พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 638


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๓๘

    ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓


    ท่านอาจารย์ การฟังธรรมไม่ใช่ให้เราได้ยินคำเยอะๆ แล้วก็ไปสงสัยแล้วก็ไปสับสน เพราะฉะนั้น การฟังคือเข้าใจในสิ่งที่ได้ฟัง อย่างพูดถึงจิตก็พอจะรู้ใช่ไหม เป็นธาตุที่เกิดขึ้นรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กำลังปรากฏว่ามีจริงๆ ขณะนี้จิตเกิดขึ้นเห็นต้องมีธาตุที่สามารถที่จะเห็นซึ่งใช้คำว่า "จิต" เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ทำไมทรงแสดงพระธรรมถึง ๔๕ พรรษา ง่าย หรือเปล่าที่จะเข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงๆ หรือว่าต้องแสดงโดยความหลากหลายมากมาย แต่ถึงแม้ว่าจะแสดงโดยความหลากหลายมากมาย ผู้ฟังต้องมีความเข้าใจในสิ่งที่ได้ยินได้ฟังจริงๆ อย่าเผินแล้วก็อย่าสับสนอย่าคิดว่าเข้าใจแล้ว ตอนนี้ก็มีจะคำที่ควรจะได้เข้าใจที่พูดกันแล้วคือคำว่า "วิถีจิต" จิตทุกจิตเป็นธาตุรู้เกิดขึ้นแล้วต้องรู้ จะเป็นวิถีจิต หรือเป็นจิตชื่ออะไรๆ ก็ตามแต่จิตต้องเป็นธาตุรู้ แต่ทำไมมีคำว่า "วิถีจิต" เมื่อมีคำว่า "วิถีจิต" ก็ต้องมีจิตที่ไม่ใช่วิถีจิต เพราะกล่าวถึงวิถีจิตก็เป็นจิตประเภทหนึ่ง ส่วนจิตอื่นที่ไม่ใช่วิถีจิตก็ต้องมี เพราะฉะนั้น ประการแรกคือทราบว่าเมื่อจิตเป็นธาตุรู้เกิดขึ้นต้องรู้ จิตเกิดครั้งแรกขณะแรกคือปฏิสนธิหมายความว่าสืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อน ปฏิสนธิจิตเป็นจิต สิ่งใดก็ตามที่จิตกำลังรู้สิ่งนั้นใช้คำว่าอารัมมณะ อารัมพนะก็ได้ ภาษาไทยก็เรียกย่อๆ ว่าอารมณ์ เพราะฉะนั้น ถ้ามีจิตซึ่งเป็นธาตุรู้เกิดขึ้น ต้องมีสิ่งที่จิตกำลังรู้แน่นอน ผิด หรือถูก คือทุกอย่างนี่ต้องไตร่ตรองเมื่อเป็นความจริงแล้วเปลี่ยนความจริงนั้นไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น จิตไม่ว่าจะเป็นจิตประเภทใด เมื่อไหร่ ที่ไหนเกิดขึ้นแล้วต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กำลังปรากฏ ขณะที่จุติจิตคือขณะจิตสุดท้ายของชาตินี้ดับไป ไม่มีจิตเกิดต่อได้ไหม ตราบใดที่มีปัจจัย จิตหนึ่งขณะที่ดับไปแล้วก็เป็นปัจจัยทำให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้นแต่ละขณะจนถึงขณะสุดท้ายคือจุติจิตของพระอรหันต์เท่านั้นที่จะไม่มีจิตเกิดดับอีกต่อไป เพราะนั้น แต่ละคนเกิดมาก็ต้องเกิดมาสืบต่อจากชาติก่อนที่จากมาแล้วก็ขณะแรกของชาตินี้เกิดแล้วแน่นอน ขณะนั้นเมื่อเป็นจิตที่เกิดสืบต่อจากจุติจิตคือจิตขณะสุดท้ายของชาติก่อน จิตขณะแรกซึ่งเกิดสืบต่อจากจุติของชาติก่อน รู้อะไร หรือเปล่า จิตเป็น สภาพรู้เป็นธาตุรู้จะเกิดเป็นจิตโดยไม่รู้อะไรได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ ต้องมีความมั่นคงถึงจะสามารถเข้าใจคำต่อๆ ไปเช่นคำว่าวิถีจิต เพราะฉะนั้น จิตจะเกิดที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไรก็ตามเป็นธาตุชนิดหนึ่งมีปัจจัยเกิดขึ้นรู้ แต่ขณะแรกที่จิตเกิดขึ้น สิ่งที่จิตรู้ไม่ปรากฏ เพราะว่าไม่ได้อาศัยตา หรือหู หรือจมูก หรือลิ้น หรือกาย หรือแม้ใจที่จะคิดนึกใดๆ ทั้งสิ้น แต่ว่าเป็นวิบากจิตคือเป็นผลของกรรมที่ต้องเกิดตามกรรมที่ได้กระทำแล้ว แล้วแต่ว่ากรรมที่ทำให้ปฏิสนธินั้นจะประมวลซึ่งกรรมทั้งหลายที่สามารถที่จะให้ผลซึ่งเป็นวิบากเกิดขึ้นในชาตินั้น และกิเลสทั้งหลายที่ได้สะสมมา เมื่อมีปฏิสนธิแล้วภายหลังกิเลสทั้งหลายก็จะปรากฏตามการสะสม ไม่ใช่ว่าเกิดมาแล้วไม่มีอะไร แต่เมื่อมีปฏิสนธิก็ต้องมีปวัตติ ปวัตติคือการสืบต่อเกิดแล้วเป็นอะไรก็ตามจิตนั้นดับไปก็จะมีการเกิดดับสืบต่อเป็นไป จนกว่าจะสิ้นสุดกรรมที่ทำให้เป็นบุคคลนี้ เพราะฉะนั้น จะกล่าวว่าปฏิสนธิจิตไม่รู้อารมณ์ได้ไหม ไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิจิตมีอารมณ์ที่เพราะไม่ได้อาศัยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อารมณ์นั้นจึงไม่ปรากฏจึงไม่ใช่วิถีจิต เป็นจิตจริง รู้อารมณ์จริงแต่ไม่ใช่วิถีจิตเพราะเหตุว่าถ้าเป็นวิถีจิตต้องอาศัยตาเกิดขึ้นเห็น และจิตใดๆ ก็ตามซึ่งมีสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอารมณ์คือรู้สิ่งที่ยังไม่ดับไปเป็นวิถีจิตทั้งหมด เพราะฉะนั้น จิตที่ไม่ใช่วิถีก็มีปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น แล้วก็ภวังคจิตเมื่อไม่ได้อาศัยอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจแต่จิตก็เกิดดับดำรงภพชาติเพื่อจะเห็น เพื่อจะได้ยิน เพื่อที่จะคิดนึกต่อไป เพราะฉะนั้น จิตที่ไม่ใช่วิถีจิตก็มี ๓ ประเภท หรือ ๓ ขณะก็ได้ คือปฏิสนธิขณะเป็นประเภทหนึ่งดับไปแล้ว กรรมเป็นปัจจัยทำให้จิตประเภทเดียวกันนั้นแหละเกิดสืบต่อเป็นวิบากดำรงภพชาติ แม้ไม่เห็น ไม่ได้ยินก็ยังต้องตายไม่ได้ ยังมีจิตที่เกิดดับประเภทเดียวกับปฏิสนธิจิตดำรงความเป็นบุคคลนั้นไม่เปลี่ยนเป็นบุคคลอื่น จนกว่าจะถึงจุติจิตคือขณะสุดท้ายซึ่งทำให้สิ้นสุดความเป็นบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น ในขณะที่ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นอารมณ์ไม่ปรากฏ แต่จิตเกิดขึ้นต้องรู้อารมณ์ ภวังคจิตซึ่งเกิดดับสืบต่อไม่ใช่อารมณ์ที่ปรากฏให้จิตนั้นรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะเหตุว่าปฏิสนธิจิตมีเพียงหนึ่งขณะดับเร็วแค่ไหน หนึ่งขณะ แล้วก็เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิด ยังไม่เห็นเลยเพียงแต่ดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิจิตมีอารมณ์เดียวกับภวังคจิตเป็นวิบากซึ่งเกิดจากกรรมเดียวกัน ที่จะทำให้เราเกิดมาแล้วไม่เห็นไม่ได้ยินอะไรเลยทั้งสิ้นไม่คิดนึก แต่จะเป็นอย่างนั้นตลอดไปไม่ได้เพราะเหตุว่ามีปัจจัยที่กรรมต้องทำให้จิตเห็นเกิด จะเห็นอะไรของแต่ละบุคคลเมื่อไหร่กาละไหนก็ตามแต่ และกรรมก็เป็นปัจจัยให้จิตได้ยินเกิด จะไม่มีจิตเห็น จิตได้ยินไม่ได้เลยเพราะจิตเหล่านี้เป็นวิบากเป็นผลของกรรมที่ต้องเห็น ต้องได้ยิน ต้องได้กลิ่น ต้องลิ้มรส ต้องรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เป็นวิถีจิตเพราะเหตุว่าอาศัยตากำลังรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ ต่อเมื่อไหร่สิ่งที่ปรากฏดับ จะเห็นก็ไม่ได้ และจิตอื่นที่เกิดต่อจากจิตเห็นจะสามารถชอบ ไม่ชอบในสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็นก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ขณะใดก็ตามที่ไม่มีสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และไม่ได้คิดนึกขณะนั้นไม่ใช่วิถีจิต วิถีจิตใช้ต่อเมื่อรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใดแต่ละขณะเป็นวิถี เช่นขณะแรกที่เกิดก่อนจักขุวิญญาณเป็นปัญทวาราวัชชจิต หรือถ้าเป็นทางตาจะใช้คำว่าจักขุทวาราวัชชจิตเป็นวิถีจิตแรกหมายความว่าไม่ใช่ภวังค์เพราะเหตุว่าจิตที่ไม่ใช่วิถีก็คือปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิตเท่านั้น จะได้ไม่สับสนเรื่องวิถีจิต เรื่องมโนทวารวิถิ จักขุทวารวิถี โสตทวารวิถี ไม่ต้องเข้าใจมากมายเพียงแต่ให้มีความเข้าใจว่าถ้าจะแบ่งใหญ่ๆ จิตมี ๒ ประเภทคือจิตที่เป็นวิถีจิตกับจิตที่ไม่ใช่วิถีอย่าเพิ่งไปไกลแต่มีความเข้าใจจริงๆ ว่าที่ใช้คำว่าวิถีจิตเพราะไม่เหมือนภวังคจิต และปฏิสนธิจิตซึ่งอารมณ์ไม่ปรากฏแต่มีอารมณ์ที่ปรากฏทางหนึ่งทางใดโดยจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใดจนกว่าอารมณ์ที่ปรากฏให้รู้นั้นจะดับไปก็ต้องไม่สามารถที่จะรู้อารมณ์นั้นได้ต่อไปจึงเป็นภวังคจิตอีก เพราะฉะนั้น ภวังคจิตจะเกิดคั่นทุกวาระของการเห็น หรือการได้ยิน หรือการได้กลิ่น หรือการลิ้มรส หรือการรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส หรือการคิดนึก เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้มีปฏิสนธิจิตไหม ไม่มี มีภวังคจิตไหม มี แล้วก็มีวิถีจิตไหม มี ภวังคจิตเป็นวิถีจิต หรือเปล่า ไม่ใช่ วิถีจิตเป็นวิถีจิต เมื่อไหร่ที่ไม่ใช่เป็นวิถีจิตเมื่อนั้นเป็นภวังคจิตดำรงภพชาติ กำลังหลับสนิทไม่ฝันเลยเป็นจิตอะไร เป็นวิถีจิต หรือเปล่า ไม่ใช่ นี่คือการที่เราจะเข้าใจเพียงเท่านี้ก่อน และต่อจากนั้นจะเป็นความละเอียดของจิตมากมายหลังจากที่เป็นวิถีจิต แต่เวลาที่ไม่ใช่วิถีจิตก็เพียงแค่นี้ หลับสนิทอะไรๆ ก็ไม่ปรากฏเลย ชื่ออะไร มีญาติพี่น้องกี่คน อยู่ที่ไหน มีทรัพย์สมบัติ หรือกำลังเจ็บไข้ได้ป่วย กำลังเป็นโรคร้าย กำลังอะไร ไม่มีเลยในขณะที่หลับสนิท เพราะไม่ใช่วิถีจิต เพราะฉะนั้น เพียงจิตเปลี่ยนสภาพจากวิถีจิตเป็นการรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใด ความคิดนึกเรื่องราวตามมาจนกระทั่งปิดบัง ให้เป็นสิ่งที่เหมือนมีจริง แต่มีจริงเพียงปรากฏให้เห็นอย่างหนึ่ง มีจริงเพียงปรากฏให้ได้ยินอย่างหนึ่ง และมีจริงเมื่อคิดนึกสิ่งนั้น และเข้าใจว่าสิ่งที่คิดมีจริง แต่ความจริงสิ่งที่จริงคือคิด เพราะถ้าไม่คิดแล้วอะไรๆ ก็ไม่มี เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นอย่าเพิ่งไปมากมายเพียงแต่ว่าได้ยินคำว่าจิต รู้ว่าเป็นสิ่งที่มีจริง เป็นธรรมที่เป็นธาตุรู้เมื่อเกิดแล้วต้องรู้ไม่รู้ไม่ได้ ความจริงธาตุรู้ก็มีอีกประเภทหนึ่งซึ่งเกิดกับจิต เกิดพร้อมจิตดับพร้อมจิตรู้อารมณ์เดียวกับจิต ไม่แยกจากกันเลยสภาพนั้นใช้คำว่า "เจตสิก" แต่เวลาศึกษาธรรมศึกษาทีละอย่าง ทีละคำ ให้มีความเข้าใจในสิ่งที่ได้ยินได้ฟังชัดเจนไม่เปลี่ยนแปลง เพราะว่าจิตเป็นธาตุรู้ตราบใดที่ยังไม่ตายจะไม่ใช่มีแต่รูปธรรม แต่มีนามธรรมคือธาตุรู้ด้วยแต่ต้องแยกขาดจากกัน เพราะเหตุว่ารูปธรรมไม่ว่าจะเป็นรูปใดๆ ก็ตามไม่ใช่สภาพรู้ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลยทั้งสิ้นแต่ธรรมอีกอย่างหนึ่งตรงกันข้ามเกิดแล้วต้องรู้โดยไม่มีรูปร่างใดๆ เลยทั้งสิ้น นี่คือลักษณะของธรรมที่ต่างกัน คือประเภทหนึ่งเกิดมีลักษณะเฉพาะแต่ละอย่างเช่นเกิดเป็นแข็ง เกิดเป็นหวาน เกิดเป็นเสียงอะไรก็ตามแต่ แต่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย ประมวลสภาพธรรมที่เกิดแล้วไม่รู้เป็นรูปธรรม แต่สภาพธรรมอีกอย่างไม่ใช่รูปใดๆ เลยทั้งสิ้นแต่เป็นธาตุซึ่งเมื่อเกิดแล้วต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะฉะนั้น ที่บอกว่าเห็นเป็นธาตุรู้เพราะมีสิ่งที่ปรากฏให้รู้ว่าสิ่งที่ปรากฏเป็นอย่างนี้ไม่เป็นอย่างอื่น หรือเวลาที่เสียงปรากฏ เสียงปรากฏเพราะมีธาตุที่ได้ยินเสียงนั้น รู้แจ้งเสียงนั้นว่าไม่เป็นเสียงอื่น เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นอย่าเพิ่งไปไกล เข้าใจคำว่า จิต" "เจตสิก" และเข้าใจคำว่า "อารัมมณะ" หรือ "อารมณ์" ซึ่งเป็นสิ่งที่จิตรู้ ถ้าจิตเกิดแล้วจะไม่รู้ไม่ได้ เพราะฉะนั้น มีจิตแล้วก็ต้องมีอารมณ์คือสิ่งที่จิตรู้แล้วจิตก็ต่างกันเป็นประเภทใหญ่ๆ คือจิตที่ไม่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ก็เป็นจิตซึ่งเกิดดับดำรงภพชาติในขณะที่หลับสนิท เพราะฉะนั้น ก็เข้าใจความหมายของคำว่า "วิถีจิต" ต้องอาศัยตา หรือหู หรือจมูก หรือลิ้น หรือกาย หรือใจ จึงเกิดขึ้นรู้อารมณ์แต่ละทาง และส่วนที่ขณะใดก็ตามที่ไม่รู้อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดเลยทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ก็ยังเป็นธาตุรู้ซึ่งเกิดขึ้นรู้อารมณ์ซึ่งไม่ปรากฏแต่จิตขณะนั้นไม่ใช่วิถีจิตใช้คำว่า "ภวังคจิต" เพราะฉะนั้น จะมีจิตขณะแรกคือปฏิสนธิจิต และก็มีจิตขณะสุดท้ายคือจุติจิต แล้วก็จะมีภวังคจิตคั่นระหว่างที่ไม่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นธรรม หรือเป็นเรา

    ผู้ฟัง เป็นธรรม

    ท่านอาจารย์ ศึกษาธรรมแล้วก็รู้จักธรรมใช่ไหม คือชีวิตประจำวันจริงๆ ให้เข้าใจถูกต้องเพื่อที่จะรู้ว่าทรงอนุเคราะห์สัตว์โลกให้เข้าใจความจริงซึ่งเป็นธรรมไม่ใช่สัตว์ บุคคลตัวตนใดๆ เลย

    ผู้ฟัง ก็ต้องอนุโมทนาท่านอาจารย์ ถ้าไม่ได้ยินได้ฟังเกิดมาก็ไม่รู้อะไรเลย ก่อนที่มาศึกษาธรรมไม่รู้อะไรเลยแล้วก็อยู่ไปวันๆ หนึ่ง อย่างน้อยเราได้มาศึกษาก็ต้องอนุโมทนามากๆ

    ท่านอาจารย์ ก็ขอถามต่อได้ไหม ไม่ใช่เรื่อง อื่นเรื่องนี้ เรื่องที่เพิ่งพูดไปเดี๋ยวนี้ ถามต่อได้ไหม

    ผู้ฟัง ได้

    ท่านอาจารย์ ได้ พร้อมที่จะตอบ ถามต่อคือต้องมีคนตอบด้วย โกรธมีไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ มี เป็นของใคร ใครทำให้เกิด ถ้ามีปัจจัยที่จะเกิดไม่เกิดได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เกิดแล้วดับไป หรือเปล่า โกรธอะไร เมื่อกี้นี้เองที่พูดถึง

    ผู้ฟัง จริงๆ แล้วถ้าแม้นว่าจิตเกิด ขณะนั้นจริงๆ เราโกรธไม่เข้าใจว่านั้นเป็นอกุศล

    ท่านอาจารย์ จะใช้คำว่าโกรธ จะใช้คำว่าขุ่นใจ จะใช้คำว่าไม่พอใจ จะใช้คำว่าไม่ชอบก็ได้ ลักษณะหลากหลายถึงกับพยาบาทก็ยังมี ผูกไว้แน่นไม่ลืมเลยก็ยังเป็นไปได้ คิดดูความโกรธที่เกิดขึ้น แต่ว่าจริงๆ แล้วโกรธก็เป็นธรรมเพราะมีจริงเกิดเพราะเหตุปัจจัย แต่ถ้าถามว่าโกรธ หรือขุ่นใจ หรือไม่ชอบ หรือไม่พอใจอะไร

    ผู้ฟัง ตอบไม่ถูก

    ท่านอาจารย์ หมายความไม่เคยโกรธเลย

    ผู้ฟัง เคย

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เวลาโกรธเกิดขึ้น แต่ก่อนไม่ได้ฟังธรรมไม่รู้เลยเรื่องจิต ไม่รู้เลยเรื่องธรรม ไม่รู้เลยเรื่องรูปธรรม ไม่รู้อะไรเลยทั้งสิ้นแต่เมื่อกี้ฟังแล้ว ธรรมที่เป็นธาตุรู้สภาพรู้เป็นอย่างหนึ่งคือจิต และเจตสิก สภาพธรรมที่เกิดมีจริงๆ แต่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลยทั้งสิ้น จะมองเห็น หรือมองไม่เห็นก็ตามแต่ เกิดแล้วไม่รู้เป็นรูปธรรม และถามว่าโกรธมีจริง หรือเปล่า มีโกรธหมายความถึงขุ่นใจ เคืองใจ ไม่พอใจจะเล็กจะน้อยจะมากถึงความเป็นผูกโกรธพยาบาท หรืออะไรก็ตามแต่ มีจริงๆ ใช่ไหม

    ผู้ฟัง มีจริง

    ท่านอาจารย์ เป็นธรรม หรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ เป็น ถามว่าโกรธอะไร

    ผู้ฟัง โกรธสิ่งที่ปรากฏ

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง สิ่งที่ปรากฏเป็นอะไร ถ้าสิ่งนั้นไม่ปรากฏจะโกรธไหม

    ผู้ฟัง ก็มีทุกอย่างที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น โกรธสิ่งที่ปรากฏ แค่ปรากฏแค่นั้นเองก็โกรธ

    ผู้ฟัง แต่ก็บังคับบัญชาไม่ให้โกรธไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ต้องมีความมั่นคง

    ผู้ฟัง ทำไมเมื่อเกิดขึ้นแล้วถึงทุกข์

    ท่านอาจารย์ ถ้าทุกข์ไม่เกิด ทุกข์จะมีไหม

    ผู้ฟัง ถ้าทุกข์ไม่เกิด

    ท่านอาจารย์ จะมีทุกข์ไหม

    ผู้ฟัง ทุกข์ไม่มี

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่มี

    ผู้ฟัง แสดงว่าต้องเกิดใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ หลากหลายมากสิ่งที่เกิดในชีวิตแล้วก็ดับไปแต่ละอย่างแล้วไม่กลับมาอีกแม้จะหลากหลายสักเท่าไหร่ก็เป็นแต่ละหนึ่งขันธ์ซึ่งเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนไม่ได้

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์บอกว่าถึงเกิดก็หมดไป ถึงจะคิดตามอย่างไรก็ไม่รู้ว่าหมด

    ท่านอาจารย์ แน่นอน เพราะต้องเป็นปัญญาที่เจริญขึ้นตามลำดับ ถึงสามารถจะรู้ความจริงของสิ่งที่ได้ยินได้ฟังขณะนี้ได้

    ผู้ฟัง และขณะที่ไม่หมดก็ทุกข์อยู่

    ท่านอาจารย์ ก็ถูกต้องแล้วไม่ผิดเลย มีปัจจัยเกิดก็เกิด เลือกได้ไหมจะให้เป็นสุข

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เข้าใจ หรือยังในความหมายของคำว่า "อนัตตา"

    ผู้ฟัง พยายามเข้าใจแต่ว่าปัญญาน้อย

    ท่านอาจารย์ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตาจริงๆ ชัดเจน แม้สภาพธรรมที่เกิดแล้วดับ เสียงดับแล้วได้ ยินดับแล้ว คิดนึกดับแล้วทั้งหมดเป็นจริงแต่ปัญญาไม่พอที่จะประจักษ์ความจริงนั้น เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ได้อบรมไม่มีทางที่จะรู้ความจริงได้ และเมื่ออบรมแล้วก็ไม่มีทางที่จะเห็นผิดเป็นอย่างอื่นนอกจากเห็นตรงในขณะนี้กำลังเป็นอย่างนี้จริงๆ

    ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ อย่างเสียงปรากฏชัดเจนแล้วทุกคนไม่ปฏิเสธที่ว่าได้ยินเสียง แล้วก็ถามว่าได้ยินมีจริงไหม ก็คือได้ยิน แต่สภาพของได้ยินไม่รู้จัก

    ท่านอาจารย์ ไม่รู้ว่าเป็นธรรม แต่ถ้าถามว่าได้ยินไหม ไม่ตอบว่าเห็นใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ เพราะได้ยินเป็นได้ยิน จะไปตอบว่าเห็นได้อย่างไร ใช่ไหม แล้วทำไมไม่ตอบว่าเห็น เพราะรู้จักได้ยินใช่ไหม

    ผู้ฟัง เพราะว่าเสียงมี

    ท่านอาจารย์ แต่เสียงไม่ใช่ได้ยิน

    ผู้ฟัง แล้วจริงๆ สภาพได้ยินเป็นอย่างไร

    ท่านอาจารย์ สภาพได้ยินใครๆ นี่ก็รู้ แต่ไม่เข้าใจว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา อย่างหนึ่งซึ่งคนจะอดไม่ได้คือฟังไปหวังไป ไม่ต้องหวัง ธรรมตามความเป็นจริง ตราบใดที่ยังไม่ใช่พระอนาคามีบุคคล ไม่ใช่ฐานะที่จะไม่มีความโกรธ จริงๆ แล้วโกรธเกิดสิ่งที่ไม่เกิดได้ไหม

    อ.กุลวิไล ได้

    ท่านอาจารย์ รู้สึกว่าจะตอบเร็ว โกรธชื่อได้ไหม ชื่อไหนที่ไม่ชอบเวลานี้ แค่คิดก็โกรธแล้ว ใช่ไหม เพราะฉะนั้น สิ่งใดก็ตามที่เป็นอารมณ์ที่จิตกำลังรู้แล้วแต่ว่ามีปัจจัยที่จะเกิดชอบ หรือไม่ชอบในสิ่งนั้น แต่ต้องมีสิ่งที่ปรากฏแล้วแต่ว่าจะปรากฏทางตา หรือทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย หรือทางใจ ชื่อไม่ได้ปรากฏทางตา แต่เวลานึกถึงชื่อนั้นโกรธ แค่คิดก็โกรธคิดดูก็แล้วกัน ไฟกองใหญ่นี่อยู่ไหน เชื้อไฟ คลังน้ำมัน เพราะฉะนั้น พระธรรมที่ทรงแสดงอุปการะให้ทุกข์น้อยลงใช่ไหมคุณสุกัญญา

    ผู้ฟัง ใช่ ได้ยินกับเห็นก็ต้องเป็นสภาพเดียวกัน

    ท่านอาจารย์ คนละขณะ หรือว่า

    ผู้ฟัง คนละขณะ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น โดยนัยของธาตุจะแสดงวิญญาณธาตุ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุเป็นความหลากหลายต่อไปอีกมากมาย เพื่อแสดงให้เห็นความจริงของสภาพธรรมจนกว่าจะพรู้ว่าเป็นธรรมจริงๆ ไม่ใช่เราไม่ใช่ใครเลยทั้งสิ้น

    ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ แต่ว่าเห็นไม่ใช่ได้ยิน แต่โดยสภาพก็คือเป็นธาตุรู้เหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ เป็นธาตุรู้ซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้เป็นจิตที่หลากหลายแต่ละประเภทมีปัจจัยเกิดขึ้นรู้แล้วก็ดับไป ไม่เหลือเลย

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น โดยสภาพ

    ท่านอาจารย์ จิตไม่ใช่เจตสิกแต่จิตเองก็หลากหลายมากมายเป็นประเภทต่างๆ

    ผู้ฟัง ต่าง หรือเหมือน

    ท่านอาจารย์ จิตเห็นโกรธไหม จิตที่กำลังเห็นโกรธไหม

    ผู้ฟัง จิตเห็นไม่โกรธ

    ท่านอาจารย์ แล้วเวลาที่จิตโกรธเกิดขึ้นขณะนั้นเป็นจิตเห็น หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่ใช่

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จะเป็นอันเดียวกันได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้ แต่โดยสภาพรู้

    ท่านอาจารย์ ต้องเป็นธาตุรู้จึงใช้คำว่า "วิญญาณขันธ์ หรือนามขันธ์" หรือจะใช้คำว่าแจกออกไปก็เป็นวิญญาณธาตุ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุหลากหลายไปอีกก็ได้ แสดงให้เห็นชัดเจนว่าไม่ใช่สภาพธรรมเดียวกันเลย แต่ละหนึ่งเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้นแล้วก็ดับไป แล้วไม่กลับมาอีกจะได้ไม่มีเยื่อใย แล้วก็ไม่รู้จักกันเลย จิตเห็นเกิดขึ้นเห็นแล้วดับแล้ว จิตได้ยินเกิดขึ้นได้ยิน แล้วก็ดับ แล้วก็จะเป็นใครแต่ไหน จะไปรู้จักกันเมื่อไหร่ จิตเห็นกับจิตได้ยิน

    ผู้ฟัง ไม่รู้จัก

    ท่านอาจารย์ เกิดมาแล้วก็ดับไป เกิดมาแล้วก็ดับ

    ผู้ฟัง ถ้าปัญญารู้ลักษณะของจิตเห็นกับจิตได้ยินจะต่างกันไหม

    ท่านอาจารย์ รู้จักธาตุรู้ไหม

    ผู้ฟัง ปัญญาต้องรู้จักธาตุรู้แน่นอน

    ท่านอาจารย์ ธาตรู้หลากหลายไหม ไม่ต้องมานั่งเรียนหนังสือก่อนแล้วมาตอบ ถ้ารู้ธาตุรู้ คิดกับเห็นเหมือนกัน หรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็นธาตุรู้เหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ ตัวคิดกับเห็นเหมือนกันไหม

    ผู้ฟัง ไม่เหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จึงหลากหลายเป็นประเภทต่างๆ มิฉะนั้นก็มีแต่จิตเห็นอย่างเดียว

    ผู้ฟัง แต่ปัญญาสามารถรู้ได้

    ท่านอาจารย์ ปัญญาสามารถที่จะเห็นถูกต้องตามความเป็นจริง

    ผู้ฟัง ในสิ่งที่ปรากฏขณะนั้น

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ปรากฏจะรู้ได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ใช่ตรึกนึกเอาเองอย่างนี้ไม่ใช่

    ท่านอาจารย์ คิด คิดมีจริงๆ หรือเปล่า

    ผู้ฟัง มีจริง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเป็นเรา หรือเป็นธรรม

    ผู้ฟัง คิดเป็นธรรม

    ท่านอาจารย์ เป็นนามธรรม หรือเป็นรูปธรรม

    ผู้ฟัง เป็นนามธรรม

    ท่านอาจารย์ ตอนนี้ตอบตามที่เรียน

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ ที่อยู่ในหนังสือจนกว่าไม่ใช่ตามหนังสือแต่ตามลักษณะที่ปรากฏว่าเป็นอย่างนั้น อย่างแข็งปรากฏว่าแข็ง ไม่ต้องไปตามหนังสือจะเปลี่ยนแข็งให้เป็นอย่างอื่นได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ แล้วในขณะที่แข็งปรากฏมีธรรมอะไรอีก หรือเปล่า

    ผู้ฟัง รู้แข็ง

    สุ. เพราะฉะนั้น รู้แข็งไม่ใช่แข็ง เมื่อรู้สภาพที่รู้ต้องมาบอกไหม ว่าชื่ออะไร เรียกว่าอะไร เป็นนามธรรมต้องบอกไหม

    ผู้ฟัง ไม่ต้อง

    ท่านอาจารย์ แต่สภาพที่ต่างกันนั่นเองแสดงความจริงว่ารู้เป็นรู้ และไม่รู้คือไม่รู้


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 175
    13 ม.ค. 2567