ปกิณณกธรรม ตอนที่ 700


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๗๐๐

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๗


    ท่านอาจารย์ โดยชื่อใช้คำว่า สติปัฏฐาน โดยชื่อใช้คำว่า มรรคมีองค์ ๘ หรือองค์ ๕ ก็แล้วแต่จะกี่องค์ แต่ขณะนั้นไม่ต้องมีชื่อเลย เพราะเหตุว่าเราทำไมจะต้องไปเรียกชื่อ ในเมื่อสภาพนั้นกำลังทำหน้าที่ รู้ตรงลักษณะของสภาพธรรม แล้วก็กำลังค่อยๆ เข้าใจขึ้นในลักษณะของสภาพธรรมนั้น เพราะฉะนั้น ขณะนั้นโดยชื่อก็คือ สติปัฏฐาน โดยชื่อก็คือ มรรคเป็นหนทางที่จะทำให้ค่อยๆ รู้ลักษณะ แต่ละลักษณะจนกระทั่งสามารถที่จะประจักษ์จริงๆ เพราะว่าขั้นฟัง ทุกคนเชื่อแล้ว ใช่ไหม จิตเห็นต้องดับก่อน แล้วก็จิตได้ยินถึงจะเกิดขึ้น หรือว่าสภาพธรรมอื่นจึงจะเกิดขึ้น แล้วลองคิดว่าขณะที่ฟังอย่างนี้ แล้วเข้าใจอย่างนี้ ยังห่าง ยังหยาบกับความเป็นจริง แค่ไหน เพราะว่าความเป็นจริงที่ทรงแสดงไว้โดยพระอภิธรรม ที่ละเอียดกว่าในพระสูตร ก็จะมีขณะจิตซึ่งเกิดดับสืบต่อกัน และหลายวาระมากมาย เพราะฉะนั้น ก็ไม่ต้องไปห่วงไปกังวลอะไรเลยทั้งสิ้น เพราเหตุว่าปัญญาขั้นหยาบ ก็จะต้องรู้สิ่งที่หยาบก่อน แล้วปัญญาที่ค่อยๆ ละเอียดขึ้นก็จะค่อยๆ รู้ละเอียดขึ้น เช่น ขณะนี้มีสภาพธรรมหลายอย่าง เพราะเหตุใด เพราะเหตุว่าเกิดดับสืบต่อเร็วมาก เหมือนกับว่ากำลังเห็นด้วย กำลังได้ยินด้วย ก็ไม่ต้องไปกังวล แต่ขณะใดที่กำลังรู้ตรงลักษณะหนึ่ง ลักษณะจริงๆ

    นี่เป็นเหตุที่เราต้องกล่าวถึงลักษณะของปรมัตถธรรม ว่าสภาพธรรมแต่ละอย่าง มีลักษณะของตนเอง แต่ละอย่าง ทรงแสดงความจริงของธรรมที่มี ไม่ใช่ไปแสดงเรื่องราวธรรม แล้วให้เราไปหา แต่ว่าธรรมขณะนี้มีอยู่แล้ว แล้วก็ทรงแสดงลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่าง ให้มีความเข้าใจจนกระทั่งสติ ระลึกตรงลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้น จะผิดไหม มีลักษณะธรรมจริงๆ แต่ไม่เคยรู้ว่าเป็นลักษณะแต่ละลักษณะเพราะว่าสติไม่เคยระลึกตรงนั้น

    เพราะฉะนั้น แต่ละลักษณะที่ปรากฏ หมดไปเร็วมาก ขณะใดที่สติสัมปชัญญะ ไม่ได้ระลึก เป็นเรื่องราวทั้งหมด เพราะเหตุว่าสภาพธรรมแต่อย่าง เกิดแล้วดับแล้ว แล้วเราก็ไม่เคยรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่างเลย เพราะฉะนั้น การที่จะรู้ว่าเป็นธรรม แล้วก็มีลักษณะเฉพาะแต่ละอย่าง จริงๆ ก็ต่อเมื่อสติกำลังรู้ตรงลักษณะนั้น

    เพราะฉะนั้น ขณะใดที่รู้ก็ไม่ต้องเรียกชื่อว่าสติ เพราะกำลังเริ่มที่จะเข้าใจ ลักษณะแต่ละลักษณะ ขั้นต้นต้องหยาบอย่างนี้ แล้วก็จะเห็นได้ว่า กว่าที่ปัญญาจะสามารถรู้ โดยสติสัมปชัญญะ พิจารณาลักษณะของสภาพธรรม แต่ละลักษณะเพิ่มขึ้น ก็จะเห็นได้เลยว่า แต่ละลักษณะจะมีสติที่รู้เฉพาะแต่ละลักษณะนั้น เช่นขณะนี้ทั้งเห็น ทั้งได้ยิน ทั้งคิดนึกเกิดดับไปแล้ว โดยสติสัมปชัญญะไม่เกิด แล้วถ้าสติสัมปชัญญะ จะเริ่มเกิด รู้ตรงลักษณะหนึ่ง แค่ลักษณะเดียว ลักษณะอื่นก็เกิดดับผ่านไปหมด

    แต่ถ้าสามารถที่จะค่อยๆ อบรม แล้วก็รู้ลักษณะของแต่ละธรรมเพิ่มขึ้น ลักษณะของสภาพธรรมในขณะที่เห็น คนนั้นก็สามารถที่จะรู้ได้ สืบต่อกันใกล้ชิดขึ้น ว่าลักษณะที่เห็นเป็นสภาพรู้ แล้วลักษณะที่ได้ยินก็เป็นสภาพรู้ แต่ว่าสิ่งที่ปรากฏคนละอย่าง ถ้าสติสัมปชัญญะ สามารถที่จะรู้ละเอียดขึ้นเมื่อไร ทั่วเมื่อไร ละสมุทัย เพราะเหตุว่าจะต้องรู้เลย ว่าลุ่มลึกจึงเห็นยาก ว่าโลภะ อยู่ตรงไหน มีความยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน อยู่ตรงไหน ถ้ายังมีการยึดถืออยู่ก็หมายความว่าขณะนั้นไม่สามารถที่จะละคลาย ความเป็นตัวตนได้ สภาพธรรม ก็ไม่เปิดเผย ไม่ปรากฏ ในการเกิดดับ ต่อเมื่อไรที่สามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม แต่ละลักษณะ เพิ่มขึ้น พร้อมการละคลาย ความไม่รู้ ไม่ใช่ด้วยความต้องการ ฟังมาว่าต้องเพียรก็เลยเพียร แต่ว่าเพียรด้วยความเป็นเรา ไม่ใช่เพียรที่จะเข้าใจถูกต้อง ในลักษณะของสภาพธรรม พร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่าลุ่มลึกจริงๆ กว่าสติสัมปชัญญะ จะค่อยๆ เกิด ค่อยๆ รู้ ค่อยๆ ละความติดข้อง ทั้งหมดแม้แต่ทุกข์ คือการเกิดดับ และ สมุทัย คือความติดข้อง การยึดถือทุกข์นั้นก็จะต้องรู้ตามความเป็นจริง ยากที่จะรู้ว่ากำลังติดข้องในสิ่งที่กำลังปรากฏซึ่งเกิดดับ

    ผู้ฟัง ขออนุญาตท่านอาจารย์ ถ้าสมมติว่าขณะที่ได้ยิน ก็เป็นสภาพรู้ แล้วก็ต้องมีเสียงปรากฏด้วย แล้วถ้ารู้เรื่องอีกก็เป็นเรื่องราวเป็นสภาพคิดนึก ทั้ง ๓ อย่างนี้ต้องมีปรากฏ หรือแม้เจตสิกที่ประกอบด้วยกับ ขณะที่จิตเป็นสภาพรู้ แต่ว่าตรงนี้แล้วแต่ที่สติเขาจะระลึก ในสภาพใดก็ได้ ตรงนี้ใช่ไหมที่อาจารย์บอกว่า ไม่ต้องพะวง บอกว่าจะไปรู้อะไร เพราะไม่ใช่หน้าที่ของเราที่จะต้องไปรู้ในลักษณะนั้น

    ท่านอาจารย์ มิฉะนั้นแล้ว โลภะ ก็จะทำให้เราพะวง แล้วก็ติดข้องแล้วก็จะเลือก แล้วก็จะรู้อะไร เพราะฉะนั้น ก็ยังคงเป็นเราอยู่นั้นแหละ

    ผู้ฟัง ขอบพระคุณ

    ผู้ฟัง ขณะที่สภาพธรรมปรากฏ แต่ละขณะ ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส นึกคิด เป็นรูปผ่านชั้นบรรยากาศมา

    ท่านอาจารย์ ขอประทานโทษ เสียงปรากฏเมื่อไร

    ผู้ฟัง ขณะที่จิตได้ยิน

    ท่านอาจารย์ ใช่ จบ

    ผู้ฟัง เอาแค่นั้น

    ท่านอาจารย์ ก่อนนั้นเสียงไม่ได้ปรากฏแล้ว ไปผ่านอะไรมาทางไหน พิจารณาเสียงเมื่อไร

    ผู้ฟัง ขณะที่ได้ยิน

    ท่านอาจารย์ แล้วพิจารณาอย่างไร ว่าผ่านชั้นบรรยากาศนั้นไม่ถูก

    ผู้ฟัง พิจารณาดูว่าขณะที่บุคคลเขาลงของอยู่ ทีนี้มีเสียงดังมาก เสียงนี้ก็ไม่หยุดไม่หย่อน ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน ทีนี้ผมก็มาพิจารณาดูว่า เสียงนี้ จิตได้ยินเสียง

    ท่านอาจารย์ นั่นคือเราคิด

    ผู้ฟัง คือเราคิด ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่การรู้ลักษณะของเสียง ถ้าตามความเป็นจริงที่รู้แล้ว จะสบายมาก คือไม่มีการติดข้อง ที่จะต้องไปคิดอย่างนั้น เพราะว่าเสียงที่คุณหลาวทอง กล่าวเมื่อกี้นี้คือเสียงดัง ตลอดเวลา เดี๋ยวดังๆ ใช่ไหม ก็ถูกแล้ว ดังก็หมดไป ดังก็หมดไป ดังก็หมดไป ก็ไม่ติดข้อง

    ผู้ฟัง ที่นี้ดัง ทั้งกลางวัน ทั้งกลางคืน ผมมาพิจารณาดู

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่ติดข้อง

    ผู้ฟัง ผมมาาพิจารณาดูว่า สภาพธรรมที่ปรากฏทำให้จิต นี่ ติดข้องมากเลย อาจารย์ เกิดโทสะ เกิดโลภะ

    ท่านอาจารย์ เกิดโทสะ ขณะนั้นไม่ได้รู้เลย เพราะโลภะ ใช่ไหม เพราะมีความติดข้อง ขณะนั้นโทสะจึงได้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น อะไรลุ่มลึก คือการฟังธรรมต้องฟังโดยตลอด ว่าเราต้องมีความเข้าใจถูก เห็นถูก ไม่ใช่เป็นตัวเราที่จะเอาแค่นั้น จะเอาแค่นี้ แต่ให้เข้าใจให้ถูกต้องว่า

    ผู้ฟัง ไม่ต้องไปกำหนดกฏเกณฑ์ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เวลาเสียงปรากฏจริงๆ แล้วรู้ตรงเสียง คำว่า รู้ตรงเสียง ในขั้นต้นคงจะยากสำหรับผู้ที่ ได้อบรมเพียงขั้นของการฟัง เพราะเหตุว่าจริงๆ แล้ว ถ้าศึกษา โดยที่เข้าใจปรมัตถธรรม จะทราบได้ว่าเสียงปรากฏ ๒ ทาง ๒ ทวารคือ ปรากฏทางหู แล้วหลังจากนั้นเมื่อเสียงดับไปแล้ว ภวังค์คั่นแล้ว ทางมโนทวาร รับรู้ต่อ อันนี้ทุกคนเข้าใจ แต่ขณะที่รับรู้ต่อ โดยปกติ ไม่ใช่สติสัมปชัญญะ เพราะเหตุว่าจะเป็นโลภะ หรือโทสะ หรือโมหะ ถ้าขณะนั้นเป็นอกุศล แต่ถ้าขณะนั้น เป็นสติสัมปชัญญะ ลองคิดดูสิว่า ทันทีที่เสียงปรากฏ แล้วรู้ตรงนั้น นั่นคือทางมโนทวาร ที่รู้แล้วตรงนั้น เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าเราจะต้องไปมีตัวเราที่พยายามให้รู้ตรงนั้น จะรู้มาก หรือจะรู้น้อย จะปล่อย หรือจะวาง ไม่ใช่เลย แต่ว่าเพียงขณะที่เสียงปรากฏ มีความเข้าใจทีละเล็กทีละน้อย ในเสียงที่ปรากฏนั้น เพราะฉะนั้น จะรวดเร็วสักแค่ไหน ถ้าจะกล่าวว่ามีความเข้าใจลักษณะของเสียงก็คือ ขณะนั้นเป็นปัญญาที่เกิดพร้อมกุศลจิต ที่กำลังมีเสียงนั้นเป็นอารมณ์ ต่อจากทางโสตทวารวิถี ก็เป็นปกติธรรมดา

    ผู้ฟัง แต่จะแยกเสียงได้ไหม

    ท่านอาจารย์ นี่จะทำ แต่บอกแล้วว่า ไม่ใช่เรื่องจะทำ เรื่องเข้าใจ เพราะฉะนั้น อยู่ที่เข้าใจว่าขณะนี้ เสียงกำลังปรากฏ ทุกคน

    ผู้ฟัง เอาแค่เสียง อย่างเดียว

    ท่านอาจารย์ เอาอีกแล้ว ไม่ใช่ ไม่ใช่เอา แต่เข้าใจ

    ผู้ฟัง เข้าใจเสียงอย่างเดียว ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เข้าใจว่าเสียงมี ทุกกคนกำลังมีเสียง แล้วปกติธรรมดา เราไม่ได้สนใจ ใส่ใจเสียงเลย ใช่ไหม เราคิดเรื่องต่างๆ ต่อไปทันที เพราะฉะนั้น เราจะไม่รู้ลักษณะของเสียงว่าเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งปรากฏแล้วก็ดับไป แล้วก็มีสภาพธรรมอื่นปรากฏต่อ เพราะเหตุว่าตลอดเวลาก็คือผ่านไปอย่างรวดเร็ว คิดถึงความรวดเร็วของการเกิดดับของจิต จากทางหูไปทางใจ แล้วก็ยังเป็นเรื่องราวต่างๆ

    เพราะฉะนั้น สติสัมปชัญญะ ก็คือการฟังให้เข้าใจว่า ถ้ารู้ลักษณะของเสียง คือเชั่วจณะที่เสียงปรากฏ เหมือนปกติธรรมดาทุกอย่าง แต่ขณะนั้นเริ่มรู้ตรงเสียงเท่านั้น จะได้รู้ว่าลักษณะของเสียงก็คืออย่างนี้ แล้วลักษณะอื่น ก็มีลักษณะอื่นต่อไปอีก กว่าจะค่อยๆ จางความป็นเรา หรือ ความเป็นตัวตนซึ่งพยายามจะแยกบ้าง จะทำบ้าง จะอะไรต่างๆ บ้าง เราก็เริ่มที่จะเห็นความเป็นเรา จากขณะที่สติสัมปชัญญะเกิดว่า ไม่ได้หมดไปเลย ติดตามมาอยู่ตลอดเวลา แม้แต่ข้อความที่ว่า ความห่วงใย การรวบรวม การทำไว้ในใจ และการพิจารณา ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนี้ผู้กำหนดอยู่ในเบื้องต้นว่า เราย่อมกำหนดรู้ทุกข์ แค่นี้ก็ยาก ใช่ไหม เพราะว่าส่วนใหญ่แล้ว เราห่วงใย แล้วเราก็พยายามที่จะรวบรวม พยายามที่จะทำ พยายามที่จะพิจารณาด้วยความเป็นเรา แต่ว่าต้องไม่มีแก่ภิกษุผู้กำหนด คือขณะนั้น สติสัมปชัญญะ รู้ตรงนั้น ตั้งแต่ต้นทีเดียว การอบรมทั้งหมดต้องมาจากขั้นต้น ถ้าขั้นต้นไม่มี ต่อๆ ไปก็มีไม่ได้ ไม่ใช่หมายความว่าตอนต้นผิดแล้วต่อๆ ไปจะถูก แต่ว่าปัญญาแม้ในขั้นต้นมีน้อย แต่ก็ยังเป็นปัญญา ที่สามารถที่จะเข้าใจถูกได้ ว่าขณะไหนถูก ขณะไหนผิด

    ผู้ฟัง ความห่วงใยในที่นี้หมายถึงอย่างไร แล้วเป็นความห่วงใยในอะไร

    ท่านอาจารย์ ดูเหมือนไม่มีห่วง แต่พอจะทำ ห่วงไหมที่จะทำกัน จะทำสติ หรือ จะทำสมาธิ หรือจะเลือกอย่างนั้น หรือจะเลือกอย่างนี้ เป็นความห่วงใยหรือเปล่า แต่ไม่เห็นแน่นอน ตามปกติ ถ้าขณะใดที่ความเห็นผิดเกิด ขณะนั้นจะไม่รู้เลย ถึงลักษณะนั้น แต่ยิ่งจะเพิ่มความเพียรกับความห่วงใย แต่เพียรผิด เพราะเหตุว่าไม่ใช่การที่จะรู้จริงๆ เข้าใจจริงๆ เพราะฉะนั้น ปัญญาเป็นเรื่องที่ละเอียด แล้วการที่จะรู้มรรคซึ่งเป็นทนทางที่เห็นยากว่านี่คือมรรค นี่คือหนทางที่จะอบรมเจริญปัญญา ต้องมีการที่จะเข้าใจ หรือแทงตลอด ในการที่นี่เป็นมรรคจริงๆ เป็นหนทางเดียวจริงๆ ที่เป็นปกติจริงๆ แล้วการรู้ก็คือรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมทางมโนทวารซึ่งสืบต่อจาก ทางปัญจทวาร แทนที่จะเป็นอกุศล ชั่วขณะนั้นเท่านั้น แล้วความห่วงใยก็มาอีก ถ้าขณะนั้นยังเป็นหนทางที่ผิดอยู่ เริ่มเห็นโลภะ ถ้าไม่เห็น ละไม่ได้ เพราะฉะนั้น ทั้งทุกข์ และทุกขสมุทัย จึงเป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง เพราะว่ามีก็ไม่มีใครู้ ยากต่อการที่จะเห็น

    ผู้ฟัง แล้วการรวบรวม การทำไว้ในใจ การพิจารณา ก็ไม่ใช่สิ่งที่เป็นประโยชน์ หรือ ที่ท่านกล่าวไว้

    ท่านอาจารย์ ต่อให้พยัญชนะว่าอย่างไรก็ตามแต่ แปลอย่างไร ขึ้นอยู่กับอรรถ ที่เราสามารถที่จะเข้าใจอรรถ อันนั้นหรือเปล่า เพราะอย่าง ความห่วงใย เหมือนไม่มี มีแต่ความอยากจะปฏิบัติ ใช่ไหม ดูแล้วเหมือนกับว่าไม่มีห่วงใยทางบ้าน ทางทำงาน หรืออะไรเลย มุ่งหน้า มุ่งตาที่จะไปปฏิบัติ แต่ขณะนั้นห่วงใยหรือเปล่า ห่วงใยในการปฏิบัติหรือเปล่า นี่เป็นสิ่งที่ลึกซึ้งที่จะต้องเห็นตามความเป็นจริงว่า แม้ในขั้นต้น ก็ต้องไม่มี ถ้าเป็นหนทางที่ถูก แต่แม้กระนั้น ก็ยังมีหลังจากที่ สภาพธรรมนั้นปรากฏ แล้วการที่ยังมีเหตุปัจจัยที่จะให้โลภะ หรือ ความห่วงใยต่างๆ เกิด ก็จะปรากฏให้เห็นได้ว่ายังไม่ได้ดับ เป็นสมุจเฉทเลย จะผูกใจ จะกังวล จะห่วงใย รวบรวม จะทำไว้ในใจ หรือการพิจารณา ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนี้ ผู้กำหนดอยู่ในเบื้องต้นว่าเราย่อมกำหนดรู้ ทุกข์ อันนี้คำแปลถูกต้อง แต่เราต้องพิจารณาอรรถ แม้แต่ที่ว่า เราย่อมกำหนดรู้ทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน เครื่องเตือนใจ เห็น รู้แล้วหรือยัง ถ้ายังไม่รู้ตามความเป็นจริงก็คือ ฟัง พิจารณาอบรมไป จนกว่าจะรู้จริงๆ ไม่ใช่ว่าไม่เห็นมีอะไร มีแต่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หรือ ไม่เห็นมีอะไร คำว่าไม่เห็นมีอะไร คือไม่รู้ว่ามีอะไร แต่ถ้าเห็นแล้ว ก็รู้ตามความเป็นจริง ก็คือขณะนั้นรู้ว่า เห็นเป็นอะไร

    ผู้ฟัง ความห่วงใย เป็นต้น ย่อมมีจำเดิมแก่การกำหนดขอท่านอาจารย์ช่วยขยายความ

    ท่านอาจารย์ ถ้ามีความเข้าใจจริงๆ ในเรื่องของอริยสัจ จะห่วงใยไหม หรือยังห่วงอยู่ว่าแล้วเมื่อไร เราจะรู้ ถ้าอย่างนั้นก็คือว่ายังไม่ได้เข้าใจ อริยสัจ ๔ จริงๆ แต่ถ้าเข้าใจจริงๆ แล้วแต่เหตุ เพราะเหตุว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เราจะต้องมีความคิดไหมว่า แล้วเมื่อไร เราจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม เมื่อไรสติปัฏฐาน จะเกิด นี้คือผู้ที่ไม่เข้าใจแต่ถ้าเป็นผู้ที่เข้าใจจริงๆ ความห่วงใย หรือว่าการรวบรวม การทำไว้ในใจ การพิจารณา ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนี้ผู้ กำหนดอยู่ในเบื้องต้นว่า เราย่อมกำหนดรู้ทุกข์ นี่คือศัพท์ที่แปล แต่หมายความว่าเป็นผู้ที่เข้าใจในเรื่องของการที่จะรู้ทุกข์ รู้สมุทัย ทำนิโรธให้แจ้ง เจริญมรรคให้เกิด ถ้าเข้าใจจริงๆ แล้วจะไม่เจริญ มีไหม แต่ไม่ใช่ด้วยความเป็นเรา หรือด้วยความเป็นตัวตน ว่าจะเจริญ แต่ว่ามีเหตุปัจจัยที่จะทำให้สติ เริ่มเกิด ค่อยๆ รู้ลักษณะ ค่อยๆ เข้าใจ ลักษณะที่กำลังปรากฏ เดี๋ยวนี้ อย่างแข็ง มี ค่อยๆ เข้าใจ กำลังเข้าใจ ทีละเล็กทีละน้อย ในลักษณะนั้นว่าเป็นลักษณะอย่างหนึ่ง แล้วเวลาที่เสียงไม่ใช่แข็ง ปรากฏสติสัมปชัญญะ ซึ่งเกิดสืบต่อ จะเห็นได้เลย ว่า ไม่ต้องมีการทำอะไรได้เลย ทั้งสิ้น แต่เป็นสติสัมปชัญญะ ที่รู้ลักษณะนั้นด้วยความที่ค่อยๆ เข้าใจ ในแต่ละลักษณะของสภาพธรรมแต่ละวัน ซึ่งเป็นรูปธรรม และเป็นนามธรรม เพราะฉะนั้น ก็จะไม่มีความห่วงใย นี่ตอนหนึ่ง แต่คความห่วงใยเป็นต้น ย่อมมีจำเดิมแก่การที่สติสัมปชัญญะเกิด

    แสดงให้เห็นว่า ตัวจริงๆ จะปรากฏทุกอย่าง เพราะเหตุว่าถ้าสติสัมปชัญญะเกิดในขั้นต้น ไม่ได้หมดไปเลย แต่ว่ายังมีความเป็นตัวตน ที่จะปรากฏให้เห็นว่า ขณะนั้นจะติดตามมามากหรือน้อย ช้าหรือเร็ว เพราะว่าจริงๆ แล้วสติสัมปชัญญะ ที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรมเป็นกุศลจริง แต่ความยึดถือสติสัมปชัญญะนั้นว่าเป็นเรา ก็ยังไม่หมดไป จนกว่าจะมีการพิจารณา จนกระทั่งว่าทั้งหมดเป็นธรรม ซึ่งก็ลองคิดดู จากการที่ไม่เคยรู้ลักษณะของสภาพธรรมเลย แล้วเพิ่งเริ่มทีละเล็กทีละน้อย แต่ละลักษณะ แม้แต่ตัวสติสัมปชัญญะ ปัญญาก็จะต้องรู้ตามความเป็นจริงว่า ขณะนั้นก็เป็นสภาพธรรม เพราะฉะนั้น จะค่อยๆ ละคลายความเป็นเรา ด้วยความรู้ แต่ว่าความเป็นเราที่มี ก็จะปรากฏตามกำลังของขณะที่จะปรากฏได้ เช่น ที่เคยกล่าวถึงว่า แม้ไม่มีอะไรเลย โลกว่างเปล่า ไม่เหลืออะไรเลยสักอย่าง แต่มีธาตุรู้ที่กำลังรู้แข็งหรือรู้ร้อนก็ตาม ขณะนั้นแข็งหรือร้อนเป็นเรา เห็นไหม ยังไม่ได้หมดไปเลย จนกว่าปัญญาจะเจริญขึ้น เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นไว้ว่าการที่เราจะเห็นสภาพธรรม ด้วยความไม่รู้ในสังสารวัฏฏ์ ที่ยาวนาน แล้วการที่จะรู้ จะยาวนาน หรือว่าจะไม่ยาวนาน ที่จะรู้ได้ กว่าจะหมดความเป็นเรา

    เพราะฉะนั้น ลักษณะของโลภะ ซึ่งเป็นสมุทัย ปัญญารู้ ปัญญาเห็น ตามความเป็นจริง เพราะถ้าไม่รู้ไม่เห็นสมุทัยตามความเป็นจริง ก็ไม่สามารถจะละสมุทัยได้

    ผู้ฟัง รูปธรรมที่ปรากฏทางปัญจทวาร เราก็พอรู้ได้ เพราะว่าเขาเกิดตั้ง ๑๗ ขณะของจิต แล้วก็โดยเฉพาะในชวนจิตเกิดถึง ๗ ขณะ แต่ว่านามธรรม เช่น จิตเห็น เขาเกิดครั้งเดียว ก็จะมาเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน ได้ไหม

    ท่านอาจารย์ ไม่ต้องกังวลเลย ครั้งเดียวไปนั่งนับ ไปนั่งรู้ เมื่อไร หลายวาระ ในขณะนี้

    ผู้ฟัง เขาจะปรากฏ ทางมโนทวาร หรือทางปัญจทวาร

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้ ทางไหน

    ผู้ฟัง ขณะนี้ทางตา

    ท่านอาจารย์ แล้วอย่างไร ต้องบอกว่าทางตา หรือว่ามีสภาพธรรมที่เป็นอย่างนี้แหละ โดยที่ไม่ต้องบอกว่าทางไหน คือว่าไม่มีชื่อ การที่จะเริ่มรู้ลักษณะของสภาพธรรมไม่มีชื่อใดๆ เลย ทันทีที่สติระลึกแล้วนึกถึงชื่อ นั่นคือขณะนั้นไม่ได้รู้ความจริงของลักษณะนั้นแล้ว เปลี่ยนไปเป็นนึกถึงชื่อทันที

    ผู้ฟัง เพราะว่า ท่านอาจารย์ให้ระลึก สภาพลักษณะที่ปรากฏ

    ท่านอาจารย์ หมายความว่า ขณะนี้มีสภาพธรรม แล้วมีความรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นหรือเปล่า ขณะนี้

    ผู้ฟัง ทางตาก็เป็นแต่เพียง รูปธรรม สิ่งที่ปรากฏทางตา

    ท่านอาจารย์ ก็เราพูดอย่างนี้ ใช่ไหม แต่ว่ารู้จริงๆ ในลักษณะนั้น หรือเปล่า ถ้ากำลังรู้ขณะนั้นไม่ใช่ชื่อเลย แข็งเรียกชื่ออะไร ขณะที่แข็งปรากฏ แข็งชื่ออะไร

    ผู้ฟัง ลักษณะของแข็ง

    ท่านอาจารย์ ไม่ต้องเรียกชื่อเลย ถ้าเรียกชื่อเมื่อไร ขณะนั้นไม่ได้รู้ลักษณะของแข็ง

    ผู้ฟัง แล้วอย่างรู้ลักษณะของสภาพรู้แข็ง

    ท่านอาจารย์ ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นอะไร ขณะนี้จะต้องรู้ว่ามีนามธรรม กับรูปธรรม ปัญญาแค่ไหน ขั้นไหน ต้นแค่ไหน ที่จะเกิดขึ้น ใช่ไหม เรายังไม่ได้ไปถึงระดับที่จะไปสามารถที่จะรู้ทั่ว แล้วก็ประจักษ์ ถ้าไม่ใด้อบรม เพราะฉะนั้น ในขั้นต้นเพียงแค่ฟัง ขณะนี้มีเห็นไหม ข้อเตือนใจก็คือรู้ความจริง รู้ลักษณะของเห็นหรือยัง เท่านั้น ไม่ต้องไปกังวลว่าทวารไหนเลย

    ผู้ฟัง รู้ว่ามีเห็น เพราะว่ามีสิ่งที่ปรากฏ

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้กำลังเห็น ลักษณะรู้มีไหม

    ผู้ฟัง ถ้าไม่ได้ฟัง จากการศึกษาก็จะไม่คิดว่ามี

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เมื่อศึกษาแล้วทราบว่า มี สิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะต้องมีธาตุซึ่งไม่มีรูปร่างเลย แต่เกิดขึ้นแล้วเห็น เป็นธาตุรู้ รู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ ทางหนึ่งทางใด เช่น เสียงก็กำลังได้ยินเสียง นี่คือธาตุชนิดหนึ่ง แล้วถ้าทางตาก็คือว่า กำลังเห็น นี่ก็เป็นสภาพรู้ หรือธาตุรู้ ซึ่งไม่ใช่เรา

    ผู้ฟัง จากความเข้าใจจากการฟัง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เวลานี้เห็นค่อยๆ เข้าใจ ในธาตุที่เห็น ไม่ใช่ ในสิ่งที่ปรากฏ นั่นคือเริ่มที่สติสัมปชัญญะ จะเข้าใจถูกในลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ ให้รู้ ไม่ใช่เพียงแต่ฟังแล้วก็นึกเป็นเรื่องราว แต่กำลังมีลักษณะของเห็นเดี๋ยวนี้ ที่กำลังเห็น แล้วค่อยๆ เข้าใจ ไม่ต้องไปนึกหารูปร่างใดๆ ทั้งสิ้นแต่ลักษณะที่กำลังเห็นในขณะนี้ ก็เป็นธาตุรู้

    ผู้ฟัง ขณะที่ค่อยๆ เข้าใจ ลักษณะการเห็น ลักษณะของการได้ยิน ขณะนั้นจะไม่เข้าใจสิ่งที่ปรากฏทางตา

    ท่านอาจารย์ ขณะนั้นไม่ใช่เรา แล้วก็เป็นสติสัมปชัญญะ ถ้าจะใช้ชื่อก็คือ เป็นสติสัมปชัญญะ เป็นมหากุศลญาณสัมปยุตต นี่คือเวลาที่เรียกชื่อ แต่จริงๆ แล้วกุศลญาณสัมปยุตต ก็ไม่ใช่เรา แล้วก็กำลังเข้าใจสิ่งที่มีด้วย เพราะฉะนั้น การที่จะเริ่มเข้าใจตัวสภาพธรรมจริงๆ จะเล็กน้อยสักแค่ไหน

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 108
    25 มี.ค. 2567