พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 634


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๓๔

    ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓


    ท่านอาจารย์ เว้นพูดคำหยาบคาย เว้น หรือเปล่า

    ผู้ฟัง เว้น

    ท่านอาจารย์ เว้นพูดเรื่องไม่จริง เว้น หรือเปล่า

    ผู้ฟัง เว้น

    ท่านอาจารย์ เว้นคำส่อเสียด เว้น หรือเปล่า เว้นคำเพ้อเจ้อ หรือเปล่า

    ผู้ฟัง อันนี้จะพูดบ่อย

    ท่านอาจารย์ ยากแค่ไหน เพราะฉะนั้น เว้นทั่วไม่ใช่เฉพาะอย่างๆ อย่างคฤหัสถ์ บางกาละก็เว้นบางกาละก็ไม่เว้นใช่ไหม แต่ว่าความจริงใจก็คือในขณะที่เว้น รู้ไหมว่าเว้นเพราะอะไร คุณอรวรรณเป็นตัวคุณอรวรรณไม่ต้องคิดถึงคนอื่น

    ผู้ฟัง ก็มีตัวเราที่ไปเว้น ไม่ได้มีปัญญาที่เข้าใจว่าเป็นธรรม

    ท่านอาจารย์ ขณะที่เว้น ทำไมเว้น ทำไมเว้น

    ผู้ฟัง ก็กลัวผลของอกุศลกรรม

    ท่านอาจารย์ เห็นไหมกลัวผลของอกุศลกรรม ถ้าไม่มีผลของอกุศลกรรมจะเว้นไหม

    ผู้ฟัง ณ ขณะนี้ก็ต้องกลัวแล้วจึงเว้น เพราะว่าปัญญายังไม่ถึงขั้นว่าเว้นโดยแบบที่เข้าใจธรรม

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นความจริงใจ เป็นอัธยาศัยจริงๆ หรือเปล่าเป็นปกติ หรือยัง หรือว่าเว้นเพราะว่าเป็นผู้ที่จะรักษาศีลอย่างที่ว่า ศีล ๘ หรือถ้าไม่สามารถจะรักษาได้ก็ศีล ๕ ก็เพียงแค่ศีล ๕ ก็ต้องเว้นใช่ไหม คิดว่าอย่างนั้น แต่ว่าตามความเป็นจริงมีปัญญาเห็นโทษในขณะที่จะฆ่า หรือเปล่า เจตนาจงใจทำร้ายเบียดเบียนชีวิตของสัตว์อื่น ทุกคนรักชีวิต แต่ว่าผู้ที่ฆ่าเป็นผู้ที่ขณะนั้นมีกำลังของกิเลสถึงระดับที่สามารถทำลายชีวิตของคนอื่นได้ ไม่ใช่ทำร้ายเพียงแค่ทำร้ายบาดเจ็บนิดหน่อยแต่ถึงกับทำลายชีวิต เพราะฉะนั้น ขณะจิตนั้น คิดถึงจิตไม่ว่าใครทั้งสิ้นไม่ใช่คุณอรวรรณ ไม่ใช่คุณบุษกรแต่เป็นจิต เรากำลังศึกษาเรื่องจิต เพราะฉะนั้น ก็ต้องรู้จักจิตแล้วจิตก็ไม่ใช่ของใครเลย จิตในขณะนั้นมีอกุศลระดับไหน เน่าในขนาดไหนที่จะถึงการกระทำทุจริตได้ เพราะฉะนั้น การฟังธรรมก็เป็นเองที่ละเอียดมาก แม้แต่การที่จะวิรัติแต่ละอย่างก็ต้องเข้าใจความหมาย ถ้าผู้นั้นเห็นโทษขณะนั้นทำไม่ได้ เพราะขณะนั้นเป็นอกุศลจิตอย่างยิ่ง นั่นคือผู้เห็นโทษของการล่วงทุจริต แต่ถ้าเป็นอกุศลกรรมหิริ โอตตัปปะยังไม่มีกำลังพอที่จะเห็นว่าเป็นโทษ ด้วยเหตุนี้ชีวิตของบรรพชิตกับชีวิตของคฤหัสถ์จึงต้องต่างกันมาก อย่างคฤหัสถ์เป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค หรือเปล่า แต่พระภิกษุเวลาที่ท่านจะฉันท่านก็ต้องพิจารณาเพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ได้ เพื่ออะไร ดำรงไปทำไม มีชีวิตอยู่ต่อไปทำไม ถ้าไม่ใช่เพื่อการอยู่ด้วยความรู้ถูกต้อง หรือถ้าความรู้ยังไม่มีก็เพื่อให้ความรู้ปรากฏ เวลานี้กำลังเข้าใจธรรมเมื่อไรขณะนั้นเป็นปัญญาปรากฏให้เห็นว่าเป็นความเข้าใจ ขณะที่ไม่เข้าใจขณะนั้นก็ไม่ใช่ปัญญา ปัญญาปรากฏไม่ได้เลยเพราะไม่เข้าใจ สงสัยไม่รู้ใช่ไหม แต่ขณะใดที่เป็นความเข้าใจขณะนั้นปรากฏว่าเป็นความเข้าใจ เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีชีวิตอยู่เพื่อความรู้ปรากฏ หรืออยู่ด้วยความรู้ที่ปรากฏ ความละเอียดของธรรมคือจะต้องมีความเข้าใจจริงๆ ในความละเอียด เพราะฉะนั้น อย่างคฤหัสถ์บริโภคอาหารง่ายที่สุดเลยตอบได้ตรงเลย รู้ประมาณ หรือเปล่า ขณะไหนบ้างที่รู้ประมาณในอาหารสำหรับคฤหัสถ์ ชีวิตที่ต่างกันแล้วใช่ไหม เพราะฉะนั้น สำหรับความประพฤติถึงที่สุดของการรู้ประมาณคือ ขณะนั้นกำลังบริโภคด้วยความรู้ว่าเพื่อให้ร่างกายดำรงอยู่เหมือนยารักษาโรค หรือว่าเหมือนผ้าปิดแผล ถ้าคิดถึงอาหารจริงๆ ต้องการอะไรมากมาย หรือเปล่า ข้าวหนึ่งจานนี่อิ่มไหม อยู่ได้ไหม แต่รับประทานไม่ได้ ใช่ไหม ต้องมีอาหารอื่นรสเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม ต่างๆ เพราะฉะนั้น ติดในรสมากกว่าการที่เพียงจะบริโภคเพื่ออิ่ม ใช่ไหม เพราะฉะนั้น รสทั้งหลายที่แสวงหาลืมเลยว่าเป็นการเพิ่มความติดข้อง เพราะความไม่รู้ แล้วในขณะเดียวกันที่จะไปถึงการที่เป็นผู้มีปกติเจริญสติรู้แจ้งสภาพธรรม รู้ชัดก็ยังอีกห่างไกล เพราะฉะนั้น ผู้ที่พิจารณาเห็นความละเอียดยิ่งของธรรมก็จะเป็นผู้ที่ไม่เผิน ไม่ว่าจะผ่านพยัญชนะใดข้อความใด ก็เข้าใจถึงความละเอียดของธรรมนั้น แล้วก็รู้จักการสะสมของจิตที่เกิดกับตนในขณะนั้นว่าเป็นอย่างไร มีความสะอาดแค่ไหน หรือว่ามีความที่เข้าใจธรรมเมื่อไหร่ขณะไหนอย่างไร หรือว่าเห็นโทษของอะไรบ้าง เพราะว่าคฤหัสถ์ทุกมื้อที่บริโภคต้องมีรสอร่อย ไม่ใช่อาหารที่รับประทานเพื่อให้ชีวิตดำรงไปได้ นอกจากเพื่อที่จะให้เป็นรสอร่อยแล้วทุกๆ มื้ออิ่มแล้วก็ยังรับประทานต่อไปอีกได้ใช่ไหม และนี่คือการรู้ประมาณในการบริโภค หรือเปล่า แต่ถ้าเป็นบรรพชิตอาหารที่ได้มาเป็นหนี้ก้อนข้าวของชาวบ้าน ถ้าประพฤติไม่สมควรกับเพศของบรรพชิต เพราะว่าทุกคนที่ถวายอาหารแก่พระภิกษุด้วยความเคารพนอบน้อมในเจตนา ที่สละความติดข้องในชีวิตของคฤหัสถ์ เพื่อที่จะได้อบรมเจริญปัญญาถึงการดับกิเลส เพราะฉะนั้น แต่ละอย่างก็เป็นการที่แสดงให้เห็นว่าถ้าเราไม่เผิน แล้วเรามุ่งที่จะเข้าใจเพียงแค่ข้อความ ความต่างของบรรพชิตกับคฤหัสถ์เราก็จะได้ความเผินไป แต่ว่าถ้าเราไม่เผินแล้วเราพิจารณาละเอียดก็เป็นการขัดเกลาด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะเหตุว่าขณะใดที่เป็นอกุศลก็ต้องตรง ว่าเป็นอกุศล แล้วรู้ตามความเป็นจริง เพราะว่าอกุศลไม่สามารถที่จะรู้อะไรได้เลยทั้งสิ้น ไม่เห็นถูกไม่อะไรเลยแต่ปัญญาสามารถที่จะเห็นอกุศลว่าเป็นอกุศล เพราะฉะนั้น เวลาที่ศึกษาธรรมก็น่าที่จะเข้าใจความละเอียดของแต่ละคำด้วย ไม่ใช่แต่เพียงเผินๆ แล้วเราก็อยากจะรู้เท่านั้นเองว่าสองอย่างต่างกันอย่างไร

    ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ โอกาสที่จะไปฆ่ายุง ฆ่ามด ตรงข้ามถ้าเห็นแมงสาปลอยอยู่ในโถส้วมก็ไปช่วย เช่นเห็นเขาหงายก็ต้องไปทำให้คว่ำ อันนี้ก็คิดว่าเกิดจากฟังธรรมเข้าใจ ก็ไม่ใช่ตัวดิฉันที่ไปทำ แต่ก็รู้ว่าถ้าเกิดมีอะไร ถ้าคนมาเลือกฆ่าเรา คำตอบก็คงว่าคงรักษาชีวิตตนเองเพราะว่ายังรักตัวกลัวตายอยู่ อะไรประมาณนี้ ก็รู้ว่าความจริงคือปัญญา หรือว่าอะไรยังเข้าใจได้เท่านี้

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่ได้รักษาใจ บางคนอ่านหนังสือเจอคำว่ารักษาใจก็ดีใจมากเลยใช่ไหมที่จะรักษาใจ แต่ถ้าไม่มีปัญญาอะไรจะรักษาใจ แล้วธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดจริงๆ จริงไหม ถ้ารักษาศีลแล้วเกิดเสียใจได้ไหม เมื่อไหร่

    ผู้ฟัง เมื่อมีเหตุปัจจัยให้เสียใจ

    ท่านอาจารย์ อันนี้ก็ตอบตรงเลย เพราะฉะนั้น ธรรมนี้ถ้าจะพูดถึง ถ้าขณะนั้นไม่เกิดขึ้นรู้ยาก หาตัวอย่างไปเถอะคิดไม่ออกใช่ไหม แต่เวลาที่เกิดแล้วไม่รู้ เพราะฉะนั้น การฟังธรรมก็คือเพื่อเข้าใจถูกตามความเป็นจริง เรื่องจริงซึ่งจะได้รับคำถามบ่อยที่สุดคือเรื่องปลวก บางคนก็เว้นไม่ฆ่า เสียใจไหมที่ไม่ฆ่า บ้านพัง จริง หรือเปล่าทั้งๆ ที่เป็นผู้ที่รักษาศีลวิรัติได้ไม่ฆ่าแต่ก็ยังเสียใจว่าบ้านพัง หรืออะไรก็ตามแต่ใช่ไหม เพราะฉะนั้น จะเห็นการไม่คงที่ไม่มั่นคง เพราะจริงๆ แล้วถ้าเป็นผู้ที่รักษาศีลมีศีลที่บริสุทธิ์ก็ผ่องใส ไม่มีอะไรที่ทำให้ใจเศร้าหมอง หรือเดือดร้อนเลยแต่โลภะก็ยังเกิด ใช่ไหม ทำให้ไม่ค่อยจะยินดีเท่าไรในสิ่งที่ได้ทำไปแล้วก็เป็นได้ คือไม่สามารถที่จะมีความเข้าใจได้ชัดเจนถูกต้องว่าไม่ใช่เราเลย ก็เป็นสภาพของจิตแต่ละขณะ ขณะใดเป็นโลภะ ขณะใดเป็นโทสะ ขณะใดเป็นกุศล ขณะใดเป็นอกุศล เพราะฉะนั้น ต้องปัญญาอย่างเดียว ความเข้าใจธรรมเท่านั้นที่จะรักษาจิตได้ตามกำลังของปัญญาที่เป็นยารักษาโรคของใจ มิฉะนั้นแล้วก็จากโลกนี้แล้วก็ไปสู่โลกนั้นก็เป็นไปเรื่อยๆ โดยที่มองไม่เห็นเลย และก็ยังยินดีที่จะเป็นโรคต่อไปด้วย แต่ว่ากว่าจำได้มีโอกาสได้ฟังพระธรรมไม่ใช่ทุกคนมีโอกาสจะได้ฟัง ถ้าไม่มีการสะสมมาไม่มีศรัทธาที่มั่นคงขึ้นก็จะเพียงฟัง และก็พอหมดธุระเรื่องราวก็ไม่ฟังอีกเลย ก็มีหลายท่านที่เป็นอย่างนั้น หรือฟังแล้วขณะที่เข้าใจว่ามีทุกข์พอฟังแล้วหายทุกข์ หมดทุกข์ก็เลยไม่ฟังอีก ก็เป็นอย่างนี้ก็เป็นตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น กว่าจิตจะหายจากโลกได้ก็ต้องเป็นผู้ที่มีความค่อยๆ เข้าใจธรรมขึ้นตรงขึ้น รู้ว่าเป็นสิ่งที่ยากแต่อบรม อย่างเดียวเพื่อละ

    ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ ที่กล่าวว่าอยู่เพื่อรู้ความจริงกับอยู่แบบรู้ความจริง

    ท่านอาจารย์ ตอนนี้รู้ลักษณะของสภาพนามธรรมรูปธรรม หรือยัง

    ผู้ฟัง ยัง

    ท่านอาจารย์ ถ้ามีความเข้าใจขึ้นก็รู้ว่าอยู่เพื่ออะไร

    ผู้ฟัง เพื่ออบรมปัญญา

    ท่านอาจารย์ เพื่ออบรมปัญญา อยู่เพื่อความรู้ปรากฏ ถ้าไม่มีจะปรากฏได้ไหม ความรู้ก็ปรากฏไม่ได้ เมื่อมีความรู้แล้ว ปรากฏแล้วอยู่ต่อไปเพื่ออะไร ในขณะที่มีความรู้แล้วก็อยู่ด้วยความรู้ที่ปรากฏ เพราะฉะนั้น ความรู้จะปรากฏเพิ่มขึ้นๆ ในขณะที่ไม่รู้ก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าความรู้เป็นอย่างไร ความเข้าใจสภาพธรรมในขณะที่สภาพธรรมปรากฏเดี๋ยวนี้เป็นอย่างไร

    ผู้ฟัง ฟังแล้วเหมือนว่าอบรมปัญญาให้จากเดี๋ยวนี้ไม่รู้ความจริงที่ปรากฏหกทาง ก็อบรมไปเพื่อสักวันหนึ่งรู้ได้ และเมื่อรู้แล้วก็อยู่กับรู้นั้น และอบรมยิ่งๆ ขึ้น

    ท่านอาจารย์ แน่นอน จนกว่าจะดับกิเลสหมด

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น กลับมาสู่ที่ว่าไม่ว่าพระสูตรกล่าวอย่างไรนี่ก็เข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรมก็จะรู้ว่ามีธรรมที่จะเป็นอย่างนี้ตามกำลังของปัญญา

    ท่านอาจารย์ แล้วธรรมอยู่ที่ไหนก็คือเดี๋ยวนี้ สิ่งที่จะเกิดอีกแสนกัปป์ ไม่ปรากฏเดี๋ยวนี้เลยยังไม่เกิด แต่ว่ามีสิ่งที่เกิดแล้ว ซึ่งเมื่อแสนกัปป์ก่อนไม่ได้เกิดแต่ขณะนี้กำลังเกิดเป็นอย่างนี้ตามเหตุตามปัจจัย ชั่วคราวแล้วก็หมดไป แล้วก็หมดไปไม่กลับมาอีก เหมือนเดิมๆ ๆ กี่ภพกี่ชาติ

    ผู้ฟัง ซึ่งถ้าฟังว่าภพภูมิ หรือฟังว่าโอกาสที่จะได้ฟังธรรมยาก หนึ่งได้อัตภาพเป็นมนุษย์ สองได้พบสัตบุรุษ และฟังสัทธรรม และเข้าใจธรรม ตรงนี้ก็ให้รู้ว่าในชาตินี้เป็นเรียกว่าโอกาสที่ดีแล้วก็ฟังไป และชาติหน้าท่านอาจารย์ก็เคยบอกว่าใครจะไปรู้ว่าขณะต่อไปจะมีปีก หรือมีหาง หรืออะไรก็แล้วแต่ ซึ่ง ณ ขณะนี้ เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ประมาทก็คือไม่ละเลยที่จะฟังพระธรรมให้เข้าใจเพราะว่ามีโอกาสที่ท่านอาจารย์ก็เอาคำสอนที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ความจริงแล้วก็มาศึกษาง่ายๆ ให้พวกเราเข้าใจ แต่จริงๆ หลายคนก็ว่ายากมาก ไม่ใช่ง่าย

    ท่านอาจารย์ แล้วมีประโยชน์ไหมยากๆ อย่างนี้

    ผู้ฟัง มีประโยชน์

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เป็นประโยชน์อย่างยิ่งใช่ไหม ขอเชิญคุณคำปั่นกล่าวถึงประโยชน์อย่างยิ่งด้วย

    อ.คำปั่น กราบท่านอาจารย์ ที่ท่านอาจารย์ให้กล่าวว่า "ประโยชน์อย่างยิ่งเป็นอย่างไร" ซึ่งจริงๆ แล้วประโยชน์ก็มีอยู่ด้วยกัน ๓ ระดับ หรือ ๓ ประการ ประการแรกก็คือทิฏฐธัมมิกัตถะประโยชน์ ซึ่งเป็นประโยชน์ในโลกนี้ นอกจากพิจารณาได้ว่าผู้ที่มีความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายมีความเป็นอยู่ที่ไม่เดือดร้อน มีชีวิตที่เป็นไปไม่ขัดสน นี้ก็เป็นประโยชน์ในโลกนี้ พร้อมกันนั้นก็ยังมีโอกาสจะได้ศึกษาพระธรรม มีโอกาสที่จะได้อบรมเจริญปัญญาสะสมเหตุที่ดีต่อไป ซึ่งก็จะเป็นประโยชน์ในโลกหน้าเป็นที่พึ่งในโลกหน้า ก็คือเป็นสัมปรายิกัตถประโยชน์ ซึ่งก็ไม่พ้นจากสภาพธรรมที่ดีงาม เริ่มจากศรัทธา ศีล สุตะ (การสดับตรับฟังพระธรรม) และปัญญา ไม่พ้นเลยนี่แหละที่จะเป็นที่พึ่งในโลกหน้าในภพหน้าได้จนกว่าจะถึงประโยชน์อย่างยิ่งก็คือ ปรมัตถประโยชน์ ประโยชน์อย่างยิ่ง ซึ่งยิ่งกว่าประโยชน์สองอย่างข้างต้น เพราะเหตุว่าเป็นความเจริญขึ้นของปัญญาที่คมกล้าขึ้นจนกระทั่งที่จะสามารถรู้แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริงถึงขั้นที่จะบรรลุเป็นพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ ได้ ก็คือประจักษ์แจ้งพระนิพพานซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ไม่เกิดไม่ดับนั่นเอง นี้แหละเป็นประโยชน์อย่างยิ่งก็คือถึงความเป็นผู้บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสอย่างแท้จริง

    ท่านอาจารย์ ชาตินี้ก็มีผู้ได้รับประโยชน์มากมายใช่ไหม เกิดมาแล้วก็ได้รับประโยชน์มากมายของชาตินี้ก็หมดไป พอถึงชาติหน้าถูกต้องไหม ที่ได้รับนี่ชั่วคราวจริงๆ และชีวิตก็ใครไม่รู้ว่าจะสั้นแค่ไหน เพราะฉะนั้น ประโยชน์ที่ได้รับจากความสุขสบายผลของกุศลบ้างของชาตินี้ก็ต้องหมดไปพอถึงชาติหน้าเราหวังว่าทำกุศลชาตินี้จะได้รับประโยชน์ในชาติหน้า ก็เหมือนชาตินี้แค่นี้แล้วก็หมดไป เหมือนกับชาติก่อนเราก็อาจจะได้รับประโยชน์ของกุศลมามากมายแล้วก็หมดไป เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ประโยชน์ที่แท้จริง ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ของชาตินี้ หรือชาติหน้า แต่ประโยชน์ที่สูงสุดคือสามารถที่จะรู้ความจริงที่จะเข้าใจความชั่วคราว ความเล็กน้อย ความไม่เที่ยงของสิ่งซึ่งไม่ใช่เรา แต่ว่าเป็นธรรมที่เกิดแล้วดับเท่านั้นเอง นานแสนนานก็เป็นธรรมเท่านั้นเกิดแล้วก็ดับไปๆ ๆ

    ผู้ฟัง เรียนถามอาจารย์วิชัย อย่างฟังบ่อยๆ ก็รู้ว่าแข็งเกิด ขณะที่แข็งเกิดก็รู้แล้วว่าคือยังไม่ทันคิดก็ดับแล้ว แล้วดูเหมือนว่าที่ดับไปแล้วเหมือนเป็นอารมณ์ให้จิตรู้ต่อในลักษณะแข็งของเก่าเหมือนเป็นอารมณ์ให้จิตดวงใหม่รู้

    อ.วิชัย อันนี้ก็เป็นการฟัง ตามที่เราได้ยินได้ฟังมาใช่ไหม แต่ว่าขณะนี้กำลังคิดถึงเรื่องต่างๆ ที่เคยได้ยินได้ฟังมา แต่ว่าขณะนี้แข็งปรากฏอยู่ ขณะที่กำลังคิดก็ไม่ใช่เป็นการรู้ในลักษณะที่แข็ง ก็เป็นความเข้าใจที่ต่างกัน ขณะที่กล่าวว่าจิตเกิดดับรู้แข็งต่างๆ กับขณะที่รู้แข็งโดยปัญญารู้ลักษณะที่แข็งก็ต่างกัน เพราะฉะนั้น ความละเอียดของปัญญาเมื่อเจริญขึ้นก็เป็นผู้ที่สามารถเข้าใจถูกขึ้นๆ ว่าขณะนั้นจิตรู้อะไร มีความเข้าใจอะไร มีความเข้าใจในขั้นการเพียงฟังเรื่องราวต่างๆ สภาพธรรมเป็นแต่ละอย่างเกิดขึ้นอาศัยปัจจัยต่างๆ มีความเป็นไป จิตขณะหนึ่งเกิดดับไปเป็นปัจจัยให้อีกขณะหนึ่งเกิดขึ้นซึ่งก็ต่างกับขณะที่เข้าใจถูกตรงแข็ง

    ผู้ฟัง ที่อาจารย์วิชัยกล่าวว่าลักษณะของแข็งเกิดแล้วดับ แล้วทีนี้ที่อาจารย์กล่าวว่าแล้วจิตอะไรที่เกิดตรงนี้

    อ.วิชัย หมายความว่าจิตเกิดแล้วรู้แล้วก็ดับไป ขณะนี้จิตอะไรเกิด รู้ไหม ก็เพียงแค่รู้ว่ามีจิตต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้น แต่ว่าความเข้าใจถูกในขณะที่ธรรมนั้นปรากฏก็เป็นอีกขณะหนึ่ง ซึ่งขณะนี้ก็ยังไม่เกิดก็ได้ หรือมีปัจจัยที่จะให้เกิดขึ้นรู้ก็ได้

    ผู้ฟัง ฟังท่านอาจารย์วิชัยกล่าวแล้วดูเหมือนว่าขณะที่แข็งเกิดเหมือนว่าก็ยังแข็ง เหมือนอาจารย์วิชัยกล่าวว่าแข็งที่เกิดรู้แข็งแล้ว แล้วลักษณะคิดก็เกิด แล้วก็ต้องรู้ลักษณะคิดขึ้นมาทันทีแต่ว่าไม่ได้รู้ถึงว่าคิดว่าแข็ง รู้เพียงว่ามีแข็งเท่านั้นเองแต่ว่าตรงคิดนั่นดับไปแล้วก็ไม่รู้ว่ามีคิดเกิด เหมือนว่าต้องไว พอแข็ง แข็งเกิด คิดปั๊บ รู้ปั๊บอย่างนี้ไม่ได้เป็นอย่างนั้น

    อ.วิชัย นี่ก็เป็นการแสดงถึงจิตที่เกิดขึ้น ว่าจิตขณะที่รู้แข็ง หรือว่าขณะที่คิดเรื่องราวของแข็งก็มีความต่างกัน เพราะจิตก็เกิดดับอย่างรวดเร็ว ก็เป็นคนละขณะกันแต่ว่าเมื่อมีความเข้าใจ เข้าใจมากขึ้นก็จะรู้ถึงว่าขณะใดเป็นการแค่คิดเรื่องราวต่างๆ หรือขณะใดที่รู้ในลักษณะของแข็งที่ปรากฏ ก็เป็นเพียงจิตที่เกิดขึ้นต่างขณะกันโดยที่ว่าขณะนั้นมีความเข้าใจถูกเกิดขึ้นพร้อมกับจิตขณะนั้น หรือเปล่า

    อ.ธิดารัตน์ ลักษณะของธรรมก็ละเอียดแล้วส่วนใหญ่เราก็เรียนชื่อเรียนเรื่องจนกระทั่งเราเข้าใจว่าวิถีจิตเป็นอย่างไรเป็นลำดับ เราก็จะคิดถึงว่า ขณะนี้เป็นวิถีจิตทางตา หรือว่าทางมโนทวารซึ่งจริงๆ แล้วเวลาที่สภาพธรรมนั้นปรากฏเราไม่รู้ว่าเป็นวิถีไหน การศึกษาจิตเจตสิกเป็นการศึกษาเพื่อที่จะให้เราเข้าใจว่าเขามีลักษณะอย่างนี้ๆ แล้วเวลาที่สภาพธรรมนั้นปรากฏก็จะปรากฏตามลักษณะตามการศึกษาที่ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดคือโดยความป็นธรรมแต่ละอย่าง

    ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ สืบเนื่องจากการฟังคำถามที่ว่าผู้ใดไม่มีกรรมแล้วก็ตอบแล้วว่าเป็นไม่มีกุศลกรรมกับอกุศลกรรม ก็ต้องเข้าใจว่าหมายถึงเฉพาะกุศลกรรม และอกุศลกรรมเท่านั้น

    ท่านอาจารย์ คำถามต่อไปอาจถามว่า แล้วพระอรหันต์มีกรรมไหม ถามซ้ำไปอีกก็ได้ ถ้าคนที่รู้แล้วก็ตอบได้ พระอรหันต์มีเจตนาเจตสิกอย่างที่คุณอรวรรณเข้าใจ

    ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ จริงๆ เนื่องจากที่นี่ก็ไม่ได้เรียนเพื่อสอบแต่ว่า เหมือนกับว่าเวลาเราตอบคำถามเพื่อว่าเราเข้าใจ หรือเปล่า ฟังแล้วเข้าใจ หรือเปล่าตอบอย่างนี้ก็เลยทำให้ ก็สงสัยเช่นนี้

    ท่านอาจารย์ ถ้าเข้าใจแล้วจะไม่สงสัยเลยต้องมั่นคง ไม่ว่าคำถามจะถามอย่างไร ตอบจะตอบอย่างไรก็ต้องเข้าใจ

    ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ ขอความกรุณาท่านอาจารย์ลงรายละเอียดเรื่องกรรม กรรมเป็นอย่างไรตามหลักพุทธศาสนา

    ท่านอาจารย์ เรื่องกรรมมีเยอะ เพราะฉะนั้น จะถามเรื่องกรรมอะไร

    ผู้ฟัง คือถ้าตัวสภาวะธรรมที่เรียนก็หมายถึงเจตนาเจตสิก

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง

    ผู้ฟัง แล้วจะแบ่งหลายนัย อาจแบ่งเป็นพูดถึงจิตก็จะมีชนกกรรม อุปถัมภ์ ตัดรอน เบียดเบียนอะไรเยอะแยะ หลายนัย ทีนี้ที่จะเรียนขอความกรุณาท่านอาจารย์ก็คือรายละเอียดของตัวสภาวะของกรรม

    ท่านอาจารย์ ก็คือความจงใจ ความตั้งใจ ความขวนขวาย กระตุ้นสหชาตธรรมที่เกิดร่วมด้วยให้ทำกิจการงาน เราจะไปรู้ลักษณะของเจตนาเจตสิกได้ไหม แม้ว่าจะได้ยินอย่างนี้

    ผู้ฟัง ยังไม่ได้ ถ้าอย่างนี้ในการศึกษาหมายความว่าก่อนที่จะมาฟังท่านอาจารย์ที่นี่ ถ้าสมมติพูดถึงกรรมเราก็จะหมายแค่การกระทำ

    ท่านอาจารย์ แล้วแต่ความหมาย กุศลกรรม อกุศลกรรม วจีกรรม กายกรรม มโนกรรมก็แล้วแต่ เยอะแต่เข้าใจสิ่งที่ได้ฟัง สำคัญที่สุด

    ผู้ฟัง ถ้าเช่นนั้นจากคำตอบที่ท่านอาจารย์ตอบก็มีกล่าวไว้โดยละเอียด และก็หลายนัยมาก เฉพาะคำว่ากรรม

    ท่านอาจารย์ ก็แล้วแต่ความมุ่งหมายว่าถามถึงกรรมในลักษณะของกุศลกรรม และอกุศลกรรม ไม่ใช่พูดถึงวิบาก และกิริยา

    อ.อรรณพ เรื่องของกรรมก็หลายนัยจริงๆ ในนัยหนึ่งกรรมก็มีทั้งกรรมที่ได้กระทำแล้วในอดีต กรรม กิเลส สะสมวิบากนี่ก็เป็นอรรถของจิต เพราะฉะนั้น กรรมที่ได้กระทำแล้ว หรือกรรมที่ได้มีแล้วในอดีตก็มี หรือว่ากรรมในปัจจุบันก็มีก็คือกุศลเจตนา หรืออกุศลเจตนาที่เป็นไปครบองค์เช่นขณะนี้มีกุศลเจตนาในการฟังธรรม การเข้าใจธรรม นี่คือกรรมที่มีอยู่ในขณะที่เจตนาที่เป็นกุศลเจตนาในการฟังธรรมนั้นมี นี่คือกรรมที่มีอยู่ และเมื่อยังมีเหตุปัจจัยในอนาคตก็จะต้องมีกุศลกรรม หรืออกุศลกรรมคือกรรมอย่างอื่น เพราะฉะนั้น กรรมที่ได้มีแล้วก็มี กรรมที่มีอยู่ก็มี และกรรมที่จะมีในอนาคตก็มี เพราะฉะนั้น ถามว่าพระอรหันต์มีกรรมไหม ก็มีกรรมที่ได้มีแล้ว สุดแล้วแต่กรรมที่ได้มีแล้วจะให้ผลคือวิบากไปแล้ว หรือกำลังให้อยู่ หรือจักให้ แต่ต้องเป็นผลของกรรมที่ได้มีแล้วในอดีตก่อนที่จะเป็นพระอรหันต์


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 175
    13 ม.ค. 2567