ปกิณณกธรรม ตอนที่ 701


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๗๐๑

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๗


    ท่านอาจารย์ แต่จริงๆ แล้วกุศลญาณสัมปยุตต ก็ไม่ใช่เรา แล้วก็กำลังเข้าใจสิ่งที่มีด้วย เพราะฉะนั้น การที่จะเริ่มเข้าใจตัวสภาพธรรมจริงๆ จะเล็กน้อยสักแค่ไหน ฟังเรื่องราวมาก็ตั้งนานมากเลย หลายปี แล้วก็เข้าใจลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมอย่างมั่นคง ว่าขณะนี้ก็เป็นนามธรรม และรูปธรรม แล้วเวลาที่เป็นอีกระดับ ๑ คือสติสัมปชัญญะเกิดในขณะที่กำลังเห็น ก็ไม่ต้องเรียกชื่ออะไร เพียงแต่ว่าขณะนั้นกำลังค่อยๆ เข้าใจ จะทีละเล็กทีละน้อยสักแค่ไหน แต่ก็เริ่มรู้ว่าต่างกับขณะที่หลงลืมสติ

    ผู้ฟัง เข้าใจคนละขณะทีละขณะ ในเมื่อเข้าใจนามธรรม และรูปธรรมขณะนั้น

    ท่านอาจารย์ พร้อมกันไม่ได้เลย

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น เล็กน้อย

    ท่านอาจารย์ มาก

    ผู้ฟัง เกินกว่าที่เราจะสังเกตเห็นได้

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง แล้วก็ค่อยๆ เริ่ม เหมือนกับอุปมาเหมือนการจับด้ามมีดไม่ผิดเลย จนกว่าด้ามมีดจะสึก ครั้งแรกจับ จะเล็กน้อยสักแค่ไหน ก่อนที่จะถึงการสึก

    ผู้ฟัง เคยได้ยินอาจารย์กล่าวว่า มหากุศลญาณสัมปยุตต เกิดได้ทั้ง ๖ ทวารเลย

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง หรือเปล่า ผู้ที่ศึกษาธรรม ถูกหรือผิด เปลี่ยนได้ไหม ให้มหากุศลไม่ได้เกิดทางปัญจทวารได้ไหม คุณวรศักดิ์ มหากิริยาเกิดได้กี่ทวาร

    ผู้ฟัง ๖ ทวาร

    ท่านอาจารย์ จิตของพระอรหันต์ ถ้าไม่เกิดทางปัญจทวารเป็นอะไร พระมหากิริยาเกิดทางปัญจทวารไม่ได้ จิตพระอรหันต์เป็นอะไรหลังเห็น ปัญจทวาร

    ผู้ฟัง เป็นกิริยา

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ใช่กิริยาจิต เป็นไปได้ไหม ต้องเป็นกิริยาจิต ใช่ไหม แล้วก่อนจะเป็นกิริยาจิต จะไม่เป็นกุศลจิตก่อนหรือ กว่าจะรู้จนกระทั่งดับกิเลสหมด จนกระทั่งจากที่เคยเป็นกุศล เป็นกิริยาจิต และก่อนที่จะเป็นกุศล เป็นอกุศลก่อนด้วย ปุถุชนทั้งหลาย หลังเห็นแล้วก็ส่วนใหญ่ ก็เป็นอกุศลประเภทหนึ่ง ประเภทใด ไม่ใช่โลภมูลจิต ก็เป็นโทสมูลจิต หรือโมหมูลจิต นี่คือปุถุชน แล้วสำหรับผู้ที่อบรมเจริญปัญญา ถ้ากุศลไม่เกิด แล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่าลักษณะของสภาพธรรมนั้นเป็นอะไร ถ้ากุศลไม่เกิด จะถึงความที่หลังจากเห็นแล้ว เป็นกิริยาจิตได้ไหม จากอกุศลไปเป็นกิริยาจิต แล้วก็คุณวรศักดิ์จะให้เป็นได้อย่างไร เรื่องไม่รู้คือไม่รู้ แต่ผู้รู้ทรงแสดงจากการตรัสรู้ แล้วผู้ที่ศึกษาก็รู้ว่า พระปัญญาที่ได้ทรงตรัสรู้อย่างไร ก็ทรงแสดงสภาพธรรมตามความเป็นจริงอย่างนั้น เราก็สามารถที่จะค่อยๆ พิจารณาเข้าใจได้ ว่าความต่างของปุถุชนกับพระอรหันต์ หรือพระอริยเจ้า ขั้นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ก็ยังต่างกับพระอรหันต์ เพราะฉะนั้น จากที่เคยเห็นแล้วเป็นอกุศล ก็ต้องค่อยๆ เป็นกุศล

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น หลังจากที่เห็นแล้ว เกิดโลภะ หรือเกิดโทสะ หรือเกิดอะไร กุศลอะไรก็ตามแต่ จะรู้ได้ก็ทางมโนทวาร

    ท่านอาจารย์ เราไม่ต้องเรียกชื่อ ก็มานั่งเรียกชื่อกันอยู่ ก็คือขณะนั้นไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรม พอนึกถึงชื่อเมื่อไร รู้เลย มโนทวารกำลังนึกถึงเรื่อง เพราะฉะนั้น สภาพธรรมตามความเป็นจริง ทุกอย่างที่ปัญญา จะรู้ว่าเรื่องราวทั้งหลาย เมื่อไร เมื่อขณะที่ไม่ได้มีรูปปรมัตถ เป็นอารมณ์

    ผู้ฟัง เพราะเหตุว่าทางปัญจทวาร ไม่สามารถมีนามธรรมเป็นอารมณ์ได้ นามรูปปริจเฉทญาณ ก็เกิดเฉพาะแต่มโนทวารเท่านั้น

    ท่านอาจารย์ ทางมโนทวาร แต่ก็มีรูปปรากฏด้วย

    ผู้ฟัง แล้วก็เป็นรูปที่รู้ตรงลักษณะ

    ท่านอาจารย์ แน่นอน ไม่ใช่รูปโน้น ดับไปตั้งแต่เมื่อไร แล้วก็จะมารู้

    ผู้ฟัง ขอบพระคุณ

    ผู้ฟัง ขณะที่มหากุศลญาณสัมปยุตตเกิด ที่เป็นวิธีจิตทางปัญจทวาร แล้วก็มี สี เป็นอารมณ์ ขณะนั้นก็เป็นลักษณะของสภาพธรรมปรากฏรู้ว่ามีสี ไม่ใช่รู้ว่า มหากุศลญาณสัมปยุตตเกิด แล้วก็ไปรู้อารมณ์ของจิต ที่เกิดต้นๆ ที่มีสีเป็นอารมณ์ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เราคงจะไม่ต้องมานั่งนับว่าวาระไหน เพราะว่าขณะนี้ก็นับไม่ถ้วน หลายวาระมากมาย แต่ว่า รู้ สิ่งที่มีขณะนั้นหรือเปล่า เช่น เห็นกำลังเห็น รู้แล้วหรือยังว่าเป็นสภาพรู้ เป็นธาตุรู้ ที่ไม่ใช่เรา ไม่ต้องไปกังวลถึงทวารไหนเลย การที่ทรงแสดงพระธรรมโดยละเอียด เพื่อให้สามารถที่จะสละความเป็นเรา เมื่อสติสัมปชัญญะระลึกลักษณะของสภาพปรมัตถธรรม
    การศึกษาที่ได้ฟังมาแล้วทั้งหมด จะเป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งที่จะให้รู้ว่า ขณะนั้นไม่ใช่เรา แต่ว่าไม่ใช่ขณะที่กำลังระลึก แล้วก็ให้มานั่งคิดว่า นี่ปัญจทวาร หรือมโนทวาร หรือว่ามีเจตสิกประกอบร่วมด้วยเท่าไร ไม่ใช่อย่างนั้นเลย

    ผู้ฟัง แต่ในลักษณะของการศึกษา มันมักจะคิด ในเรื่องอย่างนี้เสมอเลย ทั้งๆ ที่ก็ทราบว่า เราไม่ได้รู้ อย่างนั้น แต่ก็อยากจะรู้ ความจริงว่ามันเป็น อย่างนั้นหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็กลับมาที่เห็น รู้ความจริงของเห็นหรือยัง กลับมาที่ตัวธรรมจริงๆ ที่กำลังปรากฏไม่ว่าจะฟังเรื่องอะไรก็ตามแต่ รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏหรือยัง

    ผู้ฟัง ตรงนี้ เป็นอย่างนั้นจริงๆ คือไม่ต้องไปสนใจ ที่จะหาว่าเรารู้ได้อย่างไรอะไร รู้แต่เฉพาะสภาพธรรม ที่ปรากฏจริงๆ เท่านั้นเพียงพอแล้ว

    ท่านอาจารย์ การฟังธรรม มีประโยชน์ ที่จะให้เข้าใจในความเป็นอนัตตา แต่ว่าจะบังคับให้สติสัมปชัญญะเกิดแล้วก็ระลึกก็ไม่ได้ ก็เป็นสังขารขันธ์ที่จะปรุงแต่ง จนกว่าเมื่อไรที่กำลังเห็นแล้วก็ค่อยๆ เข้าใจเห็นกำลังฟังเรื่องเห็นสามารถที่จะค่อยๆ เข้าใจในลักษณะที่เห็น ทีละเล็กทีละน้อย เป็นปกติ ให้รู้ว่านั่นคือ มรรค นั่นคือหนทาง ซึ่งเห็นยากว่าเป็นหนทาง เพราะว่าไม่ต้องไปทำอะไรเลย แต่ว่ามีการสะสมความรู้ความเข้าใจที่ ถูกต้อง จนกระทั่งแม้ในขณะที่ได้ฟัง ก็สามารถที่จะค่อยๆ เข้าใจลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม ในขณะนั้นได้

    ผู้ฟัง ช่วยกรุณาขยายความว่า ปฏิเวธธรรมมีนิโรธเป็นอารมณ์

    วิทยากร จริงๆ แล้วคือในขณะที่ แทงตลอด มีนิโรธเป็นอารมณ์ โดยขณะที่เป็นมรรคจิต จะมีอย่างอื่นเป็นอารมณ์ไม่ได้ ไม่ใช่ว่า ปฏิเวธจะเป็นอารมณ์ของนิโรธ นิโรธะ คือ พระนิพพานเป็นอารมณ์ของมรรคจิต ในขณะที่แทงตลอดนั้นเอง

    ผู้ฟัง มรรคองค์แรก คือ สัมมาทิฏฐินั้น เป็นเรื่องสำคัญมากเลย ใช่ไหม ท่านอาจารย์จะกรุณาสรุปอะไร สำหรับมรรคองค์ที่ ๑ ได้ไหม

    ท่านอาจารย์ เป็นความเห็นถูก ซึ่งจะต้องทราบกว่าจะถึงความเห็นถูก ที่เกิดร่วมกับโลกุตตรจิต ก็จะต้องฟังแล้วก็มีความเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเพิ่มขึ้น เป็นสิ่งที่ง่ายหรือยาก ต่อการที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม เพราะว่าโดยมาก เราเข้าใจว่าขณะไหนเป็นกุศล ขณะไหนเป็นอกุศล แต่เป็นเรา เพราะฉะนั้น ปัญญาที่เห็นแจ้งกุศลธรรม และอกุศลธรรม ชื่อก็บอกแล้ว ตั้งแต่เริ่มต้นเลย แม้แต่ในขณะที่ฟัง กำลังฟังเรื่องราวของสภาพธรรม เพื่อที่จะรู้แจ้งลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ เพราะว่าถ้าพูดโดยการที่เรากล่าวแต่เพียงชื่อ กุศลจิต อกุศลจิต หรือว่ากุศลธรรม อกุศลธรรม เรารู้เพียงชื่อ เพราะฉะนั้น ต้องเป็นปัญญาอีกระดับหนึ่ง ที่สามารถที่จะรู้ว่า สิ่งที่เรากล่าวเป็นธรรมที่มีจริงๆ
    เพราะฉะนั้น ทั้งหมดก็อาศัยปัญญา ที่จะต้องมีความเห็นถูกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเพียงแต่เราทราบว่า มรรคมีองค์ ๘ แล้วก็เริ่มต้นด้วยสัมมาทิฏฐิ บางคนก็อาจจะคิดว่า เรามีแล้ว แต่เรามีแล้วเมื่อไร โดยการเพียงฟังว่า สัมมาทิฏฐิคืออะไร หรือว่าแม้ในขณะนี้เอง ก็สามารถที่จะถึง สัมมาทิฏฐิ คือความเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

    เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรม ก็เป็นเรื่องที่ละเอียด เป็นเรื่องที่จะเข้าใจว่า เป็นการอบรมเจริญปัญญา ความรู้ถูก ความเห็นถูกในลักษณะของสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏจนกว่า ความรู้นั้นจะเพิ่มขึ้น ทั้งหมดที่ได้ฟัง ก็เป็นเรื่องของธรรมที่มีจริงๆ ทั้งนั้น

    ผู้ฟัง เท่าที่เราเคยได้ยิน คำว่า สัมมาทิฏฐิ ดูเหมือนจะมีความหมายกว้างไปกว่า ความรู้เกี่ยงกับอริยสัจ ๔ คล้ายๆ มากมายกว่านี้

    ท่านอาจารย์ ไม่พอ จนกว่าจะถึงโลกุตตระ

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ถ้าเราพูดแต่เพียงว่า ความเห็นถูก แล้วเชื่อเรื่องกรรม และผลของกรรม ก็ยังไม่พออีก

    ผู้ฟัง ไม่พอ

    ท่านอาจารย์ แล้วขณะนั้นเป็นอะไร ความเชื่อนั้นเป็นอะไร เป็นเราหรือเปล่า ที่กำลังคิดเรื่องกรรม และผลของกรรม เพราะฉะนั้น ศึกษาธรรมเพื่อที่จะรู้จักตัวจริงของธรรม ซึ่งเป็นธรรมทุกขณะ ไม่ว่าจะมีความเชื่อเรื่องกรรม ขณะนั้นเป็นอะไร สำคัญที่สุดคือรู้ว่า ขณะนั้น ความจริงคืออะไร คือความเห็นถูกตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งถึงการประจักษ์แจ้ง ลักษณะของสภาพธรรม

    ผู้ฟัง เข้าใจ

    ผู้ฟัง การที่จะรู้จริง รู้ถูกต้อง ไม่น่าจะพ้นไปจากสัจจะทั้ง ๔ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ แต่ไม่รู้ เพิ่งเริ่มที่จะรู้เรื่องกรรม และผลของกรรม เป็นความเห็นถูกระดับนั้นเอง แต่ไม่พอ เพราะฉะนั้น ต้องทราบว่า พระศาสนา เป็นศาสนา ที่ทรงพระมหากรุณา ให้ผู้ได้ฟังเกิดปัญญาของตัวเอง จนกระทั่งถึงการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ถ้ายังไม่เชื่อเรื่องของกรม และผลของกรรม ก็ทรงแสดงโดยพยัญชนะต่างๆ อย่างเรื่องของพระอภิธรรม ก็มีเรื่องจิตที่เป็นกุศล และอกุศล ซึ่งเป็นเหตุที่จะให้เกิดวิบากจิต ซึ่งเป็นผล นี่ก็แสดงให้เห็น ให้มีความเข้าใจให้ ถูกต้องในเรื่องกรรม และผลของกรรม แต่ก็ยังไม่พอ พระศาสนาจะไม่มีทางให้เรามีปัญญา เพียงแค่เล็กๆ น้อยๆ นิดๆ หน่อยๆ แต่ให้ปัญญานั้นเริ่มเกิด เริ่มเจริญจนกระทั่งถึงความเป็น พระอรหันต์ สามารถที่จะดับกิเลสได้หมดเป็นสมุจเฉท เพราะฉะนั้น พระธรรมทั้งหมดที่ฟัง เตือนเราแม้แต่การฟัง ฟังแล้วมีความเห็นถูก ในสิ่งที่ได้ฟัง หรือว่ายังไม่มีความเห็นถูกในสิ่งที่ได้ฟัง แล้วความเห็นถูกในสิ่งที่ได้ฟัง จะรู้ได้เลยว่ายังไม่พอ เพราะว่าเป็นเพียงความคิดหรือความเห็นโดยที่ว่ายังไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นทุกขสัจจริงๆ

    วิทยากร อย่างเช่น ในอรรถกถาของ มหาจัดตารีสกสูตร มัชฌิมนิกายปริปัณณาสก์ ท่านกล่าวถึง สัมมาทิฏฐิไว้ ๕ ประการ วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ กัมมสกตาสัมมาทิฏฐิ มรรคสัมมาทิฏฐิ ผลสัมมาทิฏฐิ ปัจจเวกขณะสัมมาทิฏฐิ เพราะฉะนั้น ในที่อื่น ท่านก็จะมีกล่าว สัมมาทิฏฐิไว้กว้างขวางทีเดียว จริงๆ แล้วก็โดยสภาวะธรรม ก็คือเรื่องของสัจจะทั้ง ๔ นั่นเอง เพราะว่าโดยลักษณะของสภาพธรรมที่กล่าวถึง ตรงนั้น

    ท่านอาจารย์ สัจจะ คือ สภาพธรรมที่มีจริงๆ เกิดขึ้นแล้วดับไป แต่ขณะนี้ยังไม่รู้ เพราะฉะนั้น ก็ต้องอบรมเจริญปัญญาเพื่อรู้ถูก เห็นถูก ตามลำดับ อย่างวันเสาร์ก่อน เราก็ศึกษาเรื่องของ พละสูตร ซึ่งก็ได้แก่สภาพธรรม ที่เป็นกำลังได้แก่ปัญญาพละ ก็จะเห็นได้เลยเป็นปัญญาที่เห็นแจ้งว่าสภาพธรรมใดเป็นกุศล สภาพธรรมใดเป็นอกุศล ใช้คำว่า เห็นแจ้งในกุศลธรรม และอกุศลธรรม คือสามารถที่จะฟังแล้วก็เข้าใจถูกได้

    การฟังเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถ้าเราฟังไม่ดี เราจะเข้าใจผิดได้ แต่ถ้าฟังแล้วไตร่ตรอง จะทำให้มีการเข้าใจในขั้นฟังว่า ธรรมใดเป็นกุศล ธรรมใดเป็นอกุศล แต่ปัญญาต้องถึงความเห็นแจ้ง เพราะฉะนั้น เราก็จะรู้ได้เลย เราแค่ ฟัง แล้วก็รู้ว่าขณะที่เป็นโลภะ โทสะ โมหะ เป็นอกุศล ขณะที่เป็นไปในบุญกิริยาวัตถุ ก็เป็นกุศล
    ขั้นฟัง เราเข้าใจแค่นี้ แต่เราเห็นความเป็นธรรมของอกุศลธรรม และกุศลธรรมหรือเปล่า คือเห็นลักษณะของจิต ซึ่งไม่ใช่ตัวตนเป็นธรรม ว่าขณะนั้นเป็นกุศลธรรม หรือเป็นอกุศลธรรม

    แม้แต่การฟังว่า รู้ว่าขณะใดเป็นกุศลธรรม และขณะใดเป็นอกุศลธรรม ก็ต้องเป็นการที่ถึงความรู้แจ้งด้วยปัญญา ว่าสิ่งนั้นเป็นธรรม เพราะฉะนั้น จะไม่เพียงแต่ว่าให้เรามีปัญญา ขั้นฟัง แล้วก็เข้าใจได้ ขณะใดเป็นโลภะ โทสะ โมหะ ขณะนั้นเป็นอกุศล ขณะใดที่เป็นไปในทาน ศีล ภาวนา ขณะนั้นเป็นกุศล แต่ต้องถึงภาวะคือลักษณะที่เป็นธรรม คือเป็นกุศลธรรม หรือ อกุศลธรรมที่ไม่ใช่เรา ถ้าศึกษาแล้วฟัง แล้วพิจารณาโดยละเอียด จะรู้เลยว่า ต้องเป็นเรื่องของปัญญาที่เห็นแจ้ง ซึ่งถ้าเป็นปัญญาที่เห็นแจ้งก็ คือเห็นแจ้งในสภาพธรรมที่เกิดดับ ซึ่งเป็นทุกข์นั่นเอง สัมมาทิฏฐิเป็นความเห็นถูก ความเห็นถูกในอะไรบ้าง ถ้าขณะนั้นเป็นความเห็นถูก เห็นถูกได้มากกว่านั้น ทุกชื่อใส่ได้เลย

    ผู้ฟัง หมายความว่าต้องมีปัญญาก่อน

    ท่านอาจารย์ ปัญญาเจตสิก คือ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูก

    ผู้ฟัง ที่นี้ กัมมสกตาสัมมาทิฏฐิ เมื่อมีปัญญาจึงรู้จักว่า อันนี้เป็นผลของกรรม อันนี้เป็นวิบาก ถ้าไม่มีปัญญา จะไม่เข้าใจตัวนี้เลย หรืออย่างไร

    ท่านอาจารย์ ขณะที่เห็น ถ้าศึกษาตอบได้ ใช่ไหม เป็นวิบาก จิตเห็นเป็นวิบาก แต่จิตไม่ใช่เรา กว่าจะถึง ความรู้ว่าเป็นธาตุรู้ ที่กำลังเห็น เพราะฉะนั้น จะไม่อยู่เพียงแค่พยัญชนะ หรือไม่อยู่เพียงแค่ตัวหนังสือ ว่าเราเป็นผู้ที่เข้าใจว่ากุศลกรรม บุญกิริยาวัตถุ ก็เป็นปัจจัยให้เกิดกุศลวิบากจิตทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือขณะปฏิสนธิ เป็นต้น เราจะไม่มีปัญญาเพียงเท่านั้น เพราะว่าเท่านั้นไม่พอ กับการที่ทรงพระมหากรุณาแสดงให้เข้าใจธรรมโดยละเอียดว่า ต้องอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้ลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตนของสภาพธรรมนั้นๆ ด้วย แล้วจริงๆ แล้ว ขณะนี้ เชื่อเรื่องกรรม และผลของกรรมไหม

    ผู้ฟัง เชื่อ

    ท่านอาจารย์ เชื่อ แน่นอน ถ้าสติสัมปชัญญะเกิด รู้ความต่างของขณะที่จิตเห็น ขณะนี้ เป็นธาตุรู้ชนิดหนึ่ง ซึ่งกำลังเห็น กับกุศลจิต ที่สามารถที่จะรู้ได้ว่า ต่างกัน ก็จะเห็นความต่างของจิตที่เป็นวิบาก กับจิตที่เป็นเหตุ คือกุศล เพราะฉะนั้น ก็ยิ่งมีความเข้าใจเลยว่า ทุกพยัญชนะ เป็นเรื่องของธรรมทั้งหมด แม้แต่ที่กล่าวว่ากรรม ก็คือขณะนี้เอง ซึ่งกำลังฟังธรรม กำลังมีความเข้าใจธรรม ส่วนวิบาก ก็คือขณะที่มีการเห็น การได้ยิน ตัวธรรมจริงๆ เป็นอย่างนั้น และสติสัมปชัญญะ สามารถที่จะอบรมความเห็นถูก ความรู้ถูกใน สภาพของธรรม ซึ่ง เป็นกรรม และเป็นวิบากได้ นั่นก็เท่ากับว่าเรามี ความมั่นคงในเรื่องของกรรม และในเรื่องของวิบาก ไม่ใช่ เพียงชื่อ ไม่ใช่เพียงเชื่อ ว่าเมื่อมีกุศลกรรมก็เป็นเหตุให้เกิดกุศลวิบาก แต่สภาพธรรมขณะนี้เอง กำลังเป็นอะไร ถ้าเป็นวิบากก็รู้ความต่าง ของจิตซึ่งเห็นกับจิตซึ่ง ไม่ใช่จิตเห็น แต่เป็นจิตที่กำลังฟังเรื่องสิ่งที่เห็น แล้วถ้าสามารถที่จะมีสติสัมปชัญญะ รู้ตรงลักษณะนั้นก็จะเห็นความเป็นธรรม แล้วก็เห็นความต่าง แล้วก็มีความมั่นคงว่า เป็นเรื่องของกรรม และผลของกรรมทั้งหมด

    ผู้ฟัง คำว่า กรรมฐานในสัจจะนี้ ฟัง ไตร่ถาม พิจารณา การทรงไว้ และการแทงตลอดในสัจจะทั้ง ๒ แล้วกรรมฐานอีกส่วนหนึ่งก็คือ เมื่อมรรคจิต และผลจิตเกิด ก็เป็นลักษณะที่มีองค์ ๓ ของการพิจารณาการแทงตลอด ที่มีในสัจจะทั้ง ๒ คือ นิโรธสัจจะ และ

    ท่านอาจารย์ ถ้าใช้คำว่า กรรมฐาน ก็ต้อง หมายความถึงว่า เป็นขณะที่กำลังอบรมเจริญภาวนา จึงใช้คำว่ากรรมฐาน เพราะฉะนั้น ก็จะมี ๒ อย่าง คือ สมถภาวนา กับวิปัสสนาภาวนา ฐานะก็เป็นที่ตั้งของการกระทำ คือกรรม ที่จะให้เกิดความสงบ ก็เป็น สมถภาวนา หรือสมถกรรมฐาน ถ้าเป็นสภาพธรรมที่เกิดดับ แล้วก็เป็นที่ตั้งของการกระทำให้เกิดปัญญา เห็นถูกต้องในสภาพธรรมนั้นก็เป็นวิปัสสนากรรมฐาน หรือเป็นวิปัสสนาภาวนา เพราะฉะนั้น กรรมฐาน จะใช้กับภาวนา

    ผู้ฟัง ภาวนา จะเป็น สมถภาวนาหรือ

    ท่านอาจารย์ วิปัสสนาภาวนา

    ผู้ฟัง วิปัสสนาภาวนาก็ได้ ใช่ไหม กามมีโทษแน่ เป็นทุกข์ สมุทัย เป็นตัวสมุทัย ทำให้วัฏฏะเกิดขึ้น แล้วจึงดำริ เจ้าดำรินี้ ก็คือ การที่วิปัสสนากรรมฐาน ใช่หรือไม่หรือว่ามัน เกี่ยวข้องกันอย่างไร กับการพิจารณา หรือความรู้แรกที่เราจะต้องทำ

    ท่านอาจารย์ ขณะที่คุณวีระกำลังพูดอย่างนี้ จริงๆ แล้วไม่มีคุณวีระเลย แต่มีความดำริ ในขณะที่พูด ถูกต้องไหม เพราะฉะนั้น ความดำริ หรือวิตกเจตสิก จะเกิดกับจิตเกือบทั้งหมด เว้นอเหตุกจิต ที่เป็นทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ สำหรับกามาวจรจิต ที่ไม่มีวิตกเจตสิก
    เพราะฉะนั้น อันนี้ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าชีวิตประจำวันของเรา ขณะที่เป็นกุศล ก็คือเป็นเนกขัมมสังกัปปะ เพราะว่าดำริออกจาก อกุศล ออกจากกาม ออกจากความติดข้อง จนกว่าจะถึงการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ดู ที่ตัววิตกเจตสิกเท่านั้น

    ท่านอาจารย์ ก็สัมมาสังกัปปะ สังกัปปะ นี้เป็นวิตกเจตสิก มิจฉาสังกัปปะ ก็เป็นอกุศล สัมมาสังกัปปะ ก็เป็นกุศล ถ้าเป็นเนกขัมมสังกัปปะ ก็เป็นกุศล เพราะฉะนั้น เราไม่ต้องมานังคิดว่าเราจะมาไตร่ตรอง เรื่องโทษของกามแล้วก็เห็นโทษของกาม แต่ว่าชีวิตประจำวัน ขณะใดที่กุศลจิตเกิด ก็ต่างกับขณะที่เป็นอกุศล เพราะเหตุว่าขณะที่เป็นอกุศล ก็เป็นไปในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ เป็นความติดข้อง ไม่ได้เป็นการออกจากความติดข้อง แต่ขณะใดที่เป็นกุศล ขณะนั้นก็ออกจากความติดข้อง ในกาม รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
    แม้ในเรื่องทาน เราก็สละได้ ในเรื่องของศีล ทั้งหมดก็เป็น เรื่องของกาม รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ จนกระทั่งถึงการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ในขณะที่มาฟังอย่างนี้ คุณวีระไม่ต้องไปเห็นโทษของกามแล้วมาฟัง ใช่ไหม เพราะว่าขณะนั้นเหมือนเป็นคุณวีระ ที่คิดเรื่องโทษของกาม แต่วิตกเจตสิก ก็ทำหน้าที่ของวิตกเจตสิก โดยที่ว่าทรงแสดงให้เห็น ตามความเป็นจริงว่า ขณะนั้นไม่ใช่เรา

    เพราะฉะนั้น ชื่อทั้งหมดพวกนี้ คือสภาพธรรม ซึ่งถ้าเราไม่พิจารณา เราก็คิดว่าเป็นตัวเราตอนหนึ่ง แล้วก็มาเกิดดำริ เป็นสัมมาสังกัปปะเกิดขึ้น เป็นเนกขัมมะบ้าง ออกจากพยาปาทะบ้าง พวกนั้นคิดว่าเป็นราที่ทำ แต่จริงๆ ก็คือ ชีวิตประจำวันทั้งหมด ให้เข้าใจถูกต้องให้เห็นถูกตามความเป็นจริง ว่าไม่มีใครเลย แต่มีสภาพธรรมที่ใช้ชื่อว่าสังกัปปะ เป็นสภาพที่ตรึก แล้วแต่ว่าขณะนั้นจะตรึกอย่างไร ตรึกด้วยความพยาบาท ความโกรธ หรือตรึกด้วย อพยาปาทะ ก็เป็นชีวิตประจำวันทั้งหมด ให้เข้าใจความจริงว่าไม่มีเรา ไม่มีตัวตน นี่คือการพิจารณา ที่จะแทงตลอดในอรรถที่ได้ทรงแสดงไว้

    ผู้ฟัง ขณะนี้ที่ท่านกล่าวมาในลักษณะนี้ ก็คือการพิจารณาทั้งนั้นเลย

    ท่านอาจารย์ ถ้ามีความเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม
    เพราะฉะนั้น เราศึกษาธรรม เราต้องทราบ ศึกษาเพื่อให้เข้าใจทุกชื่อว่าเป็นชื่อธรรม ของธรรมจริงๆ เช่น กุศลธรรม เราอาจจะพูดว่าเรารู้จักกุศล แต่กุศลธรรม ไม่ใช่เรา รู้จักกุศลธรรม ตัวธรรมจริงๆ ที่เป็นกุศลหรือเปล่า หรือว่าเพียงฟังว่า มีกุศลธรรม แล้วเป็นเราที่มีกุศลธรรม แต่ความจริง ถ้าเข้าใจจริงๆ แทงตลอดในอรรถ ก็คือว่า ไม่มีเรา แต่ขณะนั้นเป็นธรรม ระดับไหน เป็นกุศลที่เป็นไปในทาน เป็นกุศลที่เป็นไปในขั้นศีล เป็นกุศลในขณะที่จิตสงบ เป็นกุศลในขณะที่ฟังธรรม เห็นคุณค่าเห็นประโยชน์ แล้วฟัง เพื่ออบรมความรู้ ความเห็นถูก ในลักษณะของธรรมทั้งหมดก็คือว่า ไม่มีเรา นี่คือการแทงตลอด ที่จะให้เข้าถึงลักษณะของธรรมในขั้นฟัง

    ผู้ฟัง ในขณะนั้น ถ้าในขั้นการฟัง ไม่ได้เข้าใจเรื่องชัดเจน ก็ป็นลักษณะคล้ายๆ กับว่า รอว่าสภาพธรรมนั้นจะปรากฏเมื่อไร

    ท่านอาจารย์ แล้วก็ เป็นเรา ที่พอได้ยินอย่างนี้ก็จะคิด จะออกจากกามเมื่อไร จะทำอะไร แต่ความจริง ไม่ใช่ นั่นคือเราที่ไม่มีความเข้าใจเรื่องธรรม แต่ถ้ามีความเข้าใจเรื่องธรรมแล้วรู้ ว่าเป็นธรรม ก็จะรู้ว่าทั้งหมดที่ทรงแสดง ก็คือทรงแสดงลักษณะจริงๆ ของธรรมในชีวิตประจำวัน

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์กล่าวเหมือนกับว่า การเรียน การไตร่ถาม การฟัง เป็นเรื่องที่ควรแก่การที่จะต้องทำ

    ท่านอาจารย์ ถ้าเข้าใจแล้ว ทรงไว้ซึ่งความเข้าใจนั้นอย่างมั่นคง

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 108
    25 มี.ค. 2567