พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 509


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๕๐๙

    ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑


    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จิตก็เป็นธาตุชนิดหนึ่ง เพียงธาตุชนิดหนึ่งซึ่งอาศัยปัจจัยเกิดแล้วดับ แต่แม้กระนั้น จิตนั้นก็เป็นอนันตรูปนิสยปัจจัย เป็นปัจจัยที่เมื่อจิตนั้นดับแล้ว เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้น โดยไม่มีระหว่างคั่นได้ มีกำลังไหม นามธาตุชนิดหนึ่ง สั้นมาก มีปัจจัยปรุงแต่งเกิดแล้วดับ แต่กระนั้นการดับไปนั้น (นาทีที่ ๐๐.๕๐ เกินมา) ของจิตนั้นก็เป็นอนันตรปัจจัย ซึ่งหมายความถึงว่า สภาพธรรมอื่นต้องเกิดสืบต่อ คือ นามธรรม ได้แก่จิต และเจตสิกเกิดสืบต่อ โดยสภาวะที่ความเป็นปัจจัยของจิตที่สามารถจะทำให้จิต และเจตสิกเกิดสืบต่อเมื่อดับไปแล้วนั้น มีกำลังพอที่จะทำให้จิต และเจตสิกเกิดต่อได้ จึงเป็นอนันตรูปนิสยปัจจัย

    ธรรมดาๆ ไม่ยากเลย ถ้ามีความเข้าใจว่า จิตเกิดแล้วดับ แล้วก็เป็นปัจจัยให้จิตต่อไปเกิด การที่จิตดับไปแล้ว สามารถทำให้จิตขณะต่อไปเกิดได้นั้น โดยไม่มีระหว่างคั่น ใช้คำว่า “อนันตร” เพราะฉะนั้นเป็น อนันตรปัจจัย ไม่มีระหว่างคั่นเลย ทันทีที่จิต ๑ ขณะเกิดแล้วดับไป เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดทันที ไม่มีระหว่างคั่น

    การที่สามารถจะทำให้จิตขณะต่อไปเกิดสืบต่อทันที โดยไม่มีระหว่างคั่น เป็น "อุปนิสย" หมายความว่า เป็นธรรมที่มีกำลัง เป็นที่อาศัยของจิตขณะต่อไปที่จะเกิด ด้วยเหตุนี้ความที่มีกำลังที่จิตจะทำให้จิต และเจตสิกขณะต่อไปเกิดนั่นเอง เป็นอุปนิสยปัจจัย จึงชื่อว่า อนันตรูปนิสยปัจจัย

    ไม่ยากใช่ไหม

    ผู้ฟัง พอเข้าใจ

    ท่านอาจารย์ เข้าใจตั้งแต่อนันตรปัจจัย แต่ว่าไม่ได้เรียกชื่อ พูดแต่ว่า จิตขณะหนึ่งเกิดแล้วดับไป ก็เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิด โดยไม่มีระหว่างคั่น ซึ่งภาษาบาลีใช้คำว่า อนันตรปัจจัย แต่แสดงให้เห็นถึงกำลังของจิตที่สามารถจะทำให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้นได้ จึงเป็นอนันตรูปนิสยปัจจัย แสดงกำลังที่มีกำลังที่ทำให้จิตขณะต่อไปเกิดได้ จึงใช้คำว่า "อุป" "อุป" หมายความถึง มีกำลัง เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้ไม่มีใครสงสัย เรื่องอนันตรูปนิสยปัจจัยใช่หรือไม่ รูปที่เกิดแล้วดับ เป็นอนันตรปัจจัยให้รูปเกิดหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่เป็น

    ท่านอาจารย์ เป็นอนันตรูปนิสยปัจจัย ให้รูปเกิดหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่เป็น

    ท่านอาจารย์ รูปที่ดับไปแล้ว เป็นอนันตรปัจจัยให้จิตเกิดหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่เป็น

    ท่านอาจารย์ นี่คือการที่จะเข้าใจธรรมว่า สภาพที่เป็นอนันตรปัจจัย ก็ได้แก่จิต และเจตสิก เปลี่ยนลักษณะของจิตขณะนี้ ไม่ให้เป็นอย่างนี้ได้หรือไม่

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ นี่คือธรรม เป็นเราหรือเปล่า เป็นของเราหรือเปล่า ขณะนี้จิตมากมายในห้องนี้ เกิดขึ้นเพราะเราทำให้เกิดหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่

    ท่านอาจารย์ แล้วเราเป็นเจ้าของจิตหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่

    ท่านอาจารย์ นี่คือต้องน้อมไปสู่ความเห็นถูกต้องว่า เป็นธรรมซึ่งเป็นอนัตตา จนกว่าจะสามารถรู้แจ้งจริงๆ ว่า เป็นธาตุหรือเป็นธรรมแต่ละอย่าง สำหรับอนันตรูปนิสยปัจจัย ไม่มีข้อสงสัยใช่ไหม ทุกคนเข้าใจดี ผ่านได้ ถึง อารัมมณูปนิสยปัจจัย ทุกคนรู้จักอารมณ์ คืออะไร

    ผู้ฟัง สิ่งที่จิตกำลังรู้

    ท่านอาจารย์ จิตเกิดเมื่อไร เป็นธาตุรู้ เพราะฉะนั้น ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ ซึ่งภาษาบาลีใช้คำว่า อารัมมณะ ตั้งแต่คุณธนากรเกิดมามีสักขณะหนึ่งไหมที่ไม่มีจิต

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ มีสักขณะหนึ่งไหม ที่ไม่มีอารมณ์

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ เพราะอะไร

    ผู้ฟัง เพราะว่ามีจิตทุกขณะ

    ท่านอาจารย์ มีจิตทุกขณะ ก็ต้องมีอารมณ์ทุกขณะ แล้วคุณธนากรชอบรับประทานอะไร วันก่อน ก็มีคนพูดถึงขนมจีนน้ำยาปักษ์ใต้ ชิมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ชิม

    ท่านอาจารย์ ชอบไหม

    ผู้ฟัง ชอบ

    ท่านอาจารย์ ไม่เหมือนอย่างอื่น ที่ไม่ชอบใช่หรือไม่ สิ่งที่ชอบ วันนี้อยากทานอีกไหม

    ผู้ฟัง อยาก

    ท่านอาจารย์ นั่นแหละ คือ อารัมมรูปนิสยปัจจัย อารมณ์ที่เคยรู้ สะสมสืบต่อ มีกำลังที่จะทำให้เกิดโลภะ ความต้องการ คือ อารมณ์นั้นเป็นอารัมมรูปนิสยปัจจัย

    ผู้ฟัง ต้องเป็นปัจจัยแก่โลภะใช่หรือไม่

    ท่านอาจารย์ แก่จิต และจิตประเภทไหน

    ผู้ฟัง ต้องเป็นโลภมูลจิต

    ท่านอาจารย์ เราจะรู้จักจิตทั้งหมด รู้ปัจจัยทั้งหมดในวันเดียว หรือว่าเราสามารถที่จะเริ่มเข้าใจ ความเป็นปัจจัยทีละเล็กทีละน้อย โดยเข้าใจจริงๆ พอเข้าใจจริงๆ ก็มีการที่จะเข้าใจต่อไปอีกๆ ได้ เมื่อสภาพธรรมนั้นปรากฏ และมีการฟัง และเข้าใจเพิ่มขึ้น แต่ไม่ใช่หมายความว่า อภิธัมมัตถสังคหะ ทุกปริจเฉท เราจะไปเข้าใจทั้งหมด

    แต่การศึกษาธรรมเพื่อเข้าใจธรรมแน่นอน แล้วจึงจะสามารถรู้ถึงความเป็นปัจจัยที่ละเอียดขึ้น เพื่อที่จะไม่เห็นว่าเป็นเรา คนที่ไม่ชอบน้ำยาปักษ์ใต้มีหรือไม่ มี ทำไม เผ็ด เห็นไหมคนที่ชอบก็มี คนที่ไม่ชอบก็มี เปลี่ยนแปลงได้ไหม ไม่ได้ นี่คือความเป็นธรรม

    เพราะฉะนั้น อารมณ์ที่ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ จะสามารถทำให้โลภะเกิดได้ไหม เพราะฉะนั้น อย่าเพิ่งไปจำชื่อแล้วอยากจะรู้ว่าคืออะไร แต่ชีวิตจริงๆ เป็นธรรมที่ทรงแสดงความละเอียด โดยปัจจัยที่หลากหลายมาก ที่จะให้เห็นว่า แม้จิตซึ่งเป็นนามธาตุเพียง ๑ ขณะเกิด ก็ต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้น จะเป็นของเราก็ไม่ได้เลย ดับแล้ว ดับหมดแล้ว ไม่เหลือแล้ว ไม่กลับมาอีก อารัมมณูปนิสยปัจจัยเท่านี้ พอเข้าใจได้ใช่ไหม ไม่ต้องไปถึงกี่ดวง กี่จิต ทำกิจอะไร แต่ชีวิตประจำวันพอจะรู้ได้ เห็นตั้งแต่เช้ามาจนถึงเดี๋ยวนี้ เมื่อมีจิตเห็น ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกเห็นเป็นอารมณ์ เราสามารถที่จะรู้ได้ด้วยตัวเอง เมื่อเข้าใจว่า ขณะไหนอะไรเป็นอารัมมณปัจจัย และขณะไหนอะไรเป็นอารัมมณูปนิสสยปัจจัย พอเห็นแล้วก็เกิดโลภะ ติดข้องอย่างมากทันที ไม่เหมือนกับเดินมาตั้งแต่หน้าประตูจนถึงที่นี่ ก็ไม่มีอะไรที่สนใจ หรือติดข้องต้องการอย่างมากมายทันที นั่นคือความต่างกันของ อารัมมณปัจจัย กับ อารัมมณูปนิสยปัจจัย

    ผู้ฟัง เห็นสิ่งเดียวกัน บางคนโกรธ บางคนไม่โกรธ ท่านอาจารย์กล่าวถึงอารัมมณูปนิสยปัจจัย กับ การสะสม มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ที่คุณสุกัญญาถาม หมายความถึง ปกตูปนิสยปัจจัย แต่นี่หมายความถึงอารมณ์ซึ่งเคยชอบ เคยพอใจอย่างมาก จนกระทั่งสามารถที่จะทำให้ระลึกถึง คิดถึง และต้องการอารมณ์นั้นอีก

    ผู้ฟัง ที่เป็นอารัมมณูปนิสยปัจจัย เฉพาะที่ชอบ

    ท่านอาจารย์ ณ บัดนี้เราจะศึกษาเรื่องปัจจัยโดยละเอียด โดยยังไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม หรือว่าจะค่อยๆ เข้าใจทีละเล็กทีละน้อย โดยไม่ใช่ว่าจะไปจำแล้วลืม แต่สามารถพอพูดถึงอารมณ์อะไร หรือปัจจัยอะไร เช่นอนันตรูปนิสยปัจจัย ก็พอจะเข้าใจได้ และพอถึงปกตูปนิสยปัจจัย หรืออารัมมณูปนิสยปัจจัย ความต่าง แค่นี้ "อารัมมณปัจจัย" ก็คือ อารมณ์ที่จิตรู้ ผ่านไปๆ ตลอด ทุกก้าว จิตก็เห็นสิ่งต่างๆ แต่ "อารัมมณูปนิสยปัจจัย" ความพอใจยินดีในสิ่งนั้นที่เป็นอารมณ์มากไม่ลืม สะสมความชอบข้ามภพข้ามชาติได้ไหม เพียงแต่เด็กบางคนตัวเล็กๆ อาจจะชอบรสเผ็ดๆ หรือเค็มๆ หรือหวานๆ บางคนไม่รับประทานหวานเลย เค็มตลอด ก็มี มาจากไหน

    เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นการสะสมของธรรม ยากที่ใครจะรู้ ใครจะเข้าใจถึงความละเอียดของแต่ละขณะ ที่แม้มีจิตด้วยกัน จิตเมื่อเกิดแล้วสะสมมา แต่ละคนก็ต่างกัน แต่ก็ยังมีอารมณ์ที่สามารถเป็นปัจจัยที่มีกำลัง ที่ทำให้จิตประเภทนั้นๆ เกิดขึ้นด้วย แค่นี้พอไหม เพราะว่าจะศึกษาเรื่องปัจจัยทั้งหมด หรือว่าเพียงแต่สามารถเข้าใจได้แล้วไม่ลืมทีละเล็กทีละน้อย

    ผู้ฟัง ลักษณะของความโกรธ เดิมที

    ท่านอาจารย์ คุณสุกัญญาพูดถึง เรื่องปกตูปนิสยปัจจัย หรือ อารัมมณูปนิสยปัจจัย จบไปแล้ว ใช่ไหม อารัมมณูปนิสยปัจจัย

    ผู้ฟัง ยังไม่จบ ที่ท่านอาจารย์กล่าวถึง คือ อารัมมณูปนิสยปัจจัย

    ท่านอาจารย์ หมายความถึงอะไร

    ผู้ฟัง หมายความว่า อารมณ์ที่

    ท่านอาจารย์ จิตต้องการ

    ผู้ฟัง เดิมทีลักษณะของความโกรธ ท่านอาจารย์เคยถามเรื่องความโกรธบ่อยมาก แล้วไม่รู้ตัวเลยว่า ชอบที่จะโกรธ หมายถึงว่า เป็นอารมณ์ที่พอใจ และชอบ สมมติว่าเป็นลักษณะของความโกรธ จะชอบโกรธ

    ท่านอาจารย์ ขอโทษ คุณสุกัญญาชอบที่จะโกรธ วันนี้โกรธทั้งวัน ดูว่าจะเดือดร้อนไหม

    ผู้ฟัง เดือดร้อน

    ท่านอาจารย์ ชอบไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้รู้สึกตัวว่าชอบที่จะโกรธ แต่ว่ามีประโยคอยู่ประโยคหนึ่งกับคนหนึ่งๆ เขากล่าวทีไร เราก็โกรธทุกที ก็เหมือนกับว่า ทำไมเราจะต้องโกรธ มันก็เป็นสิ่งที่สะสมมาที่จะต้องโกรธ ท่านอาจารย์กล่าวว่า อารมณ์ที่คิดถึง ระลึกถึง อย่างเรื่องราวที่ผ่านมา พอนึกถึงก็โกรธอีก

    ท่านอาจารย์ เวลาระลึกถึงเรื่องนั้น คุณสุกัญญาตั้งใจระลึกถึง หรือว่ามีปัจจัยที่จะเกิดระลึกถึง

    ผู้ฟัง มีปัจจัยที่จะเกิดระลึกถึง

    ท่านอาจารย์ แล้วมีปัจจัยที่จะโกรธด้วย

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ แล้วชอบโกรธหรือเปล่า

    ผู้ฟัง จริงๆ ไม่ชอบโกรธ แต่ว่าทำไมถึงโกรธ

    ท่านอาจารย์ ฉันทะเจตสิกเกิดกับโทสมูลจิต แต่โลภเจตสิกไม่เกิดกับโทสมูลจิต

    ผู้ฟัง แสดงว่าเป็นสภาพของฉันทะ

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก เพราะฉะนั้น การฟังธรรม ขอให้เข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง ทีละเล็กทีละน้อยๆ จนกระทั่งสามารถที่จะไม่ต้องไปท่อง แต่เข้าใจสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง แล้วระลึกได้ แล้วก็รู้

    ผู้ฟัง ขอความเข้าใจ อารัมมณูปนิสยปัจจัย อีกครั้ง เพราะว่า เมื่อท่านอาจารย์กล่าวถึงอารัมมณูปนิสยปัจจัย แล้วกล่าวถึงความพอใจที่ไม่ลืม ก็เลยมานึกถึงลักษณะของโทสะด้วย

    ท่านอาจารย์ คุณสุกัญญาอยากได้อะไร จะปีใหม่แล้ว เตือนนิดหนึ่งให้รู้ถึงความต้องการ เห็นหรือไม่ ถ้าไม่มีคำว่า ปีใหม่ ปีเก่า เราจะเกิดความต้องการอะไรหรือเปล่า ใช่ไหม ก็เป็นความต้องการในชีวิตประจำวันนั่นเอง แต่เวลาที่จำ มีความต้องการอะไรในปีใหม่หรือเปล่า เห็นไหม แต่จริงๆ ก็เป็นเรื่องของภาษา แต่ถ้าพูดถึงเพียงแต่ว่าคุณสุกัญญาอยากได้อะไร

    ผู้ฟัง นึกไม่ออก

    ท่านอาจารย์ คุณธนากรอยากได้อะไร นึกไม่ออก คุณธนากรอยากได้อะไร วันนี้ทุกคนไม่มีความอยาก

    ผู้ฟัง จริงๆ ก็อยาก อยากเข้าใจอารัมมณูปนิสยปัจจัย ซึ่งก็เป็นไปไม่ได้ เพราะปัญญายังน้อยอยู่ แต่ถ้าถามว่าอยากไหม อยาก

    ท่านอาจารย์ ขณะนั้นมีกำลังที่จะทำให้ติดข้อง อยากได้เกิดขึ้นหรือเปล่า

    ผู้ฟัง มี คืออารัมมณูปนิสยปัจจัย

    ท่านอาจารย์ จะเรียกหรือ ไม่ต้องเรียกเลยต่อไปนี้ ให้เข้าใจว่า ขณะนั้นสิ่งนั้นจริงๆ แล้วเพียงพูด หรือว่ามีกำลังจริงๆ ที่มีกำลังจริงๆ และมีกำลังให้เกิดความอยากเท่านั้น หรือมีกำลังที่จะอบรมให้สามารถเข้าใจได้ นี่ก็เป็นสิ่งที่มีจริงในชีวิตประจำวัน

    ถ้าเข้าใจชีวิตประจำวันก่อน แล้วก็รู้ชื่อของปัจจัยไม่ยาก แต่เวลาที่รู้ชื่อปัจจัยแล้วไปหาว่า ขณะไหนเป็นปัจจัยอะไร แล้วยังสงสัยว่าใช่ไหมด้วย ก็แสดงว่าไม่เข้าใจ เพราะเหตุว่าสงสัย

    ผู้ฟัง อย่างนั้นแสดงว่า สภาพธรรมแต่ละชนิดที่เกิดในชีวิตประจำวันก็คือ แต่ละลักษณะ

    ท่านอาจารย์ ทั้งหมดที่ทรงแสดง ๔๕ พรรษา โดยละเอียด โดยประการทั้งปวง เพื่อให้สามารถเห็นความเป็นอนัตตา ความไม่ใช่ของใครเลยทั้งสิ้น เกิดเพราะเหตุปัจจัยทั้งนั้นเลย ถ้าคุณสุกัญญาอยากได้ปัญญา อยากรับประทานอะไรหรือไม่วันนี้

    ผู้ฟัง ก็มีเหมือนกัน ชอบขนม

    ท่านอาจารย์ ขนมอะไร มีตั้งเยอะ

    ผู้ฟัง ที่หวานๆ กล้วยเชื่อม

    ท่านอาจารย์ กล้วยเชื่อมเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยไหม เป็นอารัมมณูปนิสยปัจจัย สามารถที่จะทำให้เกิดความต้องการได้ ทำไมไม่บอกอย่างอื่น ก็เป็นอารมณ์ทั้งนั้น แต่อารมณ์ที่ทำให้เกิดความต้องการ มีกำลังที่ทำให้ต้องการในสิ่งนั้น โดยสภาวะก็คือ อารัมมณูปนิสยปัจจัย ไม่มีสักขณะเดียวที่จะไม่มีปัจจัยที่ทำให้สภาพธรรมหนึ่งสภาพธรรมใดเกิด แต่ไม่รู้เลย ก็เป็นเราทั้งหมด แต่ความจริง ถ้าเข้าใจก็คือ เพื่อให้ถึงความเป็นธรรม แม้จิตในขณะนี้เป็นจิต พูดเมื่อสักครู่นี้เองเป็นธาตุ เป็นธรรม ไม่ใช่ของใคร

    เพราะฉะนั้น กำลังเรียนเรื่องจิต ซึ่งเกิดแล้วดับ เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิด มีกำลังที่จะทำให้จิตขณะต่อไปเกิดได้

    นี่คือ จิต ไม่ใช่ของใครเลย เป็นจิตทั้งนั้น เพียงแต่คำว่าเป็นจิตทั้งนั้น ขณะนี้ไม่ใช่ของใคร แม้แต่ปัญญา ใช่ไหม ยังมีเราฟัง หรือว่ากำลังเป็นจิตแต่ละประเภท ซึ่งเกิดขึ้นทำกิจการงานเท่านั้นเอง

    ผู้ฟัง ยังสงสัยเรื่องอารัมมณูปนิสยปัจจัย คือว่า อย่างเวลาที่เห็นพระพุทธรูป หรือว่าเห็นเจดีย์ต่างๆ แล้วเกิดปีติโสมนัสทันที หรือมีความเลื่อมใสทันที ผมอยากทราบว่า อารัมมณูปนิสยปัจจัย เป็นปัจจัยแก่กุศลได้หรือไม่

    ท่านอาจารย์ ได้ อารัมมณูปนิสยปัจจัยเป็นอารมณ์ แต่ไม่เป็น อารัมมณาธิปติปัจจัย แก่โลภะที่เห็นทันทีแล้วชอบ ถ้าเห็นแล้วชอบก็เป็นโลภมูลจิต เป็นอารมณ์ได้ แต่ไม่เป็นอารมณ์ของกุศลที่เป็นอารัมมณาธิปติ แต่เป็นอารมณ์ของกุศลจิตได้

    นี่คือการฟังธรรม ก็คือ ทุกๆ ขณะที่มีจริง แล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้นในความเป็นจริง เพื่อที่จะได้ไม่หลงเข้าใจผิด ฟังมาอาจจะนิดๆ หน่อย แต่ถ้าฟังด้วยความไตร่ตรอง เข้าใจจริงๆ เพราะว่าทุกคนจะต้องมีรูปเป็นอารมณ์ เกิดมาในภูมิที่มีรูป มีเสียง มีกลิ่น มีรส มีโผฏฐัพพะ จะพ้นจากการเห็น การได้ยินสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้อย่างไร แล้วก็สะสมอกุศลมามากมาย จะพ้นจากความยินดียินร้ายในสิ่งที่ปรากฏได้อย่างไร ก็เป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าขณะใดก็ตามที่เห็นรูปแล้วเป็นกุศล ได้หรือไม่ ได้ แต่ถ้าชอบรูปนั้นมากๆ ขณะนั้นเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล

    ผู้ฟัง เป็นโลภะ

    ท่านอาจารย์ ยังไม่ต้องไปถึงชื่อได้ไหม ไม่ต้องไปเรียก

    อ.อรรณพ อารัมมณาธิปติปัจจัย ก็คือ เป็นใหญ่ แล้วน่าปรารถนาสำหรับโลภะหรือสำหรับกุศล หรือมหากิริยา กราบเรียนท่านอาจารย์อธิบาย แม้ว่าสภาพธรรม องค์ธรรมของ อารัมมณาธิปติปัจจัย กับ อารัมมณูปนิสยปัจจัย ก็เหมือนกัน ความต่างคืออย่างไร ถ้าจะกล่าวว่า สภาพที่เป็น อารัมมณาธิปติปัจจัย ก็เป็น อารัมมณูปนิสยปัจจัย

    ท่านอาจารย์ อย่างคุณอรรณพชอบอาหารอย่างหนึ่ง อาหารนั้นเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย

    อ.อรรณพ เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยแก่โลภะ

    ท่านอาจารย์ แล้วก็อยากได้รับประทานอาหารนั้นอีก

    อ.อรรณพ สะสมเป็นอารัมมณูปนิสยปัจจัยใหม่ เมื่อสักครู่ที่คุณธนากรกราบเรียนถามท่านอาจารย์ว่า รูปเป็นอารมณ์ของกุศล โดยเป็นอารัมมณปัจจัย นี่แน่นอน รูปจะไม่เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยแก่กุศลจิต แต่รูปนั้นคงไม่เป็นอารัมมณูปนิสยปัจจัยกับกุศลจิตด้วยหรือเปล่า จะต่างกันตรงนี้หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ก็ต้องดูว่าเป็นปัจจัยแก่จิตอะไร

    อ.อรรณพ สมมติรูปเป็นอารัมมณปัจจัยกับกุศลจิต แต่รูปไม่สามารถเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยกับกุศลจิต แต่รูปนั้นสามารถเป็นอารัมมณูปนิสยปัจจัยกับกุศลจิตได้ไหม

    ท่านอาจารย์ ก็ต้องเวลาที่เกิดแล้วจะรู้ เวลานี้เราพูดเรื่องชื่อทั้งนั้นเลย พูดแล้วก็ลืมๆ แต่เวลาเกิดขึ้นจริงๆ ขณะนั้นจึงสามารถที่จะรู้ได้ โดยไม่ต้องไปท่อง หรือไปจำก่อน ว่าได้หรือไม่ได้ แต่เวลาสิ่งนั้นเกิดขึ้นจะรู้ แต่เราจะรู้ก่อน ใช่ไหม เพราะฉะนั้น มีทางไหมที่จะไม่ลืม หรือเข้าใจได้จริงๆ คุณวิชัยมีความเห็นว่าอย่างไร

    อ.วิชัย ถ้าพิจารณาโดยความเป็นอารัมมณาธิปติ ที่ท่านอาจารย์อรรณพกล่าวเมื่อสักครู่นี้ รูปไม่เป็นอารัมมณาธิปติแก่กุศล แต่ว่าเป็นอารัมมณาธิปติแก่โลภะได้ เพราะว่าโดยสภาพของอารมณ์ที่น่ายินดี น่าปรารถนานั้น จึงจะเป็นอารัมมณาธิปติ คือเป็นใหญ่ ที่จะให้จิตไม่ยอมสละ หรือว่าเป็นไปด้วยความเคารพยำเกรงอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ดังนั้นถ้าเป็นรูป เป็นสภาพที่น่ายินดี ถ้าเป็นรูปที่ดี เป็นที่น่ายินดีแก่โลภะ แต่ไม่เป็นอารัมมณาธิปติแก่โทสะด้วย ไม่เป็นอารัมมณาธิปติแก่โมหะด้วย เพราะว่าทั้งโทสะ และโมหะ เช่น โทสะ เป็นสภาพที่ไม่พอใจในอารมณ์นั้น อารมณ์นั้นไม่เป็นอารัมมณาธิปติแก่โทสะ หรือแก่โมหะด้วย

    เพราะฉะนั้น รูปจะเป็นอารัมมณาธิปติเฉพาะแก่โลภมูลจิต และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยเท่านั้น และไม่เป็นอารัมมณาธิปติแก่กุศลจิตด้วย เพราะว่าโดยสภาพของกุศล เป็นสภาพที่ไม่ติด มีอโลภเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ว่ากุศลสามารถที่จะมีกุศลก่อนๆ เป็นอารัมมณาธิปติได้

    เพราะฉะนั้น ในส่วนของอารัมมณณูปธิปติปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่น่าคิด และพิจารณา เพราะว่าโดยสภาพของอารมณ์ การสั่งสมของแต่ละบุคคลมีความพอใจในอารมณ์แตกต่างกัน ถ้าพิจารณาเทียบเคียงกับสภาพของอารมณ์นั้นเป็นอารัมมณาธิปติด้วย และเป็นอารัมมณูปนิสยปัจจัยให้เกิดความพอใจในอารมณ์ได้อีก เท่าที่ความคิดเห็น คิดว่า โดยสภาพของรูปน่าจะเป็นอารัมมณาธิปติ และอารัมมณูแก่เฉพาะโลภะ

    ท่านอาจารย์ เวลาที่คุณธนากรเห็นพระพุทธรูปแล้วเกิดกุศลจิต ใช่ไหม เวลาที่เห็นพระพุทธรูปเกิดอกุศลจิตได้ไหม

    ผู้ฟัง ได้ คือ ยังติดข้อง

    ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นพระพุทธรูปหยก พระพุทธรูปทอง จะเป็นอารัมมณาธิปติ แก่กุศลหรือว่าโลภะ

    ผู้ฟัง โลภะ

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าติดแล้ว ใช่ไหม พิเศษแล้ว หยกแล้ว ทองแล้ว แต่ว่าขณะนั้นไม่ใช่กุศลแน่นอน เพราะฉะนั้น เป็นความละเอียดซึ่งจะต้องรู้เพียงแค่เห็นรูปหนึ่งรูปใด แล้วขณะนั้นรูปนั้นเป็นรูปที่น่ายินดีอย่างยิ่ง


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 170
    14 ม.ค. 2567