ปกิณณกธรรม ตอนที่ 676


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๗๖

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๗


    ท่านอาจารย์ จะเห็นได้ว่า การเห็นก็มีจริงๆ การจำได้ก็มีจริง การรู้เรื่องราวของสิ่งที่ปรากฏก็จริง เพราะฉะนั้น วันหนึ่งๆ ก็เป็นจิต ประเภทต่างๆ นั่นเอง ไม่ใช่ว่าให้ไปปฏิเสธว่าไม่มีเลย แต่ให้รู้ตามความเป็นจริงว่า สิ่งที่มีจริงๆ โดยไม่ต้องคิดเลย เป็นปรมัตถธรรม แต่ขณะใดที่คิดถึงจะเป็นรูปร่างสัณฐาน หรือชื่อ หรือเรื่องราวต่างๆ ขณะนั้นก็เป็นจิต แต่ขณะนั้นไม่ได้มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ แต่มีความทรงจำเรื่องราวของสิ่งที่เห็น สิ่งที่ได้ยินต่างๆ ก็เป็นสัจธรรมทั้งนั้น เพราะฉะนั้น ก็ต้องรู้ด้วย ว่าขณะที่กำลังรู้ ก็เป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง

    ผู้ฟัง จิต เจตสิก รูป ก็ต้องศึกษา ตรงนี้ก็ต้องเป็นตัวเราจริงๆ ถ้ารู้มัน ไม่ถ่องแท้ ตรงนี้

    ท่านอาจารย์ เพราะคุณสุกิจเข้าใจอย่างนี้ และคนอื่นก็เข้าใจอย่างนี้ ผิดหรือถูก จริงหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่รู้ ผมก็รู้ว่าจริง

    ท่านอาจารย์ จริง เพราะฉะนั้น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรู้ทุกอย่างว่าแต่ละคนคิดอย่างไร เพราะฉะนั้น เมื่อมีคนที่เบื่อ การที่จะทรงแสดงพระอภิธรรมล้วนๆ มีแต่จิต เจตสิก รูป จึงได้ทรงแสดงพระสูตร ด้วยความไพเราะ ตามอัธยาศัยของผู้ฟัง ด้วยประการต่างๆ เพื่อที่จะให้บุคคลนั้น สามารถที่จะเข้าใจธรรมที่มีจริง โดยการทรงแสดงความจริงที่หลากหลาย เพราะเหตุว่าจิตมีมากมายนับไม่ถ้วน ใครจะนับจิตบ้าง ขณะนี้ นับไม่ได้เลย มนุษย์ในโลกเท่าไร สัตว์เดรัจฉานเท่าไร เทวดาเท่าไร พรหมเท่าไร จิตทั้งนั้นเลยที่เกิด เพราะปัจจัยต่างๆ เพราะฉะนั้น จิตนี้มีมากมาย นับไม่ถ้วน ก็ทรงแสดงความละเอียดของจิต ของแต่ละบุคคล ไม่ใช่เฉพาะในชาตินี้ แม้ในอดีตก่อนๆ ที่เคยเป็นมา ก็ทรงแสดงให้เห็น ความจริงว่า ความจริงคืออย่างนี้ ความหลากหลายของธรรมคืออย่างนี้ ปัจจุบันเป็นอย่างนี้ อนาคตจะมากมาย ที่จะวิจิตรหลากหลายออกไปอีกสักเท่าไร เพราะฉะนั้น ก็แสดงโดยชื่อ โดยสถานที่ โดยความเป็นไป โดยฐานะที่เกี่ยวข้องกัน โดยความเป็นอยู่ เพื่อให้เห็นความจริงว่า ทั้งหมดก็คือจิตประเภทต่างๆ นั่นเอง แต่ไม่ได้หมายความว่า ให้เราไม่เข้าถึงพระอภิธรรม

    ผู้ฟัง จิต เจตสิก รูป พอศึกษาไปแล้ว มันก็แค่นี้ เกิดการเบื่อหน่ายอยู่ตรงนี้ แห้งแล้ง พระสูตรเป็นเรื่องราวมีสนุก อะไรบ้าง

    ท่านอาจารย์ ถ้าบันทึกไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก คงจะไม่อยู่ในพระไตรปิฎก เพราะว่าเรื่องราวในพระไตรปิฎกก็เมื่อ ๒,๕๐๐ กว่าปี แต่เรื่องราวในยุคนี้ ก็คล้ายคลึง ความเบื่อในอดีตก็ต้องมี ปัจจุบันก็ต้องมี อนาคตก็ต้องมี ถ้าแยกส่วนปัจจุบันออกมา เป็นเรื่องของคุณสุกิจ คนมาอ่านที่หลังก็คง สนุกดี คนนี้พูดว่าอย่างนี้ แล้วเบื่ออย่างนี้ แล้วก็ฟังพระธรรมต่อไป เป็นอย่างไรต่อไป กลับไปบ้านบุคคลนี้ได้ไปพบใคร พูดเรื่องอะไรก็เป็นเรื่องที่เหมือนสนุก

    เพราะฉะนั้น ถูกต้องที่กล่าวว่าปรมัตถธรรม ไม่สนุก จิตจะสนุกอย่างไร เป็นเพียงสภาพธรรม ไม่ใช่เรื่องราว แต่เรื่องราวสนุกมาก เพราะฉะนั้น ให้ทราบตามความเป็นจริงว่า ที่เราไม่รู้ ความจริงของสภาพธรรม เพราะเราสนุกกับเรื่องราว สภาพธรรมมีจริง ด้วยความไม่รู้ พอเห็นก็เป็นชื่อต่างๆ เป็นเรื่องต่างๆ แต่ที่จะให้รู้ว่าไม่มีเรื่องราวอีกต่อไป มีแต่สภาพธรรม ไม่ว่าจะอ่อนแข็ง เสียงที่กำลังปรากฏ สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ทั้งหมดนี้เพราะจิตละเอียดมาก หลากหลายมาก เกิดดับสืบต่ออย่างรวดเร็วมาก แต่เมื่อไม่รู้ความจริงอย่างนี้ จึงเพลิดเพลินในเรื่องราวของจิต เพราะฉะนั้น ถ้าจะเข้าถึงสภาพธรรมที่ละความเป็นสัตว์ เป็นบุคคล ต้องสละ เรื่องราวด้วยไหม เพราะว่าเป็นปรมัตถธรรมทั้งหมด เพราะฉะนั้น เวลาที่ผู้ที่รู้แจ้ง อริยสัจจธรรมแล้ว ยังมีเรื่องราวไหม ธรรมเป็นเรื่องจริง

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ ยังมีอยู่ แต่ไม่มีความเห็นผิดในสภาพธรรม ว่าขณะที่กำลังเป็นเรื่องราวนั้น ก็คือการคิดนึกต่างๆ จะสละเรื่องราวต่างๆ เพราะเหตุว่าไม่มี เรื่องราวจริงๆ มีแต่นามธรรม และรูปธรรม แต่แม้กระนั้นเพียงนามธรรม และรูปธรรม ที่ยังไม่มีเรื่องราวเลย เป็นของเราหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ แล้วจะสละกัน ตอนไหน ยิ่งยาก ใช่ไหม สละเรื่องราวแล้วยังสละเรื่องของลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏด้วย สละแม้การที่จะยึดถือสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ไม่ทราบเมื่อเช้า รายการตอน ๖ โมงเช้า มีใครฟังบ้าง ที่ว่าสละของวัตถุต่างๆ ก็ยาก ใช่ไหม แต่เวลาที่จะสละลักษณะของสภาพธรรม จะยิ่งยากกว่านั้นสักแค่ไหน เพราะว่าเคยยึดถือว่าเป็นเรา หรือของเรามานานแสนนานมากว่าที่เรายึดถือในวัตถุ สิ่งต่างๆ

    สิ่งต่างๆ ที่เรายึดถือติดแน่นมาก บางกาลก็ยังสละได้ แต่สิ่งต่างๆ ที่เคยยึดถือว่าเป็นเรา กาลไหนจะยอมสละ ถ้าไม่มีการที่เราจะอบรม ประโยชน์ของการที่จะสละ แม้สภาพธรรมปรากฏก็ยังไม่สละ ก็ยังคงเป็นเราอยู่ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่ากิเลส ก็มีกำลังครอบงำมาก แต่ผู้ที่มีปัญญา ก็ไม่ถูกครอบงำ ด้วยความไม่รู้ หรือว่า ด้วยกิเลส

    วิทยากร ธรรม ก็คือธรรม เพราะฉะนั้น เมื่อเราจะเรียนธรรม เราก็ต้องรู้ว่านี่สมมติบัญญัติ นี่ธรรม ขณะใดที่เรานึกถึงสมมติบัญญัติ เราก็เพลิดเพลินไป สุขบ้าง ทุกข์บ้างแล้วแต่ แต่ถ้าเรามีสติ ระลึกรู้ขณะนั้น ว่าสุขทุกข์ที่เราคิดถึงเรื่องราวนั้นเป็นเราหรือเปล่า คิดเพลินไป ก็เพลินไป จะเพลินไปเท่าไรๆ เป็นวัน เป็นคืน ก็แล้วแต่ ถ้าขณะใดนึกได้ ให้รู้ว่าขณะที่เพลิดเพลินไป คิดไป เราหรือเปล่า มันไม่ยอมรับว่าเราไม่เพลิดเพลิน คือมันเพลิดเพลิน บอกว่า ไม่เราไม่ใช่ๆ ถ้ายอมรับง่ายๆ เหมือนอย่าง ผู้ที่ท่านอบรมมาแล้ว อย่างสมัยพุทธกาล ก็สำเร็จไปแล้ว เพราะฉะนั้น เราต้องเนืองๆ บ่อยๆ อย่างที่ว่าเสพนั้น ต้องบ่อยๆ มากๆ

    ผู้ฟัง เราจะรู้ว่าเราเพลิดเพลินเมื่อไร ต่อเมื่อความเพลิดเพลินนั้น มันเกิดแล้ว ยังไม่ทันจะทำอะไรมันเลย มันรู้ว่าไม่ดี แต่ความเพลิดเพลินก็เกิด

    วิทยากร พอเรารู้ตัวว่า เราเพลิดเพลิน ก็ระลึกรู้ว่าเพลิดเพลิน เป็นเราหรือเปล่า ให้รู้ตรงนั้นให้ชัดๆ

    ผู้ฟัง รู้ว่า ขณะนี้กำลังเบื่อหน่าย ในเรื่องตัวเลข อกุศล

    วิทยากร ก็รู้ตาม ก็รู้ว่าความเบื่อหน่ายเป็นเราหรือเปล่า ท่านอาจารย์ จะสงเคราะห์อย่างไร

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ จะกรุณาเพิ่มเพิม

    ท่านอาจารย์ ก็ต้องขออนุโมทนาคุณนิพัฒน์ ที่ได้กล่าวถึง เรื่องที่คุณประทีปถามถึง ก็เป็นอย่างนี้ จะเป็นอย่างอื่นก็ไม่ได้

    ผู้ฟัง สำคัญตรงว่า ผมฟังธรรมแล้ว พอเข้าใจว่า ธรรมเขาเป็นอย่างนี้ ไม่ใช่เรื่องราวมันเป็นจิต เจตสิก ซึ่งไม่ใช่ชื่อ ถึงแม้ไม่ใส่ชื่อก็มีเลย ก็มาถึงตอนที่กำลังเพลิดเพลิน หรือว่ากำลังเบื่อหน่าย ถ้าไม่มีการระลึกถึงลักษณะที่กำลังเพลิดเพลิน หรือว่าลักษณะของจิต เจตสิก ที่กำลังเบื่อหน่าย มันก็เหมือนเดิม ถ้าสติไม่ระลึก

    ท่านอาจารย์ แล้วจะละสมุทัย ตอนนี้อย่างไร ยังไม่เห็นว่าเป็นสมุทัย ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ยัง

    ท่านอาจารย์ ที่ถามนี่ คือสมุทัย พ้นไม่ได้เลย ถ้าไม่ใช่ปัญญาที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง ขณะนี้สติปัฏฐานเกิดหรือยัง

    ผู้ฟัง ผมก็ฟังอยู่ ก็ยังติดๆ ขัดๆ ยังไม่ถ่องแท้

    ท่านอาจารย์ ที่ฟังธรรมมาทั้งหมด มีสติปัฏฐานเกิดบ้างไหม ย่อลงมาแล้ว จากขณะนี้ มาถึงว่าตั้งแต่ฟังธรรมมา มีสติปัฏฐานเกิดบ้างไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ เห็นไหม เพราะฉะนั้น การที่เราเสพบ่อยๆ คือฟังบ่อยๆ สิ่งที่ยังไม่เคยเกิดเคยมี ก็มีขึ้น เป็นภาวิตา เพราะว่า มิฉะนั้นแล้ว ทุกคนก็ถามว่า เมื่อไรสติปัฏฐานจะเกิด รู้สึกว่าจะรอคอย แล้วก็บางคนก็อาจจะพยายาม อย่างอื่นที่จะทำให้เกิดสติปัฏฐาน แต่เป็นไปไม่ได้เลย ไม่ใช่ด้วยการที่มีความเป็นตัวตน

    แม้จะมีคำว่า ทำ ในพระไตรปิฎก แต่ต้องสอดคล้องกันทั้ง ๓ ปิฎก คือผู้ที่เข้าใจก็สามารถจะรู้ได้ว่า ไม่มีคนทำ แต่สภาพธรรมเกิดขึ้น ทำกิจการงานของสภาพธรรมนั้น เช่น สติ ก็จะต้องทำกิจของสติ จะไปทำกิจของปัญญาไม่ได้ เพราะฉะนั้น สภาพธรรมที่เป็นอย่างไร หน้าที่อย่างไรก็เกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น ทำอย่างนั้น เพราะฉะนั้น เวลาที่พูดถึงสติปัฏฐาน สติสัมปชัญญะ สติที่รู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ ทุกคนก็เป็นผู้ที่ตรงที่ จะรู้ว่าเกิดแล้วหรือยัง แล้วเคยเกิดบ้างไหม ถ้าเคยเกิดเพราะอะไร ไม่ใช่อยู่ดีๆ เราไม่มีการฟัง ไม่มีการนึกถึง ไม่มีการพิจารณา ไม่มีการไตร่ตรอง ที่เป็นการเสพ แล้วก็สติปัฏฐาน จะมีขึ้นมาได้ แล้วเมื่อสติปัฏฐานเคยเกิดบ้างแล้ว ก็จะต้องอบรม ให้มีมากๆ

    เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องซึ่งไม่ใช่เราเป็นตัวตนที่จะทำ แต่แม้จะมีคำว่า ทำ ก็คือสภาวะธรรมแต่ละอย่าง ทำกิจของสภาวะธรรมนั้นๆ แม้ในขณะนี้ที่กำลังฟัง ก็มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กำลังทำหน้าที่ของสภาพธรรมแต่ละอย่างนั้น แต่ว่าการที่จะมีปัญญา ที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรม ก็คือ ต้องฟังเรื่องของสภาพธรรม จนกระทั่งเข้าใจ แล้วถึงจะมีปัจจัยให้สติสัมปชัญญะเกิดได้

    ผู้ฟัง จนกระทั่งเข้าใจ ตรงนี้ จึงเรียกว่ายังไม่ถ่องแท้

    ท่านอาจารย์ แล้วก็เสพอีกบ่อยๆ เนืองๆ

    ผู้ฟัง แล้วก็ มิได้ระลึกถึงสภาวะธรรม ซึ่งมันยากมาก

    ท่านอาจารย์ ใช่ แต่สิ่งที่ได้ยินได้ฟัง แล้วได้เข้าใจ ไม่สูญหาย พร้อมที่จะเป็นปัจจัย ในกาลหนึ่งที่สติสัมปชัญญะเกิดก็จะรู้ ว่ามาจากการที่เราฟังธรรม บ่อยๆ เสพบ่อยๆ นั่นเอง

    คุณสุกิจ ได้ยินว่า สติปัฏฐาน เป็นสภาพที่ระลึก รู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมแต่แม้กระนั้นก็ไม่มีใครสามารถ ที่จะไปบังคับบัญชา ความไม่รู้กับความต้องการ ซึ่งสะสมมามาก แม้ได้ยินอย่างนี้ ก็จะมีเราทำ ระลึก มีไหม เรา จะระลึก หรือจะทำระลึก เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่ากว่าจะรู้จริงๆ ว่า เป็นหน้าที่ของสติที่เกิด แล้วระลึกแล้ว คือรู้ตรงนั้นแล้ว ไม่ใช่เรา

    ผู้ฟัง ที่อาจารย์ พร่ำสอนอยู่บ่อยๆ ว่าไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ตรงนี้มันยังระลึกไม่ถึงตรงนี้ แล้วก็อีกนัยยะ ๑ ก็บอกเกิดดับ เป็นทุกข์ เป็นอนิจจัง อนัตตา มันก็ไม่ถึง มันระลึกไม่ได้ ตรงนี้ไม่ได้สักที

    ท่านอาจารย์ ใช่ ถ้าอย่างนั้นก็ต้องตรง ตามที่ทรงแสดงไว้ที่ว่า ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่โลก ทั้งเทวโลก ทั้งมารโลก ทั้งพรหมโลก หมู่สัตว์ ทั้งเทวดา มนุษย์ ทั้งสมณพราหมณ์ได้เห็นแล้ว ขณะนี้เราเป็นมนุษย์ ได้เห็นแล้ว สิ่งใดที่มนุษย์ ได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ได้ทราบแล้ว ได้รู้แจ้งแล้ว ได้ประสบแล้ว ได้แสวงหาแล้ว ได้คิดค้นแล้ว สิ่งนั้น ตถาคตได้รู้ยิ่ง โดยชอบแล้ว

    สิ่งธรรมดาๆ ซึ่งในขณะนี้ ทั้งสมณพราหมณ์ หรือว่าเทวดามนุษย์ ได้เห็นแล้ว คือกำลังเห็นเดี๋ยวนี้ เป็นสิ่งที่พระตถาคตได้ รู้ยิ่งโดยชอบ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่รู้อย่างอื่น แต่รู้สิ่งซึ่งมนุษย์ก็เห็น เทวดาก็เห็น พรหมก็เห็น มารก็เห็น เห็นก็คือเห็น ทางตา ได้ยินขณะนี้ กำลังได้ยินทางหู ได้ทราบแล้ว คือ ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ได้รู้แจ้งแล้ว คือทางใจ อารมณ์ที่ปรากฏทางใจ ได้ประสบแล้ว ขณะที่กำลังเผชิญหน้า ได้แสวงหาแล้ว แสวงหาหรือเปล่า สิ่งที่เห็น ได้ไหม แสวงแล้วได้ไหม ได้หรือไม่ได้ ได้ก็มี ไม่ได้ก็มี แล้วสิ่งที่ไม่แสวงหา แต่ได้ มีไหม ก็มีอีก

    เพราะฉะนั้น ก็เป็นสภาพธรรมตามปกติ ถึงได้คิดค้นแล้วก็ตาม สิ่งนั้นตถาคตได้ รู้ยิ่งโดยชอบแล้ว คือรู้สิ่งที่เป็น ชีวิตประจำวันจริงๆ ในขณะนี้ ไม่ใช่รู้อย่างอื่น การฟังพระธรรมแม้ว่าขณะนี้กำลังเสพอยู่ เพื่อที่จะให้ ถึงกาลที่สติสัมปชัญญะ จะรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมนั้น จนถึงกาลที่สามารถที่จะประจักษ์แจ้ง แม้ว่า สิ่งต่างๆ ที่กล่าวถึง ที่พระตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว โดยชอบยิ่ง รู้ยิ่งโดยชอบ มารหรือพรหม หรือเทวดา หรือมนุษย์ ยังไม่ได้รู้แจ้งก็จริง แต่ก็จะต้องเสพมากๆ จนกระทั่งสามารถที่จะรู้แจ้งได้ แต่ไม่ใช่ไปรู้อย่างอื่น

    ผู้ฟัง ขออนุญาต เพิ่มเติมอีกสักนิด คำว่า ฟังด้วยดี มันอย่างไร ขอขยายความ

    ท่านอาจารย์ คุณสุกิจ ฟังด้วยดี แล้วเดือดร้อนไหม

    ผู้ฟัง ไม่เดือดร้อน

    ท่านอาจารย์ นี่คือฟังด้วยดี แต่ถ้าฟังด้วยดีแล้วอยากให้สติ เกิด เมื่อไรสติเกิด นั่นเดือดร้อนแล้วใช่ไหม

    ผู้ฟัง เมื่อไรก็เมื่อนั้น

    ผู้ฟัง การรู้ยิ่งโดยชอบ ในสิ่งที่เห็น ที่ได้ยิน ที่ได้ทราบ ที่ได้รู้แจ้ง อย่างไร ที่ว่าจะเป็นการรู้ยิ่งโดยชอบ

    ท่านอาจารย์ โดยชอบก็ต้องเป็นสัมมา ความถูกต้อง ตามความเป็นจริงของสิ่งนั้น

    ผู้ฟัง แต่ทีนี้จะมีทั้งยิ่ง ทั้งชอบ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ รู้ตลอด

    ผู้ฟัง รู้ตลอด

    ท่านอาจารย์ ถ้าชอบนิดเดียว สัมมานิดเดียว ยิ่งไหม

    ผู้ฟัง ไม่ยิ่ง เพราะฉะนั้น ต้อง ไม่ใช่รู้นิดเดียว รู้ธรรมดา ใช่ไหม การรู้ยิ่งที่ว่าเป็นพระสัพพัญญุตตญาณ

    ท่านอาจารย์ รู้จริงๆ ถึงคนอื่น ก็สามารถที่จะรู้จริง ได้ แต่ว่าธรรมดาๆ เพราะมีการฟังพระธรรมเลย ทุกคนก็เห็น ได้ยิน เป็นชีวิตปกติประจำวัน โดยที่ว่าไม่มีการอบรม ความเห็นถูกเลย เพราะฉะนั้น ก็ต้องอบรมความเห็นถูกจนกว่าจะรู้ยิ่ง แต่ว่าตามลำดับขั้นว่า รู้ยิ่งของใคร ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือว่าของพระสาวก

    ผู้ฟัง แต่ว่าของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จะต้องเป็นพระสัพพัญญุตตญาณ

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง

    ผู้ฟัง แต่ในขั้นธรรมดา ขั้นอบรมนี้ก็ยังไม่ถือเป็นการรู้ยิ่ง

    ท่านอาจารย์ ยัง แต่ว่าเริ่มมีความเห็นถูก รู้ชอบตามความเป็นจริง ตั้งแต่ขั้นการฟัง ก็ต้องเป็นความเห็นถูก

    ผู้ฟัง ขออนุญาต ในพระสูตรก็กล่าวว่า แสวงหาก็มี ไม่แสวงหาก็มี แล้วก็ตรงนี้ การที่แสวงหา นี่ จะไม่ขัดกับคำที่ว่า เราแสวงหา เวทนาคือการดีใจบ้าง ส่วนมากจะเป็นเรื่องการดีใจ หรือสุขเวทนา หรือว่าแสวงหาอารมณ์ที่เป็น สีเขียว สีเหลือง สีแดง ตรงนี้หมายความแสวงหาอะไร

    ท่านอาจารย์ ทุกอย่าง คิดหรือเปล่าว่า เราแสวงหาอยู่เสมอ หลังเห็นแล้ว แสวงหาหรือเปล่า หลังได้ยินผ่านไปเลย หรือว่าแสวงหาต่อไปอีก จริงๆ แล้วเราแสวงหาทุกอย่าง ให้เราจำอะไรไม่ได้เลย เวลานี้เอาไหม แสวงหาสัญญา ความจำหรือเปล่า ที่เราเคยรับประทาน เคยมีอะไรทางรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ พอแล้วหรือว่าแสวงหาต่อไปอีก แสวงหาทุกอย่าง ว่าเราเห็นคนหรือว่า เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา

    ผู้ฟัง คือเห็นคน

    ท่านอาจารย์ ใช่ เพราะฉะนั้น ก่อนคนต้อง มีเห็น เพราะฉะนั้น จะเข้าใจรูปายตนะได้ก็คือ สิ่งที่ปรากฏทางตา โดยที่ไม่ใช่ความคิด ว่าเป็นคน พระผู้มีพระภาค ทรงรู้ยิ่งโดยชอบ ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นสภาพธรรมที่เกิดด้วย แล้วก็ดับด้วย แล้วที่เกิดที่จะเป็นอายตนะ ก็เมื่อกระทบกับจักขุปสาท เพราะว่าที่ใดที่มีธาตุดิน น้ำไ ฟ ลม ที่นั่นก็ต้องมีสี หรือว่ารูปที่เป็นวัณโณ แต่ไม่ใช่รูปายตนะ ตราบใดที่ไม่มีจิตเห็น สิ่งนั้นไม่ได้มากระทบกับจักขุปสาท ที่จะเป็นปัจจัยให้จิตเห็นสิ่งนั้น

    แต่ขณะนี้ที่กำลังเห็น ก็มีลักษณะอย่างนี้แหละ ไม่ได้ต่างไปจากขณะที่กำลังปรากฏอย่างนี้เลย แต่ว่าสิ่งนี้เกิดกระทบกับ จักขุปสาท จิตเห็นเกิดขึ้นเห็น ไม่ใช่คน จิตเห็นเกิดขึ้นเห็น สิ่งที่กำลังปรากฏ ลักษณะอย่างนี้ นั่นคือรูปายตนะ พระผู้มีพระภาค ทรงรู้ยิ่งโดยชอบ ในรูปายตนะ ในรูปารมณ์ ที่ปรากฏในขณะนี้ ตามความเป็นจริง ตลอดไปจนกระทั่งถึงทางใจ ที่รู้ ไม่มีอะไรเลย ที่ไม่ใช่ความจริง ทรงตรัสรู้อย่างไร ทรงแสดงอย่างนั้น

    เพราะฉะนั้น เราก็ต้องเข้าใจให้ถูกต้อง ไม่เว้นเลย แม้แต่คำว่า รูปายตนะ หรือรูปารมณ์ ไม่ได้หมายความถึงวัณณะ หรือนิพพาน หรือแสงสว่าง ในที่ทั่วๆ ไป ที่ไม่ได้กำลังปรากฏ ในขณะนี้ แต่หมายความถึงสิ่งที่กำลังปรากฏ อย่างธรรมดานี้เอง ก่อนที่จะมีความคิดนึก ทรงจำว่าเป็นคน สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาเกิด แล้วก็จะกระทบกับจักขุปสาทรูป ซึ่งเกิดแล้วยังไม่ดับ ทั้ง ๒ อย่าง เป็นอายตนะ ประชุมเป็นบ่อเกิดให้ มีจิตเห็น เกิดขึ้น ในขณะนี้ พระผู้มีพระภาค ทรงตรัสรู้ ยิ่งโดยชอบ ตามความเป็นจริง

    เพราะฉะนั้น กว่าจะเข้าถึงปรมัตถธรรม จิต เจตสิก รูป ไม่มีคน ไม่มีสัตว์เลย แต่ตราบใดที่ยังไม่ได้ดับการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา จากขันธ์ทั้ง ๕ คือ ทั้งรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ฟังอย่างนี้ ก็ยังมีเราจะทำระลึก หรือว่าเราจะระลึก แต่ความจริงสภาพระลึกซึ่งเป็นสติปัฏฐานเกิดเมื่อไรก็ระลึก คือรู้ตรงลักษณะนั้นทันที จนกว่าจะทั่วหมด ถึงจะละความเป็นเราได้ เพราะว่าแม้ว่าเราจะพูดอย่างนี้ ก็ยังเห็นเป็นคุณวีระ ยังเห็นเป็นคุณจำนง เห็นเป็นคุณกุลวิไล ยังเห็นเป็นใครอยู่ทั้งนั้นเลย

    เพราะฉะนั้น จึงต้องรู้ว่าความละเอียดของปัญญาที่จะต้องอบรม ตั้งแต่การฟังแล้วไม่ลืม ถึงอย่างไรๆ สติสัมปชัญญะ ก็คงจะระลึกบ้าง และความเข้าใจก็อาจจะ ใช้คำว่า ริบหรี่ อดทนทำอะไรก็อดทนได้ ถ้ามีผล ที่หวัง ที่ต้องการ แต่อดทนที่จะละคลายความเป็นเรา ที่เคยยึดถือสภาพธรรม ว่าเป็นตัวตน จะต้องยิ่งยากกว่านั้นสักแค่ไหน แต่ก็เริ่มจากการที่ฟังแล้วฟังอีก เสพ อาเสวิตา จนกระทั่งไม่ลืม นึกถึงอยู่ รู้อยู่ พิจารณาอยู่ น้อมไปอยู่จนกว่าจะมั่นคง เป็นสัจจญาณ

    เพราะฉะนั้น ในชาติหนึ่งๆ เราไม่ใช่คนโกง เมื่อไม่มีจะกล่าวว่ามี เมื่อไม่ใช่จะกล่าวว่าใช่ ก็จะไม่ได้สาระอะไรเลยจากพระธรรม เหมือนกับว่าได้พบพระธรรม ได้ฟังพระธรรม แต่ว่าไม่ได้ประพฤติตาม จะต้องเป็นผู้ที่ตรงจริงๆ ขณะที่ฟังมีความรู้ความเข้าใจระดับไหนก็ ค่อยๆ เพิ่มพูนขึ้น จนกว่าจะถึงระดับที่สามารถ ที่จะสละความเป็นเรา หรือความเห็นผิดว่าเป็นตัวตนได้

    ผู้ฟัง ตอนแรก ผมจะใช้วิธีจำเอาว่า ถ้ารูปายตนะต้องคู่กับจักขุ สัททายตนะต้องคู่กับหู อะไรต่างๆ เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งมันก็เป็นการที่จะ พอฟังเสียงขึ้นมา ก็บอกนี่ได้ทางหูแล้ว จริงๆ แล้วมันยังคลาดเคลื่อนอยู่มากทีเดียว

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 108
    25 มี.ค. 2567