้ก็คือ อวิชชาที่หุ้มห่อ หมู่สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ อยากจะให้อาจารย์แสดงชัดๆ ว่าปฏิจจสมุปบาท มันทำให้เราต้องเวียนว่ายตายเกิด เป็นวัฏฏะอย่างไร

    ท่านอาจารย์ อวิชชา คงไม่ใช่ผ้าที่จะหุ้มห่อ หรือปกปิด เพราะเหตุว่าเรากล่าวถึงนามธรรม แต่นามธรรมนี้ก็ยาก ที่จะรู้ในลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่างเพราะว่าไม่มี รูปร่างใดๆ เลยทั้งสิ้น นี่ก็เหลือที่จะคิดแล้ว ใช่ไหม สภาพธรรมที่มีจริง ไม่มีรูปร่างสัณฐานใดๆ เจอปนเลยทั้งสิ้น เอารูปออกไปให้หมด ไม่มีเลยสักรูปเดียว แต่ก็ยังมีธาตุรู้ หรือสภาพรู้ ซึ่งเป็นนามธรรม

    เพราะฉะนั้น นามธรรมก็หลากหลาย โดยเฉพาะนามธรรมที่เป็นอวิชชา คืออะไร ทั้งหมดต้องตั้งต้นก่อนว่าคืออะไร ก็คือสภาพธรรม ที่อวิชชา ไม่รู้ความจริงของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ ขณะใดที่ไม่รู้ ขณะนั้นคือ สภาพธรรมนี้ มีลักษณะอย่างนี้ ทำกิจปกปิดความจริงของสภาพธรรม ไม่สามารถที่จะเห็นความจริงของสภาพธรรมได้

    เวลาที่กุศลไม่เกิด ขณะนั้นอวิชชา หรือโมหเจตสิกเกิดขึ้น ทำกิจการงานของโมหเจตสิก เพราะเหตุว่าเป็นสภาพที่มืด ไม่รู้ ไม่สามารถจะรู้ความจริงของสภาพธรรมได้ เพราะฉะนั้น จะมืดสักแค่ไหน มืดคือความไม่รู้ ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ในความมืด แต่ถ้าเรามีปัญญา เราก็ยังสามารถที่จะรู้ความจริงว่าขณะนั้นเป็นอะไร แต่ว่าในความมืดที่มืดแล้วก็ไม่มีปัญญา เพราะเหตุว่าเป็นนามธรรม แล้วก็ไม่ใช่ความรู้ด้วย

    ลักษณะของสภาพธรรมนี้ ไม่สามารถจะรู้ความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ ที่เกิดดับ จนกว่าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จะตรัสรู้ และทรงแสดงลักษณะของสภาพธรรม จึงสามารถที่จะเข้าใจได้ ว่าลักษณะของนามธาตุแต่ละอย่าง มีลักษณะที่ต่างๆ กัน ซึ่งสูตรต่อไปก็จะเป็นเรื่องของโลภะ ต่างจากเรื่องของอวิชชา แต่ทั้ง ๒ อย่างนี้ก็เป็นนิวรณธรรม เป็นธรรมที่เป็นเครื่องกั้น เพราะเหตุว่าถ้าไม่รู้แล้วจะไปไหน จะไปดีๆ ได้ไหม ไปด้วยความไม่รู้ทั้งนั้น จะไปไหนก็ไป แต่ว่าไปด้วยความไม่รู้

    แสดงให้เห็นอยู่แล้วว่า ถ้าอวิชชาเกิดขึ้นทำหน้าที่ของอวิชชา ขณะนั้นปัญญาก็ไม่สามารถจะรู้ความจริงของสภาพธรรม ปัญญาไม่สามารถจะเกิดขึ้น รู้ความจริงของสภาพธรรมได้ เพราะว่าลักษณะ ๒ อย่างนี้ตรงกันข้ามกัน อันนี้ไม่ทราบว่าจะห่อหุ้มพอหรือยัง

    ผู้ฟัง ผมยังข้องใจเพราะว่า อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องของการเวียนว่ายตายเกิด คือยังคงอยู่ในวัฏฏะ ทีนี้ ถ้าหากว่าเป็นมหากุศล ผมว่าเป็นปัจจัยที่จะทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์ ก็น่าจะเป็นมหากุศลญาณวิปปยุตต แต่หากว่าเป็นมหากุศลญาณสัมปยุตต ๔ ดวง ผมว่าอันนั้นจะช่วยลดวัฏฏะ ผมนึกว่าอย่างนี้ ไม่ทราบว่าผมเข้าใจถูกไหม

    ท่านอาจารย์ ยังมีอวิชชาอยู่ตราบใด ก็ไม่สามารถที่จะออกจากสังสารวัฏฏ์ ได้

    ผู้ฟัง ทีนี้ถ้าหากว่า ขณะที่เราทำกุศลนี่

    ท่านอาจารย์ ขณะที่เป็นกุศล รู้ อะไรหรือเปล่า รู้ลักษณะของสภาพธรรมหรือเปล่า หรือญาณสัมปยุตต อย่างขณะที่ศึกษาแล้วเข้าใจ การฟังเรื่องของสภาพธรรมแล้วเข้าใจ ขณะนั้นก็เป็นญาณสัมปยุตต แต่ว่ารู้ลักษณะของสภาพธรรมหรือเปล่า เมื่อเราพูดกันถึงเรื่องอวิชชา มีคำอีกมากมายในพระไตรปิฎก และอรรถกถา มากกว่าที่กล่าวถึงอีก แต่ความรู้ของเราจริงๆ ไม่ใช่ความรู้ที่เราอ่าน แล้วก็เพียงแต่อ่านออกว่าเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างนี้ แต่ว่าความรู้แท้ๆ ในสิ่งที่เราได้ยินได้ฟัง หรือได้อ่านมีมากน้อยแค่ไหน

    เพราะว่าขณะนี้เรารู้ว่า อวิชชา เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นอกุศลเจตสิก นี่โดยชื่อ แต่ว่าปัญญาที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมมีหรือเปล่า ถ้าไม่รู้ก็ไม่ใช่หนทางที่จะออกจากสังสารวัฏฏ์ เพียงรู้ชื่อ ออกจากสังสารวัฏฏ์ไม่ได้ เพราะเป็นเราที่รู้ชื่อ รู้เรื่อง รู้คำ แต่ไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมว่าเป็นธรรม

    ผู้ฟัง ผมมีความคิดเห็นว่า ผู้ที่ร่วมสนทนา สมควรจะยกมาพูด มากล่าวเป็นพื้นฐานไหมว่า กุศลจิตทั้ง ทาน ศีล ภาวนา สมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา ควรจะกล่าว หรือว่าได้กล่าวมาหมดแล้ว

    ท่านอาจารย์ การศึกษาธรรม เพื่อเข้าใจสภาพธรรม แล้วสภาพธรรม จะกล่าวโดยนัย อะไรได้ทั้งหมดเลย ถ้าจะกล่าวโดยนัยของขันธ์ก็ได้ จะกล่าวโดยนัยของอายตนะก็ได้ โดยปฏิจจสมุปบาท โดยอะไรได้ทั้งหมด

    ผู้ฟัง ผมถูก อวิชชาหุ้มห่อตลอดเวลา คุณประทีป เพราะอะไร เพราะว่าเวลาเห็น ตาเห็น ผมก็ไม่เข้าใจ ผมก็ไม่รู้ว่า อะไรเป็นรูปธรรม อะไรเป็นนามธรรม อะไรเป็นสภาพธรรมที่ปรากฏ ไม่รู้ อวิชชามันปกปิดผมอยู่ตลอด เวลาผมได้ยินก็เหมือนกัน อวิชชาไม่ได้อยู่ในตำรา มันอยู่ที่เรา ขณะนี้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเรานี้ ที่คิดนึกอยู่ตลอดเวลา มันก็คิดนึก ก็คิดว่าเราคิดอยู่ตลอด อวิชชามันก็ปกปิดๆ ไม่ให้ทราบว่าที่คิด มันเป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่ง เป็นคิดดีบ้าง คิดไม่ดีบ้าง ก็เป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง แต่เราไม่รู้ เมื่อเราไม่รู้ จะถือว่า อวิชชามันปกปิดหรือเปล่า อวิชชามันหุ้มห่อหรือเปล่า มันยิ่งกว่าหุ้มห่ออีก มันยิ่งกว่าใยไหม ดักแด้ ใยไหมที่หุ้มห่อตัวมัน พวกเราก็พยายามที่จะสร้างใยตัวเองอยู่ตลอด โดยที่ไม่พยายามที่จะศึกษาความจริง

    ผู้ฟัง เรื่องของปฏิจจสมุปบาท คือที่ว่า อวิชชา เป็นปัจจัยแก่สังขาร สังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ จากการศึกษา เราก็รู้ว่ากุศลมีหลายระดับขั้น กุศลตั้งแต่ ขั้นทาน ขั้นศีล ขั้นของการอบรมภาวนา ที่เป็นสมถ และวิปัสสนาภาวนา จะเรียนถามท่านอาจารย์ว่า อย่างกุศลที่เป็นไปในทางฝ่ายดับอวิชชา ได้แก่ กุศลที่เป็นบารมี ที่ไม่เป็นไปด้วยตัณหา มานะ ทิฏฐิ กุศลที่เป็นการอบรมเจริญสติปัฏฐาน ถึงจะเป็น สัมมาปฏิปทา คือ เป็นฝ่ายดับอวิชชา

    ท่านอาจารย์ ทั้งหมดเป็นชื่อ เพราะว่าจริงๆ แล้วทั้งหมดที่เราพูด เราไม่ได้หมด ความเข้าใจลำดับต่อไป โดยการที่ว่ารู้จักตัวของสภาพธรรมก่อน เช่น อย่างรู้จักโลภะ ว่าเป็นเจตสิกเป็นอกุศล โลภะ ชอบนิดๆ หน่อยๆ แต่เวลาชอบมากขึ้นกำลังของโลภะก็เพิ่มขึ้น เป็นความยึดมั่น ในอะไรบ้าง นี่ก็คือเรากำลังกล่าวถึงปฏิจจสมุปบาท โดยไม่ต้องใช้ชื่อ เพราะฉะนั้น เวลาที่เราจะพูดถึงความเข้าใจธรรม เราก็เริ่มเข้าใจตัวธรรมยิ่งขึ้นๆ ๆ แล้วก็ทรงประมวลไว้ โดยนัยของขันธ์ หรือว่าโดยนัยของธาตุ โดยนัยของอายตนะ หรือว่าโดยนัยของปฏิจจสมุปบาท หรือว่าโดยนัยของอริยสัจ ๔ หรือโดยนัยอื่นๆ อีกมากมาย แม้แต่นิวรณ์ พวกนี้ก็แสดงว่าถ้าเราเข้าใจธรรมแล้ว จะโยงใยไปเรื่อยๆ ถึงสภาพธรรมอื่นนั่นเอง โดยที่เราไม่จำเป็นต้องกล่าวว่า ขณะนี้เรากำลังพูดเรื่องปฏิจจสมุปบาท เพราะว่าความหมายของปฏิจจสมุปบาท ก็เป็นธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น เป็นไปในสังสารวัฏฏ์ ถ้าธรรมนี้มี ก็เป็นปัจจัยให้ธรรมอีกอย่างหนึ่งเกิดขึ้น เช่น ถ้ามีโลภะ ความพอใจเล็กๆ น้อยๆ แล้ว จะไม่ถึงกับมีกำลังที่เป็นความยึดมั่น ในอะไรบ้าง แม้แต่ในความคิดเห็น ก็ต้องมีโลภะ ความติดข้อง เป็น ทิฏฐุปาทาน เป็นกามุปาทาน แล้วแต่สีลพัตตุปาทาน เป็นสิ่งที่เรากำลังเรียน แล้วเรากำลังเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมนั้น ซึ่งจะเป็นอะไรอีกมาก แล้วก็เป็นได้ทั้งนั้น เมื่อเรามีความเข้าใจเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเรายังไม่มีความเข้าใจ แล้วเราไปจับเรื่อง เรียนอย่างหนึ่งอย่างใด ถึงเรียนไปเราก็ไม่รู้ ว่าหมายความถึงสภาพธรรมอะไร แล้วสภาพธรรมนั้น ความจริงไม่ใช่เป็นเพียงปฏิจจสมุปบาท เป็นธาตุหรือเปล่า เป็นขันธ์หรือเปล่า เป็นอายตนะหรือเปล่า แต่ถ้าเราเรียนด้วยความเข้าใจจริงๆ ก็โยงไปถึงกันหมด แล้วก็จะไม่มีความสงสัย ไม่จำเป็นที่จะต้องหยิบมาเรื่องหนึ่ง แล้วก็ศึกษาแต่เฉพาะเรื่องนั้น

    ผู้ฟัง สัญญา จำ สิ่งที่ไม่มี เพราะฉะนั้น สิ่งที่มีก็คือ ขณะที่กำลังปรากฏ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ สัญญาจำทุกอย่าง แต่เราก็ต้องรู้ว่าถ้าเรามีความเข้าใจธรรมแล้ว ขณะนั้นควรจะรู้อะไร แล้วควรจะมีสัญญาอะไร เพราะว่าถ้าไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้อง เราก็มีความเห็นว่าเที่ยง เป็นนิจจสัญญา เป็นอัตตสัญญา เห็นว่าเป็นตัวตน เห็นว่าเป็นสุข เป็นสุขสัญญา ซึ่งเป็นสัญญาที่ไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้น ยิ่งมีควมเข้าใจขึ้น เราก็สามารถที่จะเข้าใจได้ว่า เมื่อไร สัญญาจะถูก จะไม่เป็นอย่างเก่า ต้องอาศัยอะไรอบรมอย่างไร จึงจะเป็นอย่างนั้นได้ นี่จึงจะเป็นการศึกษาเข้าใจพระธรรมจริงๆ ทั้งหมด ไม่ใช่ตอนหนึ่งตอนใด คำหนึ่งคำใด แต่เป็นการเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม

    ผู้ฟัง สัญญาที่ถูกต้องคือ อนัตตสัญญา

    ท่านอาจารย์ อนิจจสัญญา ทุกขสัญญา ตามความเป็นจริง อันนี้จะไปเข้าใจถึงไหน นี้ก็จะถึงวิปัสสนาญาณด้วย เพราะฉะนั้น การศึกษาต้องตามลำดับจริงๆ แต่ข้อสำคัญที่สุด คือเข้าใจจริงในสิ่งที่กำลังศึกษา ไม่ว่าจะเป็นคำหนึ่งคำใดที่ได้ยิน แล้วก็ต้องเป็นผู้ที่รู้ด้วย รู้ตัวเองว่าปัญญาของตัวเองอยู่ในระดับไหน อย่างที่จะกล่าวว่าทุกอย่างเป็นธรรม ทุกคนพูดได้หมดเลย แต่ว่าทุกคนก็รู้ตามความเป็นจริงว่า ระดับไหน ความเข้าใจระดับไหน แล้วถ้าจะเป็นระดับนั้นจริงๆ ต้องเป็นวิปัสสนาญาณหรือเปล่า มิฉะนั้นก็เป็นแต่เพียงการจำคำ แล้วก็จำเรื่องราวอยู่นั่นเอง

    ผู้ฟัง หลายคนฟังธรรมที่ท่านอาจารย์แสดง แต่ก็บอกว่าก็เข้าใจ ก็รู้ แต่จริงๆ แล้ว ถ้าเขาไม่รู้ความจริง ต่างกันระหว่างรู้ชื่อกับรู้ลักษณะสภาพธรรม เขาก็จะไม่เห็นความแตกต่างของความเข้าใจที่เขาเข้าใจ เพียงแต่ชื่อ หรือว่าเข้าใจในลักษณะสภาพธรรมที่มีจริง

    ท่านอาจารย์ นั่นก็เป็นเรื่องของการอ่านพระไตรปิฎก และอรรถกถา แต่ไม่ใช่เป็นการศึกษาด้วยความละเอียดรอบคอบ ที่จะต้องสอดคล้องกันทั้งหมด เพราะว่าปัญญามีหลายระดับ ถ้าไม่มีปัญญาขั้นฟังเลย ไปคิดกันเอาเอง ผิดหรือถูก คนที่ไม่ใช่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วคิดธรรมเอง จะผิดหรือถูก

    ผู้ฟัง ผิด

    ท่านอาจารย์ แล้วถ้าอ่านแล้วไม่ไตร่ตรอง ด้วยความเข้าใจ ติดอยู่ที่ตรงพยัญชนะอย่าง เห็นกายในกาย จะเห็นอย่างไร พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรมเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเห็นถูก เห็นอะไรถูก เห็นไหม จะต้องมีการพิจารณา มีการไตร่ตรอง แล้วเห็นถูกนั้น จะเห็นที่ไหน จะเห็นอะไร ก็ต้องมีการพิจารณาจนกระทั่ง เป็นความจริง ที่สามารถ จะเข้าใจถูกได้

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ พูดถึงว่า เห็นกายในกาย เห็นอะไรที่ถูกต้อง ก็เลยทำให้มาถึงหน้าที่ ๒ ท่านอาจารย์ ที่ท่านแสดงถึง สมานุปัสสนา ๒ สมานุปัสสนา ๒ อย่างนั้น การพิจารณาเห็น ที่มาโดยพระบาลี พิจาณาเห็นรูปโดยความเป็นตน ที่ชื่อว่า ทิฏฐิสมนุปัสสนา กับอีกอันหนึ่ง คือพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง อันนี้เป็นญาณสมนุปัสสนา เพราะฉะนั้น อันแรกที่เป็น ทิฏฐิสมนุปัสสนา อันนี้ก็คือเห็นด้วย อวิชชา ใช่ไหม เพราะยังเห็นว่ารูปนั้นเป็นตน แต่ที่เป็นญาณสมนุปัสสนา เห็นถึงไตรลักษณะของสภาพธรรม อันนี้ต้องเห็นด้วยปัญญาที่เป็นวิปัสสนาญาณ

    ท่านอาจารย์ การอ่านพระไตรปิฎก กับการศึกษาเข้าใจพระธรรม ที่ทรงแสดงไว้ในพระไตรปิฎก ผิดกัน ถ้าอ่าน เฉยๆ จะไม่เข้าใจอะไรเลย พูดตามได้ แต่ว่าถ้าศึกษา โดยความเข้าใจจริงๆ ก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่ง

    ผู้ฟัง มีคำถามอีกข้อจะเรียนถาม พระอานนท์ ฟังบทเดียวแทงตลอด ๖ หมื่นบท ช่วยขยายความอีกที

    ท่านอาจารย์ ท่านพระอานนท์ คงจะไม่เหมือนใครที่นั่งอยู่ในที่นี้ อันนี้แน่นอนที่สุด การได้ฟังพระธรรม แล้วการที่ได้เป็นผู้ที่เป็นเอตทัคคะ แล้วท่านก็เป็นผู้ที่มีฌานด้วย แล้วก็มีปัญญาที่จะถึงการรู้แจ้งเป็นพระอรหันต์ด้วย ก็ลองคิดถึงว่าเมื่อท่านรู้แจ้ง อริยสัจจธรรมแล้ว แล้วได้ยินคำนั้น การที่ท่านสะสมมาที่จะเป็นผู้ทรงจำพระธรรม สามารถที่จะรู้ตลอด แต่เราอาจจะใช้คำว่า คิด แต่ความจริงไม่ใช่ เวลาที่เราคิดถึงสภาพธรรมทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เราก็จะคิดว่าใจ ทางใจนึกเท่านั้น คิดว่าเท่านั้น แต่ทางใจสามารถที่จะรู้แจ้งลักษณะของสภาพธรรม สามารถแทงตลอด สามารถที่จะประจักษ์ ความจริงของสภาพธรรมนั้น

    ในขณะที่กำลังฟัง ปัญญาของคนที่ฟังเรื่อง แล้วก็ไม่มีปัญญาระดับนั้น กับปัญญาของอยู่ที่สะสมมา ที่เมื่อฟังแล้วก็สามารถที่จะแทงตลอดหรือรู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้น โดยนัยต่างๆ มากมาย เพราะฉะนั้น ก็เป็นสิ่งที่เห็นความต่างของผู้ที่เป็นเอตทัคคะแต่ละทาง แล้วก็สำหรับอยู่ที่เพียงฟัง แล้วก็จำ แล้วก็พยายามพิจารณาคือคิด เพราะว่าระดับของปัญญาต่างกัน ระดับของผู้ที่เพียงรู้ด้วยคิด ก็เข้าใจว่าคิดเท่านั้น คิดไปเรื่อยๆ ท่านพระอานนท์ก็คงจะเป็นอย่างนั้น เราไปคิดว่าบุคคลในครั้งโน้น หรือท่านเหล่านั้น จะมีปัญญาระดับที่เรามี ใช่ไหม แต่ว่าถ้ารู้แล้วจริงๆ ศึกษายิ่งขึ้นก็จะเห็นความต่างระดับขั้น แล้วก็สามารถที่จะเข้าใจในอรรถ ในความเป็นเอตทัคคะ แม้แต่ๆ ละคำที่ใช้ถึงคุณธรรม ของท่านพระอานนท์ ก็ต้องต่างจากที่เราคิด

    เพราะว่าขณะนี้ ถ้าจะมีผู้ที่สามารถสติระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ได้ไหม เมื่อสะสมมา แต่ไม่ใช่หมายความว่าไปพยายามด้วยความเป็นตัวตน นี่ก็เป็นเรื่องของการเข้าใจธรรมละเอียดขึ้นๆ เพราะว่าเวลาที่เพิ่งฟังครั้งแรก ถึงแม้จะรู้ว่าเป็นธรรม แต่ความเป็นเราก็ต้องมี แต่ความเป็นเราจะมีกำลังถึงกับจะทำให้ คิดว่าเป็นเราที่ทำ หรือว่าการฟังธรรมค่อยๆ คลาย ความเข้าใจผิดว่าเป็นเราทั้งหมดในชีวิตประจำวัน เพราะว่าเป็นธรรมเท่านั้น เพราะฉะนั้น ปัญญาก็จะเริ่มสะสม แล้วกำลังของปัญญาของแต่ละคนก็จะต่างกัน

    แม้ในขณะที่ฟังผู้ที่สะสมปัญญามา ที่สติปัฏฐานจะระลึก และสามารถที่จะประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมนั้น แล้วก็รู้ชัดขึ้นโดยนัยต่างๆ ซึ่งเมื่อทรงแสดงโดยพระสัพพัญญุตญาณ ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เป็นคำทั้งหมดที่ปรากฏในพระไตรปิฎก แล้วสำหรับพระสาวกทั้งหลาย ท่านก็มีกำลังของปัญญาซึ่งต่างๆ กันด้วย เพราะฉะนั้น เราก็สามารถที่จะเข้าใจได้ ว่าแท้ที่จริงแล้ว ก็เป็นเรื่องของปัญญาต่างระดับขั้นนั่นเอง ซึ่งอบรมได้

    ผู้ฟัง เรียนถามท่านอาจารย์ ช่วยอบรม เราไปเพาะไปยึดตัวตนหรืออย่างไร ที่บอกว่าให้ละตัวตนก่อนเพื่อน มันละไม่ออก

    ท่านอาจารย์ ถ้าดิฉันแนะนำได้ ดิฉันคงต้องเก่งมากเลย เพราะว่าพระไตรปิฎกเอย อรรถกถาเอย ฎีกา อนุฎีกา ท่านกล่าวไว้แล้วทั้งหมด ก็ช่วยทำให้เราสามารถที่จะเข้าใจสภาพธรรม แต่ถ้าเราไม่ใจร้อน แน่นอน เราสามารถที่จะเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เวลาที่ฟัง อย่างเมื่อกี้นี้พูดถึงเรื่อง บทเดียว แล้วท่านพระอานนท์ก็สามารถที่จะแทงตลอด ๖ หมื่น

    เดี๋ยวนี้หรือเปล่า ๖ หมื่น แต่ละใจเท่าไร ในห้องนี้เท่าไร นอกห้องนี้เท่าไร ประเทศไทยเท่าไร ทั่วโลกเท่าไร ไม่ได้มีเหมือนกันเลย ใช่ไหม

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 103
    25 มี.ค. 2567