พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 510


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๕๑๐

    ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑


    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เป็นความละเอียดซึ่งจะต้องรู้ เพียงแค่เห็นรูปหนึ่งรูปใด แล้วขณะนั้นรูปนั้นเป็นรูปที่น่ายินดีอย่างยิ่ง พอใจมาก ถ้าเป็นผู้ที่มีความเข้าใจถูกต้องก็รู้เลยว่า ขณะนั้นเป็นโลภะ ไม่แอบแฝงเข้าใจหลอกว่า เป็นกุศล ใช่ไหม เพราะบางคนก็อาจจะคิดว่ากราบไหว้ด้วยความเลื่อมใสมาก แต่ความเลื่อมใสมากในอะไร ไม่ใช่ในการที่จะเห็น แต่ต้องเป็นในพระคุณ

    เพราะฉะนั้น ถ้าพิจารณาพระพุทธรูปธรรมดา กับ พระพุทธรูปทองคำหรือหยก แล้วเกิดความเลื่อมใสมากในอันหนึ่งอันใดเป็นพิเศษหรือ แต่ว่าขณะนั้นมีความติดข้องพอใจอย่างยิ่งในหยกหรือในทองคำ และในสิ่งที่เราสมมติว่าเป็นพระพุทธรูป เราเพียงสมมติ แต่ว่าขณะนั้นที่มีความยินดี มีความติดข้องอย่างยิ่ง ขณะนั้นไม่ใช่กุศล เพราะว่าถ้าเป็นกุศลเสมอกันหมดหรือไม่ ในเมื่อการระลึกถึงพระคุณ

    ด้วยเหตุนี้ ก็เป็นความละเอียดที่จะรู้ว่า ขณะใดก็ตามที่มีรูปที่น่าพอใจอย่างยิ่ง ขณะนั้นโลภะหรือกุศล พอรู้ใช่ไหมตอนนี้ ที่บอกว่า พอเห็นพระพุทธรูปแล้วเกิดกุศลจิต เพราะอะไร

    ผู้ฟัง เป็นปัจจัยให้ระลึกถึงพระคุณ

    ท่านอาจารย์ แต่ถ้าไม่ระลึกถึงพระคุณเป็นอะไร

    ผู้ฟัง ก็เป็นโลภะ

    ท่านอาจารย์ เป็นโลภะ เพราะฉะนั้น จากการที่มีโลภะเกิดขึ้นสะสมเป็นปัจจัย ทำให้เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย แต่ว่ากุศลนั้นไม่ได้เกิดเพราะมีรูปเป็นอารมณ์ ในขณะที่มีความพอใจอย่างยิ่ง แต่ในขณะที่ไม่ใช่เป็นความพอใจอย่างยิ่ง อารมณ์ที่ดีก็สามารถเป็นปัจจัยให้กุศลจิตเกิดได้

    เพราะฉะนั้น การที่กุศลจิตเกิดเพราะมีปัจจัยที่จะเกิด ไม่ใช่เพราะอารมณ์นั้นน่ายินดีอย่างยิ่ง ถ้าเป็นรูปธรรมดา และกุศลจิตเกิดได้ ถูกต้องไหม กุศลจิตที่เกิดเพราะรูปธรรมดานั้นแหละ ก็สะสมเป็นปัจจัย เป็นกุศลจิตที่สะสม แต่ไม่ใช่ว่ารูปนั้นจะไปทำให้เกิดกุศลที่ปลาบปลื้มยินดี ที่ต้องการ ที่จะมีความปลาบปลื้มยินดีในรูปนั้นอีก

    ด้วยเหตุนี้ แม้รูปที่เราติดข้อง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ปรากฎทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทุกคนจะรู้เลย พอใจในรสอะไร รสนั้นเองก็เป็นอารัมมณูปนิสสยปัจจัยได้ ไม่ลืม แต่แก่อะไร เข้าใจได้แค่ไหน ก็ค่อยๆ เข้าใจไปทีละเล็กทีละน้อย แต่ต้องเป็นความเข้าใจที่ชัดเจนในความต่างกันของอารัมมณปัจจัย อารัมมณาธิปติปัจจัย อารัมมณูปนิสสยปัจจัย

    วันนี้อาจจะยังไม่พอที่จะเข้าใจได้ทั้งหมด แต่เข้าใจเพียงอารัมมณปัจจัย และอารมณ์ที่ดี ที่ทำให้เราผูกพันติดข้องก็เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย แล้วความติดข้องนั้นมีมากจนกระทั่ง ทำให้อยากได้รูปนั้นอีก ก็เป็นอารัมมณูปนิสสยปัจจัย อารมณ์นั่นแหละเป็นที่อาศัยที่มีกำลังให้จิตประเภทนั้นเกิดเพราะเคยเกิดในรูปใด

    ผู้ฟัง เรื่องเกี่ยวกับอารัมมณูปนิสสยปัจจัย เป็นการสะสมอย่างหนึ่ง และปกตูปนิสสยปัจจัยก็เป็นการสะสมเหมือนกัน ไม่ทราบว่าแตกต่างกันอย่างไร สะสมเหมือนกันทั้งคู่

    ท่านอาจารย์ คุณธร อยากรับประทานอะไรวันนี้ คำถามเมื่อสักครู่นี้เอง

    ผู้ฟัง รับประทานข้าว

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ก๋วยเตี๋ยวงั้นหรือ หรืออย่างไร ก็แสดงถึงการสะสมที่ต้องการข้าว ไม่ใช่ก๋วยเตี๋ยว เพราะฉะนั้น ข้าวเป็นอารัมมณูปนิสสยปัจจัย ทำให้วันนี้ต้องการ พอใจในสิ่งนั้นเกิดขึ้น อยากรับประทานแน่ๆ เลย ไม่ใช่อะไรก็ได้

    ผู้ฟัง อารมณ์ที่ต้องการข้าวมากกว่าก๋วยเตี๋ยว มีกำลังมากกว่า

    ท่านอาจารย์ นั่นก็คืออารัมมณูปนิสสยปัจจัย พอถึงเที่ยงทุกวันก็ก๋วยเตี๋ยวๆ ๆ มีคนหนึ่งพอถึงกลางวันก็ข้าวๆ ๆ ไม่รับประทานก๋วยเตี๋ยวเลย แม้แต่เส้นทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว หรือเส้นของชาติอื่นก็ตามแต่ ไม่รับประทานเลย แต่ชอบรับประทานข้าว และรับประทานข้าวทุกครั้ง ไม่แตะต้องก๋วยเตี๋ยวเลย นั่นก็คืออารัมมณูปนิสสยปัจจัย

    อ.วิชัย เข้าใจอย่างนี้ได้ไหม ถ้าโดยความที่เป็นอารมณ์ เช่น รูปเป็นอารัมมณาธิปติด้วย คือ อารมณ์ที่เป็นใหญ่ และขณะนั้นก็เป็นอารัมมณูปนิสสยปัจจัย โดยที่เป็นปัจจัยที่จะให้เกิดความพอใจในอารมณ์นั้น ทั้งที่เป็นอธิบดี และอารัมมณูปนิสสยปัจจัยด้วย

    ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้ว อุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยที่เคยเกิดแล้ว เพราะฉะนั้น ก็สะสมมีกำลังที่จะทำให้มีความต้องการอารมณ์นั้นอีก แต่อารัมมณาธิปติปัจจัย เมื่อไรก็ได้ที่มีอารมณ์ที่น่าพอใจแล้วต้องการ ขณะนั้นก็เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย

    อ.วิชัย ลักษณะที่เกิดความพอใจ แต่การสะสมก็ต้องมีต่อไปด้วย

    ผู้ฟัง ต่างอะไรกับปกตูปนิสยปัจจัย ก็สะสมเหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ ไม่กล่าวถึงอารมณ์ แต่กล่าวถึงการสะสมของโลภะ โทสะ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านมาแล้ว ถ้าเป็นความละเอียด จะเห็นได้ว่า แม้เพียงผัสสะขณะนี้เกิดแล้วดับไป เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัย หรือ อนันตรปัจจัยให้ขณะต่อไปเกิดขึ้น แต่เป็นปกตูปนิสยปัจจัยของจิตที่เกิดหลังจากนั้น แม้เพียงในจิต ๓ ขณะ ปัญจทวาราวัชชนะ ก็มีผัสสเจตสิกเกิดร่วมด้วย เป็นปัจจัย เป็นผัสสาหาร เป็นอะไรก็แล้วแต่

    ไม่ต้องจำเป็นต้องกล่าวถึงชื่อ แล้วเวลาที่ปัญจทวาราวัชชนจิตดับไปแล้ว จิตที่เกิดต่อจะเป็นจักขุวิญญาณหรืออะไรก็ตาม ก็เป็นปัจจยุปบันของผัสสเจตสิกที่ดับไปในขณะก่อน โดยอนันตรูปนิสสยปัจจัย แต่พอถึงจักขุวิญญาณดับไปแล้ว สัมปฏิจฉันนะจิตเกิดต่อ ผัสสะที่เกิดกับปัญจทวาราวัชชนจิตไม่ใช่อนันตรูปนิสสยปัจจัยแก่สัมปฏิจฉันนะ แต่เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยของสัมปฏิจฉันนะ

    ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก แล้วเราคิดว่า เรามีปัญญาที่จะเข้าใจทั้งหมดเลยโดยละเอียด หรือว่าเพียงพอที่จะเห็นว่าเป็นธรรมที่ไม่ใช่เรา และเริ่มค่อยๆ เข้าใจจริงๆ ทีละเล็กทีละน้อย เข้าใจจริงๆ คือ ไม่ลืม เพราะว่าสภาพธรรมนั้นปรากฏ ทำให้ระลึกได้ และเข้าใจได้ว่า สภาพธรรมนั้นเกิดได้อย่างไร เพราะปัจจัยอะไร นี่เป็นพื้นฐานพระอภิธรรมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ขอถามอีกประเด็นหนึ่ง อาจารย์บอกว่า เข้าใจสภาพธรรมไม่ใช่ตัวเรา แล้วถ้าไม่มีตัวตน ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้จะเกิดได้อย่างไร ถ้าไม่มีตัวตนก็ไม่มีอารัมมณาธิปติปัจจัย

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีตัวตน หมายความว่าอย่างไร

    ผู้ฟัง เข้าใจว่าเป็นสภาพธรรม

    ท่านอาจารย์ สภาพธรรมเกิดเพราะเหตุปัจจัย

    ผู้ฟัง สภาพธรรมเกิดเพราะเหตุปัจจัย แล้วจะมีความพอใจอย่างยิ่ง อย่างนี้ได้หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ เคยมีหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เคยมี เพราะเป็นตัวตน

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เลย เป็นจิต เป็นเจตสิก รูป เป็นธรรม ตัวตนนั้นเป็นความเห็นผิด จิตเป็นเราหรือเปล่า

    ผู้ฟัง จิตเป็นเรา

    ท่านอาจารย์ ก็ผิดตั้งแต่ต้น ต้องแก้ความเห็นผิดให้หมด แม้ในขั้นการฟัง

    ผู้ฟัง ทุกอย่างเป็นสภาพธรรมหมดหรือไม่

    ท่านอาจารย์ ถูกไหม

    ผู้ฟัง ถูก

    ท่านอาจารย์ ไม่เปลี่ยน

    ผู้ฟัง ไม่เปลี่ยน

    ผู้ฟัง ขอความเข้าใจอีกสักเล็กน้อย ในเรื่องระหว่างอารัมมณปัจจัย และอารัมมณาธิปติปัจจัย และอารัมมณูปนิสสยปัจจัย ต้องการจะยกตัวอย่างให้ท่านอาจารย์พิจารณาว่า อย่างนี้เข้าใจถูกไหม

    ท่านอาจารย์ ไม่ ให้ดิฉันพิจารณาตัดสินหรือว่าธรรมเป็นอย่างนี้ ตามที่ได้เข้าใจ แม้ใครจะกล่าวว่าอย่างไร ธรรมก็ต้องเป็นอย่างนั้น เปลี่ยนแปลงไม่ได้

    ผู้ฟัง ถ้าไม่ยกตัวอย่าง

    ท่านอาจารย์ ยกตัวอย่างได้ แต่คุณสุกัญญาต้องเป็นคนพิจารณา เข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นจริงอย่างนั้นหรือเปล่า

    ผู้ฟัง พิจารณาว่า เมื่อเห็นเพชร ก็ชอบ พอชอบ เพชร ก็เป็นอารัมมณปัจจัยของการเห็น

    ท่านอาจารย์ ใครเห็นแล้วไม่ชอบบ้าง ไม่ใช่เฉพาะคุณสุกัญญา ใครเห็นแล้วไม่ชอบบ้าง ถ้าไม่คิดว่าเป็นเพชร ชอบหรือไม่ชอบสิ่งที่ปรากฏให้เห็น

    ผู้ฟัง ชอบสิ่งหนึ่งที่ปรากฏทางตา

    ท่านอาจารย์ ธรรมเป็นเรื่องจริง และไม่ใช่เป็นใครที่จะต้องไปบังคับให้เป็นอย่างนั้น หรือไปโน้มเอียงให้เป็นอย่างนี้ แต่ว่าขณะจิตที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอะไร ก็ไม่มีใครสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ พอใช้คำว่า เพชร ทุกคนก็คิดถึงสิ่งหนึ่งที่ปรากฏทางตา ลักษณะสีสันที่น่าพอใจ กับสุนัขเน่า ก็ชัดเจนว่า พอใจหรือไม่พอใจในอะไร จะไม่เรียกก็ได้ แต่ลักษณะนั้นเป็นอย่างนั้น

    เพราะฉะนั้น ถ้าถามถึงสภาพของจิต ซึ่งมีปัจจัยเกิด และเห็นสิ่งนั้น จะพอใจชอบสิ่งนั้นหรือไม่ชอบ ไม่ได้เป็นใคร สามี ลูกชายก็ไม่มี แต่ว่าจิตขณะนั้นจะชอบหรือไม่ชอบ ใช้คำว่า เห็นสิ่งที่น่าพอใจ ชอบ ทุกคนชอบหมด ทุกคนอยากได้หมดหรือเปล่า เห็นไหม แต่ใครก็ตามที่เห็นแล้วอยากได้ ไม่ลืม จำ ไปซื้อ หรือจะอย่างไรก็ตามแต่ แต่ไม่ลืม ผูกพันคิดถึงบ่อยๆ ขณะนั้นเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย แต่ถ้าเห็นแล้วก็ผ่านไป ไม่สนใจ ในร้านเพชรมีเพชรตั้งหลายชิ้น พอใจไปหมดทุกชิ้น อยากได้ไปหมดทุกชิ้นหรือเปล่า

    ก็เป็นความละเอียดอีกใช่ไหม ธรรมเป็นเรื่องจริงๆ แต่ว่าเมื่อเป็นธรรมที่ไม่มีใครรู้ว่า เป็นธรรม พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงธรรมโดยละเอียดยิ่ง เป็นชีวิตจริงๆ ทุกชาติ ให้รู้ว่า ธรรมเป็นอย่างนี้ มีความไม่เที่ยงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แล้วก็ดับไปเท่านั้นเอง ได้เพชรมาแล้วตาย เป็นอย่างไร ก็ผูกพันความพอใจในเพชรหรือในสิ่งที่พอใจนั้นเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย (นาทีที่ ๑๒.๐๒ ไม่ได้กล่าาวคำว่าปัจจัย) ซึ่งเป็นที่พอใจอย่างยิ่ง เป็นอุปนิสสยะ เพราะฉะนั้น บางคน อย่างสามีคุณอุไรวรรณกับลูกชายไม่มีอุปนิสสยะนี้ แต่คนที่มีก็มี

    ผู้ฟัง อารัมมณาธิปติปัจจัย หมายถึง อยากได้มาก แล้วก็คิดถึง

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ หมายความถึง อารมณ์ที่น่าพอใจอย่างยิ่ง เพราะว่าอารมณ์ จิตเกิดเมื่อไรก็ต้องมีอารมณ์ อย่างเดินมาไม่โกรธ แล้วเป็นอะไร

    ผู้ฟัง เป็นอารัมมณปัจจัย

    ท่านอาจารย์ อารัมมณปัจจัยนั้นมีแน่ เมื่อมีจิตแล้วก็ต้องมีอารมณ์ อารมณ์ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้จิตเกิดขึ้น ถ้าไม่มีอารมณ์ จิตเกิดไม่ได้เลย เพราะเหตุว่า จิตเป็นสภาพที่รู้อารมณ์ แล้วเวลาเดินมามีอารมณ์ทั้งนั้น แต่จะรู้ได้ไหมว่า เมื่อไรเป็นอารัมมณาธิปติ ไม่ใช่อารมณ์ธรรมดา แต่เป็นอารมณ์ที่พอใจอย่างยิ่ง แม้ว่ามีความพอใจอย่างยิ่งเกิดในสิ่งนั้นแล้ว ก็สะสมสืบต่อเป็นอารัมมณูปนิสสยปัจจัย ทำให้เรามีฉันทะ ความพอใจในแต่ละสิ่งต่างกัน แม้แต่สี บางคนก็ชอบสีแดง บางคนก็ชอบสีเหลือง บางคนก็ไม่ชอบสีน้ำเงิน เป็นต้น เพราะอะไร เพราะเคยไม่ชอบ แล้วก็สะสมมา หรือเพราะเคยชอบ

    ผู้ฟัง คำว่า ปกตูปนิสสยปัจจัย ตามที่ผมเข้าใจก็อย่างเช่นในพระสูตรอธิบายว่า พระเถระรูปนี้เคยสะสมอุปนิสัยไว้แล้ว หรือที่ใช้ถ้อยคำว่า เคยสะสมมา นี้คือ ปกตูปนิสยปัจจัย ใช่ไหม

    อ.วิชัย คิดว่าอย่างไร พระเถระแต่ละท่านมีอัธยาศัยแตกต่างกันเพราะอะไร

    ผู้ฟัง เพราะว่าสะสมอุปนิสัยมาต่างกัน

    อ.วิชัย เพราะจริงๆ แล้ว เป็นการกล่าวถึงสภาพธรรมทั้งหมดเลย แต่จะกล่าวเป็นบุคคลนั้นบุคคลนี้เพื่อให้เข้าใจว่า หมายถึงอะไร แต่จริงๆ แล้ว สภาพธรรมเกิดดับ ความเป็นปัจจัยเกื้อกูล เมื่อดับไปแล้วก็จริง แต่ความเป็นปัจจัยของธรรมนั้นมีอยู่ที่จะให้ธรรมที่เป็นนามธรรมเกิดขึ้นในภายหลังได้ โดยปกตูปนิสสยปัจจัย

    เพราะเหตุว่า ถ้าไม่มีธรรมก่อนหน้านั้น ธรรมที่จะเกิดในภายหลังก็มีไม่ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นความกว้างขวางของปกตูปนิสสยปัจจัย เช่นอาจจะพิจารณาถึงความพอใจบ้าง โลภะ โทสะต่างๆ บ้าง ก็เป็นการชี้ให้เห็นว่า บุคคลนั้น ไม่ใช่ว่า อาจจะเพียงแค่ขุ่นใจ อยู่ๆ ก็เกิดขึ้นมาเลย แต่ว่าเคยสะสมมาแล้ว เคยเกิดมาแล้ว ที่จะเป็นอุปนิสัยในภายหลังได้

    ผู้ฟัง แม้กระทั่ง การเป็นพระอรหันต์อย่างในพระสูตรใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ก็ต้องพิจารณา เพราะว่าทั้งกุศล ทั้งอกุศล สภาพธรรมต่างๆ ก็เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้แก่นามธรรมที่เกิดในภายหลังได้ ดังนั้น การสั่งสมกุศลที่จะให้บรรลุถึงความเป็นพระอรหันต์ ก็ต้องสั่งสมกุศลมาแล้วใช่ไหม และไม่ใช่อย่างน้อยๆ ด้วย ต้องอย่างมากด้วย เพราะฉะนั้น อกุศลก่อนที่จะบรรลุก็ยังมี สั่งสมทั้งกุศล และอกุศล แต่สั่งสมกุศลพอที่จะให้ถึงการบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้

    ผู้ฟัง จากการสนทนาเรื่องอารัมมณูปนิสสยปัจจัยกับอารัมมณาธิปติปัจจัย

    ท่านอาจารย์ อารัมมณ กับ ปกตูปนิสย ก็เป็นอารัมมณูปนิสสยปัจจัย ฟังไปๆ แล้วก็ลืม แต่ถ้าเข้าใจจริงๆ ตามลำดับทีละเล็กทีละน้อยที่จะเข้าใจได้ จะไม่ลืม และจะเข้าใจชัดเจนด้วย และในขณะที่กำลังเข้าใจไม่มีชื่อ

    ผู้ฟัง คำถาม คือ ผู้ศึกษาจะไม่ทราบว่า แล้วต้องศึกษาปริยัติละเอียดขนาดเท่าไรถึงจะรู้ลักษณะของสภาพธรรม เพราะมีความรู้สึกยุ่งๆ

    ท่านอาจารย์ เริ่มหวัง เริ่มจ้อง ฟังเท่าไร แค่ไหน แล้วก็จะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่รู้เลยว่า ขณะที่ฟัง สังขารขันธ์จะน้อมไปที่จะประพฤติปฏิบัติตามหรือเปล่าในระดับไหน มุ่งแต่เพียงว่าฟังแค่ไหน แล้วสามารถไปปฏิบัติ หรือว่าไปรู้แจ้งสภาพธรรมได้ ผิดหรือถูก เพราะเหตุว่า เป็นเราเตรียม เท่านี้พอ แค่นั้นก็สามารถรู้แจ้งสภาพธรรมได้ แต่ความจริงไม่เคยคิดเลย ถึงสภาพของจิตในขณะนี้ อวิชชาแค่ไหน แค่อวิชชา รู้ไหม ว่าไม่รู้ทั้งหมดตั้งแต่เกิดจนตาย ได้ยินแต่ชื่อธรรม ได้ยินชื่อจิต ได้ยินชื่อเจตสิก ได้ยินชื่อรูป แล้วขณะนี้อะไร เป็นจิตหรือเปล่า เป็นเจตสิกหรือเปล่า เป็นรูปหรือเปล่า ก็ไม่รู้ เพราะเหตุว่าได้ยินแต่ชื่อ

    เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า เพียงจิต พูดเรื่องจิตอย่างเดียว ก็จะเห็นถึงความไม่รู้ที่ไม่รู้สิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้แน่นอน ว่า เป็นนามธรรมหรือรูปธรรมได้ยินว่า มีรูปกำลังปรากฏ แต่ลักษณะที่เป็นรูปจริงๆ ที่ไม่ใช่ตัวตน ที่ไม่ใช่ใครเลยสักอย่างเดียว มีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วดับ ยังไม่ได้รู้เลย

    เพราะฉะนั้น อวิชชามากสักแค่ไหน แล้วเมื่ออวิชชามาก โลภะ ความติดข้องมากสักแค่ไหน โทสะมากสักแค่ไหน มานะมากสักแค่ไหน ริษยามากสักแค่ไหน อีกหลายอย่างมากมายที่เป็นอกุศล จนกระทั่งที่เคยพูดย้ำแล้วย้ำอีกว่า จิตเป็นจิตขณะนี้ เพราะไม่รู้จึงดำมืด ไม่สะอาด เน่า เชื้อโรคเต็ม แล้วก็เมื่อไร เรียนเท่าไร เข้าใจเท่าไหร่ แล้วจะรู้แจ้งอริยสัจธรรม คิดดูว่า ขณะนั้นแม้เพียงน้อมไป ที่จะเข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง เพื่อที่จะละความไม่รู้ ก็ไม่มี มีแต่ว่า แล้วแค่ไหนจึงจะสามารถรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ เห็นโลภะไหม เพิ่มเข้าไปอีกแล้ว

    เมื่อวันก่อนเราพูดถึงความเพียร ทุกคนเพียร คนขี้เกียจเพียรหรือไม่ บอกว่าเขาขี้เกียจ แต่จริงๆ วิริยเจตสิกไม่เว้นที่จะเกิดในขณะนั้นเลย เพราะแม้แต่จิตจะเกิดขึ้น เว้นจิต ๑๖ ดวง ซึ่งไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ไม่มีวิริยเจตสิกเกิด ไม่มีใครไปจัดแจง ไปห้าม ไปบังคับว่า อย่าเกิด แต่ว่าเป็นปัจจัยหรือไม่เป็นปัจจัยแก่จิตประเภทไหน เพราะฉะนั้น แม้แต่เพียงกำลังฟังแล้วง่วง มีวิริยะไหม พ้นจากจิต ๑๖ ดวง ต้องมีวิริยะเกิดขึ้น ที่จะทำให้จิตขณะนั้นเป็นอย่างนั้น

    ก็แสดงถึงสภาพธรรมแต่ละอย่างที่ละเอียดมาก แล้วจิตในสังสารวัฏซึ่งเพียรผิด เพียรต้องการลาภ ยศ สรรเสริญ สุข รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ในวันหนึ่งๆ เพียรแต่จะได้สิ่งที่ชอบทางตา เสื้อผ้าสวยๆ อะไรต่างๆ เหล่านี้เป็นต้น เพชรนิลจินดา อย่างที่ว่า เสียง กลิ่น รส ทั้งวัน เพียรไปในเรื่องของสังสารวัฏทั้งนั้น เพียรที่จะเพิ่มความมืด ความไม่สะอาด ความน่ารังเกียจของจิต ไม่ใช่ของใคร จิตเท่านั้นเวลานี้ จิตทั้งหมด กำลังเป็นอย่างนั้น

    เพราะฉะนั้น เพียรที่แล้วมา เพียรที่จะสะสมอกุศล ไม่มีทางที่จะทำให้แล้วเมื่อไรจะรู้แจ้งอริยสัจธรรม แต่ขณะใดก็ตามฟังธรรม เพื่อเข้าใจธรรม เป็นการน้อมไปเพื่อประพฤติปฏิบัติตาม ซึ่งเราบังคับใครก็ไม่ได้ หรือบังคับตัวเราเองก็ไม่ได้ ถ้าเป็นคนที่มักโกรธ บอกว่าอย่าโกรธ ไม่มีทางเป็นไปได้ ชอบไปหมดเลย ไปที่ตลาดนัด แต่ก่อนเป็นสนามหลวง เดี๋ยวนี้ที่ไหนๆ ก็มี อยากได้ไปหมดทุกอย่างเลย อร่อยไปหมด

    ก็แสดงให้เห็นว่า สะสมมาที่จะเพิ่มแต่สิ่งที่เน่า ไม่สะอาด สกปรกในจิตไปเรื่อยๆ ทุกวาระที่เห็น ทุกวาระที่ได้ยิน ในชีวิตประจำวัน

    เพราะฉะนั้น คำถามที่ว่า แล้วเมื่อไรจะรู้แจ้งอริยสัจธรรม ก็คงจะเริ่มคิดได้ว่า แม้แต่เพียรมาแล้วในสังสารวัฏ กับเพียรที่จะประพฤติปฏิบัติตามทุกประการ อย่างที่บอกว่า ละชั่ว เราเพียรแล้วใช่ไหม ถ้าฟังเผินๆ ถ้าไม่เพียรแล้วจะละได้อย่างไร คิดว่าอย่างนั้น แต่พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่าใครเลย เพียร วิริยะ สภาพธรรมที่วิริยะ ที่ไม่ท้อถอยในการเข้าใจสิ่งที่มีจริง เป็นจริงในขณะนี้

    เพราะฉะนั้น สัมมัปปธาน เป็นชื่อของวิริยะ แต่ต่างกับวิริยะในขณะที่เกิดกับอกุศล ในขณะที่ไม่เข้าใจธรรม เพราะว่าเป็นความเพียรประเสริฐ ต่างกับความเพียรที่แล้วๆ มาในสังสารวัฏ ที่เพียรที่จะได้ ไม่ใช่ละ เพราะความไม่รู้ แต่ถ้ามีความเพียรที่ประเสริฐ คือ รู้ว่าเพียรเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เคยเข้าใจมาก่อน และในขณะนั้นก็น้อมที่จะประพฤติปฏิบัติตาม เพราะที่สำคัญที่สุดไม่ใช่เพียงการเข้าใจธรรมเพียงชื่อ ที่สำคัญที่สุดคือประพฤติปฏิบัติตามธรรม ถ้ายังไม่คิดที่จะประพฤติปฏิบัติตามเลย ไม่ใช่ความเพียรที่ประเสริฐ ก็ยังคงสะสมอกุศลมากมาย จนกว่าจะถึงกาลที่เมื่อไรเห็นจริงว่า จิตไม่มีใครสามารถทำให้สะอาดได้เลย เพิ่มความสกปรก ความเน่าเหม็นมากขึ้น ปัญญาอย่างเดียวที่เข้าใจถูกเท่านั้นที่สามารถที่จะชำระขัดเกลา จนกระทั่งไม่มีกิเลสใดๆ เหลืออีกเลย ไม่มีความมืดที่ปิดบังความไม่รู้ ไม่มีความสกปรกที่ไม่สะอาดเหลืออยู่แม้สักนิดเดียว ถึงความเป็นพระอรหันต์ได้ แล้วเพียรหรือยัง หรือว่าเมื่อไรจะรู้แจ้งอริยสัจธรรม

    อ.คำปั่น ก็ขอสนทนาเรื่องการฟังธรรม การฟังธรรมเป็นเครื่องลับปัญญา เพราะเหตุว่าเราได้สั่งสมความไม่รู้ สั่งสมอวิชชามาเป็นอย่างมากในสังสารวัฏที่ผ่านมา


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 170
    14 ม.ค. 2567