ปกิณณกธรรม ตอนที่ 692


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๙๒

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑ พ.ศ.

    ๒๕๔๗


    ผู้ฟัง พยัญชนะ ชัดเจนมากเลยว่า บุคคลที่พรั่งพร้อมด้วยกายทุจริต เป็นต้น เมื่อตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกายทุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัยไม่ใช่ฐานะ ถ้านัยกลับกัน ถ้าบางคนพรั่งพร้อม ด้วยกายทุจริต แต่ว่าเกิดในสวรรค์ได้ แต่ต้องบอกว่าเพราะกุศลเป็นปัจจัย ใช่ไหม แต่ในที่นี้ทรงตรัสไว้ชัดเจนว่า ถ้าจะไปสวรรค์ สำหรับบุคคลที่ทำ ทุจริตมาตลอดชีวิต แล้วก็ในบั้นปลาย หรือขณะที่ใกล้ตายแล้ว ไปทำกุศล ก็ไปเกิดในสวรรค์ได้ แต่นั่นไม่ใช่ว่า การเกิดในสวรรค์ ไม่ใช่เพราะทุจริต เป็นเรื่องของกุศลทำให้เกิดในสวรรค์ นัยกลับกัน ถ้าคนที่ทำกุศลตลอดชีวิต แต่ว่าใกล้ตายอย่างเช่น พระนางมัลลิกา ไปคิดถึงสิ่งที่ไม่ดีเพียงเล็กน้อยก็ทำให้เกิดในทุคติได้ เช่นเดียวกัน แต่เกิดในทุคติ ไม่ใช่ว่าเหตุเพราะกายทุจริต เป็นต้นนั้น เพราะว่าเป็นเพราะอกุศลนั่นเองให้ผลก่อน

    ท่านอาจารย์ ถึงไปแล้วก็ยังต่างกันแต่ละขณะด้วย เทวดาก็ไม่ได้เท่ากันทั้งหมด ที่เป็นท้าวสักกะ ก็มีคือว่าเป็นหัวหน้าของเทาวดา แล้วที่ไม่ใช่เป็นท้าวสักกะก็มี วิมานก็ต่างกัน ตามความละเอียดของกรรม

    ผู้ฟัง หมายความว่า ถ้าไปสู่อบายภูมิ คือไม่ว่าจะกาย วาจา ใจ ถ้าเป็นทุจริต

    ท่านอาจารย์ เราคงไม่สามารถจะบอกได้ ว่ากรรมอะไรทำให้เกิดเป็นผีเสื้อ กรรมอะไรทำให้เกิดเป็นมด กรรมอะไรทำให้เกิดเป็นเป็นไดโนเสา หรืออะไรอย่างนี้ ก็คงบอกไม่ได้ เพราะว่าเป็นความละเอียดของกรรม

    ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นย้อนกลับมานิดหนึ่ง ที่บอกว่า อาจจะชื่อว่า ธัมมาทาสะ แปลว่า แว่นส่องธรรมบ้าง เหมือนเงาหน้า ปรากฏแก่ผู้ที่ส่องกระจก เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ธัมมาทาสะสุ

    ท่านอาจารย์ ทุกคนก็มีคำตอบเฉพาะตัว ใช่ไหม พอถึงตอนนี้ว่ามีความรู้ ความเข้าใจ ความเห็นถูกในธาตุที่กำลังมีในขณะนี้ มากน้อยแค่ไหน ซึ่งคนอื่นก็ตอบแทนไม่ได้เลย ถ้ามีความรู้ ความเข้าใจถูกต้องก็จะย่ำยีกิเลสทั้งหลาย หมายความว่า สามารถที่จะรู้แจ้ง สภาพธรรมตามความเป็นจริงได้

    ผู้ฟัง ในเรื่องของการดูธัมมปริยาย คือ พระสูตรนี้เหมือนกับคนที่ส่องหน้า แล้วก็สะท้อนให้เห็นถึงธาตุ อายตนะทั้งหลาย ที่จริงๆ แล้วไม่มีตัว ใช่ไหม ในตัวเรา แต่โดยทั่วไปอ่านแล้วก็เป็นเพียงพระสูตรที่เป็น ชื่อต่างๆ อย่างนั้นก็ไม่ได้ สะท้อนความจริง

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้สะท้อน เพราะว่าถ้าพูดถึงเรื่องของธาตุ แค่นี้ ผู้นั้นก็ต้องพิจารณา รู้จักตนเองตามความเป็นจริงว่ามีความเข้าใจในความหมายของธาตุ แล้วก็ธาตุที่กำลังปรากฏจริงๆ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย แต่ไม่รู้เลยได้ยินแต่ชื่อ ใช่ไหม อย่างจักขุธาตุ ได้ยินแต่ชื่อแน่นอน จักขุปสาท รูป เป็นธาตุชนิด ๑ สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา รูปธาตุก็เป็นธาตุชนิด ๑ ก็เพียงได้ยิน แต่ว่าถ้าจะเข้าถึงจริงๆ ก็คือ ว่าพิจารณาไตร่ตรองว่า มีความเข้าใจในธาตุตามที่ได้ฟัง แล้วก็รู้ หนทางที่จะรู้แจ้งธาตุนั้น จริงๆ หรือเปล่า แล้วก็ขณะนี้กำลังอบรมคือ มีสติสัมปชัญญะ ที่จะรู้ตรงลักษณะของธาตุ บ้างไหม นี่คือประโยชน์ที่จะได้รับจากพระสูตรนี้ มิฉะนั้นก็ผ่านไป ทั้งๆ ที่ทรงแสดงว่าเหมือนกระจกส่องหน้า หรือว่าดูเงาหน้าในกระจก ก็คือสามารถที่จะรู้ตัวเองด้วย ไม่ใช่เพียงอ่านเฉยๆ ผ่านเฉยๆ

    วิทยากร ผมขอเพิ่มนิด คุนทุพลีสูตร ว่าโดยกอง นี่นะ กลองนี้เราจะย่ำยีกิเลสได้

    ก็ต้องเริ่มจากการรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ อบรมไปเป็นแสนๆ กัปแล้ว จึงจะเป็นการลั่นกลองศึก วิ่งเข้าใส่กองทัพ ฝ่ายอื่นเข้าประจัญบาน คว้าเอาชัยชนะด้วยตัวเอง คือหมายความถึง อริยะมรรค อริยะผลแล้ว

    ท่านอาจารย์ เพียงได้ยินแค่นี้ ย่ำยีกิเลส ทำอย่างไร เห็นไหม ไม่ใช่อ่านแล้วก็ผ่านไปเลย เหมือนก็ย่ำยีกิเลส แต่ว่าต้องเป็นผู้ที่ละเอียด ที่จะรู้ว่าความเห็นถูกต้อง พร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ ถึงจะเห็นกิเลสแล้ว ก็ย่ำยีกิเลสได้ มิฉะนั้นแล้วก็ย่ำยีกิเลส ก็ย่ำยีกิเลส แต่ไม่รู้ว่า ย่ำยีอย่างไร นี่คือประโยชน์ของการที่เราได้ ฟังพระธรรมแล้วก็ มีโอกาส ที่จะพิจารณาโดยละเอียด โดยรู้ว่าประโยชน์ของการศึกษา หรือการฟังที่แท้จริงอยู่ตรงไหน ถ้าฟังแล้วก็ทำให้เราระลึกได้ ว่าเป็นเรื่องที่จะต้องอบรม ให้เข้าใจจริงๆ นั่นเอง แต่ถ้าฟังเผินก็ผ่านไปหมด หรือฟังเพียงแต่จำ หรือฟังเพียงแต่จะรู้ว่า คำนี้หมายความว่าอะไร เช่น อมตะทุนพุพีสูตร แม้แต่จะอ่าน แม้แต่จะรู้ความหมาย ก็ยังเห็นได้เลยว่า เราสามารถที่จะเข้าถึงพระธรรมที่ทรงแสดงได้น้อยนิดแค่ไหน จากในหน้าหนึ่ง ข้อความย่อหนึ่ง หรือแผ่นหนึ่ง กับ ๒ หน้าหรืออะไรอย่างนี้ เราสามารถที่จะเข้าถึงได้แค่ไหน แล้วยังมีข้อความต่อไปอีก อนุตรสังคามวิชัยสูตร เห็นไหม เราก็ต้องคิดอีก ถึงความหมายอีก ความหมายหนึ่ง

    ไม่ว่าจะเรียนเรื่องธาตุ เรื่องอายตนะ เรื่องขันธ์ ปฏิจจสมุปบาท จะเข้าใจได้ต่อเมื่อสติสัมปชัญญะ ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ มิฉะนั้นไม่มีความหมายอะไรเลย อายตนะก็อายตนะเปล่า ธาตุก็ธาตุเปล่า ขันธ์ก็ขันธ์เปล่า ต่อเมื่อใดที่รู้ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม เมื่อนั้นจึงจะเข้าถึงสภาพธรรมโดยความเป็นขันธ์ หรือเป็นอายตนะ เป็นปฏิจจสมุปบาท

    ผู้ฟัง ความคิดเห็นส่วนตัวว่า การเรียนปัฏฐาน แม้จะเข้าใจแค่เรื่องราวก็ยังลำบากเลย

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ทั้งหมด ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ต้องไปด้วยกันเสมอ

    วิทยากร ก่อนจะจบตรงนี้ เมื่อกี้ท่านอาจารย์ก็กล่าวแล้ว อนุตรสังคามวิชัยสูตร ผมก็ไปเปิดพจนานุกรม สังคาม คือ สงคราม สงครามที่ยิ่ง ที่ชนะสงความที่ยิ่ง วิชัย แปลว่า ชนะ ชนะสงครามที่ยิ่ง นี่เขาก็มีข้อความว่า และเพราะเหตุที่ ทหารในสงครามถืออาวุธ ๕ ประการ กำจัดกองทัพฝ่ายอื่นได้ชัยชนะ ฉันใด แม้พระโยคีทั้งหลาย ก็ฉันนั้น พวกเรานี้ถ้ากำลังทำความเพียรอยู่ ก็ถือเป็นพระโยคีเหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ ก็น่าคิด น่าสนทนา จะทำสงครามกับใคร พอพูดถึงสงครามก็ยังต้องต่อไปอีก แล้วสงครามกับอะไร คิดไหม ที่จะทำสงคราม หรือว่าคิดที่จะแพ้อยู่เรื่อยๆ สงครามกับโลภะ เคยคิดไหม สงครามกับโทสะ หรือว่าจะทำสงครามกับอะไร แต่ถ้าจะทำสงครามกับโลภะได้ไหม จะทำสงครามกับโทสะได้ไหม หรือเริ่มจากทำสงครามกับความเห็นผิด ความไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม เพราะฉะนั้น เวลาที่พูดถึงโลภะ ส่วนใหญ่เราจะคิดถึงรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ลืมคิดว่าโลภะที่เกิดร่วมกับความเห็นผิด ที่ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง ถ้าไม่ชนะตรงนี้ก่อน ก็ไม่มีทางที่จะชนะศัตรูได้เลย

    วิทยากร เพราะฉะนั้น การทำสงคราม ต้องทำกับโลภมูลจิตทิฏฐิคตสัมปยุตต จึงจะกำจัดกองทัพฝ่ายอื่นได้ขัยชนะ ฉันใด แม้พระโยคีทั้งหลายก็ฉันนั้น ถืออาวุธคือวิปัสสนาดังกล่าว ไว้ในสูตรนี้ ถือเอาชัยคือพระอรหัตไว้ได้ เพราะเหตุนั้นเธอจงจำธรรมบรรยายนั้นไว้ว่า อนุตตรสังคามวิชัยสูตร ก็ได้แล พระอานนท์ถามว่าสูตรนี้จะชื่ออะไร พระพุทธเจ้า ก็ให้ชื่อสูตรไว้ตั้งหลายอย่าง เพราะฉะนั้น ต้องทำสงครามกับทิฏฐิ สักกายทิฏฐิ

    ท่านอาจารย์ กว่าจะจบสูตรหนึ่งๆ ก็ต้องอ่านแล้วก็พิจารณา แล้วก็ต้องเข้าใจ แล้วก็ต้องรู้หนทาง ปฏิบัติด้วย

    พอพูดถึงเรื่องธาตุ เรื่องขันธ์ เรื่องปฏิจจสมุปบาท ไม่ว่าเรื่องธรรมใดๆ ก็จะต้องมาถึงหนทางที่จะทำให้ รู้สภาพธรรมนั้น ตามความเป็นจริงได้ มิฉะนั้นก็ไม่มีประโยชน์เลย ในการที่เราจะพูดถึงเรื่อง ธรรมที่มีจริง แต่ว่าไม่รู้หนทางจริงๆ ว่า อบรมเจริญอย่างไร จึงสามารถที่จะรู้ได้ เพราะฉะนั้น จึงมีสูตรนี้ อปัณณกสูตร ว่าด้วยหนทางปฏิบัติที่ไม่ผิด

    ผู้ฟัง ต้องมีขันติ ใช่ไหม ขันติในการสำรวม ขันติในการกินอาหาร

    ท่านอาจารย์ ใช่ ก็เป็นเรื่องของผู้ที่กำลังอบรมเจริญหนทางที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่จะต้องมีความรู้ มีความเข้าใจเพิ่มขึ้น ทั้งในเรื่องของลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ และเรื่องการคิดนึก ตรึกตรองถึงธรรมที่ได้ยินได้ฟังด้วย เพราะเราห้ามความคิดไม่ได้ ไม่ใช่ว่าคนที่กำลังอบรมเจริญหนทาง ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม ไม่คิดอะไรเลย ไม่ใช่อย่างนั้น บางขณะก็มีสติสัมปชัญญะ ที่จะระลึกลักษณะของสภาพธรรม บางขณะก็เป็นไปในเรื่องของความคิด แล้วเรื่องของสังขารขันธ์ เป็นเรื่องซึ่งไม่ใช่บุคคลหนึ่ง บุคคลใดจะทำ แต่เป็นการที่เห็นถูกต้องขึ้น ว่าไม่มีตัวตน แต่ว่าเจตสิกทั้งหลายที่เกิดในขณะนี้ แล้วก็ดับแล้วก็สืบต่อ

    ตั้งแต่เราฟังมาตั้งแต่เช้าจนกระทั่งเดี๋ยวนี้ ล้วนเป็นสังขารขันธ์ที่ปรุงแต่ง ให้มีความเข้าใจในสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง เพิ่มขึ้นมากขึ้น แม้ว่าจะเพียงทีละเล็กทีละน้อย แล้วอวิชชาก็มาอีก ความหลงไปในเรื่องราวต่างๆ ก็มาอีก แล้วก็สติสัมปชัญญะก็เกิดอีก ก็เป็นเรื่องที่จะต้อง เป็นชีวิตประจำวัน ตามความเป็นจริงจนกว่าจะรู้ลักษณะของสภาพธรรม

    แม้ในเรื่องของการรู้ประมาณในการบริโภค ด้วยความเป็นตัวตน มีไหม อย่ารับประทานมาก รับประทานมากก็โรคมาก อันนี้ก็เป็นชีวิตประจำวัน ซึ่งทุกคนก็ได้ยินทางการแพทย์ ก็พูดบ่อยๆ นี่คือการรู้จักประมาณด้วยความเป็นตัวตน แต่ว่าการรู้จักประมาณที่ไม่ใช่ตัวตน ต้องเป็นเรื่องของปัญญา ที่จะรู้จริงๆ ว่าเราติดในอาหารที่เรารับประทาน มากน้อยแค่ไหน เพราะเรื่องของธรรมไม่ใช่เป็นเรื่องเพื่อตัวเรา จะได้แข็งแรง จะได้ไม่มีโรค เพื่อตัวเราจะมีรูปร่างที่ไม่หนัก หรือว่าอะไรอย่างนั้น แต่เป็นเรื่องที่ว่า ปัญญาที่สามารถที่จะรู้ว่า เรามีความละคลาย หรือว่าเรามีความติดข้อง ในอาหารที่เรารับประทานมากน้อยแค่ไหน

    เพราะว่าหนทางของธรรมสิ่งที่ลืมไม่ได้เลย เหมือนเกราะป้องกันตัวจริงๆ เป็นหนทางละ โดยตลอด แต่ ละประการแรก คือละความไม่รู้ ลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งเป็นอวิชชา หรือว่าอวิชโชฆะ เป็นห่วงน้ำใหญ่ เป็นทะเลอวิชชา เป็นทะเลชื่อทั้งหมด เราจะต้องรู้ตามความเป็นจริงว่า ขณะนั้นความรู้ของเราจากการฟัง อาจจะอ่านพระสูตรมาก อรรถกถามาก แต่ความรู้จริงๆ ที่เกิดจากการอ่าน และเข้าใจ แล้วก็เป็นปัจจัยที่จะให้สติสัมปชัญญะเกิดระลึก แล้วขณะที่รู้ลักษณะนั้นยังต้องอบรมปัญญาที่จะละ ความที่เคยยึดถือสภาพธรรมนั้นว่าเป็นตัวตนด้วย ก็เป็นเรื่องที่จะต้องตรง แล้วก็อบรมตามความเป็นจริง ที่จะรู้ว่าความคิดนึก คือคิดนึก แต่ว่าขณะที่เป็นปัญญา ก็สามารถจะรู้ลักษณะของสิ่งที่มี และเคยมีในชีวิตประจำวันทั้งหมด รู้ว่าเป็นธรรมแต่ละอย่าง ที่ละเอียดขึ้น แม้แต่ความคิดเรื่องการรู้จักประมาณในโภชนา ขณะนั้นก็จะรู้ได้ว่า เป็นสภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง เกิดแล้วก็ดับ

    ผู้ฟัง หลายอาทิตย์ก่อน ท่านก็อาจารย์ก็บอกว่า ควรจะระลึกรู้ให้ทั่ว พอวันนี้ก็มีการสำรวมอินทรีย์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ต้องให้ทั่วเหมือนกัน ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ถ้าขณะนี้ทางตา สติยังไม่เกิดเลย สติสัมปชัญญะยังไม่ได้รู้ลักษณะที่กำลังเห็นว่า เป็นสิ่งที่มีจริง กำลังเห็นนี่แหละ เป็นสภาพธรรมที่เป็นนามธรรม ถ้าไม่รู้อย่างนี้ แล้วเมื่อไรจะรู้ คอยไปกี่วัน กี่เดือน กี่ปี กี่กัปก็ไม่รู้ ทางหู เช่นเดียวกัน ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจทั้งหมดในชีวิตประจำวัน

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์บอกว่า ต้องอบรม ให้รู้ ให้ทั่ว ผมก็พยายามอบรม แต่ก็ยังรู้ไม่ทั่ว อาหารก็ยังไม่ได้ระลึกรู้เลย

    ท่านอาจารย์ ต้องอดทน อดทนแล้วจะค่อยๆ รู้ว่ากว่าจะรู้ทีละนิด ทีละหน่อย แล้วก็ค่อยๆ รู้ขึ้นจริงๆ ตรงลักษณะของสภาพธรรม เป็นสิ่งซึ่งไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา

    ผู้ฟัง ชาตินี้ก็ต้องเพียรให้ทั่วก่อน ไหนๆ มีแนวทางที่ถูกต้องแล้ว เราอย่าเสียโอกาส

    ท่านอาจารย์ แต่ถ้ามีความเห็นถูก ว่าผู้ไม่ไปอบาย คือ พระโสดาบัน อันนี้เราก็จะรู้ได้จริงๆ ว่า แม้ตัวอย่างในพระไตรปิฎก ก็มีสัตว์หลายชนิด กบก็มี ค้างคาวก็มี ม้าก็มี เวลาที่สิ้นชีวิตแล้ว เกิดในสวรรค์ หรือว่าเกิดเป็นมนุษย์ ได้ฟังธรรมแล้วรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ในชาติถัดไป นั่นเอง นี้ก็แสดงให้เห็นว่า ถ้าตราบใดที่ยังไม่เป็นพระโสดาบันก็ ไม่สามารถที่จะรู้อนาคตได้ ว่าจากโลกนี้แล้ว จะไปไหน

    วิทยากร การสำรวมกายก็ดี สำรวมทุกอย่างนี้นะ ถึงจะพ้นจากทุกข์ได้ คือ ฟังร้อยหน แล้วก็ยังมืดอยู่ ก็ฟังอีกๆ นึกถึงพระราหุล พระโอรสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแท้ๆ บวชเป็นเณรตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ บวชเป็นพระแล้วก็ยังไม่สำเร็จ สำเร็จตอนได้บวชเป็นพระ จากเณร ๗ ขวบมาเป็นพระ กี่ปี ได้สำเร็จตอนเป็นพระ แต่ท่านก็ไม่ละความพยายาม ขนาดท่านเกิด เป็นสุขุมาลชาติเป็นลูกกษัตริย์ พวกเราจะไปเจริญรอยตาม ปฏิปทาของท่าน เพราะว่าอย่างไรๆ ก็ไม่มีทางอื่น ก็มีทางนี่ อันนี้คือสติปัฏฐาน

    ตาเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ถ้าเราบอกว่าเห็นสี เราไปถามว่าสีอะไรอีก สิ่งที่ปรากฏทางตาก็แล้วกัน ไม่ต้องสีอะไร เคยเห็นบ้างไหม มันปรากฏบ้างไหม ทางตามองไปมันเคยเห็นบ้างไหม เสียงก็เหมือนกัน เสียงร้องเพลง ผู้ชายหรือผู้หญิง ก็ไม่ต้องไปพูดถึง เสียงเคยได้ยินบ้างไหม ได้ยินบ้างไหมเสียง กลิ่นก็เหมือนกัน กลิ่นน้ำหอม มันของผรั่งเศส หรือของอะไร ก็ไม่ต้องไปคิด กลิ่นเคยได้สูดดมบ้างไหม เคยมาถูกจมูกบ้างไหม รสก็เหมือนกัน นี่มันรสปลาจ่อม หรือปลาเจ่า อะไรอย่างนี้ก็ไม่ต้องไปคิด คือว่ารส เคยรู้บ้างไหม เคยรู้รสเฉยๆ เคยรู้บ้างไหม ไม่ต้องไปคิดนะ คิดก็ไม่ใช่เรื่องลิ้นแล้วนะ

    กายก็เหมือนกัน ถูกต้อง นี่มันอะไร เคยขึ้นรถเมล์ มีคนมาถูกข้างหลัง เป็นผู้หญิง หรือผู้ชายที่มาถูก คือถ้าไม่คิดเรื่องผู้หญิงผู้ชาย ความโกรธ ความรักมันจะไม่เกิด มันจะไม่เกิด ถ้าเป็นผู้หญิง ถูกหน่อยก็ดี มันเป็นอย่างนี้ คือมันไปถึงเรื่องใจแล้ว มันวุ่นวาย คือถ้าเรารู้ รู้แต่จะไม่ให้ถึงก็ไม่ได้เหมือนกัน มันเป็นสภาพธรรมของเขาอย่างนั้น แต่ให้เรารู้ว่า ตามี สมรรถนะหรือความสามารถแค่ไหน หูแค่ไหน จมูกแค่ไหน ลิ้นแค่ไหน กายแค่ไหน ค่อยศึกษาไปอย่างนี้ นี่แหละ คือศึกษาจริงๆ ที่อ่านหนังสือ เป็นแต่เพียงเบื้องต้น ที่จะนำเราเข้าไปสู่การศึกษาที่แท้จริง

    ท่านอาจารย์ เรื่องที่คุณนิพัฒน์เล่าก็ ไม่ใช่เฉพาะคุณนิพัฒน์ เท่าที่ฟังมาจากชาวต่างประเทศท่านหนึ่ง ท่านก็ มีเรื่องทำนองเดียวกัน คือมีผู้หญิงสวย อยู่ข้างหลัง เวลาที่รถเคลื่อนที่ด้วยกำลังแรง ท่านก็คิดว่าเป็นผู้หญิงคนนั้นที่กระทบกาย แต่จริงๆ หันไปดู ไม่ใช่ เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า ความคิดนึก ปรุงแต่ง หลากหลาย ความคิดว่าเป็นผู้หญิงสวยอยู่ข้างหลังก็ทำให้มีความรู้สึกอย่างหนึ่ง พอหันไปไม่ใช่ เป็นคนอื่น ความรู้สึกปรุงแต่งก็อีกอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น นี่ไม่ใช่เฉพาะคุณนิพัฒน์ เป็นเรื่องจริงซึ่งแล้วแต่ว่า ความละเอียด ความตรง ความจริงของขณะนั้นเป็นอย่างไร เกิดแล้วเพราะเหตุปัจจัย เป็นธรรมที่สามารถที่จะรู้ได้ ถึงลักษณะซึ่งเกิดแล้วก็ดับ แต่ว่ากว่าจะถึงจุดนั้นก็ลองคิดดู ว่าทุกอย่างที่เคยมีในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นความจริงทั้งหมด แม้ในเรื่องของความคิดนึก ก็จะต้องตรงตามความเป็นจริง

    พระไตรปิฎก ไม่พ้นจากเรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ที่คิดนึก ใครจะพ้นในวันหนึ่งๆ ชาติหนึ่งๆ ไม่พ้นเลย เพราะฉะนั้น เวลาที่เราฟังธรรม หรือว่าได้ยินได้ฟังใครพูดอะไร เราก็ควรจะเป็นผู้ที่ละเอียด แล้วก็ไตร่ตรอง เช่น ถ้ามีคำถามว่า ในพระไตรปิฎก มีเรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไหม ถ้าคนนั้นพูดอย่างนั้นก็หมายความว่า เขาไม่รู้เลยว่าอะไรเป็นความจริง อะไรเป็นธรรม อะไรเป็นสัจจธรรม จึงได้เกิดสงสัย แม้แต่ว่าในพระไตรปิฎก มีเรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไหม แต่ถ้าเป็นผู้ที่ละเอียด เราจะรู้เลยว่า คนนั้นถามเพราะอะไร เขาจะไปหาอะไร เขาต้องการรู้อะไร ความจริงอะไร แล้วถ้าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ทรงแสดง เรื่องของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะให้พระองค์แสดงอะไร มีอะไรที่จะทรงแสดงในเมื่อสิ่งที่มีจริงมีแล้ว ไม่ทรงแสดงให้คนอื่นเข้าใจถูก เห็นถูก แล้วจะไปให้คนอื่น ไปรู้ถูก เห็นถูกในอะไร

    นี่ก็เป็นเรื่องซึ่งแม้แต่ ผู้ฟังจะได้ยินได้ฟังอะไรก็ตาม มีตัวเองเป็นเกราะ มีตัวเองเป็นที่พึ่ง คือมีธรรมเป็นเกราะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง คือไตร่ตรองพิจารณา แล้วก็ต้องเป็นเหตุผลตั้งแต่ต้น ถ้าขั้นต้นไม่มีเหตุผล แล้วก็จะไปได้เหตุผลมาตรงไหน จากไหน

    ถ้าเป็นเหตุผลที่ถูกต้อง ก็จะต้องตรง ตั้งแต่ต้น แม้แต่ในเรื่องของความคิด เพียงได้ยินอย่างนี้ก็รู้ความต่าง ของความคิด ความเข้าใจ และเหตุผลว่า ถ้าถามว่าในพระไตรปิฎก มีเรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไหม ก็แสดงว่าคนนั้นไม่ได้มีเหตุผลอะไรเลย เพราะว่าเมื่อตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีจริง แล้วจะไม่ให้ พระไตรปิฎก มีเรื่องของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ได้อย่างไร

    ที่ว่าก็ภิกษุ เป็นผู้หมั่นประกอบ ความเป็นผู้ไม่เห็นแก่นอน อย่างไร นี้เรื่องเกี่ยวกับการนอน ไม่เห็นแก่นอน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เวลากลางวันชำระจิต จากอาวรณิยธรรม ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตอนกลางวัน เวลากลางคืนตอนยามต้น ก็ชำระจิต จากอาวรณิยธรรม ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง นี่คือตอนกลางคืนยามต้น ตอนยามกลาง สำเร็จ สีหไสยา โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าให้เหลื่อมกัน มีสติสัมปชัญญะ ทำ อุตฐานุสัญญาไว้ในใจ ตอนยามปลาย กลับลุกขึ้นชำระจิต จากอาวรณิยธรรม ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้หมั่นประกอบความเป็นผู้ไม่เห็นแก่นอน สภาพธรรมต้องตามความเป็นจริงตามลำดับขั้น

    ถ้ากล่าวอย่างนี้หมายความถึงผู้ที่รู้ประโยชน์ อย่างท่านที่เป็นภิกษุ ที่บวชในพระธรรมวินัยเพื่อที่จะอบรมเจริญปัญญารู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริง ตอนกกลางวันก็ต้องมีการนั่ง การนอน การยืน การเดิน แต่ว่าจริงๆ แล้ว นอนของท่านไม่มีเลย ตอนกลางวัน มีจงกรม เดินกับนั่งสำหรับตอนกลางวัน ก็แสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่ให้นั่งเฉยๆ ไม่ใช่ให้เดินจงกรมเปล่าๆ เพราะว่าจริงๆ แล้ว ถ้ามีความเข้าใจเรื่องสติสัมปชัญญะ ก็จะเป็นผู้ที่ มีการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมแต่ไม่ใช่ด้วยการฝืน หรือว่าเหมือนกับว่าเรากำลังไปทำ ทั้งวันเลย คือนั่งก็ทำตลอด แล้วเวลาเดินจงกรม ก็เดินตลอดไม่ใช่อย่างนั้นเลย แต่ว่ามีความเพียรที่จะรู้ว่าอย่างเรานั่งเดี๋ยวนี้ มีอะไรปรากฏทางไหน

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 108
    25 มี.ค. 2567