พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 653


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๕๓

    ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓


    ท่านอาจารย์ จิตเห็นขณะนี้มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าไร

    ผู้ฟัง ๗ เจตสิก

    ท่านอาจารย์ เกิดที่ไหน

    ผู้ฟัง เกิดที่ไหน จิตเห็นเกิดที่จักขุปสาทรูป

    ท่านอาจารย์ รู้ หรือ

    ผู้ฟัง ไม่ใช่ ศึกษารู้ว่าใช่

    ท่านอาจารย์ ก็เท่านั้นเอง เพราะว่ายังไม่รู้เห็นเลย แล้วจะไปรู้ที่เกิดของจิตเห็นได้อย่างไร แต่จากการฟังก็เห็นความเป็นอนัตตา แม้แต่จิตเห็นก็เกิดที่จักขุปสาท ภวังคจิตไม่ได้เกิดที่จักขุปสาท ทันที่ที่จิตเห็นดับไปแล้วจิตอื่นเกิดต่อก็ไม่ได้เกิดที่จักขุปสาท นี่คือความละเอียดให้เห็นความเป็นอนัตตาว่า ไม่มีใครไปบังคับบัญชา แต่ไม่ใช่ให้ไปท่องจำแต่ให้เข้าใจความเป็นอนัตตา

    ผู้ฟัง อยากขอความกรุณาท่านอาจารย์ว่า การศึกษาเพื่อให้เข้าใจสภาพธรรมที่ปรากฏที่ตัวเองสามารถที่จะรู้ได้ แล้วก็ไม่ต้องไปไขว่คว้าหาสิ่งที่ตัวเองยังไม่มีความเข้าใจที่จะไปรู้ได้ สิ่งที่ค่อยๆ รู้ไปตามลำดับควรจะเป็นอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ความละเอียดคุณชุมพรเริ่มตั้งแต่เมื่อเริ่มศึกษาธรรม ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ ก็ต้องรู้ว่าธรรมคืออะไร นี่คือความละเอียด ถ้ายังไม่รู้ว่าธรรมคืออะไรก็คือว่าไม่ได้ศึกษาธรรม เพราะฉะนั้น ตัวจริงๆ ของธรรมมี หรือเปล่านี่คือความละเอียด หรือว่ามีแต่ชื่อเรื่องราวของธรรม

    ผู้ฟัง เราศึกษาคือศึกษาชื่อ

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวก่อน ศึกษาธรรม ธรรมมีจริงๆ หรือมีแต่ชื่อ

    ผู้ฟัง มีธรรมก่อนถึงมีชื่อ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ธรรมมีจริง ไม่ลืมว่าศึกษาธรรม คำว่า "ศึกษา" เพื่อเข้าใจไม่ใช่ฟังเฉยๆ ไปจำแล้วก็คิดว่าศึกษา แต่ศึกษาธรรมเพื่อเข้าใจธรรมแสดงว่าคนที่ได้ยินได้ฟังต้องรู้ว่าขณะนี้ต้องมีธรรม เพราะว่าธรรมต้องเป็นสิ่งที่มีจริง เราจะไม่ศึกษาสิ่งที่ไม่มี ไม่มีประโยชน์ ไร้ประโยชน์ ไปพูดถึงสิ่งที่รู้ไม่ได้เข้าใจไม่ได้ เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นความละเอียดก็คือว่าธรรมมีจริง เมื่อไหร่ เดี๋ยวนี้ก็มี เพราะฉะนั้น ศึกษาธรรมเพื่ออะไร เพื่อเข้าใจสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ อันนี้แน่นอน เพราะฉะนั้น แม้แต่ทุกคำที่ได้ยินต้องเป็นสิ่งที่ทำให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้เช่นพูดว่าเห็น ยังไม่ต้องใช้คำอะไรเลยทั้งสิ้น เห็นมีจริงๆ หรือเปล่า

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ สิ่งที่ปรากฏให้เห็นมีจริง หรือเปล่า

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ นี่คือความละเอียดแล้วใช่ไหม เพราะฉะนั้น สิ่งที่ปรากฏให้เห็นเป็นธรรม หรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ เพราะมีจริง แล้วก็เห็นเป็นธรรม หรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ แสดงว่าเราเริ่มรู้จักธรรม และเราศึกษาธรรมเพราะเรายังไม่ได้เข้าใจทั้งสิ่งที่ปรากฏให้เห็น และจิตเห็น นี่คือจุดประสงค์ของการฟังธรรมไม่ว่าจะไปฟังที่ไหนก็ต้องรู้ว่าธรรมมีจริงๆ ไม่ใช่พูดเรื่องสิ่งที่ไม่มี แม้เดี๋ยวนี้ก็ต้องมีธรรมแต่ไม่รู้ เพราะฉะนั้น จึงฟังคือศึกษาให้เข้าใจธรรมไม่ใช่ให้เข้าใจเรื่อง หรือไม่ใช่ให้เข้าใจชื่อ แต่เพื่อเข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ แต่ต้องใช้คำ ถ้าไม่ใช้คำก็ไม่มีการศึกษาใดๆ เลยทั้งสิ้นไม่มีการฟังไม่มีเรื่องราว แต่ต้องรู้ว่าขณะนี้พูดถึงธรรมที่มีจริง ทุกคำที่ได้ยินต้องเป็นสิ่งที่มีจริงในขณะนี้แน่นอน เพราะฉะนั้น พูดถึงเห็นมีจริงเป็นธรรม เห็นกับสิ่งที่ปรากฏให้เห็นเหมือนกันไหม

    ผู้ฟัง ไม่เหมือน

    ท่านอาจารย์ ยังไม่ต้องใช้ชื่ออะไรก็ไม่เหมือนใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น สิ่งที่ปรากฏให้เห็นจะปรากฏได้ไหมถ้าไม่มีเห็น

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ นี่คือการที่จะเริ่มเข้าใจธรรมที่มีในชีวิตประจำวันโดยยังไม่ต้องเรียกอะไรเลยก็ได้ใช่ไหม แต่เมื่อทั้งสองอย่างนี่ต่างกันแต่ทั้งสองอย่างก็เป็นสิ่งที่มีจริงแล้วก็เป็นธรรมแน่นอนเพราะมีจริงๆ จึงจำเป็นต้องใช้คำให้รู้ว่าหมายความถึงธรรมอะไร เพราะฉะนั้น สำหรับธรรมซึ่งไม่ใช่สภาพรู้แต่ปรากฏให้เห็นในขณะที่จิตเห็นเกิด หรือเสียงก็ไม่สามารถจะรู้อะไรได้แต่มีจริงๆ จริงเมื่อจิตได้ยินเกิดขึ้นได้ยินเสียงนั้นเมื่อสิ่งนั้นเกิดปรากฏ เพราะฉะนั้น เราก็ใช้คำที่จะให้เข้าใจว่าธรรมทั้งหลายต่างกันเป็นสองประเภทใหญ่ๆ เดี๋ยวนี้สภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรเลยมีแน่นอนแต่ว่าถ้าไม่มีธาตุที่รู้สิ่งใดๆ ก็ไม่ปรากฏเลย เพราะฉะนั้น ธาตุรู้มีที่ใช้คำว่า "ธาตุ" ก็คือธรรมอย่างหนึ่ง จะใช้คำว่า "ธาตุ" หรือคำว่า "ธรรม" ก็ได้ แต่ธาตุรู้ก็ยังต่างกันไปอีกเป็นธาตุที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งสิ่งที่กำลังปรากฏ นี่คือกำลังฟังธรรม หรือเปล่า กำลังศึกษาธรรม หรือเปล่า เพื่อให้เข้าใจอะไร เข้าใจสิ่งที่มีจริงที่กำลังเป็นธรรมในขณะนี้ ยังไม่ต้องใช้ชื่ออะไรใช่ไหม แต่ก็สามารถที่จะพูดถึงสิ่งที่มีให้เข้าใจได้ เพราะฉะนั้น เมื่อธาตุที่ไม่สามารถจะรู้อะไรทางตาก็ปรากฏก็ไม่รู้เพียงปรากฏให้เห็น ทางหูเสียงก็เพียงปรากฏแต่ไม่ได้รู้อะไรเลยทั้งสิ้น ธาตุที่ไม่สามารถจะรู้อะไรเลยทั้งหมดเกิดขึ้นแต่ไม่รู้เป็นรูปธาตุ นี่คือฟัง พอฟังอย่างนี้ แข็ง ปรากฏไหม

    ผู้ฟัง ปรากฏ

    ท่านอาจารย์ แข็งรู้อะไร หรือเปล่า

    ผู้ฟัง แข็งไม่รู้อะไร

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น แข็งเป็นอะไร

    ผู้ฟัง แข็งเป็นสภาพไม่รู้ชนิดหนึ่ง

    ท่านอาจารย์ เรียกว่าอะไร สภาพที่ไม่รู้

    ผู้ฟัง รูปธรรม

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เราก็สามารถที่จะเข้าใจแม้รูปธรรมอื่นๆ ได้ รส กลิ่น ใช่ไหม นี่คือการศึกษาธรรมให้เข้าใจตัวธรรมไม่ใช่มีแต่ชื่อธรรม แต่ว่าในขณะที่กลิ่นปรากฏถ้าไม่มีธาตุที่กำลังรู้กลิ่น แม้กลิ่นมีจริงจะปรากฏได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ธาตุรู้มีแน่นอนแต่เพราะเหตุว่าธาตุรู้ไม่ใช่มีแต่เฉพาะธาตุที่กำลังรู้สิ่งนั้น ยังมีธาตุที่เป็นนามธาตุเกิดร่วมด้วย เมื่อกี้ใช้คำว่า "ธาตุรู้" เกิดขึ้นแล้วต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด ตอนนี้ก็จำเป็นให้ต้องใช้คำเพื่อที่จะให้รู้ว่าธาตุรู้ เราจะใช้คำว่า "ธาตุรู้" ไปเรื่อยๆ ก็หลากหลายมากมายก็รวมเป็นนามธาตุ ธาตุใดก็ตามที่เกิดขึ้นรู้เป็นามธาตุไม่ใช่รูปธาตุ แต่นามธาตุก็ไม่ใช่มีแต่ธาตุที่กำลังเห็น เห็นแล้วก็ชอบบ้างไม่ชอบบ้างจำได้ หรือว่าคิดนึกถึงสิ่งที่เห็น หรืออะไรก็ตามแต่ทั้งหมดที่มีจริงไม่ใช่รูปธาตุ เพราะฉะนั้น ธาตุอื่นๆ ที่เกิดเป็นธาตุรู้แต่ละลักษณะก็เป็นประเภทนามธาตุ เพราะฉะนั้น ขณะนี้มีคุณชุมพรไหม

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ มีอะไร

    ผู้ฟัง มีธาตุ

    ท่านอาจารย์ ธาตุอะไรบ้าง

    ผู้ฟัง มีธาตุที่รู้กับธาตุที่ไม่รู้

    ท่านอาจารย์ ก็มีนามธาตุกับรูปธาตุ พอใช้คำนี้ ตอนนี้เราก็ใช้ต่อไปได้เพราะเราเข้าใจไม่ใช่จำ ว่านามธาตุคืออะไร รูปธาตุคืออะไร เพราะการศึกษาเพื่อให้มั่นคงว่าขณะนี้เป็นธรรม เป็นธาตุแต่ละอย่างซึ่งไม่พ้นไปจากนามธาตุ หรือรูปธาตุ สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามที่เกิดต้องเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดคือนามธาตุ หรือรูปธาตุ เพราะฉะนั้น ธาตุรู้ที่ใช้คำว่า "นามธาตุ" มีธาตุหนึ่งที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏ ขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏเพราะมีธาตุที่รู้แจ้งลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทางตา เสียงปรากฏไหม

    ผู้ฟัง ปรากฏ

    ท่านอาจารย์ ธาตุที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งลักษณะของเสียงไม่ได้จำไม่ได้อะไรเลยทั้งสิ้น เกิดเมื่อไหร่ก็รู้แจ้งลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ธาตุนั้นคือจิต จะใช้คำอื่นก็ได้ วิญญาณก็ได้ มโนก็ได้ มนัสก็ได้ หทยก็ได้แล้วแต่ แต่หมายความถึงธรรมอย่างเดียว หนึ่งอย่างที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฎซึ่งเราคุ้นกับคำว่า "จิต" แต่ยังไม่รู้จักจิต เพียงแต่รู้ว่ามีจิตแน่นอน เดี๋ยวนี้ก็มีใช่ไหม เพราะเห็น เพราะได้ยิน เห็นไม่ใช่สภาพที่ไม่เห็น หรือไม่คิดแต่เกิดขึ้นเห็นเป็นธาตุรู้ว่าขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏอย่างนี้เลย เพราะฉะนั้น เวลาที่จิตเห็นเกิดขึ้นนามธาตุที่เกิดกับจิตอาศัยกัน และกันเกิดขึ้น เพราะเหตุว่าถ้าศึกษาธรรมแล้วก็จะรู้ได้ว่าธรรมไม่อิสสระ เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แล้วแต่ว่ามีอะไรเป็นปัจจัยให้สภาพธรรมนั้นเกิด เพราะฉะนั้น จิตเกิดขึ้นพร้อมกับธาตุรู้ซึ่งเกิดร่วมด้วยเป็นปัจจัยให้จิตนั้นเกิดขึ้นพร้อมกันแต่ไม่ใช่จิต เพราะฉะนั้น นอกจากจิตซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทางหนึ่งทางใดไม่ว่าจะเป็นทางตา หรือทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย หรือทางใจ จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้เฉพาะสิ่งนั้น แต่เจตสิกคือนามธาตุซึ่งเกิดกับจิต อาศัยจิต ปรุงแต่งจิตให้เกิดขึ้นหลากหลายมากเป็นถึง ๕๒ ประเภท หรือลักษณะซึ่งแต่ละ ๑ นั้นไม่ใช่จิต เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมก็คือเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่เราไม่เคยรู้แต่มีทุกขณะว่าเป็นธรรม

    ผู้ฟัง จริงๆ แล้วเราศึกษาธรรมก็ห้ามไม่ได้ที่จะทำอย่างไรให้รู้ว่าอันนี้เป็นวิตักกะ อันนี้เป็นสัญญาซึ่งอาจตัวเราเองเข้าใจผิดก็ได้ เหมือนข้ามขั้นในสิ่งที่เราไม่สามารถที่จะรู้ได้ และเข้าใจผิดว่าเรารู้แล้ว

    ท่านอาจารย์ แต่ไม่ใช่จะทำอย่างไร ถูกต้องไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ และอีกอย่างหนึ่งที่ข้ามขั้นก็คือว่าเราฟังแล้วเรารู้เลยว่าเรารู้ไม่ได้ นี่คือปัญญา ฟังให้เข้าใจว่าเป็นอย่างนั้นแต่รู้ไม่ได้ แม้ในขณะนี้จิตมีแต่ยังรู้ไม่ได้ เพราะฉะนั้น การฟังธรรมคือรู้จักความตรง กำลังฟังถึงสิ่งที่มีแต่สิ่งที่มีก็ต้องถูกปิดบังด้วยอวิชชามานานแสนนาน เพียงฟังแล้วก็มีสิ่งนั้นแต่ก็ยังไม่สามารถที่จะเข้าถึงด้วยปัญญาที่จะรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งนั้นไม่เป็นสิ่งอื่น เช่นขณะนี้พูดถึงจิตเริ่มเห็นความต่างของจิตกับเจตสิกก่อน ถูกต้องไหม ว่าจิตเพียงเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งลักษณะของสิ่งที่ปรากฏไม่ว่าจะเป็นเสียง ไม่ว่าจะเป็นกลิ่น ไม่ว่าจะเป็นรส จิตเป็นสภาพที่รู้แจ้งลักษณะนั้น ไม่ต้องเรียกอะไรเลย แต่จะห้ามไม่ให้จิตรู้แจ้งลักษณะนั้นไม่ได้ หวานเราใช้คำนี้ แต่หวานมีหลายระดับไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จิตเป็นสภาพที่รู้แจ้งไม่ต้องใช้คำระดับไหนทั้งสิ้นใช่ไหม แล้วจะใช้คำไหนก็ไม่เท่าขณะที่จิตกำลังรู้แจ้งลักษณะนั้น เพราะฉะนั้น เริ่มเข้าใจจิตก่อน แล้วถึงจะสามารถเข้าใจจิตบางประเภทไม่ใช่ทั้งหมด จะเข้าใจจิตทั้งหมดได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ มากมายหลายประเภท และเวลาที่เริ่มเข้าใจจิตก็จะรู้ว่ามีสภาพธรรมที่เกิดกับจิตแต่ไม่ใช่จิต สภาพธรรมนั้นมี ๕๒ ประเภทใช้คำว่า "เจตสิก" ทั้งหมดทั้ง ๕๒ เพราะทั้ง ๕๒ นี่เกิดกับจิตจะไม่เกิดกับจิตไม่ได้เลย ต้องมีจิตเกิดแล้วเจตสิกทั้งก็เกิดกับจิต เกิดร่วมกับจิตในขณะนั้น เพราะฉะนั้น เวลานี้ใครรู้จักเจตสิกไหนบ้าง เห็นไหม นี่คือการฟังให้รู้ว่ามี แต่สามารถจะเข้าถึงลักษณะนั้นเพียงขั้นฟังไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น เพียงเข้าใจว่าจิตไม่ใช่เจตสิก เพราะฉะนั้น เวลาที่เริ่มศึกษาลักษณะของเจตสิกแต่ละอย่างเพื่อให้เห็นความละเอียด ความเป็นอนัตตาว่าใครจะไปเปลี่ยนแปลงลักษณะของเจตสิกแต่ละอย่างไม่ได้ จะห้ามไม่ให้เกิดไม่ให้ดับก็ไม่ได้ทั้งสิ้นเพราะเป็นธรรมซึ่งเป็นอนัตตา ฟังเพื่อเข้าใจให้มีความเข้าใจที่มั่นคงแล้วก็เวลาที่ศึกษา อย่างได้ยินคำว่า "วิตักกะ" ภาษาบาลีไม่ใช่ความหมายในภาษาไทย ภาษาไทยเราชอบตัดภาษาบาลี พยางค์หลังไม่พูดเลย ทุกขก็เป็นทุกข์ สุขก็เป็นสุข วิตักกะก็เป็นวิตก และคนไทยก็ตามใจชอบคิดเอง วิตกคืออะไร วิตกกังวลใช่ไหม เป็นห่วงเป็นใย ถ้าไม่ศึกษาจะรู้ไหมว่าไม่ใช่อย่างนั้นเลย เห็นไหมทั้งหมดเพื่ออะไร เพื่อเข้าใจถูกในความละเอียดยิ่งของธรรมซึ่งเป็นนามธรรม และเป็นรูปธรรมไม่ใช่เป็นเรา เพื่อจะได้ถึงสามารถละการยึดถือรูปธรรมนามธรรมได้เมื่อมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นแต่ ไม่ได้หมายความว่าฟังวันนี้ให้เราไปรู้จักวิตักกะเจตสิกโดยถามว่าทำอย่างไรจะรู้จักวิตักกะเจตสิกแต่เข้าใจว่าวิตักกะเจตสิกมีไม่ใช่เจตสิกอื่น ๕๑ ประเภทเพราะวิตักกะเป็น ๑ ของเจตสิกเท่านั้นแล้วก็ไม่ใช่จิตด้วย จิตที่ไม่ใช่จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตรู้รส จิตสิ่งที่กระทบสัมผัสกาย ชีวิตประจำวันไม่ได้กล่าวถึงจิตระดับสูงขึ้นไปอีกเพียงแต่ชีวิตประจำวันตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่พ้นจากการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่นการลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส การคิดนึกถึงสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ขณะนั้นๆ ก็ต้องเป็นความละเอียดยิ่งของธรรม ซึ่งถ้าไม่ศึกษาจะไม่รู้มีจิต และเจตสิก เพราะฉะนั้น เพิ่มอีกนิดหนึ่งให้เข้าใจความละเอียดขึ้น จิตเห็น เป็นกุศลวิบาก ๑ เป็นอกุศลวิบาก ๑ นี่ก็กล่าวถึงคำซึ่งคนใหม่ไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้น เห็นสิ่งที่ดีเป็นผลของกุศลต้องเห็น ไม่เห็นไม่ได้ เวลาที่เป็นสิ่งที่ไม่ดีอกุศลกรรมที่ได้ทำแล้วเป็นปัจจัยให้ต้องเห็นสิ่งนั้นบังคับบัญชาไม่ได้ ที่กล่าวอย่างนี้เพื่อให้รู้ว่าขณะที่เห็นชั่วเห็น ชั่วได้ยิน ชั่วได้กลิ่น ชั่วลิ้มรส ชั่วรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกายไม่มีวิตักกะเจตสิกเกิดร่วมด้วย ยังไม่ได้รู้จักลักษณะของวิตักกะเลยเพียงได้ยินชื่อ และก็รู้ว่าเกิดเมื่อไหร่บ้างกับจิตขณะไหนบ้าง เพราะฉะนั้น วิตักกะเจตสิกไม่ใช่เจตสิกที่เกิดกับจิตเหล่านี้ ละถ้าสามารถที่จะเข้าใจได้ ว่าชีวิตวันหนึ่งๆ หลากหลายมากเป็นจิตประเภทต่างๆ ยังไม่ต้องพูดถึงเจตสิก แค่จิตประเภทต่างๆ ก็ยังไม่รู้เลยใช่ไหม ว่าวันนี้ตั้งแต่ตื่นมาเห็นก็มีเพราะอะไร เป็นการอุบัติเกิดขึ้นของสิ่งที่กระทบจักขุปสาทซึ่งเกิด ถึงกาลที่จิตเห็นจะเกิดเพราะเป็นผลของกรรมจิตเห็นก็เกิดขึ้นเห็น เป็นการอุบัติขึ้นโดยกรรมเป็นปัจจัยของจิตเห็น แต่ก็ต้องมีปัจจัยคือสิ่งที่ปรากฏที่กระทบจักขุปสาท ถ้าเป็นสิ่งที่น่าพอใจกุศลกรรมนั่นเองที่เป็นปัจจัยให้จักขุวิญญาณคือจิตเห็นเกิดขึ้นเห็นสิ่งนั้น โดยใครหลีกเลี่ยงได้ที่จะไม่เห็น หรือไม่ได้ยิน นอนหลับสนิทเสียงฟ้าร้องใครไปบอกว่าตื่นให้ได้ยิน หรือหลับต่อไปไม่ได้ยิน ได้ยินก็มีไม่ได้ยินก็มีแล้วแต่การอุบัติขึ้นของสภาพธรรมซึ่งเป็นปัจจัยที่จะทำให้กรรมทำให้ผลของกรรมเกิดขึ้น ฟ้าแลบกำลังนอนหลับสนิทตื่นขึ้นเห็นได้ไหม ถึงกาลบังคับไม่ได้เลย ไม่เหมือนกับเห็นแล้วคิดต่างๆ นานาได้ แต่เห็นต้องเห็นสิ่งที่อุบัติขึ้นประจวบกัน และก็กรรมเป็นปัจจัย ซึ่งนี่เป็นเหตุที่ว่าจักขุวิญญาณ โสตะวิญญาณ ฆานะวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณซึ่งใช้คำภาษาบาลีแต่จักขุวิญญาณคือเห็น โสตะวิญญาณคือได้ยิน ฆานะวิญญาณคือได้กลิ่น ชิวหาวิญญาณคือลิ้มรส กายวิญญาณคือรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส นี่เป็นเหตุที่จิต ๑๐ ดวงนี้ไม่มีวิตักกะเจตสิกเกิดร่วมด้วย ต้องเข้าใจละเอียดแล้วถึงจะรู้ว่าทำไมเพียงชั่วขณะที่ละเอียดมากของการเกิดดับของจิต ชั่วขณะเดียวที่ดับไปเป็นปัจจัยให้ขณะต่อไปเกิดโดยต้องมีวิตักกะเจตสิกเกิดร่วมด้วยทั้งๆ ที่ขณะนี้ลักษณะของวิตักกะเจตสิกก็ไม่ได้ปรากฏใช่ไหม วิตักกะเจตสิกมีหลังจากที่จักขุวิญญาณดับจิตขณะต่อไปเกิดพร้อมกับวิตักกะเจตสิกก็ไม่รู้ แต่ฟังเพื่อให้เข้าใจความเป็นอนัตตา ความเป็นธรรมที่จะต้องเป็นไปโดยใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่ไม่ใช่ฟังแล้วทำอย่างไรจะรู้วิตักกะเจตสิก แต่ทำเพื่อเข้าใจตามความเป็นจริงว่าจิตหลากหลายจึงใช้คำเป็นชื่อให้รู้จิตแต่ละจิตเพื่อให้รู้ความต่างกันของจิต แม้แต่เจตสิกแต่ละ ๑ ก็ให้รู้ว่าไม่ใช่เจตสิกเดียวกัน เพราะว่าเมื่อสิ่งที่ปรากฏ จิตเกิดขึ้นเห็นแล้วสิ่งที่ปรากฏยังไม่ดับ กรรมเป็นปัจจัยที่จะทำให้ผลของกรรมเกิดขึ้นรับรู้สิ่งนั้นต่อเปลี่ยนไม่ได้เลยต้องรู้สิ่งนั้นต่อแต่ไม่เห็น ไม่ใช่ทำทัสสนกิจ ไม่ใช่จิตเห็นจึงมีวิตักกะที่จรด หรือปรากฏในสิ่งที่จิตเห็นแล้ว จิตเห็นแล้วดับไปอารมณ์ยังไม่ดับแต่จากจิตที่เห็นแล้วไม่ใช่ไม่เห็น เพราะฉะนั้น สัมปฏิจฉันนะจึงต้องเกิดต่อจากจิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เป็นนิยามของจิตที่จะต้องเกิดขึ้นเป็นไปตามลำดับต้องอาศัยวิตักกะเจตสิกเพราะไม่ใช่การอุบัติขึ้นที่จะทำให้เกิดจักขุวิญญาณที่ทำทัสสนกิจ นี่ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจในความละเอียดที่เป็นธรรมทั้งหมดไม่ใช่เรา แต่ไม่ใช่จะไปรู้จักวิตักกะเจตสิก หรือว่าไปมีวิตักกะเจตสิกเป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้น เราสามารถที่จะรู้จักปัญญาที่ได้สะสมมาตามความเป็นจริงใช่ไหม ไม่สามารถที่จะรู้วิตักกะเจตสิกได้แต่ใครรู้ ผู้ที่ได้ปฐมฌานรู้ ออกจากปฐมฌานพิจารณาวิตักกะเจตสิก วิจารเจตสิกองค์ของฌาน ปีติเจตสิก สุข เอกัคคตา เห็นไหมว่าปัญญาต่างกัน ระดับต่างกัน แล้วใครตรัสรู้ความจริงโดยละเอียดที่ทำให้เราสามารถเริ่มเข้าใจว่าเป็นธรรมยังไม่หมดกิเลสแน่ๆ เพราะเพียงฟังปริยัติรอบรู้ในสิ่งที่ได้ฟังในความเป็นจริงที่มั่นคงจึงจะเป็นสัจจญาณ ถ้าไม่มีสัจจญาณ กิจจญาณก็เกิดไม่ได้ไปบอกกันว่ามาปฏิบัติมาช่วยกันปฏิบัติ มาปฏิบัติแล้วรู้อะไร ถ้าไม่เป็นความเข้าใจจะรู้อะไรเพราะเข้าใจก็คือรู้ปัญญา หรือปัญญาก็คือเข้าใจนั่นเอง ปัญญาที่ไม่เข้าใจมีไหม ไม่มีเลยแต่ภาษาไทยใช้คำว่า "เข้าใจ" แต่เราข้ามความเข้าใจ เรามุ่งที่จะไปสะสมปัญญา หรือทำให้ปัญญาเกิดขึ้น แต่ขณะนี้เข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ หรือยังถ้ายังก็คือฟังจนกว่าจะเริ่มรู้ว่าขณะนี้ ชั่วขณะนี้มีสิ่งเดียวที่ปรากฏสิ่งอื่นยังไม่ปรากฏ และสิ่งเดียวที่ปรากฏจิตเกิดดับเท่าไหร่แล้วทั้งปัญจทวาราวัชชนจิต จักขุวิญญาณ สัมปฏิจฉันนะ สันตรีรณะ โวฏฐัพพนะ อกุศลเกิดแล้วอย่างเร็วโดยไม่รู้เลย เพราะฉะนั้น การฟังธรรมเพื่อเข้าใจธรรม เพื่อที่จะรู้ว่าไม่ใช่เรา


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 175
    13 ม.ค. 2567