พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 694


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๙๔

    ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔


    ท่านอาจารย์ ฟังธรรม เข้าใจธรรม รู้ว่าธรรมใดเป็นโทษ ธรรมใดเป็นประโยชน์ แต่ก็ยังไม่ได้รู้ว่า ยังไม่รู้ลักษณะที่เป็นธรรม

    อ.กุลวิไล เหมือนกับบางครั้งที่ผู้ศึกษาบางท่านอาจสงสัยว่า “รู้แข็งนั้นเป็นประโยชน์อย่างไร”

    ท่านอาจารย์ ถ้าถามว่าแข็งเป็นธรรมไหม ตอบว่าอย่างไร

    อ.กุลวิไล แข็งเป็นธรรม

    ท่านอาจารย์ แค่ตอบ ใช่ไหม แต่ความเป็นธรรมซึ่งไม่มีใครบังคับบัญชาได้เป็นลักษณะของธาตุชนิดหนึ่งซึ่งกระทบกายประสาทจึงปรากฏเท่านั้นเอง ทุกอย่างเท่านั้นเอง คือเป็นธรรมแต่ละลักษณะซึ่งปรากฏเพราะมีปัจจัย เกิดไม่ปรากฏก็ได้ใช่ไหม ในป่าก็มีเสียง มีแข็ง มีกลิ่นต่างๆ แต่ไม่ปรากฏ

    แต่ขณะใดก็ตามที่ปรากฏก็เพราะขณะนั้นมีธาตุรู้ซึ่งไม่ใช่เราที่รู้แข็ง แข็งจึงปรากฏได้ แล้วอย่างนี้เป็นประโยชน์ หรือไม่ที่จะรู้ความจริงว่าที่แข็งปรากฏก็ต้องมีสภาพรู้ สภาพรู้ก็ไม่ใช่แข็ง และรู้ก็ไม่ใช่เรา แข็งก็เป็นแต่เพียงสภาพที่ไม่ใช่รู้แข็ง และแข็งก็เป็นธรรมอย่างหนึ่ง

    ในเมื่อเราตอบตั้งแต่ต้นว่าแข็งเป็นธรรมไหม พอถามแข็งเป็นธรรมไหม ทุกคนตอบว่าแข็งก็เป็นธรรมอย่างหนึ่ง แต่พอถึงเวลาที่รู้แข็งมีประโยชน์อะไร ก็คือรู้ว่าเป็นธรรม ประโยชน์อยู่ที่รู้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดทั้งสิ้น และก็ไม่ใช่แต่เฉพาะแข็งด้วยทุกอย่างทั้งหมดเป็นธรรม ก็ต้องค่อยๆ เป็นผู้ที่ตรง

    ผู้ฟัง จำเป็นไหมที่ต้องรู้วิถีจิต รู้ศัพท์ที่มันยากๆ เรารู้เพียงแต่ว่า

    ท่านอาจารย์ ถ้าอย่างนั้นเอาง่ายที่สุด จิตรู้ หรือยัง รู้จิต หรือยัง

    ผู้ฟัง บางทีก็ระลึกได้บ้าง บางทีเวลาที่โกรธก็ระลึกได้

    ท่านอาจารย์ โกรธเป็นจิต หรือไม่

    ผู้ฟัง โกรธเป็นเจตสิก

    ท่านอาจารย์ ใช้ชื่อได้ แล้วกำลังนอนหลับสนิท มีโกรธไหม

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ นั่นคือไม่ใช่วิถีจิต คือทุกคำมีประโยชน์ที่จะได้เข้าใจจริงๆ ว่า ถ้าไม่เข้าใจอย่างนี้แล้วสติจะไปรู้อะไร นอนหลับจะรู้ลักษณะของสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น กำลังนอนหลับเห็น หรือไม่

    ผู้ฟัง ไม่เห็น

    ท่านอาจารย์ ได้ยิน หรือไม่ ได้กลิ่น หรือไม่ ลิ้มรส หรือไม่ รู้สิ่งที่เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หรือไม่

    ผู้ฟัง ไม่รู้

    ท่านอาจารย์ หมายความว่าขณะนั้นไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กายเลย หลับสนิทมีอะไรปรากฏไหม ฝัน หรือไม่

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็ไม่ได้อาศัยแม้แต่ใจที่จะทำให้เกิดคิดนึกขึ้น เพราะฉะนั้นให้ทราบว่าวิถีจิตเป็นจิตที่รู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ พระอภิธรรมก็ต้องรู้ว่าเดี๋ยวนี้เป็นพระอภิธรรม หรือไม่ ถ้าไม่รู้แล้วไปศึกษาอะไร
    เพราะฉะนั้นก่อนอื่นฟังธรรมให้เข้าใจก่อนไม่อย่างนั้นก็เป็นคิดเองหมด สติก็คิดเองไม่รู้อะไรจะไปให้เกิดสติอย่างนี้ก็เป็นไปไม่ได้

    ผู้ฟัง คือบางทีสติระลึกสภาพธรรมที่กำลังปรากฏอาจเป็นเย็น ร้อน อ่อน แข็ง

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้กำลังเห็น ใช่ไหม

    ผู้ฟัง เดี๋ยวนี้เห็น

    ท่านอาจารย์ มีอะไรปรากฏขณะที่กำลังเห็นบ้าง

    ผู้ฟัง ก็เป็นสัตว์เป็นบุคคลไปหมด

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็ไม่ใช่ธรรม

    ผู้ฟัง ก็อย่างนี้ เห็นเป็นต้นไม้ เห็นเป็นดอกไม้

    ท่านอาจารย์ แล้วสติจะไประลึกอะไร

    ผู้ฟัง ถ้าเผื่อบางทีสติระลึกได้ก็เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหวก็จะระลึกได้บ้าง

    ท่านอาจารย์ อย่าเพิ่งระลึกดีไหม เข้าใจก่อน เดี๋ยวนี้สิ่งที่ปรากฏทางตาจริงๆ เป็นอะไร เป็นคน หรือไม่

    ผู้ฟัง เป็นสัตว์ เป็นบุคคล

    ท่านอาจารย์ ไม่ถูกต้อง หลับตา มีคนไหม

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นลืมตามีอะไร

    ผู้ฟัง มีคน มีสัตว์ มีบุคคล

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ ต้องมีสิ่งที่สามารถปรากฏให้เห็นได้

    ผู้ฟัง หมายถึงว่าชั่วแว๊บเดียวตอนที่เริ่มลืมตา ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้ความจริงจะเมื่อไรก็ตาม แต่มีความเห็นถูกว่าขณะนี้เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้เท่านั้น ความจริงของสิ่งที่ปรากฏได้ทางตาไม่เป็นอย่างอื่น ต้องเป็นอย่างนี้ ทุกกาลที่มีการเห็นก็ต้องมีสิ่งที่เพียงปรากฏให้เห็นได้ จะเป็นอย่างอื่นไม่ได้ เข้าใจไหมว่า “สิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้เป็นธรรมที่มีจริงอย่างหนึ่งเท่านั้นเอง” แล้วไปคิดถึงรูปร่างสัณฐาน จนกระทั่งจำไว้ว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ แต่ว่าสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ถ้าตาบอดเดี๋ยวนี้ไม่ปรากฏเลย แต่ยังจำว่ามีคนนั้นคนนี้หลังจากที่เคยเห็นได้ แต่ว่าสิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้จะปรากฏไม่ได้ เพราะฉะนั้นก็เป็นธาตุ หรือธรรมที่มีจริง แต่ต้องมีจักขุปสาทแล้วก็ต้องกระทบจักขุปสาทแล้วจิตธาตุรู้ต้องเกิดขึ้นเห็นสิ่งนี้จึงปรากฏได้ชั่วขณะในสังสารวัฏฏ์

    อ.กุลวิไล บุคคลซึ่งเกิดมามีจิต เจตสิกที่จะบรรลุพระอรหันต์ แต่ถ้าบุคคลนั้นขาดความเพียรที่จะปฏิบัติเพื่อบรรลุแล้ว ผลจะเป็นอย่างไร

    ท่านอาจารย์ จริงๆ น่าคิดไหมว่า “ถามใคร” ใครจะเป็นคนตอบได้ถึงจิต เจตสิกทั้งหลายซึ่งเป็นแต่ละ ๑ ขันธ์ซึ่งเกิดแล้วก็ดับไป แล้วก็แต่ละขณะนี้ไม่ทราบเลยว่าทุกคำที่ได้ยินจากการฟังพระธรรมนี้กำลังเป็นอย่างที่ได้ยิน จิตก็กำลังเห็น แล้วหลังจากที่เห็นแล้วก็คิดนึกตามการสะสมของแต่ละคน

    แม้ตนเองรู้ หรือยังแล้วจะไปรู้ถึงคนอื่น เป็นวิสัย หรือไม่ใช่วิสัยที่จะรู้ได้ และใครเป็นคนที่จะรู้ได้ หรือจะคิดไปถึงจิตของคนอื่นโดยที่ไม่รู้ลักษณะของธรรมซึ่งกำลังเกิดกับตนในขณะนี้ เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะได้ยินคำว่า “ปัญญา สติ โลภะ หรือโทสะใดๆ ก็ตาม” ทั้งหมดที่ได้ยินเป็นความจริงในขณะนี้ซึ่งยังไม่รู้ว่าเป็นธรรม เพราะฉะนั้นก็สะสมมาที่จะคิดเรื่องอื่นมาก แต่ก็ลืมว่าขณะนี้เป็นธรรมที่มีจริงซึ่งสามารถที่จะรู้แจ้งได้ ไม่ใช่ไปรู้สิ่งอื่นซึ่งผ่านไปแล้ว หรือว่ายังไม่เกิดขึ้นแล้วก็ไม่ใช่ในขณะนี้ด้วย

    เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องที่เราให้ความสำคัญกับสิ่งที่ไม่ใช่สาระเพราะเหตุว่าจะรู้ได้ไหม ถึงจะคิดไปสักเท่าไร ใครรู้ได้ แล้วถ้าคนนั้นตอบแล้ว มีเหตุผลมีหลักฐานมีอะไรที่ควรที่จะเชื่อถือได้มากน้อยเท่าไรก็ไม่เหมือนกับการที่ฟังเรื่องสิ่งที่จริงซึ่งเป็นธรรมซึ่งกำลังเป็นสังขารขันธ์ทุกขณะปรุงแต่งไปจนกว่าจะถึงกาลซึ่งเกิดขึ้นเป็นลักษณะของจิต หรือเจตสิกประเภทใดในขณะนั้นเพราะสะสมมา ปัญญาในขณะนี้รู้ธรรมที่ได้ยินได้ฟังมากน้อยแค่ไหน เพียงฟังแล้วก็เริ่มเข้าใจ และก็ยังไม่รู้ว่าที่กล่าวทุกคำกำลังเป็นจริงในขณะนี้ การสะสมการฟังหลายท่านก็บอกว่า ฟังมาแล้วยี่สิบปีก็เริ่มที่จะเข้าใจธรรมที่กำลังปรากฏ นี่ก็แสดงให้เห็นถึงการฟังเรื่องราวเป็นหนทางที่จะนำไปสู่การรู้ลักษณะจริงๆ ของธรรมซึ่งกำลังเกิดดับสืบต่อทำกิจการงาน เพราะฉะนั้นกว่าจะถึงกาลที่จะเข้าใจว่าธรรมเป็นธรรมแต่ละอย่างก็ต้องมีการฟังมีการพิจารณา และมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเราคิดถึงเรื่องอื่นก็ไม่มีทางที่เราจะรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

    อ.กุลวิไล ดูเหมือนผู้ศึกษาจะสนใจเรื่องราวของธรรม แล้วธรรมก็เป็นเรื่องที่ละเอียดด้วย ถึงแม้นว่าผู้นั้นจะถามถึงจิต และเจตสิกของผู้ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์

    ท่านอาจารย์ แล้วเวลานี้จิตเจตสิกอะไรกำลังปรากฏ อะไรควรรู้ยิ่ง คือจิตที่กำลังคิดมีจริง แต่ว่าเรื่องราวไม่ว่าจะเป็นคิดเรื่องอะไรก็ตาม เรื่องนั้นก็เป็นเพียงสิ่งที่จิตคิดเท่านั้นเอง

    อ.กุลวิไล ท่านอาจารย์บอกว่าที่กล่าวทุกคำก็มีจริงอยู่ในขณะนี้ แต่เราจะรู้ถึงความจริงของธรรมเหล่านั้น หรือไม่ ท่านอาจารย์กล่าวคำว่า “สังขารขันธ์” ไม่ทราบว่าท่านใดสนใจที่จะรู้ว่า “สังขารขันธ์มีจริงอย่างไรในขณะนี้”

    ท่านอาจารย์ รู้จักขันธ์ และต่อไปก็คือสังขารขันธ์ แต่ถ้าไม่รู้จักขันธ์แล้วจะรู้จักสังขารขันธ์ได้ไหม ก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมนี้ต้องเป็นไปตามลำดับจริงๆ คือรู้ว่าธรรมคือสิ่งที่มีจริง ใครจะรู้ หรือไม่รู้ธรรมก็เป็นธรรม และธรรมก็มากมายหลากหลายแต่ละอย่าง สิ่งใดก็ตามที่กำลังปรากฏสิ่งนั้นเกิดเพราะเหตุปัจจัยแล้วดับไปแล้วไม่กลับมาอีก นั่นคือความหมายของธรรมที่เป็นขันธ์คือเกิดแล้วก็ดับ แล้วก็มีปัจจัยที่จะทำให้สิ่งนั้นเกิดได้เป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น

    เพราะฉะนั้น ขันธ์ก็คือทุกอย่างที่มีจริงในขณะนี้ที่เกิดแล้ว และความจริงก็ดับแล้วด้วย เห็นขณะนี้เป็นขันธ์แน่นอน ก่อนที่เราจะไปรู้ว่าเป็นสังขารขันธ์ หรือไม่ใช่สังขารขันธ์ ก็ต้องรู้จักความจริงว่าขณะนี้สิ่งที่มีปรากฏชั่วคราว สั้นมาก เล็กน้อยมาก มีปัจจัยเกิดแล้วดับไปเหมือนไฟ ไม่มี ไม่ปรากฏ แต่มีปัจจัยให้ไฟเกิดปรากฏแล้วก็ดับไปตามเหตุตามปัจจัย แต่ก็มีการเกิดดับสืบต่อ

    เพราะฉะนั้นการฟังธรรมถ้าฟังเพียงเล็กน้อย หรือฟังเพียงตอนต้นแล้วก็ไม่ติดตามฟังให้เข้าใจต่อไปก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจจริงๆ ในแต่ละคำที่ได้ยินเช่นคำว่า “ธรรม” หรือคำว่า “ขันธ์” เพราะฉะนั้นก่อนอื่นสิ่งที่มีจริงเป็นธรรมหลากหลายไหม เห็นมีจริง กำลังเห็นเป็นธรรม คิดนึกมีจริง กำลังคิดเป็นธรรม ชอบมีจริง ติดข้องมีจริง ทุกอย่างในชีวิตทั้งหมดเป็นธรรมทั้งหมด ยังไม่ต้องแยกเป็นขันธ์ หรืออะไรทั้งสิ้น แต่เมื่อทราบว่าธรรมที่มีจริงเพราะเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัยแล้วก็ดับไป

    เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดแล้วดับไปไม่กลับมาอีก ลองคิดถึงธา ตุ หรือธาตุแต่ละอย่าง คือธรรมแต่ละอย่างจะมากมายสักแค่ไหน ทุกอย่างในขณะนี้ไม่ใช่เมื่อกี้นี้ เพราะเมื่อกี้นี้เกิดแล้วก็ดับ เพราะฉะนั้นนับถ้วนไหม สิ่งที่เป็นแต่ละ ๑ ซึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไปแล้วก็ไม่กลับมาอีก เพราะฉะนั้นประมวลได้ เรียกได้ว่าสิ่งที่มีจริงทั้งหมดที่เกิดดับก็เป็นธรรมประเภทที่มีปัจจัยทำให้เกิดแล้วดับเป็นขันธ์แต่ละ ๑ ขันธ์ คือแต่ละหนึ่งสิ่ง หนึ่งอย่างอะไรก็ตามแต่แต่ภาษาบาลีใช้คำว่า “ ๑ ขันธ์” คือหนึ่งอย่างที่เกิดขึ้นแล้วดับไปก็เป็น ๑ ขันธ์ เพราะฉะนั้นเห็นเมื่อกี้นี้ก็เป็น ขันธ์ ๑ ขันธ์ เห็นเดี๋ยวนี้ก็เป็นขันธ์ ๑ ขันธ์ นับไม่ถ้วน

    ด้วยเหตุนี้ เมื่อธรรมมีหลากหลายก็ประมวลเป็นขันธ์ ๕ ตามประเภทที่มีการยึดถือในสิ่งที่มีจริง เช่นขณะนี้มีธรรมซึ่งเป็นรูปธรรมคือเป็นสภาพที่ปรากฏให้เห็นทางตา หนึ่งอย่าง ๑ ขันธ์แล้ว สิ่งที่ปรากฏทางตาในขณะนี้เป็น ๑ ขันธ์ เพราะฉะนั้นกว่าจะฟังแล้วเข้าใจจริงๆ แม้แต่คำว่า “สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นขันธ์ ๑ ขันธ์” เพราะว่าเป็นสิ่งที่มีจริงเป็นธรรมที่เกิดปรากฏแล้วก็ดับไป แค่นี้เข้าใจแค่ไหน

    สิ่งที่มีจริงขณะนี้เป็นธรรมที่มีจริง เกิด และดับเป็น ๑ ขันธ์ แต่ไม่ประจักษ์การเกิด และดับไปแต่รู้ว่ามี ขณะนี้มีใครไม่รู้บ้างว่ามีสิ่งที่ปรากฏให้เห็นทางตา มีแต่ไม่รู้ความลึกซึ้งว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาขณะนี้เกิดแล้วดับไปสืบต่อทีละหนึ่งๆ ๆ จนปรากฏเป็นนิมิตรูปร่างสัณฐานทำให้ลวงว่าไม่ได้ดับไป นี่คือความไม่รู้ในความเป็นจริงทางตา แต่ผู้ที่ได้ทรงตรัสรู้แล้วก็ทรงแสดงความจริงอย่างนี้ ผู้ที่ฟังเริ่มเข้าใจ และเมื่อได้เข้าใจมากขึ้นๆ จนถึงการสามารถเข้าใจได้ว่าสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นเท่านั้น ผู้นั้นก็รู้ว่าฟังมาตั้งนานแสนนานเป็นหลายชาติ เป็นหลายกัปป์ แต่ก็จะได้รู้ และเข้าใจจริงๆ ว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นเพราะเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป

    นี่คือแต่ละคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสจากการที่ทรงตรัสรู้ เพื่อที่จะอนุเคราะห์ให้คนที่ได้ยินได้ฟังมีความเข้าใจถูกแม้ในขั้นการฟัง ซึ่งถ้าไม่มีความเข้าใจถูกในขั้นการฟังไม่มีทางที่ใครจะไปรู้ความจริงว่า “ธรรมทั้งหลาย สังขารธรรมทั้งหลาย เกิดขึ้น และดับไป ไม่ใช่ตัวตน” แค่ประโยคสั้นๆ แต่ต้องศึกษามากจนกระทั่งเป็นความเข้าใจจริงๆ เพราะฉะนั้นในขณะนี้นับขันธ์ถ้วนไหม ไม่ถ้วน แต่รู้ว่าสิ่งที่ปรากฏเพียงชั่วคราวแล้วก็ดับไป ความจริงเป็นอย่างนี้ ถ้าจะรู้จริงๆ จะรู้เป็นอย่างอื่นได้ไหม ไม่ได้ ก็ต้องรู้ตรงตามนี้ เป็นการยืนยันพระธรรมที่ทรงแสดงว่าเป็นความจริงจากการที่ได้อบรมเจริญปัญญาจนสามารถที่จะประจักษ์ความจริงอย่างนี้ได้ นี่คือความหมายของคำว่า “ขันธ์” คือธรรมที่มีจริงซึ่งเกิดดับ

    เพราะฉะนั้นสิ่งที่มีจริงที่เกิดดับ เราสามารถที่จะศึกษาได้เข้าใจได้จากสิ่งที่กำลังปรากฏว่าสิ่งที่กำลังปรากฏวันหนึ่ง วันหนึ่งทางตาก็มีอย่างนี้ ปรากฏให้เห็น หลับตาก็ไม่เห็น แต่ว่าลืมตาเห็นแล้วก็จำสิ่งที่ปรากฏว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดจนถึงสามารถที่จะนึกถึงสัณฐาน หรือนิมิตของสิ่งที่ปรากฏทางตาได้ จริงไหม เอ่ยชื่อใครสักคนหนึ่ง เคยเห็นก็นึกออกว่าหน้าตาเป็นอย่างไร นั่นก็คือเป็นนิมิตของสิ่งที่ปรากฏทางตา

    เพราะฉะนั้นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้แต่ไม่สามารถจะรู้อะได้ มีจริงๆ ทางตาขณะนี้ เสียงที่กำลังได้ยิน ปรากฏให้รู้ได้ว่ามีจริงๆ เพราะเสียงกำลังปรากฏ ถ้าเสียงไม่เกิดขึ้นปรากฏจะไม่มีใครรู้จักเสียงทั้งสิ้นว่าเสียงเป็นอย่างไร แต่เพราะเสียงมีจริงกำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นเสียงเกิดแล้วก็ดับไปเป็นธรรม หรือไม่ เป็น เป็นธรรมที่เกิดดับ
    เพราะฉะนั้นเป็นขันธ์ หรือไม่ เป็นขันธ์ เสียงที่ดับไปแล้วเป็นขันธ์ หรือไม่ เป็น เสียงที่กำลังปรากฏขณะนี้ไม่ใช่เสียงเก่าเป็นขันธ์ หรือไม่ ก็เป็น เพราะฉะนั้นก่อนอื่นก็รู้ว่าที่มีจริงที่ปรากฏให้เห็นทางตามีลักษณะอย่างหนึ่งจะเป็นอย่างอื่นไม่ได้ กำลังปรากฏให้เห็น
    เพราะฉะนั้นขณะนี้ถ้าจะเข้าใจธรรม แค่เห็นเท่านั้น ลองคิด แค่เห็นเท่านั้นจะเริ่มรู้จักสิ่งที่ปรากฏทางจริงๆ แค่เห็น เพียงเห็นเท่านั้นก็เริ่มจะเข้าใจลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทางตา พอเสียงปรากฏก็เสียง เสียงเท่านั้นไม่ใช่อย่างอื่นจะมีอย่างอื่นรวมในเสียงไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นก็เริ่มรู้จักเสียงซึ่งเป็นขันธ์ซึ่งไม่สามารถจะรู้อะไรได้แต่ปรากฏว่ามีจริง ปรากฏได้ทางหู กลิ่น รส ทุกคนได้รับวันหนึ่งวันใดขณะหนึ่งขณะใดก็มี กลิ่นบ้าง รสบ้าง หรือว่าเย็นบ้าง ร้อนบ้าง หรือว่าแข็งบ้างที่ปรากฏ ทั้งหมดที่ไม่ใช่สภาพรู้เป็นขันธ์ที่เป็นประเภทหนึ่งคือประเภทที่ไม่รู้อะไรทั้งสิ้น จึงใช้คำว่า “รูปขันธ์” มีลักษณะเฉพาะของขันธ์นั้นๆ ไม่ใช่สังขารขันธ์ ใช่ไหม เพราะฉะนั้นคนที่ถามเรื่องสังขารขันธ์เนี่ยเข้าใจเรื่องขันธ์ เข้าใจเรื่องรูปขันธ์ตามความเป็นจริง ไม่ใช่ไปเจาะจงเฉพาะสังขารขันธ์

    เพราะฉะนั้นธรรมนี้สามารถที่จะจำแนกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ หรือว่าขันธ์ใหญ่ๆ ขันธ์ประเภทใหญ่ ใช้ได้ไหมคำนี้ แทนที่จะจารนัยโดยละเอียดกว่านี้ก็กล่าวแต่เพียงว่า “รูปขันธ์กับนามขันธ์” ใช้ได้ไหม ถ้ามีความเข้าใจไม่สงสัย ใครจะใช้คำอะไร เคยได้ยินคำว่า “นามธรรมรูปธรรม” แล้วก็เกิดมีคนพูดว่า “รูปขันธ์นามขันธ์” ถ้าคนที่ไม่ได้เข้าใจไม่ได้ศึกษา ก็เอ๊ะทำไมพูดคำนี้ ไม่เคยได้ยิน หรืออย่างไรก็ตามแต่

    แต่คนที่เข้าใจความจริงไม่สงสัย จะใช้คำโดยนัยหลากหลายประการใดก็ตามก็แสดงถึงความเป็นจริงของสิ่งที่มีจริงนั่นเอง ธรรมคือสิ่งที่มีจริงไม่ใช่ของใคร มีลักษณะเฉพาะแต่ละอย่างจะกล่าวว่า “ธาตุ” ก็ได้ เพราะฉะนั้น จะใช้คำว่า “นามธรรม หรือนามธาตุ” เหมือนกัน หรือต่างกัน เหมือนกัน นามขันธ์มีจริงๆ หรือไม่

    อ.กุลวิไล มี

    ท่านอาจารย์ เป็นรูปขันธ์ หรือไม่ ไม่ใช่ แต่ละชื่อมีความหมายที่ส่องถึงลักษณะจริงๆ ของธรรมแต่ละอย่าง เพราะฉะนั้นขณะนี้มีใครสงสัยในเรื่องรูปขันธ์บ้างไหม หรือว่าได้ยินก็เข้าใจจำได้ แต่เดี๋ยวนี้สิ่งที่กำลังปรากฏทางตานี้เป็นรูปขันธ์หนึ่ง ในขันธ์อื่นๆ เสียงก็เป็นรูปขันธ์หนึ่ง เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีธาตุที่สามารถจะรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ สิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้รู้ไม่ได้

    เพราะฉะนั้นธาตุที่สามารถรู้ได้ไม่ใช่รูปแต่เป็นนามธาตุ หรือนามขันธ์ เพราะฉะนั้นก็จำแนกเป็นรูปขันธ์กับนามขันธ์ได้ แต่ต้องหมายความถึงสิ่งทีเกิดแล้วดับเท่านั้น
    เพราะฉะนั้นขณะนี้เข้าใจธรรม จำแนกเป็นประเภทใหญ่ๆ คือนามธรรม หรือรูปธรรม และก็ยังกล่าวถึงสภาพธรรมที่เกิดดับที่เป็นรูปขันธ์ก็เป็นรูปขันธ์ และที่ไม่ใช่รูปขันธ์แต่เกิดขึ้นรู้เป็นนามขันธ์ เพราะฉะนั้นรูปขันธ์ไม่สงสัย ขณะนี้สิ่งที่ไม่ใช่รูปธรรมแต่สามารถที่จะเกิดขึ้นรู้สึกในสิ่งที่กำลังปรากฏ ความรู้สึกวันหนึ่งๆ มีไหม กำลังพูดถึงความรู้สึก ธรรมไม่ใช่ให้ไปคิดเรื่องชื่อ หรือว่าตำหรับตำราหน้านั้นหน้านี้ แต่กำลังพูดถึงความรู้สึก ความรู้สึกในวันหนึ่งๆ มีหลายอย่าง ความรู้สึกเสียใจ โทมนัส เสียดาย มีไหม มี เกิดแล้วดับ เพราะฉะนั้นก็เป็นขันธ์แต่ไม่ใช่รูปขันธ์ แต่เป็นนามขันธ์ประเภทหนึ่ง เพราะฉะนั้นความรู้สึกซึ่งมีจริงทั้งชีวิตที่เกิดมาลองคิดดูว่าอะไรสำคัญ ความรู้สึกใช่ไหม เกิดมานี้ต้องการอย่างเดียวคือความสุข ไม่มีใครต้องการความทุกข์ ทั้งๆ ที่เป็นเพียงความรู้สึกที่เกิดแล้วก็ดับไปเพียงชั่วคราว แต่กระนั้นทั้งหมดในชีวิตก็แสวงหาเพื่อที่จะให้ความรู้สึกเป็นสุขเกิดขึ้น จากการเห็น หรือจากทรัพย์สมบัติ หรือจากเกียรติยศ จากชื่อเสียงจากอะไรทั้งหมด ก็คือเพียงต้องการความรู้สึกที่เป็นสุขซึ่งมีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่เที่ยง จะพาไปไหน จะเอาไปไหน จะไปใช้ก็ไม่ได้ เพราะว่าเป็นธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเท่านั้น

    เพราะฉะนั้นความรู้สึกสำคัญมากเป็นนามขันธ์ซึ่งสำคัญจึงจำแนกเป็นเวทนาขันธ์ นามขันธ์ทั้งหมดมี ๔ ถ้าคำที่ชินหูของขันธ์ ๕ ก็คือรูปขันธ์ ๑ เวทนาขันธ์ ๑ สัญญาขันธ์ ๑ สังขารขันธ์ที่กล่าวถึง ๑ และวิญญาณขันธ์ ๑

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 183
    16 ม.ค. 2567