พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 348


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๓๔๘

    ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐


    ท่านอาจารย์ สัมปฏิจฉันนะไม่ได้เกิดที่ปสาท โสตปสาท แต่เกิดที่หทยรูป ให้เห็นความวิจิตร เกิดที่นั่น แต่มีทาง ถ้าเป็นทางตา ก็รู้อารมณ์ต่อจากจักขุวิญญาณแล้วก็ดับ ไม่มีกำลังพอที่จะทำกิจอื่นใด นอกจากสัมปฏิจฉันนกิจเท่านั้น เหมือนกับจักขุวิญญาณ ทำกิจอื่นไม่ได้เลย ขณะนี้ที่เห็นเป็นจิตที่ไม่มีเหตุใดๆ เกิดร่วมด้วย เป็นผลของกรรมที่ทำให้ต้องเห็น เมื่อถึงกาลที่ อกุศลกรรมจะให้ผล สิ่งที่กระทบตาก็มีปัจจัยเกิดขึ้น เป็นอนิฏฐารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ แต่พอถึงกาลที่จะให้จิตเห็นเกิดขึ้น เมื่อกระทบแล้ว ภวังค์ไหว ภวังคุปัจเฉทะเกิดต่อ ดับไป ปัญจทวาราวัชชนะรำพึงถึงแล้วก็ดับไป แล้วจักขุวิญญาณอกุศลวิบากเกิดขึ้นเห็นที่จักขุปสาท แล้วก็ดับ นี่คือชีวิตแต่ละบุคคลตามความเป็นจริง เมื่อดับไปแล้ว กรรมก็ทำให้สัมปฏิจฉันนจิตเกิดต่อ รู้อารมณ์เดียวกัน อาศัยทวารเดียวกัน แต่เกิดที่หทยวัตถุ ไม่ได้เกิดที่จักขุปสาท และสัมปฏิจฉันนะทำกิจอื่นไม่ได้เลยทั้งสิ้น ทำได้กิจเดียว คือ สัมปฏิจฉันนกิจ ดับแล้ว เป็นปัจจัยให้วิบากซึ่งเป็นผลของกรรมเดียวกันเกิดต่อ ถ้าเป็นอกุศลกรรม จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ พวกนี้เป็นอกุศลวิบาก สัมปฏิจฉันนะเป็นวิบาก แล้วจิตที่เกิดต่อจากสัมปฏิจฉันนะก็เป็นวิบากประเภทเดียวกัน คือ เมื่อเป็นอกุศลวิบาก ก็อกุศลวิบากโดยตลอด จนกระทั่งถึงจิตที่ทำกิจนี้ คือ พิจารณาต่อจากสัมปฏิจฉันนะเกิดขึ้น มีเจตสิกเกิดดับเท่ากัน เกิดที่หทยวัตถุเหมือนกัน แต่ความต่าง สัมปฏิจฉันนะ แม้เกิดที่หทยวัตถุ ก็เป็นขณะแรกที่เกิดยังไม่มั่นคง เหมือนกับสันตีรณะ ซึ่งก็เกิดที่เดียวกับสัมปฏิจฉันนะ แต่เป็นขณะที่ ๒ ไม่ใช่ขณะแรก วิบากที่เป็นอกุศลวิบากจิตไหนสามารถจะทำปฏิสนธิกิจ ก็คือสันตีรณะเท่านั้น จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ เพียงทำกิจของตน เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสเท่านั้นเอง ทำกิจอื่นไม่ได้เลย สัมปฏิจฉันนะที่เกิดต่อก็ทำกิจไม่ได้ แต่สันตีรณจิตอกุศลวิบาก ทำได้ ๕ กิจ เพราะว่ากรรมทำให้อกุศลวิบากเกิดขึ้นเพียง ๗ ประเภท ไม่มากกว่านั้นเลย

    นี่คือความต่างกันของกรรม อกุศลกรรมทั้งหลายจะมากน้อย หนักหนาสาหัสสักเท่าไร ก็ทำให้อกุศลวิบากเกิดขึ้น ๗ แต่พอถึงกุศลวิบาก มากกว่านั้น จะยิ่งวิจิตรขึ้นได้ ตามการสะสม แต่คำถามที่ว่า เมื่อเป็นอกุศลวิบากที่ทำกิจปฏิสนธิ ทำไมถึงต่างกัน ขณะที่ทุกคนกำลังฟังธรรมเดี๋ยวนี้ เป็นจิตประเภทเดียวกัน หรือไม่ กุศล โสมนัส หรืออุเบกขา ก็ต่างกันแล้ว แล้วยังประมวลมาซึ่งกรรมที่ได้เคยฟัง เข้าใจมากน้อยแค่ไหน ที่สามารถทำให้ขณะนี้สามารถเข้าใจสิ่งที่ได้ยินได้ฟังด้วยกันหมด ในครั้งพุทธกาล ผู้ที่ฟังแล้วรู้แจ้งอริยสัจธรรม เป็นพระโสดาบันก็มี ผู้ที่ฟังแล้วถึงความเป็นพระอรหันต์ก็มี ผู้ที่ฟังแล้วไม่เข้าใจถึงขั้นวิปัสสนาญาณก็มี กำลังฟังด้วยกัน

    สิ่งที่มีจริงๆ ที่สะสมมาในจิตแต่ละ ๑ ขณะ ก็มีความวิจิตรต่างกัน เวลาที่กุศลกรรมให้ผล หรืออกุศลกรรมให้ผล ไม่ใช่เพียงแต่เฉพาะประเภท เมื่อเป็นอุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบากด้วยกัน เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ทำไมต่างกันไป ก็ตามการสะสมซึ่งมีอยู่ในจิตแต่ละขณะที่วิจิตร ไม่เหมือนกันเลย แต่ละคน คือ ๑ เท่านั้น จะเหมือนกันไม่ได้เลย รวมทั้งแสนโกฏิกัปป์ และแม้ในขณะนั้นด้วย จึงทำให้แม้ปฏิสนธิเป็นสัตว์เดรัจฉาน แต่ความวิจิตรที่ประมวลมา ก็ทำให้ไม่รู้เลยว่า ชาติต่อไปจะจุติแม้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน จะมีรูปร่างต่างกันอย่างไร เป็นผีเสื้อ ปีกผีเสื้อเหมือนกัน หรือไม่

    นี่ก็แสดงให้เห็นความวิจิตรอย่างยิ่ง ธรรมก็คือว่า เป็นธรรม ซึ่งเป็นอนัตตา แล้วแต่จิตประเภทไหนเกิดขึ้นทำกิจอะไรก็ไม่มีใครสามารถบังคับบัญชาได้ ถ้าเข้าใจความละเอียดอย่างนี้ ไม่สงสัยเลยใช่ หรือไม่ เกิดมาเป็นมนุษย์ก็ไม่เหมือนกัน เกิดเป็นเทพธิดาก็ยังต่างกันไปได้

    ผู้ฟัง ฟังแล้วเหมือนกับพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ ปัญญาของท่านไม่ทราบว่าจะพูดว่าอย่างไร

    ท่านอาจารย์ มิฉะนั้นจะไม่เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ผู้ฟัง เพราะถ้าท่านไม่ตรัสรู้ เราก็จะไม่มีวันรู้เลยว่า นามธรรมที่ไม่มีรูปร่างหน้าตาจะละเอียดมากอย่างนี้ โชคดีที่ได้มาเรียน และพอรู้บ้าง

    ผู้ฟัง ชีวิตในภูมิที่มีขันธ์ ๕ จะต้องมีจิตที่มีทั้งกุศล และอกุศลใช่ หรือไม่

    ท่านอาจารย์ จิตมี ๔ ชาติ

    ผู้ฟัง จะมีครบทั้ง ๔ ชาติใช่ หรือไม่

    ท่านอาจารย์ เกิดขึ้น ๑ ขณะ แล้วแต่ว่าจะเป็นอะไร ๑ ใน ๔ เกิดขึ้นเป็นกุศล ขณะนั้นจะเป็นอกุศล เป็นวิบาก เป็นกิริยาไม่ได้ เกิดขึ้นเป็นวิบาก ก็จะเป็นกุศลไม่ได้ เกิดขึ้นเป็นอะไรก็ต้องเป็นอย่างนั้น ๑ ใน ๔ ชาติ

    ผู้ฟัง ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ใช่ หรือไม่

    ท่านอาจารย์ จิตเกิดที่ไหนก็ตามแต่ ภูมิไหนก็ตามแต่ จิตก็มี ๔ ชาติ ต้องเข้าใจ ๔ ชาติว่า คืออะไรก่อน

    ผู้ฟัง ชาติวิบาก ชาติกุศล ชาติอกุศล ชาติกิริยา

    ท่านอาจารย์ ในนรกมีกุศล หรือไม่

    ผู้ฟัง ต้องมี

    ท่านอาจารย์ จะเกิด หรือไม่เกิดอีกอีกเรื่องหนึ่ง แต่เกิดได้ หรือไม่ ในเมื่อสะสมมา จิต ๔ ชาติที่สงสัย ก็คือจิตต้องเกิดเป็นกุศล หรืออกุศล หรือวิบาก หรือกิริยา ในภูมิมนุษย์ก็พอจะเข้าใจได้ กุศลจิตมี หรือไม่

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ วิบากจิตมี หรือไม่

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ กิริยาจิตมี หรือไม่

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ มีทั้งกุศล มีทั้งอกุศล มีทั้งวิบากซึ่งเป็นผล และมีทั้งกิริยา แล้วสงสัยอย่างไร ต้องเข้าใจในเรื่อง ๔ ชาติ และจะรู้ว่า ที่ไหนก็ตาม ไม่ได้จำกัด ถ้าเป็นพระอรหันต์เมื่อไร เมื่อนั้นจึงจะไม่มีกุศล และอกุศล มีแต่วิบากกับกิริยา

    ผู้ฟัง อย่างสัตว์เดรัจฉานที่เรามองเห็น

    ท่านอาจารย์ เกิดเป็นคน ก็เลยสงสัยเรื่องสัตว์ ใช่ หรือไม่ ถ้าเกิดเป็นสัตว์ สงสัยเรื่องคน แต่จริงๆ เรากำลังพูดถึงเรื่องจิต เจตสิก รูป ซึ่งเป็นปรมัตถธรรม เรากล่าวถึงจิต ไม่ว่าจะเกิดที่ไหน บนบก ในน้ำ ใต้ดิน หรือบนสวรรค์ หรือที่ไหนก็ตามแต่ จิตเกิด จิตเป็นจิต เปลี่ยนจิตไม่ได้ และจิตนั้นเป็นชาติอะไร คือเป็นกุศลก็เป็นกุศล เป็นอกุศลก็เป็นอกุศล เป็นผล คือเป็นวิบาก ก็เป็นวิบาก เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่วิบาก ก็เป็นกิริยา

    ผู้ฟัง อย่างนกเห็น วิถีจิตที่นกเห็นกับของคนก็เหมือนกัน ใช่ หรือไม่

    ท่านอาจารย์ แล้วใจเหมือนกัน หรือไม่ หลังจากที่เห็นแล้ว จิตเห็นต้องดับ แต่ในจิตเห็นนั้นสะสมอะไรมาแค่ไหน พระอรหันต์มีจิตเห็น หรือไม่

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ หลังจากที่จิตเห็นดับแล้ว เป็นอย่างไร เป็นอกุศลได้ไหม เป็นกุศลได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้ หลังจากเห็นก็เป็นกิริยา

    ผู้ฟัง ถ้าเราจะศึกษาเรื่องของจิต ชื่อ “สันตีรณะ” ทำกิจหลายกิจ และยังเป็นชื่อของจิตด้วย และยังเป็นชาติวิบากใช่ หรือไม่

    ท่านอาจารย์ คุณประภาสมีหน้าที่เดียว หรือมีหลายหน้าที่

    ผู้ฟัง วันๆ เยอะมากเลย

    ท่านอาจารย์ เปลี่ยนชื่อไปเรื่อยๆ หรือชื่อคุณประภาส แต่ทำกิจนั้นบ้าง ทำกิจนี้บ้าง ก็แล้วแต่ว่าจิตไหนที่สมควรจะเป็น ณ ที่ทำ ที่สามารถใช้ชื่อนั้นได้ อย่างสันตีรณจิตทำสันตีรณกิจได้ ตัวจริงคืออย่างนั้น เรียกอะไรก็ได้

    ผู้ฟัง ถ้าทำกิจปฏิสนธิเมื่อไร ภวังค์เมื่อไร จุติจิตเมื่อไร ก็ยังเป็นจิตนั้น ก็กระจ่างขึ้น ซึ่งเมื่อเจอคนใบ้ บ้า บอด หนวกแต่กำเนิด ชอบบอกว่านี่เป็นผลของอกุศล

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง หรือเปล่า

    ผู้ฟัง พอมาศึกษาเรื่องของปฏิสนธิ ก็เลยเป็นกรรมที่ให้ผลต้องเป็นฝ่ายกุศล กุศลเมื่อให้ผลเป็นวิบาก ผมก็เลยจำวิบากอีกประเภทหนึ่งว่า ถ้าเป็นมนุษย์ ต้องเป็นผลของกุศลกรรมเท่านั้น ใช่ หรือไม่

    ท่านอาจารย์ เราพยามยามเอาตำรามาคิด แต่ถ้าเราพิจารณาตามความเป็นจริง เราจะเข้าใจมากกว่า เช่น เห็นสุนัขน่ารัก ปฏิสนธิจิตเป็นอะไร เป็นผลของกรรมอะไร

    ผู้ฟัง ต้องเป็นอกุศลอย่างเดียว

    ท่านอาจารย์ เป็นผลของอกุศลกรรม ปฏิสนธิจิตเป็นอกุศลวิบาก จะเป็นกุศลวิบากไม่ได้เลย เวลาเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผลของกรรมอะไร

    ผู้ฟัง ถ้าเป็นมนุษย์ ต้องเป็นผลของกรรมดี

    ท่านอาจารย์ ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตามแต่ แต่ผลก็มีมากน้อยต่างกัน บางคนก็เกิดมามั่งมีเพียบพร้อมทุกอย่าง บางคนก็เกิดมาลำบาก จนกระทั่งถึงตาบอดก็ได้ พิการก็ได้ แต่ต้องตั้งแต่กำเนิดจึงจะแสดงว่าถูกเบียดเบียนด้วยอกุศลกรรม ปฏิสนธิจิตต้องต่างกับกรรมที่ไม่ได้ถูกเบียดเบียนด้วยอกุศลกรรม

    ผู้ฟัง จักขุปสาทเป็นผลของกรรม ก็อาจจะโดนอกุศลเบียดเบียน

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่หลังปฏิสนธิ แต่ว่าปฏิสนธิจิตนั้นเป็นกุศลอย่างอ่อน อกุศลกรรมจึงเบียดเบียน ทำให้ไม่มีตา จักขุปสาทตั้งแต่กำเนิด ซึ่งไม่มีใครบอกได้ ตั้งแต่กำเนิด หมายความว่ากรรมกำหนดให้ปฏิสนธิจิตเป็นอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก แต่ละกรรมก็ละเอียดมาก เศรษฐีก็พิการตั้งแต่กำเนิดได้ ใช่ หรือไม่

    อ.ธิดารัตน์ คำถามนี้ก็มีคนสงสัยมากว่า ทำไมสันตีรณะทำกิจได้มากกว่า สัมปฏิจฉันนะ เพราะสัมปฏิจฉันนะเกิดต่อจากทวิปัญจวิญญาณ แล้วทำกิจเพียงรับอย่างเดียว แต่พอถึงสันตีรณะที่มีเจตสิกเท่าๆ กัน แต่ทำไมถึงได้ทำกิจได้ถึง ๕ กิจ

    ท่านอาจารย์ เอาชื่อออกหมดเลย ธรรมเป็นอย่างนี้ คือ สัมปฏิจฉันนะ ทำไมชื่อนี้ ยังไม่ต้องตั้งชื่ออะไรเลยก็ได้ แต่เป็นจิตที่เกิดต่อจากทวิปัญจวิญญาณ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าไร เมื่อทำกิจต่อจากจักขุวิญญาณ จะเรียกอะไรให้เข้าใจว่า หมายถึงจิตนี้ที่ทำกิจต่อจากทวิปัญจวิญญาณทั้ง ๑๐ ไม่มีชื่อก็ไม่รู้จะพูดอย่างไร เรียกอย่างไรให้เข้าใจได้ จึงต้องมีชื่อ เมื่อทำกิจรับรู้อารมณ์ต่อจากทวิปัญจวิญญาณ ก็เรียกตามภาษาบาลี สัมปฏิจฉันนจิต เพราะทำสัมปฏิจฉันนกิจ มีหน้าที่นี้ เหมือนกับจักขุวิญญาณ ไปทำหน้าที่อื่นได้ หรือไม่ นอกจากเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส จักขุวิญญาณเห็น ได้ยิน ได้ หรือไม่ เมื่อไม่ได้จึงชื่อว่า จักขุวิญญาณ เป็นธาตุชนิดหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นเห็น ทำกิจอื่นไม่ได้เลย แสดงความต่างของจิตแต่ละประเภท แม้ว่าสัมปฏิจฉันนะก็รู้อารมณ์เดียวกันกับจักขุวิญญาณ แต่ไม่ได้ทำทัสนกิจ

    นี่ก็คือเราจะรู้ความละเอียดในเรื่องของจิตซึ่งเป็นชาติต่างๆ จิตที่เป็นกุศลอกุศล ไม่ใช่วิบาก และเมื่อเป็นวิบากแล้ว ซึ่งเป็นผลของกุศล และอกุศล กุศล และอกุศลแต่ละประเภทจะทำให้วิบากจิตได้เท่าไร ตามเหตุตามผล ตามปัจจัย และเมื่อเกิดแล้วทำกิจอะไร ก็ก้าวก่ายสับสนกันไม่ได้

    แม้แต่จะใช้คำว่า “สัมปฏิจฉันนะ” ก็หมายความถึ งจิตที่เกิดต่อจากทวิปัญจวิญญาณซึ่งดับไปแล้วทางหนึ่งทางใดก็แล้วแต่ จิตที่เกิดต่อนั้นก็เรียกว่า สัมปฏิจฉันนะ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่านี้

    จิตที่เกิดต่อไม่ได้ทำสัมปฏิจฉันนกิจ แต่ละจิตก็มีกิจเฉพาะของตนๆ สัมปฏิจฉันนะไม่ได้ทำหน้าที่สันตีรณะ สันตีรณะก็ไม่ได้ทำหน้าที่สัมปฏิจฉันนะ จิตที่ทำหน้าที่รับอารมณ์สืบต่อจากทวิปัญจวิญญาณ ชื่อนี้เพราะอย่างนี้ เพราะรับต่อทันที แล้วก็ดับไป สันตีรณะเป็นวิบาก เป็นผลของกรรมเดียวกันเลยที่ทำให้ไม่มีแต่เฉพาะจักขุวิญญาณ และสัมปฏิจฉันนะเกิด มีจิตที่เป็นวิบากอีก ๑ ขณะ ซึ่งเกิดรับต่อจากสัมปฏิจฉันนะ แต่ไม่ได้ทำสัมปฏิจฉันนกิจ ทำสันตีรณกิจ นี่กิจหนึ่งแล้ว ของจิตประเภทนี้ มีเจตสิกเกิดเท่านี้ และเกิดต่อจากสัมปฏิจฉันนะ แต่ความต่างของสัมปฏิจฉันนะ และสันตีรณะ ซึ่งเป็นวิบากด้วยกัน มีเจตสิกเกิดด้วยกัน แต่จิตหนึ่งทำได้เฉพาะ สัมปฏิจฉันนกิจ อีกจิตหนึ่งนอกจากทำสันตีรณกิจ ยังทำกิจอื่นได้ คือ ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ และตทาลัมพนะ

    นี่คือลักษณะความเป็นไปของธาตุ หรือของธรรมนั้นๆ หายสงสัย หรือยัง

    อ.นิภัทร เรียนธรรมอย่าคิดมาก ถ้าคิดมากแล้วฟุ้งซ่าน คิดอยู่ในกรอบแห่งพระธรรมที่ท่านว่าไว้ เราศึกษาก็ต้องศึกษาตามพระธรรมวินัยที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ของแน่นอนมันมี พีชนิยาม ความแน่นอนของพืช อย่างต้นทานตะวัน ทำไมดอกถึงหันหน้าไปทางตะวัน มะม่วง ทำไมถึงไม่เป็นมะนาว ความแน่นอนของพืช เขาเป็นพืชชนิดไหน ก็เป็นอย่างนั้น เราจะไปจัดแจงให้เป็นไปตามที่เราคิด มันก็ฟุ้งซ่าน นิยามมี พีชนิยาม จิตนิยาม ความแน่นอนของจิต จิตอย่างนี้ทำหน้าที่อย่างนี้ๆ แน่นอนตายตัวอยู่แล้ว เราอย่าไปคิดให้มันผิดแผกไป อุตุนิยาม ความแน่นอนของฤดู ทำไมหนาว ทำไมร้อน ไม่น่าจะหนาว ไม่น่าจะร้อนเลย กรรมนิยาม ความแน่นอนของกรรม กรรมดีก็ได้ดี กรรมชั่วก็ได้ชั่ว และธรรมนิยาม ความแน่นอนของธรรม ธรรมทั้งหลายมีความเกิดขึ้นมาแล้วก็แตกสลายไปเป็นธรรมดา เป็นเรื่องของธรรมดา ที่จะต้องเป็นไปอย่างนั้นตามลักษณะของเขา ถ้าเราชื่อมาวิจารณ์กัน จะทำให้เราสับสน การเรียนธรรมของเราก็จะวุ่นวาย เมื่อวุ่นวายก็ฟุ้งซ่าน ฟุ้งซ่านหนักๆ เข้า จิตก็จะวิปริต บางคนบอกว่าเรียนอภิธรรม ทำให้เกิดจิตวิปลาส คิดมากกว่าตำรา

    อ.กุลวิไล ท่านอาจารย์เคยบอกว่า ให้เราฟัง และเข้าใจในสิ่งที่ฟัง เพราะถ้าหากเราไปคิดเอง ก็จะไม่เข้าใจในขณะที่กำลังฟังอยู่ เพราะว่าท่านอาจารย์แสดงในส่วนของพระธรรมที่ทรงแสดงไว้ ก็ทำความเข้าใจในพระธรรมที่ทรงแสดงไว้

    ผู้ฟัง เรียนถามอาจารย์วิชัย ยังไม่กระจ่างเรื่องภูมิของจิตซึ่งมี ๔ ภูมิ ซึ่งเป็นระดับของจิต กับภพภูมิที่สัตว์เกิด

    อ.วิชัย ถ้ากล่าวถึงจิต จิตไม่ได้มีประเภทเดียว จิตที่เป็นไปในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ทั้งหมดที่เป็นไปในกาม เรียกว่ากามาวจรจิต คือ จิตที่ยังท่องเที่ยวไปในกาม ก็มีทั้งอกุศลจิต และมหากุศลจิต และเป็นชาติวิบาก ชาติกิริยาก็มี จิตที่เป็นไปเหล่านี้ทั้งหมด เป็นกามาวจรจิต คือ เป็นภูมิที่เป็นกามาวจรภูมิ

    ส่วนบุคคลที่สามารถอบรมความสงบของจิต ที่สามารถข่มนิวรณธรรมทั้งหลาย ได้แก่ กามฉันทะ เป็นต้น จนถึงจิตอีกระดับหนึ่ง ที่ไม่ใช่กามาวจรจิต เจริญกุศลขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงจิตอีกระดับหนึ่ง เป็นรูปาวจรจิต จิตนั้นไม่ได้เป็นไปในกาม ไม่ได้เป็นไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะแล้ว แต่เป็นไปในอารมณ์ที่เป็นบัญญัติกัมมัฏฐาน นี่ก็เป็นจิตอีกภูมิหนึ่ง

    หลังจากที่ได้รูปาวจรจิต ก็อบรมความสงบให้ยิ่งขึ้นไปอีก จนบรรลุถึงจิตอีกภูมิหนึ่ง เป็นอรูปาวจรภูมิ มีอากาสานัญจายตนะ เป็นต้น

    ส่วนบุคคลที่ได้บรรลุมรรคผล จิตขณะนั้นก็เป็นโลกุตตรภูมิ ตั้งแต่โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล จนถึงอรหัตมรรค อรหัตผล จิตเหล่านี้เป็นโลกุตตรจิต เพราะเหตุว่าไม่ใช่เป็นกามาวจรจิต ไม่ใช่เป็นรูปาวจรจิต ไม่ใช่เป็นอรูปาวจรจิต แต่เป็นโลกุตตรจิต เพราะฉะนั้นจิตก็มีความหลากหลาย ก็คือเป็น ๔ ภูมินี้

    ส่วนภูมิเป็นที่เกิดของสัตว์ เช่นในขณะนี้เป็นกามภูมิ มนุษย์ก็เป็นกามภูมิ ซึ่งกามภูมิจะมีทั้งหมด ๑๑ ภูมิ ก็หลากหลายออกไป ได้แก่ อบายภูมิ ๔ มนุษย์ ๑ สวรรค์ ๖ และมีรูปพรหมภูมิ สูงสุดก็เป็นอรูปพรหมภูมิ เป็นภูมิที่เกิดของสัตว์

    ผู้ฟัง เมื่อมีวิถีจิตแล้ว พระพุทธองค์ก็ยังมีปฏิจจสมุปบาทอีก ๒ อย่างนี้แตกต่างกันอย่างไร และใช้ประโยชน์กันอย่างไร

    ท่านอาจารย์ การฟังธรรม เพื่อเข้าใจสิ่งที่กำลังมี กำลังปรากฏ โดยที่ไม่เคยเข้าใจมาก่อนเลย เรื่องปฏิจจสมุปบาทก็มีอวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป พวกนี้ทั้งหมดก็ได้ยินได้ฟังกันบ่อย สำหรับบางท่าน แต่ก็ยังไม่รู้ความเป็นจริงของคำที่เรากล่าวถึงเมื่อสักครู่นี้ในขณะนี้ การที่จะเข้าใจธรรม หรือศึกษาธรรม ก็ให้ทราบว่า เพื่อเข้าใจสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ โดยที่ยังไม่ถึงชื่อ เช่น อายตนะ หรือปฏิจจสมุปบาท แต่จากการที่เราเกิดมาแล้วเราเข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ เช่น จิต หรือยัง

    ทุกคนมีจิต ใช่ หรือไม่ รู้จักจิต อย่างที่กล่าวถึงเมื่อสักครู่นี้ ภวังคจิต วิถีจิต และวิถีจิตแรก ก็แสดงให้เห็นว่า ขณะนี้จิตที่เราไม่เคยรู้เลย กำลังเกิดขึ้นเป็นไป โดยที่ว่า ถ้า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงแสดงให้เห็นการเป็นธรรมของจิต เราก็จะยึดถือจิตนั้นว่าเป็นเรา วันหนึ่งๆ เมื่อเกิดมาแล้ว ที่จะไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึก มี หรือไม่ เป็นไปไม่ได้เลย แต่ไม่รู้ตามความเป็นจริง

    วันหนึ่งๆ เราคิดเรื่องอื่นมาก แต่เรามาคิดเรื่องภวังคจิตกับวิถีจิตบ้าง หรือเปล่า ทั้งๆ ที่ตลอดวันก็เป็นภวังคจิต และวิถีจิต

    ภวังคจิต หมายถึง จิตที่ไม่รู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ขณะที่ภวังค์เกิดดับสืบต่อเป็นระยะเวลายาวนานที่พอจะรู้ได้ ก็คือในขณะที่กำลังหลับสนิท ซึ่งทุกคนก็หลับ และไม่รู้ความเป็นไปว่า หลับแล้วตื่นขึ้น มีการรู้อารมณ์ทางไหน แต่พระผู้มีพระภาคก็ทรงแสดงให้เราไม่ได้คิดถึงเรื่องอื่น มิฉะนั้นแล้วจะไม่มีการฟังธรรม แต่เวลาที่เราไม่ฟังธรรม เราคิดเรื่องอื่นหมดเลยทั้งวัน แต่ขณะที่ฟังธรรมให้ทราบว่า กำลังฟังสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ เพื่อจะได้เข้าใจตามความเป็นจริงว่า ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ว่าจะคำอะไรทั้งหมด ปฏิจจสมุปบาท อวิชชา สังขาร ผัสสะ เวทนา พวกนี้เป็นธรรมที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน แต่ไม่ใช่เราฟังเพียงเรื่องราว แต่กำลังเริ่มที่จะเข้าใจว่า ชีวิตจริงๆ จากภวังค์ ไม่รู้อารมณ์อะไรเลย แล้วก็มีอารมณ์ปรากฏให้รู้ ใครรู้ ไม่ตัวตน ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล แต่มีนามธาตุ ซึ่งเป็นธาตุรู้ เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้ ขณะที่ฟังอย่างนี้มีแล้ว สภาพธรรมกำลังปรากฏให้รู้ ให้เข้าใจว่า ขณะนี้สิ่งใดก็ตามที่ปรากฏ เพราะมีธาตุรู้ที่กำลังรู้สิ่งนั้น เช่น เห็น เราใช้คำว่า เห็น เพราะเหตุว่าต้องอาศัยตา แล้วก็มีสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น คือ เริ่มที่จะเข้าใจว่า เห็นขณะนี้เป็นธรรม นี่คือประโยชน์ของการฟัง แทนที่จะคิดเรื่องอื่น ขณะที่ฟังธรรม ก็มีธรรมปรากฏ


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 167
    15 ม.ค. 2567