พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 696


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๙๖

    ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔


    ท่านอาจารย์ ถ้ามีความเข้าใจพื้นฐานที่มั่นคงเราก็ไม่สับสน และสามารถที่เข้าใจแม้ความหมายของคำว่า “วิญญาณ” ซึ่งเป็นสภาพที่รู้แจ้งคือเห็นขณะนี้เป็นจักขุวิญญาณ เวลาคิดเรื่องราวต่างๆ ลองคิด พระนครสาวัตถี คิดได้ ใช่ไหม เพราะจำเสียงใช่ หรือไม่ แต่ไม่เหมือนเสียงที่กำลังปรากฏขณะที่กำลังได้ยินใช่ไหม

    เราจะคิดคำว่า “พระนครสาวัตถี” โดยไม่มีเสียงใดๆ ก็ได้ กำลังพูดว่าพระนครสาวัตถี ต่างกันไหม เวลาคิด จำเสียง จำความหมาย แต่เวลาได้ยินเสียงมีเสียงจริงๆ กำลังปรากฏ แล้วเวลาเราคิดแม้ไม่ได้ยินเสียงเราก็จำเสียงที่เราได้ยิน คือสามารถจะคิดคำว่า “พระนครสาวัตถี” ได้ แต่ขณะที่กำลังได้ยินจริงๆ โสตวิญญาณรู้แจ้งเสียง แต่ไม่ได้รู้ความหมาย ไม่ใช่คิด นี่คือความละเอียดของธรรมที่จะเข้าใจแม้แต่คำที่เราได้ยินว่าทำไมเป็นโสตวิญญาณ เพราะว่าขณะนั้นเป็นธรรมที่กำลังรู้แจ้งเสียงที่ปรากฏ ไม่ใช่คิด แต่มีเสียงจริงๆ ปรากฏจริงๆ แล้วก็ได้ยินจริงๆ ด้วย

    เพราะฉะนั้น ขณะนั้นจิตที่ได้ยินจึงเป็นโสตวิญญาณ ฆานวิญญาณต้องกลิ่นกระทบปรากฏแล้วก็จิตเกิดขึ้นรู้กลิ่นซึ่งยังไม่ดับไป ชัดแจ้งไหม ยังไม่ได้ดับ กลิ่นนั้นยังไม่ได้ดับ เพราะฉะนั้นแสดงให้เห็นว่าฆานวิญญาณก็คือจิตที่กำลังรู้ชัด รู้แจ้งในกลิ่น เวลาที่ลิ้มรสสุดที่จะพรรณารส ถ้าจะสรุปก็แค่เผ็ด หวาน มัน เปรี้ยว อะไรก็แล้วแต่ แต่ทำไมมีอาหารที่หลากหลายมาก แม้เป็นอาหารประเภทเดียวกันแต่ว่ารสเหมือนกันไหม ไม่เหมือน แล้วทำไมรู้ เพราะชิวหาวิญญาณรู้แจ้งรส จะใช้คำกี่คำที่บรรยายก็ไม่สามารถที่จะเข้าถึงได้ในลักษณะของรสที่ปรากฏจริงๆ

    เพราะฉะนั้นขณะที่กำลังลิ้มรสก็เป็นชิวหาวิญญาณที่รู้แจ้ง ทางกายก็เช่นเดียวกันเดี๋ยวก็หนาว เดี๋ยวก็ร้อน ใช่ไหม ระดับไหน อุ่นๆ เย็นๆ หรืออย่างไรก็แล้วแต่จะใช้คำอะไรก็แล้วแต่ แต่กายที่กำลังกระทบสัมผัสขณะนั้นกำลังรู้แจ้งเย็น หรือร้อน อ่อน หรือแข็ง ตึง หรือไหวที่กำลังปรากฏ เกินกว่าที่จะใช้คำหนึ่งคำใดอธิบายถึงความหลากหลายของความหลากหลายของสภาพธรรมที่ปรากฏเป็นอารมณ์

    เพราะฉะนั้นก็ใช้คำว่า “กายวิญญาณ” ด้วยเหตุนี้ก็จะเข้าใจคำว่า “จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ” ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพราะฉะนั้นถ้าเป็นทางใจก็คือมโนวิญญาณ รู้แจ้งเฉพาะสิ่งที่จิตกำลังรู้ในขณะนั้นไม่ใช่อย่างอื่น เช่น พระนครสาวัตถี เพียงแค่คิด จิตไม่ได้คิดถึงอย่างอื่นเลยทั้งสิ้นที่แจ้งก็คือว่าขณะนั้นเป็นสภาพที่กำลังนึกถึงคำนั้น

    เพราะฉะนั้นทุกอย่างก็ต้องเข้าใจให้ถูกต้องถึงธรรมที่มีจริงในชีวิตประจำวันว่าทรงแสดงธรรมให้รู้ว่าเป็นธาตุ หรือเป็นธรรมซึ่งไม่มีใครเป็นเจ้าของมีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วดับไป และเมื่อเกิดขึ้นปฏิสนธิแล้วจะต้องเป็นปวัตติเป็นไปตามการสะสมที่จะเกิดขึ้นเป็นไประหว่างที่มีความเป็นบุคคลนี้ ยังไม่สิ้นสภาพของความเป็นบุคคลนี้ ก็คือว่าถ้าสามารถจะเข้าใจสิ่งที่มีจริงได้ก็ดีกว่าที่จะเกิดมาเปล่าๆ ใช่ไหม ไม่สามารถที่จะรู้จักความจริงของสิ่งที่มีจริงในชีวิตได้

    อ.วิชัย กราบเรียนท่านอาจารย์ จุดมุ่งหมายสำคัญทางพุทธศาสนาคือเพื่อละคลายจนถึงขั้นดับกิเลสเป็นสมุจเฉท แต่สำหรับบุคคลที่พึ่งฟังใหม่ก็อาจมีความทุกข์ที่เป็นไปในชีวิตประจำวันก็มีความเดือดร้อนด้วยอกุศลต่างๆ ที่เกิดขึ้น การศึกษาโดยการฟังเรื่องของธรรมคือสิ่งที่มีจริงที่ได้สนทนาจะเป็นปัจจัยอย่างไรในการที่จะละคลาย อาจเป็นความทุกข์ใจที่เกิดจากอกุศลต่างๆ

    ท่านอาจารย์ ก็ต้องรู้ว่าทุกข์มาจากอะไร อยู่ดีๆ ทุกข์เกิดได้ หรือไม่

    อ.วิชัย ไม่ได้ ต้องมีปัจจัยให้เกิดขึ้น

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นหวังธรรมเป็นยารักษาโรคทุกข์ หรือว่าเข้าใจธรรมไม่ว่าในสถานการณ์ใดๆ ทั้งสิ้น และถ้ากำลังสุข ไม่ต้องฟังธรรมไม่ต้องเข้าใจธรรม หรืออย่างไร

    อ.วิชัย คือเคยสนทนากับบุคคลใหม่คนที่ร่วมสนทนาด้วยก็มีความมุ่งหมายคือเพื่อที่จะ “คำของผู้ร่วมสนทนาคือเพี่อมาใช้ในชีวิตประจำวัน” แต่ก็รู้ว่าธรรมนี้ใช้ไม่ได้เท่าที่ศึกษาแต่ว่าคือจะให้บุคคลที่ใหม่เริ่มที่จะเข้าใจอย่างไรว่า “ศึกษาเพื่ออะไร”

    ท่านอาจารย์ ความจริงความทุกข์ต้องมีเหตุ ถ้าไม่มีการกระทำที่ทำให้เกิดทุกข์กับคนอื่นทุกข์นั้นจะเกิดขึ้นกับตนไหม

    อ.วิชัย ไม่

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ใครทำให้เกิดทุกข์

    อ.วิชัย บุคคลนั้นเอง

    ท่านอาจารย์ พอรู้ว่าตัวเองทำแล้วจะอย่างไร หาตัวคนทำได้แล้ว จะไปทำอะไรคนนั้น หรือไม่

    อ.วิชัย ถ้าเข้าใจแล้วก็จะไม่ทำ

    ท่านอาจารย์ แต่มีความเข้าใจจริงๆ ว่า “ทุกข์ทั้งหลายจะต้องเป็นผลของการกระทำที่ไม่ดี” เพราะฉะนั้น ไม่มีใครทำให้เลยนอกจากตัวเขา ถ้าคิดอย่างนี้ได้ก็สบายใจแล้วไม่ต้องโกรธใครใช่ไหม แล้วเป็นเหตุให้ทำความดีด้วย เพราะรู้ว่าความดีขณะใดที่ได้กระทำแล้วเป็นเหตุต้องมีผล ให้เข้าใจจริงๆ อย่างมั่นคงว่าเป็นการกระทำของตนเอง

    เพราะฉะนั้นขณะใดก็ตามที่รู้ความต่างของเหตุคือกุศล และอกุศล เขาก็ต้องรู้ว่าทุกข์ต้องมาจากอกุศล ทุกข์จะมาจากกุศลไม่ได้ เพระฉะนั้นไม่มีใครนำมาให้ได้นอกจากตัวเหตุใช่ไหม และขณะใดก็ตามที่กำลังเป็นสุขกันนี้มาจากไหน คิดบ้าง หรือไม่

    อ.วิชัย ก็ต้องมาจากการกระทำของบุคคลนั้น

    ท่านอาจารย์ ก็ต้องมาจากการกระทำของตนเอง ถ้ารู้ว่ากรรมดีเป็นเหตุแน่นอนที่จะทำให้ความสุขเกิดขึ้น ได้รับรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ เห็น ได้ยินสิ่งที่น่าพอใจเป็นต้น ขณะที่เพียงเห็นคุณของความดี เพียงมีความเข้าใจถูกถึงความดีไม่ได้นำทุกข์มาให้เลย มีศรัทธาในความดี เห็นประโยชน์ของความดีเป็นกุศล หรือไม่

    อ.วิชัย เป็น

    ท่านอาจารย์ เป็น เพียงแค่เห็นอย่างนี้ยังเป็นแล้วถ้าทำ ไม่ต้องกล่าวถึงเลยใช่ไหมว่าการกระทำที่ดีจะต้องนำผลที่ดีมาให้ยิ่งกว่าเพียงคิดถึงความดีว่าเป็นสิ่งที่ดีเท่านั้น เพราะฉะนั้น ถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้จริงๆ จะละเว้นการทำดีแม้เพียงสักนิดนึง หรือไม่ ชั่วขณะนิดนึงหน่อยนึงทำเลยใช่ไหม ขณะนั้นก็จะการสะสมเหตุที่จะทำให้ไม่เกิดทุกข์

    อ.วิชัย คือถ้าบุคคลที่ฟังใหม่ๆ เข้าใจว่าความดีก็เป็นสิ่งที่ดีแล้วก็เกิดความหวังที่จะกระทำมากๆ แต่ตามความเป็นจริงคือมีความหวังก็ไม่ได้ตามที่จะหวังที่จะทำความดีได้มากๆ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมเป็นผู้ที่ตรง และจริงใจ หวังเป็นกุศล หรือไม่

    อ.วิชัย ไม่เป็น

    ท่านอาจารย์ ก็มาแล้วที่จะต้องเป็นผู้ที่รู้ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นปัญญาเป็นธรรมที่เห็นถูกตามความเป็นจริง ปัญญาไม่เห็นผิด ปัญญาตรงที่จะรู้ว่ากุศลเป็นกุศล อกุศลเป็นอกุศล

    อ.อรรณพ สภาพความรู้สึกซึ่งเป็นเวทนาขันธ์มีในชีวิตประจำวัน และสภาพความรู้สึกที่เราไม่ชอบก็มีอยู่ ๒ อย่างก็คือ ไม่สบายกาย และไม่สบายใจ ความรู้สึกไม่สบายทางกาย หรือทุกข์กายมาจากอะไร ก็มาจากอดีตอกุศลกรรมที่ได้ทำไว้แล้วคืออกุศลเจตนาซึ่งเป็นสังขารขันธ์ที่ปรุงแต่งอย่างยิ่งที่เมื่อกระทำสำเร็จแล้วทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนแล้ว แม้ดับไปแต่อกุศลเจตนาที่เป็นไปนั้นสะสมไว้ในจิต พร้อมที่จะให้ผลเป็นวิบากที่ไม่น่าพอใจทางกาย ทางตา หู จมูก ลิ้น โดยเฉพาะทางกาย ใช่ไหม

    เพราะฉะนั้นทุกข์จริงๆ คือทางกาย เพราะฉะนั้นทุกข์กายก็เกิดจากอดีตอกุศลกรรมที่ได้ทำแล้วซึ่งก็เป็นขันธ์ๆ หนึ่ง สังขารขันธ์เป็นปัจจัยให้เวทนาขันธ์ซึ่งถ้าเป็นผลของอกุศลกรรมก็เป็นเวทนาขันธ์ที่เป็นทุกข์ทางกาย ส่วนสภาพที่ไม่สบายใจทุกข์ใจมีสาเหตุมาจากอะไร ทุกข์ใจมีสาเหตุมาจากความติดข้อง ถ้าเราไม่ติดข้องในสิ่งใดเราจะทุกข์ใจในสิ่งนั้นไหม ถ้าเขาเผาหญ้า วัชพืชก็ไม่มีใครเดือดร้อน เพราะไม่มีใครติดข้องในหญ้าในวัชพืชนั้นใช่ไหม แต่ถ้ามาทำลายสิ่งของ หรือบุคคล สัตว์ที่เราผูกพันก็เป็นเหตุของความทุกข์ใจ เพราะฉะนั้นความทุกข์ใจก็มาจากกิเลสตัวสำคัญคือความติดข้องซึ่งเป็นเหตุเนี่ย

    ทีนี้ทั้งกรรมก็คืออกุศลกรรมที่ทำให้เกิดทุกข์ทางกายได้ และความติดข้องกิเลสซึ่งเป็นปัจจัยให้เมื่อไม่ได้รับตามสิ่งที่ต้องการแล้วก็มีความเดือดร้อนใจ มาจากไหน มาจากความไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นอวิชชาก็มีปัจจัยให้มีการกระทำกรรมต่างๆ แล้วก็สะสมกิเลสด้วยเพราะความไม่รู้เป็นปัจจัยให้เกิดความติดข้อง เพราะฉะนั้นเหตุที่สำคัญก็คือโมหะ อวิชชาเป็นเหตุที่จะเป็นปัจจัยให้เกิดโลภะ และเกิดโทสะซึ่งจะเป็นเหตุปัจจัยให้ได้รับทุกข์ทางกายบ้างเมื่อมีการกระทำกรรม หรือการสะสมกิเลสไว้ด้วยความติดข้องยินดีก็เป็นปัจจัยให้เกิดโทสะเมื่อไม่ได้รับสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ทั้งหมดก็เป็นขันธ์ เป็นสังขารขันธ์ที่เป็นกรรม และก็เป็นความรู้สึกซึ่งเป็นเวทนาขันธ์

    ท่านอาจารย์ ถ้าจะกล่าวถึงให้ลึกกว่านี้แต่ยากที่จะเห็น “ทุกข์ทั้งหมดมาจากการเกิด” เกิดแล้วต้องมีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สำหรับอะไร เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ถ้าเป็นสิ่งที่น่าพอใจดูเหมือนเป็นสุขแต่ก็ชั่วคราวสั้นมากแล้วก็ดับไปไม่ใช่สุขที่แท้จริง เพราะว่าไม่ได้ดำรงอยู่นานเลยเพียงชั่วคราวเท่านั้นเอง และตา หู จมูก ลิ้น กายเป็นปัจจัยให้เกิดเห็น ได้ยิน ได้กลิ้น ลิ้มรส รู้สิ่งกระทบสัมผัส ไม่ใช่เพียงสิ่งที่น่าพอใจ แม้สิ่งที่ไม่น่าพอใจก็ต้องเห็น ต้องได้ยิน ต้องได้กลิ่น ต้องลิ้มรส ต้องรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส มาจากไหน ใครบันดาล ทำไมบางครั้งเห็นสิ่งที่ดีบางครั้งเห็นสิ่งที่ไม่ดี และถ้าเห็นสิ่งที่น่าพอใจเหมือนเป็นสุขเพราะพอใจ แต่ความจริงเวลาที่สิ่งที่ชอบพอใจมากๆ พลัดพรากจากไปก็เป็นโทมนัสเวทนาเป็นความรู้สึกที่ไม่สบายแล้ว

    เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีการเห็น ไม่มีการได้ยิน ไม่มีการเกิดไม่มีการเป็นไปเลย พ้นทุกข์ไหม ไม่มีทุกข์ใดๆ ได้เลยทั้งสิ้นแต่ก็ยังมองไม่เห็น เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมก็ต้องเป็นไปตามลำดับจริงๆ คือต้องรู้ว่าเป็นธรรมซึ่งเกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย

    เห็นเป็นคุณธรณ์ หรือว่าเป็นขันธ์

    ผู้ฟัง เป็นขันธ์

    ท่านอาจารย์ ยึดมั่นในเห็นว่าเป็นเราเห็น หรือไม่

    ผู้ฟัง ก็มีบ้างยึดมั่น

    ท่านอาจารย์ ขณะนั้นก็คืออุปาทานขันธ์ ยึดมั่นในเห็นซึ่งเห็นก็เป็นขันธ์ เป็นสภาพธรรมที่มีจริงเกิดแล้วดับแต่เพราะไม่รู้ความจริงก็ยึดมั่นว่าเราเห็น ร่างกายทั้งหมดเป็นเรา หรือเปล่า รูปตั้งแต่ศรีษะจรดเท้า แข็ง อ่อน เย็น ร้อน ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นคุณธรณ์ หรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็นสภาพธรรม เป็นขันธ์

    ท่านอาจารย์ ไม่มีเรา ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ตามที่ฟังมา

    ท่านอาจารย์ ตามความเป็นจริงยึดมั่นว่าเป็นเรา

    ผู้ฟัง ความจริงไม่มี

    ท่านอาจารย์ นั่นคืออุปาทานขันธ์ เพราะว่าไม่ใช่เราได้ยินชื่อแล้วเราไม่รู้เมื่อไรแต่ว่ายึดถืออะไร ก็ยึดถือสิ่งที่มีจริงแล้วไม่รู้ว่าเป็นสิ่งที่เที่ยง แทนที่จะเข้าใจตามความเป็นจริงว่าเป็นสภาพธรรมที่ไม่เที่ยงเกิดดับ เพราะฉะนั้นก็ยึดมั่นในขันธ์ทั้ง ๕ เวลาคิดก็เป็นเราคิด เวลาสุขก็เป็นเราสุข เวลาจำได้ขณะนี้ก็เป็นเราจำก็คือขันธ์ทั้ง ๕ ยึดมั่นว่าเป็นเรา เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นที่ตั้งของอุปาทาน เพราะฉะนั้น ก็มีกามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตวาทุปาทาน ทั้งหมดเป็นอุปาทานความยึดมั่นในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฏัพพะ

    ชอบอาหารอร่อยไหม

    ผู้ฟัง ชอบ

    ท่านอาจารย์ เป็นอะไร

    ผู้ฟัง เป็นอุปาทาน

    ท่านอาจารย์ ประเภทไหน กามุปาทาน

    ผู้ฟัง กามุปาทาน

    ท่านอาจารย์ เพราะว่ารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฏัพพะเป็นกาม เป็นสิ่งที่น่าใคร่น่าพอใจ มีใครบ้างไม่ชอบสิ่งที่ปรากฏทางตาที่สวยงามน่าดู ใครไม่ชอบเสียง มีดนตรีต่างๆ ใครไม่ชอบกลิ่นหอม ใครไม่ชอบรสอร่อย ใครไม่ชอบสิ่งที่กระทบสัมผัสแล้วสบาย ใช่ไหม นี่แสดงให้เห็นถึงอุปาทานความยึดมั่นในสิ่งที่มี ไม่ว่าจะเป็นรูป หรือไม่ว่าจะเป็นความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นความจำก็คือเป็นเราเพราะความไม่รู้ เพราะฉะนั้นก็เป็นการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน นอกจากมีความยึดมั่นในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะในทุกอย่างก็ยังมีความยึดมั่นในความเป็นเรา หรือความเป็นตัวตน หรือความเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เห็นดอกไม้เป็นดอกไม้ และไม่รู้ความจริงว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นเท่านั้น เพราะฉะนั้นก็มีความต้องการอย่างมากเลย ชอบดอกกุหลาบไหม

    ผู้ฟัง ชอบ

    ท่านอาจารย์ สีอะไร เห็นไหมละเอียดไปอีก

    ผู้ฟัง ดอกกุหลาบสีแดง

    ท่านอาจารย์ ก็มีความยึดมั่นในดอกกุหลาบสีแดง นี่คือกามุปาทาน ความยินดีพอใจในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ยึดมั่น อีกความหมายหนึ่งของอุปาทานขันธ์ก็คือ “ขันธ์นั้นเกิดเพราะอุปาทาน” ถ้าดับอุปาทานหมด ขันธ์ก็ไม่เกิด แต่เพราะเหตุว่ามีความยึดมั่นในขันธ์เป็นปัจจัยเป็นเหตุที่จะให้มีการเกิดของขันธ์ต่อไปเรื่อยๆ

    เพราะฉะนั้นคำว่า “อุปาทานขันธ์” มี ๒ ความหมาย ขันธ์ซึ่งเป็นที่ตั้งของความยึดถือ ชอบอะไรเมื่อไรเมื่อนั้นไม่ต้องถาม นั่นคือสิ่งนั้นเป็นที่ตั้งของความยึดถือด้วยความพอใจเป็นกามุปาทาน และตราบใดที่ยังมีความยึดมั่นก็ไม่จบการที่จะต้องมีขันธ์

    ผู้ฟัง ถามอาจารย์เทวทัตคงไม่ได้นามรูปปริจเฉทญาณ แต่มีสหายธรรมท่านบอกว่า ท่านเทวทัตได้

    ท่านอาจารย์ สหายธรรมจะพูดอะไรก็ได้ทั้งนั้น ใครจะพูดอะไรก็ได้ทั้งนั้นแต่ต้องฟัง และท่านผู้นั้นเข้าใจนาม รูป ปริจเฉทญาณอย่างไร ไม่ใช่เป็นเรื่องที่บุคคลหนึ่งบุคคลใดกล่าวถึงบุคคลใดแล้วเราก็เชื่อตามว่าคงจะได้ หรืออะไรอย่างนั้น คนที่บอกว่าท่านพระเทวทัตได้นามรูปปริจเฉทญาณ รู้ได้อย่างไร

    ผู้ฟัง เขาก็อาจเข้าใจผิด

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไม่ใช่เรื่องคิดเอง ข้อสำคัญที่สุดต้องทราบว่าไม่ใช่เราจะได้ยินได้ฟังอะไรมาแล้วเราก็เก็บมาคิด พยายามที่จะตอบไปหมดทุกข้อไม่ใช่อย่างนั้น เรื่องที่ได้ฟังมากมายแต่ว่าเรื่องไหนเป็นประโยชน์ เรื่องสามารถที่จะเข้าใจได้ และรู้ได้เรื่องนั้นเท่านั้นที่เป็นประโยชน์ ถ้าจะไปฟังเรื่องอื่นซึ่งไม่สามารถที่จะเข้าใจได้แล้วก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้แล้วเราก็คิดถึงเรื่องที่ไม่สามารถที่จะเข้าใจได้ ไม่สามารถจะรู้ได้จะมีประโยชน์ไหม ในเมื่อประโยชน์ของการฟังธรรมเป็นผู้ที่ละเอียดที่จะรู้ว่าทุกๆ อย่างที่กำลังปรากฏขณะนี้แต่ละขณะเป็นธรรม เพราะฉะนั้นก็เข้าใจธรรมที่กำลังปรากฏมากน้อยแค่ไหน ทุกคนตอบเองได้ เมื่อรู้ว่าขณะนี้เป็นธรรม และก็รู้ตามความเป็นจริงว่าเข้าใจ หรือยังในความเป็นธรรม เพราะถ้ากล่าวว่าเป็นธรรมก็ไม่ใช่ใครแต่ว่ามีจริงๆ กำลังปรากฏแล้วแต่ว่าจะเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด รวมไปหมดทุกครั้ง ไม่เคยรู้เฉพาะแต่ละลักษณะเลย

    เพราะฉะนั้นการฟังธรรมถอยไป ๑๐๐๐ ชาติ อาจน้อยไป คงเคยได้ฟังเรื่องของเห็น และเดี๋ยวนี้ก็มีเห็น และก็กำลังฟังอีกครั้งหนึ่งเรื่องเห็นจะเข้าใจลักษณะที่กำลังเห็นซึ่งเห็นจริงๆ มีจริงๆ กำลังเห็นว่าเป็นธรรมแค่ไหน ก้าวไปข้างหน้าอีก ๑๐๐๐ ชาติ ถ้าขณะนี้ยังไม่ได้เข้าใจลักษณะของเห็นที่กำลังเห็น แล้วก็ได้ฟังเรื่องเห็น ๑๐๐๐ ชาตินี้แล้วก็ ๑๐๐๐ ชาติก่อนอีก ก็จะรู้ได้ว่าฟังแล้วเข้าใจแค่ไหน

    เพราะฉะนั้นจะไม่คำนึงถึงสิ่งที่ผ่านไปแล้ว แต่สิ่งที่กำลังปรากฏทำให้สามารถที่จะเป็นผู้ที่ตรง และรู้ตามความจริงว่า “ฟังธรรมเพื่อเข้าใจธรรมที่กำลังมีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ จนกว่าจะถึงการรู้ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้” มิฉะนั้นการฟังจะมีประโยชน์อะไร ฟังไปเพื่ออะไร ถ้าไม่เพื่อเข้าใจสิ่งที่รู้ยาก

    บางคนบอกว่าเพียงแค่รู้ว่าเห็นขณะนี้ และก็สิ่งที่ปรากฏทางตา เห็นเป็นนามธรรม และก็สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นรูปธรรมเป็นนามรูปปริจเฉทญาณแล้ว ใช่ไหม ถ้าอย่างนั้นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ต้องทำอะไร แล้วคนที่สามารถจะรู้ได้อย่างนี้แค่นี้กับพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงบำเพ็ญพระบารมี ๔ อสงไขยแสนกัปป์ ใครมีปัญญากว่ากัน

    พระผู้มีพระภาคทรงบำเพ็ญพระบารมี ๔ อสงไขยแสนกัปป์ หลังจากที่ได้ฟังคำพยากรณ์จากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกร บำเพ็ญพระบารมี คิดดู ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา วันนี้ใครมีเท่าไร แต่ละข้อๆ ๔ อสงไขยแสนกัปป์ของพระบารมี แล้วคนที่เพียงฟังแค่นี้รู้ได้ว่ากำลังเห็นว่าเป็นนามธรรม สิ่งที่ปรากฏเป็นรูปธรรมก็ต้องมีปัญญามากกว่า

    ลองคิดดูบำเพ็ญบารมีอะไรมาที่จะเพียงเท่านี้แล้วรู้ ในเมื่อพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพระบารมีนานอย่างนั้นกว่าจะได้ตรัสรู้ความจริง เพราะฉะนั้นความจริงที่เป็นจริงในขณะนี้เป็นสิ่งที่รู้ไม่ได้ง่าย ต้องอาศัยการฟังจริงๆ และประโยชน์จริงๆ ก็คือว่าเพื่อเข้าใจถูก เห็นถูก ไม่ใช่เพื่อเรารู้ หรือยัง และถ้าเรายังไม่รู้เราทำอย่างนี้จะรู้ได้ไหม หรือว่าเราไปทำอย่างโน้นแล้วเราจะรู้ได้เร็วกว่า นี่คือไม่ได้เข้าใจธรรม ไม่ใช่ปัญญาเป็นแต่เพียงโลภะ หรือว่าความต้องการ หรือว่าความหวังที่ต้องการสิ่งนี้ไม่ใช่สิ่งโน้น คือไม่ใช่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะแต่ต้องการที่จะรู้ความจริง โดยไม่ได้เข้าว่าแม้แต่ขณะนี้เป็นธรรม

    เพราะฉะนั้นการฟังทุกครั้งให้ทราบว่ากำลังฟังสิ่งที่มีจริงที่รู้ได้ยากยิ่ง แสนยาก ด้วยเหตุนี้ฟังเพื่อที่จะได้เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏเป็นอุปนิสสยโคจร ชื่อภาษาบาลีแต่เข้าใจได้ โคจรเป็นอีกคำหนึ่งของอารมณ์ของจิต เพราะว่าจิตเป็นสภาพรู้เกิดขึ้นต้องรู้ ต้องเป็นเหตุผลตลอด เมื่อจิตเป็นธาตุรู้ สภาพรู้เกิดแล้วต้องมีสิ่งที่ถูกรู้

    เพราะฉะนั้นอารัมมณะหมายถึงอะไรที่จิตกำลังรู้ขณะนั้นเป็นอารมณ์ของจิตในขณะนั้น เช่นขณะที่กำลังเห็นขณะนี้ต้องมีสิ่งที่ถูกเห็น จะบอกว่าไม่มีอะไรไม่ได้ ถ้ามีเห็นก็ต้องมีสิ่งที่ถูกเห็น แต่ไม่เคยรู้ความจริงว่าสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้เป็นสิ่งที่มีจริงเพียงอย่างเดียวในบรรดาความจริงทั้งหมด ขณะนี้มีสิ่งซึ่งทุกคนชินแต่ไม่รู้ว่าความจริงเป็นธาตุ หรือเป็นธรรมอย่างหนึ่งซึ่งสามารถจะปรากฏให้เห็นได้


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 183
    16 ม.ค. 2567