ปกิณณกธรรม ตอนที่ 537


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๕๓๗

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๓


    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เมื่อละมากเท่าไร ความเป็นจริงของสภาพธรรม ก็ปรากฏตามสภาพของเหตุปัจจัย จะไม่มีการอยาก ที่เราต้องการจะไปรู้ รูปนั้น รูปนี้ แต่ว่าผลของการอบรมเจริญปัญญา ก็คือว่า ความรู้มีความเข้าใจ มีความมั่นคง มีความชัดเจน ที่จะละคลายต่อๆ ไปอีก คือแม้แต่ในขั้นของการฟัง ต้องทราบว่าจุดประสงค์ที่แท้จริง เพื่อละ ความไม่รู้ อันนี้ลืมไม่ได้เลยว่า ฟังเพื่ออะไร ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่นทั้งหมด เพื่อละความที่ไม่เคยรู้ว่าเป็นธรรม ขณะนี้ทุกอย่างเป็นธรรมนี่ไม่เคยรู้ เพราะฉะนั้น เมื่อฟังเข้าใจก็จะเพิ่มความรู้ขึ้น แล้วก็เมื่อมีการระลึกลักษณะของสภาพธรรม ก็ต้องตรงกับที่รู้ คือรู้ในลักษณะที่เป็นนามธรรมซึ่งต่างกับลักษณะที่เป็นรูปธรรม เพื่อละ แล้วถ้ายังมีความต้องการอยากอยู่ก็เป็นเครื่องเนิ่นช้า หรือเครื่องขัดขวางทันที เพราะว่าสมุทยสัจ เป็นสิ่งที่จะต้องละ ถ้าไม่เห็นก็ไม่ละ

    เพราะฉะนั้น จะรู้ว่าหนทางนี้เป็นหนทางละโดยตลอด ตั้งแต่ขั้นของการฟัง จิตเกิดขึ้นมีอารมณ์ที่ละอย่าง ขณะที่กำลังเห็น จิตเห็นจะรู้อย่างอื่นไม่ได้เลยทั้งสิ้น นอกจากำลังเห็นสิ่งที่ปรากฏ ขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็น จักขุวิญญญาณจิตเกิดขึ้น ทำหน้าที่เห็นเท่านั้น ไม่ได้ทำหน้าที่อื่นเลย ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่ได้ทำบุญ ทำบาปอะไร เพราะเหตุว่าจิตนี้เกิดขึ้นโดยกรรมเป็นปัจจัย ที่ว่าต้องเกิดขึ้นเห็น เจตสิกทั้งหมดก็เป็นวิบาก ทำกิจเห็นอย่างเดียว เพราะฉะนั้น จะรู้อารมณ์อื่นได้ไหม จิตวาระต่อมา เมื่อมีการฟังเข้าใจขึ้น ก็ระลึกลักษณะที่กำลังปรากฏ แล้วก็รู้ว่าขณะนี้ก็มีสภภาพรู้หรือธาตุรู้ ซึ่งไม่ปรากฏ ทั้งๆ ที่เกิดดับก็ไม่เคยปรากฏเลย มีแต่สิ่งที่ปรากฏเท่านั้น เป็นคนนั้นคนนี้เป็นเรื่องราวต่างๆ

    เพราะฉะนั้น จึงรู้ว่าปัญญาจะต้องอบรมที่จะรู้ลักษณะที่ไม่ปรากฏ แต่มี กำลังเห็นในขณะนี้ คะ จนค่อยๆ เข้าใจขึ้น ว่าสภาพนี้เป็นสภาพรู้หรือธาตุรู้ ซึ่งไม่ใช่จะรู้ได้โดยทางตา แต่รู้ได้โดยที่ว่าระลึกในลักษณะ อาการที่รู้ ลักษณะที่รู้คืออย่างนี้เอง การฟังทั้งหมดก็เพื่อละ จุดประสงค์ทั้งหมดเพื่อละ เพราะว่าเราติดมากเหลือเกิน เราติดในทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่เกิดจนตาย ทางที่จะละมีทางเดียว คือ การฟังพระธรรมให้เข้าใจ แต่ถ้าใครยังไม่อยากละ ก็มีอวิชชาไป อวิชชาคือความไม่รู้ แล้วก็ติดไปเรื่อยๆ ก็ไม่มีการที่จะออกจาภพชาติ ซึ่งแม้ในขณะนี้ เรายังไม่เห็นว่าเป็นทุกข์ แต่ก็เป็นอย่างนี้แหละซ้ำแล้วซ้ำอีก ชาติก่อนๆ ก็อย่างนี้ คือ เห็น แล้วก็ได้ยิน แล้วก็คิดนึก แล้วก็สุขทุกข์รักชังไปตามเรื่อง ตามราวของชาติก่อน ชาตินี้เป็นอย่างไร ชาติหน้าต่อไปก็เหมือนอย่างนี้แหละ คือก็ต้องเห็นอีก เรื่องราวใหม่หมด เพราะว่าเป็นคนใหม่ แต่ว่าความรู้สึก็คือ สุขบ้างทุกข์บ้าง เห็นบ้างได้ยินบ้างซ้ำแล้วซ้ำอีกซึ่ง เป็นสภาพธรรม ที่เพียงเกิดแล้วก็ดับ ถ้ายังจะติดยังจะต้องการ ก็เป็นเรื่องที่ว่าก็ยังอยู่ในสังสารวัฏต่อไป แต่ไม่ใช่ว่าจะออกไปโดยง่าย หรือโดยเร็ว แต่ว่าโดยปัญญาอบรม จนกว่าจะถึงการรู้แจ้งอริยสัจธรรม

    ผู้ฟัง ขณะที่โทสะเกิด หรือโลภะเกิด เป็นตัวตนหรือ

    ท่านอาจารย์ ใครรู้

    ผู้ฟัง ขณะที่ผมโกรธ ผมก็รู้เพียงแต่ว่าโกรธ แต่ไม่ทราบว่าเป็นตัวตน

    ท่านอาจารย์ แล้วเป็นปัญญาหรือเปล่า ที่รู้ว่าเป็นอนัตตา

    ผู้ฟัง ขณะนั้นยังไม่ทราบเลยว่าเป็นอนัตตา หรือว่าเป็นอัตตา ก็ไม่ใช่ปัญญาแน่นอน เพราะฉะนั้น ขณะที่โกรธ หรือ ขณะที่โลภ ไม่ใช่ลักษณะของปัญญา จะสรุปอย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ ปัญญาต้องรู้ตามความเป็นจริง ถูกต้องในลักษณะของสภาพธรรมนั้น

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ขณะนั้นไม่รู้เลยว่าเป็นโกรธ ไม่รู้เลยว่าสภาพโกรธเกิด เพียงแต่ว่า

    ท่านอาจารย์ โกรธต้องปรากฏ ขณะนั้นที่โกรธเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ ว่าโกรธไม่ใช่เรา เป็นธรรม

    ผู้ฟัง ขณะนั้นก็อวิชชาแน่นอน อยู่แล้ว

    ผู้ฟัง จะเป็นโลภ โกรธ หลงอะไรก็ตาม ที่เขาเกิดกับชวนะ เขาจะต้องดับไปก่อน แล้วก็ขณะนั้น อารมณ์ยังปรากฏ จึงระลึกรู้ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ คงไม่ต้องคิดถึงเรื่องลำดับของจิต โดยชื่อต่างๆ แต่ให้ทราบว่าขณะใดที่สภาพธรรมใดปรากฏ ขณะนั้น เป็นสภาพที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ อย่างเห็นอย่างนี้ ยังไม่ต้องไปคิดถึงลำดับว่าเกิดอะไรก่อน เกิดอะไรหลัง แต่เห็นกำลังมี กำลังเห็น แล้วมีความชอบ ความไม่ชอบในสิ่งที่เห็นไหม นี่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่จะต้องเข้าใจ โดยไม่ต้องไปติดที่ชื่อว่า นิพพาน สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ โวฏฐัพพนะ กำลังถึงชวนะแล้วหรืออะไรอย่างนั้น แต่ว่าตามความเป็นจริงก็คือว่า เห็นมี กำลังเห็น สิ่งที่ปรากฏทางตาก็มี ความรู้สึกชอบ ไม่ชอบก็เป็นต่างขณะ ให้ทราบตามลำดับขั้นจริงๆ ว่า ให้เห็นว่าต่างขณะก่อน ยังไม่ต้องเอาชื่อใส่ เวลาที่ชอบหรือไม่ชอบเป็นกุศล หรือ เป็นอกุศล ไม่ใช่อเหตุกจิต

    ถ้าเราจะเรียนธรรม เราคงจะไม่รังเกียจ ชื่อในภาษาบาลีที่จะ ทำให้เรามีความแม่นยำขึ้นในเรื่อง ประเภทของจิตว่า ในจิต ๘๙ ดวง เราจำเป็นต้องใช้ชื่อ เพื่อที่จะให้เห็นความต่างกันของ จิต แล้วก็แสดงตามการตรัสรู้ ซึ่งไม่เปลี่ยนว่าจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ คือไม่มีโลภเจตสิกไม่มีโทสเจตสิก โมหเจตสิก อโลภเจตสิก อโมหเจตสิด อโทสเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะว่าเจตสิกที่เป็นเหตุมี ๖ โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ นอกจากนี้ไม่ใช่เหตุปัจจัย คือจิตเกิดได้ โดยที่ไม่ต้องมีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วย แล้วจิตที่จะเกิดโดยไม่มี เจตสิกที่เป็นเหตุเกิดร่วมด้วย ถ้าฟังเพียงจำนวน จะจำไว้ก่อนก็ได้ว่า มี ๑๘ เท่านั้น แล้วก็เรามีไม่ครบ ข้อสำคัญก็คือ ชื่อของจิตประเภทต่างๆ ที่แบ่งๆ ออกไป แล้วก็แสดงจำนวนไว้ต้องทราบ ด้วยว่าเราไม่ได้มีครบทั้งหมด อย่าง อเหตุกจิต มี ๑๘ ก็จริง ต่อไปจะเข้าใจได้ว่าเรามีเพียง ๑๗ ขาดจิต ๑ ดวงซึ่งเป็นกิริยาจิตของพระอรหันต์ ซึ่งไม่ประกอบด้วย โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ แสดงให้เห็นว่า ธรรมเราคิดเองไม่ได้เลย ไม่มีใครจะไปคิดเอาเอง ความละเอียดของธรรม มีแม้จนกระทั่งว่าเป็นพระอรหันต์แล้ว มีวิบากจิต แล้วก็มีกิริยาจิต มีจิตที่ ไม่ใช่กุศล อกุศลอีกต่อไป เพราะฉะนั้น ก็จะเหลือเพียงวิบากจิต ซึ่งเป็นผลของอดีตกรรม แล้วก็กิริยาจิตซึ่งไม่เป็น เหตุที่จะให้เกิดผลข้างหน้า แทนที่จะเป็นกุศล อกุศลอย่างคนที่ไม่ใช่พระอรหันต์ ซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดผลคือวิบากจิต พระอรหันต์ไม่มีทั้งกุศล และอกุศล เป็นเพียงกิริยา แต่แม้อย่างนั้น ก็มีกิริยาจิตที่มีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วย และไม่มีเหตุเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย นี่ก็เป็นสิ่งซึ่งถ้าศึกษาต่อไปก็ จะค่อยๆ พิจารณาเข้าใจได้

    ขณะใดที่ไม่รู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริงขณะนั้นไม่ใช่ปัญญาแน่นอน ต้องเป็นอวิชชา ซึ่งเป็นมูลของอกุศลทุกชนิด เพราะฉะนั้น การที่เรามีอกุศลจะมากน้อย ก็เพราะเหตุว่าการสะสม แล้วแต่ว่าจะเป็นการสะสม โลภะ หรือโทสะ แต่ว่าต้องมีโมหะทุกครั้ง ที่เกิดโลภะ หรือ เกิดโทสะ เวลาที่อกุศลจิตเกิดจะปราศจาก อวิชชาไม่ได้เลย เพราะอวิชชาไม่รู้จึงเกิด อกุศลประเภทนั้นๆ เพราะฉะนั้น จึงควรเห็นจริงๆ ว่า เมื่ออกุศลมีมากมายหลายประเภท แล้วต้องละอะไรก่อน ถ้าละโลภะหมดเลย ไม่เหลือเลยเป็นพระอรหันต์

    เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจธรรมให้ถูกต้อง คนส่วนใหญ่คิดว่าละโลภะก่อน บางคนบอก แล้วถึงจะเห็น ความไม่ใช่ตัวตน พอถึงความไม่มีตัวตน ตัวตนนี้หมด ไม่มีอะไร เป็นตัวตนอีกต่อไป นี่คือการไม่ได้ศึกษาตามลำดับว่า โมหะ หรือ อวิชชา เป็นสภาพธรรม ที่ไม่รู้ ไม่ใช่เห็นผิด นี่ต้องแยกกัน ไม่รู้คือไม่รู้ คนที่เกิดมาแล้ว มีอกุศล แต่ไม่มีความเห็นผิด ก็ยังมีโอกาสที่จะได้ฟังพระธรรมได้พิจารณาเข้าใจ แล้วก็มีความเห็นถูกเกิดขึ้น แต่ถ้าเป็นคนที่มีโลภะ โทสะ โมหะ แล้วก็ยังมีความเห็นผิด ไม่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงของธรรม ยึดมั่นในความเห็นผิดนั้นก็ยาก ที่จะสละละ ความเห็นผิดนั้นได้ ต้องเป็นผู้ฟัง เป็นผู้พิจารณา เป็นผู้ตรงต่อธรรม แล้วก็ต้องรู้ด้วยว่าโทษที่มากที่สุด ก็คือความเห็นผิด

    เพราะเหตุว่าทุกคนมี อวิชชา ทุกคนมีโลภะ มีโทสะ แต่ยังดีที่ไม่มีความเห็นผิด แต่ถ้ามีความเห็นผิดด้วย กายวาจาทั้งหมด เป็นไปกับความเห็นผิดนั้น ซึ่งเวลาที่อกุศลเกิด โดยที่ไม่มีความเห็นผิด เกิดร่วมด้วย กายวาจา ถ้าเป็นอกุศลจิตก็ผิด คิดก็ผิด พูดก็ผิด ทำก็ผิดแต่ว่ายังไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย แต่ถ้ามีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย จะยิ่งมากกว่าอกุศลธรรมดา เพราะฉะนั้น ขั้นแรกที่สุดต้องดับ หรือละ ความเห็นผิดก่อน ยังไม่สามารถที่จะละโลภะ ให้หมดทันที โทสะให้หมดทันที โมหะให้หมดทันทีได้

    ผู้ฟัง กราบเรียนถามท่านอาจารย์สุจินต์ ต่อจากคำถามพี่วีระที่ถามเรื่องความโกรธ ทีนี้ว่าเวลาความโกรธ หรือโทสะ อกุศลจิตเกิดขึ้นแล้ว มันเร็วมาก ขอยกตัวอย่าง เมื่อวันที่ผ่านมา ผมโดนสุนัขตัวหนึ่งมันงับเข้าที่ขา แต่ไม่เข้าเนื้อ ขณะนั้นโทสะเกิดแล้ว โทสะกำลังเกิด ผมตั้งใจว่าจะต้องเตะแน่ ทีนี้ก็พอดี ขณะนั้นจะทำอย่างไรกลับโทสะอันนั้นดี ผมก็เลยระลึกถึงพระสูตร ๑ ที่เคยเรียนท่านอาจารย์แล้ว ระลึกถึงพญาฉัตรทันต์ ทันทีในขณะนั้น ปรากฏว่าโทสะมันค่อยๆ ระงับไป แล้วก็ไม่ออกรูป ออกลอย กรณีอย่างนี้จะเป็น มิจฉาทิฏฐิไหม

    ท่านอาจารย์ ไม่เป็น เพราะเหตุว่าคุณนันทวัฒน์ สะสมพระสูตร คือ ว่าไม่ลืม คนอื่นอ่านเหมือนกัน อ่านเหมือนคุณนันทวัฒน์ แต่ไม่ได้จำได้ อย่างคุณนันทวัฒน์ เพราะฉะนั้น การสะสมของคนเรา จะต่างกัน ใครจะเป็นอย่างคุณนันทวัฒน์ก็ไม่ได้ คุณนันทวัฒน์จะเป็นอย่างคนอื่นก็ไม่ได้ ตามการสะสม เพราะฉะนั้น เวลาที่มีเหตุการณ์ใดๆ เกิดขึ้น คนอื่นจะคิดอย่างอื่น แต่สำหรับคุณนันทวัฒน์ที่สะสม เรื่องข้อความในพระสูตร ที่เป็นประโยชน์สำหรับตนเอง พอมีเหตุการณ์ใดๆ เกิดขึ้น ไม่มีใครบังคับ คุณนันทวัฒน์คิดถึงพระสูตรทันที เพราะฉะนั้น ก็เป็นประโยชน์ส่วนตนของแต่ละคน ถ้าเป็นคนที่ได้ฟังธรรมมาก แล้วก็รู้ว่าเพียงคิดไม่สามารถที่จะดับกิเลสได้ แต่ถ้าระลึกลักษณะนั้นด้วยปัญญาที่ค่อยๆ เข้าใจในสภาพที่ไม่ใช่ตัวตน อันนั้นเป็นหนทางที่เป็นมรรคมีองค์ ๘ เป็นสติปัฏฐาน เป็นการอบรมปัญญาที่จะดับกิเลส ไม่ใช่เพียงแต่ไม่โกรธแล้ววันหลังก็ถูกแมวกัด ก็โกรธหรืออะไรอย่างนั้น

    ผู้ฟัง ระลึกไม่ทัน คือมันเร็วมาก

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ให้ทันๆ แล้วแต่การสะสม เริ่มเห็นตัวจริงของคุณนันทวัฒน์ ว่าเริ่มสะสมมาอย่างไร หรือขณะนี้ที่กำลังฟังที่ไม่ใช่คุณนันทวัฒน์ แต่ฟังขณะนี้ จิตอะไรเกิด หลังจากที่ได้ฟัง ตามการสะสมทั้งหมดของแต่ละคน แลกเปลี่ยนกันไม่ได้ ตามเหตุตามปัจจัยจริงๆ มิฉะนั้นเราจะไม่เห็นความเป็นอนัตตา มิฉะนั้นเราก็ยังมีเรา ที่จะพยายามจะเหมือนอย่างนั้น จะเหมือนอย่างนี้ ใช่ไหม แต่ว่าตามความเป็นจริงแล้ว สภาพธรรมมีปัจจัยเกิด เร็วกว่าที่ใครจะคิด แล้วก็ดับไปก่อนที่ใครจะทำอะไร

    ความจำที่มั่นคงในการเข้าใจสภาพธรรมว่าเป็น อนัตตา ไม่ว่าจะเรียนเรื่องสภาพธรรมใดๆ เช่น จิตหรือเจตสิก ก็มีความเข้าใจจริงๆ ว่านั่นเป็นธรรม อย่างความรู้สึกก็มีจริง แล้วก็เป็นธรรม แล้วก็ไม่ใช่เรา เราบังคับความรู้สึกเราไม่ได้เลย จะให้รู้สึกเฉยๆ หรือจะให้รู้สึกดีใจ หรือจะให้รู้สึกเสียใจ แล้วแต่เหตุปัจจัย เพราะฉะนั้น ถ้ามีความมั่นคง ฟังธรรม เข้าใจธรรม รู้ว่าขณะนี้เป็นธรรม ก็จะเป็นปัจจัยให้มีการระลึกลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม

    ผู้ฟัง ขอเรียนถามท่านอาจารย์ คุณนันทวัฒน์ ตามความเข้าใจของหนู หนูคิดว่า เขาเรียน เขาติดกับเรื่องราวมากเกินไป แล้วในการที่เขาติดกับเรื่องราว เขาก็จะเสียโอกาสในการที่จะพิจารณาธรรม ขณะที่สภาพธรรมปรากฏอยู่

    ท่านอาจารย์ คงจะไม่มีใครรู้ดีเท่าาคุณนันทวัฒน์ ที่คุณแอ๊วบอกว่าคุณนันทวัฒน์ติดเรื่องราว แล้วคนอื่นติดอะไร คุณนันทวัฒน์ติดเรื่องราวในพระสูตร คนอื่นติดเรื่องราวในอะไร

    ผู้ฟัง ดิฉันยังมีความเป็นตัวตนเหนียวแน่น แต่ถ้าเผื่อสติปัฏฐานเกิด เขาเกิดของเขาเองโดย เขาอายที่จะไม่รู้ธรรม

    ท่านอาจารย์ แล้วโดยมากเราก็ คิดถึงขณะต่อไป ชาติหน้า เดือนหน้า เราคงจะเข้าใจมากกว่านี้ แต่ว่าชาติหน้าหรือเดือนหน้า จะเป็นอย่างไร ก็ต้องจากขณะนี้ เพราะจิตเกิดขึ้นทีละหนึ่งขณะ ถ้าขณะนี้เข้าใจดับไปแล้ว แต่ไม่สูญหายสืบต่อไปถึงขณะต่อไป ก็เข้าใจเพิ่มขึ้นอีก เพราะฉะนั้น แทนที่จะคิดถึงข้างหน้า เดี๋ยวนี้ การฟังธรรมหรือกุศลใดๆ คือขณะนี้เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล เข้าใจหรือไม่เข้าใจ การฟังพระธรรมแล้วเข้าใจ ไม่สูญหายเลย ต่อไปก็เข้าใจเพิ่มขึ้นอีก แล้วก็ไม่ต้องคิดถึงว่าจะเป็นชาติหน้า วันหน้า เดือนหน้า กัปหน้า แต่ว่าสภาพธรรม ไม่มีใครบังคับได้ เพราะว่านามธาตุซึ่งเป็นจิต เจตสิก เป็นอนันตรปัจจัย คือทันทีที่เกิด สภาพของจิตเป็นปัจจัยที่จะทำให้จิตขณะต่อไป เกิดขึ้นสืบต่อโดยไม่มีระหว่างคั่น

    เพราะฉะนั้น ถ้าใครจะจุติ หรือสิ้นชีวิตลงจากชาตินี้ เกิดเป็นเทพ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ พร้อมเป็นตัวตนขึ้นมา เห็นไม่ห่างกันเลยกับชาตินี้ ได้ยินก็ไม่ห่างกันเลยกับชาตินี้ เร็วยิ่งกว่า วันนี้กับพรุ่งนี้ เพราะฉะนั้น เราก็ไม่จำต้องไปคิดถึงขณะต่อไปนานๆ แต่ว่าชีวิตก็สืบจากขณะหนึ่ง ไปอีกขณะหนึ่ง ไปอีกขณะหนึ่ง ตามการสะสมโดยที่ไม่มีใครจะไปยับยั้งได้ ก็เข้าใจเรื่องการสะสมกุศลไปเรื่อยๆ

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์สอนให้ระลึกถึงสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามปกติ ตามความเป็นจริง แต่ว่าทุกครั้งก็มีเหตุการณ์ที่เป็นปัจจัย ทำให้โทสะเกิด หรือความโกรธเกิดขึ้นถึงกับระลึก เป็นเรื่องแบบนั้น มีความรู้สึกว่า แบบนั้น ผมเหมือนกับว่า ออกนอกทางแนวของท่านอาจารย์ไปเลย

    ท่านอาจารย์ ธรรมเป็น ธรรม ไม่มีใครไปวางกฏเกณฑ์ได้ว่า คุณนันทวัฒน์ต้องเปลี่ยน ไม่ใช่อย่างนั้น แต่หมายความว่าสะสมมาอย่างไร คุณนันทวัฒน์ พอจะระลึกถึงพระสูตรปุ๊บ สติระลึกได้ ไม่ใช่คุณนันทวัฒน์ไปพยายาม แต่ว่าการระลึกแม้แต่ความจำเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย ให้รู้ตัวเองตามความเป็นจริง

    ผู้ฟัง แต่ขณะนั้นมันไม่ใช่ลักษณะสติปัฏฐาน

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่ใช่ ก็ไม่ใช่ ไม่ใช่เอาสิ่งที่ไม่ใช่แล้วมาบอกว่าใช่ เมื่อไม่ใช่ก็คือไม่ใช่

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ พยายามเน้นเรื่องสติปัฏฐานมาก

    ท่านอาจารย์ แต่ไม่ได้บังคับ หมายความว่า ให้เข้าใจว่าสติปัฏฐานคืออะไร มีลักษณะอย่างไร รู้อะไร เมื่อไรสติเกิด เมื่อไรหลงลืมสติ ความจริงเป็นอย่างงไรก็รู้ตามความเป็นจริงอย่างนั้น

    ผู้ฟัง อย่างนี้ตลอดไป ผมก็ได้เพียงเท่านี้

    ท่านอาจารย์ จะรู้ได้อย่างไร ถ้าฟังไป เข้าใจขึ้น จะมีการเปลี่ยนแปลง ตามเหตุ ตามปัจจัย ถ้ามิฉะนั้น คนธรรมดาก็เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ เป็นพระอรหันต์ไม่ได้ เป็นพระโสดาบันไม่ได้

    ผู้ฟัง คำว่า สะสม ได้ยินมาบ่อย ความเข้าใจ ก็เข้าใจยังไม่ชัดเจนโดยตรง คือเข้าใจว่าการสะสม เหมือนเป็นอุปนิสัย หรือเป็นกุศล อกุศลที่เราทำมา หรือบางครั้งมีความรู้สึกว่า การสะสมไม่ใช่ แค่ชาตินี้ชาติเดียว แต่ก็ยังไม่เข้าใจชัดเจนว่า การสะสมให้ผลอย่างไร แล้วก็บางครั้งมีความรู้สึกว่า การสะสมก็ไม่มีผล บางครั้งก็มีผลต่อจิตดวงต่อๆ ไป

    ท่านอาจารย์ นี่เป็นเหตุที่เราจะต้องรู้เรื่องชาติของจิต เพราะว่าจิตที่เป็นวิบาก เกิดเพราะกรรมเป็นปัจจัย กรรมที่สุกงอมด้วย ถึงกาลที่จะทำให้จิตที่เป็นผล คือวิบากจิตเกิดขึ้น วิบากจิตนั้นเกิดแล้วดับ จบเรื่องของวิบากจิต ที่เป็นผลของกรรม ไม่สะสม ไม่ใช่ว่ากำลังเห็นขณะนี้ แล้วไปสะสมที่จะให้เกิดเห็นอีกข้างหน้า ไม่ใช่ เพราะเหตุว่า จิตใดก็ตามที่เป็นชาติวิบาก จิตนั้นต้องมีกรรมเป็นปัจจัย จิตที่เกิดเพราะกรรมจึงเป็นวิบากจิตได้ เพราะฉะนั้น ต้องรู้ว่าสะสมเมื่อไร เวลาที่เป็นกุศลจิต เวลาที่เป็นอกุศลจิต หรือแม้แต่พระอรหันต์ เวลาที่เป็นกิริยาจิต แม้แต่กิริยาอาการท่าทาง ซึ่งกิดจากกุศล หรือ อกุศล เป็นเพียงรูปก็จริง ซึ่งเกิดจากจิต ดูเหมือนว่าไม่มีความสำคัญ ไม่มีความเกี่ยวข้องอะไรเลย เพราะว่าจิตก็ดับไปแล้ว แต่ความจริงจิตก็เป็นปัจจัยให้รูปนั้นๆ เป็นอย่างนั้น

    การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การพูดของแต่ละคน ก็จะต่างกันไปตามการสะสมซึ่งเกิดจากกุศลจิต หรือว่าอกุศลจิต แต่ด้วยความเคยชิน เพราะฉะนั้น เราเห็นเลย ถ้าพูดถึง ปกตูปนิสสยปัจจัย เป็นนามธรรม และรูปธรรม แต่ว่าส่วนกิริยาอาการต่างๆ ซึ่งเป็นรูป ก็เกิดจากการสั่งสมของนามธรรมนั่นเอง เพราะฉะนั้น จึงมีคำว่าวาสนา ในภาษาบาลี หมายความถึงกิริยาอาการ การกระทำที่ทำจนชิน ทางฝ่ายอกุศล เราก็คงจะเห็น กิริยาของกายวาจาที่ไม่น่าดู เพราะเป็นไปด้วยอกุศล แต่ว่ายังมีความละเอียดมากกว่านั้นอีก เพราะเหตุว่า บางคนได้รับการอบรมในเรื่องกิริยามารยาท แต่ด้วยความติด ไม่ใช่ด้วยกุศล เพราะฉะนั้น กิริยาท่าทางของเขาก็จะดู น่าดู แต่ว่าใครจะรู้ซึ้ง ถึงสภาพจิต ขณะนั้นว่า มีความติดข้องในอากัปกิริยาอาการนั้นๆ หรือเปล่า เพราะฉะนั้น ความละเอียดของธรรมมีทั้งเรื่องของกายวาจา และเรื่องของใจ ถ้าเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ข้อความในพระสูตรก็จะแสดงชัดทีเดียวว่า ไม่มีอากัปกิริยาใดๆ ที่ไม่น่าดู ไม่ว่าการเดิน การประทับนั่ง ยืน บิณฑบาต หรือแม้แต่ การที่ทรงแสดงธรรม แต่แม้พระภิกษุอื่น เช่น พระอรหันต์ ก็ยังมีกิริยาอาการซึ่งทำเป็นปกติจนชิน ท่านดับอกุศลจิต หมดไม่เกิดเลย แต่ว่าการสะสมจนชินก็ จะมีอากัปกิริยาของกาย หรือวาจา ซึ่งติดมาซึ่งไม่สามารถที่จะละได้ นี่เป็นทางฝ่ายที่ไม่น่าดู ทางฝ่ายที่น่าดูก็เหมือนกัน ถึงแม้ว่าจะมีกิริยาอาการที่น่าดู แต่ใจไม่มีใครรู้ว่าเป็นด้วยกุศล หรือเป็นด้วยอกุศล

    ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้น คำว่า สะสม ก็จะคุมกว้างมากเลย

    ท่านอาจารย์ เวลาที่เป็นจิตที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย เวลาที่เป็นชวนจิต หรือว่าเวลาที่เป็นจิตใดๆ ก็ตาม ก็จะมีคำใหม่ว่า ชวนะ ซึ่งก็ไม่ค่อยอยากจะกล่าวถึง แต่ให้ทราบว่า กุศลจิต อกุศลจิต กิริยาจิตของพระอรหันต์ ที่ไม่ใช่ขณะเห็น ไม่ใช่ขณะได้ยิน ประเภทนี้เรายังไม่ไปลึกถึงวิบาก ชื่ออื่นๆ

    ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นที่เราใช้ คำบ่อยๆ ฟังบ่อยๆ ว่า เอกายโนมรรคโค อะไรต่างๆ จะทำให้เรารู้สึกอย่างไร จะทำให้เราลืมสติปัฏฐานไปหรือเปล่า กำลังนึกว่าอย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ ความจริงชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งที่เรามองเห็นได้ว่า แม้ว่าเรา จะได้ฟังบ้างในเรื่องของ นามธรรม และรูปธรรม และเข้าใจ แม้ว่าจะมากขึ้น เพิ่มขึ้น แต่สติปัฏฐานก็ไม่ได้เกิดบ่อยๆ แล้วอีกอย่างหนึ่ง จุดประสงค์ของการอบรมเจริญสติปัฏฐาน เพื่ออะไร ถ้าเพื่อปัญญารู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริง ยังต้องเพื่ออะไรอีก ใช่ไหม

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 101
    24 มี.ค. 2567