ปกิณณกธรรม ตอนที่ 703


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๗๐๓

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๗


    ท่านอาจารย์ สำหรับพระโสดาบัน ท่านดับความเห็นผิดว่าเป็นเรา หรือว่าเป็นตัวตนเพราะว่า มีความรู้ชัดใน ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม จนกระทั่งรู้แจ้งอริยสัจจธรรม เพราะฉะนั้น การที่กิเลสของท่านที่เป็นไปในทางที่ผิด ก็จะลดน้อยลงตามกำลังของปัญญา ท่านจะไปทำทุจริตกรรมที่ะจะทำให้ไป สู่อบายภูมิ เป็นไปไม่ได้เลย แต่ท่านก็ยังมีอกุศลจิต

    เพราะฉะนั้น อกุศลจิตนั้น ถ้าเป็นเรื่องของสิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควร แต่ว่าเพราะอกุศลยังมีอยู่ ก็เป็นเหตุให้กระทำอกุศลนั้นๆ ได้ ซึ่งถ้ามีปัญญาจริงๆ เห็นว่าไม่ควรจริงๆ ก็มีวิรตีเจตสิกที่จะวิรัติงดเว้นขณะนั้น บางคน

    ถ้าสมมติว่าในห้องน้ำ ก็อาจจะ มีผ้าเช็ดตัว ถ้าอยู่กันหลายคน อาจจะไปใช้ผ้าเช็ดตัวของคนอื่นเช็ดมือ แต่ไม่เอาผ้าเช็ดตัว ของตัวเช็ดก็ได้ ใช่ไหม เรื่องของอกุศลเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก ถ้าไม่เกิดขึ้นก็ไม่รู้ แต่ถ้ารู้ว่าทำไม ไม่ใช้ผ้าของตัวเอง เช็ดมือของตัวเอง แต่ว่าใช้ผ้าเช็ดตัวของคนอื่น เช็ดมือ ทำไมทำอย่างนั้น ไม่ได้ไปสู่อบายภูมิ ไม่ได้ทุจริตแบบนั้นเลย แต่ก็ยังมีอกุศลจิตที่ ทำให้กายประพฤติเป็นไปในทางที่ไม่สมควร เพราะกำลังของอกุศล หรือวาจาก็อาจจะเป็นไปได้ ที่แม้ว่าไม่ถึงระดับที่จะทำให้ไปสู่อบายภูมิ แต่ก็เป็นเหตุให้กระทำวาจา ที่ไม่สมควร ได้ ตามกำลัง เพราะฉะนั้น ด้วยความเป็นผู้ที่มีสติสัมปชัญญะ จึงสามารถที่จะเห็นสภาพธรรมในขณะนั้น ตามความเป็นจริงว่าเป็นสิ่งที่จะต้องละยิ่งขึ้น จนกระทั่งไม่มีเหลือ

    ผู้ฟัง ในเรื่องของ มรรคทั้ง ๓ องค์ ว่าจะต่างกันอย่างไร เช่น อาชีพแม่ค้า แม่ค้าขายผัก ขณะที่เว้นจากการฆ่าสัตว์ ในขณะที่เว้นตรงนั้น

    ท่านอาจารย์ อ๋อ แม่ค้าขายผัก แต่ว่าไม่ฆ่าสัตว์ เวลาที่แม้ค้าขายผัก ไม่ฆ่าสัตว์

    ผู้ฟัง ตรงนั้นจะเป็นสัมมากัมมันตะ หรือสัมมาอาชีวะ

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่เกี่ยวกับการเลี้ยงชีพทั้งหมด ไม่ใช่สัมมาอาชีวะ แม่ค้าขายผักพูดจริงหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ถ้าพูดจริง

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่ผิดในการเลี้ยงชีพ แต่ถ้าพูดไม่จริง ในการขาย เป็นไปในการเลี้ยงชีพ

    ผู้ฟัง ตรงนั้นเป็นมิจฉาอาชีวะ ไม่ใช่มิจฉาวาจา ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เมื่อวันก่อน ก็ไปที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง แล้วก็ตั้งใจจะซื้ออาหารชนิด ๑ ก็ถามคนขายว่าอาหารนี้ใหม่หรือเปล่า เพิ่งมาหรือเปล่า เขาไม่ตอบ เพราะว่าเขาก็บอกว่า เขาไม่ทราบ เขาไม่อยู่ เขามาเห็นตอนที่อาหารอยู่แล้ว เขาก็ไม่รู้ว่าอาหารเมื่อวันก่อน หรือว่าวันนี้ เขาก็บอกเราไม่ได้ ว่าเป็นของที่ทำวันนี้หรือเปล่า นี่ก็แล้วแต่ เราจะเห็นได้ว่าชีวิตประจำวันจริงๆ ก็เป็นเรื่องของอกุศล ซึ่งเป็นไปอยู่เสมอ ทั้งอย่างที่มีอยู่ในใจ ยังไม่ได้ออกมา ทางกาย ทางวาจาเลย จนกระทั่งถึงระดับที่ออกมาถึงกาย วาจา แล้วก็ในขณะที่เป็นการเลี้ยงชีพด้วย กับขณะที่แม้ไม่ใช่การเลี้ยงชีพเลย บางคนก็มีนิสัยพูดไม่จริง เป็นประจำเหมือนเด็กเลี้ยงแกะเลย นั่นก็คือว่า เขาก็สะสมมาที่จะเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ทุกอย่างที่สะสมมา แต่ละคน ไม่สามารถจะรู้ได้ แต่ว่าด้วยสติสัมปชัญญะ สิ่งใดที่เกิดในขณะนั้น ปัญญาเห็นแจ้งว่าเป็นอกุศลธรรม คือไม่ใช่เรา แต่เป็นธรรมที่เป็นอกุศล ทุกอย่างหมด

    เพราะฉะนั้น จึงมีวิรตีเจตสิก ๓ ไม่ใช่เพียงแต่ สัมมากัมมันตะ หรือสัมมาวาจาเท่านั้น แต่ยังมีสัมมาอาชีวะด้วย ซึ่งบางคนที่ไม่สามารถที่จะรู้ความต่างของเจตสิก ก็คิดว่าไม่น่าที่จะต้องมี สัมมาอาชีวเจตสิกเลย แค่สัมมากัมมันตะ กับสัมมาวาจาก็เหมือนกับว่าเป็นสภาพที่วิรัติทุจริต แต่แม้กระนั้นในการเลี้ยงชีพ ก็ต่าง เพราะว่าพอถึงยามคับขันขึ้นมา เราเห็นได้เลย ว่าปกติธรรมดาที่ไม่เกี่ยวกับชีวิต หรือการเลี้ยงชีพ เราก็ไม่พูดเท็จหรือว่าไม่กระทำอกุศลกรรม แต่พอเกี่ยวกับการอาชีพขึ้นมา หรือเกี่ยวกับการเลี้ยงชีวิต

    อย่างบางคนปกติธรรมดาก็ไม่ได้ฆ่าสัตว์ แต่ถ้าหิวมากๆ แล้วไม่มีอะไร จะรับประทานเลย ขณะนั้นเขาก็จะรู้ได้เลยว่า เขาทำเพราะอะไรหรือ ว่าเว้นเพราะอะไร ก็เป็นเรื่องของว่า ถ้าเป็นพระอริยบุคคล ก็จะไม่มีการกระทำสิ่งที่เป็น อกุศลกรรมที่จะทำให้ถึงการไปสู่อบายภูมิ

    ผู้ฟัง ดิฉันจะเริ่มมาสนใจ ตรงที่ท่านอาจารย์กล่าว เรื่อง ทะเลภาพ ในที่นี้คงจะหมายถึงว่า เป็นสภาพที่คิด แต่หลังจากที่เห็นหรืออย่างไร

    ท่านอาจารย์ เป็นการแสดงให้เราได้รู้สึกว่า อวิชชาของเรามากแค่ไหน แค่คำที่ได้ยินก็ยังต้อง คิดนาน ว่าคืออะไร แต่จริงๆ แล้วตั้งแต่เช้ามาจนกระทั่งถึงเดี๋ยวนี้ รู้ลักษณะของสภาพธรรมอะไรบ้าง เพราะฉะนั้น ทะเลหรือเปล่า ความไม่รู้ ความไม่รู้ ไม่รู้ในลักษณะของสภาพธรรม เพราะขณะนั้น กำลังมีแต่ภาพ และชื่อ ตั้งแต่ลืมตา ไม่เห็นภาพอะไรบ้าง หรือว่าภาพตลอด แล้วก็ยังเรื่องราวของภาพที่เห็นนั้นด้วย เพราะฉะนั้น อยู่ในทะเลของอวิชชา ถ้ารู้ว่าขณะนี้จริงๆ อวิชชามากแค่ไหน ตั้งแต่เช้ามาก็ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมเลย แล้วเมื่อไรจะรู้ ขณะที่กำลังฟัง ถ้าสติสัมปชัญญะไม่เกิด ไม่รู้ ขณะนั้นอยู่ที่ไหน อยู่ที่ภาพต่างๆ อยู่ที่ชื่อต่างๆ อยู่ที่เรื่องราวต่างๆ แล้วก็เป็นอย่างนี้ไปตลอด แล้วจะไม่ใช่ทะเลภาพ ไม่ใช่ทะเลชื่อ หรือ

    เพราะฉะนั้น ถ้าขณะใดที่ไม่หลงลืมสติ คือ ขณะนั้นสติสัมปชัญญะเกิด รู้ตรงลักษณะของสภาพธรรม ตรงนั้นจะเข้าใจความหมายของคำว่า มีตนเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นที่พึ่ง หรือว่ามีตนเป็นเกาะ เป็นที่พึ่ง เพราะว่าขณะนั้นไม่ได้อยู่ในทะเลภาพ หรือทะเลชื่อ แต่กำลังมีลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งไม่เคยรู้มาก่อน ว่าขณะนั้นมีจริงๆ แล้วสิ่งที่มีจริงขณะนั้นอย่างแข็ง ภาพแข็งเป็นอย่างไร แต่พอไม่รู้ มีสิ่งที่ปรากฏทางตา กระทบสัมผัสอะไรก็ไม่เคยที่จะรู้ตรงแข็ง แต่กำลังจับหนังสือ พลิกหนังสือ หยิบถ้วยแก้ว ทุกอย่างก็เป็นเรื่องของภาพ เรื่องของชื่อทั้งหมด โดยที่ไม่รู้ความจริงว่า จริงๆ แล้วถ้าไม่มีปรมัตถธรรม อะไรๆ ก็ไม่มี

    สิ่งที่คิดว่า มีทั้งหมด ก็คือปรมัตถธรรมเท่านั้น แต่ว่าปรมัตถธรรม นี้ก็เกิดแล้วก็ดับไปเร็วมาก จนกระทั่งไม่ต้องไปคำนึงถึงเลย ว่าขณะนี้สิ่งที่กำลังปรากฏ จริงๆ แล้วถ้าสติสัมปชัญญะไม่ระลึก ไม่สามารถที่จะรู้ลักษณะนั้นได้เลย

    เพราะฉะนั้น มีทางเดียว ที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมได้ คือ สติสัมปชัญญะเกิด เพราะเข้าใจ อย่างสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ถ้าจะไม่ให้เป็นทะเลภาพ ก็คือรู้ว่าเป็นเพียงสภาพธรรม ที่สามารถกระทบจักขุปสาท แล้วปรากฏกับจิตที่เห็น ถ้ารู้อย่างนี้จริงๆ บ่อยๆ ก็จะมีการถึงกาลที่จะมีความเข้าใจว่า คลายความติด ในการที่เคยเห็น เป็นคน เป็นสัตว์ อย่างรวดเร็ว ก็สามารถที่จะเข้าใจได้ว่า แท้ที่จริงแล้วก็คือ สิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ว่าจะเป็นอะไรที่เคยเป็นในชีวิต จะมีญาติ มีเพื่อน มีอะไรทุกอย่าง ก็ไม่ใช่หมายความว่า ให้เราไปไร้สติหลงลืมเลอะเลือน ที่จะไม่รู้ว่าเป็นอะไร แต่ว่ามีความเข้าใจถูกต้อง ในปรมัตถธรรม ที่ทำให้เราสามารถที่จะเข้าใจ ความต่าง ของสิ่งที่ปรากฏ สามารถที่จะรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร แล้วมีการประพฤติปฏิบัติ สมควรต่อแต่ละบุคคลนั้นได้ ด้วยความที่เห็นถูกต้อง ไม่ใช่ด้วยความเห็นผิดว่า มีตัวตนจริงๆ มีเราจริงๆ เพราะเหตุว่าถ้าเป็นอย่างนั้นจริงๆ อย่างที่เราคิด คำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะว่านั่นเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงตรัสรู้ แต่เป็นสิ่งที่เราไม่เห็นด้วย เพราะเราคิดว่าไม่ใช่อย่างนั้น ต้องมีคนจริงๆ มีสัตว์จริงๆ

    เพราะฉะนั้น เรื่องความรู้ ความเข้าใจ เป็นเรื่องหนึ่ง ซึ่งต้องค่อยๆ สะสมให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องขึ้น แล้วก็จะเข้าใจพยัญชนะที่ทรงแสดงไว้ ในพระไตรปิฎก ไม่ว่าจะพยัญชนะอะไร ก็เป็นเรื่องละ ความไม่รู้ แล้วก็เรื่องละความติดข้องทั้งหมด

    ผู้ฟัง ถ้าผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการทำทาน หรือว่าท่านว่า ท่านถือศีล ขณะนั้นสติก็ระลึกได้ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นการทำทาน หรือถือศีล มันก็ไม่ได้แยกจากการอบรมเจริญสติปัฏฐาน ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ต้องเข้าใจว่าเมื่อไร ที่รู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ เมื่อนั้นคือความเข้าใจในสภาพธรรมนั้นว่า เป็นสิ่งที่มีจริงแล้วลักษณะนั้นก็ไม่ใช่เรา ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงทั้งหมด ถ้ารู้ตรงตามความเป็นจริงก็คือไม่มีสัตว์ไม่มีบุคคล ไม่มีเรา ไม่มีใครในสิ่งนั้นเลย เป็นลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่างเท่านั้น

    ผู้ฟัง รวมมาถึงด้วยว่า ไม่ว่าเราจะเล่าเรียนอภิธรรมอะไร ขณะไหน ขณะนั้นสติปัฏฐาน ก็เกิดระลึกได้อีกเหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ สติ สามารถที่จะระลึกรู้ได้ทุกอย่าง ตอนนี้ก็จบปัญหาไปเลย ใช่ไหม ถ้าบอกว่าทุกอย่าง

    ผู้ฟัง แต่ว่าถ้าจะบอกว่า การอบรมเจริญสติปัฏฐาน จะไม่รู้อภิธรรมเลย จะได้ไหม

    ท่านอาจารย์ หมายความว่า ไม่เข้าใจคำว่า อภิธรรม ใช่ไหม เพราะว่า ถ้าบอกว่า ไม่รู้อภิธรรมเลย ต้องรู้ว่า อภิธรรมคืออะไรก่อน ที่จะกล่าวอย่างนี้ ถ้าเข้าใจธรรม ธรรมก็เป็นธรรม ซึ่งใครก็เปลี่ยนแปลงธรรมไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ เป็นปรมัตถธรรม เพราะว่าไม่มีใครสามารถจะเปลี่ยนแปลงลักษณะของสภาพธรรมนั้นได้เลย แล้วยิ่งฟังละเอียดในความไม่ใช่ตัวตน ที่จะให้ถึงความเป็นธรรม ก็คือต้องเข้าใจ ละเอียดกว่าเพียงแค่บอกว่า ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เพราะบอกอย่างนี้ แค่ ๒, ๓ ประโยคไม่สามารถจะช่วยที่ทำให้ ใครเกิดปัญญาที่จะรู้ ความจริงนั้นได้ มิฉะนั้น พระผู้มีพระภาค ไม่ทรงแสดงธรรมถึง ๔๕ พรรษา

    ผู้ฟัง ถ้าเข้าใจการอบรมเจริญสติปัฏฐาน มันประเสริฐ กว่าที่ว่าจะต้องไปเรียนอภิธรรมให้จบ

    ท่านอาจารย์ เราก็จะเห็น ได้ว่า แต่ละคน ก็มีความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนตามการสะสม ถ้าสะสมมาที่จะจำชื่อ และเข้าใจว่า นั่นคืออภิธรรม เขาไม่สามารถที่จะเข้าใจ จุดประสงค์ของการศึกษาว่า ธรรม คืออะไร แล้วศึกษาธรรม แม้แต่เรื่อง ฟัง ธรรม ก็ฟังเพื่อที่จะให้เข้าใจถูก เห็นถูกในธรรมจริงๆ ที่กำลังปรากฏ ถ้าไม่สามารถที่จะทำให้การฟังนั้นได้เข้าใจ สิ่งที่กำลังปรากฏ การฟังนั้น ก็ไม่ใช่ความเข้าใจเลย เพราะเหตุว่าไม่มีตัวจริงๆ ให้เข้าใจ มีแต่ชื่อที่จำไว้เท่านั้นเอง

    แต่ว่าจริงๆ แล้ว ปริยัติ ก็คือเรียน เรื่องของสภาพธรรม เช่น จิตเห็น ว่าต่างกับจิตอื่น แต่ก็คือสภาพรู้ หรือธาตุรู้ เพราะฉะนั้น เราเรียนเรื่องชื่อ มากเลย เราเรียนจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ กรรมปัจจัย อะไรเราก็เรียน แต่ว่าลักษณะของสภาพรู้ หรือธาตุรู้ ที่กำลังรู้ ทางตาคือเห็น เราไม่ได้เคยรู้ลักษณะนั้นว่า ลักษณะนั้นจริงๆ ที่ไม่ใช่เรา ก็เป็นสภาพธรรม ชนิดหนึ่ง ซึ่งเห็น เพราะว่ารูปเห็นไม่ได้เลย

    นี่คือการที่เราฟังเรื่อง วิบากจิต หรือเรื่องกุศลจิต หรือเรื่องอะไรทั้งหมด ก็เพื่อให้เข้าใจถูกว่า ขณะนี้เป็นธรรม คือเป็นนามธรรม หรือเป็นรูปธรรม

    เพราะฉะนั้น เวลาที่สติเกิด ไม่ใช่ไปขณะที่เราไปนั่งคิดว่านี่เป็นวิบาก ไม่ใช่ แต่หมายความว่าขณะที่เรารู้ว่า ไม่มีอะไรนอกจากนามธรรม และรูปธรรม เราไม่มี แต่มีนามธรรม มีรูปธรรม

    เพราะฉะนั้น ในขณะเห็น เราไม่มี แต่มีธาตุเห็น เป็นนามธรรม กำลังเห็น สิ่งเป็นรูปธรรมที่ปรากฏ นี่คือขั้นปริยัติ คือฟัง แล้วก็ไตร่ตรองว่าจริงไหม ลักษณะรู้ สภาพรู้ ธาตุรู้ ที่เห็นมีไหม ถ้ามี จากขั้นการฟังบ่อยๆ แล้วก็รู้ว่าไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม เมื่อมีสิ่งหนึ่ง สิ่งใดปรากฏ ก็คือว่าปรากฏกับสภาพที่เป็นธาตุรู้ เพราะฉะนั้น เวลาที่สติสัมปชัญญะเกิด คือ ขณะที่กำลังเข้าใจ จริงๆ แล้วก็คือค่อยๆ เข้าใจถูก อย่างเช่นสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา เราไม่เคยรู้เลย เห็นเป็นคน เห็นเป็นวัตถุ เป็นสิ่งต่างๆ ตลอด แต่ขณะนี้ ถ้าเริ่มแม้แต่จะเข้าใจสักเล็กน้อยว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา นี่คือความเห็นถูก

    เพราะฉะนั้น จะอยู่ที่ไหนก็ตาม ในรถยนต์ หรือรับประทานอาหาร ทำอะไรทั้งหมด ก็มีนามธรรม มีรูปธรรม แต่ว่าสติสัมปชัญญะ จะเกิดหรือไม่เกิด ถ้าเกิดก็คือไม่ใช่ไปนึกถึงเรื่องราว เพราะว่าสติมีหลายขั้น สติขั้นทาน ก็เพียงระลึก เป็นไปในการให้ แต่ไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ไม่ใช่ตัวตน แม้ขั้นศีล แม้ขั้นความสงบของจิต ก็เช่นเดียวกัน คือรู้ลักษณะที่เป็นสภาพของจิตที่สงบ กับไม่สงบที่ต่างกัน แล้วมีปัญญาที่จะรู้ว่า จิตจะสงบเป็นกุศลขึ้นได้อย่างไร นั่นคือสมถะ อบรมความสงบของจิต แต่ไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏถูกต้อง

    แต่ว่าขณะใดก็ตาม เมื่อไรก็ตาม ที่ไหนก็ตาม จะขับรถยนต์ หรือจะอยู่ที่นี่ ขณะนี้กำลังค่อยๆ เข้าใจถูก ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นอย่างนี้ ไม่เป็นอย่างอื่นเลย เป็นสภาพธรรม อย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่แข็ง เพราะฉะนั้น ที่เป็นเรา เป็นเขา เป็นคน เป็นวัตถุ สิ่งต่างๆ ก็คือบางสภาพเป็นนามธรรม บางสภาพเป็นรูปธรรม แต่สิ่งที่ไม่มีชีวิตทั้งหมดไม่มีนามธรรมเลย อย่างแข็งก็แข็ง จะที่กายของเรา หรือที่ใครคนไหน ที่วัตถุสิ่งใดก็ตาม ลักษณะแข็งนั้นก็ไม่เปลี่ยน ถ้ามีความเข้าใจในลักษณะจริงๆ ก็จะรู้ว่าแท้ที่จริงแล้ว ถ้าไม่มีสภาพธรรมเหล่านี้ การที่เคยเข้าใจว่าเป็นสัตว์ บุคคลต่างๆ ก็มีไม่ได้เลย

    ความเห็นถูกจริงๆ ก็คือ เห็นถูกว่า เพราะสภาพธรรมที่เกิดเป็นธรรม ซึ่งไม่มีใครสามารถบังคับบัญชาได้ มีปัจจัยก็เกิด แล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้น ปัญญาก็จะต้องเริ่มเข้าใจถูก จนกว่าจะสามารถประจักษ์ความจริงว่า สภาพธรรมในขณะนี้เกิด จึงปรากฏแล้วก็ดับด้วย ทั้งหมดนี้ก็เป็นภาวนา คือแม้แต่การฟังธรรม การพิจารณาหรืออะไร เป็นเรื่องของปัญญา แล้วก็ต้องสงเคราะห์อยู่ในเรื่องของภาวนา คืออบรมให้เกิดมีขึ้น เจริญขึ้น เพิ่มขึ้น

    ผู้ฟัง เรียนถามคุณอรรณพ จากที่เข้าใจ กล่าวว่าเพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น อะไรอย่างนี้ จะเกี่ยวกับ สัมมัปปธาน ๔ ใช่ไหม

    วิทยการ สัมมัปปทาน ๔ คือ สัมมาวายามะ ซึ่งก็เพียรไม่ให้อกุศลที่ยังไม่เกิด เกิด แล้วก็ละ อกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว เจริญกุศลที่ยังไม่เคยเกิด อย่างเช่น กุศล ขั้นอบรมเจริญปัญญา หรือวิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ ที่สูงไป ยังไม่เคยเกิด ก็อบรมเจริญให้เกิด แล้วก็กุศลที่มีแล้ว ก็มั่นคงขึ้น เป็น อนุรักขณาปธาน ก็คือในสัมมัปปธาน ๔ นั่นเอง อันนี้ก็เป็นการที่ท่านอธิบาย ลักษณะของความเพียรที่จะ เห็นได้ชัดใน สัมมัปปธาน ๔ ที่ท่านแสดงไว้

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ ช่วยกรุณาอธิบาย ตรงนี้ จะเป็นลักษณะของการอบรมเจริญสติอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ถ้าพูดถึงความเพียร ก็มีจริง แล้วก็เป็นเจตสิก แต่ว่าสำหรับความเพียรเกิด กับกุศลจิตก็ได้ อกุศลจิตก็ได้

    เพราะฉะนั้น สำหรับเวลาที่อกุศลจิตเกิดขึ้นแล้ว หน้าที่ของฝ่ายกุศล จะมีอะไร ที่จะมีความเพียรในขณะนั้นเกิดร่วมกับกุศลจิต ก็คือไม่ให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ทำได้ไหม อย่างนี้ ที่ว่าสัมมาวายามะ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภ ความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิด ไม่ให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ก็ต้องเป็นสติปัฏฐาน นี้แน่นอน ไม่อย่างนั้นจะเอาอะไรที่จะไปกั้นไม่ให้อกุศลที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดได้ ถ้าขณะนั้นสติสัมปชัญญะเกิด รู้ลักษณะของสภาพธรรมขณะนั้น อกุศลที่ยังไม่เกิด ก็เกิดไม่ได้ เพราะว่าขณะนั้น เป็นสติสัมปชัญญะที่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้น

    ถ้าอกุศลนั้นเกิดแล้ว สามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นก็คือ ละ อกุศลที่เกิดแล้ว ไม่ให้เกิดต่อไปอีกได้ เพราะว่าขณะนั้นสติสัมปชัญญะเกิด แล้วก็รู้ลักษณะของอกุศลในขณะนั้น ซึ่งก็เป็นขณะที่ทำให้ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ก็เกิดบ่อยๆ แล้วก็ตั้งมั่นคง เจริญขึ้น ก็เป็นเรื่องของสติปัฏฐาน

    ผู้ฟัง ย่อมทำความพยายาม แล้วก็ย่อมทำจิตอันความเพียรประคองไว้แล้ว ทำให้หนูคิดถึงว่า การอ่านพระไตรปิฎก หรือว่าพระสูตร ถ้าอ่านเอง ก็จะมีความเข้าใจเองว่า นี่ ตรงนี้นะ ท่านบอกให้ทำ มีเขียนไว้ เห็นไหมในพระสูตรว่า ย่อมทำความพยายามให้เกิดขึ้น หนูก็ไม่รู้จะอธิบายให้เขาฟังว่าอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ก็ถามเขาว่า ใครทำ

    ผู้ฟัง หนูก็ถามอะไรทำนองนั้น

    ท่านอาจารย์ ต้องเข้าใจว่า ใครทำ เรา หรือว่าเป็นสภาพธรรมที่ทำ

    ผู้ฟัง ทีนี้ถ้าพูดถึงว่า ถ้าเราอ่านเอง เราก็สามารถจะตีความผิดได้ เพราะเราไม่มีผู้รู้ ที่จะอธิบายให้เราฟัง

    ท่านอาจารย์ ก็เพราะเหตุว่า มีเรา จึงคิดว่าเราทำ แต่นั่นตรงกันข้ามกับที่พระผู้มีพระภาค ทรงตรัสรู้ ทรงแสดง เพราะฉะนั้น ถ้าคิดว่าจะทำ ก็คือใครทำ วิริยเจตสิกทำ หรือใครทำ ทำแข็งได้ไหม ก็เป็นเรื่องที่ว่าไม่ได้ต้องการความถูกต้อง แต่ถ้าต้องการความถูกต้อง การสนทนาธรรมจะต้องมีคำตอบที่ถึงที่สุด แล้วก็ถูกต้องด้วย เพียงแต่ว่าจะทำความเพียร ทำอย่างไร ทำตัวความเพียรทำอย่างไร

    นั่งก็คือรูป ใช่ไหม ที่ประชุมรวมกันแล้วก็นั่งอยู่ แล้วไปทำแข็ง ทำรูป ทำได้ไหม ทำตัวเพียรให้เกิดขึ้น ทำอย่างไร ที่จะให้ตัวเพียรเกิดขึ้นมาได้ แล้วก็ถ้าจะถามเขาต่อไป ขณะที่คิดว่ากำลังทำความเพียร ขณะนั้นมีความเพียรหรือเปล่า เห็นไหมถ้าเป็นความจริง ต้องตอบได้ ต้องตอบถูก แต่ถ้าไม่จริง ก็คือว่าไม่มีสาระ เป็นความคิดเอง เท่านั้นเอง

    ผู้ฟัง ที่ท่านอาจารย์ ถามว่า ความเพียร ทำได้ไหม จริงๆ แล้วเป็นนามธรรม เป็นเจตสิก ทำไม่ได้อยู่แล้ว แม้แต่ปัญญาหรือ กุศลก็ตาม เรามักจะปะปน ทางเรื่องของทางโลก มากับทางธรรม ซึ่งคนละเรื่องกันเลย เพราะว่าทางโลก เราก็ทำได้ ทำขนมเค็กก็ได้ ทำอาหารก็ได้ ก็เป็นแต่การทำ ทำให้ออกมาเป็นสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมแต่จริงๆ แล้ว สภาพธรรมที่เป็นนามธรรมเป็นสิ่งที่จับไม่ได้ เห็นก็ไม่ได้ เป็นสภาพเพียงแต่สภาพรู้เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น บางที ถ้าเราไม่เข้าใจถูกต้องตามพระธรรมที่ทรงแสดงแล้ว เราจะเข้าใจ ไม่ตรงกับอรรถ ที่ทรงแสดง เพราะว่าเรามักจะคิดว่า ทำได้ด้วยความเป็นตัวตน แต่ขณะนั้นเป็นอกุศลก็ยัง ไม่รู้ว่าเป็นอกุศล

    ท่านอาจารย์ แล้วกำลังทำ ขณะนั้น ก็เป็นความเพียรแล้ว แล้วเอาอะไรไปทำ ตัวทำ ความเพียรอันนั้น

    ผู้ฟัง ถ้าเราเรียนพระอภิธรรม เราก็รู้ว่า วิริยเจตสิกเกิดกับจิตทั้ง ๔ ชาติเลย แล้วก็ขณะใด มรรคที่เกิดกับจิตประเภทใด

    ท่านอาจารย์ ทั้งหมดก็เป็นอนัตตา คือบังคับบัญชาไม่ได้เลย เพียงแต่ว่าศึกษาให้เข้าใจถูกต้อง

    ผู้ฟัง เวทนาภายนอก จะเป็นลักษณะที่อธิบายถึง อายตนะภายนอก ภายใน ได้ไหม หมายความว่า ถ้าเป็นจิต จะเป็นอายตนะภายใน ถ้าเจตสิกแล้ว จะกล่าวว่าเป็นอายตนะภายนอกซึ่งเวทนาก็เป็นเจตสิก จะเข้าใจในรูปนี้ได้ไหม

    ท่านอาจารย์ ที่จริงแล้วเรื่องของการ เป็นผู้ที่มีปกติเจริญสติปัฏฐาน เป็นปกติจริงๆ คือไม่มีการเตรียมตัวล่วงหน้า หรือไม่มีการคิดว่าขณะนั้น เป็นเวทนาภายในหรือภายนอก แต่ว่าความคิดของคนเราก็ห้ามไม่ได้ มีเรา ก็มีเขา เราสุข คนอื่นสุข หรือเปล่า เห็นคนร้องไห้ เขาสุขหรือเปล่า เหมือนกับตอนที่เราร้องไห้ไหม ความรู้สึกของเขาเป็นอย่างไร

    เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าต้องไปเตรียมตัว แล้วต้องไปนึกก่อนว่า จะอยู่ในบรรพไหน แต่ไม่ว่าจะขณะไหนก็ตาม ให้ทราบว่าสภาพธรรมเกิด แล้วก็ดับไปเร็วมาก เพราะฉะนั้น สติสัมปชัญญะสามารถจะเกิด แล้วก็ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ในขณะนั้น

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 108
    25 มี.ค. 2567