ปกิณณกธรรม ตอนที่ 681


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๘๑

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๗


    ท่านอาจารย์ ขณะใดที่ไม่รู้ลักษณะของกิเลส ก็ไม่ได้ปรากฏ ให้รู้ว่าเป็นกิเลส แต่แม้กิเลสที่ปรากฏลักษณะ ๑๖ อย่าง พอรู้ไหม ก็เป็นกิเลสด้วย เพราะฉะนั้น ทั้งหมดคือกิเลส แต่กิเลสทำไมหลากหลาย จำแนกไปเป็นบางประเภท เช่น ขณะนี้พูดถึงอุปกิเลส ๑๖ แต่ใน ปัตตกัมมสูตร นี่ วิจิกิจฉาก็เป็นอุปกิเลส เพราะฉะนั้น กิเลสใดๆ ก็ตามที่สามารถจะรู้ได้ เห็นได้เข้าใจได้ ขณะนั้นก็เป็นกิเลสที่มั่นคง หรือว่าปรากฏ ใกล้ต่อการที่จะเห็นว่า เป็นกิเลส มิฉะนั้นก็มองไม่ออก บอกไม่ถูก ใช่ไหม กำลังเห็นกระดาษแผ่นหนึ่ง แล้วก็บอกว่า เป็นกิเลส ก็ยากที่จะเชื่อ แต่ถ้ามีความอยากได้ หรือมีอาการปรากฏลักษณะหนึ่งลักษณะใด ในอุปกิเลส ๑๖ นี้ ก็แน่นอนที่จะปรากฏความเป็นกิเลสให้เห็นได้

    ผู้ฟัง แล้วถ้าไม่ปรากฏ

    ท่านอาจารย์ ก็ เป็นกิเลส ไม่อย่างนั้นก็ไม่ต้องมีหลายชื่อ ไม่ต้องมีกิเลส ไม่ต้องมีอุปกิเลส แม้อุปกิเลสก็เป็นกิเลส แต่เป็นอุปกิเลสที่สามารถที่จะรู้ได้ เมื่อไร ขณะนั้นก็เป็นอุปกิเลส หรือแม้ใน ปัตตกัมมสูตร ไม่ได้เป็นอุปกิเลส ๑๖ เลย แต่รู้ได้ เช่น วิจิกิจฉา เกิดความสงสัยขึ้น ขณะนั้นก็ปรากฏลักษณะของความสงสัย ให้รู้ ขณะนั้นไม่ใช่กุศล ก็ต้องเป็นกิเลส ต้องเป็นอกุศล

    ผู้ฟัง ได้ยินมาว่า กิเลส ตั้งแต่วิถีจิตแรก ไปจนถึง โคตรภูญาณ ตรงนี้คำหนึ่งโดยนัยยะของอริยสัจจธรรม

    ท่านอาจารย์ กิเลสประเภทไหน

    ผู้ฟัง โลภะ กับโมหะ

    ท่านอาจารย์ นั่นไหน ในหมวดหมู่ไหน

    ผู้ฟัง ผมก็ไม่ทราบ

    ท่านอาจารย์ อาสวะ หรือเปล่า เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่ทรงจำแนกลักษณะ ของอกุศลเจตสิก ๑๔ ตามความเป็นจริง แม้จะต่างโดยพยัญชนะ เป็นชื่อต่างๆ แต่ก็คือ อกุศลเจตสิก ๑๔ นั่นเอง แต่ไม่ใช่ต่างโดยพยัญชนะ เท่านั้น พยัญชนะนั้น บ่งถึงความหลากหลาย ของอกุศลธรรม ๑๔ ประการ

    ผู้ฟัง ที่นี้ที่ท่านแสดงหลาย นัยยะ นี้ก็หมายถึงว่ากำลังของกิเลส แต่ละอย่างๆ

    ท่านอาจารย์ ที่ปรากฏ ที่สามารถจะรู้ได้ เห็นได้ ถ้าไม่อย่างนั้น ไม่เห็นจริงๆ ถ้าไม่มีลักษณะของอภิชฌาวิสมโลภะ ที่ปรากฏให้รู้ว่าขณะนี้เป็นความอยากได้ระดับไหน ทำสิ่งที่ควรหรือไม่ควร หรือเปล่า ถ้าทำสิ่งที่ไม่ควร ด้วยกำลังของโลภะ ขณะนั้นต้องเป็นวิสมโลภะแน่ แต่แม้ว่ายังไม่ทำ แต่ปรากฏให้รู้ เช่น ความกระวนกระวาย อยากจะได้ หรือว่าวิธีการต่างๆ ที่กำลังคิด แม้ว่ายังไม่ได้ลงมือกระทำ ก็เป็นลักษณะที่ปรากฏแล้ว ว่าขณะนั้นรู้ได้ ว่าเป็นลักษณะของกิเลสประเภทใด เพราะฉะนั้น กิเลสไม่ใช่ว่าจะปรากฏ ให้เห็นให้รู้ได้ ง่ายๆ ใช่ไหม แต่ว่าถ้ามีลักษณะหลากหลายไปใน ๑๖ อย่าง ก็เห็นได้ชัดเจน แต่กิเลสเอง หรืออกุศลจิตเอง ไม่สามารถที่จะเห็นอกุศลจิตตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น ขณะใดที่อกุศลจิตเกิด ไม่มีทางที่จะเข้าใจสภาพธรรมได้ คนที่กำลังมีพยาบาท จะเห็นว่าพยาบาทเป็นโทษ ไม่ใช่ในขณะนั้นแน่นอน แต่ต้องขณะหลัง ที่สามารถที่จะระลึกได้ ว่าความโกรธ จริงๆ แล้ว เราจะผูกโกรธเขาสักเท่าไร จะผูกโกรธหรือจะหวังร้าย เขาไม่เดือดร้อนเลย เพราะไม่ใช่กรรมของเขา ไม่ใช่อกุศลจิตของเขา แต่ว่าอกุศลจิตของใคร อกุศลกรรมของใคร ขณะนั้นก็จะเป็นปัจจัย ที่จะทำให้ จิตที่เป็นวิบากเกิดขึ้นในภายหลัง

    ผู้ฟัง กิเลส เขารู้จักกิเลสได้ อย่างนี้ไม่มีประโยชน์ ใช่ไหม กิเลส รู้จักกิเลส

    ท่านอาจารย์ เป็นไปได้ไหม หรือว่าปัญญา หรือสติ ที่สามารถที่จะรู้ เกิดคนละขณะนี้แน่นอน ขณะที่กำลังเป็นโลภะ โลภะ จะเห็นโลภะ ว่าเป็นกิเลส เป็นไปไม่ได้ เพราะขณะนั้นโลภะเกิด

    ผู้ฟัง แต่โลภะ เขารู้จักโลภะได้

    ท่านอาจารย์ หมายความว่า มีความพอใจในโลภะ ได้ แต่ไม่รู้ว่าเป็นอกุศล

    ผู้ฟัง ไม่รู้ว่าเป็นธรรม ไม่รู้ว่าเป็นอกุศล

    ท่านอาจารย์ ไม่รู้ว่าเป็นเรื่องของปัญญา โลภะ มีโลภะเป็นอารมณ์ได้ แต่ว่าไม่ใช่เป็นปัญญา ที่สามารถที่จะเห็น ว่าโลภะ เป็นอกุศลกรรม

    ผู้ฟัง ขอบพระคุณ

    ผู้ฟัง มีคำถามมาจากผู้ฟังว่า ขอทราบอรรถ ในประโยคที่ว่า จิตที่ฝึกดีแล้ว เป็นธรรมชาติที่อ่อนควรแก่การงาน

    ท่านอาจารย์ ก็ต้องเป็นกุศล คงไม่มีใครไปฝึกให้เป็นอกุศล เพราะอกุศลไม่ต้องฝึก ขณะนี้ กำลังฝึกหรือเปล่า หรือต้องไปเข้าแถว หันซ้ายแลขวา ไม่ใช่อย่างนั้นเลย ขณะที่กำลังฟัง ถ้าไม่มีการฟัง อะไร จะอบรม อะไรจะฝึก แต่ขณะที่กำลังฟัง มีการเข้าใจธรรมมากน้อยแค่ไหน ถ้ามีความเข้าใจมาก ก็มีปัจจัยที่จะอบรม ตัวเองมาก แต่ถ้าฟังแล้วก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ การที่จะอบรมตัวเองก็น้อย

    ความเข้าใจมีหลายระดับจะอบรมด้วยอะไร แต่อบรมที่เป็นทางที่จะรู้จักกิเลส แล้วก็ดับกิเลส คือถึงความเป็นพระอริยบุคคล อบรมปัญญาให้ เข้าใจให้เห็นถูก ตามที่ทรงแสดงไว้

    การที่เราจะได้สาระจากธรรม หรือแต่ละพระสูตร ไม่ใช่หมายความว่า ให้เราพยายามไปท่องจำ แต่ว่าไม่ได้เข้าใจความหมาย เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะทรงแสดงโดยนัยยะใดๆ ก็ตาม ถ้าสามารถเข้าใจส่วนหนึ่ง แล้วก็เป็นประโยชน์ แล้วเราก็ไม่ลืมในส่วนนั้น เราก็จะไม่รู้ว่า ความหมายของไม่พักไม่เพียร นี้คืออะไร มิฉะนั้นอ่านไปตั้งมากมายหลายข้อ หลายนัยยะ แล้วก็เลย จำไม่ได้เลย หรือว่าไม่เข้าใจเลย พากเพียรผิด ควรเพียรไหม

    ผู้ฟัง ไม่ควรเลย

    ท่านอาจารย์ ใช่ ถ้ารู้ทาง รู้ประโยชน์ แล้วควรพักไหม นี้ก็เป็นสิ่งที่เราจะพิจารณาไตร่ตรอง ของเราเอง ว่า นี่คือหนทางที่จะทำให้ รู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริงซึ่งเป็นหนทางที่ละเอียด แม้คำพูดสั้นๆ ก็ต้องเข้าใจ ถ้าเพียรในทางที่ดี ทำไมจะไม่เพียร ใช่ไหม แต่ว่าถ้าเพียรผิด ควรเพียรหรือไม่เพียร ทำไมไม่เข้าใจความหมาย ทำไมมานั่งคิดว่ามันขณะเดียวกันหรือเปล่า

    ผู้ฟัง หรือว่าเป็นมัชฌิมาปฏิปทา หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ กลับไปอ่านอีกที แล้วก็คิดทุกข้อ แล้วก็ข้อไหนที่สามารถ จะเข้าใจได้ เป็นประโยชน์ก็เข้าใจเป็นเรื่องๆ ไป ตอนๆ ไป

    ผู้ฟัง ในลักษณะของ อิสสา มายา หรือมัจฉริยะ ขณะที่เกิดในขั้นอบรม เราก็พอจะรู้ได้ แต่ขณะที่ลักษณะ ๓ อย่างที่เกิดอยู่ได้บ่อยๆ มายา อิสสา มัจฉริยะ เวลามันเกิดขึ้น แล้วมันรู้สึกว่ามันน่าเกลียด มันอายแก่ตัวเรา แต่ทีนี้เมื่อมันเป็นเราอยู่ มันก็ยังไม่ถูกต้อง ใช่ไหม ที่ว่าก็มันเป็นสภาพธรรม แต่ขณะที่มันเกิดขึ้น ปัญญามันยังน้อย มันไม่ไปนึกถึงในเรื่องที่ท่านอาจารย์ได้กรุณาอธิบายว่าเกิดแล้วมันก็ดับ อะไรอย่างนี้ ตรงนี้มันไป ไม่ถึง มันยังคิดไม่ถึง สักที

    ท่านอาจารย์ ใช่ แม้ยังไม่ถึงแต่เห็น ว่าเป็นอย่างนั้นก็ยังดี กว่าไม่เห็นเลย ใช่ไหม เห็นแล้วยังหัวดื้อหรือเปล่า คือสามารถที่จะรู้ว่า ถ้าเรามีพยาบาท ความโกรธ หรือความหวังร้าย เลิกได้ไหม หรือว่ายังพยาบาทต่อไปอีก นี้ก็เป็นสิ่งซึ่ง เราจะได้เห็นว่าอกุศลมีมาก แล้วอกุศลใหญ่ๆ ที่เห็นได้แล้ว เห็นชัดแล้วอย่างนี้ แล้วเราจะยังคงจะมีต่อไปหรือเปล่า แต่ถ้าจะให้ไม่มีเลย ได้จริงๆ ไม่ใช่เพียงปัญญาขั้นรู้ว่า นี่เป็นอุปกิเลส แต่ต้องรู้ถึงลักษณะของสภาพธรรม ที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน

    เพราะฉะนั้น พระธรรมแล้วแต่ว่าบุคคลที่ ได้ฟังพระธรรม หรืออ่านพระธรรมก็ตามแต่ มีปัญญาระดับไหน ถ้ามีปัญญาขั้นต้นๆ ก็เพียงแต่เห็นว่าเป็นอุปกิเลส ไม่ควรจะมี ถ้าเกิดเมื่อไรก็รู้ว่านี่ปรากฏ แล้วทั้งๆ ที่วันหนึ่งๆ กิเลสอื่นไม่ได้ปรากฏเลย แต่พอเกิดกิเลสระดับนี้ ไม่ว่าจะเป็นความตระหนี่ หรือมายา หรือว่าความริษยา ความโอ้อวด อาจจะไปสักครึ่งคำ ก็เกิดจะรู้สึกตัวได้ ใช่ไหมว่า นี่เป็นอุปกิเลส ที่แสดงให้เห็นชัดว่า ยังมีกิเลสที่ยังไม่ได้ดับ

    ปัญญาก็ต้องเจริญเป็นขั้นๆ แล้วกุศลต่างๆ ก็จะเพิ่มขึ้น แล้วกิเลสทั้งหลายจึงจะค่อยๆ ลดลง ไม่ใช่ว่ามุ่งหวัง ที่จะให้สติสัมปชัญญะ ระลึกลักษณะของสภาพธรรมอย่างเดียว แล้วก็ไม่เห็นอุปกิเลส ไม่เห็นกิเลสอื่นใดเลย อย่างนั้นก็ยาก ที่สามารถที่จะให้สติสัมปชัญญะเกิดได้ ถึงแม้ว่าจะเกิดบ้าง ก็ยากที่จะเจริญขึ้น หรือแม้ว่าเจริญขึ้นก็ยังยากที่จะสละความเป็นเรา ก็เป็นเรื่องยาก แต่ว่าถ้าขัดเกลาไปเรื่อยๆ แล้วก็มีทางฝ่ายกุศลเพิ่มขึ้น ก็จะไม่เป็นการยากลำบาก ในการที่สติสัมปชัญญะ จะเกิดแล้วก็รู้ลักษณะของสภาพธรรม

    ผู้ฟัง จากศึกษาก็ทราบว่า การที่จะทราบถึงความเกิดดับ ก็ต้องไปเป็นวิปัสสนา ขั้นถึงอุทยัพพยญาณ ซึ่งก็แสนไกล แต่แม้แต่ขั้นที่จะคิด ท่านอาจารย์ มันก็ยังไม่เกิดขึ้นเลย ระหว่าง ที่ว่ามันเกิดดับ นะ มันเป็นทุกข์ เป็นอนิจจัง สภาพขณะนั้นหายไปไหนไม่ทราบ ทั้งๆ ที่ฟังอยู่ตรงนี้ก็ รู้ รู้ นะ แต่พอมันเกิดมามันก็ไม่ช่วยอะไรได้เลย อย่างนี้ก็คงต้องฟัง ไปอีกมากๆ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ใช่ ประโยชน์ในขณะนั้นคือ เห็นความเป็นอนัตตาว่าบังคับบัญชาไม่ได้เลย แต่ก็อย่าพอใจเพียงคิดว่า เป็นอนัตตา แต่ต้องประจักษ์ลักษณะที่เป็นอนัตตาด้วย

    ผู้ฟัง มั่นคงอยู่ในขันติ โสรัจจะ ฝึกฝนตนอยู่ผู้เดียว ระงับตนอยู่ผู้เดียว ดับกิเลสตนอยู่ผู้เดียว ตรงนี้รู้สึกจะไปเกี่ยวกับเรื่องการที่เราจะเข้าใจธรรม ด้วยตัวของตัวเอง เป็นเรื่องการอบรมเจริญสติปัฏฐาน แล้วก็เหมือนกับผล ที่บอกว่ามี สุขเป็นวิบาก คือตรงนี้แหละ ถ้าใครอบรมแล้ว ถ้าตายแล้วอยากไปสวรรค์ ก็น่าจะเป็นเกี่ยวกับการอบรมเจริญสติปัฏฐาน หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ใช่ อันนี้คงต้องแยก ที่ว่าอีกข้อ ๑ อริยสาวก ย่อมตั้งทักษิณาทานอย่างสูง มุ่งถึงทักษิณาทานประเภทไหน ที่เป็นทักษิณาทานอย่างสูง ที่จะอำนวยผลดีเลิศมีสุขเป็นวิบาก เป็นทางสวรรค์ เพราะเหตุว่าไม่ว่าจะเป็นมารดาบิดา หรือว่าการที่จะบำบัดอันตรายต่างๆ หรือว่าเป็นผู้ที่ทำพลี แก่ญาติ แก่ผู้ที่มาเยี่ยมเยียน หรือว่าแก่ผู้ตาย หรือว่าแก่ราชการ แก่รัฐเป็นราชพลี แล้วก็ทำบุญอุทิศให้เทวดา ก็ยังมีทักษิณาที่สูงกว่านั้น คือการให้ทักษิณาทาน ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้เว้นไกลจากความมัวเมาประมาท อันนี้เป็นลักษณะของสมณพราหมณ์ ผู้เว้นไกลจากความมัวเมาประมาท มั่นคงอยู่ใน ขันติ โสรัจจะ ฝึกตนอยู่ผู้เดียวระงับตนอยู่ผู้เดียว ดับกิเลสตนอยู่ผู้เดียว ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มา ด้วยความขยัน ไม่ใช่เรา แต่ว่าเป็นทานที่ให้ในบุคคลนั้น

    วิทยากร เป็นคุณสมบัติของสมณพราหมณ์

    ผู้ฟัง อนุญาตสนทนากับคุณประเชิญ ความหมายที่ว่าทุกข์เป็นกำไร มาจากอะไร

    วิทยากร สำหรับผู้ที่ทำกุศล ท่านก็ได้กล่าวว่า ทำกุศลแล้วก็จะมีผลที่มากกว่า ตัวที่ได้ทำมา อย่างเช่นที่ท่านกล่าวว่า เวลาปลูกข้าวเมล็ดหนึ่งได้ข้าวตั้ง ๑ รวง คือบางท่าน ได้รับอานิสงส์ ตั้ง ๕๐๐ อัตภาพเป็นต้น เพราะฉะนั้น นัยยะตรงกันข้าม ถ้าผู้ที่ทำสิ่งที่ตรงกันข้าม คืออกุศลกรรมทั้งหลาย ก็ได้รับทุกข์ที่มากกว่า เหมือนกัน ตามตัวอย่างของ ใน ธรรมบท มีพราหมณ์คนหนึ่งที่เขาฆ่าแพะบูชายันต์ของเขา แพะนั้นก็จำได้ ว่าเคยทำลักษณะเหมือนกับพราหมณ์ คือฆ่าแพะบูชายันต์ ครั้งเดียว เขาก็ได้ มาถูกตัดคอตั้ง ๕๐๐ ชาติ แล้วก็เกิดในนรกอีก เพราะฉะนั้น ลักษณะนี้ก็เหมือนกับ มีทุกข์เป็นกำไรเหมือนกัน คือทำครั้งเดียวแต่ได้รับ ทุกขวิบาก มากมายเหลือเกิน อันนี้เป็นเรื่องของมีทุกข์เป็นกำไร ที่มากกว่าตัวเองนั่นเอง

    ท่านอาจารย์ จะสรุปอย่างนี้ได้ไหมว่า การทำพลีกรรม ๕ อย่าง เป็นการทำเจาะจง อย่างเช่น เรื่องของญาติ เรื่องของแขก หรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้วที่เป็นญาติ หรือพระราชา เป็นการเจาะจงสำหรับผู้นั้นๆ โดยเฉพาะ แต่ว่าการบำเพ็ญเป็นทักษิณาทานสำหรับ บูชา สมณพราหมณ์แล้วก็ เพื่อที่จะทำสิ่งที่ทำให้ได้ตัวเอง ได้รับในอนาคต จะแตกต่างกันอย่างนี้มากกว่า ใช่ไหม ถึงแม้ว่าการกระทำนั้นจะเหมือนกัน แต่ว่าเจตนาของผู้นั้นมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน

    ท่านอาจารย์ ใช่ เพราะเหตุว่า แม้ว่าจะใช้ทรัพย์เพื่อเลี้ยงตน เลี้ยงมารดา บิดา บุตร ภรรยา บ่าวไพร่ คนอาศัย เพื่อนฝูง ก็ยังเป็นเรา ใช่ไหม หรือว่าญาติเรา มารดาบิดาเรา พอถึงบำบัดอันตรายทั้งหลาย ก็เรา และครอบครัว พอถึงทำพลี ๕ ก็คือ ญาติพลี เป็นญาติ อติถิพลี ต้อนรับก็ คนที่มาหาเรา ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย ก็ผู้ตายที่เราคุ้นเคยรู้จัก ราชพลีก็ช่วยราชการ ก็ประเทศของเรา หรือว่าเกี่ยวข้องกับตัวเรา เทวดาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา อันนี้ก็ ผู้ที่มีคุณที่เกิดเป็นเทพ ก็สามารถที่จะอนุโมทนาในกุศลได้ แต่ว่าสูงสุดกว่า สิ่งต่างๆ บุคคลต่างๆ เหล่านั้นหรือว่าการกระทำทั้ง ๓ ประการข้างต้น ก็คือได้เข้าใจถูกต้อง ว่าผู้ใดเป็นผู้ที่ มั่นคงในขันติ โสรัจจะ ฝึกฝนตนเพื่อที่จะดับกิเลส เพราะฉะนั้น ต้องมีปัญญา จึงสามารถที่จะเห็นประโยชน์ หรือเห็นคุณของผู้นั้นได้ เพราะมิฉะนั้นก็จะอยู่ในเรื่องของครอบครัว หรือว่าตัวเอง แต่ว่าการที่เราเห็นประโยชน์ว่า บุคคลนั้นสามารถที่จะช่วยอื่นได้อีกมาก เมื่อผู้นั้นสามารถที่จะฝึกฝนตนแล้วก็ดับกิเลสแล้ว รู้จักหนทางแล้วก็สามารถที่จะอนุเคราะห์ ช่วยเหลือคนอื่นได้ เป็นประโยชน์ต่อไป เพราะฉะนั้น ก็ต้องเป็นผู้ที่มีปัญญาที่สามารถจะเห็น อย่างนี้ได้

    ผู้ฟัง ต้องมีปัญญา

    ท่านอาจารย์ ใช่

    ผู้ฟัง จะรู้อย่างนี้แล้วก็ ทำการบูชา

    ท่านอาจารย์ ถูกต้องในบุคคล คือสมณพราหมณ์ ผู้เว้นไกล จากความมัวเมาประมาท มิฉะนั้นก็เลือกไม่ถูก อาจจะเข้าใจผิดคิดว่าบุคคลนั้น บุคคลนี้เป็นพระอรหันต์ แต่ความจริงไม่ได้อบรมเจริญปัญญาเลย

    ผู้ฟัง ใน กัมมสูตรที่ ๕ บุคคลมืดมาแล้วมีมืดไปภายหน้าเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาลก็ดี ตระกูลช่างสานก็ดี ตระกูลพรานก็ดี ตระกูลช่างหนังก็ดี ตระกูลคนรับจ้างเทขยะก็ดี ทั้งยากจนขัดสนข้าวน้ำ ของกิน เป็นอยู่อย่างแร้นแค้น หาอาหาร และเครื่องนุ่งห่มได้โดยฝืดเคือง ซ้ำเป็นคนขี้ริ้วขี้เหร่ เตี้ยแคระ มากไปด้วยโรค ตาบอดบ้าง เป็นง่อยบ้าง กระจอกบ้าง เปลี้ยบ้าง ไม่ใคร่ได้ ข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และเครื่องประทีป อันนี้คือมืดมา

    ส่วนมืดไปนั้นคือ บุคคลนั้นยังประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจแล้ว กายแตกตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อย่างนี้แลบุคคลมืดมาแล้ว มีมืดไปภายหน้า ท่านอาจารย์ช่วยกรุณาอธิบายเพิ่มเติม

    ท่านอาจารย์ ใช่ ก็เข้าใจว่า ไม่ได้มืดมา ใช่ไหม ตาก็ไม่บอด

    ผู้ฟัง ผมยังไม่เข้าใจว่า มืดมา กับไปแล้วมืด มันจะเกี่ยวข้องกับการเข้าใจธรรม หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ก่อนอื่นต้องทราบ ว่ามีอะไรบ้าง ที่ไม่ใช่ธรรม ทุกอย่างเป็นธรรม ที่เรียกว่าเป็นคน ตาบอด ง่อยเปลี้ย เสียขา ความจริงก็คือธรรมนั่นเอง แล้วก็เป็นผลของอกุศลกรรมด้วย นี่คือมืดมา เป็นธรรมหรือเปล่า เป็นผลของอกุศลกรรม หรือเปล่า ถ้ากระทำทุจริตกรรม ทุจริตกรรม เป็นธรรมหรือเปล่า ก็เป็น เป็นอกุศลกรรม เพราะฉะนั้น ก็ต้องให้ผล อย่างที่กล่าวแล้วว่า เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

    ถ้าเป็นผลของอกุศลกรรม คืออกุศลกรรมนั้น เหมือนให้ผล ก็ต้องเป็นอย่างนั้น

    ผู้ฟัง ผู้ที่ว่ามืดมา หมายถึงว่า ไม่มีความเข้าใจในสภาพธรรม ตามที่พระพุทธเจ้าท่านทรงแสดง แล้วก็เวลาไปก็ยังไม่รู้เรื่องอีก ยังไม่สนใจในธรรมของพระพุทธเจ้าอีก อย่างนี้ถูกต้องไหม

    ท่านอาจารย์ ใช่ ก็พูดง่ายๆ ว่าเกิดมาไม่ดี แล้วยังทำอกุศลกรรมด้วย เพราะฉะนั้น เวลาตายไป เมื่ออกุศลกรรมนั้นให้ผล ก็ไปสู่อบายภูมิ เป็นเครื่องเตือนหรือเปล่า เพราะว่าทั้ง ๔ บุคคล แล้วแต่ว่าจะเป็น บุคคลใด ถ้าไม่ใช่บุคคลที่ ๑ คือมืดมา แล้วก็มืดไป ก็จะเป็นบุคคลที่ ๒ คือ มืดมาแต่ว่าสว่างไป บุคคลที่ ๓ นี้ก็เสียดาย สว่างมา แล้วก็มืดไป

    ผู้ฟัง แต่บุคคลทั้ง ๔ ประเภทนั้น หมายถึงว่าผู้ที่ทำกุศล หรืออกุศล แยกออกมา ใช่ไหม เป็นเรื่องของกุศล กับ อกุศลอย่างเดียว ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ พูดถึงการเกิดมา เป็นผลของอะไร แล้วก็เวลาที่จะจากไป เป็นผลของอะไร

    เพราะเหตุว่ามืดมา แต่ว่ามืดไปก็มี มืดมาสว่างไปก็มี หรือว่าสว่างมา แต่มืดไปก็มี หรือว่าสว่างมา สว่างไปก็มี เตือนหรือเปล่า จะว่าไม่เป็นธรรม นี่ไม่ได้ เตือนให้ไม่ทำอกุศลกรรม ถึงสว่างมาแล้ว ก็ไม่สมควรที่จะกระทำอกุศลกรรม เพราะว่าจะมืดไปได้ หรือว่าถึงแม้ว่าจะมืดมา ก็ไม่ควรที่จะกระทำอกุศลกรรม เพราะว่าจะไปมืด หรือมืดไปต่ออีก

    ผู้ฟัง ในเรื่องของความสว่าง น่าจะมีหลายระดับ ใช่ไหม เพราะว่าบางท่านอาจประพฤติสุจริต แต่ว่าปัญญาไม่ได้เจริญ ก็เกิดในสุคติโลกสวรรค์ได้ แต่ว่าบุคคลนั้นไม่ได้มีการเจริญขึ้นของปัญญา คือสว่างมาระดับ ๑ ถ้าระดับสูงสุดคือ บางท่านก็อบรมปัญญาจนถึง พระอนาคามีบุคคล ก็จะเกิดบนสุทธาวาท ก็คือสว่างที่สุด

    ผู้ฟัง สว่างไป แนวทางสว่าง ขั้นภาวนากับขั้นศีล อยากทราบตรงนี้ ถึงความแตกต่าง

    ท่านอาจารย์ ข้อความในอรรถกถามีว่า บุคคลชื่อว่ามีสว่างไปภายหน้า เพราะเข้าถึงความสว่าง ด้วยการเข้าถึงสวรรค์อีก ด้วยกายสุจริต เป็นต้น พระโสดาบันก็เกิดบนสวรรค์ได้ เพราะว่าเป็นผู้ที่ไม่ได้กระทำทุจริต ที่จะให้เข้าถึงอบายภูมิ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่แสดงว่ามาจากไหน แล้วไปไหนด้วยอะไร

    ผู้ฟัง เข้าใจในขั้นศีล ว่ากระทำในศีลต่างๆ ก็ เป็นทางสว่าง แต่ไม่เข้าใจขั้นภาวนาว่า ในทางเจริญสติปัฏฐาน จะเป็นขั้นสว่างเหมือนกันได้ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ขั้นศีลยังสว่าง แล้วขั้นสติปัฏฐาน มืดไม่ได้หรอก อันนี้ก็แสดงว่าทุกคนยังต้องไป ยังต้องมาอยู่เรื่อยๆ ขณะนี้เราอยู่ในภูมิมนุษย์ แต่ว่าเรามาสว่างหรือว่า มามืด ถ้ามามืดก็มีอกุศลวิบาก ที่เราจะต้องได้รับ อย่างรูปที่เป็นผลของอกุศลกรรม ก็จะเป็นตาบอด ง่อย เปลี้ย เสียขา หรือว่ามีความเป็นอยู่ที่ผืดเคือง นี่ก็เป็นเรื่องของอกุศลกรรมให้ผล

    เพราะฉะนั้น ก็ทราบว่า มาสู่โลกนี้ แล้วก็มามืดๆ เพราะเหตุว่า ไม่ได้มาอย่างสว่างด้วยกุศลกรรม แล้วเราก็มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ทุกวันไป แต่จะทราบไหม ว่าชีวิตของเรา ที่อยู่ในโลกนี้แต่ละวัน จะกลับไปมืดอีก คือไปสู่อบายภูมิ หรือว่าจะไปสู่สวรรค์อีกคือด้วยกุศลกรรมต่างๆ เพราะว่าที่นี่ใช้คำว่า ด้วยกายสุจริต เป็นต้น แสดงให้เห็นถึงขั้นต้นเลย คือ ขั้นของศีล แต่กุศลทั้งหลายก็ทำให้ไปสู่สวรรค์ หรือภพภูมิที่ดี ซึ่งสว่างๆ ในที่นี้ก็หมายถึงตรงกันข้ามกับอบายภูมิ ถ้าเป็นอบายภูมิก็มืด ถ้าเป็นสุคติภูมิก็สว่าง

    ผู้ฟัง ขอเรียนถามท่านอาจารย์ว่า คำว่า มืด ในที่นี้ ในพระสูตรนี้ และสว่าง ในพระสูตรนี้ หมายถึง แค่นรกกับสวรรค์เท่านั้น หรือไปถึงโลกุตตรด้วย

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 108
    25 มี.ค. 2567