ปกิณณกธรรม ตอนที่ 684


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๘๔

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๗


    ท่านอาจารย์ เป็นปกติ แตกต่างกับปกติ เพราะมีสติสัมปชัญญะ แล้วขณะนั้น ด้วยการที่มีสติสัมปชัญญะที่ไม่ใช่เรา ก็ลองคิดดู ว่าขณะนั้นจะเป็นอย่างไร เป็นความปลอดโปร่ง ที่ไม่ใช่เป็นความจงใจ เป็นความต้องการ เป็นความพยายาม ด้วยความเป็นตัวตน

    ผู้ฟัง แต่อย่างไรก็ตาม ในเรื่องการที่ว่า มีลักษณะที่มันใกล้เคียงกันอย่างนี้ ในขั้นอบรมตรงนี้ ก็ต้องเป็น เรียกว่าความจำเป็น ที่ต้องเข้าใจสภาพธรรมที่เกิดตรงนี้ด้วย เพราะดิฉันคิดว่า ถ้าไม่พยายามเข้าใจ ก็เรียกว่าไม่ได้อบรม

    ท่านอาจารย์ เป็นปัญญาของตัวเอง ที่จะค่อยๆ เข้าใจ และรู้ว่าค่อยๆ ละเมื่อไร ตรงไหนอย่างไร

    ผู้ฟัง แต่ถ้าเราไม่สังเกต เราไม่พิจารณา เราไม่มีวิตกวิจารณ์ ไม่มี

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เรา มี แต่มีปัจจัยที่สภาพธรรมนั้นจะเกิด ที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมต้องมีลักษณะ เพราะลักษณะนั้นเป็นสภาพธรรม เป็นธาตุ ซึ่งไม่ใช่เรา แต่ถ้าไม่รู้ลักษณะของธรรมนั้น ก็ยังมีการยึดถือ แม้ว่าสิ่งนั้นเป็นธรรม ก็ยังยึดถือว่าเป็นเรา เพราะฉะนั้น จนกว่าจะชินกับลักษณะซึ่งเป็นธรรมแต่ละอย่าง

    ผู้ฟัง ประเด็นสำคัญก็คืออย่าเอาเราเข้าไปคิด

    ท่านอาจารย์ หมายความว่า ต้องมีความเห็มถูกเพิ่มขึ้น มั่นคงขึ้น นี่เป็นทางที่จะค่อยๆ ละคลาย แม้ในขั้นการฟัง ถ้าฟังด้วยความแยบคายก็จะรู้ว่า ไม่ใช่จะถึงด้วยโลภะ หรือความต้องการ แต่ต้องมีความเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

    ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นที่พูดถึงเรื่อง อสุภกรรมฐาน ก็เป็นสื่อที่ทำให้เราคิดถึงได้ ไม่ใช่หรือ

    ท่านอาจารย์ ก็แล้วแต่ ก็เห็นอสุภ กันมากมาย ถามสัปเหร่อก็ได้

    ผู้ฟัง บางทีผมเหนื่อยมาแล้ว แล้วมันก็นอนไม่หลับ แต่พอมานั่งนึก อย่างน้อยเอา พระพุทธรูปอยู่หัวนอน นั่งถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คือใจมันก็สงบ ก็หลับได้

    ท่านอาจารย์ ก็พอใจ

    ผู้ฟัง ก็นั่นสิ ตรงนี้ ที่ผม

    ท่านอาจารย์ มีโลภะ เป็นอาจารย์

    ผู้ฟัง ถ้าผมไม่ทำอย่างนั้น ผมก็นอนไม่หลับ

    ท่านอาจารย์ เพราะผม ติดข้องในความเป็นเรา ถึงได้ว่าหนทางนี้ เห็นยาก เพราะเหตุว่า ละอนุสัยกิเลส เพราะคนโดยมากก็จะหาทาง ละปริยุฎฐานะกิเลส เช่น เวลาที่นอนไม่หลับ ก็จะเกิดความกระวนกระวาย ก็อยากจะละอันนี้ ไม่ชอบความกระวนกระวาย แต่ไม่มีทางที่จะดับอกุศลอะไรใดๆ ทั้งสิ้น ถ้าไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมว่าไม่ใช่ตัวตน เพราะฉะนั้น กว่าจะปัญญาอบรมถึงจุดที่ไม่หวั่นไหว เพราะว่าไม่มีเรา แต่ว่ามีสภาพธรรม ไม่ใช่ว่าเมื่อไร เราจะรู้แต่เมื่อไรจะมีแม้ความคิดที่ถูกต้องที่จะเห็นถูก เข้าใจถูกในขณะนั้นว่า เป็นธรรม แล้วก็รู้ลักษณะของธรรม ไม่ใช่ให้ไปต้องการอะไร ไม่ใช่นอนหลับดี แล้วเมื่อไรเราจะรู้ธรรม

    ผู้ฟัง ฟังจากอาจารย์ทีไร บางทีมันหดหู่ คือผมจะระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

    ท่านอาจารย์ หดหู่เพราะ เป็นเรา

    ผู้ฟัง ใช่ เพราะว่าระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม

    ท่านอาจารย์ ยิ่งหดหู่ ก็ยิ่งรู้ว่ามีเรามาก

    ผู้ฟัง คำบูชา พระรัตนไตร เวลาสวดมนต์อย่างนี้

    ท่านอาจารย์ ด้วยความเป็นเรา

    ผู้ฟัง ด้วยความเป็นเราอีก

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง

    ผู้ฟัง ผมปล่อยตัวไปเฉยๆ

    ท่านอาจารย์ เพราะเข้าใจว่า ผมปล่อย ไม่มีใครที่สามารถจะทำ ลักษณะของสภาพธรรมหนึ่ง สภาพธรรมใดให้เกิด แล้วสภาพธรรมที่ได้เคยเกิดมาแล้ว นานแสนนาน กับขณะนี้ ก็ไม่ใช่สภาพธรรมอันเดียวกันเลย แต่มีปัจจัยสะสม สืบต่อนานแสนนาน อย่างท่านที่กว่าจะได้บรรลุ อย่างพระมหาโมคคัลลานะ ที่ท่านเคยเป็นบิดาของโกสิยะเศรษฐี ก็จะเห็นได้ กว่าโกสิยะเศรษฐีจะได้มีความคิดที่แยบคายมาได้อย่างไร ไม่ใช่เพียงฟังนิดเดียว แล้วความคิดแยบคายก็เกิดขึ้น แต่แม้ความคิดที่ถูก ความเห็นที่ถูก ก็ต้องถูกไปตั้งแต่ต้นว่าไม่มีเรา

    เพราะฉะนั้น เวลาที่มีเราขึ้นมา รู้เลย ว่าขณะนั้น มีความเห็นผิด แม้ว่ามีลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งเป็นธรรมแม้ในขณะนี้เอง ถ้ามีความมั่นคงจริงๆ ก็สามารถที่จะ เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏได้ โดยไม่คิดว่า แล้วเมื่อไร จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม

    ผู้ฟัง ผมก็ยังพยายามวิเคราะห์ อย่างอ่านพระไตรปิฎก

    ท่านอาจารย์ ก็คือผมตลอด

    ผู้ฟัง ใช่ ไม่รู้จะใช้คำว่าอย่างไร คืออย่างพระสารีบุตร ท่านถวายงานพัด ผมก็ไม่คิดว่าท่านพัดเฉยๆ โดยไม่คิด ผมคิดว่าท่านก็คงระลึกถึงธรรมสภาพธรรม ถึงได้เห็น

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง

    ผู้ฟัง หรือแม้แต่พระจุลปันถก ที่ลูบผ้า ถูผ้า ท่านก็คงคิด

    ท่านอาจารย์ คิดหรือว่า รู้ ลักษณะของสภาพธรรม

    ผู้ฟัง เขาเรียกจะใช้คำอะไร

    ท่านอาจารย์ ต่างกัน ถ้าคิดเป็นเรื่อง

    ผู้ฟัง จะใช้คำอะไร

    ท่านอาจารย์ กำลังรู้ตรงลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตน

    ผู้ฟัง ผมก็พยายาม ที่จะทำอย่างไร ให้มัน เอาอีกแล้วๆ

    ท่านอาจารย์ คุณเด่นพงษ์ ไม่ต้องคิดถึงผลได้ไหม ขณะนี้ฟังแล้วเข้าใจ นั่นไม่ใช่คุณเด่นพงษ์ที่เข้าใจ แล้วถ้าอกุศลจิตเกิด ก็ไม่ใช่คุณเด่นพงษ์ ถ้ากุศลจิตเกิดก็ไม่ใช่คุณเด่นพงษ์ ปัญญาเกิดก็ไม่ใช่คุณเด่นพงษ์ ไม่อย่างนั้นคนก็จะติดในปัญญาอีก เป็นปัญญาของเราอีก

    ผู้ฟัง อยากช่วยให้มันเกิดเร็วขึ้นหน่อย

    ท่านอาจารย์ นั่นแหละ คือตัวตน แล้วก็เป็นเครื่องเนิ่นช้าด้วย

    ผู้ฟัง ก็เหมือนกับเรา ปลูกต้นไม้ ถ้าเราไม่ใส่ปุ๋ย ไม่รดน้ำ ไม่พรวนดิน

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ตรงกันข้ามทวนกระแส ต้องการที่จะให้ถึง แต่ก็ไปตามกระแสที่ไม่ถึง ไม่ใช่ไปตามกระแสที่จะถึง ถ้ากระแสที่จะถึงก็คือเข้าใจถูกต้องตั้งแต่ต้นว่า ทุกอย่างเป็นธรรม หนทางที่เราจะอบรม เราจะรู้ได้ว่ากว่าจะรู้ นี่จะต้องเพราะอะไร เพราะฟัง มีความเห็นถูก ค่อยๆ สะสมความเข้าใจถูก จนสติสัมปชัญญะระลึกถูก แล้วก็ยังมี ความเป็นเราอีกมาก ที่จะเห็นละเอียดขึ้น เพื่อที่จะละความเป็นเรา ด้วยความเข้าใจจริงๆ ว่า เป็นธรรมดา ไม่ได้ผิดธรรมดาเลย

    ถ้าเข้าใจว่าลักษณะของจิต คือสภาพที่มากด้วยความคิด ส่วนใหญ่ตอนคิดไม่รู้ว่าเป็นจิตที่คิด ไม่ว่าจะคิดถึงอะไรๆ ก็แล้วแต่ คือพระพุทธรูปที่อยู่เหนือเตียง หรืออะไรอย่างนี้ ทั้งหมดคือลักษณะของจิต ถ้าไม่มีจิต สิ่งต่างๆ เหล่านั้นไม่มี เพราะฉะนั้น ความคิดมาก กว่าจะรู้ว่าคิด คือ สภาพธรรมที่คิด ไม่ใช่เรา

    การที่จะขจัดความเป็นตัวตน มากมายมหาศาลสักแค่ไหน ในวันหนึ่งๆ ด้วยความเป็นปกติ คือไม่ใช่ด้วยความเป็นเรา ที่พยายามที่จะสร้างอะไรขึ้นมาเลย เพราะเหตุว่ายิ่งรู้ความจริง ก็จะรู้ได้ว่าไม่มีใครที่สามารถจะดลบันดาลอะไรได้เลยทั้งสิ้น แล้วก็สามารถที่จะเข้าถึงลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งเราชินหู ว่าจิตเป็นสภาพรู้ เป็นธาตุรู้ เป็นอาการรู้ ก็เริ่มระลึกว่าตลอดชาติ สิ่งที่ปรากฏทั้งหมด เพราะจิต เพราะฉะนั้น ขณะนั้นที่คิด ก็คือจิตนั่นเอง ที่คิด

    ความพยายาม หรือการที่มี วิริยะ หรือความเห็นถูก ที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมก็จะทำให้เรา รู้ได้ว่าถึงไม่หลับก็เป็นประโยชน์ แต่ก็มีกาลซึ่งอยากจะหลับ อาจจะเพราะความอ่อนเพลีย เพราะว่ามีกิจธุระที่ต้องทำ ขณะนั้นก็เป็นธรรม

    เรื่องของการที่จะรู้ว่า ทั้งหมดเป็นธรรม ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป แต่ความจริงก็คือ ความจริงว่า ทุกขณะเป็นธรรม เปลี่ยนไม่ได้ เป็นจิต เป็นเจตสิกนั่นเอง แล้วเราก็รู้จักตัวเราตามความเป็นจริงด้วยว่า ใกล้หรือยัง ไม่ต้องไปขวนขวาย อย่างอื่นเลย เพราะว่าเป็นเรื่องของความเห็นถูก ความรู้ถูก ในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนั้น ก็จะทำให้เราเบาใจ แล้วก็คลาย ไม่รีบร้อน เพราะว่าบางคนอาจจะคิดว่า ขอให้เป็นชาตินี้ แล้วบางคนก็บอกว่าสักญาณหนึ่งก็ดี ถึงจะไม่เป็นพระโสดาบัน แต่นั่นก็คือความหวัง ตราบใดที่ขณะนี้มีสภาพธรรม และอวิชชาก็ไม่สามารถ ที่จะรู้ความจริงได้ แต่เมื่อความจริงเกิด มีการรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏจริงๆ ขณะนั้นก็จะเข้าใจตรงตามที่ได้ฟังทุกอย่าง ไม่มีใครสามารถทำอะไรได้เลย แต่อบรมความเห็นถูก ความเข้าใจถูก เพิ่มขึ้นได้

    ผู้ฟัง คิดเพลินไป เรื่องอะไรต่ออะไร ร้อยแปด ระลึกได้สักนิดหนึง ก็ยังดีกว่าไม่ระลึก

    ท่านอาจารย์ แน่นอน อันนี้ต้องเห็นจริงๆ เลยว่า เราขณะนี้ไม่ได้พ้นกรรมเลย ทุกขณะที่เห็น ที่ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส แต่เรื่องความคิดนึกของเรามาก เป็นขาดทุน เป็นได้กำไร เป็นอะไรทุกอย่าง แต่ก็เนื่องมาจากตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง

    ความละเอียดก็คือว่า แม้แต่หนึ่งขณะที่จะเกิด ความซับซ้อนมาจากแสนโกฏิกัปป์ ของชวนะวิถี ทั้งที่เป็นกุศลฝ่ายหนึ่ง แล้วก็อกุศลฝ่ายหนึ่ง และอกุศลเล็กน้อยจนกระทั่งถึงกับแอบรับประทาน ใช่ไหม มันมากมายจนกระทั่ง ไม่มีใครสามารถที่จะไปรู้ว่า ยาวนานในสังสารวัฏฏ์มาแล้ว จะเป็นสังขารขันธ์ ที่จะทำให้จิตขณะนี้ เกิดขึ้นเป็นฝ่ายกุศลอย่างไร แล้วก็เป็นฝ่ายอกุศลอย่างไร เมื่อสภาพของจิต ที่ทำให้ไม่ให้ตามที่ปวารณา ก็ลองคิดดูว่า ขณะนั้นเป็นอกุศลแน่นอน เพราะฉะนั้น ที่จะให้ผลเป็นกุศลวิบากก็เป็นไปไม่ได้ ส่วนใดที่เป็นกุศล สิ่งนั้นก็ให้ผลเป็นกุศลวิบาก

    แต่ว่าผู้ที่จะสามารถกล่าว แสดงถึงว่าเหตุที่ทำให้ พ่อค้าได้กำไร หรือขาดทุนก็ต้องเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ที่ทรงแสดง แต่ถ้าคนนั้น ไม่ใช่พ่อค้า ก็มีอีกใช่ไหม คือว่าถึงไม่ได้ค้าขาย ก็ตามแต่ แต่ก็ยังมีผลของกรรมทางตา หู จมูก ลิ้น กายนั่นเอง

    ผู้ฟัง พูดถึงเรื่องกรรม แล้วเราบอกว่าการปวารณา ให้มากกว่าที่กล่าว ใช่ไหม ถึงจะได้กำไร อย่างนี้มันกว้าง อย่างอเมริกา อดีตชาติทั้งหมด เขาปวารณาหรือเปล่า หรือว่าเขาปวารณาแล้ว ให้แล้ว มาชาตินี้ เขาถึงเกิดมาแล้ว ทำการค้า เศรษฐกิจเขาดี ผมก็ไม่อยากจะพิจารณา เพราะมันเป็นอจินไตยเหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ คือเราคิดถึงธรรมในความหมายที่แคบ จำกัดเชื้อชาติ ประเทศด้วย แต่จริงๆ แล้ว ก็เป็นไปตามเหตุ ถ้าเป็นกุศลกรรม ก็เป็นเหตุให้เกิดกุศลวิบาก ถ้าเป็นอกุศลกรรม ก็เป็นเหตุให้เกิดอกุศลวิบาก

    วิทยากร ใน ทีฆนิกายมหาวรรค จะมีข้อความหนึ่งว่า ภิกษุ ภิกษุณีใด ไม่ละเมิดสิกขาบทที่ทรงบัญญัติแล้ว แก่ตนทั้งหมดที่ขีดคั่น เจตแดน และเส้นบรรทัดของพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้มีประมาณน้อย ชื่อว่าปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ก็อุบาสกใดยึดเวร ๕ ศีล ๕ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประพฤติไว้แนบแน่น อุบาสกนี้ชื่อว่า ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

    ส่วนอุบาสก อุบาสิกา ปฏิบัติ ให้สมบูรณ์ ในสรณะ ๓ ศีล ๕ ศีล ๑๐ รักษาอุโบสถเดือนละ ๘ ครั้ง ถวายทานบูชาด้วยของหอม บูชาด้วยมาลา บำรุงบิดามารดา บำรุงสมณพราหมณ์ อุบาสก อุบาสิกานี้ ชื่อว่าปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม

    วิทยากร ใน กีฏาคิรีสูตร มีคำว่า อนุบุพพสิกขา การศึกษาตามลำดับ อนุบุพพกิริยา การกระทำตามลำดับ อนุบุพพปฏิปทา การปฏิบัติตามลำดับ ทีนี้การศึกษาตามลำดับ การกระทำตามลำดับ การปฏิปทาตามลำดับ คืออย่างไร คือ ๑. ฟัง เกิดศรัทธาแล้ว เขาไปหาบัณฑิตย์ เข้าไปหา แล้วเข้าไปนั่งใกล้ นั่งใกล้แล้วเงี่ยโสตลงฟัง แล้วก็ตั้งใจฟัง ฟังแล้วจำเรื่องราวที่ฟังให้ได้ แล้วนำมาไตร่ตรอง เมื่อไตร่ตรองได้เหตุผล แล้วก็เกิดฉันทะ เกิดอุตสาหะ ถึงจะปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แล้วถึงจะแทงตลอด ซึ่งสัจจะ เป็นไปตามลำดับศรัทธาของเรา พอหรือยัง เราฟังธรรมพอหรือยัง ไตร่ตรองพอหรือยัง อะไรต่ออะไร ไม่ใช่ว่าจะทำอะไรก็จะเอาให้ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน วันนี้พรุ่งนี้ อะไรอย่างนี้

    ผู้ฟัง กราบเรียนท่านอาจารย์ พหุกาสุตสูตร

    ท่านอาจารย์ ถ้าย้อนถอยไป ๒,๕๐๐ กว่าปี ที่พระวิหารเชตวัน พระภิกษุทั้งหลาย ก็กำลังฟังสูตรนี้ จากพระโอษฐ์ นี้ก็แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้ว่า กาลเวลาจะผ่านไป นานแสนนาน พุทธบริษัท ที่ได้สะสมเหตุปัจจัย ที่จะได้ยินได้ฟัง พระธรรม แต่ว่าผู้ฟังในครั้งนั้น กับผู้ฟังในครั้งนี้ ก็คงจะต้องต่างกัน ตามการสะสม เพราะเหตุว่าเมื่อพระภิกษุท่านได้ฟัง แล้วท่านพระอานนท์ ท่านก็กราบทูลถาม ความละเอียด จนกระทั่งทำให้เราได้ศึกษา ได้เข้าใจ ความละเอียดนั้นด้วย อย่างถูกต้อง

    นี่เป็นการที่จะได้เห็น พระมหากรุณา ว่าทรงแสดงพระธรรม อนุเคราะห์ทั้งหมด แม้แต่คำว่า ธาตุ คำเดียว ก็มีหลากหลายมากมายที่จะทำให้ คนที่ได้ฟังได้เกิดความเข้าใจ ที่ถูกต้องขึ้น แต่ต้องโดยละเอียด แล้วก็โดยรอบคอบจริงๆ

    เพราะฉะนั้น ไม่ทราบว่าเมื่อฟังแล้ว คนในยุคนี้ สมัยนี้ จะมีความเข้าใจ จากข้อความที่ได้ฟัง มากน้อยต่างกันอย่างไร หรือว่ามีข้อสงสัยอะไร หรือพอได้ฟังแล้วก็ชัดเจนเลย ชื่นชมอนุโมทนา ในพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค หรือว่าต้องศึกษากันโดยละเอียด อาจจะต้องใช้คำว่าโดยละเอียดยิบ เพื่อเข้าใจยิ่งขึ้น เพราะว่าจริงๆ แล้วธาตุก็ไม่ได้อยู่ที่อื่นเลย เดี๋ยวนี้ ขณะนี้ทั้งหมด เพียงแต่ว่า จะเข้าถึงความเป็นธาตุ คือความเป็นธรรม ที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่เราทุกขณะ ชัดเจนขึ้น จนถึงวิปัสสนาญาณ เพราะว่าการที่จะรู้สภาพธรรมจริงๆ ไม่ใช่เพียงขั้นฟัง แต่ว่าต้องเป็นขั้นที่สามารถที่จะเข้าใจว่าขณะนี้เป็นธรรม แล้วก็มีสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏทุกขณะให้ศึกษาว่า ตรงตามที่ได้ทรงแสดงทั้งหมด

    วิทยากร มีข้อความว่า ฉลาดในธาตุ การที่จะรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งสภาพธรรมว่าเป็นธาตุ ก็มีอยู่หนทางเดียว ที่ได้พูดกันอย่างมากมาย คือ การเจริญสติปัฏฐาน ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั่นเอง

    ท่านอาจารย์ ก็คงจะเห็นความละเอียดของพระธรรม

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี สมัยนั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระพุทธดำรัสแล้ว ถ้ามีการตรัสเรียกภิกษุ จะเดาได้ไหมว่า พระพุทธเจ้าจะตรัสเรื่องอะไร คิดออกไหม คงเป็นไปไม่ได้เลย แต่ก็ทราบว่าถึงกาลที่พระผู้มีพระภาค จะทรงมีพระมหากรุณาแสดงพระธรรม ซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้ฟังในขณะนั้น ซึ่งพระผู้มีพระภาค ได้ตรัสดังนี้ว่า

    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภัยไม่ว่าชนิดใดๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดแต่คนพาล

    ยังไม่ได้กล่าวถึงเรื่องธาตุ ยังไม่กล่าวถึงเรื่องอะไรเลย แต่เพื่อที่จะให้ผู้ฟัง ได้เข้าใจ ได้พิจารณา ว่าพระธรรมที่จะทรงแสดงกับพุทธบริษัทต่อไป เพื่อประโยชน์ที่จะได้รู้จักตัวเองตามความเป็นจริง ถึงความต่างของบุคคล ๒ พวก คือบุคคลที่มีปัญญาพวกหนึ่งแล้วบุคคล ที่เป็นพาลพวกหนึ่ง ยังไม่ต้องฟังธรรมทันที แต่ต้องฟังด้วยการที่รู้ว่าเป็นประโยชน์ สำหรับตนเอง ที่จะได้พิจารณาตนเอง มิฉะนั้นแล้วก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าธรรม ที่จะตรัสแสดงต่อไปนั้น ตนเองเป็นอย่างไร

    เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นบุคคลในสมัยไหนทั้งสิ้น การฟังพระธรรมประโยชน์สูงสุดก็คือว่า ฟังเพื่อเข้าใจ ไม่ใช่เข้าใจเพียงธรรม ว่ามีกี่อย่าง เช่น ธาตุ ๑๘ ธาตุ ๖ ธาตุต่างๆ แต่ว่าธาตุเหล่านั้น เวลานั้นอยู่ที่ไหน กำลังอยู่ที่ตนเองทั้งหมด

    พระธรรมที่ทรงแสดง ก็ทรงแสดงเพื่อที่จะให้ผู้ที่กำลังฟังอยู่ ได้เกิดปัญญาของตนเอง แล้วก็มีความเข้าใจถูกในสภาพธรรม ซึ่งเป็นธาตุ ซึ่งเกิดขึ้นกับตนด้วย

    พระผู้มีพระภาค เริ่มด้วยการตรัสว่าภัย ไม่ว่าชนิดใดที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดแต่บัณฑิต นี้คือความต่างของ ๒ บุคคล รวมทั้งอุปัติถวะ และอุปสรรคทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่บัณฑิตย์ วันนี้มีอุปสรรคบ้างไหม ถ้าไม่ฟัง พิจารณาก็เหมือนกับว่าเป็น อีกเรื่องหนึ่งไกลตัว แต่ชีวิตจริงๆ ภัย ความหวาดกลัว ซึ่งมีอาจจะรอบข้างก็ได้ ถ้าได้ยินได้ฟังเรื่องราวต่างๆ หรือว่าอุปัติถวะ ความที่กระสับกระส่าย เป็นทุกข์ หรือว่าอุปสรรค ความขัดข้อง ก็แสดงให้เห็นว่า ถ้ามีควรพิจารณาไหมว่า อุปสรรคนั้นเกิดจากอะไร บัณฑิตย์ทำให้เกิดอุปสรรคได้ไหม ไม่ได้

    ผู้ฟัง ไม่ได้ เพราะในนี้บอก ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่บัณฑิต

    ท่านอาจารย์ ต้องเกิดขึ้นจากคนพาล เพราะฉะนั้น อุปสรรคนั้นเกิดจากเรา หรือว่าเกิดจากเขา หรือว่าเกิดจากใคร นี่เป็นประโยชน์ มิฉะนั้น พระสูตรนี้ทั้งหมดจะไม่เป็นประโยชน์เลย คือจบแล้วก็แล้วไป

    วิทยากร ท่านแสดงแต่ว่าบัณฑิตย์ เป็นอย่างไร แต่คนพาลไม่

    ท่านอาจารย์ ตรงกันข้าม

    ผู้ฟัง ตรงกันข้าม พวกเราก็สงสัยไม่พ้นพาล

    ท่านอาจารย์ แต่ก็มี ข้อความที่ แสดงความต่างของบัณฑิตย์กับคนพาล

    ผู้ฟัง ภาพที่บอกว่าเป็นพยาบาท หรือว่าความไม่พยาบาท มันจะเป็นภาพตรงไหน เป็นกุศลเจตสิก ใช่ไหม แล้วก็อกุศลเจตสิก ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ก็ไปถึงคำว่า ธาตุเลย แต่ว่าควรจะได้ตามข้อความในอรรถกถาด้วย ซึ่งข้อความในอรรถกถา มีว่าในพระสูตรนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ เพื่อประโยชน์ที่เราจะไม่ข้าม ข้อความในอรรถกถา ในบทว่า พยานิ เป็นต้น มีบทอธิบายว่า ความสะดุ้งแห่งจิตชื่อ ว่าภัย มาถึงคำ ๓ คำ คือว่าคำว่า ภัย อุปัติถวะ และอุปสรรค ซึ่งเกิดจากคนพาล

    ซึ่งข้อความในอรรถกถามีว่า ในบทว่า พยานิ เป็นต้น มีอธิบายว่า ความสะดุ้งแห่งจิต ชื่อว่า ภัย มีไหมวันนี้ มีบ้างไม่มีบ้าง อาการแห่งจิตที่ไม่มีอารมณ์เป็น ๑ ชื่อว่า อุปัติถวะ ไม่สงบ กระสับกระส่าย อาการที่ติดขัด คืออาการที่ขัดข้องในอารมณ์นั้นๆ ชื่อ ว่าอุปสรรค แม้แต่คำที่เราใช้กันอยู่บ่อยๆ จริงๆ แล้วเราเข้าใจความหมายนั้นอย่างไร ถึงสภาวะลักษณะของสภาพธรรมนั้น ว่าเป็นสิ่งที่มีจริง แต่เป็นลักษณะอย่างไร เช่นเวลาที่กลัว ขณะนั้นเราใช้คำว่า ภัย ไฟไหม้เป็นภัย น้ำท่วมเป็นภัย โจรผู้ร้ายเป็นภัย แล้วแต่ว่าเราจะกลัวอะไรก็ตามแต่ ขณะนั้นก็คือความสะดุ้งแห่งจิต เป็นความหวาดกลัว เวลาที่หวาดกลัวแล้ว ใจสบายไหม สงบไหม คิดหาวิธีต่างๆ ก็เป็นอุปัติถวะ อาการแห่งจิตที่ไม่มีอารมณ์ เป็นหนึ่งชื่อว่า อุปัติถวะ ส่วนอาการที่ติดขัด คือกาการที่ขัดข้องในอารมณ์นั้นๆ ชื่อว่าอุปสรรค เราใช้คำว่า อุปสรรค บ่อยๆ แต่ไม่รู้ว่าขณะใด ที่เกิดความขัดข้องขึ้น จิตไม่ได้เป็นไปตามปกติแล้ว ขณะนั้นสบายใจหรือเปล่า เวลาที่ขัดข้องก็คือ เป็นอาการของความทุกข์ ในเรื่องนั้น นั่นเอง เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่า แม้แต่คำที่เราใช้อยู่ เราก็ควรที่จะเข้าใจด้วยว่า ในขณะนั้นเป็นอกุศล ตั้งแต่คำว่าภัย อุบัติถวะ และอุปสรรค ซึ่งเกิดจากคนพาล เป็นสิ่งที่ไม่ราบรื่น แล้วก็จิตก็ไม่สบายใจ ไม่สงบ กระสับกระส่าย หาทางต่างๆ ที่จะแก้ไข ความขัดข้องนั้น เพราะฉะนั้น ในขณะนั้นก็ ไม่ใช่สภาพที่เป็นปกติ

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 108
    25 มี.ค. 2567