พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 482


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๔๘๒

    ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑


    ท่านอาจารย์ สมุทัย คือขณะที่กำลังติดข้อง กั้นเพื่อไม่ให้รู้ความจริงว่า สิ่งนั้นเกิดแล้วดับแล้ว เพราะความติดข้องที่ติดข้องในสิ่งที่ปรากฏ โดยไม่รู้ว่า สิ่งนั้นเกิดแล้วดับแล้ว และเป็นทุกข์ เพราะฉะนั้น สมุทัยไม่ใช่ต้องไปหาที่ไหน สติสัมปชัญญะความเข้าใจมีเมื่อใดก็จะเห็นทั้งทุกข์ และสมุทัยเมื่อนั้น แต่ถ้าตราบใดยังไม่เห็นว่า นี้ทุกข์ จะไปเห็นสมุทัยได้หรือไม่ เพราะแม้ความติดข้องในสิ่งที่เป็นทุกข์ซึ่งเกิดแล้วมีแล้ว ก็ไม่รู้ว่าเป็นสมุทัย ที่ทำให้ไม่เห็นการเกิดดับของสิ่งที่เกิดแล้วดับแล้ว เพราะฉะนั้น ธรรมไม่ใช่สิ่งที่เพียงฟังชื่อ และเรื่องราว แต่การที่สามารถรู้ความจริง ลักษณะจริงๆ จะทำให้เข้าใจอรรถที่ทรงแสดงไว้ในพระไตรปิฎก ไม่ใช่ขณะอื่น การที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม ถ้าปัญญาอบรมมาแล้ว ไม่ต้องคอย เพราะถึงกาลที่ทรงอุปมาว่า เหมือนกระทะร้อนด้วยปัญญา พร้อมที่จะเผาหรือทำลายหยดน้ำที่หยดลงบนกระทะให้เหือดแห้งไปได้ เพราะฉะนั้น ในขณะนี้เหมือนกับว่า เราไม่ได้เข้าใจอะไรมากมาย แต่การค่อยๆ เข้าใจขึ้นทีละเล็กทีละน้อย เป็นการละความหวังว่า แล้วเมื่อไร เราจะรู้ความจริงของสภาพธรรม ตราบใดที่ยังไม่ใช่ “นี้ทุกข์” จะไม่เห็น “นี้สมุทัย” แล้วจะไม่รู้ด้วยว่า เมื่อใดที่มีปัญญา เมื่อนั้นก็จะไม่มีความติดข้องในสิ่งที่ปรากฏ แล้วสภาพธรรมจึงจะปรากฏได้ตามความเป็นจริง คือ การเกิดขึ้นแล้วดับไป แต่ขณะนี้สภาพธรรมเกิดดับสืบต่อ แล้วยังมีโลภะ คือ สมุทัยตามทุกทางที่กั้นไม่ให้เห็นการเกิดขึ้นแล้วดับไป ด้วยเหตุนี้ที่ทรงแสดงว่า สมุทัยเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ก็เพราะเหตุว่าตราบใดที่ยังมีสมุทัยเป็นเหตุ มีความต้องการ ขณะนั้นก็ยังคงมีธรรมซึ่งเกิดขึ้นเพราะมีความต้องการที่จะให้เกิดขึ้นเป็นไป

    ที่เกิดมานี้ ต้องการเกิดหรือเปล่า พระอรหันต์หมดโลภะในภพชาติจึงไม่เกิด ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ต้องยังคงมีความต้องการในภพชาติ ในความเป็น แล้วแต่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามแต่ ยังไม่ใช่ “นี้ทุกข์” เมื่อไร ก็คือยังไม่สามารถที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรมว่า เป็นธรรมที่เกิดแล้วดับ จึงมีสมุทัยตามมาอย่างรวดเร็ว แล้วก็ไม่เห็นด้วยว่า เป็นสมุทัย เพราะฉะนั้นการเข้าใจธรรม ไม่ใช่ขณะอื่น ฟังขณะนี้ เป็นธรรมทั้งหมด แต่ยังไม่ถึงการที่สามารถเห็นตามความเป็นจริง จนกว่าจะสะสมพร้อมที่จะ นี้ทุกข์ เมื่อไร ไม่ใช่เพียง นี้ทุกข์ โดยไม่มีทุกข์ และไม่มีนี้ แต่เดี๋ยวนี้มี เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้ คือ นี้ ต้องชัดเจนว่า “นี้” อะไร นี้เห็น หรือนี้ได้ยิน หรือ นี้คิดนึก หรือนี้แข็ง หรือนี้หวาน หรือนี้ปวด หรือนี้เป็นทุกข์ ไม่ชอบใจ ก็แล้วแต่ แต่ทั้งหมดคือสภาพธรรมที่เกิดแล้วปรากฏ

    อ.กุลวิไล ส่วนใหญ่เราก็จะยึดถือสิ่งที่ปรากฏว่าเป็นเรา โดยยังไม่รู้จัก นี้ทุกข์ ตามความเป็นจริง

    อ.ประเชิญ บางท่านอาจจะติดในคำที่เคยฟังมาก่อน เช่น ใน ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ก็มีกล่าวถึงอริยสัจ ๔ แล้วก็กล่าวถึงทุกข์ ซึ่งในที่นั้น ท่านใช้ศัพท์ว่า เกิดเป็นทุกข์ แก่เป็นทุกข์ ความเจ็บป่วยเป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ การพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ การพบปะกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ และรวมไปถึงกล่าวโดยย่อ ท่านใช้คำว่า ปัญจุปาทานักขันธาทุกขา สรุปโดยย่อคือ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ซึ่งถ้าไปฟังอย่างนี้ บางท่านมาฟังการสนทนาที่นี่ ก็จะไม่ตรงกัน แต่จริงๆ แล้วคือสิ่งเดียวกัน เมื่อกล่าวถึงขันธ์ ๕ ทั้งรูปขันธ์ ทั้งเวทนาขันธ์ ทั้งสัญญาขันธ์ ทั้งสังขารขันธ์ ทั้งวิญญาณขันธ์เกิดทุกขณะเลย แม้ขณะนี้เห็น มีขันธ์ ๕ เกิดขึ้น และขันธ์ ๕ นี้เป็นอารมณ์ของการยึดมั่นถือมั่น นั่นคือปัญจุปาทานักขันธา คือ ขันธ์ ๕ ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน บางนัยที่ท่านอธิบายทุกข์โดยทุกขทุกข์ วิปริณามทุกข์ สังขารทุกข์ ก็ทุกข์ขณะนี้เหมือนกัน ทุกขทุกข์ ท่านอธิบายว่าเป็นทุกข์กาย ทุกข์ใจ นั่งขณะนี้ไม่สบาย ก็เป็นทุกข์กาย หรือไม่สบายใจที่คิดถึงเรื่องที่ทำให้ไม่สบายใจ นั่นก็เป็นทุกข์ นี่คือทุกขทุกข์ สุขทางใจ สุขทางกายเป็นวิปริณามทุกข์ ความแปรปรวนของสุขกาย สุขใจ เป็นวิปริณามทุกข์ และอุเบกขาเวทนาเป็นสังขารทุกข์ รวมถึงธรรมอื่นๆ ที่นอกจากที่กล่าวแล้วเป็นสังขารทุกข์

    เพราะฉะนั้น คำว่า “ทุกข์” ไม่ใช่ต้องไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ซึ่งไม่ใช่เป็นของที่หยาบๆ เท่านั้น ทุกขณะที่กำลังเป็นไปทุกขณะเป็นทุกข์ จึงใช้คำว่า “นี้ทุกข์” ถ้ารู้ตามเป็นจริง ก็ทำให้ละสมุทัย แต่ถ้าไม่รู้ก็ทำให้ยึดถือสิ่งที่กำลังมี สิ่งที่กำลังปรากฏ ส่วนสมุทัยที่ปรากฏในธัมมจักกัปปวตนสูตรก็ อธิบายว่า กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหา ๓ เป็นสมุทัย แต่โดยละเอียดแล้ว ทุกขณะที่กำลังเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องสัมผัส คิดนึก ที่เป็นรูปตัณหา สัททตัณหา เป็นต้น พอใจในรูป พอใจในเสียง พอใจในกลิ่น ในรส ในโผฎฐัพพะ ในธรรม ก็เป็นตัณหาทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น โดยละเอียดทุกชีวิตในทุกขณะ ก็เป็นไปทั้งทุกข์ และสมุทัย แต่นิโรธเป็นสิ่งที่เหนือโลก พ้นจากโลก ดับทุกข์ทั้งหมด ดับสมุทัย เป็นนิโรธ ซึ่งหมายถึง พระนิพพาน และอริยมรรคทั้ง ๘ นั้นก็เป็นนิโรธคามินีปฏิปทา คือ หนทางที่จะให้ถึงความดับทั้งทุกข์ ดับทั้งสมุทัย

    อ.กุลวิไล กราบเรียนท่านอาจารย์ถึงจุดประสงค์ที่ทางมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้มีการศึกษาธรรม และสนทนาธรรมในวันเสาร์ และวันอาทิตย์

    ท่านอาจารย์ ก็เพื่อได้ฟังพระธรรม และมีความเข้าใจพระธรรมที่ทรงแสดง เพราะเหตุว่าได้ยินคำว่า “พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า” แล้วจะรู้จักพระองค์ได้อย่างไร เพียงได้ยินก็มีความนอบน้อมในคำซึ่งบุคคลอื่นไม่สามารถที่จะใช้คำนี้ได้เลย นอกจากผู้ที่บำเพ็ญพระบารมีจนกระทั่งสามารถรู้แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริง เพียงได้ยินชื่อ ไม่สามารถที่จะเห็นพระคุณ หรือรู้จักพระองค์จริงๆ ได้ จนกว่าจะได้เข้าใจธรรม จึงได้รู้จริงๆ ว่า ผู้ที่กล่าว หรือแสดงธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้โดยละเอียด โดยลึกซึ้ง ต้องเป็นผู้ที่เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า คงไม่สงสัยเวลาได้ฟังแล้วเข้าใจว่า ธรรมที่มีเป็นปกติในชีวิตประจำวัน มีความละเอียด มีความลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นทุกครั้งที่ได้ฟัง เพียงฟังว่า เป็นธรรม ลึกซึ้งหรือยัง ยัง แต่พอฟังละเอียดขึ้นว่า ธรรมก็คือขณะนี้เอง ซึ่งไม่เคยรู้เลยว่า เป็นธรรม ก็มีความลึกซึ้งขึ้นว่า สิ่งที่เคยหลงยึดถือว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง ความจริงมีจริงๆ แต่ไม่เที่ยง มีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แล้วก็เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ยากแก่การที่จะรู้จริงๆ แต่เมื่อสิ่งนั้นเป็นจริงอย่างนั้น ก็สามารถอบรมเจริญปัญญาจนสามารถรู้ความจริงได้แน่นอน แต่ช้าหรือเร็ว วันนี้รู้ได้หรือไม่ เพียงฟัง ไม่ได้ เดือนหน้ารู้ได้หรือไม่ ยังคงมีสิ่งที่ปรากฏเป็นเครื่องวัดความรู้ ความเข้าใจจากการฟังว่า ได้ฟังว่า เห็นเป็นธรรม ไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้น ในขณะนี้ไม่ต้องไปเทียบว่า เราฟังมามากน้อยเท่าไร หลายชาติแล้วก็ตามแต่ แต่ขณะนี้มีสภาพที่กำลังปรากฏ แล้วความเข้าใจ หมายความถึงไม่ได้คิดถึงอย่างอื่นเลย มีสิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้ คือ เห็นกับสิ่งที่ปรากฏ

    เพราะฉะนั้น ความเข้าใจถูกในสิ่งที่มีในขณะนี้ จริงหรือยังว่า เป็นธรรม ซึ่งไม่ใช่เรา ถ้ารู้ว่า แม้ธรรมเป็นจริงอย่างนี้ แต่กว่าจะค่อยๆ เข้าใจขึ้นได้ ต้องค่อยๆ เข้าใจขึ้นๆ ทีละเล็กทีละน้อย เพราะว่าเห็นจะมีไปเรื่อยๆ มีโอกาสปัจจัยที่เห็นจะเกิดขึ้น เห็นก็ต้องเกิด บังคับไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ แต่เมื่อเกิดแล้ว จะรู้ความจริงของเห็น ของได้ยิน ของสภาพธรรมแต่ละขณะได้มากน้อยแค่ไหน นั่นก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ว่า ถ้าอยากรู้เร็ว มีโอกาสจะรู้ได้หรือไม่ เพราะอยากรู้เร็ว แต่ถ้ารู้เร็วไม่ได้ ค่อยๆ เข้าใจขึ้นทีละเล็กทีละน้อย อย่างนั้นก็จะทำให้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น และในขณะนั้นก็จะละความต้องการ ติดข้อง ซึ่งเป็นเครื่องกั้นด้วย อีกแสนกัป คอยไหวหรือไม่ แน่ใจหรือไม่ เวลาได้ยินคำนี้ แค่เห็นที่กำลังเห็นขณะนี้ แล้วก็ใช้คำว่า อีกแสนกัป จริงหรือหลอกเล่น ใครบอกไม่ได้เลย นอกจากผู้ที่กำลังมีสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นเครื่องวัดให้รู้ว่า การฟังธรรมมาแล้วทั้งหมดมีความเข้าใจในสิ่งที่กำลังปรากฏแค่ไหน แต่ก็ยังคงเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา ซึ่งเป็นจริงอย่างนี้ ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้น จะรู้ความจริงอื่นไม่ได้ ในเมื่อกำลังเห็นขณะนี้ ไม่มีสิ่งอื่น ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏ ก็คือว่า สามารถที่จะเกิดวิริยะ ศรัทธาที่จะเข้าใจขึ้น

    เพราะฉะนั้น ถ้ายังคงเป็นธรรมที่เลว วิริยะก็เป็นไปในทางเลว ไปกับโลภะ ไปกับโทสะ ไปกับเรื่องราวต่างๆ ยังไม่ใช่เป็นสภาพธรรมที่เป็นความเพียรที่ไม่ใช่ธรรมที่เลว แต่เป็นธรรมปานกลาง เพราะยังไม่สามารถประณีตจนกระทั่งถึงรู้ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังเกิดดับ จนกระทั่งดับกิเลสได้เป็นสมุจเฉท เพราะฉะนั้น เริ่มเข้าใจ ศรัทธาของแต่ละคน ไม่ต้องพูดถึงคนอื่นเลย ศรัทธาของแต่ละท่านเอง ขณะที่ฟังแล้วก็รู้ว่า ธรรมยาก แน่นอน ศรัทธาหายไปหรือเปล่า หรือว่าค่อยๆ มั่นคงขึ้น ยาก แต่ก็รู้ว่าค่อยๆ มั่นคง ซึ่งเป็นผู้ที่ตรง สัจจะ จริงใจต่อการที่จะได้เข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ เพราะว่าถ้าไม่ใช่วันนี้ที่มีโอกาสได้ฟังธรรม และวันต่อๆ ไป มีโอกาสที่จะได้ฟังเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริงๆ จนกระทั่งสามารถอดทนที่จะค่อยๆ เข้าใจขึ้น จนกว่าจะรู้ความจริงของสภาพธรรม

    ด้วยเหตุนี้ กุศลที่เป็นบารมี ไม่ใช่ในขณะอื่น ขณะนี้เอง มีศรัทธา เพราะว่ามีธรรมปรากฏ แล้วก็ฟังเรื่องธรรม ยังไม่รู้อะไรมากเลย ในเห็น และสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่ก็ฟังอีกๆ เหมือนจับด้ามมีด จนกระทั่งไม่ลืมที่จะไปอยากรู้เรื่องอื่น ที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่ว่าขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏแล้วยังไม่รู้ เพราะฉะนั้น จึงฟังในขณะนี้ที่เห็น ที่เห็นไม่ใช่ที่อื่น และสิ่งที่ปรากฏทางตาเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่ขณะอื่น เพื่อเข้าใจความจริงของสิ่งที่ปรากฏ ตามปกติ ยิ่งยากใช่หรือไม่ ให้ทำอย่างอื่นง่ายกว่า แน่นอน แต่ที่จะให้รู้เฉพาะลักษณะที่เป็นธรรม ที่กำลังปรากฏ ลืมไม่ได้เลยว่า ถ้าไม่เป็นอย่างนี้ก็คือว่า สิ่งที่ได้ฟังมาทั้งหมดเป็นความเข้าใจระดับไหน ถึงขั้นที่จะค่อยๆ ถึงลักษณะที่เป็นธรรมจริงๆ หรือยัง หรือว่าเพียงแต่ฟังเรื่องของธรรม เพราะฉะนั้น วันนี้ฟังแล้ว ขณะนี้มีเครื่องวัดหรือไม่ว่า สิ่งที่ได้ฟังมาแล้วมีกำลัง หรือมีความเข้าใจระดับไหน เพิ่มขึ้นหรือเปล่า แม้นิดเดียว ไม่ต้องมากเลย แค่นิดเดียว ได้ยินคำว่า “นิดเดียว” นิดจริงๆ เพราะว่ามีสิ่งที่ปรากฏ เมื่อสักครู่นี้อาจจะไม่ได้สนใจในสิ่งที่กำลังปรากฏ ทั้งๆ ที่พูดถึงเรื่องสิ่งที่กำลังปรากฏ แต่เมื่อได้ยินอีกครั้ง มีสิ่งที่ปรากฏ ไม่ได้นึกถึงเรื่องอื่นเลยทั้งสิ้น มีสภาพธรรมที่ปรากฏให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้นทีละเล็กทีละน้อย จนกว่าจะมั่นคง ต้องมีศรัทธา และวิริยะ เพื่อที่ปัญญาจะเจริญขึ้น มีความจริงใจ และมีความมั่นคง แต่ถ้าทำอย่างอื่นดีกว่าฟังธรรมหรือไม่

    อ.กุลวิไล ฟังธรรมย่อมประเสริฐกว่า

    ท่านอาจารย์ ขณะนั้นก็มั่นคงขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง แต่ไม่นานเดี๋ยวก็ทำอย่างอื่น ใช่หรือไม่ ก็แสดงให้เห็นความจริงว่า มีทั้งกุศล และอกุศลที่สะสมมา ไม่ใช่ให้ไปทำให้อกุศลไม่เกิด นั่นผิด แต่มีเหตุปัจจัยที่ทำให้บางกาล กุศลจิตเกิด บางกาลเป็นอกุศล แต่ทั้งหมดเป็นธรรม นี่คือปัญญาที่อบรมจากการฟัง จนกระทั่งมั่นคง ไม่ว่าสภาพธรรมที่เกิดแล้ว เป็นอะไร ก็เป็นธรรมเท่านั้นเอง

    ฟังบ่อยๆ ก็เริ่มที่จะชิน สภาพธรรมที่มีกำลังปรากฏ ไม่ได้คิดเรื่องอื่น แต่ว่าสภาพธรรมที่มีที่กำลังปรากฏ เพราะเกิดแล้ว ค่อยๆ ขยาย คือ ปรากฏเพราะเกิดแล้ว สภาพธรรมที่มีจริงที่กำลังปรากฏ เพราะเกิดแล้ว ก็จะไม่ไปขวนขวายทำอย่างอื่นเลย ทุกขณะ ไม่ว่าจะพูดถึงขณะไหนก็คือสภาพธรรมที่เกิดแล้ว

    อ.กุลวิไล ทำให้นึกถึงสีสปาสูตรที่เราได้สนทนากันเมื่อตอนเช้า จะเห็นได้ว่า พระพุทธประสงค์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม เพื่อให้เราได้รับประโยชน์จากพระธรรมที่ทรงแสดง ให้เข้าถึงความจริงที่กำลังมีในขณะนี้ แต่ที่ท่านตรัสรู้นั้นมากมาย ท่านก็ไม่ได้นำมาแสดงทั้งหมด แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์นั่นเอง เพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา เพื่อความดับทุกข์ เพื่อความรู้ยิ่ง และเพื่อพระนิพพานนั่นเอง นั่นก็คือการรู้สัจจะซึ่งเป็นจริง ๔ อย่าง อย่างทุกขสัจ ถ้าพูดถึงทุกข์ ก็ไม่ใช่ที่ไหน ขณะนี้เอง แล้ว “นี้ทุกข์” ก็คือสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้เอง แต่ถ้าเราไม่รู้ถึงความเป็นธรรม แล้วธรรมนี้ ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ก็ยังมีเราอยู่

    ท่านอาจารย์ ศรัทธาก็ไม่ใช่อนาคต เดี๋ยวนี้เอง ศรัทธาที่มีในขณะที่กำลังฟัง ได้ยินคำว่า “ธรรม” และกำลังปรากฏเพราะเกิดแล้ว จึงไม่คิดถึงเรื่องอื่น แล้วเริ่มเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดแล้วปรากฏในขณะนี้

    นี่คือจุดประสงค์ที่จะให้รู้ว่า “นี้ทุกข์” ไม่ใช่ขณะอื่น แต่ต้องขณะนี้ที่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดปรากฏ

    อ.กุลวิไล เพราะว่าทางที่จะให้สภาพธรรมปรากฏ ก็ไม่พ้น ๖ ทาง ถ้าเป็นผู้ไม่มีความเห็นถูกในสภาพธรรมตามความเป็นจริง ก็ย่อมเป็นไปกับอกุศลธรรมได้ง่าย ซึ่งท่านอาจารย์ได้กล่าวถึงธาตุเลวในชีวิตประจำวัน เพราะว่าเรามีการเห็น การได้ยิน แต่หลังเห็น หลังได้ยิน ถ้าไม่รู้ธรรมตามความเป็นจริง ก็ย่อมหวั่นไหว และเป็นไปกับความรักบ้าง ชังบ้าง อกุศลกรรมจึงกลุ้มรุมทั้งวัน

    ท่านอาจารย์ ความเพียรเป็นชาติเลวได้หรือไม่ แล้วความเพียรเป็นชาติปานกลางได้ไหม และความเพียรเป็นธรรมที่ประณีตได้หรือไม่ ได้ เห็นหรือไม่ แม้แต่ความเพียร ก็มีความเพียรหลายอย่าง ความเพียรปกติ ก็คือความเพียรที่เป็นธาตุเลว และความเพียรที่เป็นธาตุปานกลางก็มี และความเพียรที่เป็นธาตุประณีตก็มี

    เพราะฉะนั้น แม้แต่ความเพียรก็ไม่ใช่เรา แต่ว่าค่อยๆ มีสภาพธรรมอื่นเกิดร่วมด้วย เช่น ความเพียรที่เกิดกับศรัทธา ความเพียรที่เกิดกับปัญญา ก็ต่างกับความเพียรที่เกิดกับโลภะ และอวิชชา

    อ.กุลวิไล เพราะว่าความเพียรเป็นวิริยเจตสิก ถ้าท่านศึกษาพระอภิธรรมจะทราบได้ว่า อกุศลธรรมก็สามารถมีความเพียรที่เป็นวิริยะฝ่ายอกุศลเกิดร่วมได้ และกุศลธรรมก็มีความเพียรฝ่ายดีเกิดร่วมได้ เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นธาตุเลว ธาตุปานกลาง ธาตุประณีต วิริยเจตสิกสามารถเกิดได้กับชาติที่เป็นกุศล อกุศล วิบาก กิริยา ตรงกับที่ดิฉันจะกราบเรียนถามท่านอาจารย์ เพราะหลายท่านก็คงสับสนตรงคำที่ว่า ในอัตถสูตร เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรคามินีปฏิปทา เพราะฉะนั้นความเพียรในที่นี้ต้องเป็นความเพียรชอบแน่นอน แต่ผู้ไม่เข้าใจก็อาจจะคิดว่า เพียรด้วยความเป็นตัวตน

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นขณะนี้เพียรเป็นธาตุอะไร ธาตุปานกลาง แต่ว่าเพียรด้วยความที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ต่างกับเพียรที่เป็นธาตุเลว

    อ.กุลวิไล ฉะนั้นลักษณะของสภาพธรรมมีจริง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายอกุศลธรรม หรือกุศลธรรม แต่ถ้าไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง ก็ย่อมจะยึดเอาอกุศลเป็นกุศลได้

    ผู้ฟัง ในปัจจุบันพระพุทธเจ้าก็ทรงปรินิพพานไปแล้ว ๒,๕๐๐ กว่าปี ในบรรดาผู้ฟัง มีท่านอาจารย์ และวิทยากรที่มูลนิธิที่เป็นกัลยาณมิตรที่ทำให้เข้าใจ ขอท่านอาจารย์อธิบายละเอียดถึงความสำคัญของกัลยาณมิตร

    ท่านอาจารย์ ก่อนฟังธรรม มีเพื่อนชนิดไหน ตั้งแต่เด็กก็มีเพื่อนนักเรียน ทำงานก็มีเพื่อน ถึงไม่ทำงานก็มีเพื่อน แต่มีเพื่อนชนิดไหน

    ผู้ฟัง เป็นเพื่อนที่ไม่ทำให้เข้าใจพระธรรม

    ท่านอาจารย์ เพื่อนที่สามารถทำให้เข้าใจพระธรรมได้ ก็เป็นกัลยาณมิตร แต่ว่ากัลยาณมิตรคนนั้นเอาพระธรรมมาจากไหน

    ผู้ฟัง ก็ต้องมาจากพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นกัลยาณมิตรสูงสุด

    ท่านอาจารย์ ไม่ว่าใครที่กล่าวธรรมที่ทำให้คนอื่นสามารถเข้าใจได้ แต่เขานำธรรมนั้นมาจากไหน ก็ต้องรู้ด้วยว่า ถ้าไม่มีผู้ที่ตรัสรู้ และทรงแสดงธรรม ใครๆ ก็ไม่สามารถเข้าใจธรรมที่ปรากฏได้ เพราะฉะนั้นก็มีกัลยาณมิตรอย่างสูงสุด จนกระทั่งกัลยาณมิตรที่ทำให้เข้าใจถูก เห็นถูกในสภาพธรรมที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ

    ผู้ฟัง ถ้าไม่ได้ศึกษาจากกัลยาณมิตรที่เข้าใจอย่างนี้ ก็ไม่สามารถรู้ตามคำสอนที่พระองค์ ทรงตรัสมาเมื่อ ๒,๕๐๐ กว่าปีได้ ก็ไม่มีโอกาสได้รู้ความจริงเลย

    ท่านอาจารย์ จึงเข้าใจความหมายของกัลยาณมิตร มิตรที่ดี หวังดี นำประโยชน์เกื้อกูล ให้มีความเห็นถูก มีความเข้าใจถูกด้วย

    อ.ประเชิญ ที่จริงความเป็นเราก็ละเอียด และตามไปทุกเรื่อง ถ้าเป็นเรื่องของความเป็นไปในทางโลก ในธุรกิจ ความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน ก็แน่นอนอยู่แล้ว พอมาเรื่องธรรมก็เหมือนกัน เราก็ยังเป็นห่วง แม้กระทั่งอยากบรรลุเร็วๆ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ และความกังวลก็ไม่ใช่หนทาง ไม่ใช่ข้อปฏิบัติ ไม่ใช่หนทางจะทำให้บรรลุ ถ้าเราย้อนดูในสมัยพุทธกาล ตั้งแต่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และเริ่มเผยแพร่พระธรรมตั้งแต่ปฐมเทศนาจนถึงใกล้ปรินิพพาน

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 170
    14 ม.ค. 2567