ปกิณณกธรรม ตอนที่ 675


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๗๕

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๗


    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เวลาที่สติปัฏฐานเกิดนิดเดียว หลังจากนั้นก็เป็นคน เป็นสัตว์อีก เพราะเหตุว่าคุ้นเคยต่อการที่จะคิดนึก ถึงรูปร่างสัณฐาน ไม่ใช่ให้ไปพยายามจ้องมอง ไม่ให้เห็นเป็นคน เป็นสัตว์ ไมใช่อย่างนั้น แต่เมื่อไรที่สติเกิดก็รู้ เพราะว่ามีลักษณะของสภาพธรรมที่สติกำลังระลึกลักษณะนั้นจึงปรากฏ ขณะไหนที่หลงลืมสติ ก็เป็นเรื่องเป็นราวต่างๆ เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นความต่างของขณะที่สติเกิดกับขณะที่หลงลืมสติ เพื่อรู้ความจริงของสภาพธรรมที่มีจริง ๒ อย่าง คือนามธรรม และรูปธรรม จนกว่าประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมใด ลักษณะของสภาพธรรมนั้นต่างกันเอง แม้แต่จิต และเจตสิกก็ต่างกัน แต่ไม่ใช่โดยชื่อ แต่โดยภาวะหรือลักษณะของสภาพนั้นๆ ก็จะไม่มีการปะปน

    ผู้ฟัง ขณะนี้เราพอที่จะเข้าใจถึงลักษณะได้ยินกับเสียงว่าต่างกันไหม

    ท่านอาจารย์ ด้วยอะไร

    ผู้ฟัง ด้วยความเข้าใจ หรือว่าพิจารณา แต่ไม่ใช่มันปรากฏอย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ ใช่ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าขั้นฟัง ขั้นไตร่ตรองเข้าใจ แต่เวลาที่สติเกิด กับหลงลืมสติ นี่ต้องรู้ความต่าง นี้คือขั้นแรก

    ผู้ฟัง แต่ขั้นเข้าใจว่าได้ยินกับเสียง ไม่ทราบว่าใครคิดว่าง่ายไหม ที่ว่าแยกกันได้เลย ไหม

    ท่านอาจารย์ จำชื่อไม่ยาก แม้แต่เพียงจะกล่าวว่า มีธรรม ๒ อย่าง หรือธาตุ ๒ อย่าง สภาพหนึ่งหรือธาตุชนิดหนึ่ง ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย ส่วนอีกสภาพหนึ่งนั้น เป็นธาตุรู้หรือสภาพรู้ แค่นี้ ถึงลักษณะของสภาพ นี้แล้วหรือยัง ศึกษาเพื่อที่จะให้ประจักษ์อย่างถ่องแท้ เพราะว่าขณะนั้นไม่ใช่เรา ทั้งหมดตั้งแต่เกิดจนตาย ก็มีนามธรรม กับ รูปธรรม ๒ อย่าง

    ผู้ฟัง ท่านอาจาย์แสดงเป็นบัญญัติโดยธรรม จริงๆ แล้วก็ไม่มี ชื่อ จิตทางมโนวิญญาณ ก็แปลงชื่อ แปลงสัณฐานของเสียงนั้น ให้เป็นชื่อ เป็นเรื่องเป็นราว ไปทุกๆ นัยตามที่เราก็ว่า บัญญัตินั่นแหละ

    ท่านอาจารย์ ที่คุณจำนง ถามข้อนี้ คงหมายความว่าอาจจะมีบางคนคิดว่า ไม่มีคำนี้ในพระไตรปิฎก ที่ว่าปรมัตถ์ ไม่มีชื่อ ก็จะเป็นที่สงสัย ว่าแล้วทำไมมาพูดอย่างนี้ ไม่เห็นมีเลยในพระไตรปิฎก แต่ถ้าจะพิจารณาด้วยความเข้าใจ ก็รู้ได้ว่า เพราะชื่อเป็นบัญญัติ ปรมัตถ์จะมีชื่อได้อย่างไร เพราะปรมัตถ์ เป็นปรมัตถ์ ไม่ใช่ว่าไม่มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก ถ้าเข้าใจจริงๆ ก็ต้องรู้อย่างนั้นว่า เพราะบัญญัติเป็นชื่อ เพราะฉะนั้น ปรมัตถ์จะเป็นชื่อไม่ได้ ปรมัตถต้องมีลักษณะจริงๆ

    ผู้ฟัง ขอบพระคุณ

    ผู้ฟัง พระสูตรนี้ แสดงเรื่องตาไม่เที่ยง รูปก็ไม่เที่ยง จักขุวิญญาณไม่เที่ยง เป็นต้น เป็นเรื่องธรรมดา ที่มีในชีวิตประจำวัน ผู้ที่รู้จริงๆ ก็ถึงมรรคที่ ๔ ได้ เช่นเดียวกัน จะมีบางท่านที่กล่าวว่า รู้แต่อ่อนๆ แข็งๆ หรือว่าตา หรือสีเป็นต้น เหมือนกับว่าเป็นการกล่าวธรรม ที่ไม่ครอบคลุม แต่จริงๆ แล้ว ตามนัยพระสูตร แค่ ๖ ทวารนี้ ก็เป็นการกล่าวครอบคลุม ปรมัตถธรรมทั้งหมด แล้วก็ถ้ารู้จริงๆ ทวารใดทวาร ๑ ก็ถึงกันหมด ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ถ้าจะพิจารณาให้เข้าใจ คำที่ได้ยินได้ฟัง ก็ต้องพิจารณาละเอียด ด้วย เช่น รู้ อ่อน แข็งๆ อ่อนๆ อย่างนี้ แล้วก็จะรู้ อริยสัจจธรรมได้อย่างไร เหมือนกับไม่มีอะไรเลย แล้วถ้าไม่รู้

    ผู้ฟัง ถ้าไม่รู้ก็ไม่ได้ ไม่ถึงเหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ นั่นสิ เพราะฉะนั้น ถ้าใครจะพูดอะไรก็ตามแต่ เราพิจารณาได้เลย ถ้าจะว่ารู้ลักษณะของสภาพธรรมที่อ่อนๆ แข็งๆ เป็นสิ่งที่มีจริง รู้ แล้วถ้าไม่รู้ ถ้าจะให้ไม่รู้ ก็คือ ไม่รู้ เพราะฉะนั้น ก็เป็นความไม่รู้ และจะรู้อะไร เห็น ไม่ให้รู้แล้วจะ รู้อะไร เพราะฉะนั้น ไม่ว่าใครจะพูดอะไรก็ตามแต่ พิจารณาได้ แล้วก็กลับไปได้ว่า แล้วถ้าไม่รู้จะเป็นอย่างไร

    ผู้ฟัง ไม่รู้ก็เป็นอวิชชา

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง

    ผู้ฟัง อ่อนแข็ง เป็นทุกขสัจหรือเปล่า

    วิทยากร เป็น

    ผู้ฟัง พระพุทธเจ้า บอกทุกขสัจ ควรรู้ ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ก็ต้องตามที่พระพุทธองค์ตรัส

    ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่จริง เราสามารถที่จะสอบถาม จนถึงที่สุดได้ ถ้าเป็นสิ่งที่จริง ก็สอบถามจนถึงที่สุดได้เหมือนกัน คือมีคำตอบที่ถูกต้อง แต่ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่จริง ถามไปถึงที่สุดก็คือไม่มีคำตอบ อย่างเมื่อกี้นี้ ถ้าถามกลับ ถ้าไม่รู้แล้วเท่านั้นก็ไม่มีคำตอบแล้ว ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ถ้าไม่รู้ ก็ถึงพระนิพพานไม่ได้ ไม่ใช่อริยสัจ

    ท่านอาจารย์ เดียว แล้วถ้าไม่รู้ ใครสรรเสริญ ความไม่รู้บ้าง แล้วสิ่งนั้นก็มีด้วย เมื่อสิ่งนั้นมีแล้ว ให้ไม่รู้ ถูกต้องหรือผิด

    ผู้ฟัง ถ้าให้ไม่รู้ ผิด

    วิทยากร สติปัฏฐานจะเกิดต้องเป็น มหากุศลญาณสัมปยุตต ไม่ใช่ว่าในขณะจิตที่เป็นภวังค์ จะไประลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏได้อย่างไร ขณะตื่นอยู่ สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ยังยาก แล้วจะไปขณะที่หลับอยู่ เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นแบบนั้นได้

    ผู้ฟัง ถ้าเป็นมหาบุรุษ ท่านคงจะระลึกได้ไหม ภวังค์ เพราะแม้แต่ลมหายใจ ทำไมระลึกได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ต้องเป็นมหาบุรุษ ก่อนจะเป็นพระโสดาบัน ต้องรู้สภาพธรรม จนละได้

    ผู้ฟัง หมายถึง ระลึกรู้ ภวังค์ เป็นอารมณ์ด้วย

    ท่านอาจารย์ ไม่มีชื่อ ใช่ไหม แต่มีขณะซึ่งสภาพธรรมไม่ได้ปรากฏ แล้วก็มีสภาพธรรมปรากฏ ถ้ามิฉะนั้นก็จะ ไม่เข้าใจความหมายของอายตนะ

    ผู้ฟัง หมายความว่า รู้ความขาดตอนของทวาร

    ท่านอาจารย์ รู้ ความต่าง ของขณะที่ไม่มีสภาพธรรมปรากฏ แล้วก็มีสภาพธรรมปรากฏ

    ผู้ฟัง รู้ว่าช่วงหนึ่ง ไม่มีสภาพธรรมปรากฏ

    ท่านอาจารย์ มีไหม

    ผู้ฟัง ก็ภวังค์ ก็ไม่มี

    ท่านอาจารย์ แน่นอน ต้องมี ใช่ไหม ขณะนี้เป็นอย่างไร ขณะนี้ก็คือการฟัง เข้าใจ ขณะที่แทงตลอด ประจักษ์แจ้ง เป็นอย่างไร ก็จะต้องเป็นการรู้ความจริงในขณะนี้ อย่างนั้น ไม่ใช่ไปรู้อื่น แต่จากการที่สติสัมปชัญญะ หรือสติปัฏฐานยังไม่เกิดเลย กับขณะที่เริ่มเกิด แล้วก็รู้ความต่างว่าเวลาที่สติสัมปชัญญะเกิด อารมณ์เป็นปกติอย่างนี้แหละ ธรรมดาอย่างนี้แหละ เพียงแต่ว่า ขณะนั้นระลึกลักษณะที่เป็นปรมัตถ ซึ่งปกติ วันหนึ่งๆ แม้ปรมัตถธรรม ปรากฏก็ ผ่านไป ด้วยความหลงลืม ด้วยความติดข้อง ด้วยความเป็นตัวตน

    ขณะใดที่สติสัมปชัญญะ ระลึก ขณะนั้นต้องรู้ ว่าเป็นสติ เป็นสภาพที่ระลึกลักษณะนั้น แล้วกว่าจะอบรมจนกระทั่ง เข้าใจลักษณะที่ต่างกันของนามธรรม และรูปธรรม โดยการแทงตลอด ประจักษ์ลักษณะนั้น ทางมโนทวาร เพราะฉะนั้น ก็ไม่มีความสงสัย ว่าวิปัสสนาญาณทั้งหมด ทุกญาณเป็นมโนทวาร แต่ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีปัญจทวารสลับ เพราะว่าจะต้องมีลักษณะของรูปปรากฏสืบต่อ ที่จะเห็นความชัดเจน ด้วยปัญญาระดับ ที่แทงตลอด เพราะฉะนั้น ทุกอย่างที่เป็นปกติอย่างนี้ ไม่ผิด ปกติเลย แต่คำว่า แทงตลอด ก็คือเมื่อ อบรมแล้ว สติสัมปชัญญะ ก็สามารถแทงตลอด สิ่งที่กำลังเป็นอย่างนี้ จึงจะรู้ว่าเป็นปกติ แล้วก็ไม่ต้องมีการทำอะไรเลย ทั้งสิ้น เพราะว่าสภาพธรรมมีแล้ว ทุกขณะเพราะเกิดแล้ว

    ผู้ฟัง ผมขอเรียนถาม คือ พระโสดาบัน ปกติก่อนนั้นท่านก็เป็นกัลยาณปุถุชน ท่านก็เจริญสติปัฏฐาน คือเจริญมรรคมีองค์ ๕ หรือองค์ ๖ พอบรรลุ หมายถึงว่า อริยมรรคเกิด อริยมรรคทั้ง ๘ ก็เกิดกับท่าน ทีนี้ขณะที่เป็นพระโสดาบันอยู่ ท่านก็เจริญสติปัฏฐาน ทีนี้การเจริญสติปัฏฐาน ของพระโสดาบัน ก็เป็นมรรคมีองค์ ๕ องค์ ๖ อย่างนี้ ต่อไปหรืออย่างไร

    ท่านอาจารย์ ตั้งแต่ก่อนเป็นพระอริย จนกระทั่งถึง ความเป็นพระอรหันต์ก็ มีหนทางเดียว หนทางเดียวนี้ คืออะไร

    ผู้ฟัง คือสติปัฏฐาน รวมไปถึง พระสกทาคา พระอนาคามี ท่านก็ระลึกมรรคมีองค์ ๕ องค์ ๖ อยู่อย่างนี้จนกว่าจะครบ ๘ แล้วก็ ไปอีกที เคลื่อนไปทีละขั้น ทีละขั้น

    ท่านอาจารย์ ธรรมจริงๆ มี ถ้าไม่ใช่สติปัฏฐานระลึก จะรู้ได้ไหม

    ผู้ฟัง ก็ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ นี่ก็เป็นการยืนยันแล้ว หนทางเดียวไม่ว่าจะเป็นใคร ไม่ว่าจะเป็นใครก็หนทางนี้ เพราะว่าสภาพธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แล้วก็ดับ ไปเรื่อยๆ ในขณะนี้ ถ้าสติสัมปชัญญะ ไม่ระลึก จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม อะไร ก็ไม่รู้เลย เพราะแค่ฟัง ก็แค่คิด แต่ว่าไม่ประจักษ์ลักษณะไหนเลยทั้งสิ้น ถ้าสติสัมปชัญญะไม่เกิด เพราะฉะนั้น คำตอบก็คือสิ่งใดถูก ก็คือต้องถูก จะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้ หนทางอื่นจะมีได้อย่างไร หนทางที่ไม่ใช่สติปัฏฐาน จะมีได้อย่างไร ในเมื่อสภาพธรรมมี แล้วสติสัมปชัญญะไม่ระลึก จะรู้ไม่ได้

    ผู้ฟัง ขอบพระคุณ

    ผู้ฟัง พูดถึง ภวังคจิต แล้ว ชาติก็เป็นวิบาก เพราะฉะนั้น มหากุศลญาณสัปมยุตต สติปัฏฐานเกิด ก็เป็นชาติที่เป็นกุศล ชาติมันก็ต่างกันอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ก็ระลึกรู้ได้ ในชาติวิบากนั้น

    ท่านอาจารย์ แล้วก็อย่างที่ว่า ไม่มีชื่อ แน่นอน แต่ว่าลักษณะมี แต่ก็ ชินกับชื่อ พอระลึกอะไรก็กล่าวสำทับลงไปอีก เป็นนามธรรม เป็นรูปธรรม เป็นเวทนา เป็นอะไรก็แล้วแต่ คิดนึกจะปรุงแต่งเกิดขึ้น จนกว่าจะรู้ว่าขณะนั้นก็เป็นสภาพธรรมที่ไม่ใช่เรา คิดยาวมากทั้งวัน กว่าจะรู้ว่าเป็นจิตที่คิด หรืออาจจะไม่รู้เลย หลายๆ วันก็ไม่รู้เลย เป็นจิตที่คิดนั่นเอง ทั้งๆ ที่ก็เรียนเรื่องจิต

    ผู้ฟัง เมื่อสักครู่ท่านอาจารย์ได้พูดถึงเรื่องทางสายเดียว ทางสายเอกที่เป็นสติปัฏฐาน ซึ่งบางท่านที่ติดในพยัญชนะ ก็จะตามพยัญชนะที่ว่า ทางสายเดียว คือ พิจารณาเห็น กาย เวทนา จิต ธรรม ใช่ไหม ตามนัยของสติปัฏฐาน

    ท่านอาจารย์ ลักษณะของสภาพธรรมนั้น ไม่ใช่ชื่อ ระลึกชื่อไม่ได้เลย ต้องมีลักษณะของกาย แล้วแต่ว่าจะเป็นทวารไหน

    ผู้ฟัง ทีนี้ในพระสูตรนี้ พระองค์ก็แสดงว่าข้อปฏิบัติ ที่สบายในการที่จะเพิกถอน สิ่งทั้งปวง อาจจะไม่ได้ใช้คำว่า สติปัฏฐาน ใช้คำว่าพิจารณาจักษุรูป จนถึงใจ มโน

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ในรูปทั้งหมด มีรูปเดียว ซึ่งสามารถจะปรากฏรูปร่างสัณฐานให้เห็นได้ ทางตา นอกจากนั้น แม้ว่าไม่ปรากฏเลย แต่ก็มีนิมิต คือลักษณะของรูปนั้นปรากฏ ให้รู้ว่าลักษณะนั้น เป็นลักษณะของเสียง หรือว่าลักษณะของรูปอื่น

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น รูปารมณ์ คือรูปเดียวที่ปรากฏได้ทางตา เท่านั้นเอง เพราะว่าที่ท่านอาจารย์บอกว่านามธรรมนี่มืดสนิท แต่ขณะเดียวกันที่แข็ง ปรากฏก็มืด แต่มี ลักษณะที่เป็นนิมิต และอนุพยัญชนะของแข็ง ที่มีลักษณะปรากฏได้ เพราะว่าเวลาเราลืมตา ขณะที่โลกนี้สว่างอยู่ แข็งก็มีให้รู้ได้ แต่จริงๆ แล้ว เขาก็เกิด คนละขณะ เพราะขณะที่เห็น ไม่ใช่ขณะที่รู้แข็ง แต่ขณะเดียวกัน เราหลับตา แข็งก็ปรากฏได้ หรือว่าได้ยินเสียงแม้แต่หลับตา เราก็มีเสียงปรากฏได้ รูปเดียวเท่านั้น ที่เป็นสิ่งที่ปรากฏทางตาขณะนี้

    ท่านอาจารย์ นี่คือสิ่งที่มีอยู่ในขณะนี้ แล้วก็ทุกชาติด้วย แต่ก็อบรมจากการฟัง ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะประจักษ์แจ้ง

    ผู้ฟัง เรียนท่านอาจารย์ ได้ยินท่านท่านอาจารย์กล่าวนามธรรม จะเรียนถามท่านอาจารย์ว่า แล้วนามธรรมมีอะไร ที่จะสังเกตได้ มีลักษณะ

    ท่านอาจารย์ เป็นสภาพรู้ หรือธาตุรู้ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า เวลาที่เราได้ยินได้ฟังธรรม แล้วเราต้องรู้จัก ตัวเองตามความเป็นจริง ว่าเรายังไม่รู้ แล้วก็เต็มไปด้วยโลภสมุทัย ที่ต้องการ เวลาที่อกุศลธรรม อกุศลจิตเกิดขึ้น มีใครชอบบ้างไหม ที่ไม่ชอบ เพราะคิดว่า อกุศลนั้นเป็นเราหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่รู้

    ท่านอาจารย์ ไม่ชอบ ใช่ไหมที่จะไม่รู้ แล้วขณะนั้น ที่ไม่ชอบเพราะเหตุว่า ความไม่รู้นั้นก็เป็นเรา ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่ คำว่า เบื่อนี่ มันเป็นโทสะ

    ท่านอาจารย์ ทุกอย่างที่ไม่ชอบ เป็นโทสะ ถ้ารู้จริงๆ ว่าเป็นธรรม จะเบาสบายไหม ชั่วขณะที่เกิดแล้วก็ดับ ต้องรู้อย่างนี้ เพราะฉะนั้น การฟังว่า สภาพธรรมทั้งหลายเกิด แล้วดับ ไม่ได้หวั่นไหว ไม่ได้เห็นว่าเป็นภัย เป็นปกติ ใช่ไหม เกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับเป็นปกติ แต่การเกิดแล้วดับ เห็นเป็นภัย ไหมว่า ดับแล้วไม่กลับมาอีกเลย

    ผู้ฟัง ไม่เห็น

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ปัญญาจะต้องถึงการเห็นภัย ขณะที่จิตเห็นขณะนี้ มีจิตได้ยินแล้ว ภัยใหญ่หลวงก็คือว่า จิตเห็นนี้แหละดับ แล้วก็เป็นปัจจัยให้จิตได้ยิน เกิด แต่จริงๆ แล้ว ระหว่างเกิดดับ ก็มีจิตคิดนึกมากมาย มีภวังคจิต มีอะไรหลายอย่าง ซึ่งเต็มไปด้วยความไม่รู้ซึ่งเกิดดับทั้งนั้น

    เพราะฉะนั้น ถ้าเห็นจริงๆ ว่าสิ่งที่กำลังมี นี่แหละดับ ไม่เที่ยงเลย ขณะนี้เห็น ฟัง แล้วก็เข้าใจ ว่าเป็นชั่วขณะที่จิตเกิดขึ้นเห็น แล้วขณะที่ได้ยิน ก็เป็นอีกขณะ ๑ จิตเกิดขึ้นได้ยิน จิตเห็นต้องดับ แล้วจิตได้ยินก็เกิด แล้วจิตได้ยินก็ดับ จิตทุกขณะที่มีสิ่งหนึ่ง สิ่งใดปรากฏ เพราะจิตเกิดขึ้นรู้ นี่คือเริ่มที่จะไถ่ถอน ความเป็นเรา เพราะรู้ว่าสิ่งต่างๆ ที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ เพราะจิตเกิดขึ้นทั้งนั้นเลย จิตเกิดขึ้นเห็น สิ่งที่ปรากฏทางตาจึงปรากฏ จิตเกิดขึ้นได้ยินเสียงจึงได้ปรากฏ ขณะที่ได้กลิ่น ซึ่งก็มีในชีวิตประจำวัน ก็เพราะจิตนั่นแหละ เกิดขึ้นแล้วก็ได้กลิ่น เพราะฉะนั้น ทุกอย่างที่ปรากฏ เพราะจิตเกิดขึ้น แล้วก็รู้สิ่งนั้นทีละขณะ

    ผู้ฟัง จิตที่เกิดขึ้นมันเป็นสามัญลักษณะของมันเป็น อย่างนั้นเอง ซึ่งพอสติไม่ได้ระลึก มันก็เป็นเรา ที่อยากจะไปเห็น อยากจะไปรู้ แต่ทีนี้อยากจะไปรู้ มันเข้าไม่ถึง มันถึงแต่เฉพาะนิมิต อนุพยัญชนะ

    ท่านอาจารย์ แล้วเราขณะนี้ หยาบมากไหม ขณะกำลังเห็น เป็นเรา ขณะกำลังได้ยินเป็นเรา ขณะกำลังคิดนึกเป็นเรา แล้วขณะอื่นๆ ก็เป็นเราด้วย แต่ก็ไม่รู้ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า ถ้าสติสัมปชัญญะเกิด มีการรู้ลักษณะของสภาพธรรม จะเห็นเราละเอียดขึ้นว่า มากมายมหาศาลกว่าที่กำลังเป็นในขณะนี้ แค่ไหน

    ผู้ฟัง ขณะที่วันๆ หนึ่ง สติมันไม่ได้มาเยี่ยมเราเลย

    ท่านอาจารย์ ตอนนั้นอกุศลเป็นเรา ก็เลยไม่ชอบ ก็เป็นเรา ก็เป็นอย่างนี้ พอกุศลมาก็ดีใจ พอกุศลเกิดก็ดีใจ ก็ยังเป็นเราอีก

    ผู้ฟัง แม้กระทั่งบางครั้ง สภาวธรรมที่หยาบๆ สติไม่ระลึก ยังไม่รู้เลย ปล่อยมันเกิด ตามอัธยาศัยของเราเอง

    ท่านอาจารย์ ดูเหมือนปล่อย แต่ความจริงไม่มีใครเลย ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัยทั้งนั้น เพราะว่าเหมือนเราปล่อย แต่ความจริง อะไรจะเกิดขึ้นก็ต้องเกิดตามเหตุตามปัจจัย

    ผู้ฟัง อภิธรรมส่วนใหญ่ จะเป็นสภาวะธรรม เป็นธาตุ อายตนะ ขันธ์ ๕ ก็ไม่มีตัวตน แต่ท้ายๆ ก็ยังมี บุคคลบัญญัติ นิดหน่อย อาจารย์ช่วยขยายความตรงนี้

    ท่านอาจารย์ ในพระสูตรก็มีขันธ์ มีธาตุ มีอายตนะด้วย ไม่ใช่มีแต่เฉพาะในพระอภิธรรม ในพระสูตร ก็มีขันธ์ มีธาตุ มีอายตนะ

    เพราะฉะนั้น ทรงแสดงธรรม โดยที่ประมวลไว้เป็นประเภทว่าถ้าเกี่ยวกับการที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ของบรรพชิตแล้วก็ ส่วนใหญ่อยู่ในพระวินัย

    หรือว่าพระสูตรก็ เป็นการที่ทรงแสดงพระธรรม กับใครที่ไหน แต่ก็ต้องเป็นธรรมทั้งหมด

    ส่วนพระอภิธรรมก็เป็นเรื่อง ธรรมอย่างละเอียด ซึ่งเราก็ได้ศึกษากันบ้าง เช่น อกุศลจิตมี ๑๒ ประเภท เป็นโลภะ ที่เกิดร่วมกับการเห็นผิด ๔ แล้วก็ เป็นโลภะ ที่ไม่เกิดร่วมกับความเห็นผิด ๔ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าขณะนี้ ไม่มี

    เพราะฉะนั้น เราไม่ได้จำ จำนวน แล้วก็ไม่เข้าใจสภาพธรรม แต่ว่าขณะที่สภาพธรรมเกิด จะเป็นธรรมอะไร ขณะใดที่กำลังฟังเข้าใจ ขณะนั้นก็คือปัญญา ขณะนั้นต้องมีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วย ตามที่ทรงแสดงไว้ในพระอภิธรรม และในพระสูตรอื่นๆ ด้วย

    เพราะฉะนั้น ทั้ง ๓ ปิฎกต้องสอดคล้องกัน ไม่ได้แยกกันเลย แต่ว่าขณะใดก็ตาม ที่ได้กล่าวถึงสิ่งที่เราได้เรียนเป็นพระอภิธรรมแล้ว ก็ไม่ใช่ว่าเราหาไม่เจอในพระสูตร เช่น ในขณะนี้ทางตา พูดถึงเห็น เราก็รู้ว่าหมายความถึง จักขุวิญญาณ ซึ่งกำลังมี สิ่งที่กำลังปรากฏเป็นอารมณ์ แต่ในพระอภิธรรมละเอียดยิ่ง คือได้กล่าวถึงจิต ซึ่งเกิดต่อจากจักขุวิญญาณด้วย ว่าเป็นจิตอะไร แล้วทำกิจอะไร แต่ว่าเมื่อสภาพของจิตนั้นๆ ไม่ได้ปรากฏ เช่น หลังจากจิตเห็นดับไปแล้ว จิตอะไรปรากฏ เราไม่รู้เลย แต่เราจะรู้ต่อเมื่อ ชอบ หรือไม่ชอบ ในสิ่งที่ปรากฏ

    เพราะฉะนั้น พระสูตรที่ทรงแสดง ก็ทรงแสดงเพื่อที่จะให้ ผู้ฟัง สามารถเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังมีจริงๆ แล้วที่กำลังปรากฏในขณะนั้นได้ แต่สำหรับพระอภิธรรม ก็เป็นส่วนที่เราได้ศึกษาแล้ว แล้วก็เกื้อกูลให้เห็นความเป็นอนัตตา โดยละเอียดยิ่ง แต่ถ้ากล่าวถึงว่า อกุศลจิต โลภะ ๘ โทสะ ๒ โมหะ ๒ ก็จบแล้ว แต่ตามความเป็นจริงไม่เคยจบเลย เพราะว่าโลภมูลจิต จะเกิดตลอดมากทีเดียวในชาติหนึ่ง ชาติหนึ่ง แล้วแต่ว่าจะเป็นประเภทไหน

    เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ บางครั้ง มีความสำคัญตนเกิดขึ้น เราก็รู้ในขณะนั้น ว่า เป็นสภาพที่เราได้ยินได้ฟังมาแล้ว ว่าเป็นโลภมูลจิต แต่ไม่ต้องมานั่งเทียบเคียงในขณะนั้น เพราะว่าถ้ากำลังคิดไตร่ตรอง ขณะนั้นก็ไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดแล้วดับ

    เพราะฉะนั้น ในขณะนี้ สิ่งที่ควรจะระลึก เข้าใจให้ถูกต้อง ก็คือสิ่งที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ ดับ แล้วก็เกิด แล้วก็ดับ แล้วก็เกิด แล้วก็ดับ เพราะฉะนั้น ขณะใดที่สติสัมปชัญญะ ไม่ได้รู้ตรงลักษณะที่จะเข้าใจลักษณะนั้น สิ่งนั้นเกิดแล้วดับแล้ว เพราะฉะนั้น เมื่อมีปัจจัยที่จะทำให้สภาพธรรมเกิดอยู่เรื่อยๆ ก็ไม่ต้องเป็นห่วง ว่าสติสัมปชัญญะจะเกิดเมื่อไร เพราะเหตุว่าความห่วง ก็แสดงถึงความเป็นเรานั่นเอง ทุกอย่างในชีวิตประจำวัน แสดงถึงความเป็นเรา โดยไม่รู้เลย แต่ถ้ารู้ ก็จะรู้ว่าขณะนั้น มีการยึดถือสภาพธรรมนั้นๆ ยังไม่ได้ละคลายไปเลย จากเพียงขั้นการฟัง ซึ่งใช้คำว่า ปริยัติ คือการฟังพระธรรม ไม่สามารถที่จะดับความเป็นเราได้ ต่อเมื่อไรที่ได้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรม แต่ละอย่างขึ้น ทีละเล็กทีละน้อย ก็คลายความไม่รู้ แต่ก็ยังไม่สามารถที่จะดับ ความเป็นเราได้ เป็นสมุจเฉท จนกว่าจะถึงโสดาปัตติมรรคที่ รู้แจ้งอริยสัจจธรรม

    เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องของการที่จะ เข้าใจสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง เพื่อละความไม่ เคยรู้ ไม่เข้าใจมาก่อน ทีละเล็กทีละน้อย ก็ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริงแล้วก็พิสูจน์ได้ อย่างขณะนี้ ทุกคนเห็นคุณสุกิจ ใช่ไหม เห็นสิ่งที่ปรากฏ ทางตาก่อน ต้องมีสิ่งที่ปรากฏทางตา ถ้าไม่มีสิ่งที่ปรากฏทางตา จะนึกว่าเป็นคุณสุกิจไม่ได้เลย

    เห็นมีสิ่งที่ปรากฏทางตา หลังจากนั้นก็ มีสัญญาความทรงจำ ที่จำรูปร่าง ลักษณะได้ พอเห็นก็รู้เลย ว่าเป็นคุณสุกิจ ไม่ใช่คนอื่น ขณะนั้นที่รู้ก็เป็นนามธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง ธรรมไม่ได้ปฏิเสธ สิ่งใดจริงก็จริง เพราะถ้าไม่มีจิตจะรู้ไหมว่า เป็นคุณสุกิจ ขณะนั้นมีจิตที่รู้ในรูปร่างสัณฐาน แล้วก็สามารถที่จะแม้ไม่เรียกชื่อ ก็รู้ว่าสิ่งนั้น บุคคลนั้นเป็นใคร เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่า การเห็นก็มีจริงๆ การจำได้ก็มีจริง การรู้เรื่องราวของสิ่งที่ปรากฏก็จริง

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 108
    25 มี.ค. 2567