พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 527
ตอนที่ ๕๒๗
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ฟังแล้วฟังอีก ไม่ต้องนับว่ากี่ครั้ง เพราะความไม่รู้ตั้งแต่เช้ามา ก็ไม่ได้นับว่ากี่ครั้ง ใช่ไหม แล้วจะมานั่งนับว่า เราฟังว่า สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตากี่ครั้ง ก็ไม่จำเป็น เพราะเหตุว่าต้องเป็นความเข้าใจ ไม่ใช่เป็นตัวเราจะไปนั่งนับ นั่งคิด แต่เข้าใจว่า ขณะนี้สิ่งที่ปรากฏทางตาจริงๆ เคยรู้จักไหม เคยรู้ไหมว่าเป็นเพียงธรรมที่เกิดปรากฏเท่านั้นเอง ไม่เคยรู้ใช่ไหม
เพราะฉะนั้น กว่าจะรู้ถูกว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาความจริงก็แค่นี้เอง เท่านี้เอง ไม่มากไปกว่านี้เลย ต่อจากนั้นก็คิด และจำเป็นเรื่องราวต่างๆ ถูกหรือผิด คือไม่รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏทางตา
เพราะฉะนั้น ถ้าจะพูดถึงความมืดสนิทของจิตซึ่งยังไม่มีสิ่งที่ปรากฏทางตา นอนหลับ ทุกคนนอนหลับ เป็นธรรมดามาก ธรรม คือ สิ่งที่มีจริงตามปกติ กำลังนอนหลับสนิท มีแสงสว่าง มีเรื่องราวอะไรหรือเปล่า ไม่มีอะไรปรากฏเลย แล้วก็คิดนึกเป็นความฝันต่างๆ แต่ที่ว่าเป็นความฝัน เพราะไม่ได้มีสิ่งที่ปรากฏจริงๆ ทางตาเหมือนอย่างเดี๋ยวนี้ หรือทางหูที่เสียงปรากฏจริงๆ เป็นแต่ความจำสิ่งที่เคยได้ยินได้ฟัง สิ่งที่เคยเห็น เคยคิด เคยรู้เรื่องเป็นเรื่องราวต่างๆ ทำให้นึกถึง บังคับได้ไหมไม่ให้ฝัน เป็นอนัตตา หรือเปล่า จะให้ฝันเรื่องนี้ ไม่ให้ฝันเรื่องอื่นได้ไหม ก็ไม่ได้
เพราะฉะนั้น สภาพธรรมทั้งหมดแสดงความเป็นอนัตตาจริงๆ ทุกขณะ แต่อวิชชาก็ไม่สามารถที่จะเห็นถูกตามความเป็นจริงได้ ด้วยเหตุนี้การฟังธรรม จึงไม่ประมาทที่จะรู้ว่า จากความไม่รู้ ใครเป็นผู้ที่ทำให้เข้าใจขึ้น ผู้นั้นคือพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เลิศกว่าบุคคลใดทั้งสิ้นในสากลจักรวาลทั้งหมด ที่สามารถจะรู้ความจริงทำให้เราได้ยินคำว่า “สิ่งที่ปรากฏทางตา” ขณะนี้มีจริง เกิดขึ้นแล้วดับไป แต่หลังจากที่เกิดดับ สัญญาจำ จนกระทั่งแม้ฝันก็ฝันเหมือนเห็น สิ่งที่เคยเห็น เรื่องราวทั้งหลายก็เหมือนกับที่เคยจำได้ว่าเป็นใคร ทำอะไรอยู่ที่ไหน
นี่ก็แสดงให้เห็นความเป็นอนัตตา ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้เมื่อพิจารณาก็จะรู้ว่า สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาขณะนี้ไม่เหมือนฝัน เพราะฝันเป็นคิด แต่คิดเพราะเห็น ฉันใด ขณะนี้ที่ว่าไม่ฝัน ก็เพราะเหตุว่า มีสิ่งที่ปรากฏทางตาให้เห็นจริงๆ และต่อจากนั้นคือ คิด ถ้าจะเพียงเห็นแล้วหลับตา คิดได้หมดเลย แต่ไม่ใช่เห็น
เพราะฉะนั้น กว่าจะรู้สิ่งที่ปรากฏทางตาจริงๆ ตามความเป็นจริงว่า ไม่ใช่ใครเลย นอกจากธาตุหรือธรรม ซึ่งสามารถจะปรากฏเมื่อจิตเกิดขึ้นเห็น จริงหรือเปล่า ไม่ใช่หายวับไปกับตา แต่ว่าเดี๋ยวนี้ ขณะนี้ที่กำลังเป็นอย่างนี้ เพียงแค่จะเข้าใจว่า เป็นสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาเท่านั้นเอง พอจะเข้าใจเพิ่มขึ้นทีละเล็กทีละน้อยไหม ก่อนที่จะสามารถประจักษ์การเกิดขึ้น และดับไปของสภาพธรรมได้ ต้องเป็นปัญญาที่เห็นถูกเพิ่มขึ้น ยิ่งขึ้น กำลังฟังแล้วเข้าใจ มีสติไหม สติเป็นโสภณธรรม ขณะที่เข้าใจเป็นปัญญาเจตสิก ไม่ใช่เรา เป็นเจตสิกชนิดหนึ่งที่สามารถจะเข้าใจในสิ่งที่ได้ยิน เพราะกำลังพูดถึงสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏ
เพราะฉะนั้น ความเข้าใจขั้นนี้ จะเป็นพื้นฐานที่จะทำให้ปัญญาเจริญขึ้น และรู้ว่า ปัญญาที่เจริญแล้วรู้อะไร แล้ว ละ อะไร คือ รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ จนกว่าจะมั่นคง สามารถที่จะ เมื่อเห็นก็ระลึกได้ว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ กว่าที่จะสามารถประจักษ์ความจริงได้ต้องเริ่มจากความเห็นถูก ความเข้าใจถูกทีละเล็กทีละน้อย เพราะเหตุว่าถ้าไม่เข้าใจอย่างนี้จริงๆ ก็เข้าใจว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มั่นคง ที่เที่ยง ไม่เกิดดับเลย ถ้าคิดอย่างนั้นไม่ใช่สัจจญาณ ไม่ใช่ปัญญาที่รู้ความจริง สัจจะ คือ ความจริง
เพราะฉะนั้น ปัญญาที่รู้ความจริง ก็คือ ฟังแล้วก็เข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏจนกว่าจะมั่นคง ยังไม่มั่นคง หรือเริ่มที่จะเป็นความมั่นคง มากหรือน้อย เร็วหรือช้า ก็เป็นเรื่องของความเข้าใจจริงๆ ใครก็บังคับสภาพธรรมหนึ่งสภาพธรรมใดไม่ได้ อวิชชาเกิดขึ้นก็ทำหน้าที่ของอวิชชา ปัญญาเกิดขึ้นก็ทำหน้าที่ของปัญญา เพราะฉะนั้น มีความเข้าใจที่มั่นคงว่าเป็นธรรม คือเป็นสิ่งที่มีจริง และไม่มีใครเป็นเจ้าของ ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ขณะนี้เป็นเจ้าของอะไรบ้าง คุณชมชื่น
ผู้ฟัง ไม่มีเลย
ท่านอาจารย์ มั่นคงหรือยัง
ผู้ฟัง เป็นผู้เริ่ม ที่กำลังจะ แต่ก็ยังคงอีกนาน
ท่านอาจารย์ ไม่เป็นไร เริ่มแล้วก็ยังดีกว่าไม่ได้เริ่มเลย แล้วเข้าใจถูก มั่นคงที่จะไม่เข้าใจผิด ไม่เห็นผิด เพราะรู้ว่า ปัญญารู้ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้เอง
ผู้ฟัง ขณะที่ฟังเข้าใจว่าเป็นแบบนั้น คิดว่าตัวเองเข้าใจขณะที่ฟังตลอดเวลา เวลาที่ฟังเข้าใจดีลื่นไหลไปกับข้อความที่เป็นเหตุเป็นผล หรือเสียงอันไพเราะของท่านอาจารย์ แต่พอหลังจากฟังแล้ว เหมือนกับว่าไม่รู้อะไรเลย มันเป็นไปได้อย่างไร แต่มันเป็นไปแล้ว
ท่านอาจารย์ แล้วอะไรจริง สิ่งที่เป็นไปแล้วนั่นแหละจริง ก็เป็นไปแล้วจะไม่จริงได้อย่างไร เกิดแล้วเป็นแล้วด้วย แล้วจะบอกว่าไม่จริงได้อย่างไร
ผู้ฟัง แต่ถ้าไปฟังใหม่อีก รู้อีก เข้าใจอีก
ท่านอาจารย์ จริงไหม
ผู้ฟัง จริง
ท่านอาจารย์ จริงก็คือจริง ทั้งหมดเป็นความจริง ไม่มีใครไปเปลี่ยนความจริงนี้ได้เลย แต่เข้าใจในความเป็นอนัตตา อย่าลืมเป็นธรรมซึ่งเป็นอนัตตา ไม่มีใครบังคับบัญชา เป็นเจ้าของได้ มีปัจจัยเกิดขึ้นเป็นอย่างไร จริงก็คือเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างอื่นไม่ได้ นี่คือสัจจญาณ ปัญญาที่รู้ความจริง สัจจะ คือ ความจริงของธรรม เป็นคุณชมชื่นที่รู้แล้วไม่รู้หรือเปล่า
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ ใช่ เห็นไหม ธรรมหายไปไหน อนัตตาหายไปไหน เพราะฉะนั้น ฟังจนกว่าผู้ที่รู้จริงๆ ไม่มีความสงสัยในธรรม ไม่มีความเข้าใจผิดว่า สิ่งที่ปรากฏเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่รู้ความจริงของสิ่งที่มีจริง แม้สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นจริงอย่างนี้ ก็คือจริงอย่างนี้ แม้แต่หลังจากเห็นแล้ว คิด จำ ก็เป็นความจริงอย่างนี้ จะเป็นอื่นไม่ได้เลย
ผู้ฟัง ฟังท่านอาจารย์กล่าวถึงเรื่องสิ่งที่ปรากฏทางตา ก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ไม่มีอะไรคืบหน้า ก็ยังเหมือนเดิม มืดสนิท เห็นก็เห็น
ท่านอาจารย์ ก่อนฟังกับกำลังฟัง เปลี่ยนแปลงอะไรบ้างหรือเปล่า หรือเหมือนเดิม
ผู้ฟัง ขณะที่กำลังฟังคล้อยตามได้
ท่านอาจารย์ แล้วก่อนฟัง
ผู้ฟัง ก่อนฟังก็มีเห็น ก็รู้ว่ามีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา แต่ขณะที่กำลังฟังสิ่งที่ปรากฏทางตาว่าเห็นดับแล้ว เกิดแล้วดับแล้ว แล้วก็มีสภาพคิด ขณะนั้นก็คล้อยตามท่าน ก็ได้แค่นั้นเอง
ท่านอาจารย์ ได้แค่นั้น จริงไหม
ผู้ฟัง จริง
ท่านอาจารย์ จริงก็จริง แล้วจะไปเอาแค่ไหน
ผู้ฟัง มาสังเกตดูว่า ไม่มีอะไรคืบหน้า
ท่านอาจารย์ คืบหน้าคืออะไร
ผู้ฟัง ก็ยังไม่ได้ก้าวหน้า ยังมืดเหมือนเดิม
ท่านอาจารย์ จะก้าวไปไหน
ผู้ฟัง จริงๆ คือความโลภของตัวเอง ก็อยากจะก้าวมากขึ้น
ท่านอาจารย์ ก้าวคือเริ่มเข้าใจลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทีละเล็กทีละน้อย ก้าวยาวๆ กระโดดได้ไหม
ผู้ฟัง ก็ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ฟังครั้งหนึ่งเข้าใจขึ้น ฟังอีกครั้งหนึ่งก็เข้าใจขึ้น จนกระทั่งสามารถระลึกได้เป็นปกติ จึงจะรู้ความต่างกันของปัญญาว่า ขั้นฟังก็เพียงเข้าใจในขณะที่กำลังฟัง แล้วก็ลืม ไม่ให้ลืมได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ลืมแล้ว ฟังใหม่ได้ไหม
ผู้ฟัง ได้
ท่านอาจารย์ เข้าใจเพิ่มขึ้นทีละเล็กทีละน้อยได้ไหม ก็ได้ นี่เป็นหนทางเดียว
ผู้ฟัง แล้วค่อยๆ เข้าใจขึ้นทีละเล็กทีละน้อย ตรงนี้คือค่อยๆ เข้าใจขึ้นตรงนี้
ท่านอาจารย์ ก้าวหน้าไหม
ผู้ฟัง ก็น้อยมาก
ท่านอาจารย์ น้อยแต่ก็ก้าวใช่ไหม เพราะฉะนั้น แต่ละครั้งที่ฟังไม่ใช่ไปจำเรื่องทั้งหมด แต่ฟังแล้วรู้ความจริงว่าเป็นธรรมซึ่งเกิดแล้วก็ดับ ไม่ใช่เรา ต้องมีความมั่นคง พอฟังอีกก็รู้ว่าเป็นธรรม ซึ่งไม่ใช่เรา นี่คือการละความหวัง ละความต้องการ แม้แต่ความคิดที่จะก้าว ก้าวอย่างไรกำลังฟังอยู่เดี๋ยวนี้ ฟังแค่ไหนก็เข้าใจแค่นั้น แล้วจะก้าวไปไหน
ผู้ฟัง คุณวิชัยศึกษาธรรมมานานมาก และเป็นผู้ที่ศึกษาธรรมอย่างจริงจัง อยากจะเรียนถามคุณวิชัยว่า เคยหวั่นไหวบ้างหรือไม่ และเมื่อหวั่นไหวทำอย่างไร และถ้าไม่หวั่นไหวจะมีแนวทางอะไรที่จะช่วยน้องบ้าง
อ.วิชัย ก็ต้องเข้าใจว่า สิ่งที่ทำให้เกิดความมั่นคงก็คือ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ถ้าสิ่งไหนที่เป็นไปด้วยความไม่รู้ ในสิ่งที่แม้จะฟังจากที่ต่างๆ ก็ตาม ถ้ายังไม่รู้ ยังไม่เข้าใจในสิ่งนั้นอย่างแท้จริง ก็คือความไม่รู้ ต่อเมื่อมีความเข้าใจถูก มีความเห็นถูก ก็สามารถรู้ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดไม่ถูก ก็ต้องเริ่มต้นจากเข้าใจถูกต้องมากขึ้น
ดูเหมือนชีวิตเราจะยาวนานตั้งแต่อาทิตย์ก่อน เดือนก่อน หรือวันก่อน หรือชั่วโมงที่แล้ว แต่จริงๆ แล้วชีวิตเป็นไปชั่วขณะๆ เท่านั้นเอง ขณะใดก็ตามที่เป็นไปพร้อมกับความไม่รู้ ก็คือความไม่รู้ ยังไม่มีความเข้าใจถูก ก็ต้องรู้ตามความเป็นจริงว่า ขณะนั้นยังไม่มีความเข้าใจเลย หรือยังไม่เข้าใจเพียงพอ ต่อเมื่อเข้าใจถูกต้อง คือปัญญาเกิดขึ้นพร้อมสติ สามารถรู้ได้ โดยไม่ต้องมีบุคคลใดมาบอกว่าจริงหรือไม่จริง แต่ด้วยสติสัมปชัญญะ คือ ปัญญาสามารถจะรู้ถูก เป็นความเห็นถูก อาศัยจากอะไร ก็อาศัยการฟังพระธรรมที่ทรงแสดง
ดังนั้นก็ต้องพิจารณาว่า จะเจริญอย่างไรให้มากขึ้น เพราะเหตุว่าทุกอย่างเป็นธรรม ไม่ได้อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา แต่ต้องมีเหตุปัจจัยจากการฟังแล้วปรุงแต่งให้ความเห็นถูก ความเข้าใจถูกค่อยๆ เจริญขึ้น ถ้าฟังจากผู้ฟังใหม่กับผู้เคยฟังมาแล้ว เคยเข้าใจมาแล้ว ก็จะต่างกัน เพราะเหตุว่าแม้ฟังซ้ำครั้งที่ ๒ ความเข้าใจก่อนๆ ก็ไม่เคยสูญหายไปไหน แม้ดับไปแล้ว แต่สะสมด้วยอุปนิสัยปัจจัยที่ทำให้เข้าใจได้อีก ในสิ่งนั้นให้มั่นคงขึ้น ให้เจริญขึ้นในสิ่งที่เคยเข้าใจแล้ว ก็เป็นความมั่นคง คือต้องเริ่มต้นด้วยความเห็นถูก ความเข้าใจถูก
อ.ธีรพันธ์ หวั่นไหวเป็นธรรมหรือเปล่า เป็น ถ้าจะไม่ให้หวั่นไหวจะเป็นไปได้ไหม เมื่อยังไม่เข้าใจธรรมเพิ่มขึ้นๆ จึงหวั่นไหว เพราะฉะนั้น มีทางอื่นหรือไม่ที่จะไม่ให้หวั่นไหว
ผู้ฟัง เมื่อศึกษา จริงๆ แล้วฟังให้เข้าใจ ให้เกิดปัญญาจริงๆ ให้มั่นคงจริงๆ จึงจะไม่หวั่นไหว
อ.ธีรพันธ์ ก็ยังต้องฟังไปเรื่อยๆ เพราะการที่จะมีความรู้ ความเข้าใจต้องอาศัยการฟัง ฟังสิ่งที่จริง สิ่งที่ถูกต้อง เมื่อมีความเข้าใจสิ่งที่มีจริง สิ่งที่ถูกต้อง ก็จะคลายความสงสัย คลายความหวั่นไหวลงทีละเล็กทีละน้อย เพราะว่าขณะนั้น ค่อยๆ รู้ความจริงในสิ่งที่กำลังปรากฏ สิ่งที่กำลังปรากฏไม่สามารถทำให้พี่บุษกรหวั่นไหวได้ ถ้าเข้าใจธรรม ถูกต้องไหม แต่ก็ต้องอาศัยการฟัง เพราะการไม่หวั่นไหวก็เป็นได้ยาก เพราะตราบใดที่สติปัญญา หรือความเข้าใจยังไม่มีกำลังเพิ่มขึ้น ความหวั่นไหวก็ต้องมีตามมาแน่นอน และความหวั่นไหวก็เป็นธรรมชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้น ไม่ได้หวั่นไหวทั้งวัน ใช่ไหม เดี๋ยวก็ชอบเรื่องอื่น
เพราะฉะนั้น ฟังธรรมไปเรื่อยๆ ไม่ต้องหวั่นไหว ฟังธรรมให้เข้าใจ อันนี้จะช่วยคลายความสงสัย ความมั่นคงก็จะเพิ่มขึ้นๆ จึงต้องอาศัยการฟังเพิ่มขึ้นบ่อยๆ อย่าขาดการฟัง เพราะการฟังเป็นปัจจัยให้มีความเข้าใจเพิ่มขึ้นๆ ความผ่องใส ความมีศรัทธาในพระธรรมก็จะเพิ่มขึ้น
ผู้ฟัง มามูลนิธิเพื่อศึกษาธรรม เพื่อหาความมั่นคงต่อธรรม อย่างนั้นหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ อะไรมั่นคง
ผู้ฟัง ตามความเข้าใจของผม ความมั่นคง ก็คือการรู้แจ้งในธรรม
ท่านอาจารย์ จะรู้แจ้งในธรรมเดี๋ยวนี้ได้ไหม
ผู้ฟัง ยังไม่ได้
ท่านอาจารย์ ก่อนจะรู้แจ้ง ต้องอะไรก่อน
ผู้ฟัง ต้องเข้าใจ
ท่านอาจารย์ เข้าใจถูกต้องในความจริงของสิ่งที่ปรากฏ ค่อยๆ มั่นคงขึ้นว่า ไม่เป็นอย่างอื่น ขณะนี้เป็นธรรม ไม่ใช่เรา คือความมั่นคงที่จะเริ่มเข้าใจว่า ที่ได้ยินว่า ทุกอย่างเป็นธรรม ไม่เปลี่ยน และไม่ผิดจากนี้เลย นี่คือความมั่นคง
ผู้ฟัง ไม่เปลี่ยนไปจากนี้
ท่านอาจารย์ คือ สิ่งที่กำลังมีในขณะนี้เป็นธรรม
ผู้ฟัง ไม่ใช่สิ่งที่มาศึกษาที่มูลนิธิแล้วเป็นความมั่นคง ต้องมาแนวทางนี้ถึงจะมั่นคงหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่มีจริงขณะนี้ แล้วเข้าใจว่า สิ่งที่มีจริงขณะนี้มีจริงๆ เป็นธรรม ไม่ใช่เรา
ผู้ฟัง สิ่งที่มีจริงๆ ขณะนี้เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เรา สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เคยเข้าใจว่าเป็นอัตตา หรือเป็นเรา แต่เป็นธรรมแต่ละลักษณะที่ปรากฏได้แต่ละทางเท่านั้นจริงๆ แล้วก็ปรากฏเพียงชั่วคราว นี่คือความมั่นคงที่เริ่มเข้าใจถูกต้อง
ผู้ฟัง พอดีผมสงสัยคำว่า “สะสม” พอพูดถึงสะสม ผมนึกถึงสะสมของเก่า สะสมของสวยๆ งามๆ นั่นเป็นการสะสมในเรื่องของสิ่งของ แต่ถ้าสะสมในทางธรรม ที่ว่าสั่งสมนามธรรม จะเหมือนกันหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ จิตเกิดขึ้นทีละ ๑ ขณะ เกิดแล้วดับไปเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิด หรือว่าจิตขณะต่อไปเกิดเอง
ผู้ฟัง เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิด
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จิตขณะต่อไปที่เกิดไม่มีอะไรเลย ว่างเปล่า เป็นแต่เพียงจิตที่เกิดขึ้นเท่านั้น หรือว่ามีทุกอย่างที่จิตขณะก่อนๆ เคยเห็น เคยได้ยิน เคยคิด เคยต้องการ เคยรู้ เคยโลภ เคยโกรธ เคยหลง สะสมในจิตขณะต่อไปด้วย
ผู้ฟัง สะสมต่อมาด้วย
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น นี่ก็คือความหมายของจิตที่สะสม เป็นนามธรรมก็จริง เกิดแล้วดับแล้ว แต่ก็เป็นปัจจัยให้ขณะต่อไปเกิด ซึ่งขณะต่อไปไม่ใช่เกิดขึ้นมาลอยๆ แล้วไม่มีอะไรในจิตนั้นเลย แต่เมื่อจิตนี้เกิดขึ้นเพราะจิตขณะก่อนเป็นปัจจัย ก็จะมีทุกอย่างที่สะสมอยู่ในจิตขณะก่อนๆ สืบต่อกันมาเรื่อยๆ จนถึงวันนี้ เมื่อวานนี้คุณธรชื่ออะไร
ผู้ฟัง ก็ชื่อธร
ท่านอาจารย์ วันนี้ชื่ออะไร
ผู้ฟัง ชื่อนี้
ท่านอาจารย์ พรุ่งนี้ชื่ออะไร
ผู้ฟัง ถ้าไม่เปลี่ยนชื่อ ก็ชื่อเดิม
ท่านอาจารย์ นี่เพียงแค่ชื่อ ใช่ไหม ก็ยังไม่เปลี่ยน เพราะสะสมว่าเราชื่อนี้ใช่ไหม เพราะฉะนั้น จิตขณะต่อไปก็ชื่อนี้แหละ พอจิตขณะต่อไปก็เรานี่แหละ ชื่อนี้แหละ สะสม ไม่ใช่พอขณะต่อไปเกิดก็ไม่มีแล้ว ไม่ใช่ชื่อธรแล้ว นั่นเพียงชื่อ แต่ให้เห็นว่า แม้อย่างนั้นก็สะสมความเป็นเราชื่อนี้
ผู้ฟัง ผมสงสัยต่อ สะสมมากหรือน้อย สะสมมากได้หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ถ้าเกิดน้อย สะสมมากหรือเปล่า
ผู้ฟัง เกิดน้อยสะสมน้อย
ท่านอาจารย์ ถ้าเกิดมาก สะสมน้อยหรือเปล่า
ผู้ฟัง หากโกรธกันเรื่อย ถ้าเราอบรมเมตตา ให้สะสมธรรมฝ่ายเมตตา จะช่วยลดความโกรธได้ไหม
ท่านอาจารย์ หวังอะไร หรือเข้าใจว่า ถ้าธรรมใดเกิดบ่อย ธรรมนั้นก็เป็นปัจจัยที่จะให้ธรรมนั้นเกิดอีกได้บ่อยๆ
ผู้ฟัง ถ้าเราเจริญเมตตาบ่อยๆ ก็เป็นปัจจัยธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับเมตตาไม่เกิด
ท่านอาจารย์ ข้อสำคัญก็คือว่า เราเจริญ ถูกต้องหรือเปล่า
ผู้ฟัง คำว่า “เรา” ผมก็ยังติดใจอยู่
ท่านอาจารย์ หรือจิต เจตสิก รูป
ผู้ฟัง จิต เจตสิก รูป
ท่านอาจารย์ เจตสิกทั้งหมดมีเท่าไร
ผู้ฟัง ๕๒ ดวง
ท่านอาจารย์ เป็นสังขารขันธ์เท่าไร
ผู้ฟัง ๕๐ ดวง
ท่านอาจารย์ สังขารขันธ์เป็นใคร
ผู้ฟัง เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ ไม่เป็นใครเลย สะสมสืบต่อ ทำหน้าที่ปรุงแต่ง เมื่อวานนี้เราก็พูดถึงเรื่องความเนียนของสังขารขันธ์ ไม่มีใครสามารถรู้ได้เลยว่า เมื่อสักครู่นี้มีเจตสิกที่เป็นสังขารขันธ์เท่าไร เกิดแล้วดับแล้ว ก็ทำหน้าที่ของสังขารขันธ์นั้นเอง จะไปทำหน้าที่ของเวทนาขันธ์ได้ไหม ทำหน้าที่ของสัญญาขันธ์ได้ไหม
เพราะฉะนั้น แต่ละคนกำลังคิด ให้คุณแก้วตาเอาปัจจัยของคุณอรวรรณมาเกิดความคิดได้ไหม ไม่ได้ทางเป็นไปได้เลย ไม่ใช่สังขารขันธ์ที่จะปรุงแต่งที่ให้ต่างจากที่เคยเป็น หรือที่เคยสะสมมา
เพราะฉะนั้น ใครกำลังคิดอะไร ก็เพราะสะสมมานานแสนนาน ก็เป็นปัจจัยที่เนียนมาก ไม่ปรากฏการปรุงแต่งให้เห็น แต่ก็ไปทำให้หลงเข้าใจว่า เราจะปรุงแต่ง ไม่มีทางที่เราไหน เพราะไม่มีเรา แล้วจะปรุงแต่งก็ไม่ได้ เพราะว่าเมื่อไม่มีเรา แล้วจะปรุงได้อย่างไร จะแต่งได้อย่างไร แต่สังขารขันธ์ทั้งหมด ไม่ว่าเจตสิกประเภทใดที่เป็นสังขารขันธ์ เกิดแล้วดับแล้ว การปรุงแต่งของเจตสิกที่เป็นสังขารขันธ์ทั้งหมด ไม่มีใครรู้ แต่ทำหน้าที่ตลอดเวลา ขณะใดที่เกิดฟังเข้าใจ แล้วเกิดนึกได้ ใครทำให้นึกได้ ถ้าไม่ใช่สังขารขันธ์นั่นเอง แล้วจะทำเมื่อไร บอกได้ไหม เนียนมากใช่ไหม ไม่รู้เลยว่า ขณะต่อไปจะเป็นอะไร
ผู้ฟัง สังขารขันธ์เป็นธรรมที่เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย การศึกษาธรรมเหมือนมีขั้นตอนในการศึกษา
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ถ้าไม่ฟังจะรู้แจ้งสภาพธรรมได้ไหม
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 481
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 482
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 483
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 484
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 485
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 486
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 487
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 488
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 489
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 490
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 491
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 492
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 493
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 494
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 495
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 496
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 497
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 498
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 499
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 500
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 501
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 502
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 503
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 504
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 505
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 506
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 507
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 508
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 509
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 510
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 511
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 512
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 513
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 514
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 515
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 516
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 517
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 518
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 519
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 520
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 521
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 522
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 523
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 524
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 525
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 526
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 527
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 528
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 529
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 530
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 531
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 532
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 533
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 534
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 535
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 536
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 537
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 538
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 539
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 540