ปกิณณกธรรม ตอนที่ 936


    ตอนที่ ๙๓๖

    สนทนาธรรม ที่ คุ้มภูผาหมอก จ.เลย

    วันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙


    ท่านอาจารย์ น่าสงสัย เพราะไม่รู้ว่าแท้ที่จริงเดี๋ยวนี้เห็นอะไร แค่นี้ก็ไม่รู้แล้ว ถ้าถามก็แต่ว่าเห็นเรา แต่คิดดีๆ หลับตาแล้วมีเราไหม ไม่เหลือเลย เพราะฉะนั้นเห็นอะไรกันแน่ เห็นเพียงสิ่งที่สามารถกระทบตาได้ เสียงกระทบตาไม่ได้ เพราะฉะนั้นใครจะไปเห็นเสียง ไม่มีทางเป็นไปได้เลย แต่ว่าสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา อยู่ที่มหาภูตรูป คนไทยเกิดมาจะได้ยินคำว่าธาตุ ๔ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม เป็นธาตุที่เป็นใหญ่เป็นประธาน ไม่ว่าอะไรทั้งสิ้น ถ้าปราศจากธาตุดินน้ำไฟลม แล้วไม่สามารถเกิดได้ เช่นกลิ่น กลิ่นอยู่ที่ไหน กลิ่นดอกกุหลาบ กลิ่นดอกแก้ว กลิ่นแกงมีไหมคะ ที่นั่นมีมหาภูตรูปทั้งนั้น แต่ว่ากลิ่น ไม่ใช่แข็ง ไม่ใช่อ่อน ไม่ใช่เย็น ไม่ใช่ร้อน แต่มีจริงๆ เมื่อไหร่ เมื่อมีจมูก รูปพิเศษที่ใช้คำว่าฆานปสาท ปสาท เป็นรูปที่ใช้คำว่า ใส หมายความว่าไม่ใช่ธาตุแข็ง ธาตุลม ธาตุไฟ แต่ธาตุนี้สามารถกระทบกับสิ่งที่กระทบได้ เหมือนกระจกเงา พอใครเดินผ่านก็กระทบ กับกระจกเงาก็ปรากฏ ถ้าเดินผ่านกำแพง ต้นไม้ มีเงาปรากฏไหม ก็ไม่มี

    เพราะฉะนั้นปสาทรูปเป็นรูปพิเศษต่างจากรูปอื่น ใช้คำว่า อินทรียรูป ที่เป็นใหญ่ใหญ่จริงๆ ถ้าไม่มีจักขุปสาทรูป ที่สามารถมีสิ่งที่อยู่ที่มหาภูตรูปมากระทบ แล้วเกิดสิ่งที่ปรากฏให้เห็นจะๆ ไม่มีเรื่องราวใดๆ ทั้งสิ้น จะมีการแสวงหาสิ่งที่น่าพอใจทางตาไหม สารพัดอย่าง ดูก็แล้วกันที่ไหนก็ได้ มีแต่สิ่งที่พอใจทั้งนั้นเลย มีรูปนกฮูก น่ารักไหม ถ้าไม่ชอบจะเอามาวางไว้ไหม ทั้งหมดแสวงหาสิ่งที่น่าพอใจ โดยไม่รู้เลย ไม่เข้าใจเลยว่าแท้ที่จริงแล้วแค่เห็น เดี๋ยวนี้นกฮูกที่เห็นที่เคยตั้งอยู่ตรงนั้นยังอยู่ไหม จำได้ว่าอยู่ตรงนั้นแน่ เหมือนยังอยู่แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ว่าสิ่งนั้นไม่เหลือ ต่อเมื่อสิ่งนั้นยังเกิดดับสืบต่อ คงไว้ซึ่งสภาพนั้น แล้วกระทบตาอีก ก็มีความทรงจำว่านี่ไงนกฮูกตัวนั้น ไหนว่าดับไป แต่ความจริงไม่เหลือจริงๆ

    เพราะฉะนั้นถ้ารู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็รู้คุณ พระปัญญาคุณ ไม่มีใครจะมีชื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เลย นอกจากผู้ที่บำเพ็ญบารมีที่จะตรัสรู้ความจริง ทรงประกอบด้วยพระญาณต่างๆ เหนือบุคคลใดไม่ใช่เฉพาะในมนุษย์โลก เทวโลกทั้งหมด พรหมโลกทั้งหมด กี่จักรวาล ไม่มีใครที่จะมีปัญญา อย่างที่ได้ทรงแสดงให้คนอื่นได้เข้าใจว่านี่คือ การตรัสรู้ของพระองค์ ที่สามารถจะรู้สิ่งที่คนอื่นไม่รู้ เดี๋ยวนี้ก็ไม่รู้จนกว่าฟังพระธรรมเมื่อไหร่ค่อยๆ เข้าใจขึ้น รู้จักว่าพวกที่ทุกคนกราบไหว้บูชาสูงสุดต้องในพระปัญญาคุณ ในพระบริสุทธิคุณ ปัญญานั้นที่รู้ความจริง ดับกิเลสทั้งหมด ที่เคยเข้าใจผิด ที่เคยหลงผิด ที่เคยยึดถือสภาพธรรมด้วยความไม่รู้ จนกระทั่งไม่มีกิเลสใดๆ เหลือเลย แล้วคนที่ไม่รู้ความจริง กิเลสเท่าไร แล้วฟังคำจริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยความประมาท ฟังแล้วเหมือนจะเข้าใจได้หมดเลย บอกว่ารู้แล้ว พูดซ้ำ ต้องพูดอย่างอื่น แต่ว่าพูดซ้ำเพื่ออะไร เมื่อไหร่จะรู้สักทีว่าเห็นไม่ใช่เรา เป็นธาตุซึ่งเกิดขึ้นเห็นแล้วดับ นี่คือสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพระบารมีให้เราได้เข้าใจ และรู้ตามเพื่อดับกิเลสด้วย

    เพราะฉะนั้นก็อยู่ที่แต่ละคน ไม่สามารถจะไปบังคับใคร เชื้อเชิญใครให้ฟังพระธรรม ถ้าเขาไม่เห็นคุณประโยชน์จริงๆ ทั้งๆ ที่ถามเขาก็บอกว่าเขานับถือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ต้องตรงนับถืออะไร มีอะไรที่เขานับถือ ตอบได้ไหมถ้าไม่รู้ว่าพระปัญญาคุณจากการที่ทรงแสดงธรรมให้มีความเข้าใจถูก เพื่อเข้าใจถูก จึงรู้ว่าคำนั้นจะมาจากคนอื่นไม่ได้เลย นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น เพราะฉะนั้นใครก็ไม่รู้ว่าจะจากโลกนี้ไปวันไหน เมื่อไหร่ เย็นนี้ก็ได้ พรุ่งนี้ก็ได้ คืนนี้ก็ได้ แต่ว่าตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ สิ่งที่มีค่าที่สุดเหนือทรัพย์สินเงินทองใดๆ สิ่งอื่นใดทั้งสิ้น แม้แต่แขนขา อวัยวะ หูตาทั้งหมด ซึ่งเป็นที่รักอย่างยิ่ง ก็ไม่มีค่าเท่ากับปัญญา มีตา มีหู มีกาย ทำทุจริตจะมีประโยชน์อะไร แต่ว่าถึงแม้ว่าจะเป็นคนดี ดีเท่าไหร่ก็ยังไม่พอเพราะยังมีกิเลส มีความไม่รู้ ซึ่งวันหนึ่งก็จะสามารถจะทำทุจริตต่างๆ ได้เพราะว่ายังไม่ได้ดับกิเลส ด้วยเหตุนี้ พระธรรมเท่านั้นที่เป็นความเข้าใจซึ่งเป็นธรรมที่มีจริงเกิดขึ้น แล้วดับไป แล้วก็ลืมเพราะว่าขณะที่มีการเห็นสิ่งอื่น ได้ยินเสียงอื่น ก็จำเสียงอื่น

    เมื่อวานนี้เราสนทนาเรื่องอะไรบ้าง ไม่ต้องไปจำทุกคำ แต่เข้าใจเรื่องจิตขึ้น ว่ามีจิตแน่นอนไม่ใช่เรา พูดถึงจิตเมื่อไหร่ก็รู้ว่าลืมคิดถึงจิตเมื่อนั้น ทั้งๆ ที่เดี๋ยวนี้ก็เป็นจิตนั่นแหละ แล้วก็เป็นเจตสิก สภาพนามธรรมซึ่งไม่ใช่จิต แต่เกิดกับจิต เพราะเป็นสภาพรู้สิ่งเดียวกัน เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน นี่คือชีวิต จากขณะหนึ่งไปอีกขณะหนึ่งอย่างเร็วสุดที่จะประมาณได้ ในสังสารวัฎเป็นมาแล้ว แล้วก็จะเป็นอย่างนี้ แล้วก็จะเป็นต่อไป จนกว่าจะค่อยๆ เข้าใจธรรมขึ้น เพราะฉะนั้นเมื่อครู่นี้เรื่องเปรต ตอนนี้ก็เรื่องจิต ไม่มีจิตจะมีการได้ยินไหม จะมีคิดนึกไหม เพราะฉะนั้นการคิดนึกทั้งหมด ถ้าสามารถจะทำให้เข้าใจสิ่งที่มีอยู่ว่าไม่ใช่เรา ก็เป็นสิ่งที่จะสะสมสืบต่อไป จนกระทั่งรู้จริงอย่างนั้นได้ ขณะนี้เพียงแค่ฟังก่อน พระธรรมไม่มีใครสามารถที่จะรู้ได้ จะเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไหร่ที่จะได้เข้าใจธรรม แต่ที่ใดก็ตามที่มีผู้ที่ได้สะสมบุญไว้แต่ปางก่อน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็สามารถที่จะได้ยินได้ฟัง และเข้าใจเพิ่มขึ้น ถ้าศึกษาธรรมเข้าใจทีละคำ จะเป็นประโยชน์มาก เพราะคำเดียวที่ได้ฟัง ยังไม่ถึงการรอบรู้จนกว่าจะได้ฟังเพิ่มขึ้น พระอรหันต์เป็นธรรม หรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไม่มีอะไรเลยที่จะไม่ใช่ธรรม

    ผู้ฟัง เมื่อก่อนที่เรากระพริบตาแล้วเรารู้ แต่ความจริงเราไม่รู้ว่าไม่ใช่เรา

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นกว่าจะรู้ว่าไม่ใช่เรา แล้วเป็นอนัตตาบังคับให้รู้ไม่ได้ ต่อเมื่อมีปัจจัยพอ ที่จะอะไรจะเกิดสิ่งนั้นจึงเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นฟังไปเพื่อสะสมเป็นปัจจัยที่จะให้ความเข้าใจค่อยๆ เพิ่มขึ้น จนถึงสามารถที่จะรู้ความจริงตรงตามที่ได้ฟัง ทั้งหมดด้วยความไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นถ้าเป็นเราจะทำ ไม่ใช่คำของพระสัมมาสัมพุทธจ้า เพราะฉะนั้นถ้ากล่าวให้เข้าใจความจริง เพื่อที่จะได้เข้าใจถูกต้องคือสำนักปฏิบัติ ทำลายคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะอะไรเพราะไม่ได้พูดให้เข้าใจสิ่งที่มีเป็นปกติ เกิดแล้วเป็นปกติตามเหตุตามปัจจัย ถ้าไม่เป็นอย่างนี้จะรู้ในความเป็นอนัตตาได้อย่างไร เดี๋ยวนี้ทั้งหมดที่ปรากฎ เกิดแล้วโดยไม่มีใครไปทำให้เกิด เพราะฉะนั้นคิดที่จะไปทำด้วยความเป็นเราเพราะไม่เข้าใจธรรม ไม่ทราบมีใครไม่เห็นด้วยบ้างไหม คิดต่างได้ใช่ไหม เพราะสะสมต่าง ความคิดก็ต้องต่างหลากหลายกันไป แต่ถ้าตรงกับความเป็นจริงเป็นธรรม เพราะธรรมตรง ถูกคือถูก แล้วก็ผิดคือผิด แล้วถ้าจะมีเมตตาจิต เห็นประโยชน์ของคนที่จะเข้าใจธรรมถูก ควรพูดให้เข้าใจถูกต้องไหม ไม่ใช่เป็นการจู่โจมทำร้ายอะไรเลยทั้งสิ้น แต่เป็นการอนุเคราะห์ให้เข้าใจว่าอะไรถูกอะไรผิด ถ้าผิดแล้วยังจะเก็บไว้ไหม ถ้าเก็บไว้ก็ไม่ถึงวันที่จะถูก เพราะเห็นว่าความที่เข้าใจผิด ปิดกั้นไม่ให้เห็นถูกต้อง เห็นผิดได้ง่ายไหม หรือยาก

    ผู้ฟัง ง่าย

    ท่านอาจารย์ เห็นถูกนี่ง่ายหรือยาก

    ผู้ฟัง ยาก

    ท่านอาจารย์ ยาก เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่า ความเห็นถูกนี่ยากกว่าความเห็นผิด เพราะความเห็นผิดไม่ต้องทำอะไรเลย ไม่ต้องทำอะไรเลย ไม่รู้อยู่แล้วก็ทำให้มีความเข้าใจผิดในสิ่งที่ปรากฏว่าเที่ยง บังคับบัญชาได้ ทำได้ จะไปทำ นั่นก็คือว่าไม่เข้าใจคำว่าธรรม เพราะฉะนั้นแม้คำว่าธรรม ต้องรอบรู้ และแทงตลอดคือมั่นคงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา

    อ.ธิดารัตน์ แล้วก็ถ้าฟังพระอภิธรรม จะได้ยินคำว่า ปกิณณกเจตสิก ก็หมายถึงว่าก็เป็นเจตสิกที่เกิดกับจิต ตามสมควร

    ท่านอาจารย์ ตอนนี้คุณธิดารัตน์เพิ่มอีกคำแล้ว เจตสิก ตอนต้นเราก็พูดแค่จิตใช่ไหม แล้วก็เริ่มรู้จักจิตว่ามีจริงๆ มองไม่เห็น จับต้องไม่ได้ ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส เป็นธาตุรู้เท่านั้น ต้องเกิดจึงรู้ ถ้าไม่เกิด ก็ไม่มีใช่ไหม ที่จะรู้อะไรได้ เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้ไม่ว่าอะไรก็ตามที่ปรากฏให้รู้ เพราะจิตเกิดขึ้นรู้สิ่งนั้น เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งสภาพธรรมทั้งหมดเลย ไม่ว่าจะทางตาเดี๋ยวนี้ที่กำลังเห็น กำลังเห็นอย่างนี้ ก็คือจิตเกิดขึ้นเห็น กำลังได้ยินก็คือจิตเกิดขึ้นได้ยินเพราะก่อนได้ยิน ไม่มีจิตได้ยินเกิดเลยใช่ไหม จิตได้ยินยังไม่เกิด เสียงก็ไม่ปรากฏ แต่พอจิตได้ยินเกิด เสียงปรากฏ เพราะจิตนั้นเกิดขึ้นได้ยินเสียง จะมีเราแต่ที่ไหน ทุกวัน ทุกขณะก็เป็นแต่เพียงธรรม ซึ่งมีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แต่ว่าความเข้าใจธรรม นี่ต้องค่อยๆ เพิ่มขึ้นสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามที่จะเกิด เกิดเองไม่ได้ ใครไปทำให้เกิดก็ไม่ได้ แต่มีธรรมที่เป็นปัจจัยอาศัยทำให้เกิดขึ้น ถ้าจิตไม่มีสภาพธรรมนั้นจิตก็เกิดไม่ได้

    เพราะฉะนั้นคำว่าปัจจัยก็หมายความถึงธรรมซึ่งอนุเคราะห์เกื้อกูลสนับสนุนให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เกิดจะปราศจากปัจจัย คือสภาพธรรมที่อาศัยที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดไม่ได้เลย แต่เราไม่รู้ใช่ไหม อย่างเห็นนี้ก็เกิดแล้ว เห็นแล้วใครจะไปนั่งคิดว่า ถ้าไม่มีตา รูปที่สามารถกระทบกับสิ่งที่ปรากฏ จิตเห็นเกิดไม่ได้เลย จะไปบังคับให้จิตเกิดขึ้นเห็น เป็นไปไม่ได้ใช่ไหม ทำให้จิตเห็นเกิดขึ้นก็ไม่มีใครไปทำได้ แต่เห็นอาศัยสิ่งที่ทำให้เห็นเกิดขึ้นต้องมีจักขุปสาทรูป รูปที่เกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นสมุฎฐาน ด้วยเหตุนี้ บางคนเกิดมา ตาบอดตั้งแต่เกิด เพราะเหตุว่ากรรมที่เคยไม่ต้องการที่จะให้มีตา ประทุษร้ายคนอื่นด้วยความหวังที่จะไม่ให้เขาเห็น

    ไม่ว่าจะทำกรรมใดไว้ ทั้งกุศล และอกุศล สะสมอยู่ในจิต ไม่ได้ไปไหนเลยเป็นที่นิรภัยจริงๆ ไม่มีอะไรจะไปแตะต้อง แดด ลม ไฟ แตะต้องไม่ได้เลย เป็นที่เก็บกรรมเพราะอยู่ในจิต แล้วจิตก็ไม่มีอะไรที่จะไปให้ไฟเผา หรือถูกแดด ถูกลมได้ เพราะว่าเป็นธรรม ซึ่งเป็นนามธรรมไม่มีรูปใดๆ เจือปนเลยทั้งสิ้น นี่คือจิตของแต่ละคน และเราไม่สามารถที่จะรู้จิตเราชาติก่อนแน่ๆ ใช่ไหม ชาตินี้พอจะจำได้ แต่เข้าใจผิดว่าเป็นจิตเรา แล้วมาจากไหนล่ะ โลภะ โทสะ โมหะ ไม่ว่าการกระทำคำพูดใดๆ ทั้งหมด ต้องมาจากการที่ได้สะสมปรุงแต่งจึงมีคำว่าสังขารขันธ์

    สังขารขันธ์ร้ไม่ใช่จิต แต่เป็นเจตสิก๕๐ประเภท ที่ปรุงแต่งให้ฉลาดให้มีเหตุผล หรือว่าให้เป็นอะไรสารพัดทุกอย่างที่เป็นชีวิตประจำวันของแต่ละคน มากมายมหาศาล สะสมไว้ไม่มีที่จะเก็บเลยเยอะมากแน่นหนามาก แต่รู้ได้เมื่อเกิดขึ้น จะพูดสักคำ พูดเหมือนกันหรือเปล่า นั่นเหมือนกันหรือเปล่า เดินเหมือนกันหรือเปล่าใช่ไหม ความละเอียดจนกระทั่งแม้กิริยาอาการ อากัปกริยาก็ไม่เหมือนกัน เพราะการสะสมของกุศล และอกุศลอย่างละเอียดมาก ท่านพระสารีบุตร ท่านเดินเร็วมากใช่ไหม คนอื่นคงไม่เร็วอย่างท่าน จึงกล่าวได้ว่าท่านเป็นผู้ที่เดินเร็ว ท่านพระมหากัจจายนะ ลงจากภูเขาคิชฌกูฏ มหาอำมาตย์ก็ยังอุตส่าห์บอกว่าเหมือนลิง คิดดู แค่นี้ อะไรทำให้คิดอย่างนั้นทำไมคนอื่นไม่คิด หรือแม้คนอื่นคิด เขาพูดหรือเปล่า ก็ไม่พูด เพราะฉะนั้นแต่ละคนเป็นแต่ละหนึ่งจริงๆ ไม่มีการที่จะไปแลกเปลี่ยนโอนให้กันได้เลย เอาของฉันไปเอาของเธอมา ไม่มีทางจะเป็นไปได้เลยสักอย่างเดียว

    เพราะฉะนั้นทุกอย่างเป็นธรรม ซึ่งกว่าจะรู้ว่าไม่ใช่เราก็ต้องอาศัยการฟังด้วยความเข้าใจที่มั่นคงว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ตรัสรู้เห็น หรือเปล่า ได้ยินหรือเปล่า ก็ต้องทรงตรัสรู้ จึงได้ทรงแสดงความจริงของเห็นของได้ยิน และทุกอย่าง และขณะนี้ก็มีเห็น แต่ความไม่รู้ไม่สามารถที่จะรู้ความจริงได้ ต้องอาศัยการฟัง แต่ละคำ ๔๕ พรรษาเพื่อที่จะไม่ให้จิตไปสู่ที่อื่นเหมือนเคย เรื่องนั้นเรื่องนี้หมดเลย อย่างเดียวนี้เป็นต้น ไม่ได้คิดถึงจิต จนกว่าสามารถที่จะมีปัจจัยที่ทำให้เข้าใจเห็นเดี๋ยวนี้ ด้วยความเป็นอนัตตาเป็นปกติ เพราะฉะนั้นจะผิดปกติไม่ได้เลยผิดปกติเมื่อไหร่ คือไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่จะให้ติดข้องในความเป็นเราจึงทำให้ผิดปกติ

    เพราะฉะนั้นต้องเป็นผู้ที่ละเอียดจริงๆ จึงสามารถที่จะเห็นความละเอียดของธรรม ว่าสะสมมาอย่างเลวนี้มาก อย่างดีก็ตามแต่โอกาสที่จะเกิดขึ้นปรากฏให้เห็น แต่ดีเท่าไหร่ก็ไม่พอ ตราบใดที่ยังไม่รู้ความจริงว่าไม่ใช่เรา นี่เป็นเหตุที่ทำให้ฟังพระธรรม ทุกชาติที่มีโอกาสพอได้ยินว่ามีพระธรรมบางคนก็ไปฟังเลย อย่างคุณปาริชาติ แค่ได้ยินไม่ทั้งหมดของตอนด้วย ก็ยังรู้ว่านี่ถูกต้อง และเป็นสิ่งที่จะทำให้เข้าใจขึ้นถ้าได้ฟังต่อไป ชาติหน้าเป็นใครที่นั่งกันอยู่นี่ จากวัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์ของนครราชคฤห์ กล่าวถึงอาการของพระมหากัจจายนะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสให้พราหมณ์นั้นขอโทษ คนอื่นอาจจะขอโทษ แต่วัสสการพราหมณ์ไม่สามารถขอโทษได้ เพราะฉะนั้นอกุศลแต่ละหนึ่ง ซึ่งเราดูเหมือนว่าเล็กๆ น้อยๆ แต่สามารถที่จะให้ผลได้ เพราะฉะนั้นประมาทไม่ได้เลย ถ้าเห็นโทษ ของอกุศลทุกอย่างเราจะเป็นคนดีขึ้น เพราะว่าปัญญาย่อมนำไปในกิจทั้งปวง แต่ทั้งๆ ที่พระผู้มีพระภาค ตรัสให้ขอโทษ พระผู้มีพระภาคเป็นใคร มีความเคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือเปล่า เพียงแค่ขอโทษ ทำไม่ได้ที่ได้กล่าวล่วงเกิน พระผู้มีพระภาค ตรัสพยากรณ์ว่า วัสสการพราหมณ์ ก็จะไปเกิดเป็นลิง ที่สวนเวฬุวัน ท่านก็ให้คนไปปลูกกล้วยเอาไว้ อย่างนั้นเลย ไม่เห็นภัยของการที่ จากผู้ที่สามารถฟังพระธรรมเข้าใจได้ แล้วก็ต้องไปอยู่เป็นชาติซึ่งไม่สามารถที่จะรู้เรื่องแต่ละคำที่ได้ยิน ก็ยังยอม

    เพราะฉะนั้นทั้งหมดที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ๔๕ พรรษา เพื่อให้ปัญญาเกิดขึ้น ตรงกันข้ามกับอวิชาความไม่รู้ เพื่อที่จะเห็นโทษของอกุศลแม้เพียงเล็กน้อย จึงได้ทรงแสดงพระธรรม ๔๕ พรรษาเพราะว่าบังคับใครให้ฟังธรรมก็ไม่ได้ แต่ใครก็ตามที่สะสมมาพอ เห็นประโยชน์ก็จะรู้สึกว่าตลอดชีวิตสิ่งที่มีค่าที่สุดก็คือว่าได้เข้าใจธรรมคือสิ่งที่มีจริงๆ เพราะฉะนั้นแม้ว่าเป็นเรื่องยาก แต่เข้าใจได้ค่อยๆ เข้าใจ เมื่อครู่นี้พูดถึงเรื่องจิต เข้าใจแล้วว่า จิตต้องมีเจตสิกนามธรรมแต่ไม่ใช่จิต เจตสิกมีถึง ๕๒ ประเภท แต่ละหนึ่งเกิดมาต่างๆ กันไป ทำหน้าที่แทนกันไม่ได้เลย อวิชาเป็นเจตสิก โมหะเจตสิกเมื่อไม่รู้ความจริง เพราะฉะนั้นก็ตรงกันข้ามกับวิชา เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่าที่เราพูดเรื่องของเจตสิก ไม่ได้พูดไกลตัวเลยเดี๋ยวนี้เอง แม้จิตก็ยังไม่ปรากฏให้รู้ว่าจิตเป็นอย่างนี้ เป็นธาตุรู้เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏ และเจตสิกแต่ละหนึ่งก็เกิดขึ้นกับจิต ไม่เกิดขึ้นกับอย่างอื่นเลย ต้องเกิดขึ้นกับจิต เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกัน จิตเห็นสิ่งที่ปรากฏ เจตสิกแต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่ง ก็รู้สิ่งที่ปรากฏโดยอาการลักษณะของจิตนั้นๆ ต่างๆ กันไป

    เพราะฉะนั้นก็จำแนกเจตสิกเป็นประเภทๆ เพราะว่าเจตสิกหลากหลายมาก ประเภทหนึ่งที่ได้ยินก็คือปกิณณกเจตสิก เจตสิก เรี่ยรายหมายความว่าเกิดกับจิตได้ เกือบทุกประเภทแต่ไม่ใช่ทุกประเภท นี่คือความละเอียดยิ่ง แต่ส่วนใหญ่จะเกิดได้ทั้งกับกุศลจิต อกุศลจิตเป็นเจตสิกซึ่งเป็นไปกับธรรมซึ่งเกิดร่วมกัน ถ้าเจตสิกเป็นอกุศลเกิดเจตสิกทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นปกิณณกเจตสิก ซึ่งไม่ใช่อกุศลเจตสิก ก็ต้องเป็นอกุศลด้วย เพราะว่าเกิดร่วมกันในขณะนั้น สามารถที่จะเข้ากันได้กับจิตทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นกุศล หรืออกุศล หรือจิตที่เป็นผลของกุศล อกุศลซึ่งใช้คำว่าวิปาก หรือ วิบาก หรือจิตที่ไม่ใช่กุศลอกุศล ไม่ใช่วิบากแต่เป็นกิริยาจิต ก็ยังคงเป็นธรรม ซึ่งมีปัจจัยเกิดแม้เป็นกิริยา จนกว่าจะหมดปัจจัยที่จะทำให้จิตเกิด ใครบังคับให้จิตของพระอรหันต์ ซึ่งเกิดแล้วดับแล้ว เป็นพระอรหันต์แล้ว ไม่เกิดต่อไม่ได้ ตราบใดที่ยังมีปัจจัยที่ยังต้องเกิดต่อไป จนกว่าจะสิ้นกรรมที่ทำให้เป็นบุคคลในชาตินั้น

    เพราะฉะนั้นจุติจิต จิตขณะสุดท้ายของชาตินี้ ไม่ได้ทำกิจเห็น ไม่ได้ทำกิจได้ยิน แต่ทำกิจเคลื่อนพ้นสภาพความเป็นบุคคลนี้ ไม่ให้เกิดได้ไหม ไม่มีทาง ต้องเกิดแน่นอน ช้าหรือเร็ว ต่อจากนั้นก็คือว่ากรรมหนึ่งที่ได้กระทำแล้ว เป็นปัจจัยให้จิตเกิดสืบต่อทันทีไม่มีระหว่างคั่น เพราะฉะนั้นจิตเดี่ยวนี้สืบต่อมาจากแสนโกฎกัลป์ ไม่มีระหว่างคั่นเลย จากปฏิสนธิคือเกิด ก็ไปสู่จุติ แล้วก็ปฏิสนธิอีก แล้วก็จุติจิต ทันทีที่เกิดก็มีการสืบต่อไปจนกว่าจะถึงเคลื่อนพ้นความเป็นบุคคลนี้ หมดเลยกลับมาอีกไม่ได้เลย ไม่ว่าจะอีกกี่ภพกี่ชาติ ชื่อนี้หายไปเลย คนนี้หายไปเลย ไม่สามารถที่จะกลับมาเป็นบุคคลนี้ได้อีกเลย ก็เป็นแต่ละหนึ่งชาติว่าจะเป็นใครในชาตินั้น เป็นลิงได้ไหม ก็ต้องเป็นลิงชาตินั้นเป็นคนก็ต้องเป็นคนในชาตินั้น จนกว่าจะสิ้นกรรมที่ทำให้เกิดเป็นคนนั้น

    เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจขึ้น เพราะว่าแค่นี้ละความเป็นเราไม่ได้ ต้องรู้ละเอียดกว่านั้นว่าจิตเป็นจิตไม่ใช่เจตสิก แต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่ง ซึ่งเจตสิกทั้งหมดมี ๕๒ ประเภท หลากหลายแต่ก็จำแนกเป็นประเภทใหญ่ ๓ ประเภท คือเจตสิกที่เกิดกับจิตได้ทุกประเภทเลย เรียกว่าปกิณณกเจตสิก นี้เพิ่มความหมายของคำว่าปกิณณกะ เกิดได้กับจิตทุกประเภท แต่ก็ยังมีสัพพจิตตสาธารณเจตสิก ในบรรดาจิต ซึ่งเกิดได้กับจิตทุกประเภท ก็มีเจตสิกซึ่งต้องเกิดกับจิตทุกขณะ ละเอียดไปอีก นี่ก็คือธรรมทั้งหมดไม่ใช่เรา

    อ.ธิดารัตน์ กราบเรียนท่านอาจารย์ อธิบายลักษณะของศรัทธาที่เป็นกุศลจริงๆ ที่ไม่ใช่ความเชื่อซึ่งไม่ใช่ศรัทธา

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นความเห็นมี ๒ อย่าง เห็นถูกเห็นผิด ใช้คำว่าความเห็นถูกกับความเห็นผิด ไม่ใช่ศรัทธาเจตสิก เป็นทิฎฐิเจตสิก ถ้าเป็นฝ่ายอกุศลก็เป็นทิฏฐิเจตสิก เพราะเราพูดว่าอกุศล เพราะฉะนั้นก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้าทางฝ่ายกุศลความเห็นที่ตรง ที่ถูกต้องก็เป็นสัมมาทิฏฐิ แต่กระนั้นทิฏฐิเจตสิก ไม่ว่าจะเป็นสัมมาทิฏฐิซึ่งเป็นปัญญา หรืออกุศลเจตสิกซึ่งเป็นมิจฉาทิฏฐิ ก็ไม่ใช่ศรัทธา นี่แสดงความละเอียดยิ่งของเจตสิกซึ่งขณะนี้เกิดพร้อมกันหลายเจตสิก

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 179
    19 ก.ค. 2567