ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1108


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๑๑๐๘

    สนทนาธรรม ที่ บ้านไม้ขาว

    วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐


    ท่านอาจารย์ สั้นบ้าง เหลี่ยมบ้าง ใช่ไหม ปรากฏทางตาใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ พร้อมกับลักษณะที่แข็ง ก็เลยเข้าใจว่าสิ่งที่แข็งอย่างนี้ รูปร่างอย่างนี้เป็นโต๊ะ อันนี้ไม่ใช่โต๊ะแล้ว เป็นยา เพราะฉะนั้นทั้งหมดเป็นแต่ละหนึ่ง ถ้าไม่มารวมกันจะไม่มีการปรากฏว่าเป็นดอกไม้หรือเป็นพวงมาลัย แค่ดอกไม้ดอกเดียว แตกย่อยให้ละเอียดยิบ เพราะมีอากาศธาตุแทรกคั่น อะไรก็ตามที่เราคิดว่าหนา แท่น ทึบ เที่ยง ความจริงมีอากาศธาตุแทรกอย่างละเอียดยิบ พร้อมที่จะแตกย่อยทำลายได้ ทำลายภูเขาให้แตกได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่น่าจะได้

    ท่านอาจารย์ ไม่น่าจะได้ เมืองทั้งเมืองยังราบไปเลยลูกระเบิดลูกเดียว เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราคิดว่าทำลายไม่ได้ แต่ความจริง

    ผู้ฟัง ดิฉันคิดว่าตัวดิฉันไปทำลาย

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ พูดถึงสิ่งนั้นจะถูกทำลายได้ไหม

    ผู้ฟัง ได้

    ท่านอาจารย์ ได้ เพราะฉะนั้นเราจะต้องเข้าใจอย่างละเอียดว่า สิ่งที่เราเข้าใจว่าเที่ยง มั่นคง ใหญ่ แน่น ไมโครโฟนนี่ทำลายไม่ได้หรอกลองสิทำไมจะไม่ได้ เพราะมีอากาศธาตุแทรกคั่นละเอียดยิบ พอทุกอย่างแตกย่อยออกไปหมด เหลือสิ่งที่เล็กที่สุดมองไม่เห็น แต่ก็มี เพราะฉะนั้นเราเห็นโต๊ะ เราเห็นฝุ่นไหม

    ผู้ฟัง ไม่เห็น

    ท่านอาจารย์ แล้วทำไมเรียกว่าฝุ่น

    ผู้ฟัง ก็ถูกจำ

    ท่านอาจารย์ จำอย่างไรถ้าไม่เห็น ที่โต๊ะมีฝุ่นไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ เพราะเห็นใช่ไหม เพราะฉะนั้นเล็กที่สุด ต้องมีรูป สิ่งที่รวมกัน และไม่รู้อะไร เริ่มเข้าใจว่าธรรมคือสิ่งที่มีจริง คำแรก แต่สิ่งที่มีจริงหลากหลายมากไม่ใช่มีอย่างเดียว เพราะฉะนั้นจึงมีธรรมประเภทต่างๆ ถ้าไม่เกิดก็ไม่มี ค่อยๆ เป็นคนที่มีเหตุผล มีความเข้าใจเป็นปัญญาของตัวเอง ไม่ใช่ว่าฟังแล้วเผิน วันนี้มาฟังธรรมแต่ไม่รู้หรอกเขาพูดเรื่องอะไร แต่ฟังธรรมต้องรู้ว่าธรรมคือสิ่งที่มีจริง ถ้าไม่มีการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีใครรู้จักธรรมเลย เพราะธรรมเป็นความจริงที่สุด อย่างแข็งจะให้เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เป็นได้อย่างเดียวคือแข็ง เล็กเท่าไหร่ก็แข็งใช่ไหม เพราะฉะนั้นแข็งเป็นแข็งไม่ว่าจะใหญ่เท่าไหร่ หรือเล็กเท่าไหร่ ก็มีลักษณะที่แข็ง แล้วเย็นล่ะ

    ผู้ฟัง เย็นก็คือเย็น

    ท่านอาจารย์ เย็นก็คือเย็น แล้วหวานล่ะ

    ผู้ฟัง ก็คือหวาน

    ท่านอาจารย์ เปลี่ยนเป็นเค็มไม่ได้

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เสียงเปลี่ยนเป็นร้อนได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ทุกอย่างแต่ละหนึ่งใช่ไหม มีจริงๆ ใช่ไหม เป็นธรรมทั้งหมด เริ่มเข้าใจว่าธรรมคือสิ่งที่มีจริง ทุกอย่างทั้งหมดที่มีจริง มีลักษณะเฉพาะแต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นแต่ละหนึ่งธรรมไม่ปะปนกันเลย เพราะฉะนั้นที่ว่าเป็นคน มีธรรมไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ มีอะไรบ้าง

    ผู้ฟัง ก็มีหู มีตา มีแขน คือมาประกอบกันเป็น

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีอ่อนหรือแข็งเลย จะมีตัวไหม

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า กระทบคิ้ว กระทบตา กระทบหูจมูกลิ้นกาย แต่ก็คือแข็ง เริ่มเข้าใจว่าที่ว่าเป็นเราแท้ที่จริงก็คือแข็ง ใช่ไหม แข็งที่โต๊ะเป็นเราหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่เป็น

    ท่านอาจารย์ ไม่เป็นเรา ใช่ไหม แต่เป็นแข็ง แข็งต้องเป็นแข็ง ดอกไม้แข็งไหม

    ผู้ฟัง ไม่แข็ง

    ท่านอาจารย์ อ่อนไหม

    ผู้ฟัง ไม่อ่อน

    ท่านอาจารย์ เป็นเราหรือเป็นดอกไม้

    ผู้ฟัง เป็นดอกไม้

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้นก็ไม่มี แต่สิ่งที่เกิดขึ้นหลากหลายมาก เพราะฉะนั้นถ้าเป็นประเภทใหญ่ๆ ไม่ว่าจะโลกไหน โลกนี้ สวรรค์ พรหมโลก เทวโลก จักรวาล ดาวนพเคราะห์ พระจันทร์อะไรทั้งนั้นทั้งหมด ก็ต้องเป็นสิ่งที่มีจริงซึ่งหลากหลายมาก แต่ก็ต้องมีจริงแต่ละหนึ่ง เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นโลกไหน ถ้าไม่เกิดมีไหม โลกนี้ถ้าไม่เกิดขึ้นมีไหม มีโลกไหม

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่มี ถ้าคนไม่เกิดจะมีคนไหม

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ ถ้าสิ่งที่อ่อนหรือแข็งไม่เกิด จะมีลักษณะที่อ่อนหรือแข็งไหม

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่มี เพราะฉะนั้นสิ่งที่มีคือสิ่งที่เกิดขึ้น มีลักษณะซึ่งเปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย เป็นธรรมทั้งหมดแต่ละหนึ่ง เพราะฉะนั้นที่ว่าเป็นคน สิ่งที่อ่อนหรือแข็ง เย็นหรือร้อน ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า มีสีสันวรรณะที่มองแล้วเป็นส่วนต่างๆ คิ้วก็ไม่ใช่ตา ไม่ใช่จมูก ไม่ใช่ฟัน คิ้วแข็งไหม ถ้าไม่ไตร่ตรองจะเป็นความเข้าใจหรือ ถ้าให้บอกมาว่าธรรมคืออะไร แล้วเราจะรู้หรือ ถ้าเราไม่คิด เพราะฉะนั้นคิ้วแข็งไหม

    ผู้ฟัง แข็ง

    ท่านอาจารย์ แข็งก็ต้องแข็ง ตาแข็งไหม

    ผู้ฟัง แข็ง

    ท่านอาจารย์ จมูก ปาก ฟัน แต่ส่วนผสมส่วนสัดของความอ่อนแข็งต่างกัน หลากหลายทำให้ปรากฏเป็นสีสันต่างๆ แม้แต่ตาก็ยังเป็นดำกับขาวเลย ใช่ไหม เพราะส่วนที่จะทำให้เป็นสีขาวเป็นสีขาว ส่วนที่จะทำให้เป็นสีดำก็เป็นสีดำ แต่ก็มีอ่อนหรือแข็งเป็นพื้น เพราะฉะนั้นการฟังธรรม ฟังวันเดียวพอไหม

    ผู้ฟัง ไม่พอ

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าธรรมมีตลอดเวลา ทั้งหมดเป็นธรรม แต่กว่าจะเข้าใจธรรมแต่ละหนึ่งได้ ต้องเป็นแต่ละหนึ่ง เพราะฉะนั้นธรรมหลากหลายมากก็จริง แต่ต่างกันโดยประเภทใหญ่ๆ เลยก็คือว่าธรรมประเภทหนึ่ง เกิดมีจริงๆ แต่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้ หวานอย่างนี้ก็เกิด แล้วก็หวาน เป็นหวานได้อย่างเดียว แข็งก็เกิดเป็นแข็ง แข็งก็ไม่รู้อะไร ใครจะไปทุบ ไปตี ไปเตะ ไปต่อย ไปฟัน แข็งก็ไม่รู้สึกอะไรเลย เพราะแข็งเป็นแค่แข็ง เป็นแข็ง เพราะฉะนั้นสภาพธรรมที่มีจริงเกิดเป็นแต่ละหนึ่งหลากหลาย เช่นเป็นแข็งบ้าง เป็นหวานบ้าง เป็นเสียงบ้าง ทั้งหมดโดยฐานะที่ไม่ใช่สภาพรู้ ทั้งหมดเป็นรูปธรรม ภาษาบาลีจะใช้คำว่า รูปะ ออกเสียงทุกคำ รู ~ ปะ ~ ธัม ~ มะ แต่คนไทยก็ตัดสั้นเลย รูปะก็เป็นรูป ธัมมะก็เป็นธรรม ก็เลยรวมเรียกว่ารูปธรรม บางคนก็บอกว่ารูปเฉยๆ เพราะว่ารูปก็เป็นธรรม แต่ธรรมหลากหลายธรรมที่ไม่ใช่รูปก็มี เพราะฉะนั้นหลากหลายประเภทใหญ่ๆ คือธรรมประเภทหนึ่ง ไม่ว่าอะไรทั้งสิ้นที่เกิดแต่ไม่รู้เป็นรูปธรรม แต่มีธรรมอีกอย่างหนึ่ง เกิดแล้วรู้ ไม่รู้ไม่ได้เลย เห็นรู้อะไร

    ผู้ฟัง รู้ว่าเรามองเห็น

    ท่านอาจารย์ รู้ว่ามีสิ่งที่ปรากฏให้เห็น ใช่ไหม ไม่ได้ไปรู้อื่นเลย รู้เฉพาะสิ่งที่ปรากฏให้เห็น ว่าสิ่งที่ปรากฏให้เห็นเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างนี้คือรู้ หลากหลายมากเลย สีเขียว สีแดง สีฟ้า เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นเห็น มีจริงๆ เกิดขึ้นต้องเห็น เกิดขึ้นได้ยินได้ไหม เห็นเกิดขึ้นได้ยินได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เห็นต้องเกิดขึ้นเห็นเท่านั้น เห็นจะเป็นอื่นไม่ได้เลย นี่คือธรรมหนึ่ง เพราะฉะนั้นขณะนี้เห็นไหม

    ผู้ฟ้ง เห็น

    ท่านอาจารย์ เกิดหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เกิด

    ท่านอาจารย์ ดับ ไม่รู้จนกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงแสดงว่า สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นต้องดับไปเป็นธรรมดา ฟังไว้ ยังไม่ปรากฏ แต่เข้าใจได้ว่าไม่ได้เห็นตลอดเวลา เพราะฉะนั้นขณะที่ได้ยิน ไม่ใช่เห็น ขณะที่คิดไม่ใช่เห็น ขณะที่กำลังรับประทานอาหารมีรสปรากฏไม่ใช่เห็น เห็นรสได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้เลย ต้องลิ้มรส

    ผู้ฟัง ต้องลิ้มรส

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นลิ้นมีจริงๆ ไม่ใช่ตา ลิ้นมีจริงๆ ไม่ใช่หู ลิ้นเป็นธรรมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ เพราะมีจริง ทุกอย่างที่มีจริง มีลักษณะเฉพาะ ของตนๆ เปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย ไม่เรียกว่าลิ้นได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ทำไมล่ะ ทำไมต้องเรียก มีก็มีสิ จะเปลี่ยนชื่อก็ได้ ภาษาไทยเราเรียกว่าลิ้น ภาษาบาลีเรียกว่าชิวหา เพราะฉะนั้นไม่มีชื่อแต่ต้องอาศัยชื่อ เพื่อให้รู้ว่าหมายความถึงอะไร แต่ตัวจริงของเขาคือมีธรรม ใช่ไหม แต่อาศัยชื่อเรียกธรรมแต่ละหนึ่ง ให้รู้ว่าหมายความถึงธรรมอะไร แต่ธรรมเป็นสภาพที่ปกปิด เพราะฉะนั้นคนคิดว่ามีลิ้น แต่ไม่รู้ว่ามีรูป ที่สามารถกระทบกับรส แต่รูปลิ้นตัวลิ้นไม่รู้อะไร แต่ธาตุรู้เกิดขึ้น ลิ้มรสที่กระทบลิ้น เป็นธรรม แต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่ง มิเช่นนั้นการมาฟังธรรมวันนี้จะไม่มีประโยชน์เลย ถ้าไม่ได้มีความเข้าใจเป็นพื้นฐานตั้งแต่ต้น อย่างมั่นคง ว่านี่แหละเป็นสิ่งที่มีจริงที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และใช้คำว่าธรรมคือสิ่งที่มีจริงทุกอย่างหลากหลายมาก เพราะฉะนั้นก็รวมเป็นสิ่งที่มีจริง ธรรมคือสิ่งที่มีจริงที่ทรงตรัสรู้ความจริงถึงที่สุดว่าสิ่งนั้นแหละเกิด แล้วก็ดับด้วย สิ่งที่เกิดแล้วดับแล้วเป็นของใคร

    ผู้ฟัง ก็เป็นของเรา

    ท่านอาจารย์ เราอยู่ไหน มีแต่สิ่งที่เกิดแล้ว ดับไปแล้ว ไม่กลับมาอีกเลย แล้วเราอยู่ไหน เราอยู่ตรงไหน ขณะที่ลิ้มรสเป็นเรารู้รสใช่ไหม แต่ถ้าไม่มีสภาพรู้รส จะมีเรารู้รสไหม

    ผู้ฟัง ไม่มีแล้ว

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เพราะไม่รู้ว่าธาตุชนิดหนึ่งเกิดขึ้นโดยอาศัย ลิ้นกับรส เมื่อกระทบกันก็ทำให้เกิดธาตุรู้รส ลิ้นไม่ใช่ธาตุรู้รสรสไม่ใช่ธาตุรู้รส แล้วก็รสก็ไม่ใช่ลิ้น แต่ถ้าไม่มีรสกับลิ้น จิตที่ลิ้มรสรู้รสก็เกิดไม่ได้ เกิดแล้วก็ดับไปด้วย เราอยู่ไหน

    ผู้ฟัง เราก็ดับไปด้วย

    ท่านอาจารย์ ไม่มีเรา

    ผู้ฟัง ไม่มีเรา

    ท่านอาจารย์ แต่มีธาตุที่เกิดขึ้นลิ้มรส กำลังรู้รส เป็นธาตุรู้ซึ่งเกิดขึ้นกำลังรับประทานอาหาร ธาตุรู้ชนิดนี้เกิดขึ้นรู้สิ่งที่กระทบลิ้นเปรี้ยวหรือหวานหรือเค็มหรือจืด ทั้งหมดเป็นธาตุรู้ หวานรู้ว่าหวานหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่รู้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเป็นรูปธรรม ธรรมที่มีจริงแต่ไม่รู้อะไรไม่สามารถจะรู้อะไรได้ เป็นรูปธรรม เพราะฉะนั้นหวานมีจริงไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ ธรรมต้องไตร่ตรอง ต้องคิด เข้าใจเมื่อไหร่เป็นปัญญาเมื่อนั้น ก่อนฟังไม่มีใช่ไหม แต่ฟังแล้วมีปัญญาคือความเห็นถูกต้องเกิดขึ้น เพราะอาศัยการฟังพระธรรม ต้องรู้ด้วยว่าแม้ปัญญาก็เกิดเองไม่ได้ ถ้าไม่มีการฟัง ไม่มีการไตร่ตรอง ไม่คิดเลยก็ตอบผิดๆ ถูกๆ ไป

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่รู้ใช่ไหม เพราะฉะนั้นปัญญาก็ต้องเกิดจากการไตร่ตรองสิ่งที่ได้ฟัง จนกระทั่งเข้าใจเมื่อไหร่ก็เป็นปัญญาเมื่อนั้น ปัญญาเป็นเราหรือเปล่า แค่นี้ยังต้องคิดเลย แล้วดีกว่าตอบโดยไม่คิดใช่ไหม เพราะว่าตอบโดยไม่คิดคือไม่เข้าใจ แต่ถ้าคิดแล้วเข้าใจหรือไม่เข้าใจ ก็ตามที่ตอบมาใช่ไหม เพราะฉะนั้นปัญญาเป็นเราหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่เป็น

    ท่านอาจารย์ ไม่เป็นเพราะอะไร ต้องมีเหตุผล ไม่ใช่ตอบง่ายๆ จำเอา แต่ไม่เป็นเราเพราะอะไร

    ผู้ฟัง เพราะไม่มี

    ท่านอาจารย์ เพราะเกิดขึ้นรู้แล้วก็ดับไป ไม่เหลือเลย ไปหามาอีกก็ไม่ได้ในสังสารวัฎ มีสิ่งที่เกิดหนึ่ง แล้วก็ดับไป แล้วไม่กลับมาอีกเลย แต่ละหนึ่งไม่ว่าอะไรทั้งสิ้น จริงไหม จริงเข้าใจ จริงก็ต้องเข้าใจมากกว่านี้อีก

    ผู้ฟัง ใช่ ดิฉันต้องอีกเยอะเลย

    ท่านอาจารย์ นี่แหละคือได้ฟังธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มเป็นชาวพุทธ แต่ถ้าไม่เข้าใจเลยบอกว่าเป็นชาวพุทธ ชาวพุทธรู้อะไรทำไมว่าเป็นชาวพุทธไ ม่รู้อะไรแล้วเป็นชาวพุทธได้อย่างไร พุทธคือรู้ ปัญญา ด้วยเหตุนี้ต้องละเอียดมาก แต่ละคำต้องเป็นการไตร่ตรองแล้วเข้าใจ ถ้าเข้าใจแล้วจะลืมไหม

    ผู้ฟัง ไม่ลืม ถ้าเข้าใจแล้ว

    ท่านอาจารย์ สิ่งที่มีจริงเป็นธรรม เห็นเป็นธรรมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ คิดเป็นธรรมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ โกรธเป็นธรรมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ ชอบเป็นธรรมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ โกรธเกิดหรือเปล่า

    ผู้ฟัง โกรธเกิดหรือเปล่า ณ.ตอนนี้หรือ

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ถามว่าตอนไหนเลย ถามว่าโกรธเกิดหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เกิด

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่เกิดจะมีโกรธหรือ เพราะฉะนั้นที่เกิดเป็นโกรธก็ต้องเพราะเกิดขึ้นเป็นโกรธไม่เป็นอย่างอื่น โกรธดับหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ดับ

    ท่านอาจารย์ เป็นเราโกรธหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เรา หลงเข้าใจว่าธรรมเป็นเรา นานแสนนานเกินอสงไขยแสนกัลป์ ไม่ใช่แค่วัน แค่เดือน แค่ปี ถ้าไม่มีการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กี่ภพกี่ชาติก็ไม่รู้ความจริง เพราะฉะนั้นธรรมคือสิ่งที่มีจริงสิ่งที่สุด คือใครก็เปลี่ยนลักษณะนั้นไม่ได้เลย ตอนนี้เข้าใจธรรมแล้วใช่ไหม

    ผู้ฟัง เข้าใจขึ้นบ้าง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นหลากหลายมากเลย ธรรมประเภทที่ไม่รู้เป็นรูปธรรม ธรรมที่เกิดขึ้นแล้วต้องรู้ ไม่รู้ไม่ได้เป็นรูปธรรมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่เป็น

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นใช้อีกคำหนึ่งว่านามธรรม สภาพรู้ เมื่อมีสภาพรู้ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ รู้โดยไม่มีสิ่งที่ถูกรู้ไม่ได้ ใช่ไหม นี่คือความถูกต้องมีเหตุผล เพราะฉะนั้นสิ่งที่ถูกรู้ไม่ใช่ตัวรู้ สภาพรู้ ใช่ไหม เพราะฉะนั้นสิ่งที่ถูกรู้ภาษาบาลีใช้คำว่า อารัมมณะ อารัมมณะภาษาไทยใช้คำว่าอารมณ์ ตัดหมดเลย จากอารัมมณะให้เหลือเพียงอารมณ์ วันนี้อารมณ์ดีไหม

    ผู้ฟัง ดีมาก

    ท่านอาจารย์ ดีมากๆ อารมณ์คืออะไร

    ผู้ฟัง คือความรู้สึก

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่

    ผู้ฟัง ไม่ใช่หรือ

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ ต้องฟังละเอียด มั่นคงเ ปลี่ยนแปลงไม่ได้ถึงที่สุด เมื่อมีจิตซึ่งเป็นสภาพรู้ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ สิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่จิตที่รู้ใช่ไหม เพราะฉะนั้นสิ่งที่ถูกจิตรู้ภาษาบาลีใช้คำว่าอารัมมณะ แต่ต้องทีละหนึ่ง เพราะจิตเกิดขึ้นหนึ่งรู้หนึ่ง จิตเห็นรู้อะไร เฉพาะจิตเห็น นี่คือธรรม นี้คือชาวพุทธ จะเป็นชาวพุทธต่อเมื่อเข้าใจธรรม เพราะฉะนั้นจิตเห็น เห็นอะไร หลับตาเห็นไหม

    ผู้ฟัง ไม่เห็น

    ท่านอาจารย์ ลืมตาเห็นอะไร

    ผู้ฟัง เห็นอาจารย์ เห็นรถ เห็นเพื่อน เห็นโต๊ะ เห็นเก้าอี้

    ท่านอาจารย์ แต่ความจริง เห็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ มีจริงๆ กำลังปรากฏว่าสิ่งนี้มีจริง สิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้มี สิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้แข็งไหม

    ผู้ฟัง ไม่แข็ง

    ท่านอาจารย์ ไม่แข็ง หวานไหม

    ผู้ฟัง ไม่หวาน

    ท่านอาจารย์ มีกลิ่นไหม

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ ไม่มี เพราะเป็นสิ่งหนึ่ง จะเป็นอื่นไม่ได้ จะเป็นกลิ่นไม่ได้ จะเป็นรสไม่ได้ เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็น เมื่อเห็นเกิด ถ้าเห็นไม่เกิดสิ่งนี้ก็ไม่ปรากฏว่ามี เพราะฉะนั้นมีสิ่งที่ปรากฏให้เห็นก่อน ที่จะรู้ว่าเห็นอะไร ต้องแยกละเอียดยิบ

    ผู้ฟัง ละเอียดมาก

    ท่านอาจารย์ จึงจะไม่มีเรา เพราะเป็นธรรมแต่ละหนึ่ง ถ้าคนถามว่าทำไมไม่มีเรา ก็เป็นธรรมแต่ละหนึ่ง หนึ่งนั้นเป็นเราหรือ เห็นเป็นเราหรือ ก็เห็นเกิดแล้วดับไปจะเป็นเราได้อย่างไร มีใครเป็นเจ้าของเห็นบ้างไหม

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ มีใครเป็นเจ้าของสิ่งที่ปรากฏให้เห็นไหม

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ ต้องมั่นคงใช่ไหม มีรูปร่างกายไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ เป็นของเราหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่เป็น

    ท่านอาจารย์ เป็นเราหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่เป็น

    ท่านอย่าง เป็นธรรมแต่ละหนึ่ง ที่มารวมกันเมื่อไหร่ ก็เข้าใจผิดว่าเป็นเรา หรือเป็นโต๊ะ หรือเป็นเก้าอี้ หรือเป็นคน หรือเป็นสุนัข หรือเป็นภูเขา ทั้งหมดก็คือธรรมแต่ละหนึ่ง ซึ่งรวมกันแต่ละหนึ่งแยกออกไปอย่างดอกไม้หนึ่งดอก แยกให้ละเอียดยิบ ยังคงเหลือความเป็นดอกไม้ไหม ที่ว่าเป็นคนแยกให้ละเอียดยิบ ตรงไหนเป็นคน เนื้อเป็นเนื้อ กระดูกเป็นกระดูก ฟันเป็นฟัน แข็งเป็นแข็ง เท่านั้นเองนี่คือธรรม เพราะฉะนั้นมีอีกคำหนึ่งที่จะให้เข้าใจธรรมก็คือ ปรมัตถธรรม

    ผู้ฟัง ปรมัตถธรรม

    ท่านอาจารย์ มาจาก ๓ คำ ปรม คำหนึ่ง อรรถ หนึ่งคำ และก็ธรรมอีกคำหนึ่ง นี่ทุกอย่างเป็นธรรม แสดงว่ามีจริง ใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะลักษณะของธรรมนั้นต้องเป็นธรรมนั้น ทรงไว้ซึ่งลักษณะสภาพที่เป็นอย่างนั้น ใครเปลี่ยนแปลงไม่ได้ อย่างเค็มเป็นแข็งไม่ได้ เป็นเสียงไม่ได้ เค็มต้องเป็นเค็ม เป็นปรมัตถธรรมเป็นธรรมที่มีจริง ลักษณะคืออรรถ ที่เราสามารถจะกล่าวถึงเค็ม ถ้าพูดถึงเค็มเราก็รู้ว่าหมายความถึงรสอะไร แล้วใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะฉะนั้นเค็มก็เป็นปรมัตถธรรม เป็นสิ่งที่มีจริงซึ่งทรงลักษณะสภาพของตน แล้วก็ใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เห็นเป็นธรรมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ มีจริงหรือเปล่า

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ เปลี่ยนแปลงได้หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ นั่นแหละคือความหมายของปรมัตถธรรม เพราะฉะนั้นธรรมทั้งหมดเป็นปรมัตถธรรมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ ธรรมที่ไม่เป็นปรมัตถธรรมมีไหม

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นปรมัตถธรรม ที่ไม่เป็นธรรมมีไหม

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ ไม่มี ทุกอย่างเป็นธรรม ทุกอย่างเป็นปรมัตถธรรมลึกซึ้งไหม

    ผู้ฟัง ลึกซึ้งมาก อาจารย์

    ผู้ฟัง รู้ง่ายไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้ง่ายเลย

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นมีอีกคำหนึ่ง อภิธรรม ละเอียดยิ่ง ลึกซึ้งยิ่ง เพราะฉะนั้นเคยได้ยินคำว่าอภิธรรมไหม

    ผู้ฟัง เคยได้ยิน แต่ไม่รู้ความหมายอะไรเลย

    ท่านอาจารย์ นี่แหละ ชาวพุทธที่ไม่ได้ฟังธรรมแล้วจะรู้ได้อย่างไร เพราะฉะนั้นชาวพุทธต้องเข้าใจ เคยได้ยินคำว่าอภิธรรมเมื่อไหร่ เคยไปงานศพไหม

    ผู้ฟัง เคย

    ท่านอาจารย์ มีสวดศพไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ สวดอะไร

    ผู้ฟัง เขาก็สวดเป็นบาลีกันทั้งสิ้น

    ท่านอาจารย์ นั่นแหละเขาจะลงหนังสือพิมพ์เลย สวดอภิธรรมเพราะว่าเขาไม่ได้รู้จักธรรม ไม่รู้จักอภิธรรม แต่เขาพูดแต่ว่าสวดพระอภิธรรม ลองไปถามคนที่สวดพระอภิธรรมว่าสวดอะไร เขาก็ตอบได้ว่าสวดอภิธรรม อภิธรรมคืออะไรก็ตอบไปได้ นั่นไม่ใช่ชาวพุทธ เพราะฉะนั้นชาวพุทธก็คือว่าได้เข้าใจคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มเห็นพระปัญญาของพระองค์ เริ่มมีความนับถือในพระปัญญาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าไม่มีการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีใครได้ยินได้ฟังคำจริง ที่กล่าวถึงสิ่งที่มีจริงเลย เพราะฉะนั้นพระคุณสูงสุดที่เปรียบไม่ได้เลย เป็นรัตนะที่เหนือรัตนะใดๆ ทั้งจักรวาล กี่โลก ก็ไม่สามารถทำให้คนที่ไม่รู้ ได้รู้ แต่คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำให้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ได้เป็นมรดกที่ล้ำค่า รับไหม

    ผู้ฟัง รับ

    ท่านอาจารย์ รับก็คือศึกษาต่อไป ฟังต่อไป เข้าใจต่อไป

    ผู้ฟัง เรียนถามว่าใส่บาตร โดยเลือกพระภิกษุที่เห็นว่าน่าเลื่อมใสตั้งใจว่าการถวายอาหารนั้น ขอน้อมถวายแด่พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า อุทิศส่วนกุศลอย่างนี้จะเป็นการถูกต้องได้ไหม

    อ.กุลวิไล เราก็ไม่สามารถที่จะล่วงรู้ได้ว่า ญาตินั้นเกิดเป็นบุคคลใด แต่ถ้าเราทำความดีแล้วก็อุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วนั้นก็เป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่ข้อสำคัญก็คือถ้ากุศลจิตเกิดเมื่อไหร่ก็สามารถจะอุทิศให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วได้ ก็กราบเรียนท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ ทุกอย่างต้องเข้าใจ แม้แต่บุญต้องเป็นความดี ถ้าไม่ได้ทำความดี ทำความไม่ดี คนอื่นดีใจด้วยไหม ยินดีด้วยไหมที่เขาทำความไม่ดี เป็นไปไม่ได้ใ ช่ไหม เพราะฉะนั้นเมื่อได้กระทำความดีแล้วคนอื่นรู้เมื่อไหร่เขาก็พลอยยินดีด้วยถ้าเขาเกิดกุศลจิต แต่บางคนเขาไม่ยินดีก็ได้ เพราะฉะนั้นไม่ได้หมายความว่าคนใดก็ตามที่ทำความดีแล้วคนอื่นจะพลอยยินดีด้วย แม้แต่ญาติพี่น้อง ถ้าได้ทราบว่าเรามาฟังธรรมสนทนาธรรม คนที่ยินดีด้วยก็มี ใช่ไหม คนที่ไม่ยินดีก็มี แล้วจะไปให้เขายินดีก็ไม่ได้ ด้วยเหตุนี้การศึกษาธรรมก็คือ ต้องรู้ว่าไม่มีเราแต่เป็นธรรมทั้งหมด ไม่ว่าเขา ไม่ว่าญาติ หรือไม่ว่าใครทั้งหมด ก็เป็นธรรมแต่ละหนึ่ง ที่สะสมมาที่จะเป็นอย่างนั้นไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้นทรงแสดงธรรมว่า เรื่องของสิ่งที่ไม่ดีอุทิศให้ใครก็ไม่ได้ เขาก็ไม่รับ หรือเขาจะยินดีนั่นก็เรื่องของเขาที่ชอบความไม่ดี ใช่ไหม แต่ไม่ใช่สิ่งที่จะนำมาซึ่งสิ่งที่ถูกต้อง หรือว่าสิ่งที่จะทำให้เจริญขึ้น ด้วยเหตุนี้บุญมีหลายอย่าง ความดีมีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการให้ ที่เราใช้คำว่าทาน หรือทานะ

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 182
    4 ก.ย. 2567