ปกิณณกธรรม ตอนที่ 512


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๕๑๒

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๒


    ท่านอาจารย์ ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงพระธรรม ฝืนอัธยาศัย ของสัตว์โลก ตรงที่ ละโลภะ หรือความต้องการ ในเมื่อสัตว์โลกต้องการอยู่เสมอ มีความต้องการตลอด แต่เมื่อฟังพระธรรมแล้วก็รู้ว่า ฟังเพื่อเข้าใจสัจธรรม ความจริง แล้วก็จะต้องเริ่มด้วยการที่ว่า ไม่ใช่ว่าไปทำอย่างอื่น แต่เป็นผู้ตรงว่า เมื่อสติไม่เกิด ก็มีการฟังธรรม พิจารณาธรรม เพื่อเข้าใจพระธรรม คือธรรมที่กำลังปรากฏ เพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยให้สัมมาสติ มีการระลึก แล้วเมื่อมีการระลึกแล้วอาศัย การฟัง เข้าใจมากน้อยต่างกัน ก็จะทำให้ต้องมีการอบรม การที่จะรู้จริงๆ ในลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ แต่ผู้ที่มีความ เข้าใจมาก ฟังมาก เป็น พหุสูตร อย่างเช่น ท่านพระสารีบุตร หรือว่าพระสาวกในครั้งก่อน ท่านฟังไม่นาน ท่านก็สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ แต่ฟังไม่นาน ไม่ได้หมายความว่า ท่านไม่มีความเข้าใจสิ่งที่กำลังได้ฟัง ท่านต้องมีการไตร่ตรองพิจารณา แล้วก็เข้าใจ แล้วสติก็ค่อยๆ อบรมไป จนถึงกาลที่สมบูรณ์ด้วยปัญญา ที่จะประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมสภาพธรรม ก็ต้องปรากฏต่อปัญญา ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น ก็คงจะไม่ต้องถามว่าจะต้องทบทวนไหม แต่เป็นเรื่องที่เมื่อสติระลึกแล้วเข้าใจหรือเปล่า เข้าใจแค่ไหน ถ้ายังไม่เข้าใจก็จะต้องค่อยๆ สังเกต ค่อยๆ พิจารณาค่อยๆ รู้ขึ้นในสภาพธรรมที่เป็นรูปธรรม หรือเป็นนามธรรม จึงจะเป็นความรู้ที่ชัดเจน ไม่อย่างนั้นก็รู้รวมไปบอกว่าไม่ใช่ตัวตนเป็นอนัตตา แล้วก็บอกว่าเป็นธรรมเท่านั้น แต่ว่าธรรมจริงๆ ไม่ใช่เพียงคำพูด แต่ต้องเป็นการรู้ในความเป็นธรรมของสภาพธรรม นั้น

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์สอนผม บอกว่า สอนให้ระลึกเวลานั่งให้รู้รูปนั่ง แล้วเห็นไหม

    ท่านอาจารย์ พระอาจารย์ หรือพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ผู้ฟัง ท่านก็บอกว่าท่านเรียนมาจากพระไตรปิฎก

    ท่านอาจารย์ เราก็ต้องตรวจสอบ คำพูดใดๆ ของใคร ก็ตามแต่ เราเอาชื่อออก มีความเห็น ๒ อย่าง คือ ความเห็นถูกกับความเห็นผิด ขณะใดที่แม้แต่เรา เห็นผิด ความเห็นผิดก็เป็นผิด ไม่ใช่ชื่อเรา ขณะใดที่เป็นความเห็นถูกก็เป็นความเห็นถูก เวลานี้เรากำลังพูดถึง ความเห็น ๒ อย่าง คือความเห็นผิดมีจริงๆ เราก็ต้อง พูดลักษณะจริงๆ ของความเห็นผิด แล้วความเห็นถูกก็มีจริงด้วย เพื่อให้เห็นว่าความเห็นถูกนั้น ต่างกับความเห็นผิด สิ่งใดก็ตามที่เป็นสิ่งที่มีจริง ที่จะให้ความรู้ที่ถูกต้องได้ ต้องมีลักษณะปรากฏ ตรงตามพระไตรปิฎกหรือเปล่า อย่างสิ่งที่ปรากฏทางตา ลักษณะอย่างนี้ คือไม่สามารถจะปรากฏทางอื่นได้ เสียงเป็นสิ่งที่มีจริงๆ เราไม่ได้เพ้อฝัน เราไม่ได้ไปนั่งนึก แต่เสียงปรากฏ สามารถที่จะรู้ความจริงของเสียงได้ เพราะฉะนั้น สิ่งใดก็ตามที่มีลักษณะปรากฏให้รู้ได้ ในลักษณะที่เป็น นามธรรมหรือรูปธรรม เพราะเหตุว่าสภาพธรรม มี ๒ อย่าง แล้วพระไตรปิฎก ที่ทรงแสดงเพื่อให้รู้ หรือเปล่า อย่างแสดงเรื่องจักขุวิญญาณ จิตเห็น กับสิ่งที่ปรากฏทางตา แสดงเพื่อให้ปัญญารู้อย่างนี้หรือเปล่า แสดงเรื่องได้ยินกับเสียง เพื่อให้รู้ความจริงของเสียงกับได้ยินหรือเปล่า เพราะฉะนั้น ทุกอย่างที่ทรงแสดงไม่ใช่เพื่อความว่างเปล่า แต่เพื่อความรู้ชัดเพื่อความประจักษ์แจ้งความจริง เพราะฉะนั้น สิ่งใดที่เป็นจริง ทรงแสดงไว้เป็นสัจธรรม สิ่งที่ไม่จริง ไม่มี

    เพราะฉะนั้น ก็ต้องพิจารณาให้รู้ว่าทำไม จึงทรงแสดงพระอภิธรรม หรือปรมัตถธรรม เพราะเหตุว่า คนสามารถที่จะเข้าใจผิดได้ ถ้าไม่ได้ศึกษาโดยตลอด หรือว่าไม่ได้พิจารณาจริงๆ แม้แต่รูปซึ่งเป็นอารมณ์ของจิต เราจะรู้ลักษณะของรูป เราจะรู้ได้ทางไหน ทางตา ๑ รูป ทางหู ๑ รูป ทางจมูก ๑ รูป ทางลิ้น ๑ รูป ทางกาย ๓ รูป รวมเป็น ๗ รูป เรารู้อย่างนี้ตรง ไหม ถูกไหม จริงไหม เราไม่ได้ไปรู้อย่างอื่น ถ้าเรารู้อย่างอื่น ผิดแล้ว มันจะเป็นจริงไปได้อย่างไร เมื่อทรงแสดงว่า วิสยรูป มี ๗ แล้วเราจะไปเอารูปนั่ง รูปนอน รูปเดินมารู้ได้อย่างไร ไม่ได้มีเลย ก็ต้องเกิน ๗ ไปแล้ว แล้วเราจะทำอย่างไร ถ้าเราเป็นผู้ตรง ไม่ว่าใครจะพูดอย่างไร

    ความเห็นมี ๒ อย่าง คือ ความเห็นถูก กับความเห็นผิด เราอยากจะมีความเห็น ถูก หรือ เราต้องการความเห็นผิด นี่คือความเป็นผู้ตรง ถ้าสิ่งใดที่ไม่จริงก็ต้องทิ้ง ถ้าเรายังขืนทำต่อไป มันก็คือผิดต่อไปเรื่อย แล้วก็อะไรจะผิด หรือจะถูกไม่ใช่คนหนึ่งคนใดกล่าว แต่พระไตรปิฎก และสภาพธรรม วันนี้หรือเมื่อไรก็ตาม ตั้งแต่เกิดจนตาย รูปที่คุณกอบพงษ์ รู้มีกี่รูป ก็ต้อง ๗ รูป จะไปรู้รูปอื่นได้อย่างไร นี่ก็คือจริงทั้งที่ทรงแสดง ทั้งสภาพธรรม แม้การประจักษ์แจ้งก็ ต้องประจักษ์แจ้ง ตามความเป็นจริงอย่างนี้

    ผู้ฟัง ผมขอถาม ผมคิดว่ามันคงจะ ไม่ได้มีความหมายเพียงแค่นั้น เพราะว่ารูปอื่น เช่น รูปารมณ์ รูปต่างๆ เสียง กลิ่น รส พวกนี้ก็เป็นรูป รูปเหล่านี้ ทุกข์ มันก็ปิดบังทุกข์ เราก็ยังไม่เห็นถึงการทนอยู่ในสภาพเดิมของ เขาไม่ได้ เป็นทุกขังเหมือนกัน อะไรจะเป็นตัวปิดบังรูป

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ที่นี่ หมวดของกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพราะว่าเราเคยยึดถือกายทั้งหมด ตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า จึงเป็นเรานั่ง เรานอน เรายืน เราเดิน เมื่อมีความยึดถือ จึงจะต้องรู้ในสภาพปรมัตถจริงๆ ซึ่งสามารถจะรู้ได้ ต่อเมื่อไม่มีอิริยาบถปิดบัง

    วิทยากร. แต่จริงๆ แล้ว นั่งอยู่เฉยๆ นี้ก็ ทุกข์ ทุกข์ไหม ทุกข์ มันปิดบังอยู่แล้ว นั่งก็ปิดบัง ทุกข์

    ท่านอาจารย์ แต่อะไรทุกข์ หรือทุกข์อะไร เห็นไหมต้องมีหลายอย่าง

    วิทยากร. เพราะฉะนั้น ต้องระลึกรู้ในสภาพธรรม ตามความเป็นจริง

    ท่านอาจารย์ การศึกษาธรรม หรือการฟังธรรม ถ้ามีข้อสงสัย ต้องศึกษาต่อไปจนกระจ่าง จนกระทั่งไม่มีข้อขัดข้อง มิฉะนั้นแล้ว ถ้าผิด ก็จะเจอว่าตรงนี้ยังขัดข้องอยู่ หรือว่าตรงนี้ยังไม่ได้เหตุผลที่สมบูรณ์

    วิทยากร. อิริยาบถ เป็นรูปประชุม รูปเดียวมันนั่งไม่ได้ นอนไม่ได้ ยืนไม่ได้ เดินไม่ได้ เพราะฉะนั้น อิริยาบถนั้นคือ รูปประชุมกัน เมื่อรูปประชุมกันอยู่ก็ยังไม่เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน จึงต้องเพิกออก เพื่อให้เห็นทีละหนึ่งรูป

    ผู้ฟัง ถ้าในกรณีที่เขายังไม่ได้ศึกษา ก็หมายความว่า จะต้องให้เขาศึกษาก่อน เราจึงจะสามารถพูดถึงเรื่องการเพิกอิริยาบถกับเขาได้ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ธรรมดาอย่างที่อาจารย์ ท่านบอกเมื่อกี้นี้ว่า ถ้ามีรูปๆ เดียว นั่งนอนยืนเดิน ไม่ได้แน่ ต้องมีรูปประชุมรวมกันแล้วก็จะมีสิ่งที่เราเข้าใจว่า นั่ง หรือว่านอน หรือยืนหรือเดิน นั่นก็ตอนหนึ่ง ที่นี้สำหรับการที่จะอบรมปัญญาไม่ใช่ไปให้พิจารณารูปนั่งเสียก่อน เป็นไปไม่ได้เลย เพราะเหตุว่าไม่มี รูปนั่งที่จะให้ปัญญารู้ แต่ว่ามีรูปที่มีสามัญลักษณะ หรือลักษณะของรูปที่ปรากฏ แต่ว่าความเยื่อใย ความที่เคยสำคัญหมายในกาย ไม่ใช่ แต่เฉพาะชาตินี้ เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่าขณะที่กำลังระลึกรู้ลักษณะของรูป ความรู้สึกว่าเป็นเรานั่ง มี ขณะนี้ทุกคนพอที่จะรู้ได้ มีความรู้สึกว่าเป็นเรา ทั้งๆ ที่ไม่มีเรา แต่ความทรงจำว่ามีเรา มี เพราะฉะนั้น ก็มีความรู้สึกว่าในความทรงจำว่า เรานั่ง เวลายืน ก็มีความทรงจำว่า เรายืน แต่นั่นไม่ใช่ปัญญา ไม่ใช่เป็นการอบรม ให้ไปรู้รูปนั่ง แล้วมาเพิก แต่ที่อาจารย์ ท่านบอกว่าถ้าไม่มีรูปมา ประชุมรวมกัน รูปนั่งก็ไม่มี เพราะฉะนั้น การที่ปัญญาจะรู้ความจริงก็คือว่า รู้ลักษณะของรูป ที่ไม่ใช่รูปนั่ง ที่ไม่ได้ประชุมรวมกัน เป็นแต่ละรูปจริงๆ แต่เยื่อใยการที่เรายังคงยึดถืออยู่ จะเห็นได้จริงๆ ว่า แม้สติจะเกิดบ้างบางขณะ ก็ไม่สามารถที่จะลบล้าง ความรู้สึกว่าเรานั่ง หรือเรานอน หรือเรายืน จนกว่าปัญญาจะสมบูรณ์ แล้วก็จะไม่มีรูปนั่งเหลือเลย ไม่มีรูปยืนเหลือเลย แต่ต้องเริ่มจากการ รู้ลักษณะของรูปที่เป็นปรมัตถธรรม เพราะมิฉะนั้นแล้ว จะไม่มีทางเลยที่ปรมัตถธรรม จะปรากฏ ก็ยังคงมีความยึดติดในอิริยาบถนั้น

    ผู้ฟัง สรุปแล้วก็คือ จะต้องให้การศึกษากับเขา

    ท่านอาจารย์ ต้องให้เขาพิสูจน์ ความจริง ว่าขณะนี้ รูป อะไรปรากฏ ใช่ไหม ถ้ามีสิ่งที่ปรากฏทางตา ก็ไม่ได้มีรูปนั่งอะไรเลย เพราะขณะนั้น จิตกำลังเห็น มีสิ่งที่ปรากฏทางตาให้เห็น ขณะที่ได้ยินเสียงก็ไม่มีรูปนั่ง ขณะที่รู้แข็ง หรือรู้อ่อน ก็ไม่มีรูปนั่ง แต่ลึกลงไปในความเยื่อใยของทุกคน ที่ทรงจำ ที่ยึดถือ มี เพราะฉะนั้น จึงต้อง ระลึกลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม จนกว่าจะเพิกอิริยาบถหมด แล้วสภาพธรรม ก็จะปรากฏตามความเป็นจริงว่าไม่มี ไม่มีเรา ไม่มีอะไรเลย นอกจากรูปแต่ละลักษณะที่ปรากฏ แต่ละทาง การที่จะหมดความเป็นตัวตนได้ ก็คือหมดอิริยาบถด้วย ไม่มีเหลือ ย่อลงแล้วก็คือ เหลือแต่สภาพธรรมแท้ๆ ที่เกิดปรากฏทีละหนึ่งอย่าง

    ผู้ฟัง ถ้าเผื่อมัวแต่ไปนึกถึงอิริยาบถซึ่งเป็นรูปนั่ง นอน ยืน เดิน ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นการประชุมรวมกลุ่มของรูป ซึ่งเป็น ฆนสัญญา ทำให้เราไม่สามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ที่จริงๆ แล้วมันมีแค่ ๗ อย่าง ที่ท่านอาจารย์ได้บอก ใช่ไหม

    วิทยากร.ก็ใช่ คือหมายความว่า ถ้าไปรู้แต่ เดิน ยืน นั่ง นอน มันไม่มีปรมัตถเป็นอารมณ์ สติปัฏฐาน ต้องมีสภาพธรรม มีปรมัตถเป็นอารมณ์

    ท่านอาจารย์ ถ้าขณะนั้นไปรู้ รูป นั่งนอนยืนเดิน จะมีอ่อนหรือมีแข็ง ปรากฏหรือเปล่า ก็ไม่มีปรมัตถธรรม ปรากฏให้รู้

    ผู้ฟัง ในส่วนที่ท่านอาจารย์ ได้กล่าวไว้ในช่วง สักครู่นี้ เกี่ยวกับเรื่องของว่า ความเห็นผิด ก็ควรจะละ เพราะฉะนั้น อย่างที่ ที่คุยกันเรื่องของรูปนั่ง รูปนอน เป็นเรื่องที่มีความสงสัย สำหรับผมมาก เพราะว่า ถ้าสิ่งใดที่มันเป็นสิ่งที่ผิดจากปรมัตถธรรม แล้วเราไม่ศึกษา ผมว่ามันก็จะเป็นจุดบอดเหมือนกันว่า ถ้าสิ่งนี้ไม่สมควร หรือว่าไม่ถูกต้องแล้ว จะพาให้เกิดความคิดเห็นผิด ก็ควรจะละเสีย จริงๆ แล้วมันควรจะต้องเรียน ไม่ใช่หรือ เพราะว่า ถ้าเผื่อเราไม่ศึกษาเราไม่เรียน อกุศล เราก็ไม่สามารถที่จะแยกแยะ อกุศล กับกุศลได้

    ท่านอาจารย์ ขณะที่บอกว่า มีรูป ๗ รูป ที่รู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย นี้คือเรียน ตรงตามพระไตรปิฎก ใครจะว่าไม่ตรงบ้าง

    ผู้ฟัง ถ้าเผื่อเขากล่าวว่า มีรูปนั่ง รูปนอน รูปยืน อะไรก็แล้วแต่ ซึ่งเราโดยทั่วๆ ไปเราฟังกัน แต่เราก็ยังไม่ทราบว่า รูปทั้ง ๗ รูป มีจริงหรือเปล่า เข้าใจแต่เพียงว่า ฟังมา แล้วเข้าใจ พูดตามได้

    ท่านอาจารย์ แต่พิสูจน์ได้ กำลังเห็นอย่างนี้ เขาก็เห็น ได้ยิน เขาก็ได้ยิน แล้วจะอย่างไร อีกเล่า ก็มีแค่ ๗ รูป ที่ปรากฏ

    ผู้ฟัง อันนั้น จริง ขณะที่เห็น ก็มีเห็นจริง แต่ว่า เราเห็นจริงหรือเปล่า เราเข้าใจ ว่าเห็นจริงหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ก็ต้องบอกเขาว่าเป็นรูป ที่จะต้องรู้ตามความเป็นจริง เพราะกำลังปรากฏ ถ้าไม่ปรากฏ แล้วปัญญาจะไปรู้สิ่งมี่ไม่ปรากฏได้อย่างไร สิ่งใดที่ปรากฏแล้วไม่รู้ ขณะนั้นก็ไม่ใช่ปัญญา แต่สิ่งใดที่ปัญญาจะรู้ก็ต้องรู้สิ่งที่ปรากฏ ไม่ใช่สิ่งที่ไม่ปรากฏ

    ผู้ฟัง ขณะที่เราจะบอกเขาว่า ก็มีแค่เพียง ๗ รูป ที่เราต้องรู้จัก ๗ รูปก่อน

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่ยาก สีที่กำลังปรากฏทางตา ๑ เสียงที่ปรากฏทางหู ๑ กลิ่นปรากฏทางจมูก ๑ รสปรากฏทางลิ้น ๑, ๔ แล้ว สำหรับทางกายก็เย็นหรือร้อน ๑ อ่อนหรือแข็ง ๑ ตึงหรือไหว ๑ รวม ๗

    ผู้ฟัง ใช่

    วิทยากร. อันนี้จริงไหม คุณวีระ อันนี้จริงไหม

    ผู้ฟัง จริง ในจุดนี้ จริง แต่ว่าจริงๆ แล้ว รู้จริงหรือเปล่า ผมไม่รู้จริง

    ท่านอาจารย์ ก็ต้องทราบว่า ถ้าจะรู้ก็รู้ ๗ รูป ไม่ใช่ รู้อื่น เพราะรูปอื่น ไม่ปรากฏ

    ผู้ฟัง เราถึงมีความสงสัยว่า ไอ้ส่วนที่ไม่ถูกต้อง เราควรจะต้องรู้หรือเปล่าว่า นี่ไม่ถูกต้อง แล้วถึงจะมา เปรียบเทียบกันว่า รูปทั้ง ๗ มีจริง

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ ๗ รูป รู้อื่นก็ผิดแล้ว

    ผู้ฟัง นั้นก็เพียรที่รู้ให้ได้ ๗ รูปนี้เท่านั้น

    ท่านอาจารย์ ก็ ๗ รูปปรากฏ เพราะอะไร เพราะ ๗ รูปปรากฏ ทั้งที่ทรงแสดง ทั้งความจริง

    ผู้ฟัง สมมติผู้ที่ศึกษาใหม่ เช่น ผม ถ้าเผื่อมาบอกว่า ๗ รูป ผมก็คงจะบอกว่า

    ท่านอาจารย์ ถ้ามีมากกว่า ๗ ก็คือรูปอะไร

    ผู้ฟัง เข้าใจ

    วิทยากร. เพราะฉะนั้น ก็ต้องศึกษาสิ่งที่ปรากฏทางตา ให้เข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น นี่พยัญชนะแค่นี้ เรียนกัน ๒๐ ปี

    ผู้ฟัง ก็คงะจะมากกว่านั้น คือที่ความสงสัยก็เกิดขึ้นว่า เราต้องเรียนอกุศลด้วยอย่างเช่น ที่คำถามที่ว่ารู้จักน้ำไหม ขณะนี้ เราอยู่ในน้ำหรือเปล่า อย่างนี้เป็นต้น เราก็ต้องเรียน อกุศลด้วย เช่น เรื่องของโอฆะ ทั้งหมด เรารู้สภาพของโอฆะไหม ขณะที่เราขณะนี้ คือสภาพธรรม ไม่มีเรา ขณะนี้ มีโอฆะเกิดขึ้นอยู่ แล้วก็ยังอยู่ในโอฆะนั้น ก็ไม่รู้ว่าอยู่ในโอฆะนั้น

    ท่านอาจารย์ ทรงพระมหากรุณาจริงๆ ที่ทรงแสดงถึง ๔๕ พรรษา โดยครบถ้วน โดยนัยต่างๆ ไม่ให้เข้าใจผิด มิฉะนั้นจะคิดว่าตัวเองอยู่บนบก ซึ่งความจริงอยู่ในน้ำ เพราะฉะนั้น ก็ต้องแสดงกันไว้ละเอียดมาก

    ผู้ฟัง หมายความว่าเราก็ต้องเรียนอกุศลด้วย

    ท่านอาจารย์ เรียนทุกอย่างที่ทรงแสดงให้เข้าใจ สิ่งใดที่ไม่เข้าใจก็ฟัง ศึกษาให้เข้าใจขึ้น อย่าเว้น และก็ต้องถูกต้องด้วย

    ผู้ฟัง ถ้าท่านอื่น คนอื่น มาบอกว่าเขาเรียนมาจากพระพุทธเจ้าเหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ ไหนว่าอย่างไร ว่ามีรูปมากกว่า ๗ รูป ที่รู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หรืออย่างไร

    ผู้ฟัง อันนี้เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วรูปอื่น รู้ได้ทางใจ แต่ว่าที่ปรากฏในชีวิตประจำวัน จริงๆ อย่างหทยวัตถุ มีใครบ้างวันนี้รู้ ภาวะรูปมีใครบ้าง รู้ ถึงแม้ว่ารูปมี ๒๘ รูปก็จริง ที่เป็นวิสยรูป หรือโคจรรูป ๗ รูป จริงหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ผมได้ศึกษามาถึงรู้จริงๆ ว่า การมองของเรา จะต้องเปลี่ยนจากการมองเฉพาะอิริยาบถให้ลึกลงไปกว่านั้น ไปถึงที่จริงแล้ว คือรูป ที่ว่านั้น แล้วถึงจะไปมองถึงจุดที่ว่า เลยไปถึงให้รู้ถึงคำว่า อนัตตา หรืออะไรนั้นอีกทีหนึ่ง ตอนนี้ก็เริ่มเข้าใจขึ้น

    ท่านอาจารย์ คุณบูรพา หมายความว่า กำลังเห็นคนนั่ง แล้วพอคนเดินมา ก็รู้ว่าเขาเดินมา เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะศึกษาธรรม เราก็มีความเป็นตัวตน มีการเห็นสภาพธรรม เป็นสิ่งหนึ่ง สิ่งใดตลอด แล้วก็อยู่ในโลกของสมมติบัญญัติมาตลอด เพราะฉะนั้น เราก็จะต้องทราบจากการศึกษาว่า ขณะใดก็ตามที่จิตไม่มีปรมัตถธรรม เป็นอารมณ์ ขณะนั้นมีบัญญัติเป็นอารมณ์ เท่านี้ก็จะคลุมหมดทุกอย่าง คือเห็น มีสิ่งที่ปรากฏทางตา เท่านั้น แต่หลังจากนั้นแล้วนึกคิด เป็นคนกำลังนั่ง หรือแม้จะกำลังยืน กำลังนอน กำลังเดิน ก็เป็นความนึกคิดเรื่องสิ่งหนึ่ง สิ่งใด เพราะฉะนั้น ขณะใดก็ตามที่ไม่มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ ขณะนั้นมีบัญญัติเป็นอารมณ์ คุณกอบพงษ์ก็ตอบได้ ขณะที่กำลังไปดูรูปนั่ง มีอะไรเป็นอารมณ์

    ผู้ฟัง ง่วง

    ท่านอาจารย์ มีง่วงหรือ กำลังรู้ง่วง หรือเปล่า ง่วงมีจริง สติระลึกรู้ง่วงหรือเปล่า

    ผู้ฟัง รู้

    ท่านอาจารย์ เป็นปรมัตถ หรือเป็นบัญญัติ

    ผู้ฟัง เป็นปรมัตถ

    ท่านอาจารย์ แล้วรูปนั่ง เป็นบัญญัติ หรือเป็นปรมัตถ

    ผู้ฟัง เมื่อย เมื่อยหลัง

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ถามถึงเมื่อย ไม่ได้ถามถึงง่วง ถามถึงรูปนั่ง อย่างนี้ เราเห็นคนเดินเข้ามา อย่างที่คุณบูรพาบอก เห็นเป็นคน ความจริง เป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา เมื่อไร เราจะลอกความเป็นคน แล้วยังเดินด้วย อาจจะร้องเพลง อาจจะเต้นรำ หรืออะไรๆ ก็แล้วแต่ แต่ยังมีความเห็นว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด โดยที่ความจริง เป็นชั่วขณะที่ วิถีจิตเกิดขึ้นพ้นสภาพความเป็น ภวังค์ชั่วนิดเดียว แต่ความคิดเรากว้างไกลมาก จนกระทั่งเป็นคน เป็นโลก แล้วก็กำลังทำสิ่งต่างๆ เพราะฉะนั้น กว่าจะรู้ความจริง ไม่ใช่เรื่องง่าย แล้วก็ไม่ใช่เรื่องรวดเร็ว แต่เป็นเรื่องที่จะต้องอบรม ให้เกิดความเข้าใจจริงๆ ตั้งแต่ในขั้นต้น โดยเป็นผู้ที่ตรง ข้อสำคัญที่สุดคือ ผู้ที่เป็นพระอริยบุคคล พระโสดาบันบุคคล อุชุปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติตรงต่อลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ เมื่อจะอบรมปัญญาก็ต้องรู้ว่าปัญญา รู้สิ่งที่มีจริง ที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริงของสิ่งนั้น ถ้าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา หลังจากนั้นคิดนึกหมด เป็นคนเดิม หรือแม้แต่แข็งที่กำลังปรากฏ แต่ความทรงจำ ตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า ยังไม่ได้เพิกออกไป ก็ยังคงเป็นเรานั่ง ซึ่งถ้าเป็นเรานั่ง ก็เป็นตัวตน เพราะฉะนั้น ก็จะต้อง เข้าใจจริงๆ ไม่ว่าจะเห็นหรือไม่เห็นก็ตาม แต่ว่าขณะใดที่ไม่มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ ขณะนั้นมีบัญญัติเป็นอารมณ์

    ผู้ฟัง จากบางที ที่เขาปฏิบัติ คือยืนเดินนั่งนอน จะหนีจากคำว่า เรานั่ง เรายืน เราเดิน เรานอน ผมว่าเขาหนีจากบัญญัติ ไปสู่บัญญัติอีกทีหนึ่ง อย่างนั่งนอนยืนเดิน เป็นบัญญัติ อยู่แล้ว ก็เอาจากเรานั่งเป็นรูปนั่ง ผมก็คิดว่า เขาเปลี่ยน เปลี่ยนคำพูดจาก เราเป็นรูป ก็ยังติดบัญญัติอยู่เดิม นั่นเอง

    ท่านอาจารย์ โดยลักษณะของรูป ไม่ได้เป็นอารมณ์

    ผู้ฟัง มีคนฝากคำถามมาว่า อิติปิโสภควา อะระหังสัมมา สัมพุทโธ นี้ เป็นบัญญัติ หรือปรมัตถ

    ท่านอาจารย์ เชิญ อาจารย์สมพร

    วิทยากร. หมายความว่าระลึกถึง อิติปิโส ภควา ใช่ไหม จะเป็นบัญญัติหรือเป็นปรมัตถ ใช่ไหม สภาวะธรรมของพระพุทธเจ้า เป็นปรมัตถ แต่ชื่อนั้นเป็นบัญญัติ ชื่อ ชื่อทั้งหมด แม้ชื่อของพระพุทธเจ้าทั้งหมดก็เป็นบัญญัติ แต่สภาวะธรรมนั้นเป็นปรมัตถ สภาวะธรรมของพระองค์ก็คืออะไร ส่วนมากที่เป็นพระพุทธเจ้า คือปัญญา ปัญญาเป็นปรมัตถ รูปก็เป็นปรมัตถ จิตก็เป็นปรมัตถ เจตสิกก็เป็นปรมัตถ ที่เป็นพระพุทธเจ้า ได้ก็คือปัญญา ใช่ไหม ปัญญาเป็นปรมัตถ เพราะฉะนั้น สภาวธรรม ของพระพุทธเจ้า เป็นปรมัตถ ชื่อเป็นบัญญัติ

    ผู้ฟัง ได้ฟังในวิทยุ มีผู้เรียนถามอาจารย์ บอกว่า สติปัฏฐานเกิด หลายทางแล้ว แต่ว่าทางตายังไม่เกิด ท่านอาจารย์ก็ตอบบอกว่า เพราะว่ายังไม่มั่นคงทางตา สติปัฏฐาน จึงยังไม่เกิดทางนั้น ดิฉันเรียนถามว่า ที่ว่ายังไม่มั่นคงทางตา หมายความว่าเรายังอบรมไม่พอ ที่จะระลึกรู้ว่าทางตาเห็นแต่สีเท่านั้น แล้วก็ยังไม่มีความเชื่อมั่น ใช่ไหม ว่าเป็นอย่างนี้จริงๆ อันนี้ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ไม่มีปัจจัยพอที่จะระลึกทางตา

    ผู้ฟัง ไม่มีปัจจัยพอที่จะระลึกทางตา

    ท่านอาจารย์ ทุกอย่างจะเกิด ต้องเพราะมีเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้น ถ้ามีปัจจัยที่จะระลึกทางไหน สติก็ระลึกทางนั้น เพราะสติก็เป็นอนัตตา

    ผู้ฟัง คือมาติดอยู่ตรงที่บอกว่า มั่นคง ก็เลยมาคิดว่า ที่จริงเราก็มั่นคงในทุกทางเหมือนกัน ตามที่เรียนมา

    ท่านอาจารย์ เราคิด แต่จริงๆ แล้ว เราไปวัดระดับอะไรไม่ได้ นอกจาก สภาพธรรม ที่เป็นผลเกิดขึ้นอย่างไร ก็เป็นเครื่องพิสูจน์อย่างนั้น

    ผู้ฟัง ก็ได้ยินท่านผู้ใหญ่ ที่ศึกษามานานแล้ว ท่านก็กล่าวบอกว่า สติปัฏฐานเกิด แล้วลืมไม่ลง ก็เลยมาคิดว่าหลายท่านก็คงจะเป็นอย่างนั้นด้วย เพราะว่าถ้าสติปัฏฐาน เกิดคงจะต้องมีอะไรแปลกๆ ที่มันไม่เหมือนกับปกติ ที่เราเคยมีอยู่

    ท่านอาจารย์ จนกว่าคนนั้นจะเป็นปกติแล้วลืมลง เห็นเป็นธรรมดา

    ผู้ฟัง ก็เลยมานึกว่า ผู้ใดที่สติปัฏฐาน เพิ่งจะเกิด หรือตัวเอง ถ้าสติปัฏฐานจะเกิด

    ท่านอาจารย์ ใครก็ฟังได้ แต่เรามีสิทธิที่จะคิด และพิจารณา จนกระทั่งเป็นความถูกต้อง

    ผู้ฟัง ตอนนี้ถ้าสมมติว่าเกิดไปติดข้องในสติปัฏฐานที่เกิด ถ้าเราอบรมแล้ว เราก็คงจะระลึกต่อได้ ขณะนั้นเป็นอกุศล หรือว่า

    ท่านอาจารย์ ต้องไม่ลืมว่า เป็นเรื่องรู้ แล้วละ

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 101
    24 มี.ค. 2567