ปกิณณกธรรม ตอนที่ 668


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๖๘

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๖


    ผู้ฟัง อย่างที่มาฟังธรรมก็รู้สึกว่า อยากที่ว่าจะเข้าใจธรรม แต่ในขณะที่ฟังอยู่ อกุศลจิตเกิดเดี๋ยวก็ไม่ชอบ เดี๋ยวก็ขุ่นใจ มันก็รู้สึกว่า ไม่สบายใจอีก ขนาดมาฟังอยากให้มันดี มันก็ยังไม่ดี ก็ต้องระลึกว่ามันเป็นธรรม ระลึกว่าเป็นธรรม มันก็ไม่ปรากฏว่ามันจะเป็นธรรมสักที

    ท่านอาจารย์ มีลักษณะอะไรหรือเปล่า ขณะนั้น

    ผู้ฟัง มี ขุ่นข้อง

    ท่านอาจารย์ ขุ่นข้องเป็นธรรมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ก็เป็น

    ท่านอาจารย์ แล้วก็ควรรู้ยิ่งหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ก็รู้ยิ่งก็โทมนัสอีก ทุกข์เข้าไปอีก

    ท่านอาจารย์ ก็หมายความว่าจะไม่ให้เป็นทุกข์ ใครจะบังคับให้เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดในขณะนี้ หรือจะบังคับไม่ให้สิ่งในขณะนี้ เป็นอย่างนี้เป็นอย่างอื่น เป็นไปไม่ได้ ใช่ไหม

    เพราะฉะนั้น ควรรู้ยิ่งไม่ควรทิ้ง เลยทั้งหมดทั้งปวง เว้นไม่ได้ ตอนนี้เรากำลังเว้นโน่น เว้นนี่ กำลังเป็นเราที่ไม่ชอบ ตรงนั้นตรงนี้ ใช่ไหม ซึ่งความจริงรู้ว่าแม้ขณะที่กำลังนั่ง แล้วก็ฟังก็ยังมี อกุศลจิตอย่างโน้นอย่างนี้เกิดบ้าง นั่นก็ถูกว่าแต่ก่อนนี้ซึ่งไม่เคยรู้ ใช่ไหม แล้วก็พร้อมกันนั้นต้องรู้ด้วย เป็นสิ่งที่จะต้องรู้จริงๆ ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เพียงแต่จำชื่อว่า เป็นธรรม

    ผู้ฟัง การที่จะศึกษาธรรม จะต้องศึกษาเรื่องราวมากขนาดไหน ตรงนี้ก็จะเป็นอย่างนี้หรือเปล่า ท่านอาจารย์ คือหมายความว่า เราจะไม่ศึกษาเรื่องที่พระพุทธเจ้า ท่านตรัสรู้ เป็นไปไม่ได้เพราะเรา ต้องศึกษาตาม แต่มันจะมีเหตุจำกัดด้วย ใช่ไหมว่า ไม่ใช่เอาแต่เรื่องราว จะต้องแยกแยะให้ถูกว่า ตรงไหนที่เราจะรู้ได้ด้วย แล้วตรงไหนที่ว่าเรารู้ไม่ได้ อยากให้ท่านอาจารย์ช่วยพูดสรุป ตรงนี้หน่อย เพราะตรงนี้ รู้สึกว่าเป็นเรื่องสำคัญ ทีเดียวสำหรับการที่จะศึกษาผิด หรือศึกษาถูก

    ท่านอาจารย์ ก็เริ่มตั้งแต่จักขุ รู้ได้ไหม มีก็จริง แต่ว่ารู้ได้ไหม

    ผู้ฟัง รู้ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ รูปมีจริง รู้ได้ไหม

    ผู้ฟัง นี่ ตรงนี้ท่านอาจารย์ รูป เหมือนกับรู้ได้

    ท่านอาจารย์ เหมือนกับหรือว่าปรากฏให้รู้ว่า มี มีลักษณะที่ปรากฏให้รู้ เป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะฉะนั้น ก็ตั้งต้นจากสิ่งที่รู้ได้ แล้วก็แล้วแต่ว่าสติปัญญา กำลังความสามารถ เมื่อรู้ จะรู้ได้อะไรบ้าง

    ผู้ฟัง ถ้าเราจะเรียนเรื่องที่ว่าที่พระพุทธเจ้า ท่านตรัสรู้ก็ ควรที่จะต้องรู้ไว้ด้วย แต่ว่าตรงนั้นมันไม่ใช่ว่าเราจะไปจำตรงนั้น ซึ่งมันไม่ได้ประโยชน์ กับในขณะนี้ที่ปรากฏ

    ท่านอาจารย์ เห็นความต่าง พระปัญญาคุณกับ ปัญญาของเรา ไม่ใช่ว่าไม่มีความต่างระหว่างพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า กับเราใช่ไหม เพราะฉะนั้น พระองค์ทรงตรัสรู้ ทรงแสดงอย่างไร แล้วใครก็ต้องเป็นผู้ที่ตรงที่จะรู้ว่า จะรู้ได้แค่ไหน แต่ข้อสำคัญที่สุดก็คือว่า ตั้งต้นที่ไหน ที่จะรู้

    ผู้ฟัง ตรงนี้ ดิฉันก็ต้องกราบท่านอาจารย์จริง ถ้าดิฉันมาศึกษา ก็ไม่ทราบว่าตรงไหนจะเป็นข้อที่จะรู้ได้ ตรงนี้ไม่ทราบจะกราบท่านอาจารย์ อย่างไร เพราะว่าที่ท่านอาจารย์นำมา ให้รู้ตรงนี้ มันก็อบรมที่จะให้เข้าถึงได้ เข้าใจได้ทีละนิดทีละหน่อย

    ท่านอาจารย์ แล้วที่ว่ารู้ได้ก็เพราะว่าปรากฏให้รู้ ถ้าไม่ปรากฏ เราจะไปรู้ได้อย่างไร ใช่ไหม แล้วก็สิ่งที่ปรากฏแท้ๆ ไม่รู้แล้วจะคิดไปรู้สิ่งที่ยังไม่ได้ปรากฏ ให้รู้ได้ ก็เป็นไปไม่ได้

    ผู้ฟัง จะถามเหมือนกันว่า ขัดข้อง กับวุ่นวาย กับสงสัย มันจะไปด้วยกันได้ไหม ๓ คำนี้

    ท่านอาจารย์ เมื่อกี้นี้สัก ๕ นาทีหรือ๑๐ นาทีก่อน วุ่นวายไหม ทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางลิ้นนี้ก็วุ่นวาย ใช่ไหม นี่ดี หรือนั่นดี จะทำอย่างไร มีตั้งหลายอย่าง

    จริงๆ ถ้าเราไม่เคยรู้เลย ว่าเป็นความวุ่นวายๆ ไปด้วยความไม่รู้ แล้วก็ไม่รู้ด้วยว่า วุ่นวาย เพราะขัดข้อง คือไม่รู้ แล้วก็มีความอยากหรือมีความต้องการ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ตรัสรู้ และทรงแสดงพระธรรม เห็นสภาพธรรม ตามความเป็นจริงในสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น และไม่รู้ เวลาที่เราไม่ได้ฟัง เราก็ไม่รู้ว่าเราวุ่นวาย ใช่ไหม ชอบ อยากจะเป็นอย่างนั้นอยากจะทำอย่างนี้ เรื่องอยากมามากแล้วก็วุ่นวาย ไปตามความอยากเท่าไร นี่เราก็ไม่รู้เลย ว่าแท้ที่จริง วันหนึ่งๆ วุ่นวายอยู่ตลอด ด้วยอกุศลด้วยความไม่รู้ พอมีผู้ที่ชี้ เราก็พอที่จะเริ่มเห็นว่า ชีวิตของเราในสังสารวัฏฏ์ วุ่นวายทุกวัน เกิดมาแล้วที่จะไม่วุ่นวาย คงเป็นไปไม่ได้เลย เพราะเหตุว่ามี ความจำ ในสิ่งที่ปรากฏ แล้วก็มีความต้องการ แล้วก็มีความขวนขวาย ตราบใดที่ยังมีกิเลสอยู่ ก็ยังต้องวุ่นวายอยู่ แล้วก็เมื่อไรที่กิเลสค่อยๆ ลดลงไป ความวุ่นวายก็ลดลงไป แต่ทุกคนจะเป็นความวุ่นวายมากๆ ของตัวเอง คนที่มีกิเลสมาก พอที่จะเห็นความวุ่นวายของตัวเองมากไหม วุ่นวายในเรื่องเสื้อผ้ามาก วุ่นวายในเรื่องอาหาร วุ่นวายในเรื่องผม วุ่นวายในเรื่องบ้าน วุ่นวายไปหมดทุกเรื่อง ถ้าไม่มีใครบอกไม่รู้ตัวเลยว่าวุ่นวายอยู่ตลอด อยากวุ่นวายไหม หรือชักจะเบื่อ

    ผู้ฟัง ฟังไปฟังมา คำพวกนี้ รู้สึก มันแยกกันไม่ออก

    ท่านอาจารย์ เป็นชีวิตจริง

    ผู้ฟัง มันรวมกันไปหมดเลย

    ท่านอาจารย์ เป็นความไม่รู้

    ผู้ฟัง โทสะ ทุกอย่างอยู่ในนี้หมด เพราะฉะนั้น มันก็น่าจะ หมายความ ทั้งเบื่อหน่ายด้วย ทั้งรำคาญใจด้วย ทั้งสงสัยด้วยว่าเราจะไปอย่างไรต่อไป จะทำอย่างไรดีต่อไป ผมก็สงสัยไปอีก

    ท่านอาจารย์ หายขัดข้องหรือยัง

    ผู้ฟัง ก็ยังขัดข้องอยู่อีก

    ท่านอาจารย์ ยังขัดข้องอยู่จนกว่าจะรู้หนทางแล้วค่อยๆ อบรมทางที่ถูก ถ้ารู้ว่าเป็นทางถูกจะไม่ขัดข้อง แต่ก็จะต้องอบรมไปจนกว่าจะดับสนิท เป็นสมุจเฉท

    ผู้ฟัง ก็ต้องจับด้ามมีดไป

    ท่านอาจารย์ แน่นอน แล้วก็ไม่ต้องคำนึงถึงเวลาเลย วันไหนเมื่อไรก็แล้วแต่ หนึ่งขณะจิตรู้ หรือไม่รู้สิ่งที่กำลังปรากฏ พิจารณาที่ไหน

    ผู้ฟัง ปสาททั้ง ๖ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

    ท่านอาจารย์ ที่ตัวเอง ใช่ไหม ให้รู้จริงๆ ว่าข้อความที่ตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นทุกข์ สำหรับเรา เป็นสิ่งทั้งปวงหรือยัง คือแม้แต่พยัญชนะนิดหน่อย เล็กๆ น้อยๆ ก็ไม่ข้าม ว่าสำหรับเราอะไรเป็นทุกข์ สักอย่างหนึ่งหรือเปล่า หรือสัก ๒ อย่าง แต่นี่สิ่งทั้งปวง หมายความว่า ทุกอย่าง ก็เป็นเครื่องที่เราจะทราบได้ ว่า ถ้าเป็นทุกข์ก็หมายความว่ามีความเข้าใจถูกขั้นฟังแน่นอน เข้าใจว่าสิ่งที่เกิดดับ เป็นทุกข์ แต่ขั้นที่จะรู้ในลักษณะ ที่เกิด มีลักษณะปรากฏ เพราะเกิดแล้วดับด้วย นั่นก็ต้องแล้วแต่ว่า การอบรมเจริญปัญญา ถึงระดับไหม แต่ว่าตามความเป็นจริงที่แน่นอน คือ ทุกอย่างที่เกิดดับ ขณะนี้ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเครื่องวัด ความรู้ความเข้าใจของเราเอง ถ้าเราจะทำ หรือเราจะอยาก หรือเราจะอะไรก็ตาม ตรงนั้นเป็นอนัตตาหรือเปล่า เป็นอัตตา หรือ เป็นอนัตตา

    ผู้ฟัง เป็นอัตตาอยู่

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็ยังไม่ใช่สิ่งทั้งปวง แค่สิ่งทั้งปวงขั้นฟัง แต่ยังไม่ใช่สิ่งทั้งปวงที่มีสติสัมปชัญญะ ระลึกรู้จริงๆ จนกว่าจะประจักษ์แจ้ง เป็นวิปัสสนาญาณ สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่ง ไม่ใช่เพียงขั้นฟัง แต่ต้องถึงขั้นประจักษ์ที่เป็นญาตปริญญา ได้แก่ นามรูปปริจเฉทญาณ ปัจจยปริคคหญาณ แล้วก็ปัญญาขั้นอื่นๆ ก็เจริญขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะขาดปัญญาขั้นต้น เป็นไปได้ไหม ที่ปัญญาขั้นต่อไป จะมีโดยไม่มีปัญญาขั้นต้นอยู่ด้วย

    เพราะแม้แต่สภาพธรรม ที่ประจักษ์ในความเกิดดับแล้ว ก็จะต้องเป็นสภาพธรรมที่เป็นนามรูปปริจเฉทญาณ ปัจจยปริคคหญาณ สัมมนัสญาณนั่นเอง เพราะเหตุว่าเป็นลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม ซึ่งเมื่อรู้แล้วก็จะมีความรู้ยิ่งขึ้นในลักษณะนั้น สามารถที่จะหยั่งถึงความจริงของสภาพธรรมนั้น ชัดเจนขึ้นด้วย แต่ก็ไม่ใช่สภาพธรรมอื่น ก็เป็นสภาพธรรมที่ประจักษ์ ในนามรูปปริจเฉทญาณ ปัจจยปริคคหญาณ สัมมนัสญาณ และญาณอื่นๆ ต่อๆ กันไป

    ผู้ฟัง ที่ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นทุกข์ ขณะนี้ ทุกวันนี้ เรื่องที่มันไม่ดี ถึงจะว่าเป็นทุกข์ เรื่องที่มันชื่นใจ อะไรดีใจ มันก็ยังไม่เข้าใจว่ามันเป็นทุกข์ได้

    ท่านอาจารย์ เที่ยงไหม

    ผู้ฟัง มันก็ไม่เที่ยง

    ท่านอาจารย์ นั่นแหละ คือทุกข์

    ผู้ฟัง ตรงนี้ก็คือขั้นเข้าใจไปก่อนว่า จะดี หรือจะร้าย ก็เป็นเรื่องของทุกข์ทั้งนั้น

    ท่านอาจารย์ มิฉะนั้นแล้วสละไม่ได้เลย ก็ยังคงติดอยู่ในสุขเวทนา โสมนัสเวทนา หรือในสิ่งที่น่าพอใจ แต่ต้องเห็นว่าแม้สิ่งน่าพอใจ ก็ไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปด้วย นี่เป็นปัญญาที่ต้องเห็นว่าเป็นนามธรรม และรูปธรรม จึงจะเห็นว่าวุ่นวาย

    ผู้ฟัง มันถึงนึกไม่ออกไง ว่ามันทำไมเป็นอย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เวลานี้ถ้าเราบอกว่าวุ่นวาย ก็ยังเป็นเรา เป็นเขา เป็นเรื่อง แต่ว่าเป็นตัวของสภาพธรรม ที่เกิดดับ ไม่มีใครเลย แต่แม้กระนั้นก็วุ่นวาย ไปทางใจ หลังจากที่เห็นแล้ว ทางตา ทางใจนี้ปรุงแต่งเสร็จสรรพ วุ่นวายมากมาย เพราะฉะนั้น เป็นการรู้สภาพธรรม ที่มีจริงๆ แต่ไม่เคยรู้มาก่อน เพราะว่าก่อนที่จะรู้ว่าเป็นนามธรรม และรูปธรรม เป็นเรื่องวุ่นวาย แล้วก็เป็นเราวุ่นวาย แต่เวลาที่รู้ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม แล้ว ไม่ใช่เพียงแต่ เป็นวิปัสสนาญาณ หรือว่าเป็นพระโสดาบัน ยังเห็นความวุ่นวายที่จะต้องละ จนกว่าจะดับหมดถึงความเป็นพระอรหันต์ เพราะฉะนั้น ก็ไม่ใช่ว่าเราเรียนตามความคิด แต่นี้เป็นปัญญาที่ รู้อย่างนั้น ตามความเป็นจริง คุณบงก็ส่องกระจกบ่อยๆ ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ส่องทุกวัน วันละหลายหน

    ท่านอาจารย์ เห็นอะไร

    ผู้ฟัง ถ้าจะพูดโดยปกติก็คือ หน้าตัวเอง

    ท่านอาจารย์ ยากไหม ที่ใครจะเห็นอวิชชา ความไม่รู้ อาจจะเห็นฝ้า อาจจะเห็นจุดด่างดำ แต่ขณะนั้นที่กำลังห็นจุดด่างดำ หรือที่กำลังเห็นฝ้า เป็นอกุศล หรือเป็นกุศล เพราะฉะนั้น ยากจริงๆ ที่จะเห็นอกุศล แม้ว่าจะส่องกระจก ก็จะต้องเห็นจุดด่าง จุดดำ ด้วยอกุศล เพราะฉะนั้น ธรรมนี้เหมือนแว่น สำหรับส่อง แต่ไม่ใช่ว่าส่องเห็นจุดด่างดำ แต่เห็นสภาพของจิต ซึ่งจิตของเราในวันหนึ่งๆ จะมากด้วยอะไร

    ผู้ฟัง แต่จากที่ฟังท่านอาจารย์กล่าว เปรียบเทียบแล้วว่า ส่องกระจกก็ไม่มีเรา มันก็เข้าใจได้ตรงนี้

    ท่านอาจารย์ แล้วตอนนั้นเห็นอวิชชาไหม ส่องกระจกเห็นอวิชชาไหม

    ผู้ฟัง ไม่เห็น

    ท่านอาจารย์ หน้าตา อวิชชา เป็นอย่างไรหรือ ปรากฏในกระจกแล้วก็หน้าตา อวิชชาเป็นอย่างไร ความจริง คือในขณะนั้น ไม่รู้ตามความเป็นจริง จึงเป็นเราในกระจก แล้วถ้าไม่มีกระจก ก็ยังคงเป็นความไม่รู้อยู่ ถ้ามีความเข้าใจธรรมถูกต้องเมื่อไร ขณะไหนก็ตาม จะเป็นเห็น จะเป็นได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส คิดนึก ขณะนั้นก็มีจุดด่างดำ คืออกุศล เพราะความไม่รู้

    ผู้ฟัง เวลาส่องก็เห็นว่าเป็นเรา ก็จะพยายามที่จะดู อะไรมันไม่สวย แต่พอระลึกถึงที่ท่านอาจารย์กล่าวว่ามันไม่มีอะไรนะ เป็นแต่สิ่งที่ปรากฏทางตา มันก็ค่อยๆ เข้ามาทีละนิดทีละหน่อย

    ท่านอาจารย์ นี่ก็เป็นความถูกต้อง เพราะเหตุว่าเราได้ฟังธรรมมามาก แต่ถึงขณะที่มีปัจจัยที่จะทำให้ มีความเข้าใจถูกเกิดขึ้นหรือยัง วันนี้ก็กลับไปส่องกระจก จะมีการปรุงแต่งที่จะทำให้เห็น โลภะ ในขณะที่เห็นอะไรในกระจกหรือเปล่า หรือว่า เห็น โทสะ ในขณะที่ เห็นอะไรในกระจกหรือเปล่า ก็เป็นเรื่องที่เป็นปกติในชีวิตประจำวัน ซึ่งปัญญาจะค่อยๆ เจริญขึ้นแล้วจะมีสักกี่ครั้ง ที่เห็นแล้วก็รู้ว่าขณะนั้น เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ มิฉะนั้นแล้วก็เป็นอวิชชาตลอด

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ก็เคยกล่าวไว้บอกว่า เราจะทำอะไรก็ได้ เช่น อย่างดูละคร สภาพธรรมก็มีปรากฏอยู่ แต่จริงๆ แล้วมันก็สู้ฟังธรรมไม่ได้ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ในขณะที่ดูละครหรือ หรือในขณะไหน

    ผู้ฟัง ขณะที่ดูละคร มันก็มีโลภะ มีอะไรทั้งนั้น

    ท่านอาจารย์ แต่สู้ไม่ได้ๆ ตอนไหน ตอนที่กำลังดู หรือเพียงแต่ความคิด

    ผู้ฟัง ดิฉันเข้าใจว่าเนื้อหา ที่เราได้ยิน มันต่างกัน ตรงนี้หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ แต่ทีนี้ ที่เราจะมีความเห็น สู้ไม่ได้ เราเห็นในขณะที่เรากำลังดู สนุกๆ หรือว่าเมื่อไร

    ผู้ฟัง เปล่าเลย ตรงนั้น แพ้มัน ชอบมัน ไม่อยากให้จบ อะไรประเภทอย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ แล้วใครจะดูหรือไม่ดู ตอบเดี๋ยวนี้ได้ไหม หรือต้องถึงเวลานั้นแล้วก็รู้เอง

    ผู้ฟัง ก็เข้าข้างตัวเองว่าดูไปเถอะ แล้วเราก็เจริญสติได้ อะไรอย่างนี้

    ท่านอาจารย์ เข้าข้างตัวเอง ขณะนั้น เป็นอะไร เห็นไหม กว่าจะรู้ทั่ว อย่าลืมคำว่าทั่ว เป็นอะไรก็เป็นอย่างที่มีปัจจัย ปรุงแต่ง ให้คิด ให้ทำ แม้แต่คิดว่าจะทำขณะนั้นก็ปรุงแต่งให้คิดว่าจะทำ ต้องรู้ตามความเป็นจริงว่า ไม่ใช่เรา จะคิดอะไรก็คิดไป แต่ความจริงก็คือสภาพธรรมที่คิด

    ผู้ฟัง ก็คือต้องรู้ ทั่วตรงนี้เอง

    ท่านอาจารย์ ถ้าคุณบงจะไปนั่ง พยายามแสนสาหัสเลย ที่จะรู้ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม แล้วก็เหมือนรู้ แต่เวลาที่ดูโทรทัศน์ วันไหนจะรู้ว่าไม่ใช่เรา

    ผู้ฟัง ก็ยังมีวัน ที่จะรู้ได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า จะอย่างไรก็ตามแต่ ทั้งหมดคือต้องรู้ทั่วตามเหตุตามปัจจัย ที่สะสมมา ที่จะเป็นอย่างนั้นในขณะนั้น ในขณะนั้นสะสมมาปรุงแต่ง ที่จะให้เป็นอย่างไรเกิดแล้ว ก็รู้ในสิ่งที่เกิดแล้วนั่นแหละ ไม่ใช่ไปพยายามพากเพียรที่จะไม่รู้ในสิ่งที่เกิดแล้ว แม้แต่ความคิดจะคิดอะไรก็แล้วแต่ ขณะนั้นก็มีปัจจัยปรุงแต่งให้ คิด ก็รู้ในลักษณะที่กำลังเป็นอย่างนั้นว่า เป็นสภาพธรรม ที่ไม่ใช่เรา

    ผู้ฟัง พอดีท่านอาจารย์พูดถึงเรื่องว่า ถ้าจะไปนั่ง อะไรอย่างนี้ พอดีได้ฟังเทป แล้วก็รู้สึกชอบใจที่ท่านอาจารย์ตอบ คือก็คงจะเคยนั่งสมาธิกันมาก่อน แล้ว เสร็จแล้วก็เข้าใจธรรมของท่านอาจารย์ บ้างว่า หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ เขาก็บอก ถ้าเข้าใจอย่างนั้นก็ไปนั่งก็ได้ แล้วอะไรเกิดก็ระลึก แต่คำตอบของท่านอาจารย์คือบอกว่า มันช้าไป

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวก่อน ก็ได้ แล้วชีวิตจริงๆ เป็นอย่างนั้นหรือเปล่า แล้วชีวิตจริงๆ ที่กำลังอ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ เมื่อไรจะรู้ว่าขณะนั้นไม่ใช่คุณบุษบง มีทางไหม ในเมื่อไปรู้เฉพาะตอนนั้น เงียบๆ นั่นแหละ แล้วอยู่ตรงนั้นแหละถึงจะรู้ พอออกมาสักนิดหนึ่งก็ไม่รู้แล้ว อย่างนี้ชื่อว่าทั่วไหม ชื่อว่ารู้จริงๆ หรือเปล่า แล้วความเพียรที่เหมือนมีไฟบนศีรษะ ตอนไหน ขณะไหนที่เปรียบเหมือนมีไฟไหมบนศีรษะ

    ผู้ฟัง ทุกขณะ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้เอง ถ้ารู้อย่างนี้สติระลึก นั่นคือเป็นผู้ที่รู้ แต่ถ้าเป็นผู้ที่ไม่รู้ ไฟไหม้ก็พาไปทั้งไฟไหม้ ไปไหนก็แล้วแต่ ก็คิดว่าจะไปดับตรงโน้น ตรงนี้ ใช่ไหม

    ผู้ฟัง พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลาย ว่าถ้ารู้อย่างนี้ว่าเรามีอภิชฌาอยู่โดยมากเป็นต้น จนถึง เรามีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่ โดยมากดังนี้ไซร้ ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ เป็นต้น ทำไมต่างจากใน สติปัฏฐานสูตร

    ท่านอาจารย์ เมื่อไร ลองทวนประโยคนี้อีกที แล้วจะรู้ว่าเมื่อไร

    ผู้ฟัง ก็คือขณะนั้น

    ท่านอาจารย์ ขณะที่รู้ ใช่ไหม แล้วก็ต่อไปทำความเพียรเมื่อไร เดี๋ยวนั้นหรือต้องรอ ก็ต้องขณะที่สติปัฏฐานเกิดระลึกทันที ถึงจะเป็นความเพียรที่จะละ

    ผู้ฟัง ตามสำนวนพระสูตรเหมือนกับว่า จะไปทำ

    ท่านอาจารย์ เพราะเข้าใจผิด ใช่ไหม แต่ถ้ารู้ว่าขณะใดที่รู้ ก็ระลึก แล้วก็ละ ขณะนั้นทันที ไม่ต้องไปรอคอยเลย ถึงจะเหมือนกับไฟไหม้บนศีรษะ

    ผู้ฟัง เพราะว่าท่านมีศัพท์ตั้งหลายศัพท์ ตั้งแต่ความพอใจ ความพยายาม อุตสาหะ

    ท่านอาจารย์ มีฉันทเจตสิกไหม มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมกันไหม มีปัญญาเจตสิกไหม ในขณะนั้น ที่สติสัมปชัญญะ เกิดระลึก ไม่ต้องไปขณะอื่นเลย ขณะนั้นแหละ ก็รู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ถ้าจะเพียรทำไมต้องรอ เพียรทันที ระลึกทันที

    ผู้ฟัง ควรจะทันที

    ท่านอาจารย์ มิฉะนั้นก็จะคิดว่าไปทำ ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่ ทีนี้ท่านจะมีศัพท์ต่อมาว่า สติสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง ในที่นี้หมายถึงอะไร

    ท่านอาจารย์ ก็หมายความว่าเห็นคุณของสติสัมปชัญญะ ถ้าขณะใดที่สติสัมปชัญญะเกิด หมดไปห้ามได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ แต่สามารถที่จะเข้าใจได้ไหมว่าคุณประโยชน์ ของสติสัมปชัญญะ คือขณะที่กำลังระลึกลักษณะ ก็อบรมให้มีมากขึ้น

    วิทยากร เรื่องความเพียรนี้ อาจารย์ พูดเมื่อกี้นี้ความจริงวัฏฏสงสาร เรา ยาวมานานแล้ว เราก็ยังปล่อยอยู่อย่างนั้น เพราะฉะนั้น ต้องเดี๋ยวนี้

    ผู้ฟัง ขณะนี้เราศึกษาเรื่องของธรรมแล้ว แล้วเราก็จำเป็นที่จะให้เจริญต่อไปอีก หรือว่าเป็นเรื่องของธรรมที่เขาจะมีเหตุปัจจัยให้เจริญของเขาเอง

    ท่านอาจารย์ ต้องไม่ลืมว่า ไม่มีเราเลยสักขณะเดียว แล้วถ้ามีธรรมก็คือ จิต เจตสิก รูป สำหรับเจตสิกก็ต้องเกิดกับจิต ไม่ใช่เราเลย ไม่ว่าจะเป็นวิริยะ ไม่ว่าจะเป็นฉันทะ หรือว่าไม่ว่าจะเป็นฝ่ายอกุศลธรรมก็เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้น แม้แต่ในขณะนี้ที่กำลังฟัง ความเข้าใจโดยแยบคาย จะมากน้อยสักแค่ไหน ก็ต้องเกิดขึ้นเพราะะเหตุปัจจัย แล้วก็มีสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เมื่อพิจารณาอยู่ รู้อยู่ว่าเป็นผู้ที่มี อภิชฌาอยู่โดยมาก ไม่ใช่เพียงแต่ชื่อ แล้วเราก็กล่าวรวมๆ ว่า เรามีอภิชฌามาก เรามีโลภะมาก อย่างนั้นใครๆ ก็รู้ ใช่ไหม แต่ที่จะรู้จริงๆ ก็คือเมื่อลักษณะนั้นกำลังมีปรากฏให้รู้ ในขณะนั้นจึงรู้ว่า มีลักษณะของสภาพธรรมนั้น ซึ่งใช้คำว่า อภิชฌา

    ผู้ฟัง ในขณะที่เป็นสภาพธรรม ที่เจริญขึ้นเพื่อรู้สภาพธรรมที่ยิ่งๆ ขึ้นไป ก็เป็นเรื่อง ของสภาพธรรม นั้นเอง

    ท่านอาจารย์ ต้องมีสภาพธรรมปรากฏให้รู้ ไม่อย่างนั้นเราก็กล่าวว่าเรามีโลภะมาก แต่เวลาที่โลภะกำลังเกิด ไม่เห็นรู้เลย ว่าเป็นโลภะ

    ผู้ฟัง อาการของการเจริญ เป็นอย่างนี้ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เมื่อสามารถที่จะเห็นถูก แล้วก็มีการอบรม คือการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้น มีความเข้าใจเพิ่มขึ้น เป็นการเจริญขึ้นของความรู้

    ผู้ฟัง ก็จะไปหวัง ซึ่งคำสรรเสริญของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ไม่ได้เพราะสิ่งนั้นจะต้องเกิดขึ้นเอง

    ท่านอาจารย์ สิ่งที่ดี แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า สรรเสริญแล้ว เราก็ควรที่จะรู้ด้วย ว่าแล้วเราสรรเสริญหรือเปล่า ใช่ไหม ความจริงก็เป็นความจริง ซึ่งทรงตรัสรู้สภาพธรรมทั้งหมดตามความเป็นจริง ควรสรรเสริญสิ่งใด สิ่งนั้นก็ควรสรรเสริญ ไม่ใช่ว่าเพราะพระองค์ตรัส ให้เราสรรเสริญ หรือว่าพระองค์สรรเสริญ เราจึงสรรเสริญ แต่สภาพธรรมเป็นจริงอย่างนั้น ซึ่งก็ควรสรรเสริญ

    ผู้ฟัง แต่มันมีความเพียรที่ เป็นเหมือนไฟเผากิเลส ขณะนี้มันเจริญแล้ว อะไรอย่างนี้

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้มีสภาพธรรม ถ้าสติสัมปชัญญะ ระลึกนั่นคือเจริญ

    ผู้ฟัง แล้วเราก็ยังพอใจว่า นั้นมันเจริญแล้ว

    ท่านอาจารย์ ก็ต้องทั่ว ว่าแม้ความพอใจก็เป็นสภาพธรรม

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ว่าสภาพธรรม เมื่อปรากฏก็รู้ รู้ลักษณะของสภาพธรรม เช่น โลภะปรากฏ ออกมาปุ๊บ ทราบ อันนั้นก็คือการรู้ รู้รอบๆ กับทำให้แจ้งนี่ ลักษณะต่างกันอย่างไร

    ท่านอาจารย์ วิปัสสนาญาณ คือการเห็นแจ้ง ไม่ใช่เพียงแต่การฟังเข้าใจ

    ผู้ฟัง เป็นปัญญาขั้นสูงขึ้นไป ใช่ไหม แล้วก็รู้ยิ่ง แล้วรู้รอบ นี้ก็คือ

    ท่านอาจารย์ ทั้งหมดเป็นวิปัสสนาญาณ

    ผู้ฟัง มันจะแบบว่าละเอียดยิ่งขึ้น กว่ารู้ยิ่งข้อหนึ่ง แล้วก็รู้รอบอีกข้อหนึ่ง

    ท่านอาจารย์ วิปัสสนาญาณมีหลายระดับ

    ผู้ฟัง กราบเรียนถามว่า อย่างเวลาง่วงนอน ง่วงเหงาหาวนอน ถีนมิทธะใช่ไหม ตอนกลาง คืน มันเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ก็ต้องนอน ก็เป็นถีนมิทธะกันหมดทุกคน

    ท่านอาจารย์ ถีนมิทธะ จะเป็นอื่นได้ไหม เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเป็นอื่นนอกจากถีนมิทธะได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ นั่นคือ ความจริง

    ผู้ฟัง เป็นความจริง ก็แสดงว่า ถีนมิทธะ ต้องเกิดกับทุกคน เมื่อง่วงนอน แม้ว่าจะเหน็ดเหนื่อย

    ท่านอาจารย์ ผู้ที่ยังมีกิเลส

    ผู้ฟัง งั้นเราก็ต้องมีกิเลสแน่นอน

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้มีโลภะไหม เห็นไหม เตือนแล้ว ขณะนี้มีไหม แต่ว่ารู้หรือเปล่า

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 108
    25 มี.ค. 2567