พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 663


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๖๓

    ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓


    ท่านอาจารย์ ทุกขณะของธรรมที่ปรากฏต้องมีปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้น จึงแสดงว่าไม่มีใครสามารถที่จะบังคับบัญชาได้ หรือว่าธรรมเมื่อเกิดแล้วดับไปก็ไม่เป็นของใครทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นเสียง แม้กำลังปรากฏขณะนี้รู้ว่าเป็นธรรมอย่างหนึ่งไม่ใช่แข็ง ไม่ใช่คิด ไม่ใช่เห็น แต่ถึงกระนั้นก็ต้องมีธรรมที่สามารถรู้เสียงในขณะที่เสียงปรากฏ มิฉะนั้นเสียงปรากฏว่ามีไม่ได้ ธรรม หรือไม่ในชีวิตประจำวันตั้งแต่เกิดจนตาย

    เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมเพื่อให้รู้ความจริงซึ่งไม่เคยรู้ว่า แท้ที่จริงก็เป็นแต่เพียงธรรมแต่ละลักษณะซึ่งต่างกันไปตามเหตุตามปัจจัยที่ทำให้สภาพธรรมนั้นเกิดขึ้นแล้วดับไปไม่กลับมาอีกในสังสารวัฏฏ์ ชาติก่อนหมดไปแล้วใช่ไหม ชาตินี้เมื่อวานนี้ก็หมดไปแล้ว ขณะนี้ก็จะเป็นเมื่อวานนี้ของพรุ่งนี้ เพราะฉะนั้นก็กำลังหมดไปๆ ทุกขณะ ดังนั้นการฟังธรรมก็เพื่อให้เข้าใจความจริงว่าการที่จะรู้จักพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ใช่เพียงชื่อ แต่ขณะใดก็ตามที่มีความเข้าใจธรรมเพิ่มขึ้น รู้ได้ว่าถ้าไม่มีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มีใครสามารถเข้าใจสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ได้

    เพราะฉะนั้นทุกคนมีศรัทธาที่จะรู้ความจริง มีการสะสมในอดีตแต่ปางก่อน ไม่ทราบนานเท่าไร ก็ทำให้มีโอกาสได้ยินได้ฟังอีก เพราะฉะนั้นการได้ยินได้ฟังด้วยความเคารพ มั่นคงที่จะเข้าใจสิ่งที่ได้ยินได้ฟังว่าเป็นเรื่องของสิ่งที่มีจริงในขณะนี้ เพราะฉะนั้นถ้าปัญญาอบรมเจริญขึ้น ทุกคำที่ได้ฟังเป็นความจริงแม้แต่สภาพธรรมเกิดแล้วดับ ขณะนั้นก็มีการสะสมของความรู้ความเข้าใจทำให้ละคลาย สามารถที่จะรู้ลักษณะของสิ่งที่เกิดสืบต่อได้ แต่ว่าขณะนี้มีสิ่งที่เกิดแทรกขั้นระหว่างธรรมที่ปรากฏซึ่งไม่ปรากฏว่ามี เช่นเห็นก็คิดถึงสิ่งที่เห็น ก่อนที่จะมีการได้ยินก็ไม่รู้ใช่ไหม เพราะการเกิดดับสืบต่ออย่างเร็วมาก ด้วยเหตุนี้การที่จะละความที่เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ต้องรู้ลักษณะซึ่งมีจริงในขณะนั้นซึ่งรวมกันอยู่จึงไม่ปรากฏว่าเป็นธรรมแต่ละอย่าง แต่เมื่อได้เข้าใจสภาพธรรมแต่ละอย่างก็สามารถที่จะรู้ได้ว่าที่เคยเข้าใจรวมเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดต้องประกอบด้วยธรรมแต่ละอย่างที่ละเอียดมากซึ่งเกิดขึ้น และก็ดับไป

    เพราะฉะนั้น สาระจริงๆ ของการเกิดมาคืออะไร เกิดมาแล้วจะจากโลกนี้ไปด้วยสาระจริงๆ คืออะไร

    ผู้ฟัง ก็ต้องมีความเข้าใจ

    ท่านอาจารย์ มีความเห็นที่ถูกต้องเพราะไม่รู้ความจริงจึงยึดถือ และความยึดถือก็เพิ่มไปเรื่อยๆ ถ้าไม่รู้ความจริง ยังอยากจะยึดถือมากๆ ต่อไป หรือไม่

    ผู้ฟัง ตอบได้ทันทีว่าไม่อยาก แต่ห้ามไม่ได้

    ท่านอาจารย์ มีหนทางไหม ที่จะคลายความยึดถือ

    ผู้ฟัง จริงๆ ก็ต้องฟังแล้วเข้าใจ

    ท่านอาจารย์ หนทางมี ไปไหม หนทางนั้น หรือหนทางมีก็ไม่ไป ไปทางอื่นดีกว่า หรือว่าอยู่ตรงนี้ดีกว่าแต่ลืม ขณะนี้ทุกขณะที่เป็นกุศล และอกุศลเป็นทางนำไปสู่ภพหน้า แน่นอน ช้า หรือเร็วเท่านั้นเอง ยิ่งต้องขวยขวายที่จะเข้าใจความจริงใช่ไหม

    ผู้ฟัง แต่ขวนขวายนี้ก็เป็นธรรม

    ท่านอาจารย์ เป็นธรรมแน่นอน ทุกอย่างเป็นธรรม

    ผู้ฟัง แล้วบังคับให้เกิดไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ ขณะนี้มีวิริยเจตสิกเกิดแล้ว ไม่รู้ เห็น หรือไม่ ถ้าจะใช้ชื่อสภาพธรรมที่เป็นวิริยะสนับสนุนเกื้อกูล ค้ำจุนสภาพธรรมที่เกิดร่วมกันให้ดำเนินไป หรือให้กระทำกิจหน้าที่ ถ้าขาดวิริยะอย่างที่เราบอกปัญญาก็ไม่เกิด แต่ความละเอียดของธรรมนั้นก็คือว่าทุกขณะที่เกิดเป็นสภาพธรรมที่หลากหลายต่างกันตามเหตุตามปัจจัย ถ้ามีความเข้าใจแต่ละขณะละเอียดขึ้นก็จะคลายความเป็นเรา แต่เพราะเหตุว่า เราเผิน เราหยาบ เราไม่ละเอียด เพราะฉะนั้นก็ไม่ได้คลายการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรายังคงยึดถือสภาพธรรมที่รวมกันว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ว่าจะกล่าวถึงสภาพธรรมใดทั้งสิ้นมีความละเอียดมาก แต่เราจะเห็นอย่างหยาบก่อน ใช่ไหม อย่างใครขยันเราบอกมีวิริยะดี ใช่ไหม แต่ความจริงคนขี้เกียจก็มีวิริยะที่จะเป็นอย่างนั้นไม่เป็นอย่างอื่น

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์กล่าวว่า เมื่อสภาพธรรมเกิดแล้วก็มีดับแต่ว่ามีช่องว่างในความเข้าใจว่า ฟังท่านอาจารย์แล้วเข้าใจแต่พอแข็งปรากฏเราจะเข้าใจเฉพาะว่าสภาพธรรมเกิด แต่ลืมไปว่าเกิดแล้วก็ต้องดับ

    ท่านอาจารย์ ไม่ต้องคิดอะไรทั้งสิ้น เพราะว่าขณะที่แข็งปรากฏไม่ใช่คิด แล้วไม่ต้องคิดว่าแข็งเกิดด้วย เพราะว่าปัญญาขณะนั้นไม่สามารถที่จะรู้แม้การเกิดของแข็ง และการดับของแข็ง เพียงแต่การเริ่มที่จะเข้าใจธรรมที่มีลักษณะจริงๆ ตั้งแต่เกิดจนตายก็เป็นลักษณะของธรรมซึ่งมีปัจจัยเกิดแล้วก็ดับแล้วก็ไม่กลับมาอีก พูดบ่อยๆ เพื่อให้คลายการยึดถือว่า ทำไมติดข้องกับสิ่งที่เพียงปรากฏเล็กน้อย แล้วก็ดับแล้วก็ไม่กลับมาอีก

    ผู้ฟัง ก็เข้าใจแล้วว่าทุกอย่างเป็นธรรมคืออะไร

    ท่านอาจารย์ อย่างน้อยที่สุดจากโลกนี้ไปด้วยความเข้าใจนี้ ก็ยังดีกว่าไม่เข้าใจอะไร ใช่ไหม

    ผู้ฟัง แล้วเหลือไปถึงโลกหน้าไหม

    ท่านอาจารย์ อะไรเหลือ

    ผู้ฟัง ความเข้าใจ

    ท่านอาจารย์ เหลือ หรือว่าดับแล้วสะสมสืบต่อ

    ผู้ฟัง สะสมเป็นปกตูปนิสยปัจจัย

    ท่านอาจารย์ ถ้าเหลือคุณแก้วก็ดีใจ ใช่ไหม แต่ถ้ารู้ว่าเพียงแม้ปัญญาก็ไม่ใช่ของใคร มีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปแล้วก็ไม่กลับมาอีกจนกว่าจะถึงที่สุดคือไม่มีการเกิดอีก นั่นคือการสมบูรณ์ของปัญญาที่ไม่มีอะไรที่จะเหนือกว่านั้น

    อ.ธิดารัตน์ เวลาที่มีการศึกษาอย่างเช่นการศึกษาปริยัติที่จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ ท่านก็แสดงปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ก็คิดว่าจริงๆ แล้วเราจะปฏิเสธการศึกษาชื่อ หรือว่าเรื่องราวของสภาพธรรมไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวก่อนค่ะคุณธิดารัตน์ เพียงแค่ทราบว่าพระศาสนามีทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธนี่ก็ชื่อแล้ว แต่ไม่ใช่ให้เราจำสามชื่อ แต่ต้องรู้ว่าปริยัติคืออะไร ไม่ใช่ภาษาบาลี หรือภาษาอังกฤษ หรือภาษาไทย พระพุทธพจน์ ศึกษาพระธรรมที่ทรงแสดงให้มีความเข้าใจ ถ้าไม่มีการฟัง ไม่เข้าใจจากขั้นการฟังจะสามารถรู้ลึกซึ้งยิ่งกว่านั้นได้ไหม

    อ.ธิดารัตน์ ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ทุกอย่างก็ต้องมีการเริ่มต้น มีใครบ้างที่ไปปฏิบัติแล้วก็ไม่รู้อะไร อย่างนั้นเป็นคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือไม่ แต่พระธรรมที่ทรงแสดง ทรงแสดงเรื่องอะไร เรื่องสิ่งที่มีจริงๆ ที่ใช้คำว่า “ปริยัติ” คือฟังให้เข้าใจธรรมที่ทรงแสดงว่าเป็นสิ่งที่มีจริง เพราะฉะนั้นเมื่อมีความเข้าใจแล้ว และความเข้าใจแล้วนั้นก็จะทำให้สามารถเริ่มเข้าใจลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏไม่ใช้คำว่า “ปฏิปัตติ “ ก็ได้ แต่ที่ใช้เพื่อแสดงให้เห็นว่าความรู้ขั้นฟังเป็นอย่างหนึ่ง เพียงแค่ฟัง เพราะว่าบางคนหลงเข้าใจว่ารู้แล้วถึงการเป็นพระโสดาบันแล้ว เพียงขั้นการฟัง ให้ทำปริญญา ก็ไปนั่งทำปริญญาพิจารณานั่นพิจารณานี่ ก็เข้าใจว่าตัวเองรู้แจ้งอริยสัจธรรม นั่นคือเผิน และก็ไม่เข้าใจธรรมด้วย

    ปริยัติธรรม ก็คือการศึกษาพระพุทธพจน์ให้เข้าใจอะไร ไม่ใช่ให้เข้าใจชื่อแต่ให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงๆ เมื่อเข้าใจอย่างนี้จึงจะนำไปสู่ปฏิปัตติ ซึ่งขณะที่เป็นปฏิปัตติไม่ใช่ปริยัติ แต่ถ้าไม่มีปริยัติปฏิบัติก็มีไม่ได้ เพราะเหตุว่าต้องมีความเข้าใจเรื่องของสภาพธรรมเดี๋ยวนี้ก่อน จนกระทั่งเป็นการละคลายความไม่รู้ และความติดข้อง ขณะนั้นก็มีปัจจัยที่จะทำให้ถึงการเข้าใจลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ

    อย่างที่กล่าวคำว่า “อุปนิสสยโคจร” โคจรคืออารมณ์ ทุกคนมีการเห็น มีการได้ยิน มีการได้กลิ่นนับชาติไม่ถ้วนมาแล้ว อารมณ์อะไรเป็นที่อาศัยที่มีกำลังที่พอใจอย่างยิ่งของแต่ละคนเหมือนกันไหม บางคนก็สนใจฟังธรรม บางคนก็ไม่สนใจ สนใจเรื่องอื่น เพราะฉะนั้น โคจรที่เป็นอารมณ์ถ้าเสพคุ้นมากๆ หรือบริโภคบ่อยๆ ก็เป็นปัจจัยให้คุ้นเคยมีกำลังจนกระทั่งจิตน้อมไปสู่สิ่งนั้น อย่างทุกคนที่มาฟังพระธรรมคงจะไม่รู้ว่าเพราะเคยได้ฟังมาแล้ว มีอุปนิสัยในการที่จะเห็นประโยชน์ที่จะเข้าใจในสิ่งที่ได้ฟังเป็นที่อาศัยที่มีกำลังที่จะนำมาสู่การได้ยินได้ฟังซึ่งเป็นโคจร เป็นอุปนิสสย เพราะฉะนั้น เวลาที่เราเข้าใจอย่างนี้เราก็รู้ได้ว่านี่เป็นความเข้าใจในขั้นการฟัง และเวลาฟังแล้วอยากให้รู้ลักษณะของสภาพธรรมเลย หรือไม่

    อ.ธิดารัตน์ ไม่

    ท่านอาจารย์ บางคนอยากใช่ไหม ก็ถามว่าทำไมถึงฟังแล้วไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ก็คือว่ามีความเป็นตัวตนมากจนกระทั่งยังคงต้องการ แม้จะได้ฟังแล้วยังต้องการอยู่ที่ต้องการเปลี่ยนจากอย่างอื่นมาเป็นต้องการที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แต่ไม่ได้เข้าใจว่าความเข้าใจพอไหม ถ้าความเข้าใจไม่พอ ไม่มีทางเลยที่จะถึงอุปนิพันธซึ่งตอนนี้เราจะข้ามเรื่องของอารักขโคจร ซึ่งผลจากการฟัง และมีปัญญาเกิด จะเห็นได้ว่าปัญญาเริ่มขัดเกลาเห็นสิ่งที่ผิดว่าผิด เห็นสิ่งที่ถูกว่าถูก แล้วคล้อยไปในทางที่ถูกตามกำลังของความเข้าใจ ซึ่งอารักขา หรืออารักขไม่ให้ตกไปในทางฝ่ายที่เป็นอกุศล แต่กระนั้นก็ยังไม่ถึงกาลที่จะเป็นอุปนิพันธโคจร ทุกคนฟังเรื่องธรรมรู้ว่าขณะนี้เป็นธรรม แล้วธรรมขณะนี้ก็สิ่งที่ปรากฏทางตาก็เพียงปรากฏให้เห็น แต่ว่ากำลังเข้าใจถูกในลักษณะของสิ่งที่ปรากฏเดี๋ยวนี้ไม่ได้คิดเรื่องอื่น ผูกพันจิตไม่ให้ไปไกล หรือไม่ให้ไปจากสิ่งที่ปรากฎ นั่นคืออุปนิพันธโคจร ซึ่งก็หมายความถึงปฏิปัตติ เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีการฟังที่ทำให้เป็นพื้นฐานที่จะทำให้แทนที่จะคิดเรื่องอื่นบ่อยๆ อย่างที่เคยคิด มีสิ่งที่ปรากฏแล้วยังไม่เข้าใจสิ่งที่ปรากฏ ฟังแล้วเริ่มค่อยๆ คุ้นกับธาตุที่เห็น มีจริงๆ ไม่มีรูปร่างแต่กำลังเห็น เพราะฉะนั้นก็เริ่มเข้าใจในความหมายของนามธาตุซึ่งต่างกับรูปธาตุ รูปธาตุปรากฏทางตาเป็นสีสันวัณณะต่างๆ แต่ไม่รู้อะไร รูปธาตุปรากฏทางหูให้รู้ว่าเป็นเสียงต่างๆ เป็นธาตุชนิดหนึ่ง รูปธาตุปรากฏให้รู้ทางจมูกให้รู้ว่าเป็นกลิ่น ไม่มีใครไปทำอะไรธาตุต่างๆ ได้ เกิดเป็นธาตุนั้นก็ปรากฏอย่างนั้น ในขณะที่กำลังลิ้มรส รูปธาตุก็ปรากฏเป็นรสต่างๆ ในขณะที่กระทบสัมผัสเดี๋ยวนี้ รูปธาตุก็ปรากฏลักษณะที่อ่อน หรือแข็ง เย็น หรือร้อน ตึง หรือไหว ก็แสดงธรรมโดยความเป็นธาตุนานาธาตุหลากหลายธาตุให้เข้าใจตามความเป็นจริงว่าขณะนี้เป็นอย่างนั้น แต่ถึงอย่างนั้นกำลังรู้สิ่งที่พูดสักอย่างไหม ถ้ารู้ขณะนั้นเป็นอุปนิพันธโคจร เพราะอาศัยการฟังจนกระทั่งผูกจิตไว้ไม่ไปอื่น แต่อยู่ที่ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แม้จะเล็กน้อยนิดหน่อยแต่ก็เริ่มที่จะรู้ลักษณะที่ต่างกันของขณะที่ฟังก็ยังเป็นความคิดเรื่องชื่อเรื่องราวต่างๆ กับขณะที่ฟังแล้วก็ยังมีความเข้าใจว่าสิ่งที่กำลังฟังก็คือสิ่งที่กำลังมี แต่ไม่เข้าใจจนกว่าจะเริ่มค่อยๆ เข้าใจขึ้น เพราะฉะนั้น เข้าใจความเป็นอนัตตาว่าใครก็ทำอะไรธรรมสักอย่างเดียวไม่ได้ เป็นธาตุแต่ละชนิดซึ่งมีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วสะสมสืบต่อตามลำดับขั้น

    ผู้ฟัง นั่นหมายความว่าปริยัติเป็นเรื่องราว หรือเป็นพยัญชนะที่พระพุทธองค์ทรงแสดงให้เข้าใจสภาพธรรม หรือความจริงที่มีขณะนี้ ถ้าเมื่อเข้าใจตรงนั้นก็จะไปเข้าใจอย่างอื่นได้อย่างไร เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงเรื่องที่ทำให้เข้าใจความจริงที่มี

    ท่านอาจารย์ แสดงว่าสิ่งที่มีจริงนั้นเป็นอย่างนั้นไม่เป็นอย่างอื่น

    ผู้ฟัง ซึ่งเมื่อความเข้าใจมากพอก็ต้องน้อมไปรู้ตรงนั้น เพราะท่านกล่าวว่าลักษณะสภาพธรรม

    ท่านอาจารย์ แล้วเดี๋ยวนี้รู้ตรงนั้น หรือไม่

    ผู้ฟัง ไม่

    ท่านอาจารย์ เห็น หรือไม่ ทั้งๆ ที่พูดทั้งๆ ที่รู้ทั้งๆ ที่เข้าใจ แต่ธรรมเป็นสัจธรรมเป็นความจริงตราบใดที่ยังไม่เริ่มเข้าใจความเป็นธาตุเห็น กำลังเห็นเกิดแล้วเห็นไม่เป็นธาตุอื่น ต้องฟังเรื่องของธรรมแม้ขณะที่กำลังฟัง หรือกำลังพูด หรือกำลังคิด ไม่ว่าจะเป็นขณะใดทั้งหมดเป็นธรรมซึ่งเมื่อถึงกาลที่มีปัจจัยที่จะเข้าใจ เข้าใจขณะนั้นก็เกิดขึ้น ขณะนั้นจะไม่รู้ว่าเพราะสติสัมปชัญญะเกิด ขณะนั้นไม่ลืมที่จะเข้าใจลักษณะของสิ่งที่มีจริงๆ ขณะนั้น วิตักเจตสิก สัมมาสังกัปปะก็จรด จรดแล้วจรดอีกเพื่อให้ปัญญาเห็นถูกต้องตามความเป็นจริงว่าลักษณะนั้นเป็นอย่างนั้น

    ด้วยเหตุนี้มรรคมีองค์ ๘ ก็ต้องเป็นสิ่งซึ่งขาดไม่ได้ ปกติก็จะมี ๕ องค์ นอกจากจะมีสัมมาทิฏฐิ มีสัมมาสติยังต้องมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสมาธิ แสดงให้เห็นว่าการฟังทำให้เห็นว่าไม่มีใครไปทำอะไรได้ เป็นเรื่องของธรรมคือธาตุ นานาธาตุแต่ละธาตุ แล้วยังทรงแสดงโดยความเป็นขันธุ์ ธาตุแต่ละหนึ่งซึ่งเกิดดับซึ่งเป็นแต่ละขันธุ์ หนึ่งขันธุ์ หนึ่งขันธุ์ซึ่งเกิดแล้วดับแล้วไม่กลับมาอีก เพื่อให้จิตน้อมไปสู่ความเห็นที่ถูกต้อง เพื่อการที่จะค่อยๆ เข้าใจลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ แต่นี่เป็นสิ่งที่จะทำให้ค่อยๆ ไม่ลืมสิ่งที่ได้ฟัง เพราะว่าปกติฟังแล้วก็ลืม

    ผู้ฟัง ทีนี้ความอยากที่เป็นอนัตตาที่เขาก็มีเหตุปัจจัยก็เกิด เมื่อฟังว่าลักษณะสภาพธรรมก็ปรากฏให้รู้ได้ ก็ดูเหมือนพอ

    ท่านอาจารย์ กำลังปรากฏ

    ผู้ฟัง กำลังปรากฏ พอบอกจะต้องมีสติสัมปชัญญะเกิดไปรู้

    ท่านอาจารย์ กำลังรู้นั่นคือเป็นสติสัมปชัญญะที่เกิดแล้ว

    ผู้ฟัง ทีนี้ท่านอาจารย์บอกไม่สามารถรู้ได้ด้วยการอยาก ความอยากก็เป็นอนัตตาที่เกิด อยากจะรู้สิ่งที่ฟัง

    ท่านอาจารย์ ถ้ารู้ได้ด้วยความอยาก ก็อยากอีก อยากไป อยากไปจะรู้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่รู้ พอมีอยากก็รู้ว่าอยากไม่ทำรู้ แต่ก็เป็นอนัตตาที่เกิด

    ท่านอาจารย์ เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย แต่ไม่ใช่เป็นขณะที่จะทำให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรม อยากแล้วศึกษา อยากแล้วฟัง อยากแล้วสนทนา อยากแล้วพิจารณาที่จะเข้าใจ แต่ขณะนั้นให้ทราบว่า ถ้าขณะนั้นเป็นความติดข้องเป็นโลภะ แต่ไม่ใช่ติดข้องแต่เป็นศรัทธาที่เห็นประโยชน์ของการที่จะเข้าใจขณะนั้นเป็นฉันทะไม่ใช่โลภะ เพราะฉะนั้น ธรรมเป็นเรื่องละเอียด ทรงแสดงไว้โดยชื่อละเอียดยิ่งเพราะลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ ละเอียดยิ่งอย่างนั้น ก็ต้องทรงแสดงตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้น

    ผู้ฟัง จิตเกิดขึ้นจะต้องรู้อารมณ์ ทีนี้พอคิดก็รู้ว่า “จิตคิด”

    ท่านอาจารย์ หมายความว่าอย่างไร

    ผู้ฟัง เป็นความเข้าใจลักษณะที่คิด

    ท่านอาจารย์ ถ้ากล่าวอย่างนี้ เวลาที่คิดก็รู้ลักษณะที่คิด เพราะขณะนี้ที่กำลังเห็นก็กำลังเข้าใจ รู้ลักษณะที่เห็น ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นกำลังได้ยินก็รู้ลักษณะของสภาพที่ได้ยิน อย่างนั้นใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ และก็เข้าใจลักษณะของสภาพที่ได้ยิน เวลาที่แข็งปรากฏ ก็รู้ลักษณะของแข็ง แล้วก็รู้ลักษณะของสภาพที่กำลังรู้แข็ง อย่างนั้น หรือ

    ผู้ฟัง ไม่ใช่

    ท่านอาจารย์ แล้วกำลังเห็น กำลังรู้ลักษณะที่เห็น หรือไม่

    ผู้ฟัง กำลังเห็นรู้ว่าเห็น

    ท่านอาจารย์ รู้ว่าเห็น หมายความว่าอย่างไร

    ผู้ฟัง หมายความว่ามีเห็นเกิดขึ้น แล้วก็รู้ว่ากำลังเห็น

    ท่านอาจารย์ ทุกคนรู้อย่างนี้ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น กำลังคิดทุกคนก็รู้ว่ากำลังคิดใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่ ที่นี้จะกราบเรียนถามท่านอาจารย์ว่า จิตที่คิดแล้วรู้ว่าเป็นจิตที่คิด

    ท่านอาจารย์ กำลังคิดเดี๋ยวนี้ เหมือนกำลังเห็นเดี๋ยวนี้รู้ว่าเห็น เพราะฉะนั้นยังไม่ต้องไปคิดถึงเรื่องชื่อต่างๆ ว่าจิตเห็น จิตคิด แต่ขณะนี้มีเห็น มีคิด ให้รู้ว่าเป็นธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง ทั้งๆ ที่กำลังเห็นก็ไม่ได้เข้าใจลักษณะที่เห็น แต่เริ่มฟังเข้าใจว่าเห็นมีจริง และเห็นเกิดแล้วจึงเห็นแล้วก็รู้ว่าเห็นจะเกิดขึ้นได้เพราะมีเหตุมีปัจจัย ถ้าไม่มีจักขุประสาทก็ไม่เห็น ถ้ามีจักขุประสาทแต่ไม่มีสิ่งที่กระทบจักขุประสาทเห็นก็เกิดขึ้นไม่ได้

    เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมให้ทราบว่าการไม่รู้ความจริงของสิ่งที่มี นานมาก เพราะฉะนั้นบางคนอยากจะหมดความเห็นที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนอย่างรวดเร็วจนหาทางอื่น วิธีอื่น แต่เป็นไปไม่ได้เพราะเหตุว่าถูกทับถมด้วยอวิชชา ถูกปิดบังด้วยความต้องการจนกระทั่งไม่สามารถที่จะเข้าใจได้ ว่าขณะนี้สิ่งที่กำลังมีจริงๆ และที่กำลังฟังเริ่มเข้าใจความจริงเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นควรที่จะเข้าใจธรรมโดยการสะสมความเข้าใจ ไม่ต้องเป็นห่วง เป็นกังวลว่า จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏเมื่อไร แต่เมื่อมีการฟังเข้าใจขึ้นก็จะไม่พ้นจากการเริ่มรู้ว่า ที่ได้เข้าใจมาแล้วทั้งหมดก็คือลักษณะจริงๆ ของสิ่งที่กำลังปรากฏเช่น แข็ง ใครจะคิดว่าขณะที่แข็งปรากฏเป็นความจริงหนึ่งในสังสารวัฏฏ์ ในสังสารวัฏฏ์ลองคิดดู ก็มีแข็งเกิดปรากฏแล้วหมดไป มีเสียงปรากฏก็เป็นหนึ่งขณะในสังสารวัฏฏ์

    เพราะฉะนั้น สังสารวัฏฏ์ก็ไม่พ้นจากสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เพราะจิตเกิดขึ้นเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ เพราะว่าจิตเป็นสภาพรู้เป็นธาตุรู้เกิดแล้วต้องมีสิ่งที่จิตรู้ เพราะฉะนั้นขณะนี้สิ่งใดปรากฏสิ่งนั้นคือสิ่งที่จิตกำลังรู้ เช่นสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาในขณะนี้ เป็นสิ่งที่จิตเกิดขึ้นเห็น เพื่อให้รู้ความจริงของชีวิตในสังสารวัฏฏ์ เพราะฉะนั้นสะสมความรู้ไม่ต้องกังวลเรื่องอื่น การที่จะไปประจักษ์การเกิดดับของสภาพธรรม และเข้าใจว่ามีปัญญาที่รู้ลักษณะนั้นโดยไม่มีความรู้แม้ขณะที่กำลังเห็น


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 183
    24 ธ.ค. 2566