พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 902


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๙๐๒

    ณ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗


    อ.วิชัย กราบท่านอาจารย์ครับ ก่อนหน้านั้นท่านอาจารย์กล่าวถึงว่า จิตเห็นที่ไม่มีวิริยะเกิดร่วมด้วยเพราะมีการอุบัติขึ้น คือยังไงครับท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ ใช้คำว่าอุปปัตติหมายความว่าต้องอาศัยการประจวบกันของสภาพธรรมที่พร้อมที่จะเกิดขึ้นโดยมีกรรมเป็นปัจจัย สิ่งที่คนอื่นเขาเห็นกัน หรือกำลังปรากฏให้เห็นขณะนี้คนตาบอดไม่เห็น เพราะกรรมไม่ได้ทำให้จักขุประสาทรูปเกิดไม่มีรูปที่สามารถกระทบกับสิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ได้ แต่คนที่มีจักขุประสาทรูปกรรมเป็นปัจจัยให้รูปนั้นเป็นรูปพิเศษ ไม่ใช่ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ไม่ใช่กลิ่น ไม่ใช่รส ไม่ใช่โอชา แต่เป็นรูปที่มีลักษณะที่มองไม่เห็นเลยแต่รูปนั้นพิเศษเพราะเหตุว่าสามารถกระทบกับสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น โดยจิตเห็นต้องเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปนั้น จึงใช้คำว่าจักขุวิญญาณจักขุ แปลว่าตาหมายความถึงประสาทรูป และธาตุรู้ ซึ่งเกิดที่รูปนั้น และอาศัยรูปนั้นเกิดก็เป็นจักขุวิญญาณ ทำหน้าที่เดียวเกิดขึ้นเห็นแล้วดับไม่ทำอะไรอีกเลยไม่โกรธไม่รักไม่ชังไม่อะไร ทั้งหมดเพียงแต่เกิดขึ้นเห็นแล้วดับไม่ใช่ใครเลยทั้งสิ้น อยากเห็นไหมคะ อยากเห็นก็เห็นแล้วลืมตาก็เห็นแล้ว อยากได้อะไรไหมคะ

    อ.วิชัย ต้องขวนขวายครับ

    ท่านอาจารย์ รู้สึกความอยากได้มีประจำใจไม่ขาดเลย เดี๋ยวก็อยากได้โน่นเดี๋ยวก็อยากได้นี่ ลืมคิดอยากได้อะไรก็เคยได้มาแล้วทั้งนั้นในชาติก่อนๆ แล้วก็หมดไปแล้วทั้งนั้นไม่เหลือเลยทั้งนั้น ยังอยากอยู่ทั้งๆ ที่ก็เคยได้มาแล้ว จะอยากได้ทรัพย์สมบัติทรัพย์สมบัติก็ได้แล้ว อยากได้รูปสมบัติชาติก่อนๆ ก็ต้องมีบ้างใช่ไหมคะ รูปสมบัติคุณสมบัติอะไรทั้งหลายที่อยากจะได้ ที่คิดว่าดีเคยมีแล้วทั้งนั้นแล้วไปไหน มีแล้วก็หมดไปมีแล้วก็หมดไป เพราะฉะนั้นสิ่งที่อยากได้เพียงปรากฏว่ามีได้แล้วก็หมด ยังอยากได้อีกไหม ลืมว่าถึงไม่อยากก็ต้องได้ใช่ไหมคะ ไม่ต้องอยากเลยค่ะต้องเห็นจะอยากเห็น หรือไม่เห็นก็ต้องเห็นเมื่อมีปัจจัยที่จะเห็นก็ต้องเห็นอยากได้ยินไหม ถ้ามีเหตุปัจจัยที่จะได้ยินไม่ต้องอยากได้ยินเสียงดังๆ นั่นเลยค่ะ เสียงน่าตกใจเสียงฟ้าร้องเสียงปืนเสียงอะไรก็ตามแต่ ก็เกิดแล้วตามเหตุตามปัจจัย จะอยากได้ หรือไม่อยากได้ก็ต้องเกิดขึ้น แต่ว่าให้คิดดูเกิดขึ้น แล้วยังอยากแสดงให้เห็นว่าไม่รู้ความจริงเลยว่าเคยได้มาแล้วทั้งหมด แล้วก็สูญเสียไปแล้วทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นอะไรทั้งสิ้น แล้วก็จะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ไม่รู้จบ ตราบใดที่ยังไม่เห็นว่าเป็นภัยจากไม่มีแล้วมีให้ติดข้อง จากไม่มีให้มีแล้วโกรธขุ่นเคืองเจ็บใจเป็นทุกข์ร้อนต่างๆ แล้วประโยชน์อะไรซึ่งทั้งหมดนั้นก็หมดไป ไม่มีอะไรที่จะดำรงคงยั่ยืนอยู่ได้เลยทุกอย่างเพียงชั่วคราว ถ้าศึกษาธรรมจริงๆ ละเอียดขึ้นเพื่อเกื้อกูลให้เข้าใจสภาพธรรมที่ปรากฏ เพราะฉะนั้นธรรมสำหรับเข้าใจขณะนี้มีเห็นเข้าใจเห็นให้ถูกต้องว่าเห็นมีเห็นเกิดขึ้นเห็นแล้วดับไปกว่าจะรู้ทั่วจริงๆ วันนี้ทั้งหมดตั้งแต่เช้ามาไม่ว่าสภาพธรรมอะไรก็ตามรู้ตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นๆ จนคุ้นเคยจนชินจนมั่นคงสภาพธรรมก็จะปรากฏตามความเป็นจริง

    อ.วิชัย ท่านอาจารย์ครับ ที่กล่าวว่าจนคุ้นเคยจนชินนี่ คือถ้าฟังอย่างนี้จะเรียกว่าคุ้นเคยไหมครับ ฟังเรื่องของการเห็นการได้ยิน

    ท่านอาจารย์ คุ้นเคยคือทุกอย่างเป็นธรรม คุ้นไหมคะคำนี้

    อ.วิชัย ฟังมาก็นานก็คุ้น

    ท่านอาจารย์ คุ้นมานานเท่าไหร่แล้ว แต่เพียงคุ้นชื่อทุกอย่างเป็นธรรมชื่อคุ้นเห็นเดี๋ยวนี้เป็นอะไร คิดเดี๋ยวนี้เป็นอะไรชอบเดี๋ยวนี้เป็นอะไรโกรธเดี๋ยวนี้เป็นอะไรไม่ได้เป็นธรรม ผ่านไปแล้วหมดเลยไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเป็นอะไรบ้าง แต่ว่าถ้ารู้จริงๆ แต่ละหนึ่งการฟังธรรม เพื่อเข้าใจแต่ละหนึ่งเพื่อที่ว่าเดี๋ยวนี้กำลังพูดเรื่องเห็น และเห็นกำลังมีจนกระทั่งขณะนี้ไม่มีสิ่งอื่นเลย มีแต่เห็นเมื่อนั้นคือสามารถเข้าใจขึ้นว่าขณะนี้กำลังเริ่มเข้าใจเฉพาะเห็นจริงๆ ที่กำลังเห็นกำลังอ่านหนังสือมีวิริยะไหม

    อ.วิชัย ต้องมีด้วยครับท่านอาจารย์

    ผู้ฟัง สลับกันมีกับไม่มีขณะอ่านหนังสือ เพราะต้องมีเห็นแล้วก็คิดว่าเป็นอะไร

    ท่านอาจารย์ ข้อสำคัญให้ทราบว่าจิตเกิดดับนับไม่ถ้วนประมาณไม่ได้ เลยเหมือนกับขณะนี้มีเห็นแต่เห็นอะไรเยอะแยะไปหมดเลย แสดงว่าไม่ใช่จิตหนึ่งขณะแล้วใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้นจะไม่มีจิตหนึ่งขณะที่เกิดขึ้นแล้วดับไป โดยที่ใครจะไปรู้หนึ่งขณะนั้น จึงใช้คำว่าวิญญาณนิมิต แสดงให้เห็นว่าแม้แต่จิตที่รู้ก็ต้องเกิดดับจนกระทั่งสามารถจะรู้ได้ว่าลักษณะนั้นเป็นลักษณะรู้ เช่น เห็นเดี๋ยวนี้ไม่ใช่มีเพียงหนึ่งขณะที่ปรากฎว่าเห็นสืบต่ออยู่ตลอดเวลา แต่ว่าเห็นจริงๆ หนึ่งขณะนอกจากนั้นเป็นจิตอื่นทั้งหมดเลย เฉพาะหนึ่งขณะที่ทำทัสสนกิจคือจิตเห็น เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้เหมือนเห็นอยู่ตลอดเวลา และก็ยังรู้ด้วยว่าสิ่งที่เห็นเป็นอะไร และก็ยังมีจิตอีกหลายประเภทที่เกิดโดยที่ว่าเราไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงมากมายทีเดียว

    ให้ทราบว่าเฉพาะจิตเห็นหนึ่งขณะไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย นอกจากนั้นมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยทบทวนที่เราได้ฟังแล้วว่าเฉพาะจิตเห็นหนึ่ง ขณะที่กำลังอ่านหนังสือจิตเห็นขณะนั้นไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตอื่นที่ปรากฏไม่นับจิตที่เราไม่พูดถึงมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยแน่นอน จึงเว้นว่าชีวิตประจำวันที่ไม่มีวิริยเจตสิก ที่จะปรากฏให้รู้ได้ก็คือขณะเห็นขณะได้ยินขณะได้กลิ่นขณะลิ้มรส ขณะรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสแต่ต้องเป็นขณะนั้นจริงๆ เพียงหนึ่งขณะ เพราะฉะนั้นต่อจากนั้นก็จะมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย กำลังคิดไม่ใช่เห็นเราใช้คำว่าคิดแต่จริงๆ แล้วก็คือจิตซึ่งไม่ใช่ภวังค์ไม่ใช่จิตที่ดำรงภพชาติที่อะไรๆ ก็ไม่ปรากฏ แต่มีจิตหนึ่งประเภทที่เกิดขึ้นคิดขณะนั้น มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะว่าเห็นตั้งหลายอย่างวันหนึ่งเมื่อวานนี้ปีก่อนเราคิดถึงตอนเราเป็นเด็กได้ไหมคะตั้งนานแล้วใช่ไหมคะ แต่วิริยะก็ยังเกิดขึ้นทำให้คิดถึงสิ่งที่ผ่านมาแล้วได้ ด้วยเหตุนี้ขณะใดที่คิดใช้คำว่าคิดขณะนั้นต้องมีวิริยะเกิดขึ้นจึงสามารถจะคิดได้ เพราะเราเลือกคิดไม่ได้ว่าเราจะคิดคิดถึงอะไร เช่น เดี๋ยวนี้ เป็นต้น แต่ละคนคิดไม่เหมือนกันเลย เพราะฉะนั้นคิดนั้นต้องมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยนี่อย่างหยาบๆ แต่ว่าคิดแล้วเป็นกุศลจิตที่คิดเรื่องนั้นรู้เรื่องนั้น หรือว่าเป็นอกุศลทั้งหมดนั้นมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีความเข้าใจจริงๆ ว่า ถ้าจะศึกษาอภิธรรมคือธรรมที่ละเอียดยิ่งที่จะทำให้รู้ว่าไม่มีเราไม่มีตัวตนเป็นธรรมทั้งหมด

    ก็ต้องเข้าใจจริงๆ มั่นคงว่าจิตที่ไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย ในวันหนึ่งๆ ที่ปรากฏให้รู้ได้ก็คือขณะเห็นได้ยินได้กลิ่นลิ้มรสรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เพราะฉะนั้นคิดไม่ใช่กำลังรู้แข็งคิดไม่ใช่เห็นคิดไม่ใช่ได้ยินในขณะใดก็ตามที่คิดมีวิริยะเกิดร่วมด้วย จึงเพียงคิดเรื่องนั้นเฉพาะเรื่องไม่ใช่เรื่องอื่นนี่ก็เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งแล้วพอคิดขณะที่กำลังอ่านคิด หรือเปล่าคะ ถ้าไม่คิดไม่รู้เรื่องเลยคือแค่เห็น เพราะฉะนั้นไม่ใช่มีแต่เห็นที่เราใช้คำว่าอ่านก็มีจิตเห็น แล้วก็มีจิตที่คิดตามสิ่งที่เห็นในขณะที่คิดนั้นก็มีวิริยะเกิดร่วมด้วย ชอบไม่ชอบเป็นกุศล หรืออกุศลก็คือขณะนั้นต้องมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย ไม่ยากเลยถ้าจะรู้ว่าชีวิตประจำวันแค่ ๑๐ ขณะนี่ไม่มีวิริยะเกิดร่วมด้วย แต่ขณะใดที่คิดก็เป็นชีวิตประจำวันขณะนั้นก็มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ว่าจิตที่คิดไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วยเจตสิกที่เป็นเหตุจำได้เลยว่ามี ๖ โลภเจตสิกหนึ่งโทสะ เจตสิกหนึ่งโมหะ เจตสิกหนึ่งเป็นอกุศลเหตุ ขณะที่คิดยังไม่เป็นกุศลไม่เป็นอกุศลเลยเพียง แต่ตรึกนึกถึงเป็นกิริยาจิตมโนทวาราวัชชนจิตคิดแต่ใครรู้บ้างรู้แต่ตอนที่เป็นกุศล และอกุศล เพราะเพียงหนึ่งขณะเหมือนจิตเห็นขณะนี้หนึ่งขณะจิตอื่นทำทัสสนกิจไม่ได้ เพราะฉะนั้นจิตคิดก็เป็นสภาพธรรมที่ขณะนั้นเพิ่งคิดยังไม่เป็นกุศล และอกุศลตามเรื่องที่คิด แต่ว่าคิดเรื่องนั้นที่เคยเป็นกุศลกุศลก็เกิดคิดเรื่องนั้นที่เคยโกรธโกรธก็เกิด เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่าขณะใดก็ตามที่คิด ขณะนั้นมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ไม่มีเหตุหกเกิดร่วมด้วยนี่เป็นความต่างกัน

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์คะ พอฟังอย่างนี้แล้วเหมือนกับความละเอียด เช่น เพียงคำถามว่าเวลาอ่านหนังสือมีวิริยะเกิดร่วม หรือเปล่าถ้าลงรายละเอียดจะต้องรู้ว่าจิตเขาเกิดดับเร็วขณะไหนเป็นอย่างไร

    ท่านอาจารย์ นี่เป็นการที่กว่าจะรู้ว่าไม่ใช่เรา ต้องอาศัยปริยัติการฟัง และการรอบรู้คือเข้าใจถ้าเราฟังเผินๆ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ จิตนี้มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าไหร่จะทำให้เราเห็นความไม่ใช่ตัวตนได้ไหม เพียงแต่ตัวเลขแต่ถ้าเห็นความละเอียด และการที่สอดคล้องกันว่า จิตต่างกันเพราะอย่างนั้นแม้แต่คิดก็ยังไม่ใช่กุศลอกุศลแต่หลังจากที่คิดแล้วเป็นกุศลอกุศลตามเรื่องที่คิด เพราะฉะนั้นขณะรับประทานอาหารมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยไหม เหมือนกันเลยขณะออกกำลังกายเล่นกีฬาขับรถดูโทรทัศน์

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์คะ ตอนนี้กำลังสับสนคำว่าคิด คือ เดิมคิดว่าถ้าคิดต้องเป็นกุศล หรืออกุศลจิตทำกิจชวนแต่ถ้าเป็นก่อนที่จะตรงชวนก็เป็นคิดแล้วค่ะ

    ท่านอาจารย์ คุณอรวรรณคิดอะไรก่อนนั้น ถ้าไม่มีมโนทวาราวัชชนจิตที่คิดจะเป็นกุศลอกุศลได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นหนึ่งขณะที่คิดเหมือนหนึ่งขณะที่เห็นถูกต้องไหมคะ แล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้นคิดดับกุศล หรืออกุศลก็เกิดตามเรื่องที่คิดโกรธใครนี่ยังจำได้ไหม

    ผู้ฟัง ก็จำได้ค่ะ

    ท่านอาจารย์ คิดได้ไหม

    ผู้ฟัง ได้ค่ะ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นขณะนั้นที่คิดเพียงคิดยังไม่ใช่โทสะแต่ว่าหลังจากคิดเรื่องนั้นโทสะก็เกิดได้เพราะคิดเรื่องที่เคยไม่ชอบหนึ่งขณะเหมือนเห็นหนึ่งขณะได้ยินหนึ่งขณะ

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นมโนทวารราวัชชนจิตมีวิริยะเกิดร่วมด้วยเป็นอเหตุกจิตที่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย ก็ดูเหมือนว่าหลังจากนั้นจะต้องเป็นกุศล หรืออกุศลถ้าไม่ใช่พระอรหันต์

    ท่านอาจารย์ ที่จริงการที่จะเข้าใจค่อยๆ เข้าใจ และค่อยๆ จำก็คือว่ามโนทวาราวัชชนอันนี้ ก็เอ่ยชื่อเลยก็แล้วกันแทนที่จะเอ่ยว่าคิด ก็คือว่าขณะใดก็ตามซึ่งเป็นภวังค์อารมณ์ใดไม่ปรากฏเลยทั้งสิ้น เสียงก็ยังไม่ปรากฏกลิ่นก็ยังไม่ปรากฏคิดได้ไหม

    ผู้ฟัง ถ้าเป็นภวังค์ก็คิดไม่ได้

    ท่านอาจารย์ แต่ขณะที่เป็นภวังค์ไม่ได้คิดไม่มีอะไรปรากฏเลยแล้ว ตามปกติจะเป็นภวังค์ตลอดไปไม่ได้เลย ไม่มีใครที่สามารถจะดำรงภพชาติโดยเพียงแค่ภวังค์แต่จะต้องมีจิตที่เกิดดับสืบต่อแล้ว แต่ว่าจะเป็นผลของกรรมที่เป็นวิบาก หรือไม่ใช่วิบาก นี่เป็นความละเอียดที่เราจะต้องรู้ให้แน่ชัดเลยว่า วิบากจิตได้แก่อะไรบ้าง และมีจำนวนเท่าไหร่ นอกจากนั้นไม่ใช่วิบากจิต เพราะฉะนั้นคิดไม่ใช่ผลของกรรมแต่ตามการสะสมกุศลจิต และอกุศลจิตใดๆ ก็ตามที่เกิดแล้วดับแล้วสะสม สืบต่อในจิตทุกขณะสามารถที่จะเป็นปัจจัยทำให้สัญญา นึกจำ และวิตกตรึกคิดแล้ว วิริยะก็เพียรในขณะนั้นได้ ที่จะทำให้คิดถึงเรื่องนั้นนี่คือสภาพธรรมทั้งหมดที่กล่าวถึงจิต และเจตสิกโดยละเอียด ก็เพื่อให้เข้าใจขึ้นมโนทวาราวัชชนจิตคืออะไรมโนคือใจอาวัชชนจิตที่รำพึงถึง หรือว่าถ้ารำพึงในภาษาไทยเหมือนกับยาวมาก เอาเป็นว่าจิตที่คิดก็แล้วกัน เพราะฉะนั้นคิดหมายความว่าใจแน่นอนขณะนั้นเกิดก่อนที่จะพอใจ หรือไม่พอใจในเรื่องซึ่งเรื่องนั้นมีเพราะคิดต้องเกิดแล้วแต่ว่าจะคิดถึงเรื่องอะไร

    อ.ธิดารัตน์ ท่านอาจารย์คะ หมายถึงว่ามโนทวาราวัชชนคิด ก็คือรู้อารมณ์ขณะนั้นมโนทวารก็มีวิริยะเกิดร่วมด้วย และไม่ว่าจะเป็นกุศล หรืออกุศลก็ตามก็มีวิริยะทั้งวิถีอยู่แล้ว

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นตอนนี้เราเพิ่มจิตที่มีวิริยะเกิดร่วมด้วยขึ้น ซึ่งถ้ากล่าวถึง ๑๐ ดวงจิตเห็นจิตได้ยินจิตได้กลิ่นลิ้มรสจิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสเดี๋ยวนี้ เป็นผลของกรรมไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยเลย นอกจากนั้นแล้วมีเท่าที่ปรากฏถ้าไม่กล่าวถึงความละเอียด ทีนี้ก็ขอละเอียดเพิ่มอีกหนึ่งจาก ๑๐ ที่ไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยมาเป็นชีวิตประจำวัน ไม่ใช่มีแค่เห็นแค่ได้ยินยังมีคิดนึกด้วย มีกุศลด้วย เพราะฉะนั้นขณะใดก็ตามที่ไม่เห็นแต่คิดชีวิตประจำวันแม้คิดก็มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ขณะที่คิดยังไม่มี โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เจตสิกเกิดร่วมด้วยเป็นแต่เพียงจิตที่เกิดทางใจสามารถที่จะมีการนึกถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่ใช้คำว่ารำพึงถึง หรือนึกถึงปกติเดี๋ยวนี้เลยค่ะ นึกถึงอะไรนั่นแหละมโนทวาราวัชชนจิตนึกแล้วโกรธไหมคะ ถ้าโกรธต้องต่อจากนึกใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้นนึกถึงเรื่องใดก็โกรธเรื่องที่นึกนั่นแหละ หรือว่านึกถึงเรื่องใดก็ชอบสนุกสนานจำได้ในเรื่องที่นึกนั่นแหละ เพราะฉะนั้นมโนทวาราวัชชนจิตไม่ใช่จิต ๑๐ ดวงมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย ชอบไม่ชอบที่เกิดหลังจากคิดก็ไม่ใช่จิต ๑๐ ดวง เพราะฉะนั้นก็มี วิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยชีวิตประจำวันยังไม่เป็นอินทรีย์

    อ.วิชัย กราบท่านอาจารย์ครับ ท่านอาจารย์กล่าวถึงการที่จะคิดทางใจ แต่ถ้าพูดถึงทางตาหูจมูกลิ้นกายครับ ท่านอาจารย์ก็มีจิตก่อนการเห็นด้วยแต่ว่าจิตก่อนการเห็นเรียกว่าเป็นปัญจทวาราวัชชนจิต ไม่มีวิริยะเกิดร่วมด้วย

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้คิดไม่ได้คิดเลยค่ะ อุปปัตติเกิดขึ้นแล้วก็ต้องรับต่อ ขอประทานโทษนะคะ สำหรับปัญจทวาราวัชชนจิตยังไม่ทันเห็นเลยแต่ว่ามีสิ่งที่กระทบแขกมาหาคนอยู่ในบ้าน ใครมารู้ไหมคะ แขกอยู่ที่ประตูเราอยู่ในบ้านแต่รู้ล่ะว่าแขกมาแล้วแต่ใครไม่รู้ เพราะฉะนั้นขณะที่กำลังเป็นภวังคจิตหมายความว่าอะไรคะ หมายความว่าโลกนี้ไม่ปรากฏไม่มีการรู้อารมณ์ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เลย เพราะฉะนั้นทันทีที่จิตขณะแรกคือปฏิสนธิจิตดับไปแล้วเป็นผลของกรรมใดกรรมนั้นก็ทำให้จิตประเภทเดียวกันนั้น เป็นวิบากเป็นผลของกรรมเดียวกันเกิดสืบต่อจากจิตขณะแรก เป็นจิตขณะที่สองเป็นต้นไป

    เพราะจิตขณะแรกต้องเกิดสืบต่อจากจิตขณะสุดท้ายของชาติก่อน คือ จุติจิตจิตที่ทำกิจเคลื่อนพ้นสภาพความเป็นบุคคลนั้นจะย้อนกลับไปเป็นบุคคลนั้นอีกไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นเมื่อจุติจิตดับเป็นปัจจัยให้จิตขณะแรกของชาตินี้เกิดสืบต่อ จึงใช้คำว่าปฏิสนธิจิต หรือปฏิสันธิจิตเกิดสืบต่อจากจุติจิตแล้วก็ดับทำกิจเดียวครั้งเดียวในชาตินี้ ต่อจากนั้นกรรมก็ทำให้จิตประเภทเดียวกันนั้นแหล่ะ ดำรงความเป็นบุคคลนั้นไว้โดยทำภวังคกิจ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่คิดนึก ไม่อะไรทั้งสิ้น จะสังเกตรู้ว่าภวังคจิตเป็นขณะใดตอนหลับสนิท นั่นแหละคือภวังคจิตซึ่งเกิดต่อจากปฏิสนธิจิตทันทีไม่มีอะไรปรากฏเลย แล้วเสียงปรากฎแต่ก่อนเสียงปรากฏเสียงต้องกระทบกับโสตประสาทแล้วจะได้ยินทันทีไม่ได้ เพราะขณะนั้นกำลังเป็นภวังค์ เพราะฉะนั้นภวังค์ก็จะต้องมีการสิ้นสุดของกระแสภวังค์ก่อนแล้วจิตอื่นจึงจะเกิดสืบต่อได้ในขณะใดก็ตามที่เสียงกระทบกับโสตะประสาทรูปเสียงมีอายุ ๑๗ ขณะของจิตหมายความว่าจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะเสียงหนึ่งจึงดับ

    เพราะฉะนั้นรูปมีอายุยืนยาวกว่าจิตคือ จิตหนึ่งขณะดับไปดับไป ๑๗ ครั้งเสียง หรือรูปๆ หนึ่งจึงดับไปได้ เพราะฉะนั้นเสียงที่กระทบกับจักขุประสาทยังไม่ดับแต่ว่ากระทบภวังค์จะใช้คำว่ากระทบภวังค์ หรือจะใช้คำว่ายังไงก็ตามแต่เพราะว่าขณะนั้นกำลังเป็นภวังค์อยู่เพื่อที่จะให้รู้ว่ารูปดับเมื่อไหร่ก็กล่าวถึงตั้งแต่ขณะที่รูปเกิด และกระทบกับประสาทรูปเป็นหนึ่งขณะแล้วก็ภวังค์ก็ยังไม่ดับทันทีเพียงไหวเพื่อที่จะรู้อารมณ์ใหม่ใช้คำว่าภวังคจลนะแต่ยังเป็นภวังค์อยู่ยังไม่เห็นยังไม่ได้ยินทั้งสิ้นแล้วก็ยังไม่รู้ด้วยว่ามีอะไรกระทบ เพราะว่าจิตหนึ่งขณะต้องรู้เพียงอย่างเดียว เพราะฉะนั้นเมื่อไหวแล้วก็คือไม่เกิดอีกต่อไปแล้วเป็นภวัต่อไปไม่ได้เพราะอารมณ์นั้นกระทบกับประสาท เพราะฉะนั้นภวังค์ขณะสุดท้ายซึ่งเมื่อเกิดแล้วภวังค์จะเกิดต่อไปไม่ได้ใช้คำว่าภวังคุปัจเฉทะบางคนจะใช้คำว่าตัดกระแสภวังค์ซึ่งหมายความว่า เป็นภวังค์ขณะสุดท้ายซึ่งจะไม่มีภวังค์ทำหน้าที่เกิดเป็นภวังค์ต่อได้เลย เพราะว่าต่อจากนั้นไปการกระทบกันของเสียง และโสตประสาทเป็นปัจจัยให้ปัญจทวาราวัชชนจิตรู้ว่ามีอารมณ์กระทบ

    เพราะฉะนั้นอาวัชชนจิตสามารถจะรู้อารมณ์ที่กระทบแต่ไม่ได้ ทำทัสสนกิจไม่เห็นแต่รู้เพียงรู้ว่าอารมณ์กระทบทางหนึ่งทางใดในห้าทางแล้วแต่ว่าจะเป็นสิ่งที่กระทบตาได้ตาได้ หรือว่า เสียงที่กระทบหู ได้กลิ่นที่กระทบจมูก รสที่กระทบลิ้น และเย็นร้อนอ่อนแข็งตึงไหวซึ่งกระทบกาย เมื่อมีการกระทบอย่างนี้แล้ว และภวังค์ดับไปหมดแล้ว ปัญจทวาราวัชชนจิต หรือจะใช้ คำว่าจักขุทวาราวัชชนจิตถ้าเป็นทางตาใช้คำว่าโสตทวาราวัชชนจิตถ้าเป็นทางหูก็ใช้ตามคำแต่หมายความว่าจิตนี้สามารถจะรู้อารมณ์ที่กระทบทางหนึ่งทางใดได้ทั้งห้าทาง แต่ว่าทีละทางจึงรวมเรียกว่าปัญจทวาราวัชชนจิตแสดงให้รู้ว่าจิตนี้ไม่สามารถเกิดทางใจสามารถจะเกิดได้เฉพาะรู้อารมณ์ที่กระทบทางหนึ่งทางใดในห้าทวารนี้ เท่านั้นจึงชื่อว่าปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นวิถีจิตแรกปฏิสนธิจิตภวังคจิตจุติจิตไม่รู้อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ ชื่อว่าวิถีมุตจิตหมายความว่าไม่ใช่วิถีจิตแต่ว่าจิตอื่นนอกจากนี้ทั้งหมดนอกจากจิตสามขณะนี้แล้วเป็นวิถีจิตวิถีจิตหมายความว่า จิตที่เกิดรู้อารมณ์อื่นที่ไม่ใช่อารมณของภวังค์ เพราะฉะนั้นเสียงปรากฏว่าเป็นเสียงโดยอาศัยโสตประสาททำให้เมื่อกระทบกันแล้วถึงกาลที่กรรมจะให้ผลให้ได้ยินเสียงไม่ใช่เห็นไม่ใช่ได้กลิ่นแต่ให้ได้ยินเสียงขณะนั้นก็เป็นปัจจัยให้โสตวิญญาณที่เราใช้คำว่าได้ยินเกิดขึ้นแต่ก่อนนั้นเกิดได้ยินทันทีไม่ได้เลย ต้องมีอาวัชชนจิตที่พึ่งรู้ว่ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดกระทบ หรือปรากฏทางนั้นแต่ไม่ได้ทำทัสสนกิจนี่คือก่อนได้ยินก่อนเห็นก่อนได้กลิ่นทั้งห้าทวารนี้ต้องมีจิตหนึ่งซึ่งเกิดก่อนจิตนั้นไม่มีวิระยะเจตสิกเกิดร่วมด้วยแต่ว่ามีเจตสิกเกิดมากกว่า ๑๐ เป็นสิ่งซึ่งละเอียดยิ่งว่าความต่างกันก็ต้องมีตามเจตสิกที่ต่างกันตามกิจการงานด้วย

    อ.วิชัย กราบท่านอาจารย์ครับ ก่อนหน้านี้ท่านอาจารย์กล่าวถึงจิตที่เกิดก่อน เช่น ทางใจคือท่าทางที่จะให้จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์มีหกทาง


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 194
    23 ธ.ค. 2566

    ซีดีแนะนำ