ปกิณณกธรรม ตอนที่ 679


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๗๙

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๗


    ท่านอาจารย์ วันก่อนนี้ก็ได้สนทนากับท่านผู้หนึ่ง ที่ท่านก็ ดื่มสุรามาก ในวัยหนึ่ง ท่านก็อธิบาย ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมา หลังจากที่ได้ดื่มสุราแล้ว ก็เป็นเรื่องของอกุศลมากมาย หลายประการ ทุกอย่างจะค่อยๆ มา ตามขณะที่ดื่มสุราจนกระทั่งเมา เพราะฉะนั้น ถ้าเว้นได้ก็เว้น เหตุอันเป็นที่ตั้งของความประมาท

    และดิฉันเองก็ได้เรียนถามท่านว่า แล้ววิธีที่จะงดสุรา ทำอย่างไร เพื่อที่จะได้เป็นประโยชน์กับบุคคลอื่น ท่านก็ได้เล่าให้ฟัง ซึ่งเป็นสิ่งที่ก็คงจะต้องเลิกยากหน่อย แต่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ แต่แม้ในขณะที่มีความรู้ความเข้าใจ ในพระธรรม ความตั้งใจจริงๆ ก็มี ก็เป็นส่วนหนึ่ง ที่จะทำให้เลิกได้ แต่ถ้าเป็นผู้ที่ได้ฟัง พระธรรมยิ่งเห็นโทษ ก็ยิ่งจะรู้ว่า สิ่งใดที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง สิ่งนั้นต้องเป็นความจริง แล้วผู้ที่ดื่มสุรา ก็ได้กล่าวถึงความจริงอันนี้ด้วย ก็เป็นที่ตั้งของความประมาทต่างๆ

    ผู้ฟัง จากที่กล่าวว่า การที่เราจะเชื่อพระโพธิญาณของ พระพุทธเจ้า จะมีข้ออะไร ในเริ่มๆ แรกๆ ที่เราจะพิสูจน์ว่า คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ น่าที่จะประพฤติปฏิบัติตาม

    ท่านอาจารย์ ถ้าอ่านพระไตรปิฎก ไม่ว่าจะพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม พิจารณาว่าสิ่งที่อ่าน เป็นความจริงหรือไม่

    ผู้ฟัง สิ่งที่อ่านเป็นความจริงหรือเปล่า ถ้าในเบื้องต้นก็คงเป็นลักษณะของ แค่ศีล ๕ หรือ

    ท่านอาจารย์ เป็นความจริงก็แสดงว่าผู้ที่กล่าว เป็นผู้ที่ตรัสรู้ความจริง ซึ่งไม่มีใครสามารถที่จะแสดงได้อย่างแจ่มแจ้งชัดเจนเท่า

    ผู้ฟัง เมื่อวานนี้เอง ดิฉันฟังวิทยุ ก็มีคนโทรศัพท์ เข้ามาถามว่า กาเมสุมิจฉาจาร มันอยู่ในข้อ ๓ หรือข้อ ๔ ลักษณะอย่างนี้ มันลักษณะก็ไม่ได้เข้าใจในเนื้อแท้ของคำสั่งสอน

    ท่านอาจารย์ พระพุทธศาสนา ไม่ใช่สำหรับเพียงอ่าน ต้องไตร่ตรอง พิจารณาข้อความที่ได้อ่าน กับสภาพธรรม ตามความเป็นจริง จึงสามารถที่จะรู้ได้ว่าทรงแสดงสภาพธรรมที่เป็นจริง ไม่ใช่เพียงแต่จำชื่อ แล้วก็ รู้ว่าเป็นศีลข้อไหน

    ถ้ามีศรัทธาแล้ว แล้วก็มีศีลแล้ว ควรจะพอหรือเปล่า หรือว่าควรจะถึงการกระทำที่เป็นกุศลขั้นต่อไป คือ จาคะสัมปทา เพราะเหตุว่า ถ้ารู้ว่าเราติดในทรัพย์สมบัติ ในสิ่งต่างๆ ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรสมากมาย แล้วเมื่อไร จะสละได้ ถ้าไม่มีการอบรมที่จะสละ เพื่อสิ่งที่เป็นประโยชน์ กับบุคคลอื่น ผู้ที่เห็นประโยชน์ก็จะมีการให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลอื่นด้วย

    นี่เป็นเหตุที่มีคนกล่าวว่าคนไทยเราก็เป็นคนที่มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้อย ก็ให้น้อย อย่างคนที่เขามีน้อย เขาก็สามารถที่จะสละ สิ่งที่เขามีน้อยให้เพื่อนบ้าน ที่มีน้อยกว่าได้ นี่ก็แสดงให้เห็นถึงการสะสม ถึงอุปนิสัย ซึ่งจะเห็นได้ว่า การสละวัตถุ ก็ยังเป็นสิ่งที่ ถ้าเปรียบเทียบกับการสละ ความเป็นเรา หรือความเป็นตัวตนแล้วการสละวัตถุนั้นง่ายกว่า แต่คนที่ยังสละยากอยู่ ก็พอที่จะพิจารณาตัวเอง ได้ว่ายังมีกิเลสที่หนาแน่นมากเพียงใด เพราะฉะนั้น ก็เมื่อมีศรัทธาแล้ว ก็มีศีล และมีจาคะ แต่ที่สำคัญที่สุด ที่เป็นผู้ที่นับถือพุทธศาสนา ก็คือว่าต้องศึกษาจนกระทั่งเกิดปัญญา มิฉะนั้นแล้วก็ไม่มีทางใดที่จะบรรเทา หรือว่าดับกิเลสได้เลย

    ข้อที่ว่า ก็ปัญญาสัมปทา เป็นอย่างไร มีข้อสงสัยไหม บุคคลมีใจ อันอภิชฌาวิสมโลภะ ครอบงำแล้ว ย่อมทำการที่ไม่ควรทำ ลืมไปเลย ว่าการที่ไม่ควรทำนี้ คืออะไร ใช่ไหม แต่ถ้าไม่ผ่าน อย่างที่คุณบุษบงรำไพ กล่าว ย่อมทำการที่ไม่ควรทำ ก็คืออกุศลกรรมทั้งหลาย ที่ไม่ควรทำ ๕ ข้อนี่ ทำบ้างหรือเปล่า ขณะใดที่มีใจ อัน อภิชฌาวิสมโลภะ ครอบงำแล้ว ย่อมทำการที่ไม่ควรทำ

    ผู้ฟัง ถีนมิทธะ อุทธัจจะ กับวิจิกิจฉา ช่วยแสดงด้วย

    ท่านอาจารย์ นี่ก็เป็นเรื่องของปัญญาแล้ว ไม่ใช่เรื่องของศีล ถ้าเรื่องของศีลก็คือว่า ทำให้คนอื่นเดือดร้อน เป็นทุกข์ แต่ว่าสำหรับเรื่องของปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาแม้ว่าไม่ได้ทำให้คนอื่นเดือดร้อน เป็นทุกข์ แต่เราเอง เป็นอกุศล เพราะฉะนั้น ก็ควรที่จะได้พิจารณา โลภะเป็นของธรรมดาเหลือเกิน ไม่ได้ปรากฏด้วยซ้ำ อย่างตื่นขึ้นมามีโลภะไหม ถ้าไม่ศึกษาจะไม่ทราบเลยว่ามีแล้ว เพราะฉะนั้น ก็คิดว่าตัวเองไม่มี ขณะนั้น ไม่ใช่วิสมโลภะ เพราะว่าไม่ปรากฏที่จะทำให้เรา เห็นโลภะ ตามความเป็นจริง เพราะว่าขณะนั้น ก็เหมือนไม่ได้ทำร้ายใครเลย ตื่นขึ้นมา ล้างหน้า แปรงฟัน อาบน้ำ แต่งตัว ไม่ได้ทำความเดือดร้อนเลย ก็เป็นโลภะ ที่ทุกคนมี ไม่ถึงวิสมโลภะ แต่ที่จะรู้ว่าเป็นโลภะ ที่เป็นวิสมโลภะ ก็ต้องขยับขึ้น ให้เห็นความเป็นโลภะขึ้น มิฉะนั้นแล้วก็เป็น โลภะที่เป็นปกติเป็น สมโลภะที่ทุกคนก็มีเป็นประจำ

    เพราะฉะนั้น ที่จะเข้าใจ วิสมโลภะ ก็ต้องเป็นปัญญาด้วย ที่กล่าวว่า บุคคลมีใจ อันอภิชฌาวิสมโลภะ ครอบงำแล้ว ย่อมทำการที่ไม่ควรทำต่างจากศีลมาเป็นชีวิตประจำวัน สิ่งที่ควรทำก็ไม่ทำ มีไหม ในบ้าน แม้เล็กๆ น้อยๆ ให้คนอื่นทำ ได้ไหม เพราะว่าเราจะได้สบาย หรือว่าคนอื่นเขาทำให้ก็ได้ อย่างนี้ก็หมายความว่า ย่อมทำการที่ไม่ควรทำ ธรรมนี่ก็เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก ยิ่งมีการเข้าใจธรรมถูกต้อง ก็ยิ่งเห็นกิเลสของเราเอง แล้วก็รู้ว่า ไม่มีใครที่จะทรงพระมหากรุณา แสดงพระธรรมอย่างละเอียด เพื่อตัวเราจะค่อยๆ ดีขึ้น ทั้งในเรื่องของศรัทธา ในเรื่องของศีล ในเรื่องของจาคะ และในเรื่องของปัญญา

    เพราะฉะนั้น การที่จะรู้ว่า วันนี้มีสิ่งที่ไม่ควรทำ แต่ได้ทำไปแล้ว ต้องเป็นผู้ที่ละเอียดขึ้น ใช่ไหม ขณะนี้ ตามคิดได้ไหม เมื่อเช้านี้ ทำอะไรบ้างที่ไม่ควรทำ แม้เล็กนิดเดียว แต่ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ และละเลยกิจที่ควรทำ ก็มีทั้ง ๒ อย่าง สิ่งที่ไม่ควรทำก็ทำไปแล้ว และสิ่งที่ควรทำก็ไม่ได้ทำ อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ ให้เห็นความละเอียดว่า เพราะอะไร เพราะ วิสมโลภะ ซึ่งมองเห็นได้ สำหรับผู้ที่พิจารณาว่า ขณะนั้นทำให้เกิดการกระทำ ที่ไม่ควร เมื่อทำการที่ไม่ควรทำ ละเลยกิจที่ควรทำเสีย ก็ย่อมเสื่อมจากยศ และความสุข มีใครสรรเสริญคนที่เห็นแก่ตัวไหม ทั้งวันแม้ในบ้าน นอกบ้าน ก็เป็นผู้ที่ ไม่ทำสิ่งที่ควรทำ และละเลยกิจที่ควรทำ

    เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ จากบุคคลที่อยู่รอบตัวเรา ทำไมคนนี้เป็นที่รัก ที่เคารพ ที่เลื่อมใส ที่อยากจะเป็นตัวอย่างที่จะตาม แต่บางคนก็เห็นหน้า เห็นการกระทำ เห็นคำพูด ก็คิดว่าไม่ควรที่จะทำสิ่งนั้น แต่ก็ทำ นี่ก็คือเป็นเรื่องของการที่จะมีปัญญาที่พิจารณาเพื่อ ตัวเองจะได้ขัดเกลา แล้วก็ทั้งหมดนี่เป็นเรื่องของปัญญาที่ค่อยๆ เห็นอกุศล ละเอียดขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า ถ้าเป็นบุคคลที่เห็น แก่ตัวอย่างมากทีเดียว ย่อมเสื่อมจากยศ และความสุข มีใครจะเอื้อเฟื้อ เอาน้ำไปให้ เอาขนมไปให้ แล้วก็ช่วยเหลือกิจการแม้เล็กๆ น้อยๆ กับคนซึ่งเป็นผู้ที่เห็นแก่ตัว แล้วก็ไม่ได้ทำสิ่งที่ควรทำ ละเลยสิ่งที่ควรทำ

    นอกจากเรื่องของโลภะ ซึ่งเป็นเหตุ ก็ยังมีใจ อันพยาบาทความโกรธ

    ถีนมิทธะ ที่คุณสุรีย์กล่าวถึงเมื่อกี้นี้ ขณะนี้ ถ้าใครหลับ คนอื่นคิดอย่างไร มาฟังธรรม อุตสาห์มาตื่นแต่เช้า บางท่านก็เดินทางไกล ไกลมาก แต่มาถึงก็หลับถีนมิทธะ จะได้ยศไหม และขณะนั้นเป็นความสุข หรือเปล่า ที่หลับ ขณะหลับไม่ได้เกิดปัญญาที่จะเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริงเลย จะชื่อว่าสุขไหม แต่ชอบ หลังจากที่ตื่นขึ้นมาแล้วก็สดชื่นดี เราได้หลับมาก นี่ก็เป็นเรื่องซึ่งนอกจาก อภิชฌาวิสมโลภะ ก็ยังจะมีสิ่งซึ่ง ทำให้เกิด สภาพธรรมที่ปรากฏเป็นอกุศลที่ขยับขึ้นที่จะให้เห็น นอกจากอย่างที่เป็นปกติธรรมดา อย่างถีนมิทธะ อุทธัจจะ กุกกุจจะ บางคนไม่ลืม เรื่องที่ได้ทำแล้ว ทำไปอาจจะเมื่อวานนี้ หรือเมื่อเช้านี้ หรือเมื่อกี้นี้ก็ตามแต่ ยังคิดถึง

    ดิฉันเองก็มีเรื่องที่ อยากจะพูดถึงเล็กน้อย คือตอนที่ไป เชียงใหม่ที่บ้านธรรม ก็ควรที่จะได้ร่วมรับประทานอาหาร กับ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านท่าน แต่ก็ได้พาหม่อมบงกชปรียา เที่ยวชมบ้าน ก็ลืมคิดว่า ไม่ควรที่จะทำให้ผู้ใหญ่บ้าน ท่านต้องรอ ที่จะรับประทานอาหารด้วย พอรู้สึกก็ กุกกุจจะ รำคาญใจในสิ่งที่ได้ทำไปแล้ว แต่ก็ได้ทำแล้ว

    เพราะฉะนั้น ก็เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า เวลาที่อกุศลจิตเกิด ใครก็ยับยั้งไม่ได้ แม้แต่เพียงเรื่องเล็กน้อย แล้วถ้าเป็นอกุศลกรรมที่มากกว่านี้ จะกุกกุจจะสักแค่ไหน อันนี้ก็เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า อกุศลทั้งหลาย สามารถที่จะปรากฏ ทำให้เราเข้าใจได้ ว่าขณะนั้น ไม่ใช่เป็น สิ่งที่เป็นปกติ แต่ได้ทำสิ่งที่ไม่สมควร

    วิจิกิจฉา ครอบงำแล้ว คนที่ไม่ได้ศึกษาธรรม ไม่ได้ไตร่ตรองธรรม จะเกิดวิจิกิจฉา สงสัย นี่ก็เป็นเรื่องที่ ไม่ใช่เป็นปัญญา เพราะฉะนั้น ขณะนั้นก็มีแต่ความสงสัย พูดที่ไหนก็เป็นแต่เรื่องสงสัย แล้วก็ยังชักชวนคนอื่นให้เกิด ความสงสัยประการต่างๆ เช่น ภูเขาหิมพานต์ มีเท่าไร อะไรอย่างนี้ เป็นเรื่องซึ่งสงสัย หรือเปล่า ที่ถามอย่างนั้น แต่จริงๆ แล้วสงสัยทั้งหมด มาจากสงสัยในสภาวะธรรม เมื่อยังมีความสงสัยในสภาวะธรรม ก็เป็นปัจจัยที่จะทำให้เกิดความสงสัยในเรื่องอื่นๆ ที่ตามมาด้วย

    เพราะฉะนั้น บางท่านก็สงสัยในพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อ่าน มหาปุริสลักษณะ แล้วก็มาวาดภาพ สูงเท่าไร พระบาทเป็นอย่างไร พระหัตถ์เป็นอย่างไร ก็เลยสงสัย ขณะนั้นเขาจะมีศรัทธาในพระปัญญาไหม ในเมื่อมัวไปสงสัยใน เรื่องมหาปุริสลักษณะของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น ก็ไม่ทำสิ่งที่ควรทำ ละเลยกิจที่ควรทำ เมื่อทำการที่ไม่ควรทำ ละเลยกิจที่ควรทำเสีย ก็ย่อมเสื่อมจากยศ และความสุข เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องของปัญญา

    ข้อความที่พระผู้มีพระภาค ตรัสตอบ ไป ก็เป็นเรื่องซึ่งปัญญาเท่านั้น ที่สามารถจะเห็น อภิชฌาวิสมโลภะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต เมื่อใดอริยสาวกทราบว่า อภิชฌาวิสมโลภะ พยาปาท ถีนมิทธะ อุทธัจจะ กุกกุจจะ วิจิกิจฉา เป็นอุปกิเลส แห่งจิตแล้ว ละอภิชฌาวิสมโลภะ พยาปาท ถีนมิทธะ อุทธัจจะ กุกกุจจะ วิจิกิจฉา อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตเสียได้แล้ว เมื่อนั้นอริยสาวกนี้ เราเรียกว่า ผู้มีปัญญาใหญ่ มีปัญญามาก ผู้เห็นคลอง ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา นี้เรียกว่า ปัญญาสัมปทา

    ผู้ฟัง ผล ๔ อย่าง ได้จากเหตุ ๒ อย่าง ได้หรือไม่ จากศีลกับจากจาคะ

    ท่านอาจารย์ ใช่ จากเหตุ ๑ เห็นใด ก็ได้ ไม่ใช่ว่า เมื่อปัญญาสัมปาแล้วก็ จะไม่ได้ทั้ง ๔ ผล

    ผู้ฟัง ทีนี้มันมี มีศรัทธากับปัญญา รู้สึกว่าของลัทธิอื่น เขาจะไม่มี ไม่ถึง ความเป็นพระอริย

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ศรัทธาในอะไร ที่มีก็คือศรัทธา ถ้าเป็นผู้ที่ให้ทาน ก็คือมีศรัทธาในทาน สภาพของจิตผ่องใส มั่น เชื่อในขณะที่กระทำทาน ไม่ได้หมายความว่าไปเชื่อใคร หรือต้องเชื่อใคร ในศาสนาหนึ่ง ศาสนาใด แต่ขณะใดก็ตาม แม้คนที่ ไม่ได้กล่าวว่านับถือศาสานาใดเลยทั้งสิ้น แต่ขณะที่กุศลจิตเกิด ศรัทธาในทาน ได้กระทำทาน ได้ถึงการกระทำนั้นด้วยศรัทธา ศรัทธาในการกระทำนั้น

    ผู้ฟัง เข้าใจ ขอบพระคุณ ศรัทธาในทาน

    ท่านอาจารย์ ศรัทธาในการกระทำนั้น

    ผู้ฟัง ตรงนี้ ทำไมระบุไว้ เชื่อพระโพธิญาณ

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าเป็นอริยสาวก ในธรรมวินัยนี้

    ผู้ฟัง ขอบพระคุณ

    ผู้ฟัง รู้สึกอาจารย์ พูดหลายครั้ง ที่ดิฉันประทับใจมาก ก็คือว่า กุศลจิตเกิด อันนี้เป็นสภาวะธรรมซึ่งเกิดกับมนุษย์ ทุกคน ไม่ว่าชาติศาสนาใดทั้งสิ้น คำถามของดิฉันก็คือว่า ในขณะซึ่งจะอยู่ในศาสนาใดก็ตาม เขาก็มีสิทธิที่ว่า กุศลจิตจะเกิด เหมือนกัน อันนี้คำถามอันแรก คำถามอันที่ ๒ ก็คือว่า เหตุที่ทำให้เกิดกุศลจิตนั้น มันอาจจะมาหลากหลาย แต่ผลที่เกิด คือสภาวะธรรม ซึ่งเกิดในจิตของเขา เขาจะเป็นชาติใด ศาสนาใด แต่กุศลจิตนั้น จะเหมือนกันหมด อันนี้คือคำถาม

    ท่านอาจารย์ ถ้าเข้าใจคำว่า ธรรม หมดปัญญหาเลย ไม่มีชาติ ไม่มีศาสนา ไม่มีอะไร เป็นสภาพที่มีจริงที่เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย แล้วก็ดับไป แต่ส่วนที่จะเรียกชื่อต่างๆ ก็เพื่อที่จะให้เข้าใจว่า หมายความถึงสภาพธรรมอะไร อย่างกุศลจิตเมื่อเกิดขึ้น เป็นกุศล ไม่ต้องมีรูปร่างว่า เป็นมนุษย์ หรือเป็นเทวดา หรือเป็นเด็ก หรือเป็นหญิง หรือเป็นชาย เพราะกำลังพูดถึงสภาพของจิต ที่ผ่องใส ประกอบด้วยโสภณธรรม ในขณะนั้นเป็นกุศล ชาติไหนก็ได้ ศาสนาไหนก็ได้ ขณะที่เป็นธรรมเกิดขึ้น จะไม่เป็นชาติ หรือไม่เป็นศาสนา แต่เป็นสภาพธรรมของจิต

    ผู้ฟัง อันนี้คือความเหมือนกันของผล คือกุศลจิต แต่อาจจะมาหลากหลายของเหตุ อันนี้ก็เป็นไปได้ แต่ในที่สุดก็ จะต้องเหมือนกัน ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ถ้าเหตุดี ผลก็ต้องดี ถ้ากุศลได้ทำแล้ว ก็จะต้องนำมาซึ่งผลที่ดี

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์สมพร กล่าวเมื่อกี้ ว่า จะถึงมหาปัญญา กับปุถุปัญญา จะต้องเรียนรู้อภิธรรม ตรงนี้น่าสนใจ อย่างไรถึงจะต้องเรียนรู้อภิธรรม

    ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นเรื่องของปัญญา ปัญญา รู้อะไร ขณะนี้มีสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ปัญญาสามารถเข้าใจ สิ่งที่ปรากฏนี้ได้ จึงเข้าใจว่า ธรรมคืออะไร และธรรมนั้นก็ไม่เป็นของใคร เป็นปรมัตถธรรม และถ้าเข้าใจถึงความละเอียดที่สามารถ ที่จะสละความเป็นเรา ตามที่ได้ทรงแสดงไว้ ละเอียดมาก ก็เป็นอภิธรรม ถ้าไม่ทรงแสดงไว้โดยประการทั้งปวง เพียงมีความเข้าใจเล็กๆ น้อยๆ นิดๆ หน่อยๆ ก็ไม่สามารถที่จะถึงกาลที่จะ แม้ขัดเกลากิเลส เช่นตัวอย่าง ท่านอนาถบิณฑิกะ ท่านเป็นพระอริยสาวก เป็นพระโสดาบันแล้ว ท่านยังมีกิเลส ไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ ท่านโกรธไหม

    ผู้ฟัง มี โกรธ

    ท่านอาจารย์ มี ท่านอนาถบิณฑิกะ ซึ่งเป็นอริยสาวกโกรธ กับคนซึ่งไม่ใช่พระอริยสาวก เป็นปุถุชน โกรธ พระอริยสาวก ยังสามารถที่จะระลึกได้ ว่าขณะนั้นเป็นสภาพธรรมที่ไม่ควรที่จะสั่งสม เพราะเหตุว่าเป็นอกุศล แต่ปุถุชนโกรธใครวันไหน วันนี้ก็ยังโกรธอยู่ ยังพูดถึง ยังไม่ลืม นี่ก็แสดงว่า ไม่มีปัญญาที่สามารถที่จะรู้สภาพธรรม ในขณะนั้นได้ ว่ามีลักษณะ ที่ไม่ควรที่จะ สั่งสมต่อไป เพราะฉะนั้น นี่ก็เป็นความต่างกัน เพราะแม้ว่าจะทรงแสดงว่าไม่ ควรที่จะโกรธ พยาบาท ผูกโกรธ แต่ก็ทำ เพราะเหตุว่าปัญญาไม่ถึงขั้น ที่สามารถที่จะเห็นโทษของสภาพของอกุศล ในขณะนั้นได้ มีไหม ความจริง

    ผู้ฟัง ความจริงก็ไม่เห็น

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น มีข้อความว่า ดูกร คฤหบดี อริยสาวกทราบว่า อภิชฌาวิสมโลภะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ดังนี้แล้ว ละ อภิชฌาวิสมโลภะ อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตเสีย คือท่านละได้ เพราะว่าสติสัมปชัญญะเกิด ทราบว่า พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจะ กุกกุจจะ วิจิกิจฉา เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ดังนี้แล้ว ละ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจะ กุกกุจจะ วิจิกิจฉา อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตเสีย

    การละของพระอริยนี้ก็ ต่างกับการละของผู้ที่ มีปัญญาไม่ถึงความเป็นพระอริย ถ้าผู้ที่มีปัญญาไม่ถึงความเป็นพระอริย อาจจะเกิดสติมีความเข้าใจถูกต้องว่า ขณะนั้นไม่เป็นประโยชน์เลย การที่เข้าใจอย่างนั้นขณะนั้นก็ทำให้ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา เหล่านี้ไม่เกิด แต่ถ้าเป็นผู้ที่ได้ฟังธรรมอบรมเจริญปัญญา ละ ด้วยสติสัมปชัญญะที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้น และเมื่อเป็นพระอริยสาวก ปัญญาก็ย่อมมากกว่า ผู้ที่ยังไม่เป็นพระอริยสาวก

    ผู้ฟัง สำหรับพระอริยสาวก ท่านไม่ละ อภิชฌาที่ไม่ชอบธรรม โดยเป็นสมุจเฉท ตั้งแต่ตอนเป็นโสดาปัตติมรรค ใช่ไหม ทีนี้ ทำไม ถึงมีข้อความที่ว่า อริยสาวกยังต้องละอภิชฌาวิสมโลภะ อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิต อีก

    ท่านอาจารย์ อภิชฌาวิสมโลภะ ที่ไม่ชอบธรรม ขั้นไปอบาย พระโสดาบันไม่มี อภิชฌาวิสมโลภะขั้นที่ละเอียด กว่านั้น สามารถที่จะรู้ได้ไหม เพราะท่านยังมี

    ผู้ฟัง ยังมี เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นวิสมโลภะ ก็คือมีกำลังขึ้น ขยับขึ้นพอที่ จะเห็น ซึ่งในขณะที่กำลังเห็น สิ่งหนึ่งสิ่งใด ต้องมีปัญญา ระดับไหนที่จะรู้ว่าขณะนั้นเป็นอกุศลแล้ว กับผู้ที่ไม่รู้เลย ตื่นเช้า มาจนกระทั้งอาบน้ำ แปรงฟัน รับประทานอาหารก็ดูเป็นปกติ แต่ว่าสำหรับผู้ที่ละเอียดขึ้น ก็ย่อมสามารถที่จะเห็นวิสมโลภะ ละเอียดขึ้นด้วย

    ผู้ฟัง ดิฉันหาไม่เจอ ธรรม ๔ ... ก็นึกว่าคงจะใช่ตรงนี้

    ท่านอาจารย์ ขณะใดที่ทำสิ่ง ที่สมควร ถึงการกระทำที่สมควร ไม่ว่าเมื่อไร ขณะไหน แต่ในพระสูตรนี้ก็แสดงให้เห็นถึง สิ่งที่ทุกคนปรารถนา และสิ่งที่ปรารถนาจะได้มาอย่างไร เมื่อได้มาแล้ว ควรจะบริโภคใช้สอยอย่างไรด้วย เพราะว่าบางคนก็ได้รับผลของกรรม ดี ที่ได้กระทำแล้วมากมาย เป็นผู้ที่มีทรัพย์สิน แต่ไม่ได้ใช้ทรัพย์สินนั้น ในทางที่สมควร เพราะฉะนั้น ก็ทรงแสดงว่าทางที่จะให้ได้มา ซึ่งทรัพย์สมบัติ บริวารสมบัติ ที่กล่าวถึงแล้ว ก็คือกุศลกรรม ทั้งศรัทธา ทั้งจาคะ ทั้งปัญญา แต่ว่าเมื่อได้มาแล้วควรจะกระทำต่อไปอย่างไร นี่คือพระธรรมที่สมบูรณ์พร้อม คือไม่ใช่เพียงแต่ว่าให้กระทำเหตุ ที่จะให้ได้มาซึ่งทรัพย์สมบัติ แต่เมื่อได้มาแล้ว ควรจะบริโภค หรือใช้สมบัตินั้นอย่างไรด้วย ที่จะเป็นประโยชน์ ไม่ทราบว่าทุกคนได้ใช้ตามที่ทรงแสดงไว้หรือเปล่า

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 108
    25 มี.ค. 2567