ปกิณณกธรรม ตอนที่ 503


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๕๐๓

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๑


    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จึงมีการที่เข้าใจว่า ขณะใดก็ตามที่มีโลภะต้องไม่ให้มี โดยวิธีไหนก็ตามแต่ แทนที่จะระลึกรู้ลักษณะของโลภะ ที่กำลังปรากฏ แล้วก็มีความเข้าใจถูก ในลักษณะของสภาพธรรมนั้น เรื่องของจิตว่าถ้าจะให้เห็นความเป็นอนัตตาจริงๆ ไม่ใช่เพียงแต่ทราบว่าเรามีจิตเท่านั้น แต่จะต้องทราบความละเอียดด้วย ว่าจิตเกิดขึ้นทีละหนึ่งขณะเท่านั้น แล้วก็เกิดขึ้นเมื่อมีเหตุปัจจัยด้วย ไม่ใช่ว่าจะเกิดขึ้นได้ตามใจชอบ แล้วก็การเกิดของจิต ก็ต้องเป็นไปตามลำดับ สำหรับจิตทั้งหมดแบ่งออกเป็น ๔ ชาติ คือ กุศล ๑ อกุศล ๑ เป็นเหตุ แล้วก็วิบากเป็นผลของกุศล และอกุศล แล้วอีกชาติหนึ่ง ซึ่งเราคงไม่ได้ยินถ้าไม่ได้ศึกษาพระธรรม อย่างผู้ที่มาใหม่ ไม่ทราบว่า จะได้ยินคำว่า กิริยาจิต เคยได้ยินไหม ไม่เคย แต่คำว่ากิริยา มี ใช่ไหม ได้ยิน เพราะฉะนั้น เวลาที่เป็นเรื่องชาติของจิต คำว่ากิริยาจิต หมายความถึง จิตที่ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใชวิบาก อันนี้เพื่อที่เราจะได้เข้าใจเรื่องปัญจทวาราวัชชนจิต กับมโนทวาราวัชชนจิต แต่ว่าต้องทราบเรื่องของจิตก่อนว่าจิต มี ๔ ชาติ กุศลทราบแล้ว อกุสลทราบแล้ว วิบากทราบแล้ว เพราะฉะนั้น ก็จะถึงจิตอีกชาติ ๑ คือชาติกิริยาซึ่งไม่ใช่กุศล และอกุศล ซึ่งเป็นเหตุ และไม่ใช่วิบากซึ่งเป็นผลด้วย แต่มีจิตที่เป็นชาติกิริยา สำหรับกิริยาจิตส่วนใหญ่ เป็นของพระอรหันต์ เพราะเหตุว่า พระอรหันต์ไม่มีอกุศลจิต ไม่มีกุศลจิต อย่างเราเวลาเห็น หลังจากเห็นแล้วก็ จะเกิดโลภะบ้าง โทสะบ้างซึ่งเป็นอกุศล หรือมิฉะนั้นก็เกิดกุศล ซึ่งก็คงจะน้อยกว่าอกุศล นี่เป็นของธรรมดา แต่สำหรับพระอรหันต์ แม้ว่าเห็นอย่างเรา แต่เมื่อเห็นแล้ว ไม่มีกุศลจิต อกุศลจิตเลย แต่เป็นกิริยาจิต เพราะเหตุว่าดับกิเลสหมด เพราะฉะนั้น คำว่ากิริยา ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นเหตุ แม้ว่าขณะนั้นมีโสภณเจตสิกที่ดีงาม เช่น มีเมตตา หรือว่ามีอโทสะ มีอโลภะ ไม่โลภะ ไม่ติดข้อง แต่แม้กระนั้นก็ไม่ใช่เหตุที่จะให้เกิดผล คือปฏิสนธิ หรือ วิบากได้ เพราะฉะนั้น จิตนั้นจึงเป็นกิริยา แม้ว่าจะเป็นจิตที่เป็นโสภณจิต ไม่ใช้คำว่า อกุศล นี่คือความละเอียดของธรรม เพราะเหตุ ว่า ถ้าเป็นอกุศล หมายความถึงสภาพธรรมที่ไม่ดีงาม ให้โทษ มีอกุศลเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ถ้าใช้คำว่า อโสภณ หมายความว่าไม่มีโสภณเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ไม่ใช่จิตที่เป็นอกุศล นี่อาจจะเริ่มยุ่งยากหรือว่าสับสน แต่ต้องค่อยๆ ฟังไปโดยที่ว่าให้ทราบว่ามีจิต ๔ ชาติ ทีนี้ถ้าจะเข้าใจเรื่องของกิริยาจิต คือปัญจทวาราวัชชนจิต กับมโนทวาราวัชชนจิต ซึ่งแม้บุคคลที่ไม่ใช่พระอรหันต์ก็มี ธรรมต้องฟัง แล้วก็ต้องลำดับ แล้วก็ต้องต่อกันด้วย ถ้ากล่าวว่าสำหรับกิริยาจิต ซึ่งทุกคนมี แม้ว่าไม่ใช่พระอรหันต์ มีอยู่ ๒ ดวง คือปัญจทวาราวัชชนจิต กับ มโนทวาราวัชชนจิต ชื่อใหม่ แต่ค่อยๆ ฟัง แต่จะถามว่าขณะนี้เรามีปัญจทวาราวัชชนจิตไหม พอจะตอบได้ไหม ทั้งๆ ที่ยังไม่ต้องรู้มาก รู้เพียงเท่าที่ฟัง ตอบได้ไหม มีไหม มี นี่ก็แสดงให้เห็นว่า แม้ว่าเราจะยังไม่เข้าใจความละเอียด แต่เริ่มเข้าใจจากคำที่ได้ยิน ถ้าจะให้เข้าใจ ไม่ใช่เพียงชื่อว่า แปลว่าอะไร แล้วก็ยังไม่แปล แต่ก็จะเริ่มตั้งแต่เกิด ตอนเกิดเป็นวิบากจิต หรือกุศลจิต หรืออกุศลจิต หรือกิริยาจิต ถาม ซ้ำเท่านั้นเอง เป็นวิบาก เป็นผลของกรรม จิตที่ทำกิจปฏิสนธิเกิด นแล้วดับไปแล้วจะทำฏิสนธิกิจอีกได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เพราะฉะนั้น คนหนึ่ง จะมีปฏิสนธิจิต เพียงขณะเดียว คือขณะแรกที่เกิด แล้วก็จะไม่เป็นปฏิสนธิจิตอีกเลย แต่ว่ากรรมไม่ได้ทำให้เพียงปฏิสนธิจิตเกิด ขณะเดียว แต่ว่ากรรมยังทำให้เมื่อปฏิสนธิจิต ซึ่งเป็นจิตขณะแรกเกิดแล้วดับไป ยังเป็นปัจจัยให้วิบากจิตประเภทเดียวกัน เหมือนกันเลยกับปฏิสนธิ เกิดดับสืบต่อ เพียงแต่ว่าไม่ได้ ทำปฏิสนธิกิจ เพราะว่าปฏิสนธิกิจ หมายความถึง กิจแรก ของชาตินี้ ซึ่งสืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อน เพราะฉะนั้น เมื่อจิตที่เป็นปฏิสนธิจิต ดับไปแล้ว จิตประเภทเดียวกัน เป็นผลของกรรมประเภทเดียวกัน เกิดสืบต่อ ยังไม่ให้ตาย เพราะเหตุว่า ทำกิจดำรงภพชาติ ที่เราใช้คำว่า ภวังคกิจ หรือภวังคจิต ก็ได้ ดำรงภพชาติเพื่อที่จะได้รับผลของกรรมอื่นๆ ก่อนจะตาย เพราะฉะนั้น เวลาที่เป็นภวังคจิตอยู่ มีอารมณ์เหมือนกับปฏิสนธิจิตของชาติก่อน ใช่ไหม คุณชมเชย ปฏิสนธิจิต มีอารมณ์เดียวกับจิตใกล้จุติ ใกล้จะตายของชาติก่อน ฉันใด กรรมนั้นแหละที่ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด ก็ทำให้ภวังคจิตเกิดสืบต่อ มีอารมณ์เดียวกัน เป็นอารมณ์ที่ไม่ปรากฏเลย เช่นขณะที่เรานอนหลับสนิท อารมณ์ไม่ปรากฏเลย รู้ไหมว่าเราชื่ออะไร เป็นใคร อยู่ที่ไหน มีพี่น้องกี่คน มีสมบัติอย่างไร บ้านอยู่ที่ไหน ไม่รู้เลยทั้งสิ้น ถ้าเป็นอย่างนี้ขณะใด ให้ทราบว่าขณะนั้นเป็นภวังคจิต เป็นชาติวิบาก แล้วก็เป็นผลของกรรมเดียวกับปฏิสนธิจิต ดำรงความเป็นบุคลนั้นไว้ ยังไม่ให้สิ้นความเป็นบุคคลนั้น จนกว่า จุติจิตจะเกิด เพราะระหว่างที่เป็นภวังค์ จะไม่มีการรู้อารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น ของโลกนี้ ไม่เห็น ไม่ได้ยินไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึก เพราะฉะนั้น การที่จะมีอารมณ์ใหม่ ไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์ หรือว่าการที่วิบากจิตซึ่งทำกิจภวังค์ ทำได้เพียงภวังคกิจ จิตที่ทำภวังคกิจ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน แม้ว่าเป็นวิบาก แต่ก็เป็นวิบากที่ไม่ใช่ทำหน้าที่เดียวกัน แต่เวลาที่กรรมจะให้ผล ทางตา คือจะต้องเห็น เรานอนหลับ นอนหลับไม่ได้ ตลอดนานๆ จะต้องมีการตื่น มีการเห็นบ้าง มีการได้ยินบ้าง เพราะฉะนั้น จากวิบากซึ่ง มีอารมณ์ที่ไม่ปรากฏ แล้วจะเปลี่ยนเป็นการที่รับรู้อารมณ์ ทางตาทางหู จะต้องมีจิตซึ่งไม่ใช่วิบาก ไม่ใช่ภวังคกิจ แต่ว่าเป็นกิริยาจิต ถ้าเป็นทางตา ต้องมีจักขุปสาท มีรูปกระทบ เพราะฉะนั้น วิถีจิต ไม่ใช่ภวังคจิต ต้องทราบว่าจิตอื่นทั้งหมด ที่ไม่ใช่ภวังคจิต ปฏิสนธิจิต จุติจิตแล้ว เป็นวิถีจิต ที่ใช้คำว่า วิถีจิต หมายความว่า จิตต้องอาศัยทาง ๑ ทางใด เกิดสืบต่อรู้อารมณ์ ในทางนั้น ต้องเกิดสืบต่อ ตามลำดับด้วย ทันทีที่ภวังคจิต ถูกกระทบถ้าเป็น สีกระทบตา ก็กระทบภวังคจิต เสียงกระทบหู ก็กระทบภวังคจิต ถ้าบอกว่าเป็นภวังคจิต หมายความว่ายังไม่เห็น ยังไม่ได้ยิน เพียงแต่ถูกกระทบ ต้องกระทบกับภวังคจิต แล้วเมื่อกระทบกับภวังคจิตแล้ว จะรู้อารมณ์ทันทียังไม่ได้ นี่คือการที่เราจะแสดงให้เห็นว่า การที่การเห็น หรือการได้ยินจะเกิดขึ้นแต่ละครั้ง จิตจะต้องเกิดดับ เป็นวิถีสืบต่อกันอย่างไร เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นต้องมีภวังคจิต เกิดดับสืบต่ออยู่ ยังไม่เห็น ยังไม่ได้ยิน แต่พออารมณ์กระทบทางหนึ่ง ทางใด แล้วภวังคจิตกระทบแล้ว ๑ ขณะ ดับไป ขณะที่ ๒ ก็ยังรู้ อารมณ์ใหม่ไม่ได้ ยังคงเป็นภวังคจิต แต่ว่าไหวที่จะมีอารมณ์ใหม่ แล้วเมื่อจิตที่เป็นภวังค์ดับไป ก็จะมีภวังค์อีก ๑ ขณะ ชื่อเป็นภาษาบาลีว่า ภวังคุปเฉทะ หมายความว่าสิ้นสุดกระแสของ ภวังค์ หมายความว่าต่อจากนั้นไป ต้องเป็นจิตที่อาศัยทางหนึ่ง ทางใด เป็นวิถี เป็นทางที่จะรู้อารมณ์ใหม่ เพราะฉะนั้น เมื่อภวังคุปเฉท ดับไป จิตที่จะเกิดต่อ ยังไม่เป็นวิบาก ยังไม่ได้รับผลของกรรมทันที แต่มีปัญจทวาราวัชชนะจิต เกิด เป็นวิถีจิตแรก ซึ่งรู้อารมณ์ที่กระทบ ทาง ๑ ทางใดใน ๕ ทาง นี่คือความหมายหรือว่าลักษณะประเภทของกิริยาจิต ซึ่งแม้คนที่ไม่ใช่พระอรหันต์ก็มี ขณะนี้กำลังเห็น ก่อนเห็นต้องเป็นปัญจทวาราวัชชนะจิต ถ้าเป็นทางตา เราจะเปลี่ยนชื่อเป็น จักขุทวาราวัชชนจิตก็ได้ ถ้าเป็นทางหูก็เรียกว่า โสตทวาราวัชชนจิต ก็ได้ เพราะว่าความหมายก็คง จะมาจากคำว่า จักขุ ทวาร อาวัชชนะ จักขุก็เป็น ตา ทวาร ประตู หรือทาง อาวัชชนะ ก็นึกถึง หรือรำพึง หรือรู้อารมณ์ที่กระทบทางนั้น เพราะฉะนั้น จิตนี้เป็นวิถีจิต ขณะแรก ก่อนที่จะมีการได้ยิน ต้องเป็นกิริยาจิต แสดงให้เห็นว่าตอนเกิด ปฏิสนธิจิต เป็นวิบาก ภวังคจิตเป็นวิบาก ยังไม่รู้อารมณ์ของโลกนี้เลย แต่พอจะรู้อารมณ์ใหม่ ซึ่งไม่ใช่อารมณ์ของปฏิสนธิ และภวังค์ ต้องมีจิตที่เป็น วิถีจิตแรก เกิดขึ้น ถ้าเป็นทาง ๑ ทางใดใน ๕ ทางก็เป็นปัญจทวารวัชชนจิต เกิดก่อน จิตนี้ยังไม่เห็น ยังไม่ได้ยิน ยังไม่ได้กลิ่น ยังไม่ลิ้มรส ยังไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เพียงแต่รู้ว่ามีอารมณ์กระทบ เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช่วิบากจิต แต่เป็นกิริยาจิต

    ผู้ฟัง มีรูปมากระทบปสาท คือจักขุปสาทรูป ขณะที่รูปกระทบปสาท อาจารย์กล่าวว่า กระทบภวังคจิตด้วย ซึ่งขณะที่รูปกระทบปสาท ก็เป็นกระทบภวังค์ซึ่งเป็น อดีตภวังค์ ภวังคจิต เกิดที่หทยวัตถุ อยากทราบว่ารูปจะกระทบภวังคจิต ที่หทยวัตถุ หรืออย่างไร

    ท่านอาจารย์ ถ้ารูปไม่กระทบกัน รู้การเห็นรูปนั้นๆ การได้ยินรูปนั้นก็มีไม่ได้ กระทบไม่ไช่กระทบแบบ มือตี กลองตี หรืออะไรอย่างนั้น แต่หมายความว่า เมื่อมีการกระทบกับอารมณ์ หรืออารมณ์กระทบกับปสาท ก็จะมีการรู้สึก หรือว่าจะมีการรู้ในสิ่งที่กระทบ แต่ว่าก่อนที่จะรู้ก็จะต้องมีภวังคจิต เกิดก่อน ไม่ทราบว่าคุณวิชัยหมายความว่าอย่างไร นี้ คืออะไร จะให้กระทบแบบไหน อย่างไร

    ผู้ฟัง คำว่ากระทบ รู้สึกว่าจะหมายถึง สิ่งของมากระทบกัน คือรูปมากระทบปสาท แต่ว่าจิตเกิดที่หทยวัตถุ

    ท่านอาจารย์ เรายังไม่นึกถึงว่าเกิดที่ไหน จะได้หรือเปล่า หรือต้องคิด

    ผู้ฟัง ไม่ต้องก็ได้ คือขณะที่รูปกระทบปสาท ขณะนั้นกระทบกับ ภวังคจิตด้วยหรือ

    ท่านอาจารย์ ไม่กระทบ จะมีการรู้อารมณ์ได้ไหม ก็เป็นภวังค์ไปเรื่อยๆ แต่การที่จะรู้อารมณ์ ใหม่ ก็จะต้องหมายความว่ารู้ในอาการกระทบของอารมณ์ เมื่อปัญจทวาราวัชชนจิตเกิด แต่ก่อนที่ปัญจทวาราวัชชนจิตเกิด แสดงให้เห็นว่า อายุของรูปเกิดเมื่อไร กระทบเมื่อไร ถ้าไม่มีการกระทบก็ไม่มีการรู้เลย แล้วก็ถ้าไม่แสดงอายุของรูป เท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ เราก็ไม่รู้ว่ารูปนั้น ดับเมื่อไร ถาเราใช้เพียงคำว่า ภวังค์ๆ ๆ แต่ถ้าเราใช้คำว่า อตีตภวังค์ หมายถึงขณะที่รูปเกิดแล้วกระทบ เพื่อที่จะได้นับอายุของรูปว่า เกิดดับ เท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ เพื่อจะรู้ว่า รูปที่เกิดแล้วก็ดับ เท่ากับจิตอายุ ๑๗ ขณะ รูปนั้นจะดับเมื่อไร เวลาที่จิตรู้อารมณ์นั้น เพราะว่ารูปทุกรูปมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ ก็ต้องใช้ชื่อต่างกันไป เพื่อที่จะให้ทราบ แต่ประการแรกก็คือให้ทราบ ความต่างกันของภวังคจิต ซึ่งไม่ใช่วิถีจิต เพราะฉะนั้น จิตใดๆ ก็ตาม ที่มีชื่อต่างๆ ทั้งหมดเป็นวิถีจิตทั้งหมด ถ้าจิตนั้นไม่ใช่ภวังคจิต มีใครกำลังเป็นภวังค์ หรือเปล่า ขณะนี้ ก็เรียนของจริง ถ้าเป็นภวังค์ก็เป็นภวังค์ มีใครไม่มีภวังคจิตบ้าง ต้องมีทุกคน คุณกอบพงษ์อยากมีภวังคจิตไหม ตอนนี้

    ผู้ฟัง ภวังค์ เท่าที่ผมฟังมาภวังค์ มันคั่นกลาง คั่นทุกขณะจิต ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ นึกถึงภาพ เป็นวงๆ หรือเปล่า ถ้าเราทราบแต่เพียงว่า จิตเกิดขึ้นขณะ ๑ ทำกิจอย่าง ๑ รู้อารมณ์ อย่าง ๑ ขณะที่เป็น ปฏิสนธิจิตก็มีอารมณ์ เหมือนชาติก่อน ใครเล่าจะไปรู้ว่าชาติก่อนมีอารมณ์อะไร เพราะฉะนั้น อารมณ์นั้นก็ไม่ปรากฏ ระหว่างที่เป็นภวังค์ก็เป็นผลของกรรมเดียวกับปฏิสนธิจิต เป็นจิตประเภทเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกัน เพราะฉะนั้น ก็สุดวิสัยที่ภวังคจิตจะมีอารมณ์เหมือน อารมณ์ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะเหตุว่าต้องมีอารมณ์เดียวกับภวังคจิต เป็นผลของกรรมเดียวกัน ดำรงภพชาติไว้ แต่เราก็ไม่ได้มีแต่ภวังคจิต เรายังมีจิตเห็น จิตได้ยิน แล้วก่อนที่จิตเห็นจิตได้ยิน พวกนี้จะเกิด หรือจิตคิดนึกจะเกิด จะต้องมีจิตอะไรเกิดก่อน ที่จะเปลี่ยนจากอารมณ์ของภวังค์ไปสู่อารมณ์อื่น จะต้องมีจิตที่ทำกิจอาวัชชนะ รำพึงหรือนึกถึงอารมณ์อื่น เพราะฉะนั้น ปัญจทวาราวัชชนจิต จะรำพึงหรือนึกถึงอารมณ์ ก็ต่อเมื่ออารมณ์นั้นเกิดแล้วกระทบ ถ้าอารมณ์นั้นเกิดกระทบตา จะไปนึกถึงเสียงก็ไม่ได้ ปัญจทวาราวัชชนะก็จะต้องรำพึงหรือนึกถึง รู้อารมณ์ที่กระทบทางทวารนั้น แต่ไม่เห็น เพียงแต่รู้ ว่ามีอารมณ์กระทบทางทวารนั้น แต่ว่ามีอารมณ์ใหม่ ไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์ เหมือนกับการที่เรานอนหลับสนิท แล้วเริ่มจะรู้สึกตัว แต่ก็ยังไม่รู้ว่าอะไร แต่ว่ามีการรู้สึกตัว ขณะนั้นก็เหมือนกับจิตของปัญจทวาราวัชชนจิต ที่นึกถึงอารมณ์ที่กระทบ แล้วแต่วาจะกระทบกับทวารไหน เพราะฉะนั้น จิตนี้เป็นกิริยาจิต พระอรหันต์ก็มีกิริยาจิต เพราะพระอรหันต์ก็เห็น ก่อนที่จิตเห็นจะเกิด ก่อนนั้นก็ต้องเป็นภวังค์เหมือนกัน เมื่อภวังค์ดับแล้วที่จะรู้อารมณ์ใหม่ ก็จะต้องมีอาวัชชนจิต คือจิตที่รำพึงถึงอารมณ์ อื่น คิดถึงอารมณ์อื่น แล้วแต่ว่าถ้าเป็นทางตากระทบ ก็นึกถึงรู้ มีอารมณ์กระทบทางตา ถ้าเป็นทางหูก็เรื่องเสียง ทางจมูกก็กลิ่น ทางลิ้นก็รส ทางกายก็สิ่งที่กระทบสัมผัส แม้ไม่มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ มากระทบเลย คิด ก่อนคิดก็เป็นภวังค์ เพราะฉะนั้น จากภวังค์จะเป็นอารมณ์อื่น ต้อง มีอาวัชชนจิต คือจิต ที่นึกถึง ถ้าเป็นการนึกถึงเรื่องราว ขณะนั้นก็เป็นหน้าที่ของจิตดวง ๑ ประเภท ๑ ชื่อว่า มโนทวาราวัชชนจิต แต่ถ้าเป็นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นปัญญจทวาราวัชชนจิต เพราะฉะนั้น มีกิริยาจิต ๒ ดวง ๒ ประเภท สำหรับทุกคน ที่จะมีการเห็นการได้ยินการได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส การคิดนึก ต้อง มีกิริยาจิตดวง ๑ ดวงใดใน ๒ ดวงนี้เกิดกอ่น เป็นวิถีจิตแรก ถ้าจำว่าเป็นวิถีจิตแรก ง่ายมากเลย เพราะว่าก่อนนั้นต้องเป็นภวังค์ แล้วก็วิถัจิตอื่นจะตามมา นึกถึงภาพหรือเปล่า เดี๋ยวจะต้องมีการวิ่งคลานตามมา ไม่ใช่ แต่ว่าจิตจะเกิดดับสืบต่อ ทำกิจสืบต่อกัน ถ้าฟังด้วยความเข้าใจก็ไม่ต้องอาศัยรูปภาพอะไร ถ้าเข้าใจได้ ว่าจิตเป็นภวังค์อยู่ แล้วก็จะเปลี่ยนเป็นอารมณ์อื่น จะมีจิตที่เป็นกิริยาจิตเกิดก่อน แล้วกิริยาจิตที่ทุกคนมี ๒ ดวงแต่ถ้าเป็นพระอรหันต์ก็มีมากกว่านั้น คือแทนที่จะเป็นกุศล อกุศลก็เปลี่ยนเป็นกิริยาหมด แต่สำหรับคนที่ไม่ใช่พระอรหันต์ ต้องมี นก มีกิริยาจิตไหม มีหรือไม่มี นกมีไหม ทำไมว่ามี ไม่ว่าจิตไหน จะเป็นของใคร ที่ไหน จะเรียกว่าอะไรก็ตาม ก่อนได้ยินต้องมีกิริยาจิต ที่เป็นปัญจทวาราวัชชนจิต หรือว่าจะใช้คำว่า โสตทวาราวัชชนจิต ก็ได้เพราะว่าเป็นทางหู แต่สิ่งซึ่งได้ฟัง ให้ทราบว่า ธรรมไม่ได้อยู่ที่ตัวหนังสือ เพราะฉะนั้น ฟังบางคนก็ ฟังจบ จบ แต่จริงๆ แล้ว ถ้าพิจารณาว่าธรรมทั้งหมด อยู่ที่นี่เดี๋ยวนี้ แต่ว่าเราเข้าใจละเอียดขึ้น จากการที่เราสนทนากัน เช่น ถ้าพูดถึงคำว่า ธรรม แล้วเราก็รู้ว่าจากหนังสือ ไม่มีอะไร นอกจากนามธรรมกับรูปธรรม หรือว่าจิต เจตสิก รูป เพราะเหตุว่า ถ้าไม่มีจิต เจตสิก รูป ก็ไม่มีอะไรทั้งหมด ถูกหรือผิด มีใครตอบไหม ถ้าไม่มีจิต เจตสิก รูป ก็ไม่มีอะไรทั้งหมด นี่หมายความว่าอย่างย่อที่สุดแล้ว จากการที่เราสนทนากันมาหลายปี เพราะฉะนั้น ถ้าใครยังไม่ทราบว่าจิต คืออะไร เจตสิกคืออะไร รูปคืออะไร ฟังๆ ไป พิจารณาไป ก็อาจจะเกิดการไตร่ตรองของตนเอง แล้วก็พอที่จะเข้าใจได้ว่าจิต เจตสิกจะ ต้องต่างจากรูป แน่นอน เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่ฟังแล้วพิจารณาไป แต่ว่าข้อสำคัญคือ การฟังธรรมตลอดชีวิต ไม่ใช่เฉพาะวันนี้วันเดียว หรือว่าทุกอาทิตย์ แต่ควรจะเป็นทุกโอกาสที่สามารถที่จะฟัง เพราะเหตุว่าการฟัง ธรรมไม่ใช่ว่าอ่าน แล้วก็ฟัง แต่ว่าพิจารณาสภาพธรรมที่กำลังมีอยู่ ที่ตนเอง นี่เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ต่อให้ใครจะบอกว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน เป็นนามธรรม เป็นรูปธรรม ก็ไม่ได้เห็นอย่างที่พูด ก็ยังละคลายไม่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องฟังละเอียดมาก ในเรื่องของจิต แต่ละชนิด หรือว่าเจตสิก และรูปมากขึ้น เพื่อที่จะได้สะสมความเห็นว่า ไม่ใช่ตัวเราจริงๆ เป็นแต่เพียงสภาพธรรม แต่ละอย่าง ในวันนี้ ก็ตามธรรมดาตอนเช้า ควรจะเป็นเรื่องของการปฏิบัติธรรม แต่ว่าถ้าไม่มีความเข้าใจธรรมเลย ปฏิบัติได้ไหม ไม่ได้ เรื่องการปฏิบัติธรรม ไม่ใช่ว่าเป็นส่วนหนึ่ง ต่างหากจากการเรียน แต่ว่าต้องเป็นเพราะเรียนแล้วเข้าใจจริงๆ และสภาพของธรรม ที่เจริญขึ้น จากการฟังเข้าใจ ก็จะทำให้ปฏิบัติกิจ ของสภาพธรรมนั้นๆ ได้ ไม่ใช่ว่าเราจะพูดถึงเรื่องการปฏิบัติ ธรรมโดยที่ไม่เข้าใจสภาพธรรม ที่กำลังมีอยู่ในขณะนี้ แต่ที่จะปฏิบัติธรรมได้ ก็ต่อเมื่อเข้าใจสภาพธรรม ที่กำลังมีอยู่ในขณะนี้ก่อน เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องเดียวกันแน่นอนว่าใครก็ตามที่จะปฏิบัติธรรมต้อง ทราบว่าต้องเข้าใจธรรมก่อน มิฉะนั้นจะปฏิบัติไม่ได้

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 101
    24 มี.ค. 2567