ปกิณณกธรรม ตอนที่ 508


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๕๐๘

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๑


    ท่านอาจารย์ แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้สะสมปัญญามา ที่จะเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระปัจเจกพระพุทธเจ้า ก็เป็นพระสาวกได้ เช่น ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ พระอรหันต์ และพระอริยสาวกทั้งหลาย สามารถที่จะรู้ความจริงได้ เมื่อได้อบรมปัญญาแล้ว การที่จะรู้ความจริงไม่ใช่ว่าโดยที่ไม่ศึกษาเลย ไม่เข้าใจเลย แล้วก็จะไปนั่งๆ แล้วก็จะไปประจักษ์ วูบวาบ เกิดดับขึ้นมา ไม่ใช่เลย แต่เป็นเรื่องของปัญญาที่สามารถจะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ด้วยสติสัมปชัญญะ แล้วก็สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม เป็นสาวก เพราะฉะนั้น มีพุทธ คือ ผู้รู้ หลายระดับ

    อีกอย่างหนึ่ง ถ้าเป็นผู้ที่เข้าใจจริงๆ ในเรื่องของปัจจัย คือสภาพธรรม ทุกขณะที่จะเกิดขึ้นได้ ต้องมีปัจจัยเฉพาะพร้อม เฉพาะสภาพธรรมนั้นๆ จึงจะเกิด ได้ ไม่ว่าใครจะวิ่งเต้นสักเท่าไร แต่ไม่มีปัจจัยพร้อมที่จะเกิดขึ้นเป็นไป ก็ไม่มีทางที่จะเป็นไปได้ แต่ว่าเมื่อมีเหตุปัจจัยพร้อมที่จะเกิด หลายคนก็ไม่ต้องวิ่งเต้นอะไรเลย แต่ว่ามีปัจจัยพร้อมที่จะเกิด ก็เกิด เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรม ถ้าเป็นผู้ที่เข้าใจศึกษาเข้าใจจริงๆ ก็จะมีความมั่นคง ในเรื่องของสภาพธรรม ที่เกิดว่า แต่ละขณะที่เป็นสภาพธรรม ในขณะนี้ต้อง มีเหตุปัจจัยสำหรับสภาพธรรมนั้นจริงๆ จึงเกิด แม้โลภะจะเกิดก็มีเหตุปัจจัยที่โลภะจะเกิด แม้โทสะจะเกิดก็มีเหตุปัจจัยที่โทสะจะเกิด เพราะฉะนั้น ยิ่งเห็นความเป็นอนัตตา คือ สภาพธรรม ที่เป็นปัจจัยที่จะทำให้ สิ่งหนึ่ง สิ่งใดเกิดขึ้น ก็จะยิ่งไม่เดือดร้อน แล้วก็จะไม่ขวนขวายถึงขนาดที่ว่า ทำให้ลำบาก

    สัจจญาณคือมีความเข้าใจ หรือว่ามีปัญญาที่รู้จริงๆ ว่าหนทางที่จะทำให้ ปัญญาเจริญขึ้นที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นคืออย่างไร ซึ่งแสดงไว้แล้ว มีหนทางเดียวจริงๆ เพราะเหตุว่าแม้ว่าจะได้ศึกษารู้ว่า เป็นสภาพธรรมทั้งหมดขณะนี้ ก่อนนั้นที่จะได้ศึกษาก็เป็น เราไปหมดแต่พอศึกษาปรมัตถธรรม แล้ว เป็นปรมัตถธรรม ทั้งหมดเลย ไม่ว่าทางตาที่เห็น ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจนี้คือขั้นฟัง มั่นคงไหม อย่างนี้ มั่นคงหรือยัง ที่จะมีความรู้จริงๆ ว่าเป็น ปรมัตถธรรม เพราะฉะนั้น คำต้นแม้แต่คำแรก คือคำ ว่าธรรม หรือธาตุ หรือว่า ไม่มีเจ้าของ เป็นสิ่งที่มีจริงๆ เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ถ้าเราฟังเผินก็ผ่านไป แต่ถ้าเราไม่เผิน เรามีความจำ คือสัญญา ที่มั่นคงมีความเข้าใจจริงๆ ว่า ธรรม เป็น ธรรม เป็นสิ่งที่มีจริงๆ ขณะนี้มีจริงๆ เห็น มีจริง เกิดดับ ได้ยินมีจริงเกิดดับ สุขทุกข์มีจริงเกิดดับ รูปเกิดดับ ถ้าเรามีความเข้าใจอย่างนี้ นี่ก็คือสัญญาความจำที่มั่นคง ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเราจะไม่ ไปทำอย่างอื่น ซึ่งไม่ใช่หนทางที่จะทำ ให้รู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น แต่ละคนก็ทราบว่า ตัวเองมั่นคงหรือเปล่า ถ้ามั่นคงจริงๆ แค่นี้ก็ไตร่ตรองแล้ว ว่าจะไปทำอย่างอื่น ทำอย่างไร ถึงจะไปเป็นคนดี แสนดี ก็ยังเป็นตัวตน จะเอาตัวตนตรงนี้ออกได้อย่างไร ที่เป็นคนดีแสนดีก็อาจจะเคยเป็นมาแล้ว เป็นถึงรูปพรหมภูมิ หรือ อรูปพรหมก็ได้ กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้อีก เพราะเหตุว่ายังไม่ได้ดับกิเลส ซึ่งขั้นต้นจะต้องดับความเห็นผิด ที่ไม่เข้าใจสภาพธรรม ตามความเป็นจริง แล้วก็ยึดถือสภาพธรรม นั้นว่าเป็นเรา เพราะฉะนั้น ความเป็นเรา ความรักตัวตนมีมาก ก็อยากที่จะได้ทุกอย่างเพื่อตัวตน แม้แต่อยากจะดี อยากจะรู้ อยากจะเกิดปัญญา การฟังพระธรรมต้องฟังด้วยความแยบคายจริงๆ ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง มั่นคงจริงๆ แล้วถึงจะรู้ว่ามีความมั่นคงขึ้นหรือเปล่า แต่ถ้ายังมีเราอยู่ แล้วก็มีโลภะ เพราะเหตุว่า สมุทัยสัจ คือโลภะ ที่ทำให้ทุกคนวนเวียนไปในสังสารวัฏ แม้ว่าจะเกิดในสวรรค์ เกิดเป็นรูปพรหม เกิดเป็นอรูปพรหม แต่ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ตามความเป็นจริง ก็ต้องอยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆ ในสังสารวัฏ ออกจากสังวารวัฏไม่ได้เลย แต่ว่าถ้าได้ฟังว่าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้ และทรงแสดงหนทาง ฟังแล้วก็พิจารณา แล้วก็เข้าใจจริงๆ ผู้นั้นก็จะไม่เดือดร้อนในความเป็นตัวเรา เพราะว่าแต่ก่อนอยากจะเป็นคนที่ดี ด้วยความเป็นตัวตน อยากจะมีปัญญามากๆ ด้วยความเป็นตัวตน อยากจะรู้แจ้งอริยสัจธรรมด้วยความเป็นตัวตน อยากจะมีสติวันหนึ่งๆ มากๆ ด้วยความเป็นตัวตน อย่างนี้ไม่เป็นหนทาง แต่หนทางจริงๆ คือรู้ว่า สภาพธรรม เป็นอนัตตา มิฉะนั้น คงจะไม่ทรงแสดง เรื่องของจิต เจตสิก รูป เป็นขันธ์ ๕ ก็แสดงให้ละเอียดออกไปอีก ว่า จิตเป็น วิญญาณขันธ์ ส่วนเจตสิก สัญญาขันธ์ ก็เพียงจำ เวทนาเจตสิกก็เป็นแต่เพียงความรู้สึก แต่แม้สติ แม้ปัญญ แม้เจตสิกอื่นๆ เป็นสังขารขันธ์ ถ้าใช้คำว่าสังขารขันธ์ เป็นสภาพธรรมที่ปรุงแต่ง แล้วใครจะไปทำอะไร นอกจากค่อยๆ อบรมเจริญไปเรื่อยๆ เป็นหน้าที่ของสังขารขันธ์จริงๆ ที่จะทำให้แม้ขณะจิต ที่เกิดความรู้ ความเข้าใจที่มั่นคงขึ้น ก็เพราะเคยฟัง เคยพิจารณา เคยเข้าใจ แล้วก็เพิ่มความมั่นคงขึ้น แต่เวลานี้ สิ่งที่ไม่รู้ คือ ลักษณะของนามธรรมซึ่งไม่ใช่เรา กับลักษณะของรูปธรรมซึ่งไมใช่เรา เพราะว่าเราอาจจะฟัง ศึกษามาแล้วว่า นามธรรมมีจริง เป็นสภาพธรรม ที่เกิดขึ้น รู้ สิ่งหนึ่ง สิ่งใด ส่วนรูปธรรมก็มีจริง เป็นสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ เพราะเกิดขึ้นแต่ไม่ใช่สภาพรู้ เราฟังไม่มีความสงสัยเลย ถูกไหม แต่ว่าเวลานี้ที่กำลังเห็น กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ ธาตุรู้ สภาพรู้มี สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาจึงได้ปรากฏ ถ้าไม่มี ธาตุรู้ หรือสภาพรู้คือเห็น สิ่งที่ปรากฏ ทางตาขณะนี้ ปรากฏไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น เพียงแต่ว่า เราได้ยินได้ฟังมาอย่างนี้ แต่ทุกครั้งที่เห็น เราสามารถที่จะรู้ถึงธาตุรู้นั้นไหม การอบรมเจริญปัญญา เพื่อให้รู้ในลักษณะของความเป็นธาตุรู้ ซึ่งมีจริงๆ ยังไม่ต้องไปกล่าวถึงว่าเป็นจิตหรือเป็นเจตสิก หรือว่ามีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าไร เพียงแต่แยกลักษณะที่แยกขาดจากกันจริงๆ ของนามธรรมกับรูปธรรม หรือนามธาตุกับรูปธาตุออก ให้มีความมั่นคงขึ้น ในลักษณะที่เป็นนามธาตุ แม้ว่านามธาตุจะปรากฏ ก็ยังต้องมั่นคงว่า นามธาตุนั้นไม่ใช่เรา เพราะเหตุว่าความเป็นเราลึกมาก เพราะว่าแม้จะได้ฟังมาโดยขั้นปริยัติ ไม่มีทางที่จะ เห็นว่านามธาตุคือนามธาตุ แต่ว่าเมื่อสติเริ่มระลึก ก็ไม่ได้หมายความว่าเมื่อเริ่มแล้วจะประจักษ์ลักษณะซึ่งเป็นธาตุรู้ ซึ่งไม่มีรูปใดๆ เจือปนเลยทั้งสิ้น เป็นแต่เพียงอาการรู้ หรือธาตุรู้ซึ่ง เป็นใหญ่ในการรู้ แล้วแต่วาลักษณะของสภาพธรรมใด จะปรากฏในขณะนั้น แต่ว่าธาตุรู้ก็รู้ ต้องเป็นธาตุรู้เสมอ แม้แต่ในขณะที่กำลังเห็นในขณะนี้ ธาตุรู้ก็คือเห็น ธาตุรู้ก็คือรู้ ธาตุรู้ก็คือกำลังมีสิ่งที่ปรากฏให้รู้ เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะป็นทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ก็โดยนัยเดียวกันคือธาตุ รู้นั้นกำลังคิด เป็นสภาพที่กำลังคิด แต่ก็เป็นธาตุรู้เพราะว่า ไม่ใช่รูปธรรม

    ผู้ฟัง อาจารย์บอกว่า ความเป็นเราลึกมาก เมื่อความเป็นเราลึกมาก เมื่อเวลาเราศึกษาปริยัติ มันก็จะเอาชื่อเข้าไปใส่อยู่เรื่อย ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ โดยมากจะนึกถึงคำอยู่เรื่อยๆ ชอบแปะ ใช้คำ พอ เกิดความชอบใจทุกคนก็ โลภะ ก็พูดแต่ชื่อโลภะ แต่ตัวโลภะจริงๆ กำลังทำกิจหน้าที่ของเขา เพราะฉะนั้น สภาพธรรม กำลังทำกิจการงานของสภาพธรรม แต่ละอย่าง แต่ก็กำลังพูดถึงเรื่องชื่อ ของสภาพธรรมต่างๆ เหล่านั้น จนกว่าจะมีความเข้าใจขึ้น แล้วก็สติระลึกลักษณะที่เป็นนามธรรม หรือรูปธรรม เป็นเรื่องอดทน ปรมัตถธรรม แต่ละอย่างมีลักษณะเฉพาะปรมัตถธรรม แต่ละอย่างจริงๆ แล้วก็ปรากฏด้วย เวลาเสียใจ ใครบ้างไม่รู้ลักษณะนั้นเสียใจ เวลาโกรธ ใครบ้างไม่รู้ว่าลักษณะนั้นโกรธ เวลาเป็นสุขใครบ้างไม่รู้ลักษณะนั้นเป็นสุข เป็นสภาพปรมัตถธรรม ที่กำลังเกิดขึ้น และมีลักษณะหน้าที่กิจการงานอย่างนั้น ด้วยความไม่รู้จึงเป็นเราทั้งหมด

    การอบรมเจริญปัญญา ไม่ใช่ไปรู้อื่น แต่รู้ความจริงซึ่งเกิดแล้วกำลังปรากฏ เพื่อจะรู้ว่าสภาพนั้นเป็นธรรม ให้ถึงคำว่าเป็นธรรม เพราะฉะนั้น เราเรียนเรื่องปรมัตถธรรม เรื่องธรรม เพื่อให้ถึงการประจักษ์แจ้งว่าเป็น ธรรม จริงๆ ตรงที่ได้เรียนแล้ว ไม่ใช่จะพิจารณาอย่างไร อบรมความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น ไม่มีการทำ ถ้าอย่างไร เหมือนทำว่าทำอย่างไร จะพิจารณาอย่างไร ต่อให้จะทำอย่างไร พิจารณาอย่างไร ก็ไม่ใช่การเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม แต่ถ้าเป็นการเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม แม้ในขณะที่กำลังฟัง สติเกิด รู้ว่าขณะนั้นสติเกิด ขณะที่สติไม่เกิดก็รู้ว่าหลงลืมสติ นี่คือการตั้งต้น ที่จะรู้ว่าลักษณะของสติปัฏฐานคืออย่างไร แล้วก็เวลาสติเกิด ก็รู้ว่าเป็นสติที่เกิด ค่อยๆ รู้ว่าเป็นสภาพของนามธรรม ที่เป็นสติ ที่เป็นสภาพที่ระลึก ไม่ใช่เราอีกต่อไป มิฉะนั้นก็จะมีเราทำอยู่ตลอดเวลา ยิ่งได้รับคำบอกเล่าให้ทำอย่างนี้ ให้ทำอย่างนั้น ก็ยิ่งมีการทำ แต่ว่าไม่ใช่การรู้ หรือความเข้าใจถูกต้อง ในลักษณะของสภาพธรรมที่ไม่ใช่เรา เพราะว่ากำลังเป็นเราที่ทำ

    ผู้ฟัง การศึกษาลักษณะสภาพของนามธรรมอย่างโลภะ หรือโทสะโกรธ เราจะศึกษาลักษณะสภาพของโลภะ หรือโทสะ หรือว่าจะศึกษาลักษณะของนามธรรมที่เป็น เพียงสภาพรู้ในขณะนั้น

    ท่านอาจารย์ ไม่ว่าจะเป็นโลภะ โทสะหรือจิต หรืออะไรก็ตาม ทั้งหมด เป็นสภาพรู้

    ผู้ฟัง ควรที่จะรู้ลักษณะของสภาพรู้ในขณะนั้น แม้กระทั่งโลภะในขณะนั้นซึ่งกำลังรู้บัญญัติ ก็รู้ว่าขณะนั้นเป็นสภาพรู้

    ท่านอาจารย์ เป็นสภาพรู้ คือต้องแยกลักษณะของนามธรรมกับรูปธรรมโดยเด็ดขาด

    ผู้ฟัง ถ้าเรารู้ที่ลักษณะของโลภะ จะเรียกว่าเรารู้ ลักษณะตรงตามสภาพตามความเป็นจริงได้ไหม

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ถามคนอื่น หรือว่าเราเรียกได้ไหม แต่ว่าผู้ที่อบรมเจริญปัญญา เป็นผู้ตรง อย่าลืมคำว่าเป็นผู้ตรง ตรงจริงๆ ตั้งแต่ว่าสติระลึก หรือว่าเป็นการนึกถึงชื่อ เพราะเหตุว่าธรรมดา ถ้าเกิดโกรธ ก่อนศึกษาธรรม ไม่มีคำว่าโกรธ เป็นปรมัตถธรรม หรือเป็นนามธรรมเลย แต่พอศึกษาธรรม อาจจะมีความจำว่า โกรธ เป็นสภาพธรรม ก็นึกถึงสภาพที่กำลังโกรธ แล้วก็บอกว่า นี่เป็นสภาพธรรม ก็ใส่ชื่อลงไปว่านี่เป็นสภาพธรรม แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะมาถามคนอื่น ว่าแล้วนี่เป็นสติปัฏฐานหรือเปล่า แล้วนี่สติกำลังระลึกลักษณะของนามธรรมหรือเปล่า ผู้นั้นเป็นผู้ตรงที่จะรู้ว่า การที่จะนึกถึงชื่อ เป็นของธรรมดา เวลาที่ได้ยินได้ฟังอะไรมาก็นึก ถึงชื่อได้ เวลานี้จะนึกถึงชื่อผัสสเจตสิก กำลังกระทบกับสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา หรืออะไรก็นึกได้ทั้งนั้น แต่ไม่ได้หมายความว่าขณะนั้นกำลังระลึกลักษณะของผัสสเจตสิก เพียงแต่ว่านึกถึงชื่อว่าสภาพนี้ มี แล้วก็กำลังทำกิจอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ต้องเป็นผู้ที่ตรงขึ้นๆ ที่จะรู้ว่า ลักษณะของสติปัฏฐาน คือ ระลึกลัษณะของปรมัตถธรรม ปรมัตถธรรมกำลังมีจริงๆ แต่ว่าฟังเรื่องปรมัตถธรรมมานานมาก จนกว่าสติจะระลึกลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม แล้วผู้นั้นก็จะเริ่มรู้ว่า เมื่อระลึกแล้ว มีความรู้ มีความเข้าใจในลักษณะนั้น มากน้อยแค่ไหน หรือยังคงนึกถึงชื่อไปก่อนเรื่อยๆ จนกว่าจะค่อยๆ เข้าใจขึ้น อย่างที่คุณอดิศักดิ์ว่า คือค่อยๆ แล้วก็อย่าลืมคำว่าอดทน ๒ คำนี้ต้องไปด้วยกัน ไม่มีใครเลย ซึ่งจะมีปัญญาทันที ที่สติระลึก แล้วก็รู้ว่านั่นเป็นนามธรรม ไม่ใช่ตัวตน ต้องศึกษาไป พิจารณาไปเรื่อยๆ

    ผู้ฟัง ไมใช่ว่าจะลำดับว่า การศึกษาลักษณะสภาพของนามธรรมนั้น เราจะรู้ที่สภาพรู้ก่อน หรือรู้ที่ลักษณะของโลภะก่อน ไม่จำเป็น ใช่ไหมว่า ถ้าการศึกษาสภาพนามธรรม แล้วจะต้องรู้ที่สภาพรู้ก่อน แล้วจึงสามารถที่จะศึกษา ลักษณะของเจตสิกแต่ละดวงต่อไปได้

    ท่านอาจารย์ นี่เป็นชื่อเจตสิก จริงๆ แล้วคือนามธรรมทั้งหมด นามธรรมเป็นสภาพธรรม ที่เป็นนามธรรม ไม่ว่าจะเป็นจิตหรือเจตสิกต่างกับรูปธรรม ต้องแยก ๒ อย่างนี้ออก

    ผู้ฟัง ก็เป็น สภาพรู้ อาการรู้

    ท่านอาจารย์ ลักษณะต่างๆ เพราะฉะนั้น บางครั้งจะใช้นามธรรม ๕๓ คือเจตสิก ๕๒ และจิต ๑

    ผู้ฟัง แต่ขณะที่เป็นโลภะ หรือเป็นโทสะ ก็เป็นสภาพรู้ซึ่งจะรู้บัญญัติ หรือรู้ปรมัตถ หรือรู้อะไรก็เป็นเพียงสภาพรู้ เท่านั้นเอง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เราก็ทราบ ว่าตั้งแต่เกิดจนตาย ถ้าไม่มีสภาพรู้สิ่งใดๆ ก็ปรากฏไม่ได้เลย เพียงเท่านี้ พิจารณาดูว่า เราจะรู้ลักษณะที่เป็นสภาพ รู้ไหม มีสภาพรู้ตั้งแต่เกิดจนตาย สืบต่อเกิดดับสืบต่ออยู่เรื่อยๆ ซึ่งถ้าขาดสภาพรู้เมื่อไร สิ่งต่างๆ จะปรากฏไม่ได้เลยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ที่กำลังมีโลกปรากฏ มีทุกสิ่งทุกอย่างปรากฏได้ ก็เพราะมีสภาพรู้ หรือธาตุรู้ ซึ่งจะต้องเริ่มเข้าใจให้ถูกต้องในลักษณะของสภาพรู้ หรือธาตุรู้จริงๆ ว่าเป็นธาตุรู้ มิฉะนั้นก็ไม่มีทางที่จะเอาเราออก ได้ เพราะว่าตั้งแต่เกิดจนตาย ทั้งๆ ที่เป็นธาตุรู้ทั้งหมด ก็เป็นเราทั้งหมด

    ผู้ฟัง แบบว่า ก็ระลึก คือนี่เป็นการระลึกถึงชื่อ เพราะฉะนั้น ก็ระลึกถึงชื่อ ไปก่อน

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ว่าอนุญาต ไปก่อนหรือไม่ก่อน แต่ว่าปกติจะเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า เพราะว่าเรามักจะคิด อย่างเวลาที่ศึกษาธรรมแล้ว เราก็คิดเพิ่มขึ้นมาอีก เวลาที่เกิดติดใจอะไรขึ้นมา สนุกสนานขึ้นมา เราก็บอกว่าโลภะ ซึ่งแต่ก่อนเราไม่เคยบอก ไม่เคยเรียกชื่อนี้เลย แต่ว่ามีการที่จะนึกถึงชื่อ แต่ไม่ได้หมายความว่าขณะนั้นเป็นสติที่ระลึกลักษณะที่กำลังติดข้อง เพียงแต่จำได้ ว่าเวลาที่เพลิดเพลินสนุกสนานนี้คือโลภะ เหมือนอย่างทางตา ที่กำลังเห็น แล้วเราก็คิดว่า นี้เป็นสภาพธรรม เป็นสภาพรู้ที่กำลังเห็น ซึ่งความจริงเห็น เขาเกิดขึ้น ทำกิจหน้าที่เห็น ขณะนี้ ใครจะเรียกไม่เรียก สภาพนี้ก็เกิดขึ้น ทำกิจเห็น แต่เมื่อเกิดคิดขึ้นมา ว่าเห็นเป็นสภาพธรรม อย่างหนึ่ง ก็ให้ทราบว่าต่างขณะ เพราะฉะนั้น จิตเกิดดับสืบต่อเร็วมากเป็นชีวิตปกติ ประจำวัน ซึ่งปัญญาต้องรู้ทั่วตามความเป็นจริง ค่อยๆ รู้ไป ค่อยๆ อดทนที่จะศึกษา ที่จะเข้าใจสภาพธรรมที่มีอยู่จริงๆ พูดเรื่องสิ่งที่มีจริงๆ ให้เข้าใจก่อน แล้วภายหลังสติก็ระลึก เพราะว่ามีความเข้าใจเพิ่มขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่ามีใครไปทำ แต่ที่จะเกิดระลึกได้ เพราะมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น จึงได้มีการระลึก ที่ลักษณะซึ่งเป็นสภาพธรรมนั้นๆ ได้

    ผู้ฟัง เข้าใจแล้ว คือไปพยายามนึกถึงเรื่อง น้อมระลึก พิจารณาบ่อยๆ สำเหนียกสังเกต อะไร ต่างๆ เหล่านี้ ที่จริงแล้วก็คือเป็นสภาพที่ เขาเกิดขึ้นเอง

    ท่านอาจารย์ เพราะว่า โดยมาก พอได้ยินอะไรมักจะทำ ชำนาญมากด้วยความเป็นตัวตน พอได้ยินว่าน้อมไป ก็จะน้อม พอได้ยินว่าระลึก ก็จะระลึก เหมือนกับว่าจะทำทุกอย่าง แต่ว่าตามความเป็นจริงสภาพธรรม เกิดขึ้น ทำ ไม่ใช่เรา ความเห็นผิดว่าจะทำ นั่นคือเรา แต่ว่าจริงๆ แล้ว เป็นสภาพธรรม ที่เกิด เป็นไปอย่างนั้นทุกขณะ เพราะฉะนั้น หนทางก็คือว่า เข้าใจ อบรมความรู้ความเข้าใจ ถ้าไม่ใช่ปัญญา ไม่ใช่ความรู้ ความเข้าใจแล้ว จะละกิเลสไม่ได้เลย เพราะว่า เป็นตัวเราเป็นตัวตนที่จะทำอยู่ตลอด

    ผู้ฟัง ปัญญาก็คงจะไม่ใช่ว่า ขณะนี้เรานึกถึงชื่ออยู่ ก็อย่านึกเลย

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่

    ผู้ฟัง คำว่า ธาตุรู้ อีกคำหนึ่ง ถ้าท่านอาจารย์จะอนุเคราะห์ อธิบายจุดตรงนี้ให้เข้าใจเพิ่มอีก สักนิดหนึ่งก็จะดีมากเลย

    ท่านอาจารย์ อันนี้ก็มาจากคำในภาษาบาลี ซึ่งใช้คำว่า ธาตุ ธา-ตุ ธ.ธง สระ อา ต.เต่า สระ อุ กับคำว่า ธรรมเป็นความหมาย เดียวกัน ธรรม กับ ธาตุ

    วิทยากร. รากศัพท์ มาจากอันเดียวกัน มาจาก ธาตุอันเดียวกัน เปลี่ยนเป็นธา-ตุบ้าง เป็นธรรมบ้าง เดิมเป็นอันเดียวกัน แต่รูปศัพท์ ตอนหลังก็ ด้วยอำนาจ วิพัด ปัจจัย ก็เปลี่ยนไป แต่ความหมายคงที่

    ท่านอาจารย์ ถ้าเราใช้คำว่า ธรรม ก็ไม่ได้บอกว่าเป็นของใคร หรือว่ามีใครเป็นเจ้าของฉันใด ยิ่งแสดงโดยนัยของธาตุ หรือธา-ตุ ก็จะยิ่งเห็นชัด ว่าเป็นแต่เพียงสภาพธรรม ที่มีจริงๆ แต่ว่าลักษณะของสภาพธรรมนั้นไม่เปลี่ยนแปลง เพราะว่าเป็นธาตุชนิดใดก็เป็นธาตุชนิดนั้น ซึ่งลักษณะของธรรมอย่างกว้างๆ ก็แยกประเภท เป็นนามธาตุ กับรูปธาตุ อันนี้ก็คงจะทราบความหมาย โดยการฟัง แต่เพียงโดยการฟัง ยังไม่ประจักษ์ ความต่างกันของธาตุ อย่างที่เราบอกว่า ถ้ากระทบสัมผัสโต๊ะ แข็ง ลักษณะที่แข็งมีจริงๆ เป็นธาตุชนิดหนึ่ง เราใช้คำนี้ได้ ถ้าเราเข้าใจ ความหมายของธาตุในลักษณะนี้แล้ว ในพระไตรปิฎกทั้งหมดเป็นธาตุ โลภธาตุ โทสธาตุ จักขุธาตุ วิญญาณธาตุ ทุกอย่างที่มีจริงแล้วเป็นธาตุแสดง ให้ชัดว่าไม่มีใครเป็นเจ้าของ

    การศึกษาของเราก็ต้องเข้าใจความจริงว่า เดิมที่เข้าใจว่าเป็นตัวเรา แล้วก็มีคนอื่น แต่ตามจริงแล้ว ถ้านามธาตุไม่เกิดขึ้นแม้ว่ารูปธาตุจะเกิด จะมี ก็ไม่มีใครไปรู้ในลักษณะที่เป็นรูปธาตุนั้นเลย เพราะฉะนั้น สภาพธรรม ที่เป็นใหญ่จริงๆ คือสภาพของจิตซึ่งเป็นธาตุรู้ เพราะว่าทางวิทยาศาสตร์ ก็อาจจะกว้างขวาง ศึกษามากในเรื่องของรูปธาตุ แต่ว่าทางฝ่ายนามธาตุ ทางวิทยาศาสตร์ ไม่รู้ลักษณะแท้ๆ ซึ่งเป็นนามธาตุ เพียงแต่รู้เรื่องราวของนามธาตุ หรือทางวิทยาศาสตร์ หรือแพทย์ รู้เรื่องราวของ รูปธาตุ แต่ไม่รู้ตัวจริงลักษณะแท้ๆ ของนามธาตุ กับรูปธาตุ ผู้ที่ตรัสรู้จึงสามารถที่จะทรงแสดงได้ถึง ความลึกซึ้งของนามธาตุ และรูปธาตุ อย่างจิตของเรา ทุกคน สะสมอะไรมาบ้าง ใครสามารถจะรู้ได้ เพราะเหตุว่าจิตเกิดดับเร็วมาก เป็นสภาพธรรม เป็นธาตุที่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ดับไป ธาตุชนิดนี้จะทำให้จิต เจตสิกขณะต่อไป ซึ่งเป็นนามธาตุ เกิดสืบต่อทันที ไม่มีระหว่างคั่น

    นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ถ้าไม่เป็นการประจักษ์ หรือตรัสรู้ ใครจะแสดงความจริงอันนี้ และในหนึ่งขณะจิต ที่เกิดขึ้นก็มีเจตสิกสภาพธรรม อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่จิต เป็นนามธรรมด้วย แต่ ไม่ใช่จิต ต่างกับจิต มีเจตสิก ๕๒ ชนิด เกิดกับจิต แล้วแต่ว่าจิตประเภทนี้ จะมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าไร แล้วการสะสมของเราในขณะนี้ ขอให้คิดถึงสภาพของจิต เราไม่รู้เลยว่ากว่าจะมาเป็นขณะนี้หนึ่งขณะ ซึ่งเกิด จิตถอยหลังไป เกิดดับสืบต่อจน ถึงขณะปฏิสนธิ สะสมอะไรมาแล้วบ้าง ในชาตินี้ก็ยากที่จะรู้ แต่ว่าตอนที่เราเป็นเด็ก เราก็รู้ ว่าเราเกิดมามีชอบ มีไม่ชอบ มีดีใจ มีเสียใจ มีเรื่องราวต่างๆ ที่สุขบ้าง ทุกข์บ้าง สนุกบ้าง แล้วก็จำไว้

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 101
    24 มี.ค. 2567