ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1898


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๑๘๙๘

    สนทนาธรรม ที่ โรงแรมแพรวอาภาเพลส จ.ราชบุรี

    วันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗


    ท่านอาจารย์ ธรรมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ธรรมไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา และไม่ใช่เราด้วยเพราะเหตุว่าเกิดขึ้น และดับไป มีอะไรผิดบ้าง มีอะไรไม่จริงบ้าง ถ้าจริงนจะว่าถูกหรือว่าจะว่าผิดเพราะจริงก็ต้องถูกต้องใช่ไหมแต่ว่ายังไม่ได้ประจักษ์ความจริงแต่มีหนทางเพราะเหตุว่าความเข้าใจจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นค่อยๆ เข้าใจมากขึ้นทีละเล็กที่ละน้อย การฟังแล้วฟังผ่านไปเลยไม่คิดถึงอีกเลย กับการที่ได้ฟังแล้วไม่ลืมว่าได้ฟังคำนี้แล้วก็ไตร่ตรองเพิ่มขึ้น เพราะว่าเวลาขคิดอย่างอื่นมีทำไมไม่คิดถึงคำที่มีประโยชน์ที่ได้ฟังในเรื่องความจริงที่มี

    เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า ความคิดที่ไร้สาระกับความคิดที่สามารถที่จะทำให้รู้ความจริงได้ก็ต่างกันแต่บังคับไม่ได้ ฝืนไม่ได้เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างต้องเกิดเพราะเหตุปัจจัย แม้แต่การที่แต่ละท่านมานั่งอยู่ตรงนี้ก็จะเห็นได้ ทำไมคนอื่นอีกเยอะเลยไม่มา เรามีเหตุปัจจัยที่ได้สะสมมาแล้วแต่ปางก่อน ปางก่อนคือขณะๆ ก่อนรวมถึงชาติก่อนๆ ด้วยเพราะเหตุว่าบางคนเพียงแค่ได้ยินคนลงจากรถแต่ก่อนที่จะปิดประตูเนี่ยได้ยินเสียงธรรมรายการของมูลนิธิเขาถึงกับขับรถตามไป เพราะอยากจะรู้ว่าคนนั้นเป็นใครที่มีการสนใจฟังธรรมที่บางคนไม่สนใจเลยที่จะฟัง นี่ก็เป็นสิ่งที่แสดงความหลากหลายที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้คำว่านานา ธา ตุหรือนานาธาตุ ทั้งหมดเป็นธาตุหลากหลายมาก เพราะฉะนั้น แต่ละหนึ่งเวลานี้เป็นธาตุทั้งนั้นเลยเห็นก็เป็นธาตุ ธา ตุคือสิ่งที่มีจริงเห็นมีจริงเกิดขึ้นเป็นเห็นแล้วดับได้ยินมีจริงเป็นธาตุอีกชนิดหนึ่งเกิดขึ้นได้ยินแล้วดับ

    เพราะฉะนั้น ความคิดก็มาจากการเห็นบ้างการได้ยินบ้าง ต่างคนต่างคิด เพราะฉะนั้น ไม่มีทางที่จะประมาณได้ว่าธาตุหลากหลายสักแค่ไหนเพียงแต่ว่ามากมายมหาศาล แต่ก็ทรงประมวลว่าทั้งหมดเป็นธรรม และธรรมที่มีจริงๆ ทั้งหมดก็ยังต่างกันเป็นประเภทใหญ่ๆ คือธรรมซึ่งเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้นแต่ไม่รู้อะไรเลย เช่นแข็ง เช่นเสียง เช่นกลิ่น เช่นรสเป็นต้น แต่จิตหรือธาตุรู้สามารถที่จะรู้สิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏในขณะนี้ เพราะฉะนั้น ขณะนี้ ถ้าเราไม่ลืมว่าเรากำลังฟังเรื่องธาตุรู้ซึ่งใช้คำว่าจิต ขณะนี้มีจิต เห็นไหมลืมอีกไปคิดถึงเรื่องอื่นมากมายแต่ลืมว่าจิตขณะนี้ละเอียด และก็หลากหลาย และก็ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา กว่าการสะสมของการที่เคยได้ยินได้ฟังมาแล้วในอดีตจะนำมาสู่การได้ยินได้ฟังต่อไปอีกในชาตินี้ และการสะสมการได้ยินได้ฟังความเห็นประโยชน์ ที่จากโลกนี้ไปไม่ได้ไปโดยที่ไม่รู้เหมือนเดิมแต่ยังมีการรู้กันเข้าใจจากการที่ได้ฟังสืบสืบต่อมาติดตามไปถึงชาติต่อไปด้วย

    เพราะฉะนั้น ทรงแสดงไว้นะคะ ว่านี่คืออุปนิสยะโคจร โคจรชื่อภาษาบาลีภาษาไทยเราใช้คำว่าโคจรหมุนไป ไปเรื่อยๆ ใช่ไหม แต่ว่าไปยังไงถ้าไม่มีจิต ไม่มีทางเลยใช่ไหม เพราะฉะนั้น ขณะนี้จิตเกิดขึ้นไปสู่ ไม่ได้ไปสู่อะไรเลย ไปสู่สิ่งที่จิตกำลังรู้ เช่นขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏทางตาให้ทราบว่าขณะนั้นมีจิตซึ่งสู่อารมณ์นี้โดยการเห็นไม่ไปอื่น ไม่ไปที่แข็งไม่ไปที่เสียง แต่จิตเห็นมาสู่สิ่งเดียวคือสิ่งที่กำลังปรากฏเป็นโคจรที่ไปของจิต เวลาที่ได้ยิน จิตไปไหน ไม่ได้ไปทางตาที่กำลังมีสิ่งที่ปรากฏ แต่ไปสู่เสียงที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงปรากฏว่าเสียงขณะนี้เป็นอย่างนี้เพราะจิตเกิดขึ้น ไปสู่ขณะที่เสียงนี้ปรากฏ และรู้เสียงนั้น

    เพราะฉะนั้น คำว่าโคจรก็หมายความถึงสิ่งที่จิตรู้เป็นอีกคำหนึ่งของคำว่มอารัมณะ ภาษาไทยใช้คำว่าอารมณ์ เมื่อมีจิตเป็นธาตุรู้ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ เพราะฉะนั้น สิ่งที่ถูกรู้ มีหลายคำ ใช้คำว่าอารัมมณะก็ได้ มาลัมพนะก็ได้โคจรก็ได้

    เพราะฉะนั้น ถ้าเราไม่คุ้นเคยกับการรู้ การฟังสิ่งที่กำลังฟังในขณะนี้พอสมควร ก็จะไม่มีการเห็นประโยชน์ให้ทราบว่าขณะที่กำลังฟังเพื่อเข้าใจสิ่งที่มีจริงขณะนั้นจิตผ่องใสไม่มี ความโลภหรือความติดข้องในสิ่งใดๆ ไม่มีความโกรธ แต่ว่าขณะนี้กำลังเริ่มที่จะเข้าใจสิ่งที่มีจริงถ้ามีการฟังมากต่อๆ ไปเป็นอุปนิสัย เพราะฉะนั้น คนนั้นได้ยินธรรมเมื่อไหร่ที่ไหนฟังทันที บางท่านซื้อรถใหม่ เปิดวิทยุได้ยินเสียง ฟังทันทีเพราะเหตุว่าสะสมมาแล้วที่จะมีการฟัง คุ้นเคยกับการที่จะได้ฟัง เพราะฉะนั้น การได้ยินได้ฟังธรรมทีละเล็กทีละน้อยก็จะเป็นอุปนิสัยเหมือนกับคนที่ชอบอาหารรสเผ็ดทีละเล็กละน้อยก็ ไม่ชอบรสอื่น แต่ว่าชอบรสเผ็ดฉันใด อารมณ์ที่จิตจะรู้ก็มีมากเรื่องราวต่างๆ ก็มีมาก แต่เมื่อได้สะสมมาที่จะเห็นประโยชน์ของการได้เข้าใจสิ่งที่มีจริงเพราะสามารถได้ยินได้ฟัง และเข้าใจได้จะทิ้งไปทำไม ถ้าไม่สามารถที่จะเข้าใจได้ก็สุดวิสัย แต่นี่มีพระธรรมที่ทรงแสดงความละเอียดยิ่งที่สามารถทำให้เข้าใจได้ เพราะฉะนั้น การฟังขณะนี้เป็นอุปนิสัย อุปนิสยโคจร ต่อไปข้างหน้าก็ฟังอีกแล้วก็ฟังบ่อยๆ เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้กว่าจะถึงการรู้ความจริง อย่างที่ถามว่าขณัเห็นเดี๋ยวนี้ เห็นแล้วไม่รู้ เห็นด้วยไม่รู้หรือว่าเห็นด้วยรู้ แค่นี้ก็เป็นการตั้งต้นที่จะเป็นผู้ที่ตรงที่จะฟังต่อไปเพื่อรู้ว่าสิ่งที่กำลังเหมือนธรรมดาอย่างนี่ และก็รู้ยากเหลือเกินยังสามารถที่จะค่อยๆ เข้าใจขึ้น จนกระทั่งรู้ความจริงตามที่ได้ฟังตรงทุกคำว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราเกิดขึ้น และก็ดับไปเพราะว่าทุกคำที่เป็นคำจริงสามารถที่จะประจักษ์ได้เพราะว่า เมื่อความจริงเป็นอย่างนี้จะรู้อย่างอื่นได้อย่างไรก็ต้องรู้จริงๆ อย่างนี้

    เพราะฉะนั้น ก็เป็นสิ่งซึ่งแสดงให้เห็นว่าการฟังเล็กๆ น้อยๆ ไปเรื่อยๆ ทีละคำสองคำแต่ต้องเข้าใจฟังแล้วเข้าใจจริงๆ ไม่ทิ้งไม่ลืม เวลาที่ไม่มีอย่างอื่นตื่นมาใหม่ๆ คิดถึงอะไรเห็นไหม ถ้าสะสมเป็นอุปนิสัยคิดถึงธรรมที่ได้ฟัง พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมที่เป็นประโยชน์สำหรับให้คนฟังไตร่ตรองเห็นประโยชน์มากน้อยแค่ไหนก็สะสมนโดยที่คนอื่นก็ไม่สามารถที่จะบังคับได้ เป็นอนัตตาแต่สามารถรู้ว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์สิ่งใดไม่เป็นประโยชน์ เพราะฉะนั้น เมื่อรู้อย่างนี้มีหรือที่จะเลือกสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เพราะฉะนั้น ขณะใดก็ตามที่เป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์เพราะยังไม่รู้ความจริง แต่ถ้ารู้ความจริงว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์ก็จะละสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เพราะฉะนั้น ถ้ารับเมื่อไหร่ ขณะใดก็ตามคิดถึงธรรมแม้ไม่ได้ฟังนั่นคือการบ้านใช่ไหมไม่เหมือนการบ้านที่ครูมอบหมายให้ แต่เพราะเหตุว่าได้สะสมเป็นอุปนิสัยที่จะทำให้ไม่ขาดการฟัง

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ครับยังข้องใจอยู่เล็กน้อยที่ว่า เห็นคือรู้สิ่งที่ปรากฏทางตา แค่ตรงนี้ก่อนนะครับ ท่านอาจารย์จะช่วยขยายเพื่อให้เกิดความลึกซึ้ง

    ท่านอาจารย์ ความเข้าใจต้องมั่นคงในคำที่ได้ยิน หลับตาเป็นเห็นหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่มีปรากฏ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เห็นอะไร เห็นไหมคำธรรมดาๆ แต่ลึกซึ้งว่าแท้ที่จริงไม่เคยเข้าใจสภาพธรรมที่สามารถปรากฏเมื่อจิตเห็นเกิดขึ้นว่าสิ่งนี้มีกำลังปรากฏว่ามีหลับตาไม่มีแล้วหรือว่าเวลาได้ยินสิ่งนี้ก็ไม่ได้ปรากฏแล้ว

    เพราะฉะนั้น ตามความเป็นจริงเห็นสามารถที่จะเห็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ แข็งไม่ได้ปรากฏให้เห็นได้เลย เสียงก็ไม่ได้ปรากฏให้เห็น กลิ่นก็ไม่ได้ปรากฏให้เห็น แต่ขณะนี้ไม่ต้องเรียกอะไรเลยก็มีสิ่งที่มีจริงเพราะจิตเกิดขึ้นจึงรู้ว่าสิ่งนี้มีจริงๆ กำลังปรากฏเท่านั้นเองเพียงเป็นสีที่มีจริง แต่เพราะเหตุว่าไม่รู้ความจริง แล้วก็สิ่งที่ปรากฏเกิดดับสืบต่อเร็วสุดที่จะประมาณได้เหมือนมายากล ก็ปรากฏรูปร่างสัณฐานต่างๆ ทำให้จำรูปร่างสัณฐานนั้น เป็นสิ่งที่มีชีวิตบ้างไม่มีชีวิตบ้าง เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดบ้างขณะนี้ทั้งหมดเพราะจิตเกิดขึ้น และสิ่งที่ปรากฏให้เห็นทางจิต และสิ่งที่ปรากฏเกิดดับเร็วมาก นี่คือพระปัญญาคุณที่สามารถจะรู้ความจริงว่า สิ่งที่ชาวโลกไม่รู้ว่าสิ่งที่มองเห็นเหมือนเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพราะสิ่งนั้นเกิดดับอย่างเร็วมากแต่พระปัญญาคุณที่ทรงตรัสรู้ และทรงแสดง ก็แสดงความจริงซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยกำลังเห็นอะไรไม่ต้องบอกก็มีสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็นได้ เท่านี้ตามความเป็นจริง

    เพราะฉะนั้น กว่าจะรู้ว่าความหมายของคำที่ตรัสเป็นภาษาบาลีว่าจักขุวิญญาณัง จิตเห็นรู้อะไร รู้รูปารัมมณะคือสิ่งที่สามารถปรากฏให้เห็นได้ ดับแล้ว เพราะฉะนั้น ขณะนี้จิตเกิดดับนับประมาณไม่ได้ตราบใดที่รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร และเวลานี้ก็มีเหมือนหลายสิ่งหลายอย่างปรากฏ ก็ประมาณดูก็แล้วกันว่าจิตเกิดดับเร็วเท่าไหร่ แล้วใครจะรู้ได้ถ้าไม่มีการฟังพระธรรม แต่ก็จะเปลี่ยนความจริงนี้ไม่ได้เลย เพราะว่าขณะหลับไม่มีเห็นไม่มีสิ่งใดปรากฏขณะได้ยินสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาก็ไม่มี ขณะคิดนึกสิ่งที่ปรากฏทางตา ขณะนี้ก็ไม่มีมีเฉพาะเมื่อจิตเห็นเกิดขึ้นเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น ทรงแสดงธาตุโดยประมวล เช่นจักขุธาตุได้แก่ จักขุปสาทรูป รูปพิเศษที่สามารถกระทบกับสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็นในขณะนี้ แล้วก็มีรูปธาตุคือสิ่งที่สามารถกระทบกับจักขุธาตุ จักขุประสาทแล้วก็ยังมีจักขุวิญญาณธาตุ ธาตุรู้ซึ่งเกิดขึ้นเห็นธาตุทั้งหมดแต่ไม่ใช่ธาตุเดียวกัน จักขุธาตุก็ได้แก่รูปที่อยู่ที่ตัว รูปพิเศษเฉพาะที่สามารถกระทบกับสิ่งที่กำลังปรากฏ และต้องมีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาจริงๆ ที่กระทบกับจักขุปสาทกระทบอื่นไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ก็มีจากจักขุธาตุ มีรูปธาตุเป็นปัจจัยให้ธาตุเห็นเกิดขึ้นเห็นแล้วดับ จักขุวิญญาณธาตุ นี่คือพี่ทรงแสดงไว้ ๔๕ พรรษา ไม่เคยขาดเลย เพราะว่าเป็นความจริงจนกว่าจะรู้ ใครก็ตามที่ฟัง ก็ฟังไปเข้าใจไปทีละเล็กที่ละน้อยแต่ไม่ใช่ด้วยความจงใจด้วยความเป็นตัวตนอยากจะรู้เร็วๆ อยากจะทำให้เกิดการรู้ขึ้น แต่ว่าแม้แต่ความเข้าใจธรรม ก็ต้องเกิดจากการฟังบ่อยๆ ที่ใช้คำว่าอุปนิสสยะ หมายความว่าจนกระทั่งเป็นนิสัยที่มีกำลังเวลานี้แต่ละคนที่อยู่ที่นี่ มีนิสัยต่างกันตามความคุ้นเคยที่ค่อยๆ สะสมเป็นแต่ละแบบแต่ละคน แต่ว่าแม้แต่สิ่งที่กำลังปรากฏกับจิตก็ต้องเพราะความคุ้นเคย ถ้าเราคุ้นเคยกับการที่จะฟังธรรม ใครจะบอกเราไม่ฟังก็ไม่ได้ใช่ไหม บางท่าน ท่านก็เปิดโทรทัศน์ฟังเรื่องอื่นข่าวอื่นน่าสนใจมากแต่พอถึงเวลาฟังธรรมท่านหยุดทันทีแล้วก็ฟังธรรมทันทีเพราะอะไร ใครจะรู้โอกาสสำหรับเรื่องอื่นมีมาก แต่โอกาสกาลที่จะฟังธรรมไม่มากเท่าเลย

    เพราะฉะนั้น เราจะรู้ได้ยังไงว่าเราจะมีโอกาสได้ฟังอีกมากน้อยเท่าไหร่ เพราะฉะนั้น การได้ยินได้ฟังธรรมก็มีค่าที่สุด ที่ว่าถ้าเดี๋ยวมีใครจากโลกนี้ไปทันทีหมดโอกาส ไปไหนก็ไม่รู้แล้วก็จะมีโอกาสได้ยินได้ฟังอีกหรือเปล่าก็ไม่รู้ และสังสาระวัฏนี้ก็ยาวนานมากกว่าจะมีโอกาสที่จะได้ฟังอีก เพราะฉะนั้น ท่านผู้นั้นก็เป็นผู้ที่เห็นประโยชน์ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ระลึกถึงความตาย ไม่ใช่ไประลึกว่า ความตายเกิดมาแล้วพรรณาไปเรื่อยๆ เรื่องความตายไม่ใช่ แต่สติที่ระลึกถึงความตายนั้นแหละเป็นสติที่ทำให้คิดถึงกุศลต่างๆ ถึงจะเป็นสติที่เนื่องมาจากความตายที่ระลึกถึงว่าเวลาไม่มากเวลามีน้อย และเราก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าจะจากโลกนี้เมื่อไหร่ แล้วไปอย่างไม่รู้อะไรเลยไม่เข้าใจอะไรเลยเหมือนเดิม เท่านั้นไม่พอยังเติมอกุศลเข้าไปทุกวันมากขึ้นอีก เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นคุณค่าของการที่ได้ฟังแล้วก็ได้เข้าใจแม้แต่สิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็นได้นานไหม กว่าจะไม่คิดถึงว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดแต่เริ่มเข้าใจจึงค่อยๆ คลายเพราะรู้ เคยติดข้องในสิ่งที่ปรากฏต่างๆ มากมายเสื้อสวยๆ เพชรนิลจินดาสารพัดอย่าง รองเท้าสวยๆ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏทางต่างให้ติดข้องแต่ถ้าเพียงรู้ว่า ชั่วเห็น บางท่านก็ต้องการเห็นอย่างโน้นอย่างนี้มากมายชี้ชวนกันไปดูเพื่อลืม ใครไม่ลืมบ้าง เห็นแล้วก็ลืมเพราะว่าทันทีที่ได้ยิน ก็ไม่มีละสิ่งที่ปรากฏให้เห็นก็ไม่มีแล้ว

    เพราะฉะนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างเนี่ยเพียงชั่วคราว เพราะฉะนั้น กว่าจะรู้ความจริงว่าเราติดข้องในสิ่งที่ปรากฏทางตา เริ่มจากไม่รู้ความจริงยึดถือรูปร่างสัณฐานซึ่งเป็นนิมิตให้จำได้ว่าเป็นอะไรแล้วก็ยังติดข้องในเรื่องราวของสิ่งนั้นอีกมาก กว่าจะค่อยๆ คลายต้องคลายก่อน โดยการเริ่มเข้าใจถูกว่าเพียงปรากฏให้เห็น แต่ว่าสิ่งนั้นดับแล้วยังติดข้องในสิ่งที่ปรากฏ และดับไปหรือ เห็น ไหมเพราะไม่รู้ เพราะฉะนั้น คำตอบก็คือเพราะไม่รู้ จึงเป็นเหตุให้เกิดอกุศลทั้งหลายจากความไม่รู้นั่นเอง เพราะฉะนั้น กว่าจะรู้จริงๆ นะคะ ว่าเดี๋ยวนี้อยู่คนเดียวแท้ที่จริงก็ไม่ใช่คนด้วย เป็นจิตที่เกิดดับสืบต่อทีละขณะแล้วรู้สิ่งที่ปรากฏทางตาบ้าง ทางหูบ้าง โดยมีภวังค์คั่น ใช้คำว่าภวังค์คนไทยใช้ ไม่ใช่ไม่ใช่ แต่ความหมายของภวังค์จริงๆ ก็คือว่าเป็นจิตเจตสิกขณะนั้นซึ่งไม่ได้รู้สิ่งที่ปรากฏทางตาคือ ไม่เห็นไม่ได้ยินไม่ได้กลิ่นไม่ลิ้มรสไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสไม่คิดนึก ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนคือขณะที่หลับสนิท ไม่มีอะไรปรากฏเลยแม้แต่เป็นใครก็ไม่รู้จักแต่พอตื่น ติดข้องในสิ่งที่หมดไปแล้วเมื่อวานนี้ เพราะฉะนั้น ถ้าสั้นเข้ามาอีกก็คือว่าขณะนี้สิ่งที่ปรากฏเกิดดับ ความไม่รู้ทำให้ติดข้องในสิ่งซึ่งเกิดแล้วดับแล้วเดี๋ยวนี้ เพราะฉะนั้น กว่าปัญญาจะค่อยๆ เข้าใจขึ้นทีละเล็กทีละน้อย และเห็นพระมหากรุณา และพระปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ด้วยการที่เห็นธรรมคือเข้าใจถูกในสิ่งที่มีตามที่ได้ฟังจากผู้ที่ได้ทรงตรัสรู้

    ผู้ฟัง มีคำถามจากท่านผู้ฟัง อิฐฐารมณ์กับโสมนัสเวทนามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรในขณะที่ปรากฏ

    อ.อรรณพ ก็มีสองคำ คืออารมณ์กับความรู้สึก อันนี้เป็นเบื้องต้นก่อนอารมณ์คือสิ่งที่จิตรู้ซึ่งอารมณ์ก็หลากหลาย บางอารมณ์ก็เป็นอารมณ์ที่น่าพอใจสีสวยๆ เสียงที่ประณีตมีใช่ไหม ไม่ใช่ว่าสีนี้เหมือนกันหมดเลยหรือเสียงเหมือนกันหมดเลยย่อมมีความหลากหลาย เป็นสภาพธรรมที่เกิดจากเหตุปัจจัยก็มีความหลากหลาย

    เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นอนิฏฐารมณ์ก็คืออารมณ์ที่ไม่น่าพอใจถ้าเป็นอิฐฐารมณ์ก็เป็นอารมณ์ที่น่าพอใจนั่นคือตัวอารมณ์แล้วก็ส่วนความรู้สึก พระองค์ใช้คำว่าเวทนาเป็นธรรมที่เป็นเจตสิกอย่างหนึ่งเกิดกับจิตอยู่ตลอดซึ่งก็หลากหลายเป็นความรู้สึก เฉยๆ ก็มี ความรู้สึกทุกข์กายก็มี สุขกายก็มี ทุกข์ใจก็มี สุขใจก็มี เพราะฉะนั้น อารมณ์ที่น่าพอใจเช่นสีสวยๆ เสียงเพราะๆ ก็เป็นปัจจัยให้เกิดความพอใจเกิดความรู้สึกที่ชอบใจ สบายใจ ได้

    เพราะฉะนั้น โสมนัสเวทนาคือความรู้สึกที่ชอบใจโสมนัสเมื่อได้รูปที่น่าพอใจนั่น แต่ไม่ได้ปะปนกัน ปะปนกันไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ก็ขอโอกาสทบทวนสั้นๆ เพราะเห็นว่าใช้ภาษาที่ไม่ใช่ภาษาไทยเช่นคำว่าเวทนา เราใช้ในภาษาไทยแต่คำนี้จริงๆ แล้วเป็นภาษาบาลีจะสังเกตได้ว่าภาษาไทยก็ใช้คำในภาษาบาลีมาก ตรงบ้างไม่ตรงบ้างเพราะเหตุว่าไม่ได้ศึกษาให้ละเอียดจริงๆ หรือแม้แต่คำว่าอิฐฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์ก็ไม่ใช่ภาษาไทยมีใครพูดวันนี้บ้างไหมอิฐฐารมณ์ แล้วมีใครพูดเวทนาวันนี้บ้างหรือเปล่าไม่ใช่ภาษาไทย

    เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นภาษาไทยจริงๆ ก็คือว่า เวทนาคือความรู้สึก ชาวมครชาวมคธีที่แคว้นโน่นเขาไม่ใช้คำว่าความรู้สึกแต่เขาใช้คำว่าเวทนา เพราะฉะนั้น เราเป็นคนไทยก็ไม่ต้องใช้คำนั้นก็ได้แต่วันนี้เนี่ยดีใจบ้างไหม มีความสุขหรือมีความทุกข์เราถามกันอย่างนี้ใช่ไหม เพราะฉะนั้น แม้สุขหรือทุกข์มีจริงจริงเป็นธรรมไม่ใช่จิตแต่เป็นสภาพธรรมที่เกิดกับจิต เพราะฉะนั้น ในขณะใดก็ตามที่มีธาตุรู้เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้สิ่งที่กำลังปรากฏให้รู้เดี๋ยวนี้คือจิตก็จะมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน แต่จิตไม่ใช่เจตสิก แต่ว่าจิตต้องเกิดกับเจตสิก และเจตสิกต้องเกิดกับจิตแยกกันไม่ได้เลย เพราะว่าจิตมีเจตสิกเป็นปัจจัยให้เกิด และเจตสิกก็มีจิตเป็นปัจจัยให้เกิดแยกกันไม่ได้

    เพราะฉะนั้น ขณะใดที่พูดถึงจิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้เช่นเห็นแต่เห็นแล้วรู้สึกยังไง ทุกวันๆ จิตเกิดขึ้นเห็นแล้วก็ดับ เห็นแล้วก็ดับทุกขณะเลยพร้อมกับเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยทุกครั้ง เกิดพร้อมจิต ดับพร้อมจิตอาหารอร่อย หรือไม่อร่อย เหมือนกันทุกวันหรือเปล่า เหมือนกันทุกขณะหรือเปล่า เพราะฉะนั้น ความรู้สึกก็หลากหลายต่างกันไปตามขณะที่จิตนั้นๆ กำลังรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กำลังปรากฏ แต่ประมวลแล้วความรู้สึกคือเวทนาเจตสิกเป็นสภาพที่มีจริง ก็มีลักษณะที่ต่างกันเป็น ๕ อย่าง รู้สึกแต่ว่ารู้สึกไม่เหมือนกันแต่ละครั้งที่กำลังรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดบางครั้งรู้สึกเจ็บ เป็นความรู้สึกใช่ไหม ไม่ใช่จิต แต่ขณะนั้นจิตต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งขณะนั้นเจตสิกที่รู้สึกเจ็บมี เพราะจิต และเจตสิกกำลังรู้สิ่งนั้นที่กาย เจ็บจะอยู่นอกกายได้ไหม ไม่ได้

    เพราะฉะนั้น ความรู้สึกที่เกิดทางกาย จะมีสุขหรือทุกข์ อย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งยากที่จะรู้ได้ถ้าไม่มากพอแต่ถ้ามากพอ เจ็บใครไม่รู้บ้างแต่ไม่รู้ว่าเจ็บเป็นธรรม แล้วก็ไม่ใช่จิตแต่เป็นเจตสิกที่ต้องเกิดกับจิตในขณะนั้น แต่ต้องมีการรู้สิ่งที่ปรากฏซึ่งไม่น่าพอใจ จึงทำให้เกิดความรู้สึกทางกายที่เจ็บ แต่บางครั้ง บางขณะก็ไม่เจ็บแต่เสียใจ น้อยใจ โกรธ ขุ่นเคืองไม่พอใจก็มีใช่ไหมโดยไม่ต้องอาศัยกายเลย

    เพราะฉะนั้นความรู้สึกก็แยกเป็นความรู้สึกทางกาย กับความรู้สึกทางใจซึ่งปนกันไม่ได้ แต่ว่าถ้าจะกล่าวโดยย่อ ก็คือว่าความรู้สึก ก็มีสุขหนึ่ง ทุกหนึ่ง และก็ไม่สุขไม่ทุกข์หนึ่งถ้าเป็นภาษาบาลีก็อทุกขมสุขไม่สุขไม่ทุกข์แต่บางครั้งคนไทยเราก็ออกเสียงภาษาบาลีสั้นแทนที่จะเรียกว่าทุก ขะก็บอกว่าทุกข์ สุข ขะ ก็เป็นสุข แต่ก็ให้ทราบได้ว่าเค้าโครงหรือว่าต้นตอของเราที่ใช้อยู่ก็เอาคำภาษาบาลีมาใช้แต่ว่า ใช่ไหมไม่ออกเสียงอย่างเขา ออกเสียงตามภาษาไทย และความหมายถ้าไม่ศึกษาจริงๆ ก็คลาดเคลื่อนไป

    เดี๋ยวนี้ รู้สึกอะไรรึเปล่า มีความรู้สึกไหม นี่คือการศึกษาธรรมไม่ใช่อยู่ในตำราหรืออยู่ในขณะที่กำลังฟัง แต่อยู่ที่เดี๋ยวนี้ เพราะฉะนั้น เมื่อไรที่เริ่มเข้าใจว่าธรรมคือเดี๋ยวนี้นั่นคือกำลังศึกษาธรรม มิฉะนั้นแล้วจะกล่าวไม่ได้เลยว่าศึกษาธรรม เป็นเพียงศึกษาเรื่องของธรรมแต่ไม่ใช่ศึกษาตัวธรรมซึ่งมีจริงๆ ทุกขณะ เพราะฉะนั้น กว่าจะศึกษาเรื่องราวมาจนถึงศึกษาตัวจริงๆ ของธรรมก็จะเห็นได้ว่าถ้าไม่มีความเข้าใจจริงๆ ว่าฟังธรรมคือฟังอะไร คือฟังสิ่งที่มีจริงศึกษาอะไรคือศึกษาความจริงของสิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้ แม้แต่พูดเรื่องความรู้สึก ความรู้สึกก็มีจริงๆ แต่ว่ายากไหมที่จะบอกว่าเดี๋ยวนี้เนี่ยรู้สึกยังไง ดีใจ หรือเฉยๆ หรือว่าทุกข์หรือว่าสุขผ่านไปหมดเลยโดยไม่รู้

    เพราะฉะนั้น สภาพธรรมทั้งหมดเกิดดับโดยไม่รู้มากมายมหาศาลกว่าจะได้มีความเข้าใจทีละเล็กทีละน้อยว่ากำลังพูดให้เข้าใจถึงสิ่งที่มีในขณะนี้จริงๆ เพื่อที่จะให้เข้าถึงความเป็นธรรมซึ่งไม่ใช่เราแต่เป็นธรรมแต่ละหนึ่งเช่นจิตเป็นจิตเจตสิกเป็นเจตสิก แล้วถ้าศึกษาต่อไปนะคะ เจตสิกมีถึง ๕๒ ประเภทโดยประมวลเป็นประเภทใหญ่ๆ ถ้ากล่าวโดยละเอียดกมากมายเพราะว่าแม้แต่ความขุ่นเคืองใจก็มีหลายระดับ ตั้งแต่ขุ่นใจ จนกระทั่งไม่พอใจ จนกระทั่งโกรธ จนกระทั่งถึงความพยาบาทนี้ก็แสดงถึงสภาพธรรมซึ่งไม่พอใจ ซึ่งเป็นความรู้สึก

    เพราะฉะนั้น ฟังธรรมในการต้องแยกธรรมเป็นแต่ละหนึ่งแต่ละหนึ่งจริงๆ จึงสามารถที่จะเข้าใจ คำที่ว่าอนิฏฐารมณ์ อิฐฐารมณ์หรือเวทนาคือความรู้สึกได้ เพราะฉะนั้น ยังมีอีกมาก และก็ละเอียดมากด้วย แต่ก็อยู่ในชีวิตประจำวันทั้งหมดซึ่งถ้ารู้ก็จะค่อยๆ เห็นตามความเป็นจริงว่าเป็นธรรม นั่นเป็นเบื้องต้นที่จะนำไปสู่การสามารถสละการยึดถือธรรมว่าเป็นเราได้

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 201
    18 มี.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ