พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 632


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๓๒

    ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓


    ท่านอาจารย์ ปัญญาเท่านั้นที่สามารถจะรู้ความจริง และขณะใดที่มีความเห็นถูกขณะนั้นก็ละความสงสัย ความเห็นผิด และความไม่รู้

    อ.คำปั่น อย่างในสมัยที่พระโพธิสัตว์ก็คือท่านสุเมธดาบสได้รับพยากรณ์จากพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าในสี่อสงไขยแสนกัปป์ท่านสุเมธดาบสจะได้เป็นพระพุทธเจ้าคือพระสมณโคดมคือพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้ ชาวเมืองในครั้งนั้นได้ฟังการพยากรณ์ที่พระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ท่านสุเมธดาบสชาวเมืองนั้นก็เกิดความดีใจว่าถ้าหากว่าไม่ได้บรรลุธรรมในสมัยพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยังมีพระพุทธเจ้าในสี่อสงไขยแสนกัปป์ข้างหน้าก็คือพระสมโคดม ก็อยากให้ท่านอาจารย์ได้สนทนาถึงประโยชน์ของการที่จะค่อยๆ สะสมปัญญาไปตามลำดับ ดูเหมือนว่าท่านเหล่านั้นไม่มีความท้อแท้ใจเลยว่าจะอีกนานเท่าไหร่ เพราะเหตุว่าพระอริยสาวกแต่ละท่านๆ เมื่อศึกษาประวัติของท่านแล้วก็จะเห็นว่าล้วนเป็นผู้ที่ได้อบรมบารมี ได้สะสมปัญญามาแล้วทั้งนั้นเลย

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องของสัจจะความจริงใจ ฟังธรรมเพื่ออะไร ถ้าเพื่อที่จะเข้าใจสิ่งที่ได้ฟัง เข้าใจหมด หรือยังในสิ่งที่ได้ฟัง แม้แต่คำว่าธรรมสิ่งที่มีจริง เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป แค่นี้พอใจ หรือยัง หรือว่าช้าอย่างไรที่จะเข้าใจจริงๆ ว่าอะไรเป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย เห็นมีจริงๆ ก็ต้องเป็นธรรม คิดนึกมีจริงๆ ก็ต้องเป็นธรรมเกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยแล้วก็ดับไป แต่เมื่อยังไม่ได้ประจักษ์ความจริงของสภาพธรรมเพียงเริ่มที่จะเข้าใจ เพราะฉะนั้น เห็นได้ว่าความรู้ขั้นเข้าใจนี่ไม่ใช่การประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรม เพราะฉะนั้น จะช้า ใคร ช้า หรือว่าเป็นธรรมซึ่งเป็นอวิชชาสะสมมานานมากแล้วก็ยึดถือสภาพธรรมด้วยความไม่รู้ว่าเป็นเราเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง เพราะฉะนั้น กว่าจะค่อยๆ รู้ค่อยๆ เข้าใจจนกระทั่งหมดความสงสัย และประจักษ์ความจริงซึ่งกำลังเกิดดับในขณะนี้ได้ และจะเร็วได้อย่างไร และอะไรที่คิดว่าช้า นอกจากความเป็นเราความเป็นตัวตน เพราะฉะนั้น เมื่อไม่ตรงต่อธรรม คือไม่ได้ฟังธรรมเพื่อเข้าใจธรรม แต่ฟังด้วยความเป็นเราที่ต้องการผลจากการฟัง ฟังแล้วก็จะต้องเป็นคนดี ฟังแล้วก็จะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ หรือว่าจะไปใช้ธรรมเมื่อนั่นเมื่อนี่ ก็คือไม่ได้เข้าใจว่าธรรมเป็นธรรม เพราะฉะนั้น ไม่มีวันที่จะรู้จักธรรม เพราะเหตุว่าไม่เป็นผู้ที่จริงใจ ในการที่เมื่อไม่รู้จึงฟัง ฟังเพื่อรู้เพื่อเข้าใจได้ถูกต้อง เพราะฉะนั้น ต้องเป็นผู้ที่ตรงจึงจะได้สาระจากธรรม แล้วทำไมต้องฟัง ประโยชน์อะไร ปัญญาตรงกันข้ามกับอวิชชา เวลาที่โลภะเกิดมีความติดข้องต้องการ ขณะนั้นที่โลภะเกิดจะรู้ไหมว่าเป็นอกุศล ไม่ได้เบาสบายเลย จากไม่มีอะไรปรากฏสบายว่างจากการที่จะต้องไปทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่นขณะที่นอนหลับสนิทไม่มีอะไรปรากฏให้กระวนกระวาย ให้ต้องการ ให้ติดข้อง แต่พอตื่นที่เราใช้คำว่าตื่นคือมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฏ เกิดอะไรขึ้น มีสิ่งที่ปรากฏแล้วติดข้องในสิ่งที่ปรากฏโดยไม่ทันจะรู้เลยว่ามีความพอใจมีความต้องการ ถ้าเห็นก็มีสิ่งที่ปรากฏให้ติดข้องต้องการ ได้ยินก็มีเสียงที่ปรากฏให้ติดข้องให้ต้องการ เพราะฉะนั้น ตลอดชีวิตรู้ หรือเปล่า ว่ามีความติดข้องต้องการในอะไร ในสิ่งที่ปรากฏนั่นเอง ในรูปสวยๆ ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในเรื่องราวต่างๆ โดยที่ไม่รู้เลยว่าถ้าไม่มีสิ่งต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นให้เดือดร้อนให้ติดข้อง ให้พอใจบ้างไม่พอใจบ้าง จะดีกว่าไหม เพียงเท่านี้ หลับไม่กุศลไม่ใช่อกุศล แต่ตื่นเป็นอกุศลอย่างไหนจะดีกว่ากัน มีข้อความตรงชัดเจนว่าหลับดีกว่าเป็นอกุศล เพราะเหตุว่าในขณะที่หลับไม่ได้สะสมอกุศลใดๆ เพิ่มขึ้นเลย แต่ว่าในขณะที่ตื่นมีความติดข้องโลภะ โทสะบ้าง น้อยขณะที่จะเป็นกุศล และกุศลก็เป็นไปในระดับของขั้นทานบ้าง ศีลบ้างเท่านั้นเอง ไม่ใช่การที่จะเห็นถูกต้องตามความเป็นจริงว่าอกุศลเมื่อไหร่กุศลเมื่อไหร่ ถ้ามีปัญญาสามารถจะเห็นธรรมละเอียดขึ้นละเอียดขึ้น คนที่เห็นโทษของอกุศล เห็นจริงๆ หรือเปล่า หรือเห็นด้วยความเป็นเรามีอกุศล ไม่อยากจะมีอกุศล เพราะฉะนั้น ก็พยายามที่จะเป็นกุศลเพื่ออะไร เพื่อจะได้ผลของกุศล ก็ไม่พ้นจากความเป็นเรา เพราะฉะนั้น ในขณะที่เป็นโลภะมีความติดข้อง ในขณะที่เป็นโทสะ ในขณะที่เป็นมานะ หรืออกุศลใดๆ ทั้งสิ้นไม่สามารถที่จะรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงได้ แต่ปัญญาเจตสิกเป็นธรรมที่มีจริง สามารถที่จะเข้าใจถูกเห็นถูกตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นๆ เพราะฉะนั้น เราจะไม่รู้เลยว่าการเกิดเลือกไม่ได้ จากโลกนี้ไปแน่ แต่จะเลือกไปไหนก็เลือกไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น กรรมที่ได้กระทำแล้วเมื่อเป็นอกุศลกรรมจะขอร้องสักเท่าไหร่ให้ไม่ไปสู่อบายภูมิ ไม่ไปนรก ไม่เป็นเปรต ไม่เป็นอสุรกาย ไม่เป็นสัตว์เดรัจฉานก็เป็นไปไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่าธรรมไม่มีใครสามารถบังคับบัญชาได้ ถ้าเหตุดีผลก็ดีแน่นอน ถ้าเหตุไม่ดีผลก็ต้องไม่ดี และผลไม่ดีไม่ต้องถึงนรกเพียงชาตินี้ก็มีผลที่ไม่ดีที่ปรากฏทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ตาก็ได้เห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจเลยก็มี หูก็ได้ยินเสียงที่ไม่น่าพอใจน่าตกใจ กลิ่นกองขยะมากๆ นี่ก็แย่แล้วใช่ไหม แล้วก็รสแล้วก็สิ่งที่กระทบสัมผัส จะเจ็บไข้ได้ป่วยวันไหน โรคร้ายแรงขนาดไหนก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ เพราะเหตุว่าเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยซึ่งคนอื่นทำให้ไม่ได้เลยนอกจากตัวเอง เพราะฉะนั้น ถ้าไม่รู้ความจริงอย่างนี้ชีวิตก็จะเป็นไปตามเหตุปัจจัย ถ้าใครทำกุศลไว้มากถึงกาละที่กุศลกรรมจะให้ผล ขณะนั้นก็จะมีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสที่น่าพอใจแต่ใจสะสมอกุศลไว้มากถึงแม้ว่าจะเห็นสิ่งที่น่าพอใจเป็นทุกข์ได้ไหม อยากได้เหลือเกิน บางคนอยากได้ไม่สามารถที่จะได้มาโดยทางสุจริตก็โดยทางทุจริต นี่ก็เห็นอยู่แล้วว่าการไม่เข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง ก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าสุข และทุกข์มาจากไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร แต่ถ้ามีปัญญารู้ก็เห็นโทษของอกุศล อย่างเมื่อวันก่อนก็พูดถึงคนที่รักษาศีล ดูเหมือนจะมีคนที่รักษาศีลกันอยู่บ้าง หรือว่าอาจเป็นประจำ บางคนก็สมาทานเลย ไม่ฆ่าสัตว์ไม่อะไรต่อต่างๆ ด้วยอะไร ด้วยปัญญาความเห็นที่ถูกต้องว่าเป็นอกุศลเป็นสิ่งที่ไม่ดีขณะนั้นเห็นความเสียในภายใน อะไรอยู่ภายในของทุกคน จิตภายในที่สุดไม่มีอะไรที่จะในยิ่งกว่าจิต เพราะฉะนั้น ถ้าเห็นโทษคือเห็นความเสียที่มีอยู่ในภายใน คือขณะนั้นเป็นอกุศลจิตแล้วละเว้นด้วยความละอาย หิริ เห็นโทษเป็นโอตตัปปะ แล้วก็ยังมีโสภณธรรมที่เกิดร่วมด้วยที่เป็นโสภณเจตสิกที่ทำให้ขณะนั้นเว้นทุจริต เว้นการฆ่า เว้นการเบียดเบียน และก็สามารถที่จะช่วยเหลือคนที่มีความทุกข์ได้ด้วยเพราะเห็นว่าทุกข์นั้นๆ เกิดเพราะอกุศล เพราะฉะนั้น ถ้าจะช่วยใครก็ช่วยให้เขาเกิดปัญญาที่สามารถที่จะนำให้เขาเห็นว่าอะไรเป็นกุศลอะไรเป็นอกุศล เป็นการช่วยถึงต้นตอไม่ใช่ช่วยเพียงปลายเหตุ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าปัญญาสามารถนำมาซึ่งความเห็นถูกในสภาพธรรมที่มีจริงโดยถ่องแท้โดยประการทั้งปวง โดยไม่เปลี่ยนแปลง และโดยสิ้นเชิงด้วย เพราะฉะนั้น ปัญญาก็ย่อมนำแต่สิ่งที่ดีงามมาให้เพราะว่าเห็นโทษของอกุศล นี่ก็คือการที่เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์ต่างกับสัตว์เดรัจฉานต่างกับผู้ที่เกิดในอบายภูมิ ไม่ว่าจะเป็นนรก หรือว่าเป็นเปรตอะไรก็ตามแต่ เขาไม่สามารถที่จะเข้าใจธรรม หรือแม้ว่าเกิดเป็นมนุษย์ก็แล้วแต่บุญกรรม บางคนก็ไม่ได้สะสมมาที่จะฟังพระธรรมบางคนฟังแล้วก็ยังไม่ฟังก็มี นี่ก็เป็นเรื่องของการสะสมที่ว่าไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงการสะสมที่มีเพียงชั่วครั้งชั่วคราว และกำลังของอกุศลก็มากกว่า เพราะฉะนั้น แม้ฟังถ้าฟังด้วยความเป็นตัวตน แล้วก็บอกว่าช้าไปทำอย่างอื่นเร็วกว่า ถูกต้อง หรือเปล่า ไม่ใช่ปัญญาเลย เพราะเหตุว่าช้าคืออะไร ช้าคืออยากได้ผล ผลคืออะไร อยากประจักษ์สภาพธรรมที่กำลังเกิดดับ แต่ไม่มีใครที่จะประจักษ์ได้นอกจากปัญญาความเห็นถูกที่ค่อยๆ เกิดขึ้น เจริญขึ้น เพิ่มขึ้นจึงละคลายความติดข้อง และความไม่รู้ในสิ่งที่ปรากฏเมื่อไหร่ สภาพธรรมจึงปรากฏตามความเป็นจริงได้เพราะว่าไม่ถูกปิดบังด้วยอวิชชาซึ่งเป็นความไม่รู้ และความติดข้องซึ่งมีความต้องการจะรู้อย่างยิ่งซึ่งขณะนั้นไม่ใช่เป็นความเห็นถูก ด้วยเหตุนี้ถ้าใครบอกว่าช้าเข้าใจธรรม หรือเปล่า คำพูดนั้นบอกได้เลยใช่ไหม ถ้าเข้าใจธรรม จะเร็วไหม เข้าใจจริงๆ ว่าเป็นธรรมทั้งๆ ที่เดี๋ยวนี้กำลังปรากฏไม่ใช่จำเพียงชื่อแล้วก็เรียกชื่อ แต่สภาวะธรรมที่เกิดเป็นธรรมแต่ละอย่างซึ่งมีลักษณะที่ต่างกัน ต้องเข้าใจจนทั่วจึงสามารถที่จะละคลายได้ แต่บังคับ หรือบอกคนที่ไม่สนใจให้สนใจได้ไหม

    อ.คำปั่น ก็ไม่สามารถที่จะบังคับบัญชาได้ ที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวเมื่อสักครู่นี้ก็แสดงให้เห็นประโยชน์ของการอบรมเจริญปัญญาอย่างแท้จริงเลย เพราะเหตุว่าได้สะสมอวิชชาซึ่งเป็นความไม่รู้มาอย่างเนิ่นนานทีเดียว การที่จะค่อยๆ ทำลาย หรือค่อยๆ ละคลายอวิชชาให้ออกจากจิตใจไปในทันทีทันใดนั้นก็ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย ก็จะต้องอาศัยกาลเวลาในการที่จะสะสมปัญญาสะสมความเข้าใจที่ถูกต้องไปตามลำดับ และที่สำคัญจุดประสงค์ของการศึกษาธรรมก็จะต้องตรงด้วยก็คือเพื่อความเข้าใจในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น ก็คือเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องเท่านั้น อันนี้คือเป็นประโยชน์จริงๆ ของการศึกษาพระธรรม และได้อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน

    ท่านอาจารย์ กำลังฟังธรรมเป็นกุศล แล้วกุศลก็ดับแล้วเป็นอกุศล แล้วความเข้าใจธรรมอยู่ที่ไหน อยากให้เป็นกุศล เป็นอกุศลอีกแล้ว แต่ถ้ารู้ว่าอกุศลที่เกิดก็เป็นธรรม เกิดแล้วเป็นอย่างนั้นตามเหตุตามปัจจัย ถ้ามีความเข้าใจขึ้นว่าเป็นธรรมต่อไปไม่ว่าจะเป็นธรรมอะไรที่ปรากฏก็สามารถที่จะเข้าใจได้ว่าเป็นธรรม นี่คือประโยชน์แท้จริงของการฟังธรรม

    ผู้ฟัง กราบเรียนท่านอาจารย์ ท่านผู้ฟังขอทราบรายละเอียดของศรัทธาว่าจำเป็นต้องมีปัญญาทุกๆ ครั้ง หรือไม่ ถ้าไม่มีปัญญาศรัทธาเกิดได้ หรือไม่

    ท่านอาจารย์ เชิญคุณธีรพันธ์

    อ.ธีรพันธ์ ศรัทธาเป็นเจตสิกธรรมที่เกิดกับโสภณธรรม ไม่ว่าเป็นจิตชาติกุศล วิบาก กิริยาก็สภาพธรรมที่ดีงามแล้วแต่ประเภทของกิริยา หรือว่าวิบาก หรือสภาพธรรมอื่นที่ดีงามอย่างเช่นกุศลจะต้องมีศรัทธาเกิดร่วมด้วยแน่นอน แต่ก็ไม่ได้หมายความทุกครั้งที่ศรัทธาเกิดขึ้นจะต้องมีปัญญาเกิดร่วมด้วย เพราะว่าถ้ามีปัญญาเกิดร่วมด้วยจะต้องรู้สภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง หรือแม้กระทั่งการอบรมการเจริญสมถภาวนาก็ต้องมีศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญาด้วยจึงจะเห็นโทษของอกุศล เจริญกุศลยิ่งขึ้นๆ เพราะฉะนั้น ที่เรียกว่าศรัทธาเกิดขึ้นถ้ามีศรัทธาเกิดร่วมด้วยขณะนั้นแสดงว่าจะต้องมีความรู้ความเข้าใจสภาพธรรม หรือว่าเป็นธรรมที่ดีงามที่มีปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริง หรือว่าฟังธรรมมีศรัทธาที่จะเข้าใจ หรือเปล่าก็เป็นเรื่องละเอียด

    ท่านอาจารย์ เพื่อที่จะรู้ว่ามีศรัทธา หรือว่าไม่มีศรัทธาก็ควรที่จะได้ทราบเรื่องของโสภณเจตสิก เจตสิกเป็นสภาพธรรมที่เกิดกับจิตก็แบ่งเป็นประเภทๆ สภาพธรรมที่ดีงามที่เกิดมี ๒๕ ประเภทเรียกว่าโสภณเจตสิก ๒๕ ในบรรดาโสภณเจตสิก ๒๕ ที่เป็นโสภณสาธารณหมายความว่าต้องเกิดกับสภาพธรรมที่เป็นจิตที่ดีงามไม่ว่าจะเป็นกุศลจิต วิบากจิตที่ประกอบด้วยโสภณเจตสิก และกิริยาจิตที่ประกอบด้วยโสภณเจตสิกก็ได้ หมายความว่าเจตสิกที่ดีงามเกิดกับกุศลจิตก็ได้วิบากจิตก็ได้ กิริยาจิตก็ได้นี่เป็นความละเอียดแต่ว่าในบรรดาโสภณสาธารณ ๑๙ ที่ต้องเกิดกับโสภณจิตทุกประเภทไม่กล่าวถึงความละเอียดเพราะตั้ง ๑๙ แต่อีก ๖ ไม่ได้เกิดกับโสภณจิตทุกครั้งเช่นการให้ทานขณะที่สติเกิดระลึกเป็นไปในการให้สิ่งที่เป็นประโยชน์กับคนอื่น วันหนึ่งๆ มีมากไหม เป็นผู้ที่ตรงแล้วแต่กุศลจิตเกิด หรือเปล่า ถ้ากุศลจิจเกิดขณะนั้นก็ต้องมีโสภณสาธารณ ๑๙ ประเภทต้องเกิดร่วมด้วยแน่นอน จะขาดโสภณสาธารณเจตสิก ๑ ใน ๑๙ ไม่ได้เลยแต่ว่าในขณะนั้นมีวิรตีเจตสิก เจตสิกที่วิรัติทุจริตทางกาย หรือว่าเจตสิกที่วิรัติทุจริตทางวาจา หรือเจตสิกที่วิรัติอาชีพที่ทุจริต หรือเปล่า เพราะฉะนั้น ก็มีสัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ สัมมากัมมันตะเป็นเรื่องของกาย เพราะว่าทุกคนมีกาย กายทุจริตเกิดเพราะอกุศลจิตโลภะบ้างโทสะบ้าง แต่ขณะใดที่วิรัติคือเว้นการกระทำด้วยกายในทางทุจริตขณะนั้นไม่ใช่เรา วิรตีเจตสิกเกิดที่ทำให้วิรัติขณะที่คนอื่นอาจทำ หรือกำลังเอื้อมมือไปจะทำด้วยอกุศลจิตแต่ก็ไม่ทำเพราะอะไร ไม่ใช่เรา สติ และเจตสิกที่เป็นวิรตีเจตสิกเกิด ถ้าเป็นทางวาจาก็ไม่เกี่ยวกับการที่จะให้วัตถุสิ่งของเพื่อประโยชน์สุขแก่คนอื่น แต่วาจานี่เจ็บไหม ไม่ได้ทำร้ายด้วยกายแต่วาจาฟังแล้วเจ็บ บางคนเจ็บไปจนตาย ไม่ลืมเลยเพียงแค่ได้ยินผ่านหูเท่านั้น จำไว้ทำไม ก็จำไม่ลืม เพราะฉะนั้น การทำร้ายด้วยวาจามีได้ หรือแม้แต่พระวินัยก็ยังมีได้ การพรรณาเรื่องของการที่จะให้บุคคลนั้นสิ้นชีวิตโดยวิธีการต่างๆ ก็แล้วแต่ นั่นก็เป็นเรื่องของวาจาซึ่งสามารถที่จะเบียดเบียนทำร้ายได้ ขณะที่เป็นอกุศลไม่มีโสภณเจตสิกเกิดร่วมด้วยเลย แต่เป็นกุศลก็แล้วแต่ว่าขณะนั้นกำลังจะกล่าวคำที่ไม่น่าฟังเลย เป็นนิสัยพูดบ่อยๆ ใช้คำไม่ดี ไม่ไพเราะแต่ก็ทำให้คนอื่นเดือดร้อนใจ แต่ถ้าระลึกได้ฟังแล้วก็เห็นโทษว่าเบียดเบียนคนอื่น หรือเปล่า เราอยากจะได้ยินคำอย่างนั้นไหม ถ้าเราไม่อยากจะได้ยิน และคนอื่นได้ยินเหมือนกันไหม เขาจะรู้สึกไม่สบายใจแต่ถ้ามีคำพูดที่ทำให้คนอื่นสบายใจแล้วเว้นคำพูดที่ทำให้คนอื่นไม่สบายใจ ขณะนั้นไม่ใช่เราแต่วิรตีเจตสิกคือสัมมาวาจาเกิดขึ้น ทางกายก็เป็นสัมมากัมมันตะ ทางวาจาก็เป็นสัมมาวาจาเจตสิกเกิด และในเรื่องของการเลี้ยงชีพก็เป็นสิ่งที่สำคัญว่าการเลี้ยงชีพ ชีวิตเป็นสิ่งที่จะดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร สิ่งสำคัญที่สุดที่ทุกคนต้องแสวงหาเพื่อที่จะดำรงชีวิตอยู่ก็คืออาหาร ในอดีตกาลก็ไม่มีเสื้อผ้าที่สวยงาม ไม่มีเครื่องประดับตกแต่งอะไรเลยก็อยู่ได้แต่ต้องมีอาหาร ถ้าเกิดมาแล้วไม่มีอาหารจะดำรงอยู่ไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ชีวิตเป็นสิ่งที่จะต้องดำรงอยู่ด้วยการแสวงหา แต่การแสวงหาในทางทุจริตขณะนั้นเป็นอกุศล และอะไรจะวิรัติทุจริตในการที่จะต้องแสวงหาอาหารที่จะเลี้ยงชีพก็คือสัมมาอาชีวะเป็นเจตสิก ๑ ใน ๓ วิรตี เพราะฉะนั้น วิรตีคือสภาพธรรมที่วิรัติทุจริตก็มี ๓ อย่างคือทางกาย ๑ สัมมากัมมันตะ ทางวาจา ๑ ก็สัมมาวาจา และอาชีพในการที่จะต้องดำรงชีวิตก็คือสัมมาอาชีวะ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่ามีวิรตีเจตสิกเกิด หรือเปล่า ๑ ใน ๓ เมื่อไหร่ อย่างไร ขณะนั้นก็แสดงให้เห็นว่าไม่ใช่กุศลทั้งหมดจะมีวิรตีเจตสิกทั้ง ๓ หรือ ๑ ใน ๓ เกิดเพราะว่าทั้ง ๓ อย่างนี้เกิดไม่พร้อมกัน ขณะที่เป็นเรื่องของกายก็เป็นสัมมากัมมันตะ ขณะที่เป็นทางวาจาก็เป็นสัมมาวาจา ขณะที่เป็นในเรื่องของการเลี้ยงชีวิตก็เป็นสัมมาอาชีวะ เพราะฉะนั้นทั้ง ๓ วิรตีไม่ได้เกิดพร้อมกันแต่จะเกิดกับจิตทีละ ๑ วิรตี จะพร้อมกันเมื่อถึงโลกุตตระจิตพร้อมกันที่จะวิรัติทุจริตเป็นสมุทเฉทไม่เกิดอีกเลย ตามคุณธรรม หรือตามกำลังของปัญญาที่ทำให้ถึงกาลเป็นพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ และเจตสิกที่เป็นโสภณเจตสิกอีก ๑ ที่ไม่ได้เกิดกับโสภณจิตทุกประเภทแต่เกิดเมื่อไหร่ก็คือขณะนั้นเป็นจิตที่ประกอบด้วยปัญญาเจตสิก เพราะฉะนั้น ๖ เจตสิกซึ่งไม่สาธารณกับกุศลจิตไม่หมายว่าต้องเกิดทุกครั้ง แต่จะเกิดกับอกุศลไม่ได้ต้องเกิดกับจิตฝ่ายดี แต่จะเกิด หรือไม่เกิดแล้วแต่ว่าขณะนั้นมีปัจจัยที่จะเกิด หรือไม่ ก็คงจะจำได้สำหรับ ๖ เจตสิกได้แก่กรุณาเจตสิก ๑ มุทิตาเจตสิก ๑ วิรตีเจตสิก ๓ ปัญญาเจตสิก ๑ ก็เป็น ๖ เจตสิกซึ่งไม่ได้เกิดทั่วไปกับจิตที่เป็นจิตฝ่ายดี แต่จะเกิดเมื่อไหร่ก็หมายความว่าขณะใดที่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยขณะนั้นจิตนั้นก็ชื่อว่าประกอบด้วยปัญญา ภาษาบาลีใช้คำว่า "ญาณสัมปยุต" เกิดร่วม หรือพร้อมกับปัญญาเจตสิก ถ้าปัญญาไม่เกิดจะไปบอกว่าจิตนั้นเป็นญาณสัมปยุตไม่ได้ นั่นคือภาษาบาลีแต่ภาษาไทยคือจิตนั้นไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยพูดภาษาไทยแต่เป็นภาษาบาลีก็ "ญาณวิปปยุต" แต่ไม่ใช่ไปจำว่าญาณวิปปยุต หรืออะไรๆ อย่างนั้นแต่ให้เข้าใจความหมายว่าคืออะไร เมื่อไหร่ เพราะฉะนั้น ก็เป็นที่ชัดเจนว่า ๖ เจตสิกซึ่งเป็นโสภณเจตสิกไม่ได้เกิดขึ้นกับจิตที่ดีงามทุกครั้ง แต่ว่าบางครั้งก็เกิดบางครั้งก็ไม่เกิด

    ผู้ฟัง เรียนถามท่านอาจารย์ เมื่อกี้ที่กล่าวถึงโสภณเจตสิก ๖ ที่ไม่ได้เกิดกับกุศลจิตทุกครั้งที่มีกุศลจิตเกิดที่บอกว่าอัปปมัญญา ๒ แล้วก็วิรตี ๓ และปัญญา ๑ ใช่ไหม ตรงที่วิรตี ๓ เวลาเกิดเราก็รู้ว่าเว้นจากโน่นจากนี่ จากกาย วาจา หรือว่าอาชีพที่ทุจริตใช่ไหม แต่อัปปมัญญาเขาเกิดเขาก็เกิดแค่นั้น อย่างกรุณาถ้าหากไม่มีอะไรเกิดต่อก็แค่กรุณาเท่านั้นก็จบไปไม่มีเกิดขึ้น อย่างที่เฮติเราเห็นเขาเราก็สงสารก็กรุณาแต่ถ้าเกิดว่าไม่ได้ให้ หรือบริจาคอะไรก็จบแค่นั้นเอง

    ท่านอาจารย์ จิตเกิดแล้วดับไหม

    ผู้ฟัง เกิดแล้วดับ

    ท่านอาจารย์ แล้วจะให้กลับมาอีกได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เพราะฉะนั้น เวลานี้ที่กำลังฟังธรรมมีวิรตีเจตสิกเกิดร่วมด้วย หรือเปล่า


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 175
    13 ม.ค. 2567