ปกิณณกธรรม ตอนที่ 938


    ตอนที่ ๙๓๘

    สนทนาธรรม ที่ คุ้มภูผาหมอก จ.เลย

    วันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙


    ท่านอาจารย์ จิตหลากหลายเป็นประเภทใหญ่ๆ ก็คือ เป็นกุศลเป็นเหตุ อกุศลเป็นเหตุ ซึ่งต้องเกิดผล ผลก็คือทำให้จิตซึ่งเป็นผล ใช้คำว่าวิบากจิตเกิด ไม่ได้มาจากไหนเลย วิบากทั้งหมดต้องมาจาก กุศลกรรม หรืออกุศลกรรม เพราะฉะนั้นเกิดมาหนึ่งขณะรู้ไหมว่าเป็นใคร ไม่รู้เลย จิตนั้นดับไปแล้ว กรรมเดียวกันแหละดำรงภพชาติ ให้เป็นบุคคลนั้น แต่ทำภวังคกิจ หมายความว่าอะไร หมายความว่ายังไม่รู้เลยว่าเกิดมาแล้ว แล้วเป็นคนนั้นแล้ว ไม่มีอะไรปรากฏให้รู้ได้ แต่มีจิตไหมขณะนั้น เกิดแล้วต่อไปมีจิตไหม หรือหมดจบแค่ปฏิสนธิจิต ต้องมีจิตเกิดสืบต่อไม่มีระหว่างคั่น

    ศึกษาธรรมต้องศึกษาให้เข้าใจโดยตลอดตามลำดับ เมื่อเกิดแล้วต้องมีจิตเกิดสืบต่อไม่มีระหว่างคั่น แต่เป็นจิตประเภทต่างๆ ชาติต่างๆ ทำกิจต่างๆ เวลานี้เรารู้เรื่องวิบากจิตทำปฏิสนธิกิจ แล้วผลของกรรมนั้นแหละกรรมเดียวกันนั้น แหละ ไม่ได้ทำให้เกิดผลเพียงแค่หนึ่งขณะที่ปฏิสนธิ ยังทำให้ขณะต่อไปเกิดสืบต่อดำรงภพชาติ เป็นผลของกรรมเดียวกัน ถ้าใช้คำว่าภวังคจิตหมายความว่าเป็นผลของกรรมเดียวกับปฏิสนธิจิตแน่นอน ดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนั้น โดยไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึก ดำรงภพชาติเมื่อไหร่ ไม่เห็นเมื่อไหร่ ไม่ได้ยินเมื่อไหร่ ไม่ลิ้มรสเมื่อไหร่ ไม่คิดนึกเมื่อไหร่ เป็นผลของกรรมที่ทำให้ปฏิสนธิ แล้วยังไม่จากโลกนี้ไป ยังไม่สิ้นสุดกรรมดำรงภพชาติอยู่ เมื่อไหร่ที่จะรู้ได้ว่าเป็นภวังคจิต ถ้ารู้ไม่ได้จะพูดถึงทำไม แต่ต้องรู้ได้ เพราะฉะนั้นรู้ได้ทุกคน แต่ไม่รู้เพราะอะไร เพราะไม่เคยมีใครบอกให้รู้ให้เข้าใจ จนกว่าจะได้ฟังพระธรรม แต่คิดได้ ปฏิสนธิจิตเป็นผลของกรรมหนึ่งดับไปแล้ว กรรมนั้นก็ทำให้จิตต่อไปเกิดสืบต่อดำรงภพชาติ ยังไม่เห็น ยังไม่ได้ยิน ยังไม่รู้อะไร โลกนี้ไม่ปรากฏ ยังไม่มีชื่อเลย พ่อแม่จะตั้งไว้ตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ตาม แต่ก็เปลี่ยนได้ ใช่ไหม แต่จิตเปลี่ยนสภาพไปได้ ด้วยเหตุนี้ รู้ภวังคจิตได้ไหม มีขณะไหนไหม ที่ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึก แต่ไม่ตาย ภวังคจิตเกิดสืบต่อ

    อ.ธิดารัตน์ ตอนหลับ

    ท่านอาจารย์ ตอนหลับสนิทด้วย ต้องสนิท ไม่ใช่แค่หลับหมายความว่าอะไรหลับสนิทนี่ เป็นใคร อยู่ที่ไหน ชื่ออะไร บ้านช่อง ครอบครัว วงศาคณาญาติ ทรัพย์สมบัติ ไม่มีเลย มีต่อเมื่อตื่นแล้วรู้แล้วคิด พอไม่คิดก็ไม่มี เพราะฉะนั้นมีจริงๆ หรือเปล่า หรือแค่คิดว่ามี เป็นของใครจริงๆ หรือเปล่า หรือแค่หลงจำว่าของเรา เพราะยังมีเรา เพราะฉะนั้นธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก นี่คืออภิธรรม ก็คือธรรมนั่นแหละแต่ว่าลึกซึ้งอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นถ้าฟังธรรมแล้วไม่เข้าใจลึกซึ้งก็ไม่ใช่อภิธรรม ไปงานศพเขาสวดอะไร งานศพทุกงานสวดอะไร อภิธรรมเข้าใจรึเปล่า พระธรรมลึกซึ้งอย่างยิ่ง แค่ฟังชื่อไม่มีทางจะเข้าใจได้เลย เพราะไม่รู้ว่า แท้ที่จริงแล้วไม่มีอะไรนอกจากธรรมเท่านั้น เพราะฉะนั้นตอนนี้รู้จักแล้ว ปฏิสนธิ จิตหนึ่งขณะของชาตินี้ จุติ จิตขณะสุดท้าย สิ้นเคลื่อนพ้นความเป็นบุคคลนี้ จะกลับมาเป็นบุคคลนี้อีกไม่ได้เลย ทำจุติกิจพ้นสภาพความเป็นบุคคลนี้โดยสิ้นเชิงนั่นคือตาย แต่ระหว่างเกิดกับตายมีจิตไหม มีจิตแน่นอน ยังไม่สิ้นสุด จิตอะไรที่รู้จักแล้ว ภวังคจิต หลับเมื่อไรก็เมื่อนั้นแหละ ดำรงภพชาติไม่ใช่คนตาย แต่พอตื่นมาไม่ใช่ภวังค์แล้ว

    เพราะฉะนั้นความต่างกัน ก็คือว่าจิตเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ ตอนที่ยังไม่ตายก็ทำภวังคกิจไปเรื่อยๆ จนกว่าหมดสิ้นกระแสของภวังค์ เพราะกำลังมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดกระทบตา หรือหู หรือจมูก หรือลิ้น หรือกาย หรือใจ เป็นเหตุให้จิตอีกประเภทหนึ่ง เกิดขึ้นรู้สิ่งที่ปรากฏ ไม่ใช่ภวังคจิตอีกต่อไป เมื่อคืนนี้มีภวังคจิตไหม มากไหม บางคนก็หลับรวดเดียวเลย ไม่ฝันไม่อะไรหมดเลย เป็นเราหรือเปล่า ถ้าขณะนั้นจุติจิตเกิด พ้นสภาพความเป็นบุคคลได้ไหม ได้ หลับตาย ที่นี่เรียกว่าอะไร ไหลตายใช่ไหม แต่ความจริงก็คือว่าถึงเวลาที่กรรมจะทำให้สิ้นสุดความเป็นบุคคลนี้ แล้วกรรมอื่น หรือกรรมเดียวกันนี้ก็แล้วแต่ ที่ยังไม่สิ้นสุด สามารถที่จะให้ผลเมื่อไหร่

    ยังมีความละเอียดต่อไปอีกที่เมื่อเข้าใจขึ้น ค่อยๆ ละความไม่รู้ค่อยๆ ละความยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา แล้วรู้ว่าไม่มีเราเลยสักขณะเดียว เป็นธรรมทั้งหมด แต่ต้องค่อยๆ ฟังด้วยความเข้าใจ สำคัญที่สุดคือเข้าใจ ศึกษาธรรมต้องรู้ว่าเดี๋ยวนี้เป็นธรรม มิเช่นนั้นจะอยู่ในหนังสือ จำแต่ชื่อ แต่ไม่รู้เลย เดี๋ยวนี้โลภมูลจิตดวงไหน รู้ได้ไหม ไม่มีทาง เพราะฉะนั้นความรู้ต้องตามลำดับขั้น ปริยัติฟังพระพุทธพจน์ คำทุกคำที่เป็นคำจริงพระผู้มีพระภาค ตรัสว่าเป็นคำของพระองค์ ไม่ว่าใครจะพูด สมัยไหนก็ตามแต่ คำจริงทั้งหมดเป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พูดเรื่องจิต จิตมีจริงๆ เจตสิกมีจริงๆ เห็นมีจริงๆ เกิดมีจริงๆ ตายมีจริงๆ หลับมีจริงๆ เห็นมีจริงๆ ทุกอย่างเป็นธรรมทั้งหมด แต่ว่าจิตไม่มีใครรู้เลย ว่าจิตเกิดทำกิจของจิตนั้นๆ สับสนกันไม่ได้เลย ภวังคจิตดำรงภพชาติ จะไปทำปฏิสนธิกิจไม่ได้ จุดิจิตทำให้พ้นสภาพความเป็นบุคคลนี้ จะไปทำปฏิสนธิกิจไม่ได้ จิตแต่ละหนึ่ง เมื่อศึกษาแล้วก็ต้องต่อไปด้วยว่า จิตนั้นทำกิจอะไร เพื่อจะคลายความยึดถือว่าเป็นเรา เพราะเข้าใจขึ้น เดี๋ยวนี้มีภวังค์ไหม ถ้าไม่ฟังจะรู้ได้อย่างไร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นใคร จะกล่าวว่าธรรมง่ายพูดได้อย่างไร

    ความลึกซึ้งของธรรมเปรียบประดุจมหาสมุทร คนที่เพิ่งได้ยินได้ฟังเหมือน จะงอยปากยุง ที่หยั่งสู่มหาสมุทรนั้น ที่จะรู้ว่าเป็นพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า คือเข้าใจขึ้นอีก เข้าใจขึ้นอีก พอเข้าใจขึ้น ก็ลึกขึ้นอีก ลึกลงไปอีก จนถึงที่สุดของธรรมนั้นๆ ที่สามารถที่จะรู้ได้ด้วยปัญญาที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้น ไม่ใช่เราไปรู้ ไม่ใช่เราไปทำ ทำก็ไม่ได้ ทำลายคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงแสดงว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้มีภวังคจิตไหม คนที่ไม่ได้ฟังธรรม ตอบว่าอย่างไร ไม่มีใช่ไหม แต่คนที่ฟังแล้ว มี ลึกซึ้งไหม

    ผู้ฟัง คือไม่เข้าใจว่าทำไมขณะนี้ถึงมีภวังคจิต เมื่อเรายังไม่นอนหลับ หรือไม่รู้ตัวอะไรแค่

    ท่านอาจารย์ เห็นเดี๋ยวนี้มีคิดไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ รู้ได้อย่างไร ว่ามีคิด เพราะว่าคิดไม่ใช่เห็นใช่ไหมเห็นเพียงแค่เห็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็น แต่คิดไม่ได้เห็นเลย คิดแค่รับรู้สิ่งที่เห็น คิดตามสิ่งที่ปรากฏ ถึงได้รู้ว่านี่เป็นใคร เพราะฉะนั้นเห็นดับไหม

    ผู้ฟัง ดับ

    ท่านอาจารย์ สิ่งที่ปรากฏให้เห็นดับไหม

    ผู้ฟัง ดับ

    ท่านอาจารย์ ขณะต่อไปคือภวังคจิต ยังไม่ทันจะคิด ต้องมีภวังค์คั่น ดำรงภพชาติไว้ก่อนคิด นี่แหละความลึกซึ้งของธรรม

    ผู้ฟัง เข้าใจแล้ว คือเราว่าเราก็ไม่ได้หลับ เราก็เห็นอะไรต่อไปเรื่อยๆ ในระหว่างคั่น

    ท่านอาจารย์ ระหว่างคั่นทุกวาระ ซึ่งเร็วสุดที่จะประมาณได้ ต่อกันสนิทเลย ไม่มีใครรู้ว่ามีภวังค์คั่น

    ผู้ฟัง ขอบคุณ

    ท่านอาจารย์ เมื่อวานนี้ แยกเห็นกับเสียง แยกวาระที่รู้ทางตา กับวาระที่รู้ทางหู ถ้าไม่มีภวังค์คั่น ตายเลยใช่ไหม ไม่มีอะไรเกิดสืบต่อ นี่จากเห็นแล้วก็เป็นคิด คิดไม่ใช่เห็น แล้วถ้าศึกษาต่อไปถึงกิจของจิต ที่จะเห็น ๑ ขณะจิต จิตทันทีที่เห็นดับไป มีจิตเกิดสืบต่อถูกต้องไหมจิตที่เกิดสืบต่อจากจิตเห็น ไม่เห็น ใครรู้ ไม่ได้ทำทัศนกิจเลย ทำกิจอื่น

    ผู้ฟัง แล้วถ้าคนเป็นลมอะไรอย่างนี้ก็เป็นภวังคจิต

    ท่านอาจารย์ ขณะใดก็ตามที่ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรสไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึก นั่นแหละคือภวังค์ เพราะฉะนั้นตอนเป็นลมไม่มีอะไรปรากฏเลย ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าเป็นลม ไม่มีอะไรทั้งสิ้นเลย ชื่อไม่มี ข้าวของทรัพย์สมบัติไม่มี อะไรไม่มี แต่พอฟื้นมาแล้ว เพราะฉะนั้นขณะที่ฟื้นก็คือขณะที่ไม่ใช่ภวังค์ เพราะมีเห็น มีเพราะมีได้ยิน มีเพราะมีได้กลิ่น บางคนฟื้นเพราะกลิ่นปรากฏ บางคนฟื้นเพราะเสียงปรากฏ บางคนฟื้นเพราะคิดปรากฏ ซึ่งไม่ใช่ภวังค์ เพราะฉะนั้นภวังค์จะแทรกคั่นทุกวาระของสภาพธรรม ซึ่งรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วก็ดับไป นี่คือพระปัญญาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่อนุเคราะห์ให้เรามีโอกาสได้เริ่มเห็นว่าไม่ใช่เรา

    เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมไม่ใช่ศึกษาคำ แต่ต้องเข้าใจตัวธรรมถึงเดี๋ยวนี้ก็ไม่ได้รู้จิต แต่กำลังรู้เรื่องจิต จนกว่าปัญญาพร้อมที่จิตปรากฏ เมื่อนั้นหมดความสงสัยในธาตุรู้ แต่เดี๋ยวนี้ยังสงสัยใช่ไหมเห็นเป็นธาตุรู้ นี่สงสัยแน่ๆ สงสัยมีจริงไหม มีก็ต้องว่ามี เป็นธรรม หรือเปล่า เพราะเป็นธรรมเมจริง เป็นกุศล และอกุศล เป็นอกุศล ถูกต้อง คิดเองเข้าใจเองถูกต้องตามความเป็นจริง เพราะได้เริ่มเข้าใจพื้นฐาน ที่จะทำให้ไตร่ตรอง เข้าใจขึ้นด้วยตัวเองได้ ถ้าใครเขาบอกว่าสงสัยไม่ใช่อกุศล เชื่อเขาไหม เชื่อได้อย่างไร ก็สงสัยจะเป็นกุศลได้อย่างไร เพราะฉะนั้นรู้ได้เลยกำลังฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือคำที่ไม่ใช่คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    เพราะฉะนั้นมีแค่เกิด และตาย ๒ คำ แต่ระหว่างเกิด และตาย จิตเกิดดับนับไม่ถ้วน ตามการสะสมปรุงแต่ง เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มีเป็นวิบากก็มี เป็นกิริยาก็มี ถ้าไม่ได้ฟังธรรมรู้ไม่ได้แน่ เพราะฉะนั้น เกิดเป็นผลของกรรม เป็นวิบากจิต ถ้าเกิดดีก็เป็นผลของกุศลกรรมจิตที่เกิดไม่ใช่กุศลกรรม แต่เป็นกุศลวิบากคือเป็นผลของกรรมนั้นกรรมสามารถจะทำให้จิตเกิดได้เป็นประเภทนั้นๆ เพราะฉะนั้นอะไรอีก เกิดมาแล้วปฏิสนธิจิตดับ ภวังคจิตดับไหม ต้องคิดแล้ว ปฏิสนธิจิตเกิด ๑ ขณะดับ เป็นปัจจัยให้จิตต่อไปเกิดสืบต่อ ทำภวังคกิจดำรงภพชาติ เพราะสั้นมาก ใครจะไปประมาทจิต ๑ ขณะได้ ว่าเร็วแค่ไหน เวลานี้ทั้งเห็นโต๊ะ เห็นเก้าอี้ เห็นคน เห็นไมโครโฟน เห็นต้นไม้ เห็นภูเขา นี่เท่าไหร่แล้ว แต่ละกลีบของดอกไม้ใบไม้ทั้งกิ่งก้านลำต้น กว่าจะมาเป็นอย่างนี้ได้ จิตรู้จนกระทั่งประมวลมาเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งเหมือนกับว่าเห็นทีเดียวเลย เพราะฉะนั้นความเร็วของการเกิดดับของจิต จะมากสักแค่ไหนประมาณไม่ได้เลย แต่กรรมนั่นแหละทำให้วิบากจิตเกิด ใครอื่นทำไม่ได้เลยทั้งสิ้น นอกจากกรรมที่ได้ทำแล้วเท่านั้น ที่จะทำให้วิบากเป็นผลของกรรมเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้มีวิบาดเจ็บไหม ไม่ได้มีแต่กรรม

    เพราะฉะนั้นเราก็ต้องรู้ละเอียดขึ้นไปอีกว่าวิบากเมื่อไหร่ล่ะ จิตไหนล่ะที่เป็นวิบากจิต ถ้าไม่ได้ฟัง ได้ยินแต่ชื่อใช่ไหม ว่าวิบากจิต ผลของกรรม ถ้ากรรมทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดดับไป และวิบาทจิตซึ่งเป็นภวังค์ เกิดสืบต่อดำรงภพชาติ ไม่มีอะไรปรากฏเลย โลกก็ไม่ปรากฏ มีประโยชน์ไหม ที่จะเป็นผลของกรรม ไม่มี เพราะฉะนั้นกรรมให้ผลมากกว่านี้แน่นอน มากกว่าให้เป็นปฏิสนธิจิต และภวังคจิต เพราะหลับแล้วก็ต้องตื่นใช่ไหม เวลาตื่นแล้วมีอะไร เห็นใช่ไหม เป็นผลของกรรมที่ทำให้ต้องเห็น เดี๋ยวเห็นสิ่งที่น่าพอใจบ้าง ไม่น่าพอใจบ้างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยแล้วแต่กรรม เพราะฉะนั้นการศึกษา ศึกษาธรรมที่ถูกต้องคืออะไร

    ผู้ฟัง คือความเข้าใจ

    ท่านอาจารย์ เข้าใจอะไร

    ผู้ฟัง เข้าใจในสภาพความเป็นจริงของธรรม

    ท่านอาจารย์ ทีละคำ ถ้าเข้าใจแล้ว กุ สะ ลา ธ้มมา คืออะไร

    ผู้ฟัง กุ สะ ลา ธัมมา ก็กุศล

    ท่านอาจารย์ ธรรมที่เป็นกุศล ไม่ใช่เรา ทั้งหมดต้องไม่ใช่เรา เพื่อเตือนให้รู้ว่าเป็นธรรม เพราะฉะนั้นใช้คำว่า กุ สะ ลา ธัมมา ไม่ใช่เราแต่เป็นธรรมที่เป็นกุศล อะ กุ สะ ลา ธัมมา

    ผู้ฟัง ธรรมที่เป็นอกุศล

    ท่านอาจารย์ มีจริงๆ หรือเปล่า

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ เป็นปรมัตถธรรมอะไร

    ผู้ฟัง เป็นปรมัตถธรรม

    ท่านอาจารย์ อะไร หมายความว่าต้องเข้าใจจริงๆ ทำไมใช้คำว่าปรมัตถธรรม เมื่อรู้ความหมายของปรมัตถธรรมแล้ว ปรมัตถธรรมมีอะไรบ้าง ทำไมถึงต้องเป็นจิต เจตสิก รูป นิพพาน อย่างอื่นไม่มีมากกว่านี้หรือ ต้องเป็นเหตุเป็นผล แม้แต่ แต่ละคำปรมัตถธรรมมีเท่าไหร่ โดยประเภทก็คือ จิต ๑ เจตสิก ๑ รูป ๑ นิพพาน ๑ ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ต้องอยู่ใน ๔ อย่าง นิพพาน ๑ แยกไปเลย เพราะไม่มีการเกิดขึ้น ไม่มีหลากหลายอย่างจิต เจตสิก ซึ่งต่างกันด้วยปัจจัยต่างๆ แต่ว่าสิ่งที่มี ที่ปรากฏนี่แหละเป็นธรรมที่มีจริง เป็นปรมัตถธรรมเปลี่ยนไม่ได้ ลึกซึ้งเป็นอภิธรรม แล้วอัพยากตธรรมคืออะไร

    ผู้ฟัง ไม่มีทั้งกุศล ไม่มีทั้งอกุศล

    ผู้ฟัง ใช้คำว่าไม่มี ทั้งกุศล อกุศล เข้าใจหรือเปล่า นี่คือฟังเผิน แล้วฟังแบบเหมือนกับรู้เรื่อง เหมือนกับเข้าใจ เหมือนกับเริ่มจำคำได้แต่ความเข้าใจสำคัญกว่า ปรมัตถธรรมคืออะไร เป็นเพียงคำ แต่ความเข้าใจต้องมั่นคงว่า สิ่งที่มีจริงนี่แหละเป็นธรรมแน่นอน คือหมายความว่าไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่โต๊ะ ไม่ใช่เก้าอี้ อย่างที่เราเคยเข้าใจ ความลึกซึ้งของพระธรรมพูดถึงสิ่งที่มีจริงๆ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เราบอกว่าโต๊ะ เราบอกว่าเก้าอี้ ต่างกันตรงไหน

    ผู้ฟัง แต่ก็ตอบตามที่เห็น โต๊ะกับเก้าอี้ รูปร่างก็ไม่เหมือนกันแล้ว

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นโต๊ะ เก้าอี้ ต่างกัน และต่างกับเสา อย่างไร

    ผู้ฟัง ต่างกับเสาอย่างไร ก็เหมือนกับชาวโลกก็เรียกอย่างนี้เป็นเสา

    ท่านอาจารย์ ต่างกับต้นไม้อย่างไร ต่างกับหลังคาบ้านอย่างไร นั่นคือยังคงไม่ใช่ปรมัตถธรรม เพราะเหตุว่ายังมีสิ่งที่จำไว้ว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง การฟังธรรมต้องเข้าใจลึกซึ้งจริงๆ ว่าทุกคำลืมไม่ได้ เปลี่ยนไม่ได้ ถ้าเป็นธรรมที่เกิด มีปัจจัยปรุงแต่งจึงต้องเกิด แต่เรายังไม่รู้ว่าปัจจัยอะไร แต่เริ่มเข้าใจถูกต้องว่าอยู่ดีๆ จะโผล่เกิดขึ้นเองโดยไม่มีปัจจัยไม่ได้ ผิดวิสัย ไม่ใช่เหตุไม่ใช่ผล แต่เพียงไม่รู้ ยังไม่รู้ว่าเกิดเพราะปัจจัยอะไร แต่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยละเอียดยิ่งตามลำดับ เพื่อแสดงให้รู้ความจริงว่า สิ่งนั้นมี แต่เป็นอะไรก่อน แล้วถึงแสดงปัจจัย ว่าอะไรทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้นเราจะไปรู้ทันทีทั้งหมดไม่ได้เลย แต่เราต้องเริ่มค่อยๆ เข้าใจขึ้น เพราะฉะนั้น เห็นโต๊ะ เห็นเก้าอี้ เห็นหลังคา เป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารึเปล่า

    ผู้ฟัง ก็ไม่ใช่

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามี ๒ อย่าง สมมติ กับ ปรมัตถ์ ๒ อย่าง เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่ใช่คำเลย เราจะเข้าใจไหม ถ้าไม่พูดหลังคา ไม่พูดโต๊ะ ไม่พูดเสา จะรู้ความต่างไหม

    ผู้ฟัง ไม่รู้

    ท่านอาจารย์ นั่นคือสมมติสัจจะ แต่ปรมัตถสัจจะอีกเรื่องหนึ่งสมมติสัจจะชาวโลกพูดกันทุกวัน ต้นไม้ ภูเขา คน อาหาร ผลไม้ แต่ปรมัตถสัจจะความจริงที่ยิ่งกว่านั้น คืออะไร นี่คือผู้ที่รู้แจ้งจึงสามารถที่จะทรงแสดงได้ ว่าแท้ที่จริงแล้วสิ่งที่ปรากฏให้เห็นมี เพราะฉะนั้นขณะที่เห็น ไม่ได้เห็นโต๊ะ ไม่ได้เห็นเก้าอี้ ไม่ได้เห็นหลังคา นี่ความละเอียดยิ่งของ ๑ ขณะจิต คือขณะเห็นเดี๋ยวนี้ เห็นสิ่งที่เพียงปรากฏให้เห็นได้ ไม่ใช่ให้ไปจำ หรือให้ไปทำอะไร แต่ว่าให้เข้าใจจริงๆ เข้าใจแล้วล่ะ เข้าใจขึ้นอีก มั่นคงขึ้นอีก แน่นอนขึ้นอีก นั่นคือความลึกซึ้งของธรรม ซึ่งวันหนึ่งก็จะทำให้รู้จริงๆ ว่าเข้าใจถึงระดับไหน ถึงระดับเพียงแค่จำว่า เห็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็น เท่านั้นไม่พอใช่ไหมนั่นยังไม่ใช่ความเข้าใจที่มั่นคง ต้องรู้ด้วยว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาจริง หรือ เห็นเพียงแค่สิ่งที่ปรากฏทางตาจริงหรือ หลับตาสิ หายไปไหนหมด เริ่มเข้าใจถูกขึ้นอีกว่าเฉพาะขณะที่เห็นเท่านั้น ที่มีสิ่งที่ปรากฏหลากหลาย แต่ว่าถ้าไม่ปรากฏเลย จะมีความหลากหลายให้เห็นไหมเพราะสิ่งนั้นหลากหลายโดยส่วนผสมของแต่ละรูป ที่ทำให้เป็นสีของกิ่งก้าน ใบ ดอก โต๊ะ เก้าอี้ พวกนี้ แต่ว่าทั้งหมดก็เป็นเพียงธรรมประเภทหนึ่งประเภทเดียว ในบรรดาธรรมทั้งหมดที่ปรากฏให้เห็นได้ในขณะที่มีเห็น หลัยตาไม่มีแล้วใช่ไหม คุณม้ออยู่ที่ไหน ใครอยู่ที่ไหนไม่มีเลย แค่หลับตาหายไปไหนหมด แต่ลืมตามาเลยทันที ครบถ้วนเหมือนเดิมก่อนหลับ เพราะเห็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ ถ้าไม่เข้าใจอย่างนี้ จะละความเป็นเรา หรือเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้ จะละความเป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้ เป็นหลังคา เป็นต้นไม้ ไม่ได้ ต่อเมื่อไหร่ที่เข้าใจแต่ละหนึ่ง ชัดเจน มั่นคง ละเอียดขึ้น ก็จะนำไปสู่การประจักษ์แจ้งความจริงของสภาพธรรมที่เรากล่าวถึงในขั้นของการฟัง

    เพราะฉะนั้นการฟังกับความจริง ไม่ได้ต่างกันเลย เพียงแต่ว่าปัญญาถึงระดับไหน ถึงระดับเพียงฟังเรื่องของธรรม ซึ่งเป็นปรมัตถ์จริงๆ ล้วนๆ ต่างกันเป็นจิต ธาตุที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้เจตสิกซึ่งเป็นนามธรรมหลากหลายมาก แต่ต้องเกิดกับจิต ไม่ไปเกิดกับอย่างอื่นเลย และรูปมีจริงๆ เกิดด้วย แต่ไม่ใช่จิตไม่ใช่เจตสิกเพราะไม่สามารถจะรู้อะไร เพียงแค่นี้ความเข้าใจที่มั่นคงแค่ไหน แล้วเราก็ไปเรียนชื่อ เรียนอะไรตั้งหลายอย่าง แต่เพียงความเข้าใจที่มั่นคงขึ้น แม้แต่จิตเห็นไม่ใช่เรา และจิตเห็นก็ไม่ใช่คิด จิตเห็นก็ไม่ใช่จำ จิตเห็นไม่ใช่ชอบ ไม่ชอบ เป็นแต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่ง ซึ่งละเอียดสุดที่จะประมาณได้ และเร็วมากการเกิดดับจนกระทั่งเข้าใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบำเพ็ญพระบารมีถึงความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงประจักษ์แจ้งความจริง ลึกซึ้งยิ่งกว่าคนอื่นที่จะคาดคะเนได้ เพราะฉะนั้นกำลังเห็นเดี๋ยวนี้ เริ่มเข้าใจแค่ไหน เห็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ แล้วอีกนานเท่าไร จึงจะมั่นคงที่จะละความเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ในสิ่งที่ปรากฏให้เห็น เช่น ละความเป็นโต๊ะ ความเป็นสัตว์บุคคล เป็นเก้าอี้เป็นหลังคา คือเป็นเพียงแค่เห็น

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 179
    19 ก.ค. 2567