พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 901


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๙๐๑

    ณ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗


    ท่านอาจารย์ เพียงแค่คำว่าอินทรีย์คำเดียวหมายความถึงสภาพธรรมที่เป็นใหญ่แทนที่เราอยากจะไปให้ครบโน่น หรือครบนี่แต่ว่าควรที่จะได้ทราบจริงๆ เดี๋ยวนี้มีอินทรีไหมอยู่ในตำราเท่าไหร่คะกี่อินทรีย์คะ ๒๒ อินทรีย์ และเดี๋ยวนี้อยู่ไหนจะเอาแค่วิริญินทรีย์แค่ปัญญินทรีย์ หรืออะไรแต่ตามความจริงเดี๋ยวนี้มีอะไรที่ควรเข้าใจขึ้นจนกระทั่งรู้ว่าเป็นสิ่งที่มีจริงซึ่งไม่ใช่เราหลงยึดถือมาในสังสารวัฏแสนนานแต่ว่าความจริงแล้วก็คือว่าสิ่งที่เพียงมีจริงๆ มีชั่วขณะที่ปรากฏ และขณะที่ปรากฏฅก็ต้องมีสภาพที่กำลังรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กำลังปรากฏไม่ใช่สิ่งอื่นไม่ใช่ไปรู้ทั่วหมดเฉพาะสิ่งหนึ่งที่ปรากฏขณะนี้แล้วเริ่มฟังจนกระทั่งมีความเข้าใจขึ้นมิฉะนั้นเราก็จะไปคิดถึงคำมากมายแต่ว่าไม่สามารถที่จะเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังมีจริงเดี๋ยวนี้ได้ เพราะฉะนั้นแต่ละคำอยากจะให้เป็นการเข้าใจสภาพที่มีจริงซึ่งจะทำให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้นว่าไม่ใช่เรา

    อ.ธิดารัตน์ มีข้อความที่อธิบายลักษณะของวิริยะ วิริยะนั้นมีความค้ำจุนเป็นลักษณะ หรือมีความประคองเป็นลักษณะมีความค้ำจุนสหชาตธรรมเป็นกิจ หรือว่าเป็นรสท่านอาจารย์คะก็หมายถึงว่าลักษณะที่วิริยะค้ำจุน หรือว่าประคอง

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้มีไหมคะ

    อ.ธิดารัตน์ คือขณะนี้มีวิริยะทำกิจเกิดร่วมกับจิต

    ท่านอาจารย์ แล้วจะรู้ได้ยังไงว่ามี หรือไม่มี

    อ.ธิดารัตน์ ก็ต้องรู้ลักษณะของวิริยะค่ะ

    ท่านอาจารย์ ฟังให้เข้าใจก่อนแล้วถึงจะค่อยๆ เข้าใจทั้งๆ ที่ขณะนี้จิตเกิดจิตที่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยก็มีจิตที่ไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยก็มีรู้ไม่ได้ยังไงๆ ก็รู้ไม่ได้แต่ว่าจากการฟังก็เห็นความหลากหลายของจิตว่าไม่มีใครสามารถที่จะดลบันดาลให้จิตนี้มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย หรือว่าจิตนั้นไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยแต่ฟังให้เห็นพระปัญญาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งทรงตรัสรู้ความจริงซึ่งทำให้ไม่ยึดถือว่าสภาพนั้นๆ เป็นเรา หรือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นแต่เพียงสภาพธรรมแต่ละหนึ่งซึ่งมีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปนี่คือจุดประสงค์ เพราะฉะนั้นเวลานี้ใครจะรู้ว่าวิริยะเป็นอย่างไรจะประคองอย่างไรเมื่อไหร่อย่างไรก็ต่อเมื่อสามารถที่จะเข้าใจก่อนที่ทรงแสดงไว้จิตใดมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยจิตใดไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยอย่างขณะนี้เห็นเหมือนมีเห็นตลอดเวลาไม่ได้ดับไปเลย แต่ความจริงก็มีรู้ด้วยสิ่งที่เห็นเป็นอะไรซึ่งก็คนละขณะแล้ว และก็มีความพอใจไม่พอใจในสิ่งที่เห็นด้วยก็เป็นแต่ละหนึ่งสภาพธรรม ซึ่งมีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปถ้าจะพูดถึงวิริยะเป็นสภาพธรรมที่มีจริงถ้าในชีวิตประจำวัน เราไม่เคยฟังธรรมเลย เราเห็นคนขยันเราบอกว่าเขาขยันมาก ตื่นมาขุดดินปลูกต้นไม้ไถนาทำไร่ หรือใครจะทำอะไรก็ได้เข้าครัวทำอาหารทั้งหมดบางคนมีความเพียรที่เห็นได้ชัดในยุคก่อนสมัยก่อนเขาก็จะมีถั่วงอกที่รับประทานกับอาหารหลายประเภท แล้วก็เด็ดหางออกทุกอันเพียรไหม ถ้าบางคนก็ข้ามไปก็แสดงว่าไม่มีวิริยะ หรือความอดทน หรือความเพียรพอนั่นคือเป็นธรรมที่รวมๆ กันหลายๆ อย่างแล้วเราก็เรียกว่าคนนั้นอาการกระทำเช่นนั้นเราก็บอกว่าขยัน หรือว่าไม่ขยัน หรือเกียจคร้านแต่ธรรมละเอียดลึกซึ้งกว่านั้นมากถ้าไม่มีสิ่งที่มีจริงแต่ละหนึ่งๆ ซึ่งเกิดดับจะไม่มีใครเลยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นไม่ว่าเราจะพูดถึงอุปนิสัยใจคอความดีความชั่วต่างๆ หรือสภาพธรรมที่มีจริงต่างๆ เราก็เห็นเพียงรวมๆ กันแต่ไม่รู้ว่าขณะนั้นไม่ใช่เราเลยแต่ว่าเป็นสิ่งที่มีจริงแต่ละอย่างซึ่งมีลักษณะเฉพาะของตนๆ ที่เกิดขึ้นอย่างที่กล่าวถึงวีระคือความกล้า กล้าทำชั่วได้ไหมกล้าทำดีได้ไหมความเพียรขยันในทางดีก็มีในทางไม่ดีก็มี

    เพราะฉะนั้น ก็เป็นสภาพธรรมซึ่งเพียงวิริยะเท่านั้นไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าดี หรือชั่วจนกว่าจะมีสภาพธรรมฝ่ายไม่ดีเกิดร่วมด้วยวิริยะนั้นก็เป็นความเพียรในทางไม่ดีถ้าเป็นฝ่ายทางดีวิริยะนั้นก็เป็นไปในทางฝ่ายดีเดี๋ยวนี้มีวิริยะเพียรที่จะฟังธรรมไหมคือพอจะรู้ได้เท่าที่เราสามารถจะรู้ได้แต่จริงๆ แล้ววิริยะเป็นเจตสิกหนึ่งซึ่งไม่ใช่ปัญญาเจตสิกไม่ใช่สติเจตสิก และจิตส่วนใหญ่จะมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยเกินกว่าที่เราคิดเพราะว่าเราไม่ได้รู้สภาพของจิตทั้งหมดแต่ละหนึ่งว่าต่างกันอย่างไรแต่จำนวนตามที่ทรงแสดงไว้ก็คือว่าวิริยเจตสิกไม่เกิดกับจิตส่วนใหญ่ หรือส่วนน้อย

    อ.วิชัย ไม่เกิดกับจิตส่วนน้อยคือมีแค่ ๑๖ ประเภทเท่านั้นเอง

    ท่านอาจารย์ แล้วเราพูดถูกไหมที่เราบอกว่าเขาขยัน หรือบางคราวที่เราบอกว่าเขาขี้เกียจเราก็พูดผิดแล้วเพราะเราไม่ได้รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมเพื่อเห็นความเป็นอนัตตาจนกระทั่งเราสามารถจะเข้าใจถึงวิริญินทรีย์ซึ่งก็ต้องต่างไปอีกทุกๆ ชื่อมีความหมายตั้งแต่ธรรมดาระดับธรรมดาจนกระทั่งถึงว่าขณะนั้นมีสภาพที่เพิ่มความเป็นใหญ่ของความเพียรจึงใช้คำว่าวิริญินทรีย์ได้แต่ถ้ายังไม่เป็นอย่างนั้นก็ยังไม่เป็นวิริญินทรีย์

    อ.วิชัย ท่านอาจารย์ครับเมื่อสักครู่ท่านอาจารย์ก็กล่าวถึงว่าวิริยเจตสิกคือความเพียรเป็นธรรมประการหนึ่งซึ่งก็ไม่เกิดกับจิตเป็นส่วนน้อยคือเพียง ๑๖ ประเภทเท่านั้นท่านอาจารย์ครับอย่างเช่นจิตเห็นไม่มีวิริยะเกิดร่วมด้วยความต่างขณะนี้ที่ท่านอาจารย์กล่าวถึงมากขณะที่มาฟังพระธรรม หรือนั่งฟังพระธรรมก็มีวิริยะแต่ว่าธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดที่จะรู้ว่าแม้เห็นก็ไม่มีวิริยะเกิดร่วมด้วยกับการที่ขณะนี้อะไรที่มีวิริยะเกิดร่วมด้วยครับท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ นี่เป็นเหตุที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงความละเอียดยิ่งว่านอกจากจิต ๑๖ ดวงนั้นแล้วมีวิริยะทั้งหมดเราจะรู้ หรือไม่รู้แต่ก็มี เพราะฉะนั้นก่อนอื่นให้ทราบว่าจิต ๑๖ ดวงเป็นยังไงจึงไม่วีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยก็น่าสนใจใช่ไหมจิต ๑๖ ดวงที่ไม่ประกอบด้วยโลภะโทสะโมหเจตสิกซึ่งใช้คำว่าเหตุฝ่ายไม่ดีเป็นอกุศลเหตุ และไม่ประกอบแม้กับอโลภะอโทสะอโมหะ เพราะฉะนั้นจิตทั้งหมดทุกวันมีจิตที่ไม่ประกอบด้วยโลภะโทสะโมหะอโลภะอโทสะอโมหะด้วย และในบางกาลก็มีจิตที่ประกอบด้วยโลภะกับโมหะบางกาลก็มีจิตที่ประกอบด้วยโมหะกับโทสะ และบางกาลก็มีจิตที่ประกอบด้วยอโลภะกับอโทสะส่วนอโมหะนั้นเป็นปัญญา เพราะฉะนั้นบางครั้งก็มีปัญญาเกิดร่วมด้วยไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยทั้งหมดไม่ใช่ชื่อแต่เป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ แล้วก็จะรู้ว่าที่ไปเข้าใจว่าเป็นเราผิดหมดเลยเพราะเหตุว่าเป็นลักษณะของสภาพธรรมแต่ละหนึ่งซึ่งมีปัจจัยเกิดขึ้นก็ควรที่จะกล่าวถึงจิตที่ไม่มีวิริยะเกิดร่วมด้วย ๑๖ ประเภทได้แก่จิตที่ไม่มีเหตุหกเกิดร่วมด้วยจึงชื่อว่าอเหตุกชื่อธรรมดามากเลยบางคนพอฟังธรรมได้ยินคำว่าอเหตุกไม่อยากเรียนแล้วเหตุ และอเหตุก และสเหตุกไม่เคยรู้จักคำเหล่านี้เลยแต่ไม่ยากเลยถ้ามีความเข้าใจว่าในบรรดาธรรมทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นจิตไม่ว่าจะเป็นเจตสิกไม่ว่าจะเป็นรูปใดๆ ก็ตามสภาพธรรมที่เป็นเหตุแท้จริงมีเพียงหก เพราะฉะนั้นเหตุหกเป็นอกุศลเหตุสาม และเป็นโสภณเหตุสามเรียกชื่อต่างกันแล้วแม้ความเล็กน้อยที่ต่างกันถ้าเข้าใจเป็นประโยชน์เพราะว่าส่วนใหญ่เราก็คิดเพียงว่ากุศลกับอกุศล

    เพราะฉะนั้น ก็เข้าใจว่าอกุศลเหตุมีสามแน่นอน คือ เจตสิกที่เป็นสภาพที่ติดข้องเป็นโลภเจตสิก เป็นสภาพธรรมที่ตรงกันข้ามกับความติดข้องหยาบกระด้างทำร้ายนั่นเป็นโทสเจตสิก และสภาพธรรมที่เป็นเหตุอีกอย่างหนึ่งคือโมหเจตสิกเป็นสภาพที่ไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏได้ขณะใดก็ตามมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดกำลังปรากฏ และไม่เข้าใจความจริงของสิ่งนั้นขณะนั้นก็คือโมหเจตสิกไม่ใช่เรา ความไม่รู้ต้องเป็นความไม่รู้ จะเป็นใครไม่ได้ จะเป็นโลภไม่ได้ จะเป็นก็โกรธไม่ได้ เพียงแต่ไม่รู้ในสิ่งนั้น แต่เมื่อไม่รู้แล้วพอใจในสิ่งที่เหมือนกับเที่ยง คือ ไม่ปรากฏการเกิดดับเลย ความติดข้องขณะนั้นก็เป็นโลภเจตสิก และถ้าไม่ได้สิ่งที่พอใจขุ่นใจขณะนั้นก็เป็นโทสเจตสิกเป็นอกุศลเหตุสามใช้คำว่าเหตุเพราะจะนำมาซึ่งอกุศลอีกมากเพราะสามเจตสิกนี้ตอนนี้แค่นี้รู้จักแล้วใช่ใหมคือค่อยๆ ไปธรรมไม่ใช่ว่าอยากจะรู้ทั้งหมดทีเดียวแต่เดี๋ยวนี้มีไหมมีเป็นเรา หรือเปล่าถ้าไม่ใช่เราเป็นอะไรขณะไหนก็ตามที่มีความไม่รู้สภาพธรรมที่ปรากฏขณะนั้นดีไหมไม่ดีเป็นอกุศลเหตุด้วยเหตุนี้ถ้าได้ยินคำว่าอกุศลจะเป็นอกุศลเหตุ หรืออกุศลเจตสิก หรือว่าอกุศลธรรมก็ตามให้ทราบว่าสภาพธรรมนั้นเป็นได้อย่างเดียวคือเกิดเมื่อไหร่เป็นอกุศลทันทีจะไม่เป็นอกุศลไม่ได้มานะความสำคัญตนดีไหมภาษาไทยบอกว่ามานะดีใช่ไหมแต่ว่าความจริงมานะตามความเป็นจริง ถ้ากล่าวถึงธาตุชนิดหนึ่งสภาพธรรมอย่างหนึ่งมานะเป็นเจตสิกไม่ใช่จิตแต่เกิดกับจิตเจตสิกทั้งหมดต้องเกิดกับจิตไม่เกิดกับจิตไม่ได้เลย

    เพราะฉะนั้น เวลาใดที่สำคัญตนขณะนั้นไม่ใช่จิตเพราะบางขณะก็สำคัญตนบางขณะก็ไม่ได้สำคัญตนแต่จิตมีตลอดตั้งแต่เกิดจนตายไม่เคยขาดเลยแล้วแต่ว่าจะมีเจตสิกใดเกิดกับจิตใดในขณะไหนแต่เจตสิกจะต้องเกิดดับสืบต่อแล้วก็มีเจตสิกแล้วแต่ว่าขณะนั้นมีเจตสิกประเภทใดเกิดร่วมด้วยมานะไม่ดีขณะใดที่สำคัญตนอย่าหลงเข้าใจว่าดีขณะนั้นเป็นอกุศลธรรม เพราะฉะนั้นสภาพธรรมของอกุศลเจตสิกทั้งหมดมี ๑๔ ประเภทไม่ว่าเกิดเมื่อไหร่เป็นอกุศลทันทีแต่นอกจากนั้นเจตสิกอื่นทั้งหมดเป็นกุศลก็ได้เป็นอกุศลก็ได้เป็นอัพยากตก็ได้แล้วแต่ถ้าเป็นสภาพธรรมฝ่ายดีใช้คำว่าฝ่ายดีเป็นได้คือกุศล หรือกุศลวิบากอันนี้ก็เป็นสิ่งซึ่งแสดงความละเอียดไม่ใช่ให้เบื่อแต่ให้รู้ว่านี่คือชีวิตจริงๆ ซึ่งไม่เคยรู้เลยได้ยินชื่อก็คิดว่ายากแต่ความจริงก็คือสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้

    เพราะฉะนั้น จิต ๑๖ ดวงกลับมาที่นี่อีกเวลานี้เราคงไม่ต้องนั่งคิดแต่ว่าเท่าที่สามารถจะปรากฏในขณะนี้ได้ให้เข้าใจเวลาที่กำลังพอใจชอบติดข้องแม้เพียงเล็กน้อยมีวิริยะเกิดร่วมด้วยแล้วเวลานี้เกือบจะไม่รู้สึกเลยว่าเราชอบอะไรบ้างใช่ไหมเพราะสภาพธรรมเกิดดับเร็วมากแต่ว่าขณะนี้ถ้าไม่เป็นกุศลก็เป็นอกุศล อกุศลก็มีเพียงแค่จิตที่ประกอบด้วยความติดข้องหนึ่งเป็นโลภมูลจิตมีโลภเจตสิกเกิดร่วมด้วย หรือจิตที่ประกอบด้วยความขุ่นเคืองประทุษร้ายรำคาญใจ หรืออะไรก็ตามสังเกตุได้จากความรู้สึกที่ไม่สบายใจในขณะนั้นก็เป็นโทสะมูลจิตหมายความว่ามีโทสะเกิดร่วมด้วยแล้วขณะใดก็ตามไม่มีโลภะโทสะแต่ก็ไม่รู้ไม่เข้าใจสิ่งที่ปรากฏขณะนั้นก็เป็นโมหะ เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้ศึกษาธรรมโดยยังไม่ต้องคิดถึงจำนวนเลยจิตเห็นไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยเพราะเหตุว่าเป็นการอุปปัตติเกิดขึ้นเมื่อถึงกาลที่กรรมจะให้ผลทำให้ต้องเห็นใครจะรู้ หรือไม่รู้เวลานี้เห็นนี่แหละเดี๋ยวนี้แหละทุกขณะที่เห็นเกิดขึ้นเพราะกรรมที่ได้ทำแล้วเป็นปัจจัยถึงกาลที่จะเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏบางกาลเราก็เลือกไม่ได้อีกเหมือนกันเห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจกลางถนนหนทางมีไหมอุบัติเหตุต่างๆ ไม่ได้คิดมาก่อนเลยแต่อุปปัตติเกิด และจิตเห็นขณะนั้นก็ได้เห็นสิ่งนั้น เพราะฉะนั้นการเห็นเราจะเลือกไม่ได้เลยว่าเราอยากจะเห็นอะไรแล้วจะได้เห็นอยากเห็นพยายามสักเท่าไหร่ก็ตามตาบอดพยายามมาตั้งเยอะแต่ถึงเวลาอยากเห็นก็เห็นไม่ได้เพราะว่ากรรมไม่ได้เป็นปัจจัยให้จิตเห็นเกิดขึ้นเห็นสิ่งนั้นให้ทราบว่าชีวิตที่มีอยู่ในวันหนึ่งๆ ก็มีการเห็นจิตขณะเห็นเกิดขึ้นเห็นไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยถ้าจะกล่าวถึงเฉพาะวิริยเจตสิกเพียงหนึ่งเราก็จะพูดถึงเฉพาะขณะไหนบ้างที่ไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยจิตเห็นเดี๋ยวนี้ชั่วหนึ่งขณะที่เห็นไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยเมื่อไหร่ก็ตามเห็นที่ไหนก็ตามเห็นสิ่งที่น่าพอใจก็ตามไม่น่าพอใจก็ตามไม่ต้องมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยเลยเพราะว่าจิตเห็นจิตได้ยินจิตได้กลิ่นจิตลิ้มรสจิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกายมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเพียงเจ็ดเท่านั้นน้อยที่สุดจิตต้องอาศัยเจตสิกเป็นปัจจัยเกิดขึ้น และเจตสิกก็ต้องเกิดกับจิตแยกจากกันไม่ได้เลยที่ใดมีจิตที่นั่นต้องมีเจตสิก เจตสิกทั้งหมดมี ๕๒ ประเภทแต่สำหรับจิตเห็นเดี๋ยวนี้มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเพียงเจ็ดไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยจิตได้ยินขณะที่กำลังได้ยินเสียงปรากฎจิตที่รู้เสียงขณะนั้นก็มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเจ็ดประเภทไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย

    เพราะฉะนั้น การศึกษาเรื่องเจตสิกเราค่อยๆ ศึกษาไปทีละเจตสิก ไม่ต้องมารวมกันเป็น ๕๒ ทีเดียว ก็ได้เพื่อที่ว่าเราจะได้เข้าใจจริงๆ ว่าต่อนี้ต่อไปจากไม่เคยรู้เรื่องจิตเลยก็มารู้ว่าจิตหลากหลายตามเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยบางขณะจิตก็ดีเพราะมีเจตสิกฝ่ายดีเกิดร่วมด้วยบางขณะจิตก็ไม่ดีเพราะเหตุว่ามีเจตสิกฝ่ายไม่ดีเกิดร่วมด้วยบางขณะไม่ใช่จิตดี และไม่ดีซึ่งเป็นเหตุแต่เป็นผลของเหตุ เพราะฉะนั้นมีคำว่ากรรมเป็นเหตุ และมีวิบากคือผลของกรรมเมื่อกุศลกรรมมีเป็นปัจจัยให้เกิดกุศลวิบากจิตนั้นเป็นผลของกรรมทำให้เกิดขึ้น และเวลาที่อกุศลดับไปแล้วก็จริงแต่ขณะใดก็ตามที่มีการเห็นมีการได้ยินได้กลิ่นลิ้มรสสิ่งที่กระทบสัมผัสกายที่ไม่น่าพอใจทั้งหมดเป็นผลของอกุศลกรรมเป็นอกุศลวิบากไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยถ้าจะศึกษาเรื่องวิริยะก็ให้เข้าใจตั้งแต่ต้นเลยว่าชีวิตประจำวันเดี๋ยวนี้จิตเห็นจิตได้ยินจิตได้กลิ่นจิตลิ้มรสจิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยจิตอื่นไม่ต้องพูดถึงก็ได้เพราะไม่ปรากฏนอกจากนั้นแล้วมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยพอจะเข้าใจคร่าวๆ ก่อนแต่ถ้าจะรู้ว่านอกจากจิตสิบดวงนี้แล้วมีจิตอื่นอีกไหมซึ่งไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยมีแต่ค่อยๆ รู้ค่อยๆ เรียนค่อยๆ จำค่อยๆ เข้าใจแต่เดี๋ยวนี้เห็นไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยตอนที่ไม่เห็นชอบ หรือไม่ชอบดี หรือชั่วทั้งหมดต้องมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย

    อ.ธิดารัตน์ ท่านอาจารย์ก็ได้กล่าวถึงหลังเห็นแล้วชอบไม่ชอบในสิ่งที่เห็นขณะนั้นมีวิริยะเกิดแล้วเพราะว่าขณะนั้นลักษณะของโลภะซึ่งเป็นความพอใจเหมือนกับจะมีกำลังจนไม่เห็นลักษณะของวิริยะเลย

    ท่านอาจารย์ ไม่ต้องไปเห็นค่ะไม่ต้องไปเห็นลักษณะของวิริยะเลยให้รู้ว่ามีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยใครจะไปเห็นผัสสเจตสิกใครจะไปเห็นชีวิตรินดริยเจตสิก หรือใครจะไปเห็นวิริยเจตสิกมนสิการเจตสิกให้ทราบว่ามีเพื่ออะไรคะไม่ใช่เราสภาพธรรมที่เกิดต้องมีปัจจัยจิตจะเกิดตามลำพังไม่ได้จิตต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย และอย่างน้อยที่สุดต้องมีเจตสิกถึงเจ็ดประเภทเกิดกับจิตหนึ่งขณะนั่นอย่างน้อยยังไม่ใช่กุศลจิตอกุศลจิตถ้าเป็นอกุศลจิตมีอกุศลเจตสิกเกิดร่วมด้วยอีกก็มากกว่าเจ็ดถ้าเป็นฝ่ายกุศลก็ยิ่งมีเจตสิกเกิดมากกว่าอกุศลจิตอีกเพราะเหตุว่ากว่าจะเป็นกุศลแต่ละครั้งได้ต้องอาศัยโสภณเจตสิกฝ่ายดีมากจึงสามารถจะทำให้ขณะนั้นไม่เป็นอกุศล เพราะฉะนั้นขณะนี้เรากำลังพูดถึงเจตสิกหนึ่งวิริยะสภาพธรรมที่เพียร หรือประคองสภาพธรรมในขณะนั้นให้เป็นอย่างนั้นให้เกิดขึ้นเป็นอย่างนั้นอยู่ดีๆ จากเห็นแล้วจะไปเป็นโทสะถ้าไม่มีวิริยะโทสะก็เกิดไม่ได้เพราะว่าเพียงแค่เห็นก็เห็นเท่านั้นเอง แต่เห็นแล้วจะเป็นกุศล หรือจะเป็นอกุศลต้องมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย เราไม่พูดถึงจิตที่ไม่ปรากฏขณะนี้ เช่น สัมปฏิจฉันนจิต สันติรณจิต โวฏฐัพพนจิต ชวนจิต มโนทวาราวัชชนจิต ซึ่งมี แต่ไม่ปรากฏ ก็ไม่ต้องกล่าวถึง เอาที่ปรากฏก่อนเข้าใจก่อน เมื่อเข้าใจมากกว่านี้ ก็จะได้กล่าวถึงจิตซึ่งมีวิริยเจตสิกเกิด แม้ว่าขณะนี้ไม่ได้ปรากฏแต่โลภะปรากฏใช่ไหม พอเกิดขึ้นนั่นแหละมีวิริยะจึงได้เป็นโลภะ ถ้าไม่มีวิริยะโลภะก็เกิดไม่ได้ โทสะก็เหมือนกันก็มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย ถ้าไม่มีวิริยะเกิดร่วมด้วยจิตจะเป็นโทสะไม่ได้ คิดถึงเจตสิกที่สามารถจะทำให้จิตเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด

    ผู้ฟัง กราบเรียนอาจารย์มีความเข้าใจว่าจิตที่เป็นวิบากจิตถ้าเป็นวิบากจิตไม่มีวิริยเจตสิกประกอบด้วยถ้าเข้าใจอย่างนี้จะถูก หรือผิด

    ท่านอาจารย์ ยังแคบไปค่ะเพราะว่าวิบากจิตที่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยก็มีนี่คือความละเอียดแต่ว่าโดยคร่าวๆ เดี๋ยวนี้เรามีเห็นมีได้ยินบางขณะก็มีได้กลิ่นบางขณะก็ลิ้มรสบางขณะก็รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสเป็นชีวิตปกติประจำวันความรู้เพิ่มเติมคือจิตเหล่านี้ไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้นนอกจากนี้ซึ่งจิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วยไม่ได้ปรากฏเราก็ไม่กล่าวถึงเรากล่าวถึงว่าเห็นแล้วชอบชอบจะเกิดเป็นชอบมีโลภเจตสิกเกิดได้ก็ต้องอาศัยวิริยะ หรือแม้แต่ความโกรธไม่ง่ายเราดูเหมือนง่ายใช่ไหมเดี๋ยวก็โกรธเดี๋ยวก็โกรธแต่ไม่ง่ายเพราะต้องมีวิริยะจึงโกรธถ้าไม่มีวิริยเจตสิกโกรธไม่ได้เลยนี่คือความละเอียดยิ่งของสภาพธรรม

    ผู้ฟัง ถ้าโกรธ หรือชอบก็เป็นอกุศลไปแล้ว

    ท่านอาจารย์ เราไม่ได้กล่าวถึงเฉพาะอเหตุกจิตเรากล่าวถึงจิตเดี๋ยวนี้ซึ่งสามารถจะรู้ได้เช่นเห็นกำลังเห็น เห็นเป็นอเหตุกหมายความว่าไม่มีเจตสิกหกเกิดร่วมด้วยแต่จิตที่ไม่มีเจตสิกที่เป็นเหตุเกิดร่วมด้วยมีถึง ๑๘ ประเภทใน ๑๘ ประเภท ๑๐ แล้วคือจักขุวิญญาณกุศลวิบากหนึ่งอกุศลวิบากหนึ่งโสตวิญญานฆานวิญญาณชิวหาวิญญาณกายวิญญาณจิต ๑๐ ดวงนี้ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย และไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้นเราจะกล่าวเฉพาะจิตที่สามารถรู้ได้แต่จิตอื่นที่แม้ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วยเราไม่กล่าวถึงเช่นปัญจทวาราวัชนจิตมโนทวาราวัชชนจิตสัมปฏิจฉันนจิตสันติรณจิตจะกล่าวถึงเมื่อสมควรที่ควรจะกล่าว และทำให้เข้าใจละเอียดขึ้นแต่วันนี้เราจะพูดถึงวิริยเจตสิก และจะพูดถึงเฉพาะจิตที่เดี๋ยวนี้กำลังมีก็ให้เริ่มรู้ว่าจักขุวิญญาณโสตวิญญานฆานะวิญญาณชิวหาวิญญาณกายวิญญาณไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยแต่ไม่ใช่มีเพียงจิตเห็นเห็นแล้วชอบแต่จะชอบไม่ได้ถ้าไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยโลภะจะเกิดไม่ได้เลยแสดงให้เห็นความเป็นไปว่าแม้แต่จิตแต่ละประเภทที่เกิดก็ต้องอาศัยเจตสิกที่อาศัยกัน และกันอุปการะกันเกื้อกูลกันจึงสามารถจะเกิดได้

    อ.วิชัย กราบท่านอาจารย์ครับก่อนหน้านั้นท่านอาจารย์กล่าวถึงว่าจิตเห็นที่ไม่มีวิริยะเกิดร่วมด้วยเพราะมีการอุบัติขึ้นคือยังไงครับท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ ใช้คำว่าอุปปัตติหมายความว่าต้องอาศัยการประจวบกันของสภาพธรรมที่พร้อมที่จะเกิดขึ้นโดยมีกรรมเป็นปัจจัยสิ่งที่คนอื่นเขาเห็นกัน หรือกำลังปรากฏให้เห็นขณะนี้คนตาบอดไม่เห็น


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 194
    12 ม.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ