ปกิณณกธรรม ตอนที่ 662


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๖๒

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๖


    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เราจะไปบอกเขาว่าไม่ต้องคิด ไม่ต้องทำ บอกได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ แต่ มีความเห็นถูกหรือเปล่า เพราะเหตุว่าจริงๆ แล้วทุกคนคิด แล้วก็ยังต้องคิด เพราะว่า มีเหตุปัจจัยจะต้องคิด แต่ความคิดของแต่ละคนจะต้องพิจารณาว่า ความคิดนั้นเกิดพร้อมกับความเห็นผิด มีความเห็นผิด อะไรบ้างหรือเปล่า ในความคิดอย่างนั้นๆ หรือว่ามีความเห็นถูก เพราะอย่างไรๆ ก็ต้องคิด เรื่องไม่คิด ไม่มี ต้องคิด แต่ขณะที่คิดเห็นถูกหรือเห็นผิด ถ้าเราไม่พูดถึงชีวิตประจำวัน ที่ทุกคนจะต้องทำกิจการงานต่างๆ ตื่นมาก็ต้องคิดแล้ว ใช่ไหม ว่าจะต้องทำอะไร จะแต่งตัว จะขึ้นรถที่ไหน ทำอะไรๆ อย่างไร ต้องคิดทั้งนั้นเลย แต่ว่าขณะนั้นไม่ใช่เรื่องคิดที่จะออกจากสังสารวัฏฏ์ แต่ถ้าคิดที่จะออกจากสังสารวัฏฏ์ ต้องคิดถูก ถ้าคิดไม่ถูก จะออกจากสังสารวัฏฏ์ได้ไหม ถ้าคิดว่ามีตัวเรา ยังเป็นเราอยู่จะออกจากสังสารวัฏฏ์ได้ไหม

    เพราะฉะนั้น คิดที่นี่ หรือที่ว่า ได้แก่ ไม่คิด ไม่กะ ไม่กำหนด คือไม่ต้องมีเจตนาขอ ผู้นั้นก็ต้องมีความเข้าใจสภาพธรรมว่าสภาพธรรมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ถ้าไม่มีความเข้าใจว่าสภาพธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ก็ยังอดขอไม่ได้ ใช่ไหม ก็ยังขออยู่ แต่ถ้ารู้แน่นอน มีความเข้าใจเพิ่มขึ้นว่าธรรมทั้งหมดไม่ว่าขณะนี้ ใครจะคิดอะไรก็ตาม ความคิดของทุกคนในห้องนี้ ไม่ได้เหมือนกันเลย ไม่ได้คิดอย่างเดียวกันเลย เพราะเหตุว่ามีปัจจัยสะสมมา ที่จะให้ต่างคนต่างคิด อันนี้ก็จะเห็นได้ว่า ถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้จริงๆ เราก็จะมีความเห็นถูกใน เรื่องของความคิด แม้แต่ความคิดที่จะออกจากสังสารวัฏฏ์ก็คิดถูก ไม่ต้องไปขอถึงนิพพานโดยที่ไม่รู้จักนิพพานเลย ใช่ไหม อย่างนั้นคิดผิดหรือคิดถูก ได้ยินเพียงชื่อ แล้วก็ขอถึงนิพพาน โดยที่ไม่รู้ว่านิพพานคืออะไร แต่ถ้าถูกก็คือว่าต้องมีความเข้าใจ นิพพานคืออะไรก่อน ถ้าไม่มีความเข้าใจนิพพานคืออะไรแล้วไปขอ จะถูกได้อย่างไร นี่ก็เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นว่า เราไม่ได้สามารถที่จะไปห้ามความคิดของใครทั้งสิ้น แต่ว่าความคิดเป็นความคิดด้วยความเห็นถูก หรือว่าความคิดด้วยความเห็นผิด

    ผู้ฟัง เป็นไปได้ยากมาก ที่ว่าจะรู้นิพพานเป็นอย่างไร ในเมื่อเราเองก็ฟังแต่คนโน้นพูดนิพพาน คนนี้พูดเล่าเรื่องนิพพาน เท่านั้นเอง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็ต้องรู้ว่านิพพานมีจริงหรือเปล่า

    ผู้ฟัง อันนี้ก็เชื่อว่า นิพพานมีจริง

    ท่านอาจารย์ ถ้านิพพานมีจริงขณะนี้ นิพพานไม่ได้ปรากฏเป็นอารมณ์ อะไรปรากฏ ก็ต้องรู้ ต้องมีความเห็นถูก ในสิ่งที่ปรากฏไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงนิพพิทา หน่าย เพราะว่าเป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่ไม่ใช่เรา

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์บังคับให้ผมรู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริง หรืออย่างไร

    ท่านอาจารย์ คงบังคับไม่ได้เลย เพราะเพิ่งพูดไปเมื่อกี้นี้เอง ว่าทุกอย่างที่จะเกิด ต้องเกิดเพราะเหตุปัจจัย

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ความเข้าใจที่แท้จริง แน่จริง ความเข้าใจที่แน่นอนนั้นมันจาก

    ท่านอาจารย์ ต้องเป็นความเข้าใจของผู้ฟัง ทั้งหมดที่เรามาฟังกันเรื่อยๆ ก็เพราะเหตุว่าให้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง มั่นคงขึ้น เป็นความเห็นถูกยิ่งขึ้น ที่จะทำให้เป็นหนทางที่จะทำให้รู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ก็ไม่น่าจะห่วง เรื่องจะเข้าใจแท้จริง เมื่อไร เพราะว่ามันเข้าใจไม่ได้เลย

    ท่านอาจารย์ หมายความว่าขณะนี้ ถ้าเรารู้ว่าเป็นธรรม เป็นความเห็นถูกแล้วใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ ใช่ ในขั้นของการฟัง ในขั้นของการไตร่ตรอง ถ้ารู้ว่าเจตนามีจริงๆ เพราะว่าทุกคนก็ตั้งใจอยู่เรื่อยๆ ทำอะไรก็คิด ก็กะ ก็กำหนดกันไว้ทั้งนั้นว่าจะทำอะไร ก็เป็นสิ่งที่มีจริง แต่ไม่ใช่เรา เป็นสิ่งที่มีจริง แต่เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นธรรมอะไรก็คือต้องมีเหตุปัจจัย เมื่อมีเหตุปัจจัย แล้วเราจะขอ โดยที่ไม่มีเหตุปัจจัยได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ นี่คือความเห็นถูก เพราะฉะนั้น ก็อบรม ความเห็นถูกยิ่งขึ้น แต่ไม่ได้บังคับให้คุณวีระคิด

    อ.นิภัทร ที่สำคัญที่สุดอย่างที่ท่านอาจารย์ ว่าเราต้องจำไว้ให้มั่น คิดเป็นอะไร เป็นเราคิดหรือเปล่า มันเดือดร้อนตรงนี้ คิดอะไรสารพัดก็คิด ไม่ได้มีใครว่า แต่รู้หรือเปล่าว่า คิดเป็นอะไร จิตเราก็เรียนมาแล้ว ๘๙, ๑๒๑ เจตสิกก็เรียนแล้ว รูปก็เรียนแล้ว ก็ยังเห็นจิต เจตสิก ที่มันมีอยู่ทุกวันว่าเป็นเรา นี้มันเดือดร้อนตรงนี้แหละ

    ผู้ฟัง แล้วความคิดนี้ผู้ที่อบรม สติปัฏฐานชำนาญ เขาก็รู้ว่าความคิดเป็นนามธรรม ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน

    อ.นิภัทร ความคิดเป็นธรรมใช่ไหม เมื่อมันเป็นธรรม เป็นนามธรรมแล้ว เราจะไปเดือดร้อนอะไร เรามีคิดไหม เรามีรักไหม เรามีชอบไหม เรามีชังไหม เรามีเกียรติไหม เรามีเย็นไหม เรามีร้อนไหม เรามีอ่อนไหม พวกนี้เราเข้าใจหรือเปล่า ว่าเป็นธรรม หรือว่าเป็นเรื่องธรรมดาในชีวิตประจำวันเฉยๆ ไม่ได้เป็นธรรม ถ้าเรายังไม่เข้าใจก็ต้องทำความเข้าใจ ในสิ่งเหล่านี้ ให้มันชัดเจนจริงๆ ไม่ต้องไปคิดว่าทำไมมันจะต้องมี ต่างหากต้องไปหา เอา หรือว่า ต้องไปทำเอา อะไรอย่างนี้

    อ.ประเชิญ ข้อความใน เจตนาสูตร เหมือนกับจะบ่งให้เห็นว่า การปฏิบัติที่เป็นไปตามลำดับ ต่อเนื่องกันไป ตั้งแต่มีศีล มีอวิปัตติสาน แล้วก็ปราโมทย์ เป็นต้น เป็นปีติอย่างอ่อน จะเป็นลำดับไปอย่างนี้ไปจนถึงสามารถที่จะรู้แจ้งเห็นจริงจนถึงวิชชา วิมุตติญาณทัศนะ อย่างนั้นหรือ

    ท่านอาจารย์ ลำดับของคุณประเชิญ ที่นี่คงไม่ได้หมายความถึงว่า ลำดับไปตามวัน หรือตามขณะจิต ใช่ไหม แต่ลำดับของความเข้าใจถูก ที่เกิดพร้อมกับสติสัมปชัญญะ ที่เป็นวิปัสสนาญาณเพิ่มขึ้น

    ผู้ฟัง แต่ที่นี้ในข้อความ พระสูตรท่านจะสอดคล้องกันไปเป็นลำดับ

    ท่านอาจารย์ ใช่ ก็ลำดับของปัญญา อย่างวันก่อนที่เราได้ฟังธรรม ได้ฟังแล้วใช่ไหม พอฟังแล้ว อกุศลจิตเกิดไหม

    ผู้ฟัง เกิดก็มี

    ท่านอาจารย์ แล้วพอถึงอาทิตย์หนึ่ง ได้ฟังอีก เราก็มีความเข้าใจขึ้นอีก เป็นลำดับไหม คือความเข้าใจ ต้องเป็นลำดับของความเข้าใจ

    อ.ประเชิญ ค่อยๆ โตขึ้น แต่บางครั้งตั้งแต่ขั้นต้น มีศีล แต่ว่ามี อวิปัตติสาน แต่ปราโมทย์ที่เป็นปิติอ่อนๆ ไม่เกิดก็ได้ อย่างนั้นใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ แค่ศีลกับอวิปัตติสานก่อน ขณะใดที่ไม่ได้ล่วงศีล ไม่เดือดเนื้อร้อนใจ ไม่มีเหตุที่จะให้เกิดความเดือดเนื้อร้อนใจ แต่ระหว่างนั้น เป็นอกุศลหรือเปล่า ก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่ความที่ไม่เดือดเนื้อร้อนใจ ต้องมาจากการไม่ล่วงศีล หรือการที่เดือดเนื้อร้อนใจ ต้องมาจากการล่วงศีล แต่ก่อนนั้น ระหว่างนั้นก็มีอะไรคั่นตั้งหลายอย่าง ฉันใด ปัญญาที่อบรมก็เหมือนกัน หมายความว่าก็ต้องมีสภาพธรรมที่เกิดดับ ตามเหตุตามปัจจัยคั่น กว่าปัญญาแต่ละขั้น จะถึงความสมบูรณ์ได้ หรือกลับกันไม่ได้ อยากจะให้มีนิพพิทาวิราคะก่อน ก็ไม่ได้ ก็จะต้องมีเหตุ คือ ยถาภูตญาณ

    ผู้ฟัง ในขณะที่ ไม่ล่วงศีลกับอวิปัตติสาน ในช่วงนี้มันสั้นเกินกว่าที่เหตุการณ์อะไรจะเกิดขึ้น ไม่ทราบว่าอาจารย์

    ท่านอาจารย์ ถ้าวันนี้ มีใครจะเดือดเนื้อร้อนใจ เพราะอะไร เพราะกายหรือวาจา ที่ได้ทำแล้ว วันไหนที่ได้ทำ เมื่อกี้นี้เพิ่งผ่านมา หรือว่าก่อนนั้น

    ผู้ฟัง ผมว่า อวิปัตติสานมันเกิดขึ้นทันทีไม่ใช่ว่า ปฏิบัติไปนานแล้วหลายวันแล้ว แล้วค่อยมี อวิปัตตเสาน เพราะว่ามัน ไม่น่าจะเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ แต่ถ้ารู้ขณะจิต จะทราบ ว่าแท้ที่จริงแล้วก็มีสภาพจิตซึ่งเกิดคั่น หรือแม้แต่การกระทำของเรา เมื่อวานนี้ ทำอะไรไม่ดีบ้าง ขณะที่กำลังทำไม่ดีรู้ตัวหรือเปล่า หรือกำลังไม่ดีๆ เพราะว่าต้องมีเหตุปัจจัย ที่จะเป็นอย่างนั้น กำลังไม่ดีจะให้ขณะที่กำลังไม่ดี แล้วเป็น ดีไม่ได้ แต่หลังจากที่ทำแล้ว เกิดความเสียใจบ้างไหม ว่าได้กระทำไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคำพูดหรือการกระทำ นั่นก็แสดงว่ามีสภาพธรรมที่เกิดคั่น

    ผู้ฟัง ในเรื่องของกุศลที่ขั้นสูงขึ้นไป ที่จะเป็นปราโมทย์ หรือปีติอันนี้ก็ ตามลำดับขั้นที่เกิดขึ้นได้ เช่นเดียวกัน เป็นธรรมดาแน่นอน

    ท่านอาจารย์ เวลานี้ทุกคนได้ยินได้ฟังว่า ไม่มีตัวตน เป็นสภาพธรรมปราโมทย์หรือยัง

    อ.ประเชิญ เฉยๆ

    ท่านอาจารย์ นั่นสิ แล้วไง ก็ได้ยินได้ฟัง แล้วไง แล้วทำไมไม่ปราโมทย์ เพราะว่า ไม่ถึงระดับขั้นของปัญญา ที่จะมีความปราโมทย์ ในความเข้าใจถูก ในขณะนั้น ในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ก็เป็นเรื่องที่ต้องอบรมจนกว่าปัญญาจะเพิ่มขึ้น เมื่อมีความรู้ถูกต้องเพิ่มขึ้น ก็เป็นปัจจัยให้เกิดปราโมทย์ได้

    อ.ประเชิญ นี้ก็ต้องถึงขั้นนั้นก่อน ปราโมทย์จะเกิดขึ้นได้ แล้วก็ปิติไปถึงลำดับขึ้นได้

    อ.สุภีร์ ขอเรียนถามท่านอาจารย์ว่า ปราโมทย์ได้แก่ปิติอย่างอ่อน แล้วปิตินี้คือ ปิติที่มีกำลังแรงกล้า นี้จะมีอะไรเป็นเครื่องวัดหรือว่าจะเกิดขึ้นในปัญญาระดับไหน

    ท่านอาจารย์ ดูเหมือนว่า พอถึงข้อความในพระไตรปิฎก ก็กลายเป็น สิ่งที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน หายไปหมดเลย เพียงแต่เปลี่ยนชื่อ หรือใช้คำอีกภาษาหนึ่ง เคยดีใจ หรือสบายใจ เหมือนกับที่ว่าใช้คำว่า ปิติ ได้ไหม แล้วจะเป็นคำไหน ลองคิดดูก็แล้วกัน

    อ.สุภีร์ รู้สึกว่าถ้าปิติที่เกิด ขึ้นในชีวิตประจำวัน โดยส่วนใหญ่แล้วก็อาจจะเกิดขึ้นกับโลภะบ้าง แต่ว่าในที่นี้ ก็คงเป็นที่เกิดกับ ปัญญาขั้นต่างๆ

    ท่านอาจารย์ แต่นี้เวลาที่คุณประเชิญสงสัย ความต่างของปราโมทย์กับปิติใช่ไหม แล้วก็ถามถึงคำ คำก็แสดงให้เห็นว่า ความรู้สึกจะมี ๒ อย่าง คือ อย่างอ่อนกับอย่างมีกำลัง ซึ่งเมื่อเป็นชีวิตประจำวัน ปราโมทย์นี้จำเป็นไหมที่จะต้องเกิดเฉพาะกับกุศลเท่านั้น แล้วก็ปีติจำเป็นไหมที่จะต้องเกิดเฉพาะกับกุศลเท่านั้น

    อ.ประเชิญ ได้ทั้ง ๒ อย่าง

    ท่านอาจารย์ ใช่ เพราะฉะนั้น เราก็เป็นชีวิตประจำวัน อยู่แล้ว ใช่ไหม คือลักษณะสภาพของปิติความปราบปลื้มใจ ความอิ่มใจ มีทั้งอย่างเล็กน้อย อ่อนๆ และก็มีอย่างที่มีกำลังขึ้น เพราะฉะนั้น ก็เป็นเพียงแต่ชื่อที่ทำใหเราสงสัยว่าแล้วจะไปปรับระดับของชีวิตประจำวัน ว่าขณะไหนเราจะใช้คำว่าปราโมทย์ หรือว่าขณะไหนเราจะใช้คำว่าปิติ แต่ก็ให้ทราบว่าปิติก็มีกำลังกว่า แล้วก็สำหรับสภาพธรรมที่เป็นกุศล จะมีโสภณเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น ขณะนั้นสภาพของปิติ มี แต่ว่าอย่างอ่อนก็ชื่อว่าปราโมทย์ เท่านั้นเองได้ไหม หรือว่าต้องมีอะไรเป็นเครื่อง บ่งบอก

    อ.ประเชิญท่านแสดงเรื่องปิติ ๕ อย่าง ท่านอาจารย์ ขณิกาปิติ ผรณาปิติ เป็นต้นไป

    ท่านอาจารย์ เราก็เอามาอีก พออ่านพระธรรม หรือมีข้อความเรื่องปิติ เราน่าจะคิดว่า แล้วเราเคยมีระดับไหน ใช่ไหมเท่านั้นเอง ถ้ายังไม่เคยมีระดับอื่น ก็ไม่ใช่ แต่ถ้ามีระดับนั้นก็แสดงว่า สามารถที่ะจะถึงระดับนั้นได้ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายกุศล หรือฝ่ายอกุศล

    อ.ประเชิญ แต่บางครั้งแยกไม่ออกเลย

    ท่านอาจารย์ ก็ไปคิดถึงชื่อ ใช่ไหม ที่จะแยก นึกถึงชื่อ แต่ว่าสภาพธรรมเกิดแล้ว เป็นจริงอย่างนั้นแล้ว จะเรียก ระหว่งปิติ กับ ปราโมทย์ให้มันก้ำกึ่งกันอย่างไร มีขีดคั่นย่อยยอะไรอีกหรือเปล่า บวก ๑ บวก ๒ หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ผมยังนึกว่าในเมื่อมันไม่มี มันไม่เกิด ไม่เห็นจะต้องกังวลอะไร ทำไมจะต้องให้เกิดด้วย

    ท่านอาจารย์ อยากให้เกิดหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่ได้สนใจ

    ท่านอาจารย์ จริงๆ หรือ

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ แน่ใจ

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ ไม่ชอบหรืออย่างไร

    ผู้ฟัง ไม่ใช่ไม่ชอบ ไม่ได้สนใจ จะเกิดหรือไม่เกิด

    ท่านอาจารย์ อยาก ลึกๆ หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่อยาก

    ท่านอาจารย์ ที่มีอะไรๆ กันทุกวันเพื่อให้เกิดอะไร ปกติชีวิตของทุกคนก็เป็นธรรมดา ราบเรียบ แต่เวลาที่เราจะทำอะไรสักอย่างให้ ตื่นเต้นให้อะไรต่างๆ เพื่ออะไร

    ผู้ฟัง ไม่ทราบ มันขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

    ท่านอาจารย์ มีงานเทศกาล มีอะไรต่างๆ เพื่ออะไร อยู่ดีๆ ก็ดีอยู่แล้ว นี่

    ผู้ฟัง มันเป็นเจตนาของแต่ละบุคคล ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ใช่ แต่ว่าที่มี คือเพราะอะไร เพราะทุกคนต้องการอะไรลึกๆ ไม่เคยไปเที่ยวสงกรานต์เลย หรือ บางคนก็อาจจะบอกว่าไม่เคยจริงๆ เพราะเหตุว่าไม่ได้สนใจแต่ว่าไม่เคยอย่างอื่นเลย หรืออยู่กับบ้านเรียบๆ เสมอๆ ทุกวันหรือว่ามีอะไรที่ตื่นเต้น มีเทศกาลดอกไม้งาม มีอะไรต่ออะไรต่างๆ เพื่ออะไร

    ผู้ฟัง อันนี้ก็แล้วแต่

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง แล้วแต่บุคคล แต่เพื่ออะไร ทำไมมีกัน ทำไมถึงต้องมี

    ผู้ฟัง ผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ คนอื่นทราบไหม เพื่อปราโมทย์ เพื่อปิติ หรือเปล่า ลองคิดดู ก็ชีวิตจริงๆ เราต้องการเพียงเท่านี้หรือ หรือว่า เราต้องการปิติปราโมทย์ด้วย นี่เราพูดถึงเฉพาะคำ แต่เราไม่ได้พูดถึงทางฝ่ายกุศล ยิ่งเป็นทางฝ่ายกุศล ก็ลองคิดดูว่าความปรารถนาของเราจะเพิ่มขึ้นอีกไหม สำหรับคนที่หวัง แต่ว่าบางคนเขาไม่ทราบ เขาต้องการ เพียงแต่ทางฝ่ายอกุศลอย่างเดียว

    ผู้ฟัง ถ้าหากเราไม่นำเอาอกุศล มันก็น่าจะสบายใจดีแล้ว

    ท่านอาจารย์ แล้วทำอย่างไร ถึงจะไม่มีได้

    ผู้ฟัง ไม่ผิดกรรมบถทั้ง ๑๐

    ท่านอาจารย์ ธรรมดา คือ ต้องแล้วแต่เหตุ ไม่มีเหตุก็เกิดไม่ได้ ขณะนี้คุณวิจิตรปราโมทย์หรือเปล่า กำลังฟังพระธรรม กำลังเข้าใจ รู้สึกว่าปราโมทย์หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ก็มีบ้าง

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นเรื่องที่ตัวเองก็ต้องทราบ ใช่ไหม ว่าลักษณะนั้นคืออย่างไร ถ้าเราไปที่ไหนเดินไปก็ธรรมดาๆ แต่พอได้ยินพระธรรมเกิดความเข้าใจขึ้น ขณะนั้นจะรู้สึกปราโมทย์ไหม

    ผู้ฟัง มีนิดหน่อย

    ท่านอาจารย์ ใช่ รับทราบแล้วใช่ไหม ลักษณะของปราโมทย์ แล้วถ้ามากกว่านั้น คือปิติ

    อ.นิภัทร เราไปคิดของที่เรามีอยู่ เป็นตัวหนังสือนี่ มันก็เลยสับสน ของจริงๆ ที่มันมี เราไม่เคยศึกษาเลย เราไม่เคยใส่ใจ พอมาอ่านในหนังสือเข้า ไม่เคยเกิดเลย ปิติไม่เคยเกิดเลย ปราโมทย์ก็ไม่เคยเกิด ที่แท้มันเกิดอยู่ แต่เราไม่เคยรู้มัน ไม่เคยศึกษามัน เกิดน้อยเกิดมากมันอีกเรื่องหนึ่งแล้วแต่ คุณตื่นเต้นมากคุณก็เกิดมาก

    ท่านอาจารย์ ขอสนทนากับคุณวิจิตรต่อ ปราโมทย์จะได้แก่ เจตสิกอะไร

    ผู้ฟัง ผมจำไม่ได้

    ท่านอาจารย์ จำไม่ได้ไม่เป็นไร แต่ต้องเข้าใจ ว่าเป็นจิตหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่ใช่

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ใช่จิตแล้วเป็นอะไร

    ผู้ฟัง ก็เป็นเจตสิก

    ท่านอาจารย์ ใช่ เพราะฉะนั้น ไมใช่จำ แต่เป็นเรื่องที่ต้องเข้าใจ แล้วปราโมทย์ที่เกิดกับอกุศลกับ ปราโมทย์ที่เกิดกับกุศล จะเหมือนกันไหม

    ผู้ฟัง ไม่เหมือน

    ท่านอาจารย์ เห็นความต่างตรงไหน

    ผู้ฟัง ถ้าหากปราโมทย์ที่เกิดกับอกุศลแล้ว เป็นกิเลสตัณหา เป็นโสภณก็จะเป็นเรื่องของบุญกุศล

    ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าปราโมทย์ที่เกิดกับอกุศล ไม่มีโสภณธรรมที่สงบ เกิดร่วมด้วยเลย แต่ว่าทางฝ่ายกุศล ความสงบ เราก็จะเริ่มเห็น เริ่มเข้าใจลักษณะที่ต่างกันว่าขณะที่สงบจากอกุศลเป็นอย่างนี้ แล้วก็มีปราโมทย์เกิดร่วมด้วยได้

    เพราะฉะนั้น ชื่อก็คือ อัญญสมานา หมายความว่า เป็นเจตสิกซึ่งเสมอกับ เจตสิกอื่นๆ ซึ่ง ตนเกิดร่วมด้วย ถ้าเกิดกับอกุศล ปราโมทย์ต้องเป็นอกุศล จะเป็นกุศลไม่ได้ ถ้าเกิดกับฝ่ายโสภณ ก็ต้องเป็นโสภณ จะเป็นอกุศลไม่ได้

    ผู้ฟัง เผอิญคำว่าปราโมทย์มัน ไม่มีในเจตสิกก็เลยลืมคิดถึงเขา ปิติเจตสิก

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ต้องทราบเวลาที่ศึกษาแล้วว่ามีเจตสิก ๕๒ ก็จริง แต่ถ้าสภาพนั้นไม่ใช่จิตก็ ต้องเป็นเจตสิก เมื่อเป็นนามธรรม

    ผู้ฟัง ใช่ ขอบคุณ

    อ.สุภีร์ ในที่นี้ท่านกล่าวว่ากายของบุคคล ผู้มีใจมีปีติสงบนี้เป็นธรรมดา แสดงว่าบุคคลที่มีปีติที่เป็นไปในกุศลนี้ ลักษณะอาการของ ปัสสัทธิจะปรากฏอย่างนั้นหรือ

    ท่านอาจารย์ ใช่ สงบ เพราะจะต้องรู้ว่า ลักษณะนั้นต่างกับเวลาที่เกิดกับอกุศล ถ้ามีความเข้าใจธรรมเราเริ่มอย่างนี้ก็ได้ ถ้ามีความเข้าใจธรรม รู้สึกอย่างไร

    อ.สุภีร์ สงบ ปลาบปลื้ม

    ท่านอาจารย์ ใช่ นี่คือลักษณะของความเข้าใจ แต่ถ้าเป็นความเข้าใจขึ้นอีก มีการรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง แล้วก็ยังมีลำดับขั้นของปัญญาที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงด้วย เพราะฉะนั้น ก็จะเห็น ความต่างกันของแม้ปราโมทย์ หรือกับปิติได้ ซึ่งจะต้องเป็นไปตามกำลังของปัญญาด้วย ถ้ารู้มากๆ ชัดเจน คลายความเป็นธาตุของโลภะออกไป ค่อยๆ ออกไป ค่อยๆ ออกไป ปิติจะเกิดได้ไหม ก็ย่อมได้

    อ.สุภีร์ แต่ว่าปัสสัทธินี้ก็เป็น โสภณสาธารณเจตสิก เกิดกับโสภณจิตทุกประเภท แต่ว่าในที่นี้ท่านคงกล่าวถึง ขณะที่ลักษณะอาการของปัสสัทธิปรากฏ

    ท่านอาจารย์ ประกอบกับปิติ มีกำลังด้วย

    ผู้ฟัง ปกติแล้วในชีวิตเราตัวธรรมที่จะเห็นว่าเป็นเจตนามันมองข้ามไปตลอดเวลาเลย ใครบ้างที่จะเข้าใจตัวเจตนา ได้ชัดเจน แล้วก็จะรู้ได้ขณะนั้นเลย ว่าขณะนี้ มันไม่ใช่เรื่องของตัวเรา เป็นเรื่องของเหตุ และปัจจัย ให้เห็นว่าเจตนานั้นเกิดขึ้นทุกขณะ

    ท่านอาจารย์ มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่เจตสิก ๘ ซึ่งไม่มีเจตนาเจตสิก

    ผู้ฟัง ใช่ ไม่มีอยู้ด้วยนี่

    ท่านอาจารย์ ในองค์มรรค ๘ ไม่มี แต่ขณะใดก็ตาม ที่จิตเกิด ต้องมีเจตนาเจตสิกกิดร่วมด้วย แต่เจตนาไม่ใช่มรรค

    ผู้ฟัง เจตนาไม่ใช่มรรค

    ท่านอาจารย์ ใช่ แต่เจตนาเป็นกรรม

    ผู้ฟัง เจตนาเป็นกรรมเท่านั้น เข้าใจ หมายความว่า ขณะนี้ท่านอาจารย์ตอบผมก็เพื่อที่จะให้ผมเข้าใจว่า เจตนาไม่ใช่เรื่องที่สำคัญเลย เพราะว่าไม่ใช่องค์มรรค

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่หนทางที่จะทำให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม เพราะฉะนั้น ใครก็ตามที่ตั้งใจ จงใจ จะทำ จะรู้ นั้นไม่ใช่หนทาง

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น เจตนาก็เป็นตัวหนึ่ง ที่สำคัญในเรื่องของการ ตั้งใจหรือว่าประคับประคองให้เกิดกุศล อันนั้น มีอารมณ์ และดำเนินไปจนกระทั่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป ก็เป็นประโยชน์เพียงแต่ว่าไม่ใช่องค์มรรค

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เจตนาเป็นเจตนา เจตสิกแต่ละอย่าง เป็นสภาพของเจตสิกนั้นๆ ซึ่งสับสนปนกันไม่ได้เลย เจตนาจะเป็นสติไม่ได้ เจตนาจะเป็นปัญญาไม่ได้ ไม่ว่าเจตนาจะเกิดกับกุศลจิต หรือว่าเจตนาจะเกิดกับอกุศลจิต เจตนาจะเกิดกับวิบากจิต เจตนาจะเกิดกับกิริยาจิต ไม่ได้เปลี่ยนแปลงความเป็นเจตนา คือสภาพที่จงใจขวนขวาย แล้วแต่ว่าสภาพธรรมที่เกิดร่วมด้วย จะเป็นอะไร ถ้าสภาพธรรม ที่เกิดร่วมด้วยเป็น โลภะ เป็นความติดข้อง เจตนาทำอะไร ขวนขวายขณะจิตเดียวที่เกิดขึ้นก็กระทำกิจของเจตนา แล้วก็ยังกระทำกิจสืบเนื่องต่อไปอีก ในความติดข้องนั้น แล้วแต่ว่าจะเป็นกุศลกรรม หรือกุศลกรรม ถ้าเกิดกับทางฝ่ายกุศล เจตนาก็เป็นไปในทางฝ่ายกุศล ความจงใจตั้งใจขวนขวาย ที่จะกระทำกิจในหนึ่งขณะจิต แล้วก็ตามกำลังของกุศลนั้นๆ ที่จะทำให้มีเจตนาต่อไปอีก แต่เจตนาจะต้องเป็นลักษณะของสภาพธรรมที่มีลักษณะอย่างนั้น ทำกิจอย่างนั้นไม่เปลี่ยนลักษณะเลย แม้เจตนาที่เกิดกับโลกุตตรจิตในขณะจิตนั้นก็ทำกิจนี้

    ตราบใดที่ยังไม่รู้ความต่างโดยสิ้นเชิงเด็ดขาดของนามธรรมกับรูปธรรม เรารู้แต่เพียงชื่อของสภาพธรรม เพราะว่าไม่ได้มีสติสัมปชัญญะ ที่จะระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นนามธรรม แต่เมื่อมีสติสัมปชัญญะ ที่ระลึกลักษณะของนามธรรม และเห็นความต่างว่านามธรรม ไม่ใช่รูปธรรม แล้วก็มีการรู้ โดยสติสัมปชัญญะ ระลึกลักษณะของนามธรรมต่างๆ ก็แล้วแต่ว่าขณะนั้นจะมี ความเข้าใจเพิ่มขึ้น ในสภาพที่ไม่ใช่ตัวตน ของนามธรรม เพราะฉะนั้น ก็แล้วแต่วานามธรรมใดสติระลึก ไม่ใช่นามธรรมที่เราอยากรู้

    ผู้ฟัง เจตนาสูตร ท่านแสดงเพื่อให้เราทราบว่า การทำเจตนาก็คือการขอนั้นเอง

    ท่านอาจารย์ โดยที่ไม่มีเหตุ อย่างจะขอให้อวิปัตติสานไม่เกิดสำหรับผู้ที่มีศีลก็เป็นไปไม่ได้ทั้งหมด เป็นเรื่องที่จะต้องเป็นไปตามเหตุผล

    อ.สุภีร์ เรียนถามท่านอาจารย์ว่า โดยปกติแล้ว ลักษณะของเอกัคคตาเจตสิก หรือว่าสมาธิ ก็ตั้งมั่นในอารมณ์หนึ่ง อารมณ์ใด

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 108
    25 มี.ค. 2567