ปกิณณกธรรม ตอนที่ 531


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๕๓๑

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๓


    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ที่ทรงแสดงไว้ว่า เป็นกัป หรือว่าเป็นจิรกาลภาวนา เราจะไม่มีความสงสัยเลยว่า เรา เป็นผู้ตรงต่อตัวเอง ที่จะรู้ว่า เมื่อระลึก แล้วรู้อย่างนี้ไหม ถ้าไม่รู้ เมื่อไรรู้ ก็คือเมื่ออบรมเจริญจนกว่าจะรู้ได้จริงๆ เพราะเหตุว่าความจริงชั่วขณะที่เห็น ไม่ใช่ขณะที่ได้ยิน ไม่ใช่ขณะที่คิดนึก เพราะฉะนั้น จะเห็นว่าชีวิตสั้นเล็กน้อย เพียงชั่วขณะหนึ่ง ที่ทำหน้าที่อย่างหนึ่ง คือทำหน้าที่เห็น ไม่ใช่หน้าที่คิด ก็คือจิตประเภทหนึ่ง ก็จะเห็นความเป็นอนัตตา เห็นความเป็นธรรม เห็นประโยชน์ของการที่เราศึกษาโดยละเอียด ไตร่ตรองโดยละเอียด ก็เพื่อที่จะให้รู้ความจริงอันนี้อย่างนี้ ซึ่งจะต้องให้เรียกไหม ว่าเป็น บรรพไหน ถ้าเป็นความจริงที่กำลังปรากฏ

    ผู้ที่รู้ความจริง เขาก็รู้ว่า ต้องอยู่ใน บรรพหนึ่ง บรรพใดแน่นอน แล้วไม่จำเป็นที่จะต้องมานั่งไล่เรียง แล้วที่บอกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็ทำกันแต่กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ส่วนใครที่จะระลึกรู้ลักษณะของความรู้สึก ก็ทำแต่ระลึกรู้ลักษณะของความรู้สึก เป็นเทวนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    ขอให้เข้าใจว่าคนนั้น เข้าใจคำว่า ธรรม ทั้งหลายเป็นอนัตตา หรือเปล่า ทั้งหลายนี่รวมสติหรือแปล่า สติก็เป็นอนัตตา สติจะระลึกอะไร ใครบังคับได้ ขณะนี้ เกิดแล้ว ระลึกแล้ว หมดแล้ว ใครบังคับได้ จะระลึกอะไรก็แล้วแต่สติ เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรม ศึกษาเพื่อให้เข้าใจจริงๆ ถ้าจะพูดว่า ธรรมทั้งหลายเป็น อนัตตา จนกว่าจะเข้าใจจริงๆ อย่างนี้ ด้วยการอบรมเจริญปัญญาให้รู้จริงๆ อย่างนี้ ไม่ใช่ไปเลือกรู้กาย หรือว่าไปเลือกรู้เวทนา

    วิทยากร. เลือกไม่ได้ เพราะฉะนั้น จึงตรงกับคำว่า สัพเพ ธัมมา อนัตตา ถ้าเลือกแล้ว มันก็ไม่ใช่ สัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรมเป็นอัตตา ไม่เข้าใจกันก็ไปว่าแต่กายอย่างเดียว ผมก็เคยฟังอย่างคุณชินว่า เคยฟัง เขาเล่นแต่กายอย่างเดียว ตลอดชาติด้วย

    ผู้ฟัง เขาอ้างเหตุผลว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นของหยาบ ผมว่าปรมัตถธรรม มีหยาบถึงขนาดที่เรียกว่าจะต้องปิดทางอื่นหมดเลย อย่างนั้นหรือ

    ท่านอาจารย์ แต่คนนั้นพูดเพราะเป็นรูปหยาบ ศึกษามาหรือเปล่า ว่ารูปหยาบมี ๑๒ รูป ในรูป ๒๘ รูป ถ้าศึกษาแล้วจะค้านไหม รูปหยาบ ๑๒ รูปนั้นคืออะไร รูปหยาบคือรูปที่สามารถจะรู้ได้ ที่จะอบรมปัญญาให้รู้ความจริงของรูปนั้นได้ เป็นรูปใกล้ ไม่ใช่รูปไกล ใกล้ที่นี่ หมายความว่าใกล้ต่อการที่จะรู้ความจริง ความหยาบของรูปเพราะปรากฏ เช่น รูปหยาบ ๗ รูป ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย รูปหยาบรูปที่ ๑ คือ สีสันวัณณะ ที่กำลังปรากฏ หยาบเพราะกำลังปรากฏอยู่ ไม่ต้องไปหาที่ไหนเลย เพียงแค่ลืมตาก็มีปรากฏแล้ว หยาบพอที่จะให้เห็นว่านี่เป็นรูป เป็นสิ่งที่มีจริง เป็นสิ่งที่กำลังปรากฏ เสียงเป็นสิ่งที่มีจริง เป็นสิ่งที่กำลังปรากฏ กลิ่นเป็นสิ่งที่มีจริงปรากฏ รสมีจริงปรากฏ โผฏฐัพพะ ๓ รวมเป็น ๗ รูป อีก ๕ รูปที่หยาบ คือ จักขุปสาท โสตปสาท ฆานปสาท ชิวหาปสาท กายปสาท มีใครบ้างที่ไม่รู้ว่ามีตา ขณะนี้แม้ว่าไม่สามารถจะรู้ลักษณะของตา สติไม่ได้ระลึก ลักษณะของจักขุปสาท ขณะที่มีสิ่งที่กำลังปรากฏ มีนามธรรม กับรูปธรรมอะไร ที่สติระลึกได้ ก็จะเห็นความต่างกันว่า ขณะที่เห็น จิตไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏ สิ่งที่ปรากฏไม่ใช่จิต สิ่งที่ปรากฏเป็นรูปธรรม จึงปรากฏมีลักษณะปรากฏให้เห็นว่าเป็นอย่างนี้ แล้วที่เป็นรูปธรรม เพราะเหตุว่า รูปไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย แต่ขณะที่รูปหนึ่ง รูปใดปรากฏ ที่ปรากฏเพราะจิตกำลังรู้ รูปนั้น กำลังเห็นรูปนั้น เพราะฉะนั้น นี้คือรูปหยาบ ๑๒ รูป

    ผู้ฟัง ผู้ที่ศึกษาธรรม ผู้ที่อบรมเจริญปัญญา นี้ ควรจะประพฤติปฏิบัติตนอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ง่ายที่สุด เป็นคนดี ไม่มีใครรังเกียจ คนดีเลยแน่นอนที่สุด แล้วคำว่า เป็นคนดี ดีตลอด ถ้าจะพิจารณาดู พระโอวาทปาฏิโมกข์ ละชั่ว คนดีต้องละชั่ว ต้องทำความดีทุกอย่างให้ถึงพร้อม นี่คือคนดี ชำระจิตให้บริสุทธิ์ ดีโดยไม่มีปัญญาก็ยังไม่สมบูรณ์ ยังไม่ใช่ว่าดีจริงๆ เพราะฉะนั้น คำว่า เป็นคนดี ดีตลอด จะมากมายมหาศาลสักแค่ไหน เพราะว่าโดยมากคนที่ฟังธรรม บางคนหวังประโยชน์สูงสุด คือให้ถึงมรรคผลนิพพาน หรือว่าให้สติปัฏฐานเกิดบ่อยๆ ให้รู้อริยสัจธรรมนั่นไม่สูงเกินไปหรือ ในเมื่อยังไม่ได้เป็นคนดี

    เพราะฉะนั้น แทนที่เราจะคิดว่า เราจะถึงระดับนั้นได้อย่างไร ถ้าเราไม่เริ่มที่จะศึกษาพระธรรม โดยเป็นสาวก คือผู้ฟังจริงๆ ผู้ฟังจริงๆ ไม่ใช่ฟังเรื่องราวของปรมัตถ แต่ว่าพร้อมที่ว่าในใจของเรา ฟังด้วยความเคารพนอบน้อมว่า พระธรรมที่ได้ฟังแสนยาก กว่าที่จะได้ฟัง เมื่อฟังแล้ว ไม่ใช่เพียงฟัง แต่ประพฤติปฏิบัติตาม เท่าที่จะกระทำได้ ถ้าเรามีความตั้งใจจริงๆ แล้วเห็นคุณค่าจริงๆ เราก็จะค่อยๆ ทำความดีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ว่าคนที่มีปัญญา รู้เรื่องการละเท่านั้น ที่จะศึกษาพระพุทธศาสนา เพราะเหตุว่า เขาเป็นผู้ที่รู้ว่า มีกิเลสมากเท่าไร ทุกคนถ้าไม่รู้ตัวเองว่ามีกิเลสมาก ไม่คิดที่จะละกิเลส แต่ถ้าเขาเห็นอกุศลตามความเป็นจริงตั้งแต่ความไม่รู้อะไรเลย ขณะที่กำลังเห็นเป็นอะไรก็ไม่รู้ แสดงว่าความไม่รู้มากมายสักแค่ไหน แล้วเขามี การที่จะละความไม่รู้

    จุดประสงค์ของการเรียนไม่ใช่เพื่อมรรค ๘ หรือว่าไม่ใช่เพื่อสติปัฏฐาน แต่เพื่อค่อยๆ รู้ขึ้น จากสิ่งซึ่งไม่เคยรู้เลย เป็นเรื่องละ โดยตลอด คือละความไม่รู้ ละความติด ละผล ละทุกอย่าง นี้แสดงให้เห็นว่าผู้นั้น เข้าใจ พระพุทธศาสนาผิด

    ผู้ฟัง ลักษณะของโลภะ ที่ท่านอาจารย์แสดงไว้ในเทปชุด จิตปรมัตถ ที่ท่านอาจารย์แสดงไว้ ที่กล่าวว่าลักษณะของโลภะ เป็นอาการ ตะกรุม ตะกรามเหมือนลิง เป็นอย่างไร ช่วยอธิบาย

    ท่านอาจารย์ กำลังตะกรุม ตะกราม อยู่จริงๆ เลย ถ้า สติ ไม่เกิด ลองคิดดู เพียงแค่ภวังค์จิต ยังไม่รู้อะไรเลย เป็นโลภะ หรือเปล่า ขณะที่เป็น ภวังค์

    ผู้ฟัง อนุสัย

    ท่านอาจารย์ ไม่เป็น ใช่ไหม ไม่ใช่อกุศลจิต เพราะเป็นวิบากจิต นี้เป็นความจำเป็นที่ต้องรู้ขณะจิตหนึ่ง ที่เกิดขึ้นว่าเป็นอะไร ถ้าเป็นวิบาก คือผลของกรรม ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ขณะนั้นยังไม่รู้อะไรเลย แต่เพียงสิ่งหนึ่งสิ่งใดกระทบทวารหนึ่งทวารใด เกิดขึ้นนิดเดียวที่ปรากฏ เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดทางตา หรือว่าได้ยินเสียง ติดแล้วทันที นี่ตะกรุมตะกรามไหมรวดเร็วเหลือเกิน ไม่มีอะไรยับยั้งได้เลย เพียงแค่กระทบติดเลย ตะกรุมตะกรามแค่ไหน หมดทุกทางด้วย ไม่มีช่องว่าง ไม่เว้นเลย

    ผู้ฟัง แล้วที่กล่าวว่า เหมือนลิงติดตัง

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นอย่างนั้น

    ผู้ฟัง อยากจะต่อเรื่องปัจจัย ตรงนี้อีก ไม่ทราบว่า ตรงนี้จะเป็นปัจจัยซึ่งกัน และกันหรือเปล่า อย่างเช่น การเกรงกลัวในอำนาจของพระพุทธเจ้า จะเป็นปัจจัยให้เราไม่กระทำผิด หรือว่าเว้นจาก อกุศลกรรม

    ท่านอาจารย์ เกรงกลัวว่าอย่างไร

    ผู้ฟัง เกรงกลัวในอำนาจ

    ท่านอาจารย์ นั่นสิเกรงกลัวอย่างไร อำนาจอะไร

    ผู้ฟัง พระพุทธเจ้า เป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่ อย่างพุทธศาสนิกชน เห็นพระพุทธเจ้า

    ท่านอาจารย์ อันนั้นเชื่อว่าเป็นความเคารพ หรือเปล่า หรือความเกรงกลัว

    ผู้ฟัง เคารพ ยำเกรงหรือเกรงใจอย่างไรก็ได้เลยไม่กล้าที่จะทำอกุศลกรรม

    ท่านอาจารย์ ขออนุโมทนา ถ้าเป็นอย่างนั้น

    ผู้ฟัง เป็นปัจจัยทำให้ เว้นจากอกุศลกรรมได้เช่นเดียวกัน แม้แต่อย่างที่ว่า อย่างได้ยินอาจารย์สนทนาธรรมกับ คุณวันทนา ในเรื่องที่พระภิกษุไม่ ห้ามฉันข้าวเย็น อย่างมีพระภิกษุบางท่าน ท่านก็ไม่ทราบเหตุผล แต่เพราะว่าท่านเกรงใจหรือยำเกรงในพระพุทธองค์ ท่านก็เลย

    ท่านอาจารย์ ท่านเคารพ

    ผู้ฟัง แล้วก็ไม่ทราบว่าปัจจัยนี้ จะสามารถนำไปสู่การเข้าใจเหตุผลได้หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ คำถามของคุณวรศักดิ์ เป็นเรื่องยาว จิตเกิดดับกี่ครั้งแล้ว นับไม่ถ้วน ใช่ไหม สภาพธรรม เรายังไม่ต้องไปถึงเรื่องราวเลย เพียงแค่หนึ่ง ขณะจิตที่จะเกิด ก็มีเหตุปัจจัยมากมายแล้ว แต่ละขณะๆ เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมที่จะรู้ ความเป็นปัจจัย ก็คือแต่ละขณะจิต ไม่ใช่เอาปัจจัยหยาบๆ มาคิดหรืออะไร แต่คิด เพียงชั่วขณะที่จิตเกิดสั้นๆ ก็มีปัจจัยแล้วว่า จิตนี้ เกิดเพราะอะไรบ้าง อย่างจิตเห็น ถ้าไม่มีตา เป็นนิสยปัจจัย เป็นที่อาศัยเป็นที่เกิด จิตเห็นเกิดไม่ได้เลย นี่ก็คือปัจจัยหนึ่งแล้ว ถ้าไม่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตเห็นก็เกิดไม่ได้ ก็อีกปัจจัยหนึ่งแล้ว เป็นสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยชื่อต่างๆ เพราะฉะนั้น ในสภาพธรรมทั้งหมด คือจิต เจตสิก รูป มีปัจจัยทั้งนั้นเพราะเหตุว่าเป็นสังขารธรรมจึงเกิด

    ผู้ฟัง นั่นก็แสดงว่า ที่ผมคิดว่า เพราะความยำเกรงในการไม่ ในตัวพระพุทธองค์จึงไม่ ไม่ใช่สามารถ ที่จะทำให้ เข้าสู่มรรคผลได้

    ท่านอาจารย์ ในส่วนของพระสูตร จะเป็นเรื่องอย่างนี้ เพราะว่าผู้นั้นสามารถที่จะเข้าใจว่า ทุกขณะจิต มีปัจจัยแล้ว เพราะฉะนั้น จะพูดอย่างไรก็มีความเข้าใจ แต่ทีนี้ถ้าไม่มีความเข้าใจโดยละเอียด อ่านเฉพาะพระสูตรก็จะไปค้นคว้าหาปัจจัยกันเอาเอง ว่าเพราะอะไรเป็นปัจจัย แต่ว่าตามความเป็นจิงแล้วโดยนัยของพระอภิธรรมซึ่งเป็นส่วนละเอียดทุกสภาพธรรม มีปัจจัย จิตก็มีปัจจัย เจตสิกก็มีปัจจัย รูปก็มีปัจจัย

    ผู้ฟัง ที่ถามอย่างนี้ ไม่ใช่เพราะว่าอะไร คือ คิดว่าถ้าเกิดเรายำเกรง พระพุทธองค์สั่งห้ามอะไรเราก็ไม่ทำ เพราะว่าเรามีความเคารพยำเกรงในพระพุทธองค์ อย่างนั้น นี่ผมคิดว่า มันจะสามารถทำให้เรา เกิดปัญญาได้ไหม ถ้าเราเกิดไม่ ศึกษา

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เพียงแค่ศรัทธา

    ผู้ฟัง อยากทราบว่าศีลอุโบสถ ถ้าเกิดสำหรับฆราวาสโดยทั่วไป การงดจากการทานอาหารมื้อเย็นเพราะ เหตุผลอะไร

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่หิว ปกติก็ไม่ควรจะรับประทาน ถ้ามีปัญญาเพิ่มขึ้น ก็จะเห็นว่าการรับประทาน หรือบริโภคอาหารพอประมาณ เป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะเหตุว่าเราไม่ได้มีความต้องการที่จะบริโภค แต่ถ้าเวลาที่เราเคยชินต่อการที่จะบริโภคมากๆ ในทุกกาล เราก็จะเห็นได้ว่าขณะนั้นเพราะเราไม่รู้ตัวว่าเราติดในรส ซึ่งตามความเป็นจริง อาหารที่มีประโยชน์จริงๆ ต่อร่างกายก็ก่อนเที่ยง

    ผู้ฟัง ที่อาจารย์ พยายามจะบอก คือพยายามที่จะ

    ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นผู้ที่มีปัญญาก็จะละโลภะ หรือละอกุศลไป เป็นลำดับขั้น แม้จะเล็กสักเท่าไรก็ยังสามารถที่จะเห็นประโยชน์ได้

    ผู้ฟัง บั่นทอนที่โลภะ จะเกิด เท่านั้นเอง ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ แสดงให้เห็นว่าผู้มีปัญญา จะบริโภคอาหารพอประมาณ เริ่มต้นจากเคยบริโภคมากๆ อร่อยๆ ค่อยๆ รู้ตัวขึ้น ว่าบริโภคเพราะอะไร แล้วก็ค่อยๆ ลดจนกว่าสามารถที่จะบริโภคได้เพียงก่อนเที่ยง แม้แต่พระโสดาบัน ท่านก็ไม่ได้รักษาศีล ๘ เป็นประจำ แสดงให้เห็นว่า ต้องเป็นระดับของปัญญาจริงๆ ว่า ทำไมพระอนาคามีบุคคล ท่านจึงละเว้น การบริโภคอาหารในเวลาวิกาล แล้วก็มีศีล ๘

    ผู้ฟัง เพราะว่าที่เคยได้ยินอาจารย์บรรยายเหมือนกัน บอกว่าอาหารมื้อเที่ยง มันจะไม่อร่อย มากกว่า อาหารมื้อเย็น อย่างนี้หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ในพระไตรปิฎก ก็เป็นอย่างนั้น

    ผู้ฟัง พยายามละโลภะ ด้วยการบั่นทอนมื้อเย็นลง

    ท่านอาจารย์ ถ้ามีปัญญาก็จะรู้ตัวเอง ว่าบริโภคเพราะอะไร ก่อนอื่นก็ขออนุโมทนาในกุศลศรัทธา ที่ทุกท่านได้สะสมมาแล้ว ถึงได้มีโอกาสที่ได้ฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาค ทรงตรัสรู้ และทรงแสดง ถึงแม้ว่ากาลเวลาจะล่วงไปถึง ๒,๕๐๐ กว่าปี แต่ผู้ที่ได้สะสมกุศลศรัทธา ในการฟังพระธรรมก็ยังมีโอกาสที่จะได้ฟังพระธรรม ประการสำคัญที่สุดก็คือว่า ชาวพุทธย่อมทราบว่าพระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาค ทรงตรัสรู้ และทรงแสดง เป็นธรรมที่บุคคลอื่นไม่สามารถที่จะรู้ได้ ถ้าพระองค์ไม่ทรงแสดง ซึ่งธรรมที่พระผู้มีพระภาค ทรงตรัสรู้ และทรงแสดง เป็นสภาพธรรมที่มีจริง และกำลังปรากฏอยู่ทุกขณะ แต่ก็เป็นสิ่งที่ยากแสนยากที่จะรู้ได้

    เพราะเหตุว่าการตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ทรงตรัสรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดขึ้น และดับไปทุกขณะตามความเป็นจริง ซึ่งสามารถที่จะทำให้ผู้ฟังได้ค่อยๆ พิจารณา จนกระทั่งเข้าใจ แล้วก็สามารถที่จะดับกิเลสได้เป็นสมุจเฉท ถึงแม้ว่าจะได้ฟังธรรมอื่น แต่ว่าธรรมที่ไม่ใช่คำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ไม่สามารถที่จะดับกิเลสได้ จะเห็นได้จริงๆ ว่า ผู้ที่มีศรัทธาย่อมเป็นผู้ที่ละเอียด แล้วก็เห็นว่า กิเลสเป็นสิ่งที่ดับได้ยาก ไม่ใช่ใครก็ตามที่นึกอยากจะให้อกุศลจิต อกุศลธรรมทั้งหลายหมดไป ก็จะหมดไปได้ แต่ต้องอาศัยพระปัญญาคุณที่ทรงอบรมพระบารมีถึง ๔ อสงไขยแสนกัป จึงสามารถที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรม แล้วทรงแสดงพระธรรมถึง ๔๕ พรรษา

    ผู้ที่เริ่มสนใจธรรม แล้วก็คิดว่าคงจะไม่ต้องศึกษา ก็สามารถที่จะเข้าใจได้ หรือว่าเพียงเข้าใจพระธรรมเพียงนิดหน่อยก็สามารถที่จะหมดกิเลสได้ ก็ไม่ถูกต้องเพราะเหตุว่า พระธรรมเป็นสิ่งซึ่งละเอียด เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาก็ต้องศึกษาด้วยความละเอียดจริงๆ เพื่อที่จะให้ท่านผู้ฟังได้เห็นว่าพระธรรมที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงเป็นสิ่งซึ่งบุคคลอื่นไม่สามารถที่จะรู้ได้ด้วยตนเอง

    ขอกล่าวถึงอดีตชาติ ที่พระผู้มีพระภาค ทรงได้รับคำพยากรณ์จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ทีปังกร ซึ่งขอย้อนถอยหลังไปถึงเมื่อ ๔ อสงไขยแสนกัป ให้เห็นความยากลำบากว่า กว่าจะได้ตรัสรู้ธรรม เป็นสิ่งซึ่งยากจริงๆ และต้องอบรมพระบารมีจนกระทั่งพร้อมที่จะได้รู้แจ้งอริยสัจธรรม จึงสามารถที่จะบรรลุเป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ในสมัยที่ทรงพระชาติเป็นสุเมธดาบส เมื่อ ๔ อสงไขยแสนกัป และก็ได้รับคำพยากรณ์ จากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ทีปังกร ว่าอีก ๔ อสงไขยแสนกัป ท่านจะได้ตัรสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่าโคตม ผู้ที่ได้รับคำพยากรณ์อย่างนั้น จะรู้สึกอย่างไร อีก ๔ อสงไขยแสนกัป แต่ว่าทรงมีพระมหากรุณา ที่จะมีความเพียร ที่จะอบรมเจริญบารมีความดีทุกประการ เพื่อที่จะได้รู้แจ้งอริยสัจธรรม เพราะเหตุว่าถ้ายังมีกิเลสมากๆ แล้วไม่มีการขัดเกลากิเลสเลย ไม่มีทางที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ ส่วนมาก บางคนอาจจะคิดว่า ไม่ต้องขัดเกลากิเลส ไม่ต้องอบรมเจริญกุศล เมื่อได้ฟังธรรมแล้ว ก็ปฏิบัติ นิดๆ หน่อยๆ ก็สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ แต่นั่นไม่เป็นความจริง เพราะเหตุว่าผู้ที่จะรู้ได้ ต้องเป็นผู้ที่ เป็นผู้ที่ละเอียด เช่น หนทางที่พระโพธิสัตว์ได้ดำเนินมาแล้ว เมื่อท่านสุเมธดาบสได้รู้ว่า จะบรรลุพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านทำอะไร ท่านใคร่ครวญด้วยปัญญาว่า ธรรมใดเป็นพุทธการกธรรม คือ ธรรมอันทำให้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วก็รู้ว่า ธรรม ๑๐ ประการ เป็นพุทธการกธรรม เป็นบารมีที่จะให้ถึงฝั่ง จากความเป็นปุถุชน ไปสู่ฝั่งถึงการที่จะดับอกุศลทั้งปวงได้ เพราะฉะนั้น การที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมก็ต้องเป็นสิ่งที่สมควรแก่เหตุ หมายความว่า ถ้าเหตุไม่พร้อมก็ไม่สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้

    พุทธการกธรรม บารมี ที่ ๑ คือ ทานบารมี ทุกท่านคงจะชินกับบารมีทั้ง ๑๐ แต่ก็ให้ทราบว่า ทานบารมี เป็นกุศลซึ่งไม่ได้หวังสิ่งตอบแทนใดๆ เลยทั้งสิ้น เพราะเหตุว่าไม่ได้ต้องการภพชาติ ไม่ได้ต้องการลาภยศสรรเสริญสุข ไม่ได้ต้องการแม้เพียงความคุ้นเคยสนิทสนม แต่ว่าต้องเป็นไปเพื่อละการติดข้อง ในวัตถุทั้งปวง เพราะฉะนั้น ทานของแต่ละคน ก็สามารถจะพิจารณาได้ว่า เป็นแนวทางของการที่จะทำให้ละความติดข้อง แล้วก็สามารถที่จะเจริญปัญญา ที่จะเห็นโทษของความติดข้อง แล้วก็อบรมทานบารมีเท่าที่สามารถจะกระทำได้

    บารมีที่ ๒ คือ ศีลบารมี ศีลบารมี คือ การละเว้น กาย วาจา ซึ่งทำให้ คนอื่นป็นทุกข์เดือดร้อน ซึ่งศีลเป็นที่ตั้งของกุศลทุกอย่าง เพราะว่าขณะใดที่เป็นกุศล ขณะนั้นก็ไม่ได้ทำความเดือดร้อนให้บุคคลใดทั้งสิ้น มีแต่จะนำประโยชน์ สุขเกื้อกูลแก่บุคคลอื่น ซึ่งเป็นกุศลประการอื่นๆ ต่อไป

    บารมีที่ ๓ คือ เนกขัมมบารมี การออกจากความติดข้องในกาม เพราะถึงแม้ว่าจะให้ทานแล้ว แต่ก็ยังมีการติดข้องในสิ่งต่างๆ แล้วถึงแม้ว่าจะมีศีล มีการละเว้นทุจริต ไม่ทำให้กาย วาจาของตนเอง ทำให้คนอื่นเดือดร้อน แต่ก็ยังติดข้องอยู่ในสิ่งต่างๆ เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่า ถ้าไม่เห็นโทษว่า มีความติดข้องมากโดยที่ทาน และศีล ก็ไม่สามารถที่จะทำให้ความติดข้องนั้นหมดไปได้ ก็จะมีการเพียรพยายามที่จะค่อยๆ ละ ค่อยๆ คลาย จากการติดข้องในรูปในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ในธรรมอื่นๆ ทั้งหลาย เช่น ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ตามกำลังที่จะเป็นไปได้ ซึ่งก็จะเป็นไปได้ทีละเล็กทีละน้อย ไม่ใช่ว่าใครสามารถที่จะหมดความติดข้องในทุกสิ่งทุกอย่างได้โดยรวดเร็ว ถึงแม้ว่าจะออกจากเรือน เป็นบรรพชิต ซึ่งเป็นเนกขัมมะ อย่างสูง คือการสละอาคารบ้านเรือน แต่ถ้าปัญญาไม่ได้อบรมพอ และบารมีทั้งหลายไม่ได้อบรมพอ ก็ไม่สามารถที่จะละคลายความติดข้องได้ ซึ่งความติดข้องก็มีมานานแสนนาน เพราะฉะนั้น กว่าจะละได้ ก็ต้องใช้เวลาที่นานมาก ในการที่จะละความติดข้องได้ เพราะเหตุว่าผู้ที่ละความติดข้องในทุกสิ่งทุกอย่างในภพ ในชาติ ในการเกิด ต้องเป็นผู้ที่เห็นโทษของความติดข้อง ในรูปที่กำลังปรากฏทางตา ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ซึ่งเป็นอย่างนี้ตลอดมาทุกชาติ ติดข้องอยู่ตลอด ถ้าไม่มีปัญญา หรือบารมีที่ได้อบรมจริงๆ ก็เป็นไปไม่ได้เลยที่จะละความติดข้องได้ เพราะฉะนั้น ถ้าตราบใดที่ยังไม่มีความรู้สึกว่า ความติดข้องในภพ ในรูปในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ในทุกสิ่งทุกอย่างนั้น เหมือนกับคนที่อยู่ในที่คุมขัง ซึ่งไม่มีทางที่จะออกไปจาก ความติดข้องในสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้เลย ก็จะไม่มีการพากเพียรที่จะอบรมเจริญบารมี ที่จะออกจากสังสารวัฏได้ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องละเอียด เป็นเรื่องใหญ่ ที่พุทธศาสนิกชนต้องฟังแล้วก็ใคร่ครวญ แล้วก็พิจารณาด้วยความละเอียดจริงๆ

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 101
    24 มี.ค. 2567