ปกิณณกธรรม ตอนที่ 663
ตอนที่ ๖๖๓
สนทนาธรรม ที่หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๖
ถ. เรียนถามท่านอาจารย์ว่า โดยปกติแล้ว ลักษณะของเอกัคคตาเจตสิก หรือว่าสมาธิ ก็ตั้งมั่นในอารมณ์หนึ่ง อารมณ์ใด แต่ว่าเอกัคคตาเจตสิก หรือว่าความตั้งมั่นที่เกิดเพราะความสุขเป็นปัจจัยนี้จะตั้งมั่นอย่างไร
ส. ไม่แสดงหาอารมณ์อื่น มีความสุขแล้วในอารมณ์ ที่กำลังรู้ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่จะคลายโลภะ ทั้งหมดก็คือสิ่งที่จะต้องอบรม แล้วสิ่งใดที่ยังไม่เกิดขึ้น สิ่งนั้นจะให้ความแจ่มแจ้งได้ไหม ทั้งหมดนี้ นิพพิทาวิราคะ พวกนี้ ถ้ายังไม่เกิด จะแจ่มแจ้งในความหมายของปีติ หรือว่าสุข หรือว่าความตั้งมั่นต่างๆ ได้ไหม เราก็เข้าใจในระดับที่เราเคย มี เท่านั้นเอง เช่นเวลาที่เรามีความสุข ขณะนั้นเราไม่ได้ต้องการอย่างอื่น เพราะกำลังสุขกับสิ่งที่มี ใช่ไหม นี่คือธรรมดาทั่วๆ ไป แต่ว่าเราก็จะรู้ได้ ในลักษณะนั้นแหละ ถ้าเป็นทางฝ่ายที่ตรงกันข้าม คือเป็นเรื่องของความสงบ เป็นเรื่องของความรู้ เป็นเรื่องของปัญญา ก็จะต้องเป็นลักษณะนั้น ที่ต่างกับขณะที่เป็นอกุศล แต่สภาพของความสุข หรือความตั้งมั่นก็ต้องมากกว่าด้วยกำลัง ของปัญญา
ถ. ขอเรียนถามท่านอาจารย์ว่าเพราะเหตุใด ญาณที่ ๑ ถึงญาณที่ ๔ จึงเป็นตรุณวิปัสสนา คือแปลว่า วิปัสสนาที่มีกำลังอ่อน
ส. เมื่อเป็นวิปัสสนาญาณแรก จะมีกำลังจนกระทั่งถึงประจักษ์แจ้งการเกิดดับ เป็นไปไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น สำหรับปัญญาที่หยั่งถึง ขณะนั้นก็เป็นความสมบูรณ์ของปัญญา ที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดปรากฏ ทางมโนทวาร เพราะฉะนั้น ก็ต้องเป็นวิปัสสนาญาณ ไม่ใช่สติปัฏฐาน นี่คือความต่างของสติปัฏฐาน
เพราะเวลาที่เราใช้ คำว่า แนวทางเจริญวิปัสสนา เป็นแนวทางที่จะให้ปัญญาที่รู้ชัดเกิดขึ้น แนวทางนั้นก็คือ การอบรมเจริญสติปัฏฐาน แต่ไม่ได้หมายความว่า สติที่เริ่มระลึกลักษณะของสภาพธรรม เป็นวิปัสสนา เพราะฉะนั้น ผู้นั้นก็จะเป็นผู้ที่ตรง รู้ว่าขณะไหนหลงลืมสติมากไหม วันหนึ่งๆ เพราะเหตุใดในสังสารวัฏฏ์ ไม่มีปัจจัยพอที่สติ จะเกิดบ่อยๆ แต่เมื่อไรที่สติเกิด ก็ให้ทราบว่าต้องมีเหตุปัจจัย ที่ทำให้สติสัมปชัญญะ ระลึกลักษณะของสภาพธรรมนั้นมีลักษณะจริงๆ แต่ไม่ใช่วิปัสสนาญาณ จะเป็นวิปัสสนาญาณไม่ได้ เพราะว่าต้องเป็นการประจักษ์ สภาพที่ปรากฏเกิดขึ้นทางมโนทวาร หมายความว่ามโนทวารในขณะนี้ปรากฏ ขณะนี้มโนทวารปรากฏหรือเปล่า
ถ. ตอนนี้ไม่ปรากฏ
ส. แต่รู้ว่ามี ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ความต่างของปริยัติ ก็คือว่า ปริยัติ รู้ว่ามีมโนทวารวิถีคั่น ระหว่างปัญจทวารวิถีแต่ละวาระ แต่ว่ามโนทวารวิถีไม่ได้ปรากฏ เพราะฉะนั้น จะเป็นการประจักษ์ เห็นชัดแจ้งในลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่างซึ่งต่างกัน คือสภาพธรรม ที่เป็นนามธรรม ไม่มีรูปธรรมใดๆ เจือปนเลย แล้วขณะนั้น ก็ไม่มีอะไรเลยหมด เพราะว่าเป็นมโนทวารที่กำลังมีสภาพธรรม เพียงอย่างเดียว เพียงเท่านี้ ที่ชั่วขณะที่วิปัสสนาญาณ มีปัจจัยที่จะเกิด แล้วก็ประจักษ์ หยั่งถึงลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมก่อน เพราะเหตุว่ายังไม่สามารถที่จะดับกิเลส ยังไม่ประจักษ์การเกิดดับ ยังไม่ได้คลายความสงสัย เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่จะต้องอบรมต่อไป
ถ. ท่านอาจารย์ ที่บอกว่า มโนทวารไม่ได้เกิด
ส. มโนทวารต้องเกิด มโนทวารวิถีจิตจะต้องรับอารมณ์ต่อจากปัญจทวารวิถีจิต ทุกครั้ง
ถ. ขณะที่เราเห็นสี เห็นสี เสร็จแล้วก็ พอเรารู้ว่า คนนี้คืออาจารย์ คนนี้คืออาจารย์สมพร ก็แสดงว่ามีมโนทวารเกิดแล้ว
ส. อันนี้ยังห่างมาก เพราะเหตุว่าไปรู้ถึงบัญญัติ เรื่องราวต่างๆ ไปคิดเรื่องราว แต่ขณะนี้ ที่ทางตาเห็น แล้วก็มีอายุ ๑๗ ขณะจิต รูปดับ รูปมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ ดับไปแล้ว ภวังค์คั่น มโนทวารวิถีจิตรับรู้ สิ่งที่ปรากฏต่อ จากทางหนึ่งทางใดของปัญจทวาร โดยรวดเร็ว เพราะฉะนั้น ไม่สามารถที่จะบอกได้ ว่าขณะนี้ ขณะไหนเป็นปัญจทวารวิถี ขณะไหนเป็นมโนทวารวิถีจิต แต่ก็รู้แน่ว่ามี มโนทวารวิถีแน่นอน
ถ. ก็สรุปว่า ขณะที่เรารู้ว่า อันนี้คืออะไรแล้ว นี่ สมมติว่าบางคนรู้ แล้วนี่ มีมโนทวารวิถี
ส. สั้นกว่านั้นอีก ยังไม่ต้องไปถึงรู้ ไมโครโฟน เพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา วาระของรูปซึ่งมีอายุ ๑๗ ขณะดับไป ขณะนี้กำลังดับ เกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ แต่การเกิดดับไม่ปรากฏ ก็เสมือนว่า ไม่ได้ดับเลย แล้วก็ไม่เกิดด้วย มีแล้วเท่านั้นเอง ขณะเกิดก็ไม่เห็น ขณะดับก็ไม่เห็น
ถ. ในขณะที่มโนทวารวิถีปรากฏ ตัวอย่างเช่น ตอนที่เรารู้สึกว่าเราโกรธแล้ว หรือว่า รู้สึกว่าเพลิดเพลินในสิ่งที่ปรากฏแล้ว ขณะนั้นถือว่าเป็นการรู้ ทางมโนทวารวิถีแล้ว ใช่ไหม
ส. สภาพธรรมปรากฏเพราะมีจิต แล้วจิตต้องเกิดดับ ตามเหตุตามปัจจัย โดยอานันตรปัจจัย สมานันตรปัจจัย ยับยั้งไม่ได้เลย แต่ความไม่รู้ทำให้ยึดถือสภาพธรรมที่ปรากฏว่าเป็นเรา หรือเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด
ถ. ขณะที่รู้สึกว่า ตอนนี้โกรธ
ส. กำลังโกรธเป็นคุณวรศักดิ์หรือเปล่า
ถ. ถ้าเป็นอกุศล เป็น
ส. เมื่อไรไม่เป็นคุณวรศักดิ์
ถ. เมื่อตอนที่กุศลจิตเกิด
ส. กุศลจิต ไม่ใช่คุณวรศักดิ์ หรือ
ถ. แล้วก็ตอนที่ สติระลึกรู้ด้วยว่าไม่ใช่เราด้วย
ส. ระลึกรู้ต้องมีลักษณะสภาพธรรมกำลังปรากฏ ขณะนั้น คุณวรศักดิ์ สามารถที่จะบอกได้ไหมว่าเป็นมโนทวารวิถี หรือปัญจทวารวิถี กำลังจับไมโครโฟนแข็ง บอกได้ไหมว่าแข็งรู้ได้ ทางกายทวาร หรือว่ามโนทวาร
ถ. ทางกายทวาร
ส. มี มโนทวารสืบต่อ โดยไม่รู้ ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ไม่ได้ปรากฏ ทางมโนทวาร เพราะเหตุว่ามโนทวารไม่ได้ปรากฏ จะปรากฏต่อปัญญาที่ เป็นวิปัสสนาญาณ
ถ. เพราะเหตุว่าการที่จะประจักษ์ทางปัญจทวารก็เนื่องจากว่า สามารถเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส หรือกระทบโผฏฐัพพะ แต่ว่าถ้าเกิดประจักษ์ทางมโนทวาร อย่างเช่น ความโกรธ การที่เราระลึกรู้ว่าขณะนั้น เป็นสภาพจิตที่ สภาพลักษณะที่มันเป็น ลักษณะอย่างนั้น ของมัน ขณะนั้นคิดว่า
ส. แล้วเดี๋ยวนี้เห็นไหม เป็นลักษณะของสภาพธรรมนั้น ของมันหรือเปล่า
ถ. เนื่องจากว่าเวทนาอ่อน
ส. ก็อย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงตองรู้ว่า ขณะใดสติสัมปชัญญะไม่เกิด จะไม่มีการรรู้ลักษณะหนึ่ง ลักษณะใด แต่ว่าไม่ใช่หมายความว่า ขณะที่สติสัมปชัญญะ เกิดระลึกรู้ลักษณะ ของสภาพธรรมนั้น ปัญญาจะหยั่งถึงประจักษ์ทางมโนทวาร ในลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ แต่ละอย่าง อย่างสั้นและรวดเร็ว
ถ. เนื่องจากว่าลักษณะที่ปรากฏ ทางมโนทวาร ไม่ใช่ลักษณะที่กระทบ เหมือนทางปัญจทวารทั่วไป เราจึงสังเกตได้ ยากกว่าหรือเปล่า
ส. สภาพของนามธรรมสามารถจะรู้ได้ไหม
ถ. รู้ได้
ส. ด้วยอะไร
ถ. ถ้าเรียกว่าเข้าใจถูก ก็ต้องเป็นปัญญา
ส. ต้องเป็นปัญญา ปัญญาแค่ฟัง กำลังฟัง จะรู้ลักษณะของนามธรรมได้ไหม
ถ. ไม่ได้
ส. ไม่ได้ และการที่จะรู้ลักษณะของนามธรรม จะรู้ได้ทางไหน
ถ. ก็ทางมโนทวาร
ส. ขณะนี้ที่รู้ไม่ได้ เพราะมโนทวารไม่ได้ปรากฏ ใช่ไหม
ถ. ใช่ ขณะนี้ ใช่ แต่ว่า ขณะที่ปรากฏทางมโนทวาร อย่างเจตสิกบางตัว อย่างความโกรธ หรือว่าความเพลิดเพลิน
ส. ความโกรธนั้น เป็นคุณวรศักดิ์ ไหม
ถ. เป็นถ้าเกิด อกุศลอย่างนั้น
ส. ก็ไม่ใช่ปัญญา ที่รู้ลักษณะของความโกรธ ว่าเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งทางมโนทวาร
ถ. ไม่ถือว่ารู้ลักษณะทางมโนทวาร ได้เลย เมื่อกี้อาจารย์ กล่าวถึง กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ ไม่ทราบว่า ๒ ตัว เป็นเจตสิกที่มีลักษณะต่างกันอย่างไร
ส. อย่างหนึ่ง ก็ทำให้จิตสงบ อีกอย่างหนึ่ง ก็ทำให้เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยสงบ
ถ. จิตตปัสสัทธิก็หมายถึง เจตสิกด้วย
ส. กายปัสสัทธิเป็นเจตสิก จิตตปัสสัทธิเป็นเจตสิก ที่ต้องเกิดร่วมกัน แยกกันไม่ได้เลย เพราะว่าจิตตปัสสัทธิทำให้จิตสงบ กายปัสสัทธิทำให้เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยในขณะนั้นสงบ
ถ. ขณะที่เรายังไม่สามารถระลึกได้ตรงจุดนั้น จะมีตัวอย่างสามารถมาใกล้เคียง เพื่อที่จะรู้ลักษณะของ ๒ ตัวนี้ได้ไหม
ส. คุณวรศักดิ์กำลังศึกษาอะไร
ถ. ศึกษาสภาพธรรม
ส. ใครเป็นคนแสดง
ถ. พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ส. ใช่ เพราะอะไร ถึงได้แสดงได้
ถ. ก็เพราะว่า คงประจักษ์
ส. ถ้าไม่ประจักษ์ จะสามารถรู้ได้ไหม
ถ. ไม่สามารถรู้ได้
ส. เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ประจักษ์ จะรู้ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ หรือเจตสิกหรือจิต หรือรูปต่างๆ ได้ไหม
ถ. ไม่ได้ แต่มันมีทฤษฎีที่สามารถ จะนำเราไปสู่ตรงจุดนั้นได้
ส. ทฤษฎีก็บอกอยู่แล้ว ว่ามีเจตสิก ๕๒ ใครรู้ลักษณะของเจตสิก ๕๒ หรือว่าฟังรู้ว่า มีเจตสิก๕๒ จากผู้ที่ตรัสรู้ ต้องไม่ลืม จากผู้ที่ทรงตรัสรู้ ถ้าไม่ตรัสรู้จะทรงแสดงได้ไหมของกายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ
ถ. ขณะที่เรานั่งอยู่ตอนนี้ รู้ว่าขณะที่เราตื่นอยู่ ก็ทางปัญจทวารก็ปิดบังมโนทวารไม่สามารถที่จะมีมโนทวารปรากฏได้ ส่วนเวลาเรานอนหลับ แล้วก็ฝัน อย่างนี้จะเรียกว่า มโนทวารปรากฏได้ไหม
ส. ฝันถึงอะไร
ถ. ฝันถึงทั่วไป แล้วแต่บางวัน
ส. ก็เหมือนเวลานี้ คิดถึงอะไร แล้วจะปรากฏหรือเปล่า ฝันกับคิดไม่ได้ต่างกันเลย เพียงแต่ว่าเวลาฝันไม่มีสภาพธรรมที่กระทบทางหนึ่ง ทางใด ทางปัญจทวารเลย แต่ในขณะที่กำลังคิดเดี๋ยวนี้ มีสภาพธรรมปรากฏสลับ กับความคิด เราจึงใช้คำว่า ไม่ได้ฝัน แต่คิดก็คือคิด เพราะฉะนั้น คิดในขณะนี้ ทางมโนทวารปรากฏ หรือเปล่าฉันใด ขณะที่ฝันก็ฉันนั้น
ถ. ขณะที่พูดกันถึงเรื่องว่า ไม่ว่าจะเป็นคิดนึกถึงเรื่องราว ก็คือ วิตก ตัวตรึกถึงเรื่องราว ทีนี้ขณะที่เจตสิก ที่วิตกเกิด ก็ต้องเกิดกับจิตด้วย ไม่ว่าจิตนั้นจะเป็นโลภะ หรือจะเป็นกุศลจิตได้ ใช่ไหม
ส. ได้
ถ. ได้ ถ้าอย่างนั้นแล้ว ขณะนั้นไม่ว่าจะเป็นโลภะ หรือเป็นอกุศลจิต จิตนั้นก็เป็นสภาพรู้ หรืออย่างไร
ส. จิตต้องรู้เสมอ เป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้ จิตจะเป็นอื่นไม่ได้เลย
ถ. ขณะที่พูดทั่วๆ ไปก็คือ ขณะที่ตรึกถึงเรื่องราวต่างๆ ก็จะเป็นโลภะ เกิดพร้อมกับวิตก ขณะนั้นโลภะก็เป็นสภาพรู้ แต่มันยังไม่ใช่เป็นลักษณะที่รู้ ในสภาพของธรรม ถ้าเป็นในลักษณะของที่ สติปัฏฐานเกิดระลึกรู้ สภาพรู้ก็ต้องเป็นจิตที่เป็น มหากุศลญาณสัมปยุตตดวงใหม่ ที่จะมารู้ลักษณะของสภาพรู้
ส. ขณะนั้นมีอะไร เป็นอารมณ์
ถ. ถ้าโลภะเกิด
ส. รู้อะไร
ถ. โลภมูลจิต ใช่ไหม
ส. ปกติธรรมดาอย่างนี้ ขณะนี้สภาพธรรม กำลังปรากฏ แต่ปรากฏกับอะไร จะกล่าวว่าสภาพธรรม ในขณะนี้ ไม่ได้ปรากฏไม่ได้ แต่ปรากฏกับอะไร อย่างสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ในขณะนี้ ปรากฏกับจิต ที่กำลังเห็น ปรากฏกับปัญญากับสติสัมปชัญญะ หรือเปล่า
ถ. ก็เปล่า
ส. เพราะฉะนั้น เวลาที่มีสติสัมปชัญญะ เกิดระลึก รู้อะไร
ถ. ก็รู้ลักษณะของธรรม คือ อาจจะรู้สภาพรู้ก็ได้
ส. หมายความว่า ต้องมีสิ่งที่ปรากฏแล้วก็ไม่ใช่เพียงแต่รู้ ด้วยจิต ซึ่งเป็นวิญญาณธาตุที่รู้ แต่ยังมีลักษณะสภาพธรรม ที่เป็นสติสัมปชัญญะที่รู้ เพราะเหตุว่าทางมโนทวาร ต้องรับรู้ต่อ แล้วจิตที่รู้ทาง มโนทวาร ปกติธรรมดา จะเป็นสติสัมปชัญญะ หรือไม่ใช่
เพราะฉะนั้น ผู้นั้นก็รู้เอง ว่าปกติในขณะนี้ ทางตาที่กำลังเห็น แล้วก็ผ่านไป แล้วก็มีมโนทวารวิถีจิตที่ รับรู้ต่อโดย ที่ว่าลักษณะของมโนทวารวิถี ก็ไม่ได้ปรากฏ กับปัญญา เพราะเหตุว่า สติสัมปชัญญะไม่ได้ระลึก เพราะฉะนั้น นี่ก็คือ ตามที่เราศึกษามา ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตา หรือทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ใน ๕ ทวาร เมื่อจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์หนึ่ง อารมณ์ใด ทางทวารหนึ่ง ทวารใด ดับไปแล้ว ภวังคจิตเกิดคั่น มโนทวารวิถีจิตก็จะมี อารมณ์เดียวเหมือนกันเลย แต่จิตที่เกิดรู้ทางมโนทวารเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล ปกติ ใช่ไหม คนนั้นถึงได้รู้ว่าปกติคือหลงลืมสติ มีอารมณ์ ต่อกันก็จริง แต่หลงลืมสติ เพราะฉะนั้น ถ้าขณะนั้นเป็นมหากุศลญาณสัมปยุตต โดยชื่อ ซึ่งความจริงไม่ต้องเรียกเลย เพราะเหตุว่าสภาพธรรมที่เกิด ก็มีปัจจัยเกิด แล้วขณะนั้น เป็นขณะที่กำลังรู้ลักษณะด้วยความเห็นที่ถูก หรือเข้าใจถูกต้อง ว่าขณะนั้นเป็นขณะที่ระลึกรู้ ลักษณะนั้น ไม่ใช่เพียงเห็น หรือว่าไม่ใช่เพียงได้ยิน หรือว่าไม่ใช่เพียงคิดนึก แต่มีขณะที่ระลึกรู้ ลักษณะนั้น แล้วก็ค่อยๆ อบรมความรู้ความเห็นถูกตรงตามที่ได้ศึกษาว่า ลักษณะของนามธรรมต่างกับลักษณะของรูปธรรม
ถ. ในทั่วๆ ไปที่เคยคุยกันมาแล้ว พูดถึงว่าเรื่องการรู้ทั่ว ถ้าเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว แน่นอนท่านต้องรู้ทุกอย่าง รู้ทั่วแล้วก็ท่านนำมาแสดง แต่ถ้าอย่างเป็นพวกคนอื่นๆ การที่บอกว่ารู้ทั่ว ดิฉันคิดว่า รู้ทั่วนั่นแหละ ต้องรู้ทั่วแน่ ต้องรู้ทั้งจิต เจตสิก รูป แล้วเลยไปถึงนิพพานด้วยก็จริง จริงๆ คำว่ารู้ทั่ว ตรงนี้ ไม่ได้หมายความว่า เจตสิกทุกเจตสิก จะต้องรู้ทั่วทุกเจตสิก
ส. ขณะนี้มีใครระลึกลักษณะของสภาพธรรมทางหนึ่ง ทางใด บ้างหรือยัง มีไหม หรือว่าไม่บอกเท่านั้นเอง ถึงแม้ว่าจะเกิดก็ไม่บอก แต่ถ้ามี กำลังระลึกรู้ลักษณะของสมมติว่าเป็นแข็ง ระลึกแล้วหายไป หมดไปแล้ว แม้แต่ขณะที่กำลังระลึก หรือแข็งก็ตามแต่ แต่ก็มีสภาพธรรมที่ปรากฏเหมือนไม่ได้หายไปเลย ใช่ไหม เหมือนไม่ได้ดับไป เหมือนไม่ได้เกิดขึ้น ก็มีลักษณะของสภาพธรรมนั้นปรากฏ ระลึกต่อไปหรือว่านานๆ จะระลึก แต่เราคิดว่า นานๆ จะระลึกที่ลักษณะของแข็ง เพราะว่ายังไม่ได้ระลึกลักษณะของเสียง อย่างอื่นเป็นต้น เห็น นี่ ระลึกหรือเปล่า ที่จะว่าทั่ว ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ทั่วคือทั่ว ทั่วเพื่อที่จะได้รู้ว่าขณะนี้ เป็นสภาพธรรมที่เห็นไม่ใช่เรา
ถ. คำว่า ทั่ว ตรงนั้น ดิฉันมีความหมายว่าทั่วทั้ง จิต รูป เจตสิก แต่มิได้หมายความว่าจะต้องรู้ ทั่ว ทุกรูป ๒๘ รูป
ส. เราไม่ต้องเรียกอะไรเลย ได้ไหม ขณะนี้ทุกคน กำลังเห็น ต้องเรียกจักขุปสาทเป็นปัจจัยหรือเปล่า ทั้งๆ ที่ไม่รู้เลยว่า เห็นขณะนี้จริงๆ นามธรรมที่เป็นสภาพหรือธาตุชนิดหนึ่ง ที่ไม่ใช่เรามีลักษณะต่างจากขณะนี้ที่กำลังเห็นอย่างไร เพราะว่าปกติ กำลังเห็นไม่รู้ ธาตุนี้ไม่ปรากฏไม่มีการใส่ใจ ไม่มีการเข้าใจเลย แต่พอค่อยๆ ที่จะรู้ว่า ไม่ได้มีแต่รูปที่ปรากฏเพราะเหตุว่าถ้าไม่มีนามธรรม รูปก็จะปรากฏไม่ได้เลย แต่ตัวนามธรรม ไม่ได้เห็นปรากฏ เหมือนอย่างรูปเลยสักทีหนึ่ง เพราะฉะนั้น จะรู้ในความเป็นนามธรรม จะรู้ได้อย่างไร นี่ก็ต้องรู้แล้ว ใช่ไหม ว่าต้องมีเหตุ คือ มีสติสัมปชัญญะ ที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรมนั้น
เราไม่ต้องไปคิดว่าเจตสิกมี ๕๒ แล้วเราจะรู้ทั่ว ๕๒ หรือว่ามีรูป ๒๘ แล้วเราจะไปรู้ทั่วรูป๒๘ สิ่งที่กำลังปรากฏแม้แต่เพียงที่เป็นวิสยรูป โคจรรูป ปกติธรรมดาชีวิตประจำวัน มี ๗ รูป ทางตามีรูปที่กำลังปรากฏ ๑ ทางหูมีเสียง ๑ ทางจมูกมีกลิ่น ๑ ทางลิ้นมีรส ๑ รวมเป็น ๔ ทางกายก็คือเย็น ๑ ร้อน ๑ แข็ง ๑ หรือว่าเย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว ก็ตามแต่ แค่ ๗ อย่างยังไม่รู้ แล้วเราจะไปคิดถึง ๒๘ รูป ก็คือความคิด แต่ไม่ใช่ความรู้ แล้วก็ไม่มีเราหรือเป็นตัวตนที่จะไปบังคับ ว่าจะให้รู้รูปอะไร หรือนามอะไร เพราะว่าทุกรูปทุกนามใหม่หมด ทุกขณะไม่ใช่เก่าเลย รูปใดก็ตามที่เกิดแล้วดับแล้ว ก็ไม่กลับมาอีก แล้วก็มีปัจจัยขณะนี้ที่เหมือนเดิม ดูเหมือนเดิม แต่ความจริงมีสมุฎฐาน ที่ทำให้รูปนั้นเกิดเหมือนเดิม แต่ว่าไม่ใช่อันเก่าทั้งนามธรรม และรูปธรรม เพราะฉะนั้น ก็ไม่จำเป็นเลย ที่เราจะไปคิด ใช่ไหม ว่าเราจะไปรู้ รูปชนิดไหน นามชนิดไหน เพราะว่าชนิดไหนยังไม่เกิด แม้แต่นามธรรม ชนิดไหนยังไม่เกิด มีไหม แล้วที่เกิดแล้ว ก็ดับแล้วด้วย เพราะฉะนั้น ชนิดไหนที่ยังไม่มาถึง ก็ไม่ต้องไปกังวลเลยทั้งสิ้น ก็เป็นนามธรรม และรูปธรรม ซึ่งใหม่ แล้วก็มีเหตุปัจจัยเกิดแล้วก็ปรากฏเท่านั้นเอง
ถ. ท่านอาจารย์กล่าวบอกว่าสภาพธรรม ไม่มีชื่อ ใช่ไหม เพราะฉะนั้น สภาพธรรมที่ปรากฏ ก็ต้องเป็นลักษณะของเขาต่างๆ กัน ซึ่งถ้าเป็นจิตก็เป็นสภาพรู้ ถ้าเป็นรูป เขาก็เป็นลักษณะที่ไม่รู้อะไร แต่ถ้าเป็นลักษณะของเจตสิก ก็เป็นลักษณะของเขาอีก ตรงนี้ท่านอาจารย์ ที่ว่ารู้ ก็คือต้องรู้ตัวจริงๆ ตรงนี้ ลักษณะของเขา ซึ่งมีความต่างกัน ดิฉันคิดว่าแค่นี้
ส. ก็ไม่ต้องไปทั่ว ใช่ไหม สิ่งที่มีปรากฏรู้ก่อน แล้วก็เลือกไม่ได้ด้วย แล้วที่ใครจะรู้จริงๆ คิดดูก็แล้วกัน ใครสามารถจะไปรู้ล่วงหน้าว่าจะรู้อะไร ในเมื่อทุกอย่างใหม่หมด แล้วแต่ว่าเหตุปัจจัย จะปรุงแต่งให้เกิดขึ้น เป็นเรื่องละความไม่รู้ แล้วก็ละความหวัง ละความคิด กะ กำหนด ทั้งหมดเลย เพราะว่าจะรู้ได้อย่างไร ในเมื่อมีความเข้าใจถูกต้อง ยิ่งขึ้น ว่าขณะนี้ เป็นสภาพธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ถ้ารู้ว่าแต่ละอย่าง เกิดเพราะเหตุปัจจัย คาดคะเน ข้างหน้าไม่ได้เลย ว่าปัจจัยจะปรุงแต่งให้สภาพธรรม อะไรเกิดขึ้นในลักษณะใด
ถ. แต่ถ้าวิปัสสนาญาณที่ ๑ เกิด มันก็ต้อง รู้ลักษณะของรูปกับนาม อยู่แล้ว
ส. ถูกต้องใช่ไหม
ถ. ถูก
ส. แล้วเวลานี้ เดี๋ยวนี้ ขณะนี้ รูปอะไรมี นามอะไรมี
ถ. ก็แล้วแต่เหตุปัจจัยที่จะเกิด
ส. เพราะฉะนั้น รู้อันที่กำลังมีเดี๋ยวนี้หรือเปล่า หรืออันที่ยังไม่มาถึง หรือว่าอันที่ไม่ปรากฏ
วิทยากร. รู้ธรรมที่กำลังปรากฏ กำลังปรากฏจริงที่สุดเลย
ถ. ตรงนี้ บงก็เข้าใจ แต่บง อยากจะรู้ว่าขอบเขตของที่เราจะรู้ได้ แค่ไหน
วิทยากร. ตามกำลังความสามารถ
ส. ถ้าอบรมไป ใครจะรู้ นอกจากตัวเอง ใช่ไหม แล้วตัวเองก็จะรู้ว่า จะปรากฏเพราะอะไร แต่ต้องเป็นเรื่องละ ความหวัง ละความต้องการ ละความอยาก
ถ. ที่อาจารย์ พร่ำสอนทุกวัน ก็ยังไม่เข้าใจ ระลึกได้ กับคิดได้
ส. ความจริง เป็นอย่างนี้ก็เป็นอย่างนี้ แต่เป็นผู้ที่มั่นคง แล้วก็รู้หนทางว่า ก็ไม่ต้องต่างจากปกติเลย แต่ว่าที่เรามียาก ที่จะละได้ก็คือ ความติดข้อง มีความต้องการแม้แต่ในขณะที่สติสัมปชัญญะเกิดระลึก แล้วก็หมดไป แล้วก็มีการคิดนึก ก็มีความติดข้องแล้ว เวลานี้ มีไหม
เพราะฉะนั้น การอบรมเจริญปัญญา ต้องทราบว่าละความติดข้อง โดยประการละทั้งปวง แม้แต่เพียงการที่เราคิดว่า เราไม่ได้ก้าวหน้า เป็นความติดข้องหรือเปล่า ในเมื่อความจริงก็คือว่าสติสัมปชัญญะ มีปัจจัยก็เกิดบ้าง เท่านั้นเอง ในสังสารวัฏฏ์ แล้วก็มีปัจจัยที่เป็นอวิชชา เป็นความไม่รู้ที่สะสมมาแสนนานที่ปรุงแต่ง ให้เกิดขณะที่หลงลืม สติแล้วก็เป็นความคิดต่างๆ รวมทั้งการที่เคยสะสม ความหวังความต้องการ ความติดข้องที่ต้องการผลสำหรับตัวเอง แต่เรื่องการอบรมเจริญปัญญา เป็นปัญญาจริงๆ ต้องรู้ลักษณะของปัญญาที่เริ่มมีนิดหน่อย จากการฟังเข้าใจ ต้องรู้ว่าที่กำลังฟังเข้าใจ ไม่ใช่ปัญญาระดับที่จะไปดับกิเลส หรือว่าระดับที่ประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดดับ หรือระดับที่ รู้ว่าลักษณะของวิปัสสนาญาณ ต่างกับขณะที่เป็นสติปัฏฐาน
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 661
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 662
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 663
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 664
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 665
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 666
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 667
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 668
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 669
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 670
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 671
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 672
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 673
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 674
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 675
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 676
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 677
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 678
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 679
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 680
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 681
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 682
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 683
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 684
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 685
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 686
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 687
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 688
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 689
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 690
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 691
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 692
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 693
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 694
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 695
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 696
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 697
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 698
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 699
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 700
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 701
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 702
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 703
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 704
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 705
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 706
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 707
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 708
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 709
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 710
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 711
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 712
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 713
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 714
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 715
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 716
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 717
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 718
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 719
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 720