ปกิณณกธรรม ตอนที่ 661


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๖๑

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๖


    ผู้ฟัง สิ่งที่ลืมเคยจำไว้ ตั้งแต่วันก่อน เดือนก่อน ปีก่อน มันก็ลืม ใช้ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้จำอะไร

    ผู้ฟัง ก็จำปัจจุบัน

    ท่านอาจารย์ ทุกขณะ สัญญาต้องเกิดจำทุกขณะ จำเมื่อไร ไม่ว่าเรื่องอดีต หรือว่าคิดไปถึงอนาคต หรืออะไรก็ตาม สัญญาก็มีลักษณะจำสิ่งที่จิตกำลังรู้

    ผู้ฟัง แล้วเหตุการณ์ที่ผ่านไปนานๆ

    ท่านอาจารย์ จะนานสักเท่าไร ก็ตาม จิตเกิดก็ต้องมีสัญญาจำ แล้วแต่ว่าเรื่องที่จำนั้น เป็นเรื่องอดีต หรือว่านานเท่าไร

    ผู้ฟัง อย่างคนที่ระลึกชาติได้ เขาจำตั้งแต่ชาติก่อนนี้ หรืออย่างไร

    ท่านอาจารย์ ก็ขณะที่กำลังคิด จำหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ก็ไปคิด ไม่ใช่จำ เป็นวิตก

    ท่านอาจารย์ ไม่มีจำเลยหรือ จิตขณะหนึ่งมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าไร

    ผู้ฟัง อย่างน้อย ๗

    ท่านอาจารย์ อย่างมาก วิตกกับสัญญาเกิดร่วมกันหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ใช่

    ผู้ฟัง ในเรื่องของการเจริญอานาปาน หรือพิจารณาลมหายใจ ถ้าคนที่ไม่มีความเข้าใจแล้วก็ไปพิจารณาหายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ ถ้าผู้ที่ไม่เข้าใจ ก็ไม่ใช่กุศล ใช่ไหม แล้วจะต่างจากผู้ที่มีปัญญา พิจารณารู้ จะต่างกันอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ใช่ ก็ต่างกันที่จิต

    ผู้ฟัง ต่างกันที่จิต

    ท่านอาจารย์ กุศลจิตกับอกุศลจิตก็ต่างกัน

    ผู้ฟัง รู้ลมหายใจเหมือนกัน แต่จิตต่างกัน ถ้าไปเจริญแบบที่เป็นอกุศล จะเรียกอานาปานสติไม่ได้ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เพราะไม่ใช่กุศล จะมีสติเกิดร่วมด้วยไม่ได้

    ผู้ฟัง ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ที่จะไปเจริญอานาปานสติ เพราะว่าเป็นที่นิยมกันมากเหลือเกิน เพราะว่าง่ายดี ลมหายใจมีตลอด ใช่ไหม ไม่ต้องไปแสวงหา

    ท่านอาจารย์ แต่ถ้าอยู่ในสติปัฏฐาน ก็ต้องเป็นเรื่องของการที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม

    ผู้ฟัง ต้องรู้สภาพธรรม

    ท่านอาจารย์ เพื่อที่จะได้เห็นความไม่เที่ยง ความเกิดขึ้น และดับไป

    ผู้ฟัง ถ้าไม่ใช่สภาพธรรมแล้ว จะไปประจักษ์ความไม่เที่ยงไม่ได้ ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ในลักษณะที่ท่านอาจารย์บอกว่า ทราบลักษณะของสภาพธรรม ถ้าเกี่ยวกับลมหายใจนี้จะเป็นในลักษณะของการไหว ก็ได้ หรือว่าร้อนหรือเย็นอะไรอย่างนั้น หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ เป็นโผฏฐัพพารมณ์

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ถ้าพูดถึงยาวถึงสั้น นี้มันเป็นลักษณะของบัญญัติคำมากกว่า

    ท่านอาจารย์ ลักษณะนั้นต้องมี ถ้าไม่มีแล้วจะบัญญัติได้อย่างไร

    ผู้ฟัง แต่ผู้ที่ไม่เข้าใจ ก็ไปเอาชื่อ แล้วก็มาท่องชื่อ

    ท่านอาจารย์ ใช่ ก็เป็นเรื่องของการที่ไม่เข้าใจ ตั้งต้นด้วยความไม่เข้าใจ ทำไปด้วยความไม่เข้าใจ ผลก็คือไม่เข้าใจคงไม่ลืมเรื่องประโยชน์ ของการฟัง แต่ละครั้ง คือเพื่อความเห็นถูก เพื่อความเข้าใจถูก เพื่อปัญญาของเราเอง ก็ลองพิจารณาดูว่าเรามีความเข้าใจ ในสิ่งที่เราได้ยินได้ฟัง หรือเปล่า ไม่ใช่เป็นเจตนาที่ตั้งใจ อยากจะได้แล้วก็ขอ ให้เป็นผู้ที่มีศีล หรือว่าเป็นผู้ที่มีความไม่เดือดเนื้อร้อนใจ แล้วก็มีความปราโมทย์ แล้วก็มีปิติ พวกนี้เป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องขอเลย ขอได้ไหม

    เพราะฉะนั้น สูตรนี้ก็แสดงให้เห็นว่าแม้แต่คำว่า เจตนาสูตร ซึ่งทุกคนในชีวิต ก่อนที่จะได้ฟังพระธรรมก็มักจะตั้งความหวัง แล้วก็ขอ มีใครไม่เคยขอบ้างไหม ไม่มี ข้อทั้งนั้นเลย ขอสิ่งที่ดีๆ แล้วก็ขอผลที่ดีๆ ไม่ใช่เล็กน้อย มากๆ ด้วย แต่ทั้งหมดไม่ได้มาจากการขอเลย เพราะฉะนั้น ต้องทราบ แม้แต่เจตนาสูตร ต้องรู้จริงๆ ว่า เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งทุกคนมี แล้วก็เกิดกับจิตทุกขณะ แต่ว่าส่วนใหญ่จะเป็นกุศลเจตนา หรือว่าจะเป็น อกุศลเจตนา ไม่ทราบแล้วใช่ไหม พอตอนนี้ทั้งๆ ที่ชื่อเรื่องก็บอกว่า เจตนาสูตร ก็ยังไม่ทราบว่า ปกติธรรมดาในชีวิตประจำวัน เป็นกุศลเจตนา หรือเป็นอกุศลเจตนา ถ้ารู้ขณะที่กำลังขอ เป็นอะไร ก็ขอกันแล้วหวังว่าจะได้ตามที่ขอ แต่พระธรรมทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า ต้องสอดคล้องกัน ในความเป็นอนัตตา ในการที่สภาพธรรมแต่ละอย่าง จะต้องเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย

    เพราะฉะนั้น ผู้ที่ได้ฟังพระธรรม เข้าใจความเป็นธรรม ของสภาพธรรมทุกอย่าง ซึ่งมีจริงๆ เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ในชีวิตประจำวัน จะขอหรือว่าไม่ขอ แน่ใจหรือ เผลอๆ ลืมไปแล้ว ขออีก แต่ต้องมีเหตุ ถ้าจะขอก็คือว่า รู้ว่าเหตุนั้นมาจากไหน ถ้าไม่มีการกระทำกุศลเลย จะไปขอผลของกุศล ได้ไหม ไม่ได้ แล้วถ้ามีการกระทำอกุศล จะไปขอให้อกุศลนั้นไม่ให้ผลก็ไม่ได้ แต่ต้องรู้ว่ากุศลมีผล แต่ผลที่แต่ละคนต้องการ ก่อนฟังพระธรรม จะต่างกับที่หลังจากที่ฟังแล้ว ก่อนฟังพระธรรมหวังลาภ หวังยศ หวังสรรเสริญ หวังสักการะ อาจจะหวังผู้คนที่เป็นบริวารต่างๆ เต็มไปด้วยความหวังในสิ่งที่ดี โดยที่ไม่รู้เหตุเลยว่ากำลังขอเป็นกุศลหรือเปล่า หรือเพียงแต่ขอ แต่ถ้าเป็นกุศลแล้ว กุศลเดิมที่เคยขอลาภ ขอยศ ขอสรรเสริญ ขอสักการะ จะเปลี่ยนไหม เพราะว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ก็ไม่เที่ยงเลย ปรากฏเกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัย ที่จะเกิดแล้วก็ดับไป มีใครเป็นเจ้าของสิ่งที่พอใจ ต้องการแท้จริงตลอดกาล แม้แต่ร่างกายของเรา ก็เปลี่ยนแปลงไป เคยรักเคยชอบมากมาย แต่ต่อไป จะเป็นอย่างไร ตรงโน้นก็ไม่ดี ตรงนั้นก็ไม่ดี จะชอบต่อไปไหม นี่ก็เป็นเรื่องที่ธรรมดา ซึ่งสำหรับคนที่ไม่รู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริงก็เป็นไปตามอวิชชา ความไม่รู้

    เพราะฉะนั้น แม้แต่เจตนาสูตร หรือพระธรรมทั้งหมด ที่ได้ทรงแสดงไว้ เพื่อให้เข้าถึงความเป็นธรรมของสภาพธรรมแต่ละอย่าง ว่าเป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่หลากหลาย แล้วก็มีเหตุปัจจัยเกิดขึ้น แต่ละขณะดับแล้วไม่กลับมาอีกเลยทุกขณะ ที่กำลังเป็นอยู่ในขณะนี้ เราฟังแล้วฟังอีก ก็เพื่อที่จะให้เข้าใจจนกระทั่ง หยั่งถึงความจริงของสภาพธรรม ซึ่งหยั่งยาก เพราะเหตุว่าเราสะสมอวิชชา มามากหมายเหลือเกิน

    เพราะฉะนั้น อวิชชาซึ่งไม่รู้ความจริงของสภาพธรรม ตั้งแต่เกิด กี่ชาติก็ตามแต่ จะหมดสิ้นไปโดยไม่มีการฟัง พระธรรมโดยการไตร่ตรอง ไม่ได้เลย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยที่จะให้เราเกิดความติดข้อง ในสิ่งต่างๆ แต่การที่จะเห็นตามความเป็นจริงว่าเป็นสภาพธรรม ที่เพียงเกิดปรากฏแล้วหมดไป จนกว่าจะถึง นิพพิทาวิราคะ จนกระทั่งถึงทั้งหมดนี่ ก็เป็นเรื่องที่จะต้องอบรม ไม่ใช่เพียงเราฟังแล้วเราก็คิดว่าเท่านี้เอง แต่เท่านี้ ขณะนี้เป็นอย่างไร จะต้องเข้าถึงความจริง โดยการที่ว่าฟังแล้วก็ เป็นผู้ที่เข้าใจว่าจุดประสงค์ ทั้งหมดที่ทรงแสดงเพื่อละ การติดข้อง เพื่อละความไม่รู้

    แม้แต่ เจตนาสูตร ถึงแม้ว่าจะแสดงไว้อย่างนี้ แต่ก็ต้องเข้าใจด้วย ว่าที่ว่าบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอ อวิปัตติสาน จงเกิดขึ้นแก่เรา จึงหรือไม่จริง ผิดศีลเมื่อไร เดือดร้อนเมื่อนั้น แต่เวลาที่ยังไม่ได้ผิดศีล จะเดือดร้อน เพราะการผิดศีลไหม เป็นไปไม่ได้เลย แต่ศีลคือการประพฤติทางกาย ทางวาจา เพราะฉะนั้น วาจาวันนี้ ผิดไปที่จะทำให้เดือดร้อนหรือเปล่า หรือว่ากายวันนี้ แม้แต่ตั้งแต่เช้าวันนี้ ชั่วระยะสั้นๆ แค่นี้เอง ยังไม่ถึงรวมไปถึงวันก่อนๆ แล้วต่อไปอีก เพียงเท่านี้ กายของเราเป็นอกุศล ผิดศีลบ้างหรือเปล่า แล้ว ถ้าไม่ผิดศีล เป็นอกุศลหรือเปล่า นี่คือความละเอียดของธรรม ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เจตนาซึ่งเกิดกับจิต ทุกขณะก็เป็นไป ตามชาติของเจตนานั้นๆ ซึ่งไม่มีใครสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ ขอเชิญคุณวีระ

    ผู้ฟัง ที่ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องตรัสเรื่อง เจตนาสูตร เป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำที่ท่านอาจารย์สุจินต์พูดสักครู่นี้ มีคำที่ผมสงสัยอยู่นิดหนึ่งก็คือว่า การทำเจตนา การทำเจตนา นี่อยากจะกราบเรียนถามท่านอาจารย์สุจินต์ว่า การทำเจตนาต่างกับเจตนาอย่างไร ที่ตรงนั้น อันนี้สำคัญมาก

    ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่า ถ้าไม่รู้ว่าเป็นธรรม ที่เกิดแล้วทำกิจของธรรม ใครทำ

    ผู้ฟัง เราทำ

    ท่านอาจารย์ แล้วก็ทำตลอด จนกว่าจะรู้ว่าแม้ขณะที่คิดอย่างนั้นก็มี เหตุปัจจัยที่จะทำให้สภาพธรรม คือ จิต และ เจตสิกทั้งหมด เกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น แต่ถ้าไม่รู้ ก็ทำกันตลอด

    ผู้ฟัง การทำเจตนา คือเราทำ ซึ่งเป็นคนที่ไม่ทราบ ทำ ทำคือตั้งใจเจตนา เราก็ต้องรู้ความหมายของเจตนาก่อน ใช่ไหม เจตนาก็คือความตั้งใจ ที่จะกระทำอะไรสักอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเป็นกุศล หรือ อกุศล ก็ขึ้นอยู่กับเหตุ และปัจจัย อย่างไรก็ตาม การที่เราตั้งใจที่จะทำสิ่งที่ดี อาทิเช่นขณะนี้ ที่เรามาฟังธรรมก็มีเจตนาที่จะมา จะพูดว่าเป็นการกระทำ มันก็ส่วนที่ว่าอย่างนั้น เพราะตั้งใจที่จะมาวันเสาร์นี้ แหละ แล้วก็มา

    ท่านอาจารย์ ทำแล้วใช่ไหม

    ผู้ฟัง ทำแล้ว

    ท่านอาจารย์ แล้วก็กำลังทำอยู่ด้วย

    ผู้ฟัง ทำอยู่ เพราะฉะนั้น ขณะนั้นที่ท่านกล่าวว่า ไม่ต้องไปเจตนา ไม่ต้องกระทำ

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ต้องทำ หมายความว่าไม่ต้องมีความเป็นตัวเรา ที่จะตั้งใจ หรือจะทำความตั้งใจ ที่ว่าขอให้อย่าลืมคำว่ามีขอด้วย บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ไม่ต้องทำเจตนาว่าขอ วิปัตติสานจงเกิดขึ้นแก่เรา ขอทั้งหมดเลย

    ผู้ฟัง การตั้งใจ ไม่เกิดขึ้นเพราะเหตุ และปัจจัย

    ท่านอาจารย์ แต่เคยทราบไหม ว่าความตั้งใจ เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย

    ผู้ฟัง ไม่เคยทราบ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็ตั้งใจ นั่นคือทำความตั้งใจ แล้วยังมีการขอด้วย ตั้งใจขอเลย

    ผู้ฟัง เพราะคิดว่าสิ่งนี้เป็นประโยชน์ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ควรจะต้องทำ คือการศึกษา เพราะฉะนั้น เราก็กระทำขณะนั้น ไม่ได้ คือเรา มีเราอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว ขณะนั้นไม่ได้มีความคิดจะอกุศลเลย

    ท่านอาจารย์ ใช่ แต่ไม่ได้ขออะไร ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้ขอ

    ท่านอาจารย์ แต่ที่นี่ บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอ อวิปัตติสานจงเกิดขึ้นแก่เรา

    ผู้ฟัง นั้น ต่างกันตรงนั้น ใช่ไหม คือขณะที่ วันนี้จะ สมาทานศีล ๕ อย่างนี้

    ท่านอาจารย์ วันนี้ คุณวีระกำลังนั่งฟังพระธรรม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ ขออะไรหรือเปล่า ขอผลของการฟังธรรมวันนี้หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ในส่วนลึกๆ ก็ขอ

    ท่านอาจารย์ บอกว่าไม่ต้องทำเจตนา ว่าขอ อวิปัตติสาน จงเกิดขึ้นแก่เรา ไม่ต้องขอ คือทุกคนไม่ชอบความเดือดเนื้อร้อนใจ สักนิดหนึ่งก็ไม่ต้องการ วันนี้เราก็น่าจะมีความสุขสบาย แต่เกิดเดือดเนื้อร้อนใจขึ้นมา คิดในสิ่งที่ได้กระทำไปแล้ว ในสิ่งที่เป็นอกุศล เพราะฉะนั้น ถ้าเราไม่ได้ล่วงศีล เราจะต้องไปขอไหมว่า วันนี้ ขออย่าไม่ให้เดือดเนื้อร้อนใจเลย ก็ขอหรือไม่ต้องขอ ก็ถ้าเราไม่ได้ล่วงศีล ก็ไม่ต้องมี อวิปัตติสาน ไม่ต้องมีความเดือดเนื้อร้อนใจ เพราะฉะนั้น ขณะนี้ แม้กำลังฟังธรรมอยู่เป็นกุศล จะขอผลของกุศลอันนี้ ไหม ขอให้ไม่มีความเดือดเนื้อร้อนใจ ขอไหม

    ผู้ฟัง ก็ยังไม่ได้คิดถึงเรื่องนั้น ขณะที่ไม่คิดถึงเรื่องนั้น หมายความว่า ควรจะเป็นอย่างนั้น ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ แล้วเมื่อไรจะคิดก็ทราบได้เลย ว่าที่คิดเป็นเหตุ เป็นผลหรือเปล่า เราไปทำอกุศลทางกาย ทางวาจา อะไรหรือเปล่า แล้วก็มานั่งคิดขอหรือเปล่า

    ผู้ฟัง มันเป็นความเคยชินวันนี้ ปีใหม่ อีก ๒,๓ วันก็วันวิสาขบูชาก็ไปวัด ไปกราบ ไปไหว้ ขอศีลขอพรพระหน่อยให้ท่านคุ้มครองรักษา

    ท่านอาจารย์ แต่วันนี้ยังไม่ใช่วันนั้น เพราะฉะนั้น วันนี้ขออย่าให้ฝนตก หรือขออะไรก็ขอเรื่อยเลย ขอให้คนนั้นมาหา หรือว่าเรามีธุระกับเขา ขอให้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้

    ผู้ฟัง โดยมากก็ไปวัด ก็ไปขอศีล ทั้งๆ ที่ศีล ไม่ต้องขอๆ พรก็ไม่ต้องขอ เพราะว่าพรคือสิ่งที่เราเลือก กระทำแล้ว สมมติว่า ไปกราบไหว้ ผู้หลักผู้ใหญ่ ก็มีดอกไม้ ดอกมะลิ ดอกอะไรวันแม่ อะไรอย่างนี้ก็ไป อันนั้นเป็นการกระทำแล้ว เป็นการกระทำที่ใจของเรา มีความกตัญญู อ่อนน้อมเคารพในผู้ใหญ่ จำเป็นหรือจะต้องไปขอพร จากท่านอีก อันนั้นเป็นพรที่เราจะได้ อยู่แล้ว เพราะเราทำอยู่แล้ว มันเป็นสิ่งที่เราจะต้องได้ อยู่แล้ว เราไม่ต้องขอ ไม่ต้องขอว่าให้ท่านให้พรเราอีก หรือว่าจะต้องให้ อย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นเรื่องที่เราจะต้องเข้าใจเหตุกับผล อย่างเมื่อกี้นี้ เราก็พูดถึงเรื่องก่อนฟังพระธรรม เราขอเรื่องลาภยศ สรรเสริญ สุข บริวาร อะไรก็สารพัดจะขอ แต่ว่าเมื่อได้ฟังพระธรรมแล้ว รู้เหตุรู้ผล ว่ากุศลเป็นเหตุที่จะให้เกิดผล แต่ผลที่เราต้องการไม่ใช่เหมือนเดิม ไม่ได้ขอลาภ ขอยศ ขออะไร หรือบางคนก็อาจจะขออยู่ ก็แล้วแต่กำลังของปัญญา แต่ถึงจะขออย่างนั้นก็ไม่สามารถที่จะออกจากสังสารวัฏฏ์ได้ ถ้าคิดถึงว่าจิต เกิดดับไม่หยุด นานมาแล้ว แล้วก็จะเป็นอย่างนี้แหละอีกต่อไป นานแสนนานเมื่อไรจะจบ ถ้าไม่คิดอย่างนี้เราก็ขอเหมือนเดิม คือขอลาภ ขอยศ ขออะไรก็แล้วแต่ แต่ถ้ารู้ว่าสิ่งที่ประเสริฐกว่า ทุกอย่างคือปัญญา ใช่ไหม แล้วจริงๆ แล้วถึงแม้ว่า การขอก็คือการตั้งใจแน่วแน่ เหมือนกับความตั้งมั่นที่เป็นอธิษฐาน เพราะเหตุว่าเหตุมี เพราะฉะนั้น ผลนั้นก็ให้เป็นอย่างที่ไม่เป็นอย่างอื่น แต่ให้เป็นในเรื่องของธรรม หรือว่าในเรื่องของปัญญา นั่นคือผู้ที่รู้ประโยชน์ คือรู้ว่าอะไรมีประโยชน์ แล้วก็ต้องการให้ผลของกุศลเป็นไปอย่างนั้น แต่ก็จะเห็นได้ว่าถ้าเราไม่เข้าใจ เรื่องเหตุเรื่องผล ไม่เข้าใจว่าเจตนาไม่ใช่เรา ก็จะถึงกับ นิพพิทาได้ไหม หน่าย คลาย ละ เป็นไปไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ทั้งหมดก็เป็นเรื่องของปัญญา ความเห็นถูก ถ้าพูดถึงพระธรรมแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ข้อ ๑. ประการใดก็ตาม ให้เพ่งเล็งไปถึงความเห็นถูก ว่าต้องมีความเห็นถูกในสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง

    อ.สมพร แย้งนิดหนึ่ง คำว่า ศีล มีตั้งหลายอย่าง กุศลศีลก็มี อกุศลศีลก็มี จุลศีลก็มี มัชฌิมศีลก็มี มหาศีลก็มี แต่ในที่นี้ต้องเป็นกุศลศีลแน่นอน

    ท่านอาจารย์ นี้ก็อย่างที่ท่านอาจารย์สมพรได้กล่าว ศีลที่เป็นกุศล มี อวิปัตติสาน เป็นผล มี อวิปัตติสาน เป็นอานิสงส์ด้วยประการดังนี้ หลังจากที่ได้ทรงแสดงพระสูตรนี้แล้ว ก็ได้ทรงสรุปข้อความว่า ศีลที่เป็นกุศลมี อวิปัตติสาน เป็นผล มีอวิปัตติสาน เป็นอานิสงส์ด้วยประการดังนี้

    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายย่อมหลั่งไหลไปสู่ธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ย่อมยังธรรมทั้งหลายให้บริบูรณ์ เพื่อออกจาก เตภูมิกวัฏ อันไม่ใช่ฝั่ง ไปถึงฝั่งคือนิพพาน ด้วยประการดังนี้แล

    ทั้งหมดคือเพื่อที่จะออกจากความเห็นผิดจากอกุศลทั้งหลาย จนพระทั่งออกจากสังสารวัฏฏ์ไม่ว่าจะเป็นภูมิไหน

    ผู้ฟัง เจตนาสูตร นั้นไม่ใช่เรื่องของการขอ แต่จะต้องเจริญเหตุ แล้วผลจะมาเอง อันนี้ ใช่หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ก็ทรงแสดงไว้แล้ว

    ผู้ฟัง คำว่า อธิษฐาน ซึ่งก็มีอยู่ในพระสูตร เพราะฉะนั้น เมื่อพระสูตรมีคำว่า อธิษฐาน คนก็จะแปลว่าการอธิษฐานนี้เป็นการขอ เพราะฉะนั้น การจะเจริญเหตุมันยาก ขอให้ท่านอาจารย์ช่วยขยายความอันนี้หน่อย

    ท่านอาจารย์ ฟังพระธรรมเพื่อให้เข้าใจถูกต้อง อันนี้สำคัญที่สุด ไม่ใช่ฟังแล้วก็ไม่เข้าใจ หรือว่า เข้าใจผิดไป แต่ว่าต้องเข้าใจจริงๆ ในสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง แม้แต่เพียงคำสั้นๆ อย่างเจตนา คืออะไร ก็คือสภาพธรรม ที่จงใจ ตั้งใจ ขวนขวาย กระทำกิจของตน แล้วก็กระตุ้นเตือน สหชาตธรรม คือ เจตสิกที่เกิดร่วมกันให้กระทำกิจนั้นๆ ซึ่งไม่มีใครไปสร้าง ไม่มีใครไปทำเจตนา หรือว่าสภาพธรรมหนึ่ง สภาพธรรมใดได้เลย ทั้งนามธรรม และรูปธรรม ทั้งนามธรรม และรูปธรรมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยทั้งหมด

    เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงก็จะเข้าใจได้ว่าธรรมเป็นธรรม ไม่ใช่เรา แต่เวลาที่เรายังไม่เข้าใจ ก็จะเห็นว่าธรรมเป็นเรา เข้าใจผิดว่าธรรมที่เกิดขึ้นเป็นเรา หรือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะฉะนั้น การฟังพระธรรมที่พระผู้มีภาคทรงตรัสรู้ และทรงแสดง เพื่อให้หยั่งถึง ความเป็นอนัตตาของสภาพธรรมทั้งหมด

    ผู้ฟัง ผมขอเรียนถามคำที่ผมไม่คุ้นอยู่คำหนึ่ง คือ ศีลที่เป็นอกุศล ผมไม่ทราบว่ามันหมายถึงอะไร

    ท่านอาจารย์ ใช่ ก็ต้องเข้าใจว่าศีล คืออะไรก่อน ความประพฤติทางกาย ทางวาจาเป็นปกติ ขณะใดที่เป็น อกุศลจิต กาย วาจาจะเป็นกุศลได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้

    ผู้ฟัง ในขั้นแรกในเรื่องศีล ท่านใช้ ๒ ศัพท์คือ บุคคลผู้มีศีล และสมบูรณ์ด้วยศีลด้วยแสดงว่าไม่ใช่ศีลธรรมดา มีศีล และสมบูรณ์ด้วยศีล จะต้องเป็นถึงขั้นโลกุตตระหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ แล้วก่อนนั้น

    ผู้ฟัง ก่อนหน้านั้นเป็นโลกียะ ก็เป็นได้ ใช่ไหม บางท่านเป็นผู้ที่มีศีล แต่ว่ายังเดือดร้อนใจเรื่องอื่น ที่ไม่ใช่เรื่องที่การก้าวล่วงศีลก็มีได้ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เวลาที่เดือดร้อน เดือดร้อนเพราะกุศล หรือเพราะอกุศล

    ผู้ฟัง อกุศล แต่เมื่อสักครู่นี้ท่านอาจารย์บอกว่า เรื่องศีลเป็นเรื่องของกาย วาจา ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ก็มีทั้ง กุศลศีล และอกุศลศีล เพราะฉะนั้น เวลากล่าวข้อความไหนก็เป็นข้อความนั้น ที่ว่าบุคคลที่มีศีลสมบูรณ์ด้วยศีล ไม่ต้องทำเจตนาว่าขอ อวิปัตติสาน จงเกิดขึ้นแก่เรา

    ผู้ฟัง หมายถึง ถ้าเป็นเรื่องนี้ก็ เรื่องของศีลโดยเฉพาะ

    ท่านอาจารย์ เรื่องของกุศลศีล เพราะว่าตอนท้ายแสดงไว้แล้วข้างล่าง

    ผู้ฟัง บางครั้ง บางท่าน กายวาจาเรียบร้อยก็ดี ไม่เบียดเบียนใคร แต่ว่าก็ไปเดือดร้อนใจ ในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง คือไม่เป็นเรื่องถึงกับล่วงกรรมบถ แต่ว่าเป็นเรื่องที่คิดไม่ดี เป็นต้น ไม่ถึงกับก้าวล่วงก็มีได้ ขณะที่เดือดร้อนตรงนั้นก็เป็นวิปัตติสาน เช่นเดียวกัน

    ท่านอาจารย์ ก็ได้ จะใช้คำว่า อวิปัตติสาน หรือไม่ใช้ภาษาบาลี แต่หมายความถึงสภาพธรรม ที่เดือดร้อนใจในอะไร เดือดร้อนใจในอะไร

    ผู้ฟัง ก็ในเรื่องของสิ่งที่ไม่ดี

    ท่านอาจารย์ ในความคิดที่ไม่ดี แม้ความคิดที่ไม่ดีก็ทำให้เดือดร้อนใจได้

    ผู้ฟัง การที่เราจะถือศีล เราถืออย่างนี้ได้หรือเปล่า ดูขณะจิตของเราว่า จิตเราขณะนั้น โทสะ หรือเปล่า ถ้าโทสะอันนั้นมันเกิดเพราะอะไร โลภะมันเกิดเพราะอะไร เอาศีลมาเป็นตัวบอก ว่านี่นะ เราได้สร้างเหตุที่ไม่ดี แล้วขัดกับศีลที่ทรงแสดงไว้แล้ว อันนี้ดิฉันว่าดิฉัน ถือศีล ไม่รู้ มันถือศีลหรือว่ารับศีลอย่างที่เขาพูดกันหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ถ้าสรุปทั้งหมดก็ ไม่พ้นจากการที่ว่าให้เข้าใจถูกต้อง ในสภาพธรรมตามความเป็นจริง คือรู้ว่าอะไรเป็นกุศลก็เป็นกุศล อะไรเป็นอกุศลก็เป็นอกุศล

    ผู้ฟัง ฟังสักครู่นี้ เป็นไปไม่ได้ที่จะทำ จะคิด ถ้าถามว่า ผมเข้าใจหรือไม่ ผมคิดว่าตรงนี้ยาก

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็ต้องพิจารณาตามความเป็นจริงว่ามีใครบ้างที่ไม่คิด หรือว่าไม่กะ ไม่กำหนดการกระทำ ไม่ตั้งใจที่จะกระทำ มีใครเป็นอย่างนี้ไหม หรือไม่มี

    ผู้ฟัง สภาพธรรมตรงนี้มี

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เราจะไปบอกเขาว่าไม่ต้องคิด ไม่ต้องทำ บอกได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ แต่มีความเห็นถูกหรือเปล่า เพราะเหตุว่าจริงๆ แล้วทุกคนคิด แล้วก็ยังต้องคิด เพราะว่ามีเหตุปัจจัยที่จะต้องคิด

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 108
    25 มี.ค. 2567