ปกิณณกธรรม ตอนที่ 693


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๙๓

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๗


    ท่านอาจารย์ เพราะว่าจริงๆ แล้ว ถ้ามีความเข้าใจเรื่องสติสัมปชัญญะ ก็จะเป็นผู้ที่มีการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม แต่ไม่ใช่ด้วยการฝืน หรือว่าเหมือนกับว่าเรากำลังไปทำ ทั้งวันเลย คือนั่งก็ทำตลอด แล้วเวลาเดินจงกรม ก็เดินตลอดไม่ใชอย่างนั้นเลย แต่ว่ามีความเพียรที่จะรู้ว่าอย่างเรานั่งเดี๋ยวนี้ มีอะไรปรากฏทางไหน ใช่ไหม แล้วสติสัมปชัญญะเกิดหรือเปล่า เพราะฉะนั้น แม้แต่ในเรื่องอาหาร หรือแม้แต่ในเรื่องของการนอน เราเป็นผู้ที่ติดในรสมากมายขนาดไหน แค่ไหน เราจะสังเกตได้ บางคนอยู่ง่ายเลี้ยงง่าย กินง่าย นอนง่าย อะไรก็ได้ แสดงให้เห็นว่าความติดในรสของเขา จะต้องน้อยกว่าผู้ที่อาหารจะต้องเป็นอย่างนี้ สิ่งที่ร้อนต้องร้อนแล้วร้อนจัดขนาดไหน สิ่งที่เป็นของเย็นต้องเย็นขนาดไหน ไม่ใช่เย็นธรรมดา ก็ต้องไปเย็นมากๆ อย่างขนาดไหน หรือว่าอะไร นี้ก็เป็นเรื่องที่เป็นเรื่องของรู้บ้างไหมว่าขณะนั้นเป็นผู้ที่ติดในรส ถึงระดับนั้น

    เพราะฉะนั้น เวลาที่แต่ละคน มีกิเลสมากมายในแต่ละทาง จะไม่รู้สึกตัวเลย เพราะว่าเป็นผู้ที่พอใจ ฝังแน่นติดอยู่ในสิ่งนั้น ชนิดซึ่งไม่คิดที่จะสละ หรือว่าไม่คิดที่จะไถ่ถอน ไม่คิดที่จะบรรเทา ให้แม้เพียงเบาบาง แม้ไม่ใช่ด้วยการที่รู้ลักษณะของสภาพธรรม แต่ก็ยังเห็นโทษ ว่าเราติดทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ มากน้อยแค่ไหน

    โดยเฉพาะในเรื่องของอาหาร เป็นผู้ที่ติดในรส จึงทำให้ไม่เป็นผู้ที่รู้ประมาณในโภชนะ คือ ในการรับประทาน สังเกตดูทุกคน อาหารอร่อย อิ่มหรือยัง ท่านต่ออีกหน่อยหนึ่ง คำ ๒ คำ หรือว่าถ้ามีอาหารหลากหลาย อันนี้ก็ยังไม่ได้ชิม อันนั้นรสจะเป็นอย่างไร ต่างจากวันก่อนอย่างไร อย่างอาหารชนิดเดียวกัน มีหลายเจ้า คือทำมาจากต่างที่ใช่ไหม ต่างร้านอาหาร ก็ชิมเจ้านี้ ร้านนี้ว่า รสนี้จะต่างกับรสนั้นอย่างไร นี่ก็เป็นชีวิตประจำวัน

    เพราะฉะนั้น กว่าจะค่อยๆ เข้าใจ ความเป็นจริง จะเห็นก่อนว่า ทะเลของอวิชชา หรือโอฆะของอวิชชา มากแค่ไหน ถ้าไม่รู้อย่างนี้ไม่เพียร ก็คิดว่าเราก็ง่ายๆ ประเดี๋ยวเราก็รู้แจ้งอริยสัจจธรรม ไม่ทันรู้อะไร เราก็นั่งๆ เดินๆ แล้วก็เข้าใจว่าสามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ นั่นคือผู้ประมาท ผู้ที่ไม่รู้กิเลส ตามความเป็นจริง

    ในเรื่องของอาหาร กว่าจะเป็นผู้ที่รู้ประมาณในการบริโภคจะรู้ได้ว่า เวลาที่สติสัมปชัญญะ หรือความไม่รู้ในลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม จะต่างกับขณะซึ่งเราบริโภคโดยที่ว่า ไม่เคยรู้เลย ความค่อยๆ คลายจะไม่มากทันที แต่ว่าจะน้อยลง และสามารถที่จะรู้ตามความเป็นจริงว่า เรื่องจริงก็คือเรื่องจริง คือเรื่องติดก็คือเรื่องติด เรื่องไม่รู้ก็คือเรื่องไม่รู้

    เพราะฉะนั้น ทุกอย่างจริง ไม่รู้ก็จริง ค่อยๆ รู้ก็จริง เพราะฉะนั้น กว่าจะรู้ได้มากขึ้นเพิ่มขึ้น ก็ต้องเป็นผู้ที่อดทน แล้วเป็นผู้ที่ตรงด้วย แม้แต่ในเรื่องของการนอน ก็เช่นเดียวกับในเรื่องของอาหาร บางคนก็ติดในการนอนมาก ชอบนอน มีไหม เคยได้ยิน คนที่เขาบอกว่าเขาชอบนอน รู้สึกว่าเป็นความสุขมากเวลาที่นอน ชอบนอน แต่ว่าบางคนที่เห็นประโยชน์ว่า ระหว่างที่ไปนอนเขาอาจจะทำอะไรได้ตั้งหลายอย่าง ถ้าเป็นในทรงโลก เขาก็ไปทำการงานได้มากมาย วันหนึ่งถ้าตื่นเช้า เขาก็ได้เวลาตอนเช้ามาตั้งหลายชั่วโมง แล้วก็ถ้าไม่นอนบ่อย อย่างผู้ที่ชอบนอน ในระหว่างที่จะนอน เขาก็ยังทำประโยชน์ จะอ่านพระไตรปิฎก หรือว่าจะทำอะไรก็แล้วแต่ ก็เป็นประโยชน์ แต่ทั้งหมดก็คือว่า ให้เข้าใจธรรมที่เกิดแล้วตามความเป็นจริง

    เพราะฉะนั้น อย่างผู้ที่เข้าใจเรื่องหนทางปฏิบัติ อย่างท่านพระภิกษุทั้งหลาย ท่านได้ฟังธรรมตลอดในสมัยพุทธกาล แล้วชีวิตของท่านก็นั่งบ้าง ยืนบ้าง เดินบ้าง ตอนกลางวัน ตอนกลางคืนอย่างไร ก็แสดงให้เห็นว่าท่านอบรมเจริญปัญญาตามปกติ มิฉะนั้นถ้าเป็นอย่างนี้ ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี ที่กล่าวกันก็บรรลุกันไปหมดเลย ไม่เหลือแล้ว ใช่ไหม ที่จะไม่รู้แจ้งอริยสัจจธรรมแต่เพราะเหตุว่าการที่จะรู้แจ้ง อริยสัจจธรรม ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ง่าย แม้ว่าสติสัมปชัญญะเกิดก็จริง แต่ถ้าไม่ได้อบรมเจริญปัญญามาจริงๆ ที่สามารถสละ ความเป็นเรา จากสิ่งที่ปรากฏ สภาพธรรมก็จะปรากฏตามความเป็นจริงไม่ได้

    เพราะฉะนั้น เวลาที่เราได้ยินได้ฟังว่าสภาพธรรมเกิดดับ ทุกขณะอย่างรวดเร็ว ก็ได้ยินอย่างนี้แล้วจะต้องประจักษ์อย่างนี้หรือเปล่า หรือว่าได้ยินอย่างนี้ แต่ไม่ต้องประจักษ์อย่างนี้ แล้วกว่าจะประจักษ์อย่างนี้ได้ จะต้องคลายความเป็นเรา จากสิ่งที่ปรากฏ จากนิมิตอนุพยัญชนะ ซึ่งข้อความก็มีครบถ้วน

    แม้สูตรนี้เอง ไม่ใช่ว่าใครนึกจะคลายความติด ทางตา ทางหูก็คลายไปได้ แต่ต้องเป็นเรื่องของปัญญาเท่านั้น ที่จะเข้าใจความหมายของคำว่า ไม่ติดในนิมิตอนุพยัญชนะ เพราะสติสัมปชัญญะเกิด ขณะนั้นมีลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม ที่ปรากฏทางนั้นเฉพาะทางเดียว เป็นอารมณ์ จึงขณะนั้นไม่ติดในนิมิตอนุพยัญชนะ แล้วก็จะรู้ตามความเป็นจริงว่าต้องเป็นสติสัมปชัญญะ มิฉะนั้นแล้วทันทีที่สติสัมปชัญญะไม่เกิด ก็เป็นเรื่อง ชื่อต่างๆ มากมาย ก็เป็นเรื่องของนิมิตอนุพยัญชนะทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เพราะฉะนั้น เรื่องนอน หรือเรื่องรับประทานอาหาร บริโภคอาหารก็เช่นเดียวกัน คือจากการเป็นผู้ที่ติดอย่างมาก ก็ค่อยๆ เห็นประโยชน์ ของการที่จะมีเวลาที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม

    ผู้ฟัง ผมขออนุญาต คือพอเข้าใจที่ท่านอาจารย์พูด ว่า ในขณะที่สภาพจิตในขณะนั้น ตรึกหรือว่านึกไว้ สภาพจิตเป็นไปในการที่จะกำหนดเวลาที่จะตื่น อะไรอย่างนี้ สติสัมปชัญญะก็สามารถจะรู้ลักษณะของสภาพธรรมของจิต ที่กำลังตรึก หรือนึกที่จะตื่นในเวลานั้น ลักษณะนั้นที่ท่านอาจารย์พูด

    ท่านอาจารย์ ไม่มีใครไปยับยั้งความคิดหรือว่า ตั้งให้คนนี้คิดอย่างนี้ ให้คนนั้นคิดอย่างนั้น ไม่ใช่ว่าทุกคนวันนี้จะนอนคิดอย่างนี้ให้หมด ว่าจะตื่น ตอนไหน อย่างไร ไม่ใช่อย่างนั้นเลย แต่ต้องเข้าใจความหมายถึงที่ว่า หลับก็มีสติ ตื่นก็มีสติ เพราะว่ามีข้อความนี้ด้วย แต่ตอนหลับจริงๆ ไม่ใช่สติสัมปชัญญะ แต่ก่อนจะหลับ เมื่อสติเกิด จึงกล่าวว่าหลับมีสติหลับ หรือว่ามีสติตื่น คือขณะที่ตื่น ก็มีสติที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม ส่วนการที่ใครจะตื่น ตอนแรกๆ ก็อาจะตื่นสาย ไม่ทันฟังรายการธรรม แต่ตอนหลังๆ ก็ตื่นได้ที่จะตรงเวลา หรือว่าอาจจะสามารถตื่นได้เร็วขึ้น ก็เพราะเหตุว่ามีการค่อยๆ เป็นสัญญาความจำ อย่างที่คุณนิพัฒน์กล่าวถึงเมื่อกี้นี้ ส่วนใหญ่บางครั้งเราจะพูดถึง สัญญามากกว่าจิต หรือมากกว่าปัญญา แต่ต้องรู้ว่าขณะนั้น ชื่อของสัญญานั้นบ่งถึงอะไร เช่น อนิจจสัญญา ใช้คำว่า สัญญา แต่ต้องเป็นปัญญาที่เกิดร่วมกับสัญญาในขณะนั้น จึงสามารถที่จะเห็น ความเป็น อนิจจังของลักษณะนั้นได้ แต่เมื่อเห็นแล้วไม่ลืม

    เพราะฉะนั้น ตัวสัญญาที่จำความเป็นอนิจจัง อนิจจลักษณะนั้นเองจึงใช้สำหรับกล่าวถึง อนิจจสัญญาได้ แต่จริงๆ แล้วอนิจจสัญญานั้น ถ้าไม่มีปัญญาจะไม่มีอนิจจสัญญาเลย เพราะฉะนั้น บางครั้งแทนที่จะพูดว่าญาณ คือ ปัญญา ก็จะใช้คำว่า สัญญาแทนคำว่า ปัญญา ทุกขสัญญาก็มี อนัตตาสัญญาก็มี อนิจจสัญญาก็มี โดยที่ว่าจริงๆ แล้วต้องป็นเรื่องของปัญญา

    เพราะฉะนั้น ธรรมก็เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก แม้มี ไม่ใช่ว่าให้ทุกคนต้องไปคิด ไปทำอย่างเดียวกัน แต่รู้ว่าคนที่เคยมีอัธยาศัยอย่างหนึ่ง แล้วก็ค่อยๆ เปลี่ยนไป จากการเป็นผู้ที่ตื่นสายมาก จะตื่นเช้าขึ้น เพราะอะไร ก็ต้องมีสัญญา มีความจำ มีอะไรต่ออะไรที่ปรุงแต่งหลายอย่าง ซึ่งเป็นสังขารธรรมที่จะทำให้ขณะนั้นเป็นอย่างนั้น แม้แต่การที่จะมีสัญญาในการตื่น ก็คือมีการรู้ประโยชน์ แล้วก็ค่อยๆ เป็นอย่างนั้น

    ผู้ฟัง ผมรู้สึกว่าเป็นเรื่องลึกซึ้งมากของสภาพจิตก่อนที่จะหลับ สภาพจิตขณะนั้นก็เป็นไปในเรื่องใดๆ ก็ตาม สติสัมปชัญญะ ก็สามารถระลึกรู้ลักษณะของสภาพจิตตรงนั้นได้ ตรงนี้พอเข้าใจ

    ผู้ฟัง เรียนถาม ที่ว่าสำรวมอินทรีย์ แล้วก็พยายามที่ว่าไปทานอาหารปะปนกัน หรือการที่พยายามที่จะไม่แต่งตัวให้สวยงาม สิ่งเหล่านี้ไม่ช่วยขัดเกลา ความติดข้อง ไม่ใช่เป็นการสำรวมอินทรีย์ ไม่ทราบเข้าใจถูก ไหม ที่อธิบาย

    ท่านอาจารย์ ก็คงจะคล้ายๆ กับที่คิดว่า เราจะไม่ใส่เสื้อผ้าดีๆ เราจะไม่ อย่างนี้ อย่างนั้น แต่ขณะนั้นไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง กับอีกคนหนึ่งก็เป็นปกติตามที่สะสมมา แล้วก็มีการรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง สำหรับผู้ที่รู้กับผู้ที่ไม่รู้ คือผู้ที่พยายามบังคับตัวเอง แต่ว่าไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม

    ผู้ฟัง ถ้าเกิดผู้ที่รู้สภาพธรรม ด้วยกันทั้ง ๒ คน แล้วคนหนึ่งพยายามที่จะไม่แต่งกายสวยงามมาก จะต่างไหมอย่างนี้

    ท่านอาจารย์ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านเป็นพระโสดาบัน วิสาขามิคารมารดาก็เป็นพระโสดาบัน ท่านพระยสกุลบุตร เมื่อได้ฟังพระธรรมเป็นพระโสดาบัน ทั้ง ๓ ท่าน นี้ ท่านพระยสกุลบุตร เมื่อเป็นพระโสดาบันแล้ว แล้วภายหลังได้ฟังธรรม บรรลุเป็นพระอรหันต์ก็บวช แล้วก็มีพระโสดาบันหลายท่านที่บวช แล้วก็มีพระโสดาบันหลายท่านที่ไม่บวช แล้วชีวิตของพระโสดาบันที่ไม่บวชอย่าง ท่านวิสาขามิคารมารดา กับท่านอนาถบิณฑิก เป็นอย่างไร ท่านก็มีชีวิตตามการสะสมของท่าน ท่านเป็นพ่อค้าใช่ไหม ท่านก็มีเงินทองมาก แต่เวลาที่เป็นพ่อค้า ท่านก็ต้องหวังกำไร หรืออะไรอย่างนั้น เป็นปกติ หรือว่าผู้ที่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน เป็นมหาอำมาตย์ ชีวิตก็หลากหลายกันไปตามการสะสม

    แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือว่า ปัญญารู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง กับผู้ที่พยายามบีบบังคับตัวเอง แต่ไม่รู้ หรือผู้ที่รู้แล้ว ก็ยังมีการขัดเกลาเพิ่มขึ้น ตามอัธยาศัย ที่จะลดเอง ไม่ใช่ว่าโดยการที่ว่า จำใจ จำเป็น ที่จะต้องทำ ไม่ใช่อย่างนั้น เพราะเหตุว่าอย่างที่คุณนิพัฒน์ก็ได้กล่าวถึงเมื่อกี้นี้ สิ่งใดที่เกิดแล้ว แม้แต่ความโกรธที่เกิดแล้ว จะห้ามไม่ให้เกิดไม่ได้ เพราะเกิดแล้ว แต่สามารถที่จะรู้ถูกเห็นถูก ในลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตนได้ เพราะฉะนั้น จึงมีทั้ง ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา อัธยาศัยต่างๆ กัน

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น การที่บุคคล ที่เขารู้สภาพธรรม ก็ยังแต่งตัวสวยอยู่นี่ ก็ไม่ได้ไปเพิ่มความติดข้องของเขามากขึ้น ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ปัญญาของเขา ระดับไหน กับปัญญาของคนซึ่งพยายามบีบบังคับโดยที่ไม่รู้อะไรเลย เพราะฉะนั้น พระโสดาบันท่านรู้ ท่านไม่ใช่ฐานะที่จะละความติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เช่น พระอนาคามีบุคคล ผู้ที่อยู่ในฐานะนั้นต้องเป็นพระสกทาคามีบุคคล จึงจะอบรมเพื่อการที่จะละ หรือการดับความติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

    ผู้ฟัง การนั่งสมาธิ การทำกรรมฐาน อะไรอย่างนี้ ผมเคยจำได้ว่า ได้ยินอย่างนั้นว่า จริงๆ แล้วการปฏิบัติเช่นนั้น น่าจะเป็นวิสัยของพระอริยบุคคลมากกว่า ปุถุชน

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ หมายความว่าใครจะทำอะไรก็ตามแต่ เข้าใจที่ทำนั้นหรือเปล่า แม้แต่คำว่า กรรมฐาน แม้แต่คำว่า สมถะ เข้าใจหรือเปล่า ถ้าไม่เข้าใจเลย ทำอะไรก็ไม่รู้ แล้วก็บอกว่าเป็นสมถกรรมฐาน ก็ไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้น ทั้งหมดไม่ว่าจะใช้คำอะไร ก็คือว่าต้องมีความเห็นถูก มีความเข้าใจถูก ในสิ่งนั้น

    ผู้ฟัง แต่ปุถุชน ถ้าเข้าใจแล้วก็ปฏิบัติ กรรมฐานได้

    ท่านอาจารย์ กรรมฐานอะไร มีสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน

    ผู้ฟัง อย่างอานาปานสติ อะไรอย่างนี้

    ท่านอาจารย์ สมถกรรมฐานคืออะไร ก่อนที่จะถึง อานาปานสติ สมถะ คืออะไร

    ผู้ฟัง คือการสงบจากกิเลส

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น หมายความถึงกุศลทุกประเภทหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ แต่ว่ากุศลอื่น สงบเล็กน้อย

    แต่ถ้ากุศลที่เป็นอารมณ์ที่จะทำให้จิตสงบมากแล้วอบรม นั่นคือ สมถกรรมฐาน แต่ว่าขณะนี้สงบหรือเปล่า ถ้าไม่รู้ เจริญสมถกรรมฐานได้ไหม ถ้าเกิดมีใครที่รู้จักประมาณในโภชนะ รู้จักประมาณในการนอน เข้าใจว่าเขาปฏิบัติ ผิด หรือ ถูก ข้อที่น่าคิดเป็นการบ้าน

    ผู้ฟัง สำหรับพระสูตรที่จะนำมาสนทนากันวันนี้ เป็นสูตรที่ ๓ มหาทุกขักขันธสูตร มหา แปลว่า มาก หรือใหญ่ ทุกขขันโธ หมายความถึงกองแห่งทุกข์ เพราะฉะนั้น สูตรนี้ก็เป็นสูตร ที่ว่าด้วยกองแห่งทุกข์เป็นอันมาก ก็ขอเชิญคุณประเชิญ

    วิทยากร พระสูตรนี้อย่างที่คุณเข็ม ได้กล่าวแล้ว ว่า มหาทุกขักขันธสูตรนี้ เป็นเรื่องของกองทุกข์สูตรใหญ่ ในสมัยครั้งพุทธกาล เวลาที่ภิกษุจะบิณฑบาต วันไหนเช้าเกินไปท่านก็จะแวะไปที่อารามของ อัญญเดียรถีย์ปริพาชก ก็ไปสนทนาธรรม บางครั้งพระผู้มีพระภาคก็เสด็จไปเช่นเดียวกัน เหตุเรื่องนี้ ที่จะเกิดพระสูตรนี้ก็เช่นเดียวกัน ภิกษุทั้งหลายได้ไปที่อารามของปริพาชกของอัญญเดียรถีย์ และได้สนทนาธรรมกัน ซึ่งในคำกล่าวของอัญญเดียรถีย์ปริพาชกในที่นั้น ได้กล่าวว่า

    คำสอนของปริพาชก อัญญเดียรถีย์ ก็จะมีกล่าวถึงเรื่องของการกำหนดรู้กาม การกำหนดรู้รูป การกำหนดรู้เวทนา เขาก็ได้กล่าวกับภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น คำสอนของเดียรถีย์ก็มีอย่างนี้

    พระพุทธเจ้าก็สอนว่า ภิกษุทั้งหลายกำหนดรู้รูป กำหนดรู้กาม กำหนดรู้เวทนา เพราะฉะนั้น จะมีอะไรที่แตกต่างกัน ภิกษุเหล่านั้นได้ยิน ไม่ยินดี และไม่คัดค้าน แต่ว่าภิกษุเหล่านั้นจะรู้นิสัยของอัญญาเดียรถีย์ดี ว่าอัญญาเดียรถีย์จะรู้บ้าง ไม่รู้บ้างก็กล่าวไปอย่างนั้นแหละ เพราะฉะนั้น หลังจากที่กลับจากบิณฑบาตแล้ว ภิกษุทั้งหลายก็ได้กราบทูลเรื่องที่ได้สนทนากับอัญญาเดียรถีย์ ให้พระผู้มีพระภาคทราบ พระผู้มีพระภาค ก็ได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้นว่า ถ้าอัญญเดียรถีย์ กล่าวอย่างนั้น ควรที่ภิกษุเหล่านั้นจะถามว่า อะไรเป็นโทษของกาม อะไรเป็นคุณของกาม อะไรเป็นอุบายเครื่องสลัดออกของกาม หรือว่าอะไรเป็นคุณของรูป อะไรเป็นคุณของเวทนา อะไรเป็นโทษของรูป อะไรเป็นโทษของเวทนา อะไรเป็นอุบายในการไถ่ถอน รูป เวทนา เป็นต้น

    ซึ่งพระผู้มีพระภาค ก็อาศัย คำกล่าวของอัญญเดียรถีย์ ที่ภิกษุมาทูลเล่า และตรัสในเรื่องของโทษของกามทั้งหลาย พร้อมทั้งอุบายในการออกจากกาม ในการออกจากรูป และในการออกจากเวทนา ซึ่งรายละอียดจะได้สนทนากันตามลำดับ

    ท่านอาจารย์ ประโยชน์ ของพระสูตรนี้ คือทุกครั้งที่ได้ฟังพระธรรม หรือว่าได้อ่านด้วยตนเอง ก็ควรที่จะได้ประโยชน์จากการที่ได้ฟัง และการที่ได้อ่าน ประโยชน์ของพระสูตรนี้ก็เป็นการเตือนให้รู้ความจริง เพราะว่าชีวิตจริงเป็นอย่างนี้ แต่ว่าแม้ว่าเป็นชีวิตจริง ก็ ไม่ใช่ว่าจะรู้

    เพราะฉะนั้น จึงต้องอาศัยพระธรรมเทศนา ซึ่งทรงแสดง แล้วเราก็ต้องค่อยๆ พิจารณา โดยละเอียดว่า ทั้งหมดก็คือชีวิตประจำวัน ไม่พ้นจากชีวิตประจำวัน เลย ทั้งหมดที่ได้อ่านมา มีใครคิดว่าพ้นจากชีวิตประจำวัน บ้างไหม แม้แต่ข้อความที่ได้กล่าวถึง เช่น ข้อความที่พวกอัญญเดียรถีย์ มีการเปรียบเทียบ ตัวเองกับพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

    นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ธรรม เป็นสิ่งที่มีปรากฏ แต่ก็ดูเหมือนว่าเป็นสิ่งธรรมดา ใครก็อาจจะคิด ใครก็อาจจะกล่าว อาจจะแสดงได้ จนกระทั่งมีความสำคัญว่า ความคิด และความเข้าใจของตนเอง เทียบเท่ากับความรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย แต่ว่าผู้ไม่รู้ก็ไม่รู้ตามความเป็นจริง หรืออาจจะเข้าใจตัวเองว่า รู้บ้างไม่รู้บ้าง ก็กล่าวไปตามที่รู้บ้างไม่รู้บ้าง แต่ก็ไม่ใช่ความรู้จริง อย่างพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

    แม้ในยุคนี้สมัยนี้ เราก็จะได้ยินความคิดหลากหลาย แต่ความคิดหลากหลายทั้งหมด ประโยชน์ก็มาจากกว่า ถ้าเราได้ฟังพระธรรม แล้วก็ ไตร่ตรองมาก เราก็จะเป็นผู้ที่ละเอียด แล้วก็รู้ว่าเพราะเหตุใด พระผู้มีพระภาค จึงทรงแสดงพระสูตรนี้ ให้เห็นความต่างกันของความคิด ความเข้าใจของพวกที่มีความเห็นอื่น พวกอัญญเดียรถีย์ ความเห็นอื่นนอกจากพระธรรมที่ได้ทรงแสดง กับผู้ที่ได้ฟังพระธรรม ก็จะมีความเข้าใจที่ต่างกัน นี้ก็เป็นเรื่องของความละเอียด ที่จะทำให้เราเป็นผู้ที่ไม่ประมาท แม้ในอกุศลจิตซึ่งเกิดก็ไม่รู้

    อย่างพวกเดียรถีย์ ที่เทียบตัวเองกับพระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในขณะนั้นก็ไม่รู้ว่าเป็นอกุศล เพราะฉะนั้น อกุศลเป็นสภาพธรรม ที่มีแล้วก็ละเอียด แล้วก็ซ่อนเร้น ที่จะต้องอาศัยพระธรรมจริงๆ จึงสามารถที่จะได้ประโยชน์ คือเห็นอกุศลของตนตามความเป็นจริง รู้ทั้งคุณรู้ทั้งโทษของกาม ตามที่ทรงแสดง ตามความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน แล้วยังรู้หนทางที่จะ ละกามหรือความยินดีติดข้องในธรรมทั้งหลายด้วย

    ผู้ฟัง ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ นี้หมายถึงใคร

    วิทยากร แปลว่าพวกมีท่าอื่น ไม่ใช่ท่าเดียวกับที่ท่าของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือแม่น้ำมันมีหลายท่า ท่าที่เป็นโคลน เป็นตม ที่ไม่สะอาดก็มี ท่าที่น้ำสะอาดคนลงไป อาบไปเล่น ไปดื่มไปกินไปใช้ ก็มี พวกอัญญเดียรถีย์ คือพวกที่ไม่เข้าสู่ท่าที่ดี ที่งาม ที่ใสสะอาด ไปสู่ท่าอื่น มีความเห็นเป็นอย่างอื่น พูดตามศัพท์ก็อย่างนี้ ถ้าพูดตามความคิดก็พวกที่เห็นเป็นอย่างอื่น จากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ เห็นตรงกันข้าม อัญญแปลว่าอื่น สิทธิย แปลว่า ท่า แปลว่าลัทธิของเขา ความคิดเห็นของเขาเป็นอย่างอื่น จากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นเรื่องละเอียดที่จะต้องพิจารณาให้เข้าใจความต่างกัน ของคำสอน ของลัทธิของเดียรถีย์ กับคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่าสภาพธรรมเป็นจริง จะไม่มีศาสดาใด ที่แสดงความจริง ถ้าไม่ได้ตรัสรู้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่สามารถที่จะทรงเป็นบัญญัติ ลักษณะของสภาพธรรมทั้งหมด ได้ตามความเป็นจริง

    ถ้าดูใน อรรถกถา มหาทุกขักขันธสูตร ที่มีข้อความว่า ในข้อนั้นพวกเดียรถีย์ ผู้รู้ลัทธิของตน พึงบัญญัติ ความรอบรู้กามทั้งหลาย นี่เขาไม่ได้รู้ลักษณะของความติด ซึ่งเป็นโลภะ ซึ่งติดไม่ว่าจะเป็นในรูปในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ในภพ ไม่ว่าจะเป็น รูปภพ อรูปภพ หรือความเป็นต่างๆ แต่เขาก็กล่าวว่า บัญญัติความรอบรู้กามทั้งหลาย ความยินดีติดข้อง พวกเดียรถีย์ก็กล่าวว่า รอบรู้ เมื่อกล่าวถึงปฐมฌาน พึงบัญญัติ ความรอบรู้ รูปทั้งหลาย นี่คือความแห็นของอัญญเดียรถีย์ เมื่อกล่าวถึง อรูปภพ ปฐมฌาน พึงบัญญัติ ความรอบรู้ เวทนา เมื่อกล่าวถึงอสัญญีภพ พึงบัญญัติความรอบรู้ เวทนาทั้งหลาย ด้วยความไม่รู้ทั้งหมด ด้วยความไม่รู้ก็สามารถ จะพูด จะคิด ตามความไม่รู้ต่างๆ ได้ แต่ว่า ผู้รู้ได้ทรงแสดงสภาพธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งต้องเป็นผู้ที่ทรงตรัสรู้ เท่านั้นที่จะทรงแสดงได้

    วิทยากร เดียรถีย์ไม่รู้ธรรมอะไรเลย เป็นผู้ขโมยธรรมของพระพุทธเจ้าไปกล่าวว่าตนรู้ แท้จริงเป็นธรรมที่พระองค์ทรงแสดง แต่พระองค์ทรงแสดง ยังไม่หมด ยังมีข้อความที่จะต้องไถ่ถอนอีก

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 108
    25 มี.ค. 2567