ปกิณณกธรรม ตอนที่ 677


    ตอนที่ ๖๗๗

    สนทนาธรรม ที่หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๗


    ถ. ตอนแรก ผมจะใช้วิธีจำเอาว่า ถ้ารูปายตนะจะต้องคู่กับจักขุ สัททายตนะ จะต้องคู่กับหู อะไรต่างๆ เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งมันก็เป็นการที่จะ พอฟังเสียงขึ้นมา ก็บอกนี่ได้ทางหูแล้ว จริงๆ แล้วมันยังคลาดเคลื่อนอยู่มากทีเดียว

    ส. การฟังธรรมเพื่อให้เข้าใจว่าสิ่งที่ที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ เป็นธรรม จนกว่าจะเป็นธรรมทั้งหมดที่ไม่ใช่เรา

    ถ. เวทนา คือ ความสุข ความทกข์ ความสุขก็แสวงหา แต่ความทุกข์แสวงหาหรือ หรือแสวงหาด้วย ความไม่เข้าใจ

    ส. ถ้าไม่มีสภาพธรรมเกิดขึ้น ทุกข์จะมาจากไหน โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ไม่มีนามธรรม ไม่มีรูปธรรม เลย จะเจ็บจะป่วยไหม เพราะฉะนั้น แสวงหาสิ่งซึ่งนำมาซึ่งทุกข์

    ถ. แสวงหาสิ่งซึ่งนำมาซึ่งรูป

    ส. ซึ่งทุกข์

    ถ. ซึ่งทุกข์

    ส. สภาพธรรม ที่ไม่น่าพอใจ ตั้งแต่ทุกขเวทนา โทมนัส ความขุ่นเคืองใจ ความคับแค้นใจความโศกทุกอย่าง จนกระทั่งถึงสังขารทุกข์ สภาพธรรม ที่เกิดดับ อย่างที่คุณแก้วบอก ไม่มีใครต้องการทุกข์

    ถ. ถ้าอย่างเช่น พรากจากสิ่งที่รัก อะไรอย่างนี้ มันทำไม ต้องแสวงหา ไม่ได้แสวงหา นี่

    ส. ไม่ได้แสวงหา แต่แสวงหาอะไร ที่เป็นที่รัก อะไรที่เป็นที่รัก ขันธ์ นามธรรม รูปธรรม ที่เป็นที่รัก คุณแก้ว จะรักอะไร ถ้าไม่มีนามธรรม รูปธรรม เพราะฉะนั้น เมื่อแสวงหาสิ่งที่เป็นที่รัก และสิ่งที่เป็นที่รัก ต้องพลัดพรากแน่ ก็คือว่าแสวงหาทุกข์

    ถ. กราบขอบพระคุณ

    ถ. ตราบใดที่เรายังไม่เป็นพระโสดาบัน ลักษณะตรงนี้มันก็ยังต้องมีอยู่ เกิดขึ้นหรือ

    ส. ถ้าไม่รู้แจ้ง รู้ยิ่งโดยชอบในลักษณะของสภาพธรรม ไม่มีทางที่จะเป็นพระโสดาบัน ไม่มีทางที่จะหมดความสงสัย ไม่มีทางที่จะไม่ยึดถือสภาพธรรมใดๆ

    ถ. แต่มันก็แปลก เวลามันเกิดขึ้นที มันต่อต้านแรงขึ้นกว่าครั้งแรกๆ ทุกครั้ง

    ส. ก็ให้เห็นกำลังของการสะสม ในอดีตแสนโกฏิกัป กับวันนี้หรือว่ากี่ครั้ง ที่ได้ฟังพระธรรม

    ถ. ที่ท่านอาจารย์ บรรยายแสดงว่า สิ่งที่ปรากฏทางตา รูปารมณ์ไม่มีชื่อ ตรงนี้ถ้าไม่ได้ฟังท่านอาจารย์ การอบรมมันก็เพี้ยนไป

    ส. คนที่เป็นผู้ที่สนใจ ในเรื่องสี พอจะบอกได้ ไหม ว่าสีมีอยู่กี่สี

    ถ. ก็หลายสี

    ส. นับไม่ถ้วน มากกว่าที่เราคิดอีก เพราะฉะนั้น ไม่ต้องไปเสียเวลา กับการที่จะนับสีต่างๆ อะไรที่ปรากฏ เข้าใจถูกในลักษณะของสิ่งนั้นตามความเป็นจริงว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ แต่ว่าปรากฏให้คิด ว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ เป็นคนนั้นคนนี้ เป็นเรื่องนั้นเรื่องนี้ นี่แสดงให้เห็นว่า ไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรม แต่ละลักษณะตามความเป็นจริงว่าจากทางตาไปสู่ทางใจรวดเร็วแค่ไหน

    ถ. ผู้อ่านแล้ว ไม่ได้ฟังก็ จะเข้าใจผิด เพราะว่า ถ้าเมื่อไร เป็นสีเขียว สีเหลืองไปแล้ว สภาพธรรม ตรงนั้นก็เป็นทางธัมมารมณ์

    ส. ทำไม ใช้คำว่าเป็นสีเขียว สีเหลืองไปแล้ว เราไม่ต้องเรียกชื่อไง

    ถ. แต่ถ้าอ่านอย่างนี้ ถ้าไม่มีคำแสดง ขึ้นมา มันก็ข้ามไปแล้ว

    ส. ใช่ เพราะฉะนั้น บางคนจะสงสัยว่า เวลาที่รู้ว่าเป็นสีเขียว สีเหลือง เป็นจักขุวิญญาณหรือเปล่า หรือว่าจักขุวิญญาณเห็นสีเขียว สีเหลือง หรือเปล่า ก็เป็นเรื่องสงสัย แต่ถ้าเข้าใจอรรถ คือความหมายของรูปารมณ์ สิ่งที่ปรากฏทางตา ใช้ภาษาอะไรก็ได้ ใช้ไหม ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย อะไรได้หมดทุกอย่าง แต่หมายถึงสิ่งที่กำลังปรากฏ

    ถ. ถ้าขณะที่เห็นเป็นคนแล้ว ขณะนั้นถ้าสภาพรู้ปรากฏก็ได้ ตรงนี้ถูกไหม

    ส. ใช่ เพราะฉะนั้น การฟังก็ คงจะต้องละเอียด ที่ว่าสละเรื่องราว ไม่ใช่หมายความว่าไม่รู้อะไรอีกต่อไปเลย แต่หมายความว่าเคยยึดถือเรื่องราวนั้นเป็นจริง เป็นจัง เที่ยง ไม่ได้ดับเลย มีญาติพี่น้องมีเพื่อนฝูง มีสถานที่ต่างๆ เป็นเรื่องเป็นราวทั้งหมด แต่เวลาที่เป็นปัญญาที่ เห็นชอบตามความเป็นจริงก็รู้ว่าขณะไหน เป็นปรมัตถธรรม และขณะไหน จิตกำลังคิดนึกเรื่องราวของปรมัตถธรรม ไม่ใช่ว่าไม่มีเรื่องราวเลย แต่เรื่องราวไม่ใช่ ปรมัตถธรรมที่เกิดขึ้น และดับไป เป็นแต่เพียงความทรงจำซึ่งนึกคิดถึงเรื่องราวต่างๆ เพราะฉะนั้น ขณะนั้นก็ต้องรู้ว่า ลักษณะของสัญญาความจำ มี ในเรื่องนั้นๆ จึงคิดถึงเรื่องราวต่างๆ ได้

    เพราะฉะนั้น เวลากล่าวว่าสละ เรื่องราวก็หมายความถึง การที่เราจะสละความคิดนึกว่ามีเรา ในสิ่งที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ แล้วเมื่อไม่มีเรา สิ่งที่เคยยึดถือว่าเป็นคนนั้นคนนี้ ก็ต้องไม่มีความเป็นคนนั้นคนนี้โดยปรมัตถธรรม เป็นแต่เพียงเรื่องราวของสิ่งที่ เป็นปรมัตถธรรมเท่านั้น เพราะฉะนั้น เวลาที่กล่าวถึง สละความ เป็นเรา ก็คือสละความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรม ว่าเป็นเรา สละเรื่องราวก็คือ สละการที่เคยเห็นผิด ยึดถือเรื่องราวว่าเป็นจริง เป็นจัง หรือว่าเป็นคนที่ไม่ดับเลย เป็นญาติพี่น้อง ที่ไม่ดับ แต่ว่าความจริงแล้วก็คือชั่วขณะหนึ่ง ชั่วขณะหนึ่งหลังจากที่ เห็นแล้วคิดนึกก็รู้ ตามความเป็นจริงว่าเป็นอะไร แต่ไม่ใช่หมายความว่าหลังจากที่รู้ความจริงแล้วไม่มีเรื่องราวใดๆ เลย ไม่ใช่อย่างนั้น แต่ไม่มีเรื่อราวที่เคยยึดถือ อย่างมั่นคงว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคลต่างๆ

    ถ. เรียนถาม พรหมจักร ต้องมีธรรมจักร ความหมายเหมือนกันไหม

    วิทยากร. มันอันเดียวกัน บางที่ท่านจะใช้คำว่าพรหมจักร แปลว่าจักรอันประเสริฐ

    วิทยากร. โดยมากท่านจะอธิบายว่า เป็นเทศนาญาณ และปฏิเวธญาณ ที่เป็นพรหมจักร ธรรมจักรของพระผู้มีพระภาค พระธรรมเทศนาที่เป็นการเทศนาของพระองค์ และเป็นการรู้แจ้งอริยสัจ ของพระองค์ เป็นปฏิเวธญาณ พระญาณที่แทงตลอด ในอริยสัจทั้งหลาย

    วิทยากร. คุณประเชิญ จักรก็คือวงล้อ หรือว่าการที่จะหมุนไป พรหมก็คือว่าประเสริฐ พรหมจักร ก็คือวงล้อ ที่ประเสริฐที่จะหมุนไปสู่ความเจริญ ก็คือพระธรรมที่พระองค์ ทรงประกาศแล้ว ผู้ใดเข้าใจก็จะหมุนไปสู่การที่จะออกจากสังสารวัฏฏ์ ก็คงเป็นความหมายเดียวกับพระธรรมจักร ที่พระองค์ทรงประกาศ ในวันอาสาฬหบูชา ก็คือพระธรรมทั้งหมด

    ถ. สติจะระลึกอย่างไร จึงลดละได้บ้าง

    ส. ก็รู้ตรงลักษณะที่ปรากฏ

    ถ. สติ พิจารณาไม่รู้เรื่องเลย

    ส. เป็นเราหรือเป็นสติ

    ถ. เป็นเรา

    ส. ไม่ใช่สติที่รู้ตรงลักษณะของสภาพธรรม

    ถ. อาจารย์ช่วยอบรม อบรมให้เกิดสติ

    ส. กำลังฟังนี้ คืออบรม ฟังทุกเรื่อง อบรมทุกเรื่อง

    ถ. มันยังไม่เข้าถึงสภาวะ

    ส. เข้าถึงง่ายหรือยาก

    ถ. ยากมาก

    ส. ก็ถูกต้อง

    ถ. ถ้าพิจารณาไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน มันจะลดโลภะได้ ลด คันถะ ลดโอฆะอย่างนี้ได้หมด ได้ไหม

    ส. เป็นเรื่องของสังขารขันธ์ เจตสิก ๕๐ ประเภท

    เห็น เป็นคนเป็นสัตว์ต่างๆ อันนี้เป็นปกติ ไม่ว่า ผู้ที่เป็นพระอริยบุคคล เป็นพระอรหันต์ หรือผู้ที่ยังเป็นปุถุชนอยู่ ที่จะเห็นแล้วไม่รู้ว่าเป็นอะไร เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย แต่ข้อสำคัญก็คือว่า เวลาที่เห็นอย่างนี้ คนที่ยังไม่ได้ดับความเห็นผิด ก็จะมีความยึดมั่น ในสิ่งที่ปรากฏ ว่าเป็นคนจริงๆ ไม่ได้ดับเลย ก็ยังเข้าใจว่าสิ่งที่ปรากฏทางตา นี่แหละ เป็นคน คือเห็นที่ไรก็ไม่ได้รู้ลักษณะที่แท้จริงของสภาพธรรมที่ปรากฏทางตา ว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ ตรงนี้ที่ต้องฟังบ่อยๆ แล้วก็นึกถึงอยู่เรื่อยๆ แล้วก็พิจารณาให้เข้าใจว่า สิ่งที่ปรากฏทางตาขณะนี้ เป็นอย่างนั้นจริงๆ หรือเปล่า คือเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา ยังไม่ต้องไปถึงทางใจ คิดนึกต่างๆ เพราะในขณะนี้เอง เห็นมี ได้ยินมี แต่ลืมว่ามีคิด ระหว่างเห็นกับได้ยินด้วย นี่เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าใจว่า ไม่ว่าจะเห็นอะไรปรากฏทางตานิดเดียวก็ตาม จากนั้นทางใจ จะ รู้ แล้วก็จำ ในสิ่งที่ปรากฏว่าเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดเสมอ พร้อมทั้งนึกถึงเรื่องราวด้วย นี่เป็นชีวิตปกติประจำวัน จากความเป็นปุถุชน แล้วก็เวลาที่สติสัมปชัญญะ เกิดก็จะมีการรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมแต่ละลักษณะ ด้วยความค่อยๆ เข้าใจในความเป็นจริง ว่าขณะที่เห็นไม่ใช่ขณะที่นึกถึงรูปร่างสัณฐาน เพราะจะมีคิดอยู่ คั่นกลางอยู่ตลอด ไม่ว่าจะหลังเห็น หลังได้ยิน ก็จะต้องคิด โดยไม่รู้ตัวเลย ขณะนี้ถ้าถามคนที่กำลังนั่งแล้วเห็น ว่าคิดอะไรหรือเปล่า จะตอบว่าอย่างไร คิดหรือไม่คิด คิด คิดอะไร ก็ถามต่อไปอีกว่าคิดอะไร คิดที่ไม่รู้ตัวก็มี ใช่ไหม อย่างเห็นเป็นคน ไม่รู้แล้วว่าคิดแล้ว เข้าใจว่าเห็นเป็นคนเลยทันที หรือว่าเวลาที่ได้ยินเสียง ก็ไม่รู้ว่าคิดแล้ว ก็คิดว่าได้ยิน เสียงเป็นคำๆ ไปทันที

    เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า เวลาที่มีความคิดเกิดขึ้น มีความคิดหลายอย่าง คือคิดรูปร่างสัณฐาน แล้วก็รู้โดยที่ว่าเราไม่รู้ตัวว่าขณะนั้น เป็นความคิดอย่างเร็วมาก จึงสามารถที่จะเห็นสิ่งที่ปรากฏว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดทันที นี่คือความเกิดดับอย่างรวดเร็วของธรรม เพราะฉะนั้น ปกติธรรมดาเป็นอย่างนี้ เวลาที่สติสัมปชัญญะเกิด จะต่างกับอย่างนี้หรือเปล่า เป็นปกติ นี่ คือความเป็นปกติ ไม่ต่างกับความเป็นปกติเลย แต่บุคคลนั้น มีสัมมาทิฏฐิ องค์ ๑ ของ มรรคมีองค์ ๘ ที่รู้ว่าขณะนั้น สติสัมปชัญญะเกิด แล้วก็มีลักษณะของสภาพธรรม ๑ เป็นอารมณ์ เพราะว่าตามความเป็นจริง ที่เราศึกษาธรรมก็คือ ให้รู้ว่าทุกอย่าง ทุกขณะในชีวิตประจำวัน เป็นธรรมทั้งหมด ไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ธรรมเลย มีจิต สิ่งต่างๆ เหล่านี้จึงได้ปรากฏ เพราะถ้าไม่มีจิต สิ่งทั้งหลายปรากฏไม่ได้เลย เพราะว่าจิตเป็นสภาพรู้ หรือเป็นธาตุรู้

    เพราะฉะนั้น วันหนึ่งๆ มีจิตเกิดดับสืบต่อ อย่างรวดเร็วทุกขณะตั้งแต่เกิดจนตาย แล้วก็มีสิ่งต่างๆ ปรากฏ ถูกต้องไหม เดี๋ยวสิ่งที่ปรากฏทางตาปรากฏ เดี๋ยวเสียงปรากฏ เดี๋ยวกลิ่นปรากฏ หรือว่าจะคิดนึก ก็ได้ในขณะนั้น ก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริงทั้งหมด เพราะฉะนั้น จึงเข้าถึงความหมายที่ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริงๆ แล้วก็มีลักษณะต่างกันไปด้วย แต่ที่ไม่ประจักษ์ก็คือไม่ประจักษ์ การเกิดและดับ ของธรรมซึ่งกำลังเกิดดับในขณะนี้ อย่างรวดเร็ว

    เพราะฉะนั้น ความเป็นปกติ ก็คือเดี๋ยวนี้แหละ เมื่อไม่รู้สภาพธรรม ก็เกิดับสืบต่ออยู่เรื่อยๆ แต่เมื่อสติสัมปชัญญะเกิด เพราะมีความเข้าใจถูกต้อง ว่าขณะนี้เป็นธรรม ที่ยังไม่ได้รู้ หรือเห็นชอบตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นเลย

    จากการฟังก็จะเป็นสังขารขันธ์ ที่ปรุงแต่ง เสพมากๆ คิดบ่อยๆ พิจารณาเนืองๆ ก็จะทำให้มีการรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ซึ่งเป็นธรรมดา ธรรมดาอย่างนี้ มีปัจจัยที่จะระลึกก็ระลึก มีปัจจัยที่จะระลึกลักษณะสภาพธรรมใดได้ทั้งนั้น โดยที่ว่า ไม่มีใครไปเลือก เพราะว่าจะเลือกได้อย่างไร ขณะต่อไปอะไรจะเกิดก็เลือกไม่ได้ ขณะต่อไปสติจะระลึก ก็แล้วแต่สติ แล้วสติจะระลึกลักษณะของสภาพธรรมใดก็ต้องแล้วแต่ สติซึ่งเกิดในขณะนั้น ที่กำลังรู้ตรงลักษณะนั้น

    เพราะฉะนั้น เป็นปกติจริงๆ ที่ระลึก แล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ความต่างก็คือ หลงลืมสติ ต่างกับขณะที่สติเกิด แต่ลักษณะของสภาพธรรมในชีวิตประจำวัน เป็นปกติทุกอย่าง เดี๋ยวนี้ก็ระลึกได้ ใช่ไหม เป็นธรรมดา ดับแล้วก็ดับไป ก็เป็นปกติธรรมดา แล้วก็เกิดอีก เมื่อมีปัจจัย ข้อสำคัญก็คือไม่หวั่นไหว ด้วยความเป็นเรา เพราะว่าจะสังเกต และจะเข้าใจลักษณะของโลภะ ซึ่งเป็นสมุทัยมากขึ้น ความติดข้อง ความต้องการ แค่ระลึกนิดเดียวโลภะก็มาแล้ว เร็วมากต่อจากนั้น แล้วแต่ว่าจะปรุงแต่งให้เป็นอย่างไร

    เพราะฉะนั้น เวลาที่เป็นพระอริยบุคคลแล้ว ก็ยังเห็น ยังได้ยินเหมือนปกติ แต่รู้ในความต่างของสภาพธรรมที่เป็นนามธรรม และเป็นรูปธรรม

    วิทยากร. พระสูตร อุลคัททูปมสูตร บุคคลเปรียบด้วยน้ำ เปรียบด้วยน้ำ ในที่นี้ อรรถกถา ก็หมายถึงว่าการดำลง แล้วก็ตัดถึงเรื่องวัฏฏะ กับวิวัฏฏะ ที่ก็ยังไม่หมดกิเลส ก็เป็นพวกวัฏฏะ พวกที่หมดกิเลสแล้ว สุดท้ายก็คือวิวัฏฏะ คนที่โผล่ขึ้นได้แล้ว เป็นพราหมณ์ ข้ามถึงฝั่งอยู่บนบก อันสุดท้ายนั้นเป็น วิวัฏฏะ หมายถึงพระอรหันต์

    ส. ฟังแล้วรู้สึกว่ากำลังอยู่ในน้ำหรือเปล่า หรือลืมไปแล้ว คิดว่าอยู่บนฝั่ง หรือบนบก

    วิทยากร. บุคคลบางคนในโลกนี้ จมลงแล้วคราวเดียว ก็เป็นอันจมอยู่นั้นเอง

    ถ. นี้ท่านกล่าวว่าเป็น นิยตมิจฉาทิฏฐิ

    วิทยากร. ถูกต้อง

    ถ. เพราะฉะนั้น ผู้ที่ไม่ใช่ นิยตมิจฉาทิฏฐิ ควรจะเป็น ประเภทที่ ๒ ใช่ไหม

    ส. เพราะว่าเห็นโทษภัยของ ความเห็นผิด ที่ดิ่งอย่างน่ากลัวมาก คือไม่เชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม เพราะฉะนั้น ชีวิตของเขาทั้งชีวิต ก็คงจะเป็นอกุศลจิต ส่วนใหญ่ แล้วก็ประกอบกรรมที่เป็นอกุศลกรรม ตามความเห็นผิดด้วย

    ถ. ผู้ที่มีความผิดที่เป็น นิยตมิจฉาทิฏฐิ ใช่ที่ทำอกุศลกรรม แล้วไม่เห็นโทษ อย่างสมมติว่าฆ่าสัตว์ แล้วก็ บูชาพระเจ้า แต่ก็ไม่รู้ว่านี่คือ เป็นอกุศลกรรมย่อมให้ผลที่เป็นอกุศลวิบาก ใช่ไหม

    ส. ใช่ ที่จริงพยัญชนะ พระบาลีก็ตรงตัว นิยต มั่นคง เที่ยง เปลี่ยนแก้ไขไม่ได้หมายความว่าไม่เปลี่ยนแปลง ทิฏฐิคือความเห็น เพราะฉะนั้น คนที่มีความเห็นผิด ชนิดซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงมั่นคง ไม่เชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่แต่ละบุคคล ก็รู้จักตัวเอง ถ้าได้ฟังธรรม แต่คงไม่ฟัง ใช่ไหม เพราะว่ามีความเชื่อมั่นว่า ไม่มีประโยชน์ กรรมก็ไม่ใช่ สิ่งที่กระทำแล้ว จะให้ผล ที่เป็นอันว่ากระทำ ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้มาจากเหตุ คือไม่ได้มาจากกรรม

    เพราะฉะนั้น ก็เป็นคนที่ไม่มีความเข้าใจในเรื่องเหตุผล ถ้าอย่างนั้นจะฟังทำไม จะเรียนทำไม แต่คนที่เรียน ก็เพราะเหตุว่า เข้าใจว่าไม่รู้ และผู้ที่ทรงแสดงธรรม ให้เข้าใจได้ก็คือพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น บุคคลเหล่านั้นก็ศึกษาธรรมด้วย ด้วยความละเอียด ด้วยความรอบคอบ เพราะเหตุว่าถ้าเกิด เห็นผิดไปเมื่อไร ก็ตกไป จมลงไปอีกแล้ว อาจจะโผล่ขึ้นมานิดเดียว หน่อยเดียว แล้วก็จมลงไปอีก แต่ที่จะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ก็คือ นิยตมิจฉาทิฏฐิ แต่ถ้าเป็นความเห็นผิดอื่น ก็พอที่จะแก้ไขได้ แต่ต้องเป็นผู้ที่รู้จักตัวเองตามความเป็นจริงว่ามีความไม่รู้ แล้วก็มีความเห็นถูก หรือความเห็นผิด แต่ถ้าเชื่อว่าตัวเองเห็นถูก ก็จะไม่กลับมาสู่ ความเห็นที่ถูกเพราะเข้าใจว่า ความเห็นผิดนั้นเป็นความเห็นถูก

    วิทยกร. คุณกุลวิไล เรื่องนี้มีอยู่ใน ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค สามัญผลสูตร ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ ก็มี บูรณกัสสป อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจยนะ ทั้ง ๓ ท่าน เป็นความเห็น ท่านไม่เชื่อว่าการกระทำมีผล มันก็เท่ากับไม่เชื่อว่ามีเหตุ ไม่เชื่อว่าการกระทำนี้มีผล ไม่เชื่อผล ตอนแรกไม่เชื่อเหตุก่อน แล้วก็ไม่เชื่อผล ไม่เชื่อการกระทำว่าจะมีผล ๓ ท่านนี้ เป็น นิยตมิจฉาทิฏฐิ แล้วรายละเอียดในเรื่อง อย่างนี้ จะหาดูได้ใน สามัญผลสูตร พูดถึงเรื่องครูทั้ง ๖ แต่ ๓ ท่านนี้ เต็มๆ

    ส. เพราะฉะนั้น ถ้าถามว่า มีความเห็นอย่างไร ก็อาจจะทราบได้ว่าบุคคล นั้นเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ หรือไม่ใช่

    วิทยกร. ทั้ง ๓ ท่าน อรรถกถาท่านกล่าวว่าโดยอรรถ แล้วเหมือนกัน เพราะว่าปฏิเสธทั้งหมด อย่าง อกิริยทิฏฐิ ปฏิเสธการกระทำ ความไม่เป็นอธรรมทั้งนั้น ทำบุญก็ไม่มีผล ปฏิเสธผลไปในตัว ทำบาปก็ไม่เป็นบาป ส่วนอเหตุก ก็คือไม่ มีเหตุ ไม่มีปัจจัยเกิดมาเองเกิดขึ้นลอยๆ ส่วนนัตถิก คือปฏิเสธทั้ง ๒ อย่างเลย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย อะไรเลย โดยอรรถ แล้ว เขาปฏิเสธทั้งเหตุทั้งผล

    ส. แต่ไม่ใช่แต่เฉพาะ นิยตมิจฉาทิฏฐิ ซึ่งเป็นโทษ แม้ทิฏฐิอื่นที่เป็นมิจฉาทิฏฐิก็เป็นโทษทั้งนั้น

    วิทยกร. เป็นโทษทั้งนั้นแต่ว่าประเภทที่ ๑ คือ ลงถ่ายเดียว ใช่ไหม

    ส. ไม่ทราบบางคน จะเคยไดยินได้ฟัง ชีวิตของแต่ละคนอาจจะเกิดมามากน้อย ยาวสั้นต่างกัน ไม่ได้ทำกรรมดี อะไรเลยก็มี อาจจะเป็นผู้ร้ายที่ฆ่ามาก หรือว่ากระทุจริตกรรมต่างๆ เป็นโจร แล้วก็เป็นอกุศลกรรม จิตที่เป็นอกุศลก็มาก การกระทำที่เป็นอกุศลกรรมก็มาก ก็ไม่ทราบว่าบุคคลนั้น มากไปด้วยธรรมฝ่ายดำ แม้ว่าไม่ถึงกับ นิยตมิจฉาทิฏฐิ หรือถ้าคิด ว่าคนนั้นสามารถจะ ทำกรรมอย่างนั้นได้ เขาจะเชื่อเรื่องกรรมไหม แต่นี้ก็เป็นเรื่องที่ละเอียด เพราะว่าบางคนถึงแม้เชื่อเรื่องกรรม ก็ยังทำอกุศลกรรมได้ ก็เป็นเรื่องที่แต่ละบุคคล จริงๆ เพราะฉะนั้น พระธรรมก็จะช่วยทำให้เรามีความเข้าใจถูก ว่าบุคคลก็มีมากสำหรับปุถุชน ผู้ที่จม แล้วก็ไม่ขึ้นมาเลยก็มี หรือว่าจมเพียงโผล่ขึ้นมา

    ถ. ถ้าอย่างนั้น ความเห็น ก็คือรู้สึกว่าจะเป็นทั้ง ข้อ ๑ และข้อ ๒ สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้เป็นพระโสดาบัน เพราะว่าถ้าสติไม่เกิดแล้วก็

    ส. แต่ปุถุชนก็มี ๓ อย่าง มีพระอริยบุคคล ๔ ลำดับแล้วก็มี ปุถุชน ๓ ที่จมฝ่ายเดียว แล้วก็ที่โผล่ขึ้น แล้วก็กลับจมไปอีก ว่าไม่คงที่ในกุศลธรรม แล้วผู้ที่คงที่ในกุศลธรรมก็เป็นอีกบุคคลหนึ่ง ไม่เสื่อมลงไม่เจริญขึ้น คงที่อยู่หรือเปล่า เพราะว่าคุณสุกิจพูดอยู่เสมอ สติปัฏฐานไม่เกิด ไม่เจริญขึ้น คงที่

    วิทยากร. คุณสุกิจ ก็ยังศึกษาธรรม ยังฟังอยู่

    ส. ถูกต้อง แต่ไม่เสื่อม

    ถ. แต่ก็บอกว่าไม่เจริญไม่ได้

    ส. ก็แล้ว แต่ จนกว่าคุณสุกิจ จะบอกว่าเจริญ ใช่ไหม เพราะยังพูดอยู่เสมอ ว่ายังไม่เจริญ ยังไม่เจริญ

    ถ. จนกว่าสติจะเกิด

    ส. เพราะว่าการเจริญขึ้น ยากที่จะเห็น หรือว่าเห็นง่าย แม้ว่าจะเจริญก็จริง แต่ว่าทีละน้อยๆ จนกระทั่งไม่รู้สึก เพราะว่ายังไม่ใช่พระโสดาบัน

    ถ. เพราะฉะนั้น ก็เลยจัดว่าคงที่ ใช่ไหม

    ส. แต่ความจริง คงที่ ก็มีหลายระดับ หรือหลายบุคคล คนที่คงที่เรื่อยๆ จนตาย กับคนที่คงที่แล้วก็ขึ้นมาทีละน้อย เจริญขึ้นทีละน้อยก็ได้ จนกว่าจะรู้สึกได้ ถึงความเป็นพระโสดาบัน


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 108
    28 ธ.ค. 2564