ปกิณณกธรรม ตอนที่ 671


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๗๑

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๗


    ท่านอาจารย์ สิ่งที่ไม่ปรากฏ ไปคิดถึงสิ่งที่ไม่ปรากฏ คิดได้ไหม

    ผู้ฟัง ถ้าไม่ปรากฏแล้วจะคิดถึงได้อย่างไร

    ท่านอาจารย์ นั่นสิถึงได้ถาม แล้วเวลาคิด เพราะมีกามธาตุ แล้วก็มีสัญญาความจำ ถ้าไม่มีสัญญาความจำก็หมดไปแล้ว คิดอะไรก็ไม่ออก ไม่มีความคิด แต่เพราะเหตุว่ามีสัญญาความจำในสิ่งนั้น ก็คิดถึงสิ่งนั้น ไม่ใช่คิดถึงสิ่งอื่น สิ่งที่ไม่ปรากฏจะคิดถึงได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ คิดถึงพระนิพพานได้ไหม

    ผู้ฟัง ก็ไม่ปรากฏ

    ท่านอาจารย์ ใช่ นี่ก็แสดงอยู่แล้ว ใช่ไหม ว่าเราอยู่ในโลกของกาม เพราะฉะนั้น ก็มีกามสัญญา มีกามวิตก เวลาที่คิดถึง คิดถึงด้วยโลภะ หรือเปล่า ด้วยความพอใจ

    ผู้ฟัง ส่วนมาก

    ท่านอาจารย์ ก็มี คิดถึงด้วยพยาปาท ก็มี แต่เราจะกล่าวถึง การที่เราคิดถึงด้วยความพอใจ ซึ่งมีมากในชีวิตประจำวัน ลองพิสูจน์ดู ว่าจริงหรือเปล่า วันหนึ่งๆ ขุ่นใจอะไรหนักหนา หรือว่าโกรธใครอะไรมากมาย หรือว่ายังไม่ทันจะมีสิ่งนั้นก็ คิดถึงสิ่งที่ปรากฏ แล้วก็จำ แล้วก็คิดเรื่องราวของสิ่งนั้น เพราะฉะนั้น ก็ เป็นเหตุ ให้เกิด กามวิตก กามวิตกเกิดขึ้น ในเรื่องกาม ก็มีความไม่หมดฉันทะ ใช่ไหม มีความพอใจในสิ่งนั้น พอใจแล้วทำอย่างไร เร้าร้อนก่อน ใช่ไหม ถ้าไม่เร้าร้อน คงจะอยู่เฉยๆ ใช่ไหม ก็เป็นเรื่องธรรมดา เป็นชีวิตประจำวัน แต่ว่าแสดงโดยละเอียด ให้รู้ว่า ทุกอย่างต้องมีเหตุ เพราะฉะนั้น ถ้าจะกล่าวว่า วิหิงสาปริราหะ เป็นธาตุหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ ใช่ ทุกคนต้องตอบได้ ใช่ไหม วิหิงสาธาตุมีไหม พยาปาทธาตุมีไหม ทุกอย่างที่มีจริง จะระดับไหนก็ตาม เป็นธาตุทั้งหมด ใส่ธาตุเข้าไปได้เลย คือเป็นธรรม เพราะฉะนั้น ทุกคำทุกอย่างที่มีจริง จะยกโดยแสดงว่า เป็นเพียงความโลภ หรือเป็นฉันทะ หรือเป็นพยาบาท หรือว่าเป็นวิหิงสา หรืออะไร ระดับไหน ก็เป็นธาตุทั้งหมดซึ่งก็ต้องมีเหตุให้จะเกิดขึ้น กาม ความติดข้อง ความพอใจ เป็นอะไร

    ผู้ฟัง โลภะ

    ท่านอาจารย์ ใช่ เป็นอะไร

    ผู้ฟัง เป็นนามธรรม

    ท่านอาจารย์ สมุทัย ใครจะหนีโลภะไปไหนบ้าง

    ผู้ฟัง เป็นสมุทัย

    ท่านอาจารย์ ไม่มีทางเลย ตามติดทุกระยะ ไม่ให้พ้นไปได้ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องของปัญญาจริงๆ ที่จะเห็นอวิชชา สิ่งที่อยู่บนศีรษะ ไม่ค่อยจะเห็น แต่ว่าความจริงก็คือ พวกอกุศลธรรมทั้งหลาย ที่จะรู้ว่ามากกว่าที่เราคิดมากมาย แล้วก็ใครจะไปหวังว่า ให้สติสัมปชัญญะ เกิดบ่อยๆ ให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม ให้ประจักษ์การเกิดดับ ควรคิดไหม หรือว่าควรที่จะอบรมความรู้ความเข้าใจ ให้เพิ่มขึ้น ให้ตรงขึ้น

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ ช่วยกรุณาพวกเราหน่อย อบรมยาวๆ เลย จนกระทั่งวิริยะ จนการถึงการพ้นทุกข์

    ท่านอาจารย์ ใช่ นี่ก็เป็นความหวัง ในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่ขณะนี้ก็มีสิ่งที่กำลังเผชิญหน้า ให้เราเข้าใจ สิ่งที่เราได้ยินได้ฟังไป ทีละเล็กทีละน้อย เพราะว่า สิ่งที่เราได้ฟังมาทั้งหมด ก็มีจริงๆ แต่ว่า แม้ว่ามีจริง อย่างขณะนี้ก็ มีกามวิตก มีเนกขัมมะวิตกด้วย แต่ก็ไม่รู้เลย มีแต่ไม่รู้ กับการที่สิ่งนั้นเกิดเพราะเหตุปัจจัย แล้วก็มีสติสัมปชัญญะ ที่ระลึกแล้วรู้ ก็ต้องอาศัยการฟัง แล้วก็มีการเข้าใจ แล้วไม่หวัง ที่สำคัญที่สุดคือ สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ ต้องมาจากเหตุที่สมควรแก่ผล แต่ว่าไม่ใช่ด้วยความหวัง ถ้าเรามีความเข้าใจ ความเข้าใจจะละความไม่เข้าใจ มีความรู้เกิดขึ้น ก็ละความไม่รู้

    เพราะฉะนั้น เมื่อมีความรู้ถูกเกิดขึ้น ก็ย่อมเจริญ แล้วก็เป็นปัจจัยที่จะให้ มีการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม โดยมีความเข้าใจถูกในขณะนั้น ว่าเป็นอนัตตา มิฉะนั้นก็เราหวัง แล้วเราอยากได้ ก็เป็นเรา ก็เป็นอัตตา ไม่ใช่อนัตตา แต่เวลาที่สัมมาสติมีเหตุปัจจัยเกิดขึ้น ปัญญาในขณะนั้นก็สามารถที่จะรู้ถูก เห็นถูกได้ ว่าขณะนั้น ไม่มีเราเลย แต่ว่ามีปัจจัยที่ทำให้สัมมาสติเกิด ระลึกลักษณะของสภาพธรรม

    เพราะฉะนั้น หนทางนี้ เป็นทนทางที่ ลึกซึ้งเพราะเหตุ ว่าเราเคยเป็นธาตุหรือว่าถูกโลภะหรือความหวัง หรือความต้องการ หรือความเป็นเรา ครอบงำมานานแสนนาน จะหนีไปทางไหนก็ยาก โลภะรู้สึกจะตามตะครุบ ไม่ให้ไปไหนอยู่ตลอดเวลา เพราะเหตุว่าเดี๋ยวก็ต้องการสิ่งนั้น ไม่ต้องการสิ่งนั้น ก็ต้องการสิ่งอื่น อย่างขณะที่ฟังธรรม ก็อยากจะมีปัญญา อยากจะมีสติสัมปชัญญะ อยากจะรู้ลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งจะเป็นไปได้ต่อเมื่อ มีความรู้ว่าเป็นอนัตตา แต่ถ้ายังเป็นเราที่ต้องการ ความเป็นเราที่ต้องการ ก็จะกั้นไม่มีทางที่ความเป็นเราหรือความไม่รู้ จะไปสามารถรู้ ความจริงของสภาพธรรมได้

    ศึกษาธรรมเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เป็นเนกขัมมวิตก เวลาที่กุศลจิตเกิดทั้งหมด เป็นเนกขัมมะ ไม่ว่าจะเป็นกุศลประเภทใดก็ตาม เพราะฉะนั้น ก็เป็นการอบรมจริงๆ ซึ่งจะเห็นความเป็นอนัตตา ว่าความรู้ความเข้าใจที่มากขึ้น ทีละเล็กทีละน้อย พอสมควร กับการที่สภาพธรรมใดจะเกิด สภาพธรรมนั้นก็เกิด ยังไม่ต้องถึงสติสัมปชัญญะ เพียงให้รู้จริงๆ รู้ตัว ที่กำลังเป็นอยู่ในขณะนี้ ว่ามี อกุศล สะสมมา มากเท่าไร แค่นี้อยากจะรู้ไหม อกุศลมากแค่ไหนไม่ยากที่จะรู้เลย กำลังเห็น ไม่รู้ความจริง อวิชชาแล้ว กำลังได้ยินก็ไม่รู้อีก แล้วก็วันนี้ทั้งวันก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้น อวิชชา ความไม่รู้ก็ต้องสะสมไปมาก ชั่วขณะที่ปัญญาเห็นถูก ทีละเล็กทีละน้อย เป็นหนทางที่อบรม ปัญญาให้เจริญขึ้น จนสามารถที่จะประจักษ์ความจริงของสภาพธรรมได้ ในวันหนึ่ง ซึ่งก็จะมีความเพียร เกิดร่วมกับจิตที่เป็นกุศล ที่จะเพียรเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม โดยที่ว่าขณะใดที่มีความเห็นถูก ความเข้าใจถูก ขณะนั้นก็ค่อยๆ คลายความไม่รู้ และความเห็นผิดไปเรื่อยๆ ทีละเล็กทีละน้อย

    ผู้ฟัง ส่วนใหญ่เราจะไปตรึกตรงไปทางมิจฉาเสียส่วนมาก

    ท่านอาจารย์ เพราะอะไร ต้องมีเหตุ ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ อะไรเป็นเหตุ

    ผู้ฟัง ก็โลภะ หรืออวิชชา เป็นเหตุ

    ท่านอาจารย์ ใช่ เมื่อมีเหตุคือ โลภะ อวิชชา แล้วจะให้เป็นปัญญากับวิชชา ได้ไหม

    ผู้ฟัง เสียงของอาจารย์ก็เป็นเหตุ และปัจจัย ที่ให้เกิดโสมนัส ก็เป็นตัวตนอยู่นั่นแหละ

    ท่านอาจารย์ ต้องมีความเป็นเรา เป็นตัวตนจนกว่าจะเป็นพระโสดาบัน

    ผู้ฟัง ที่นี้ อย่างว่าเราปรารถนา มันก็ใกล้เคียงกับโลภะ

    ท่านอาจารย์ ตัวปรารถนาเป็นโลภะ ตอนที่เป็นปัญญาไม่ใช่โลภะ ก็ต้องทราบความละเอียด ที่ต่างกัน โลภะก็เป็นโลภะ ปัญญาก็เป็นปัญญา

    ผู้ฟัง ทีนี้มันกลับไปกลับมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตกเจตสิก ตัวนี้มันจะตามตรึก เราตรึกอย่างไร ระลึกอย่างไร สติจึงจะเกิด แล้วก็ปัญญาจึงจะเกิด

    ท่านอาจารย์ ต้องถึงความเป็นอนัตตา คือ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา

    ผู้ฟัง มันยาก อย่างไรก็ไปทางมิจฉาเสียส่วนใหญ่

    ท่านอาจารย์ ทุกคนเป็นเพื่อนคุณสุกิจ ทั้งนั้นเลย ไม่มีใครบอกว่าง่ายสักคน

    ผู้ฟัง กามปริเยสนา แสวงหากาม อันนี้ไม่สงสัย เพราะว่าเราแสวงหากันอยู่ แต่พยายาปาทปริเยสนา แสวงหาพยาปาท จะเป็นลักษณะอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ความจริงทุกคนที่แน่นอน ใช่ไหม ตั้งแต่ฉันทะ ความพอใจ จะเป็นความพอใจในกาม ในความติดข้องก็ได้ หรือว่าเวลาที่เกิดความขุ่นเคืองใจ ธาตุชนิดนี้มีไหม พยาปาทธาตุ มี ไม่ใช่ว่าไม่มี แต่เมื่อมีพยาปาทเกิดขึ้น จำไหม เราเคยไม่ชอบใคร เราเคยโกรธใคร หรือแม้ว่าจะเป็นวัตถุสิ่งของก็ตาม สิ่งนี้ไม่ชอบ มีอาหารบนโต๊ะหลายอย่าง อันนี้ไม่ชอบเพราะสัญญาความจำ ทำไมไม่ชอบอันนี้ ก็เพราะเหตุว่าจำได้ ก็มีพยาปาทสัญญา ได้ เพราะฉะนั้น ก็ทั้งหมด นี่เป็นชีวิตประจำวัน ซึ่งไม่ว่าจะเกิดความติดข้อง หรือความขุ่นเคือง ก็เพราะเหตุว่าธาตุนั้นๆ มี เมื่อมีเกิดขึ้นปรากฏจึงจำได้ เมื่อจำได้ ก็จะมีการที่ตรึกหรือนึกถึงแล้วก็มีฉันทะ มีความพอใจ แล้วก็คนที่ไม่เคยเร่าร้อน มีไหม หรือสบายๆ กันทุกวัน สบายทุกวัน ไม่เคยเร่าร้อนเพราะผม ไม่เคยเร่าร้อนเพราะฟัน ไม่เคยเร่าร้อนเพราะอะไรเลย หรือแม้มี ก็ไม่รู้ เพราะขณะนั้นวุ่นวาย เร่าร้อน ซึ่งถ้าไม่มี จะเป็นสภาพธรรม ที่ตรงกันข้ามเลย เย็นสนิทไม่ได้เดือดร้อนอะไรเลย แต่ความเร่าร้อน เร่าร้อนจนชิน แล้วก็มีฉันทะ มีความพอใจ ในสิ่งนั้น โดยที่ไม่รู้ว่าความเร่าร้อน นี่เกิดเพราะความพอใจ ในสิ่งนั้น ความติดข้องในสิ่งนั้น ทำให้ต้องมีการแสวงหา บางคนก็ถึงระดับที่ทุรนทุราย บางคนก็อาจจะไม่ถึงระดับนั้น ก็แล้วแต่ว่าเป็นสิ่งที่มี เป็นปกติแต่ไม่เคยสังเกต ไม่เคยคิด แล้วก็ไม่เคยรู้ถึงสาเหตุ ด้วยว่ามาจากอะไร แต่ทั้งฝ่ายโลภะ ทั้งฝ่ายโทสะ ก็เป็นธาตุ ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นปรากฏแล้วก็มีสัญญาความจำ มีการตรึกนึกถึง แล้วแต่ว่าจะเป็นความเร่าร้อนระดับไหนซึ่ง พวกอกุศลทั้งหมดก็ เป็นสภาพที่เร่าร้อนตามสภาพของอกุศลนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นโลภะ หรือโทสะ ซึ่งปรากฏให้เห็นชัดแต่ส่วนโมหะ มองไม่เห็น แต่ต้องมี ถ้าไม่มีก็ อกุศลทั้งหลายก็เกิดไม่ได้ เป็นสิ่งที่มี ไม่ใช่ว่าไม่เคยมี หรือไม่มี แต่มี แต่ว่าระดับของสิ่งที่มี บางกาลก็มาก บางกาลก็น้อย แต่ว่าเวลามากเราก็อาจจะปรากฏได้ว่ากระสับกระส่าย นอนไม่หลับ คิดเรื่องโน้นเรื่องนี้ โกรธ ไม่หาย หรือว่าอาจจะพะวง พอใจอย่างมาก ก็นอนไม่หลับก็ได้เหมือนกัน ขณะนั้นก็ต้องเร่าร้อน ใช่ไหม ไม่ใช่สิ่งที่ผิดปกติ ใช่ไหม เป็นปกติ มีอยู่แล้วแต่ว่า จะรู้ หรือไม่รู้ว่า ขณะนั้นเป็นธาตุชนิดหนึ่งๆ ไม่ว่าจะระดับไหนก็เป็นธาตุ

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์กล่าวบอกว่า พอใจในความเร่าร้อน ก็เราพอใจแล้วเราก็เลยไม่คิดว่า สิ่งนั้นเป็นสิ่งไม่ดี ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เราไม่รู้เลย ร้อนก็ไม่รู้ ในขณะที่อกุศลจิตไม่ว่าจะเป็นประเภทหนึ่งประเภทใดเกิดขึ้น จะไม่สามารถรู้ได้ ว่าขณะนั้นเป็นอกุศล ร้อนก็ไม่รู้ วันนี้ปฏิบัติผิดมากไหม ทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งใจ ผิดหรือถูก ยอมรับไหม ถ้าไม่รู้ เราก็ผิดโดยไม่รู้ว่าผิด แต่ถ้ารู้ ก็ทราบว่า ถ้าอกุศลจิตเกิด กายเป็นกุศลได้ไหม ทำสิ่งที่ดีงามได้ไหม ถ้าขณะนั้นเป็นอกุศล วาจาจะพูดสิ่งที่ดีงามได้ไหม ถ้าขณะนั้นจิตเป็นอกุศล ใจจะคิดเรื่องที่ดีได้ไหม ถ้าขณะนั้นเป็นอกุศล เพราะฉะนั้น วันนี้ปฏิบัติผิดมากหรือน้อย ถ้าอกุศลจิตเกิดมาก ก็ปฏิบัติผิดมาก นี่คือชีวิต จริงๆ กว่าจะรู้ เพื่อที่ค่อยๆ อบรมเจริญปัญญา ที่จะละ แต่ถ้าไม่รู้เลย ก็ไม่คิดเลย ที่จะต้องสะสมทางฝ่ายกุศลให้มากขึ้น น่ากลัวไหม

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์พูดถึง อกุศล ที่มีในชีวิตประจำวัน ที่เรียกว่าปฏิบัติผิด ถ้าพิจารณาดูแล้ว รู้ว่าเป็น สิ่งของที่เป็นเจ้าเรือนอยู่แล้ว ทั้งราคะ โทสะ โมหะ หรือวิตก ทั้ง ๓ อย่าง ก็ดูเหมือนว่าไม่ใช่ปฏิบัติผิด แต่อย่างไร เพราะว่า เป็นการเกิด เป็นธรรมดา ทั้งโลภะ ทั้งอกุศลทั้งหลายนี้

    ท่านอาจารย์ เป็นธรรมดาของใคร

    ผู้ฟัง ปุถุชน

    ท่านอาจารย์ ของคนที่มีอกุศลจิต แต่ถ้าเป็นคนที่ไม่มี อกุศลจิตประเภทนั้นๆ เขาก็จะไม่ปฏิบัติผิด ในเหตุนั้นๆ ที่เขาไม่มีแล้ว อย่างพระอรหันต์จะไม่มีการปฏิบัติผิด ทางกาย ทางวาจา ใจ เพราะฉะนั้น ถ้าลองเทียบดู ถ้าไม่มี คนจะเทียบ เราก็คิดว่าไม่เห็นเป็นอะไร ใช่ไหม แต่ว่าผู้ที่เป็นพระอรหันต์ที่หมดกิเลสแล้ว ไม่มีเลย กายของท่าน วาจาของท่าน ใจของท่าน จะต้องต่างกับผู้ที่ไม่ใช่พระอริยบุคคล ผู้ที่ป็นปุถุชน ไม่ใช่พระอริยบุคคล จะไม่รู้เลย เทียบไม่ได้เลย ไม่มีการรู้ตัวเลยว่าความห่างไกล ของผู้ที่มีปัญญา ที่ดับกิเลสหมดแล้ว กับชีวิตประจำวัน ของผู้ที่มีกิเลสอยู่ ทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งใจ ก็ต้องต่างกันมาก ดูเป็นปกติ ใช่ไหม แต่ว่าผู้นั้นได้เป็น พระอริยบุคคลถึง ขั้นพระอรหันต์ จะรู้ได้เลยว่าปกติของท่านเป็นอย่างหนึ่ง ปกติของผู้ที่ไม่มีกิเลส กับปกติของผู้มีกิเลสก็ห่างไกลกันมาก

    ผู้ฟัง เพราะว่า มีคำว่าปฏิบัติ ดูเหมือนว่าจะไกลตัว คือถ้าปฏิบัติผิด คงจะคิดว่าไปนั่งทำ พิสดารอะไรอย่างนั้น ใช่ไหม แต่ว่าจริงๆ แล้ว ขณะที่อกุศลวิตกเหล่านี้เกิดขึ้น ตรงนั้นก็เป็นมิจฉามรรค ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ มรรคมีองค์ ๘ หรือเปล่า หรือว่ามรรคปัจจัย นี่ก็เป็นอีกเรื่องจะใช้คำ หรือ มิจฉาปฏิปทา ก็มีความหมายต่างๆ กันไป แต่ให้ทราบว่าขณะใดที่เป็นอกุศล หรืออกุศลจิตเกิด กาย จะเป็นกุศลในทางที่ดีงามไม่ได้ วาจาก็จะเป็นในทางที่ดีงามไม่ได้ ก็ชีวิตที่ต่างกันเห็นได้ชัด ถ้ามีการเทียบเคียงระหว่าง พระอรหันต์ กับผู้ที่ยังมีกิเลส ผู้ที่มีกิเลสไม่เห็น ว่าตัวเองมีโทษ แล้วก็ปฏิบัติผิด ทางกาย ทางวาจา แต่สำหรับพระอรหันต์ท่านจะ พูดด้วยโลภะ ไม่มีเลย แต่ของเราทั้งวัน ถ้าอยู่ใกล้ชิดคนที่เป็นพี่น้อง ญาติสนิท เราก็มีคำพูด ที่เกิดจากโลภะ ความห่วงใย หรืออะไรก็แล้วแต่ ขณะนั้นจิตอะไร แต่สำหรับพระอรันต์จะไม่มีอย่างนั้นเลย

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ถ้าพระอรยิบุคคลขั้นต่ำ ที่เป็นพระเสขบุคคล ถ้าพูดโดย นัยนี้ท่านก็ยัง มี

    ท่านอาจารย์ ยังมีอกุศลตราบใด ก็จะต้องมีกาย วาจา ที่เป็นเพราะอกุศลนั้นๆ

    ผู้ฟัง ก็ยังมีเรียกว่า เป็นมิจฉาปฏิปทา ก็เป็นฝ่ายอกุศล

    ท่านอาจารย์ ขณะใดที่เป็นอกุศลจิต ขณะนั้นไม่ใช่หนทางที่จะทำให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม

    ผู้ฟัง โดยทั่วไป ที่เราจะเข้าใจว่า พระอริยบุคคล ท่านรู้ทาง ท่านจะต้องไม่ปฏิบัติผิด

    ท่านอาจารย์ เพราะว่า เราใช้คำว่า ปฏิบัติ ในความหมายของเรา คือความประพฤติเป็นไป แต้ถ้าพูดถึงความประพฤติเป็นไป เกิดจากอกุศลจิตจะถูกไม่ได้ ก็ต้องเป็นอีกความหมายหนึ่ง ไม่ใช่หนทางที่จะไปสู่มรรคผล เป็นหนทางผิด แต่ว่ากาย วาจาผิด เพราะ ขณะนั้นเป็นอกุศล

    ผู้ฟัง เป็นอกุศล แต่ที่นี้ในที่นี้ ท่านพูดถึงเรื่องวิตก วิตกเป็นองค์มรรค ๑ ในมรรค ๘

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นมิจฉามรรคได้

    ผู้ฟัง เป็นมิจฉามรรคได้ โดยนัยพระสูตร

    ท่านอาจารย์ ขณะเป็นอกุศลจิต

    ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ พูดถึงความห่างกันระหว่างปุถุชนกับพระอริยะ ทราบแล้วรู้สึกหดหู่ท้อถอย แบบ

    ท่านอาจารย์ ถ้าพูดอย่างนี้ ตัวตนมาอีกแล้ว พอพูดอย่างนี้ก็รู้เลยว่าความลึกของการยึดถือ ความเป็นเรามากสักแค่ไหน เพียงได้ยิน พระอรหันต์ ก็อยากเป็น เพียงได้ยินพระอรหันต์ก็ท้อถอย นั่นก็เพราะความรักตัว

    ผู้ฟัง อย่างการฟ้อง ถือว่าเป็นวิหิงสาหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ขึ้นอยู่กับเจตนา

    ผู้ฟัง เพราะว่าคนที่เราพูดถึงเขา เขาเดือดร้อน

    ท่านอาจารย์ มีความต้องการ ให้เขาเดือดร้อนหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ถ้าเล่าถึงเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งที่อาจจะเรียกว่า ไม่เป็นธรรม อย่างเช่น ภิกษุทั้งหลาย จะมากราบทูลพระผู้มีพระภาค เป็นประจำในเรื่องของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตรงนี้จะเรียกว่าฟ้องได้ไหม

    ท่านอาจารย์ ที่ถามเมื่อกี้นี้ก็ตรง คือเจตนาอะไร เพราะว่าสิ่งที่ไม่ดี จะเปลี่ยนให้เป็นดีไม่ได้ ความไม่ดี ก็คือความไม่ดี สิ่งที่ดีก็จะเปลี่ยนให้ไม่ดี ไม่ได้ ใช่ไหม แต่เวลาที่จะกล่าวถึง สิ่งที่ไม่ดีหรือความไม่ดีของใคร ขณะนั้นเพื่ออะไร ต้องมีจุดประสงค์ว่าเพื่ออะไร ก็มีหลายอย่างที่ว่าสภาพธรรมเกิดดับสืบต่อเร็วมาก เวลาที่เราคิดถึงความไม่ดีของคนอื่น จะคิดด้วยจิตที่ดีได้ไหม ลองคิดถึง กำลังเห็นความไม่ดี กำลังคิดถึงความไม่ดี จิตของเราเองในขณะนั้น จะเป็นจิตที่ดีได้ไหม

    ผู้ฟัง คงจะยาก

    ท่านอาจารย์ ส่วนใหญ่คิดถึงความไม่ดีของคนอื่น ความไม่พอใจต้องมีแล้ว ในความไม่ดีนั้น เรียนธรรม ก็รู้ว่า ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตน แต่ก็มีความไม่ดี ซึ่งไม่ใช่เป็นที่พอใจ เพราะเหตุว่าขณะนั้น กำลังเป็นความไม่ดี แต่ความไม่ดีนี้ เรามีเจตนาอะไร บางทีเราก็เป็นผู้ที่มีความเมตตาเป็นปกติ แต่ว่าตราบใดที่ยังมีเหตุปัจจัยที่จะให้มีความขุ่นเคือง จะหลีกเลี่ยงความขุ่นเคืองไม่ได้เลย แม้ว่าต้องการที่จะให้บุคคลนั้นดี แต่ขณะที่คิดหรือกล่าวถึงขณะนั้นก็มีความขุ่นเคืองใจ ในความไม่ดีนั้น ซึ่งธรรมเป็นเรื่องที่ตรง ต้องตรงมากเพราะเหตุว่าขณะนั้นไม่ใช่เรา แต่ว่าเป็นลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นธาตุต่างๆ ที่มีเหตุปัจจัยก็เกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะได้สาระ ก็คือผู้ที่ตรง เพราะรู้ว่าเป็นธรรม ขณะนั้นเป็นอย่างไรก็ต้องเป็นอย่างนั้น แล้วก็รู้ตามความเป็นจริง เพื่อที่จะรู้ว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เพราะฉะนั้น แต่ละคนแม้ว่ามีความหวังดี คนที่อาจจะ มีกายวาจา ที่ไม่ดี แสดงถึงจิตที่ไม่ดี แต่บุคคลนั้นก็จะต้องมีความขุ่นเคืองใจบ้าง แต่ว่าถ้ามีเจตนที่ดี ก็สลับกันได้ คือพูดเพื่อที่จะสอนหรือว่า เพื่อที่จะให้ประพฤติดีขึ้น แต่ใจขณะนั้นก็ต้องมีความขุ่นเคืองบ้าง เป็นของที่แน่นอน

    ผู้ฟัง อันนี้หมายถึงโดยทั่วไปที่เป็นปุถุชน ใช่ไหม อย่างพระอรหันต์

    ท่านอาจารย์ นั้นเทียบไม่ได้

    ผู้ฟัง หรือพระอนาคามีที่ท่านกล่าวสอนลูกศิษย์ทั้งหลาย บางครั้งท่านก็จะมีการประฌาม

    ท่านอาจารย์ ไม่มีอกุศล อะไร จิต ที่เป็นประเภทนั้น

    ผู้ฟัง แต่ปุถุชนนี่ อย่างที่ท่านอาจารย์ได้กล่าว จะสลับกันได้ ผู้นั้นต้องรู้เอง ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ใช่

    ผู้ฟัง แล้วการพูดเหน็บแนม หรือส่อเสียด นิดๆ หน่อยๆ หรือแซว

    ท่านอาจารย์ ขณะนั้นเบียดเบียนหรือเปล่า ต้องคิดว่าเบียดเบียนหรือเปล่า คนที่ถูก ถูกคำพูดอย่างนั้น โกรธไหม ชอบหรือเปล่า หรือโกรธ ก็เป็นเรื่องของอกุศลทั้งนั้น คืออยู่ในโลกของอกุศล จนชิน จะอยู่อีกโลกหนึ่ง จะรู้ได้เลย ถ้าคิดถึงโลกของพระอรหันต์ แต่เป็นคนละโลกเลย จะไม่มีโลกอย่างนี้

    ผู้ฟัง ถ้ากุศลทั้งปวงเป็นเนกขัมมะ กุศลนั้นถ้าเป็นไปเพื่อการออกจากสังสารวัฏฏ์ ก็เป็นเนกขัมมะบารมี อย่างนั้นหรือเปล่า หรือว่าจะต้อง มีการบรรพชา

    ท่านอาจารย์ ออกจากสังสารวัฏฏ์ก็ต้องเป็นบารมีทั้งนั้น

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น การที่จะประพฤติ ที่ว่า เนกขัมมะในที่นี้ก็คือ เจริญกุศลทุกประการ

    ท่านอาจารย์ ออกจากกาม ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ออกจากกิเลสกาม

    ท่านอาจารย์ ถ้ายังติดในกามจะเป็นกุศลได้ไหม ไม่ว่าประการหนึ่ง ประการใด เพราะฉะนั้น ที่เป็นกุศลก็เพราะออกจากกาม ออกจากความติดข้อง

    ผู้ฟัง แต่ถ้าออกโดยเพศ อันนั้นก็จะสูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ โดยเพศ โดยการบวช บวชก็คืออกจากกาม

    ผู้ฟัง ออกจากกาม

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ เนกขัมมธาตุ หรือกามธาตุ

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 108
    25 มี.ค. 2567