ปกิณณกธรรม ตอนที่ 969
ตอนที่ ๙๖๙
สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย
วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
ท่านอาจารย์ เพราะทรงแสดงว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา คำของพระองค์จะค้านกันได้อย่างไร เมื่อเป็นอนัตตาแล้วจะสั่งให้คนนั้นทำอย่างนี้ ถามให้เขาตอบอย่างนี้ได้ไหม ก็ไม่ได้
อ. อรรณพ เป็นการถามเพื่อที่จะรู้ว่า คิดอะไรบ้าง
ท่านอาจารย์ ถามให้รู้ว่าต้องเป็นคนตรง ธรรมเป็นเรื่องตรงตั้งแต่ต้น ไม่ใช่ให้ไปคิด ไม่ใช่ให้ไปเตือน แต่ตรงให้รู้ว่าคิดบ้างหรือเปล่า ต้องมีปัจจัย จึงจะเกิดคิดถึงธรรม ต่อให้วันนี้ได้ยินคำถามนี้ ๑๐ ครั้ง ๒๐ ครั้ง คิดถึงหรือเปล่า ไม่มีใครไปบังคับบัญชาได้จนกว่าจะมีปัจจัย เพราะฉะนั้นหนทางนี้เป็นหนทางที่จะเข้าใจความเป็นอนัตตาเพิ่มขึ้นยิ่งขึ้นทีละเล็กทีละน้อยว่า แม้คิดบังคับไม่ได้ แต่ขณะใดก็ตามที่คิด รู้เลยไม่ได้บังคับให้คิดถึงธรรม มีปัจจัยต่างหากที่เกิดในขณะนั้นที่จะคิดถึง ก็จะค่อยๆ คลายความเป็นเรา จะคิดถึงธรรม เป็นธรรมเกิดเพราะเหตุปัจจัย อย่างไหนจะดีกว่ากัน เป็นเราพยายามไปคิดถึงธรรม หาเหตุที่จะให้คิดถึงธรรม รู้ว่าธรรมเกิดจากปัจจัย ก็พยายามอย่างนั้นพยายามอย่างนี้ โลภะไม่แสดงตนให้ใครรู้เลย ละเอียดมากอยู่ข้างๆ อยู่ข้างหลัง อยู่ข้างใน อยู่ในใจ พร้อมที่จะเกิดโดยไม่รู้ตัว มิฉะนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อตรัสรู้ จะไม่ทรงเปล่งพระอุทานว่าเราได้พบนายช่างผู้สร้างเรือน กว่าจะเจออยู่ที่ไหน ใกล้ออก มองไม่เห็น
อ.อรรณพ ได้ยินข้อความว่า คิดถึงธรรมบ้างไหม โลภะก็สร้างเรือน
ท่านอาจารย์ เพราะอะไร โลภะอยู่ในใจ พร้อมเลยเมื่อใดเมื่อนั้น ไม่ได้ต้องไปแสวงหาข้างนอก อยู่ในใจพร้อมจริงๆ
อ.อรรณพ เชื้อของความติดข้อง ซึ่งเต็มไปในจิตทุกขณะ พอมีเหตุปัจจัยก็เกิดขึ้น แม้ว่าคำที่กล่าวนั้นจะเป็นพุทธพจน์ อรรถกถาหรือท่านที่มีความเข้าใจธรรม
ท่านอาจารย์ และถ้าไม่สะสม การที่จะรู้ว่าโลภะเป็นสิ่งที่ต้องละตั้งแต่ต้น จะถูกหลอกไปตลอด แม้แต่ฟังขั้นแรก ก็เห็นแล้วใครจะไปละโลภะได้ แม้แต่เพียงได้ฟัง โลภะก็เกิดแล้ว อยากนั่นอยากนี่ อยากเข้าใจตรงนี้ อยากรู้ตรงนั้น ใคร เพราะฉะนั้นเริ่มจริงๆ เพียงได้ยินคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โลภะก็พร้อมที่จะตาม ตามไปตลอด เพราะฉะนั้นเริ่มเห็นความลึกซึ้ง เริ่มเห็นความยากอย่างยิ่ง ทำไมกว่าจะรู้โลภะต้องบำเพ็ญบารมีกันนานแสนนาน เพราะว่าความเป็นตัวตนพร้อมอยู่ในใจออกมาบ่อยๆ จะเป็นอย่างนั้น จะเป็นอย่างนี้ จะต้องการอย่างนั้น จะต้องการอย่างนี้ เพราะฉะนั้นผู้ที่รู้ตัวเองว่าหนทางนี้เป็นหนทางละ จะรู้เลย ชีวิตปกติอย่างนี้เอง เกิดเพราะเหตุปัจจัย ที่เกิดไม่ว่าจะเป็นโลภะ ไม่ใช่ไม่มี มีเกิดเพราะเหตุปัจจัย โทสะมีเกิดเพราะเหตุปัจจัย ริษยามีเพราะเหตุปัจจัย สำคัญตนมีเพราะเหตุปัจจัย ทุกอย่างมี เพราะฉะนั้นเมื่อทุกอย่างมี การที่จะละ คิด ยากแค่ไหน ที่จะไม่ไปตามโลภะที่เพียรด้วยความเป็นตัวตนที่จะละ ตั้งแต่ขั้นการฟัง ต้องรู้ว่าต้องเป็นปกติ แล้วขณะที่ฟัง ฟังไม่ใช่ได้ยิน
เพราะฉะนั้นฟังต้องไม่ใช่ฟังแล้วคิดเรื่องอื่น บางทีพูดเรื่องนี้ พอจบถามเรื่องอายตนะ มาจากไหน เมื่อสักครู่นี้พูดกี่คำไม่มีคำว่าอายตะนะเลย แล้วฟังหรือเปล่า แสดงว่าอย่างไร ไม่รู้เท่าทัน เพราะฉะนั้นฟังก็คือฟังทีละคำ แล้วก็เข้าใจคำที่ได้ฟังซ้ำแล้วซ้ำอีก เพราะเหตุว่าพอฟังแล้วก็เรื่องอื่นทันที แม้แต่กำลังฟัง ถ้าไม่เป็นฟังก็คิดเรื่องอื่นทันที แทรกอยู่ตลอดเวลา อะไรแทรก กำลังฟังก็แทรกได้ ละเอียดสักแค่ไหน เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมต้องละเอียดขึ้นละเอียดขึ้น กว่าจะรู้ทุกคำที่ทรงแสดงเป็นความจริงตามลำดับ ไม่ใช่เร่งรัดให้ใครไปรู้เลย แต่ให้เป็นผู้ที่มีความเข้าใจที่มั่นคง ว่ามีโอกาสที่จะได้ฟังคำจริงซึ่งแสนที่จะยาก ลึกซึ้งอย่างยิ่ง เพราะเป็นเรื่องที่ตรงกันข้ามกับที่เคยไม่รู้ และสะสม
อ.อรรณพ ตามโลภะตามไปโดยไม่รู้ตัว แม้การถามตอบธรรมอันนี้ บางทีอย่างก็มีคนมาถามธรรม พอถามคำหนึ่ง เขาถามคำนี้พูดเสร็จ แล้วเขาก็ไปถามอีกคำอีกคำ ด้วยความที่เขาก็อยากจะรู้คำนี้คำนั้น เราก็ตอบเขาด้วยความอยากตอบไปบ้าง ไปคำนั้นคำนี้ไปเรื่อยอย่างนี้ แต่เราก็ไม่รู้จิตเลยว่าจิตขณะนั้นเป็นความใส่ใจสนใจด้วยกุศล หรือเป็นความใส่ใจสนใจด้วยโลภะ
ท่านอาจารย์ ลองคิดถึงคนเก่ง เก่งมาก เก่งมานานแล้วด้วย
อ.อรรณพ ครับ
ท่านอาจารย์ แล้วทุกวันก็เก่ง แล้วก็เก่งต่อไป เก่งที่จะทำให้ติดข้อง โดยไม่รู้ คิดดู คนนี้เก่งระดับไหน ถ้าตัวตนปรากฏชัดเจนยังพอว่า เก่งยิ่งกว่านั้นอีกไม่ให้รู้ด้วย ทั้งลวงทั้งหลอกสารพัด เพราะเขามีมานานแสนนาน แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงระลึกชาติไม่สิ้นสุด แสดงว่าอวิชชาความไม่รู้ และโลภะความติดข้องมากมายมหาศาลแค่ไหน เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีความเข้าใจจริงๆ ว่าเริ่มด้วยการละในชีวิตปกติธรรมดา ค่อยๆ เข้าใจ และขณะที่เข้าใจคือปัญญา ขณะนี้ไม่มีเรา ฟังตำรามาก็มากมาย จิตตั้งกี่ดวง เจตสิกเท่าไหร่ เกิดกับจิตทีละหนึ่งขณะ มากน้อยต่างกัน ดับไปแล้วไม่เหลือเลย รู้ไหม กำลังเป็นเราฟัง เพราะฉะนั้นเมื่อใดที่สภาพของธรรมปรากฏซึ่งไม่ใช่เรา เมื่อนั้นก็จะปรากฏธาตุ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราได้ฟังมาแล้วนาน จนกระทั่งสามารถที่จะเห็นจริงๆ ว่านั่นเป็นเราไปไม่ได้เลย แต่เวลานี้แม้ว่าเรากำลังฟังอยู่ แต่คนเก่งเขามี จะไม่รู้เลย เก่งจริงๆ เพราะฉะนั้นเวลาที่เกิดสงสัยถาม ผู้ตอบจะอนุเคราะห์อย่างไร จะพาเขาห่างไกลจากการที่จะเข้าใจเรื่องละสิ่งที่กำลังปรากฏ หรือว่าจะให้เขารู้ว่า ยังไม่ถึงเวลา ยังไม่พร้อมที่จะรู้อย่างนั้น ถ้ายังไม่เริ่มให้ถูกต้องจริงๆ ไม่ทันโลภะสักอย่าง เป็นอย่างนี้ไปอีกในสังสารวัฏ
ด้วยเหตุนี้ในเถระสูตร จึงมีข้อความว่า ผู้ที่เข้าใจธรรม ทรงพระไตรปิฎก แสดงธรรมทุกสิ่งทุกอย่าง แต่เห็นผิด ไม่เป็นประโยชน์ แล้วลองคิดดู ถ้าเรามีตำรา อภิธรรมมัตถสังคหะ หรือว่าพระไตรปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ๗ คัมภีร์ แต่เราเรียนด้วยความเป็นเรา ไม่ได้รู้เลยว่าแต่ละคำนำไปสู่ไม่ใช่เรา พอได้ยินคำว่าโลภะ ความติดข้อง นำไปสู่การที่เป็นธาตุหรือเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งฉลาดแล้วก็เก่ง แล้วก็ลวง แล้วก็ล่อ ไม่พบเลย อยู่ด้วยกันทั้งวันไม่เห็น ใครเห็นบ้างตอนตื่น จนกระทั่งถึงตอนหลับ อยู่ตลอดวันก็ไม่เห็นใช่ไหม เพราะฉะนั้นการที่ได้ฟังคำที่ลึกซึ้งอย่างนี้ ต้องกว่าคำนั้นจะนำมา สู่การที่รู้จุดประสงค์จริงๆ ว่าเราไม่รู้ และอีกไกล และต้องเป็นความเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่เรา ขณะนี้จิตเจตสิกเกิดดับ ทำกิจการงานไม่รู้เลย เวลามีความเข้าใจเกิดขึ้น ขณะนั้นสภาพของความเข้าใจโดยความที่เป็นธรรม หรือเป็นธาตุก็ไม่ได้ปรากฏ แต่เราเข้าใจ เพราะฉะนั้นเรื่องธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดยิ่ง ฟังเพื่อเข้าใจ ตั้งต้นให้ถูกในชาตินี้ เพื่อว่าต่อๆ ไปทุกชาติ เราจะได้ไม่เป็นผู้ที่มีธรรม มีชื่อ มีอะไรต่างๆ สอนได้ พูดได้ แต่ว่าเห็นผิด อย่างที่เราได้ขอขมาพระรัตนตรัยใช่ไหม โทษอย่างใหญ่ที่สุด ก็คือว่าขออย่าได้มีความเห็นผิด
อ.วิชัย พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระมหากรุณาแสดงธรรมตลอด ๔๕ พรรษา ธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ก็เป็นประโยชน์เกื้อกูลต่อสัตว์โลกทั้งหลาย ที่ในเบื้องต้นท่านอาจารย์กล่าวถึงว่า การศึกษาให้เข้าใจทีละคำ ก่อนที่จะไปกล่าวถึงคำอื่นที่มีในพระไตรปิฎก แต่ว่ายังไม่เข้าใจในเบื้องต้นเลย ดังนั้นการที่จะกล่าวถึงสิ่งที่ปรากฏทางตา เห็น หรือว่าได้ยินเป็นปกติอย่างนี้ ความเข้าใจที่มั่นคงที่จะนำไปสู่ ความรู้ในส่วนอื่นๆ มีอายตนะ หรือว่าปฏิจจสมุปบาท การที่จะมีความเข้าใจเป็นเบื้องต้น แล้วก็จะนำไปสู่พระธรรมในส่วนอื่นๆ คืออย่างไร
ท่านอาจารย์ คือรู้ว่าเป็นธรรม ก่อนอื่นพอพูดอย่างนี้ ชื่อมาเต็ม เป็นธรรมหมด เป็นอายตนะ เป็นธาตุ ครบ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาทครบ ใช่ไหม แต่ว่าความเข้าใจในธรรม เริ่มตั้งแต่ธาตุรู้ ธรรมมีหลากหลายแต่ละหนึ่งก็เป็นแต่ละธาตุ เพราะฉะนั้นธาตุรู้ มีแน่ๆ เพราะฉะนั้นขณะที่กำลังฟัง พูดถึงธาตุรู้ ความเข้าใจในธาตุรู้แค่ไหน เห็นไหม คือไม่ข้ามที่จะนำให้คนเห็นความสำคัญว่า ความเข้าใจถูกก็ถูก ตามความเป็นจริงว่า ขณะนี้มีธาตุรู้ ไม่ใช่บอกเขาแต่เพียงว่า ธาตุรู้ได้แก่อะไรบ้าง มีเท่าใด แต่ว่าขณะนี้เดี๋ยวนี้ ธาตุรู้มีแน่นอน ไม่ปรากฏ ได้ยินชื่อ แต่กำลังเห็น ธาตุรู้หรือเปล่า ใช่ไหม
เพราะฉะนั้นแม้แต่ขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็น กับมีธาตุซึ่งกำลังเห็น ไม่ต้องคิดถึงอะไรทั้งหมดเลย อายตนะอะไรก็ไม่ต้อง ธาตุก็ไม่ต้อง กำลังมีเห็นกับมีสิ่งที่ปรากฏให้เห็น ๒ อย่างนี้ควรรู้ยิ่ง ใช่ไหม เพราะฉะนั้นกว่าจะมีความเข้าใจ ค่อยๆ ใกล้เข้าไปสู่ลักษณะของธาตุรู้ ซึ่งไม่มีรูปร่างใดๆ เลยทั้งสิ้น ไม่หวาน ไม่เค็ม ไม่แข็ง ไม่ร้อน แต่ว่าเกิดขึ้นแล้วต้องรู้ เห็นไหม เพราะมี กำลังมี แต่ว่ายังไม่รู้ความละเอียด และความจริงของธาตุรู้ เพราะฉะนั้นยังไม่ไปประจักษ์อะไรทั้งนั้นเลย แต่ว่าค่อยๆ ใกล้ต่อความเป็นธาตุรู้ มีทั้งวัน เกิดโดยที่ว่าใครก็บังคับบัญชาไม่ให้เกิดก็ไม่ได้
เพราะฉะนั้นกว่าจะรู้จริงๆ ว่าธาตุรู้ ธาตุไม่ใช่เรา เป็นธรรมอย่างหนึ่ง เป็นธาตุซึ่งเกิดขึ้นเห็น ต้องอาศัยตา แค่นี้ เดี๋ยวนี้ทุกขณะที่เห็นต้องอาศัยตา จักขุปสาทรูป รูปพิเศษสามารถกระทบกับสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น มองไม่เห็นด้วยรูปนั้น มีแต่สิ่งที่ปรากฏให้เห็นอย่างเดียวเท่านั้นในสังสารวัฏ ในบรรดาธรรมทั้งหมดสิ่งที่ปรากฏให้เห็นอย่างนี้เอง เป็นธาตุหรือธรรมอย่างหนึ่งอย่างเดียว ธรรมอื่นทั้งหมด ธาตุอื่นทั้งหมด ไม่ปรากฏให้เห็นเลย ค่อยๆ เข้าใจ อยู่ทั้งวันกับธาตุที่ปรากฏให้เห็น แล้วก็มีธาตุที่กำลังเห็น แล้วก็มีธาตุอื่นๆ ด้วย ซึ่งก็ต่างกันเป็น ๒ อย่างคือ ธาตุชนิดหนึ่ง ประเภทของธรรมที่เกิดแล้วไม่รู้อะไร ก็ต้องเป็นฝ่ายไม่รู้ อย่างเสียง จะให้เสียงเกิดขึ้นรู้ไม่ได้เลย ใครจะไปดลบันดาลให้เสียงเกิดขึ้น เปลี่ยนสภาพจากเสียง เป็นสภาพที่รู้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นนี่คือความหมายของธาตุแต่ละหนึ่งแต่ละหนึ่ง และก็ที่สำคัญก็คือว่า แค่ปรากฏแล้วดับ แล้วไม่กลับมาอีก กว่าจะไปถึงใจ ฟังทุกวันบ่อยๆ ติดข้องในสิ่งที่ไม่เหลือ จากไม่มี เกิดขึ้นมี แล้วดับ แล้วไม่กลับมาอีก ไม่เหลือเลย แล้วเราติดข้องไหม ในสิ่งที่กำลังปรากฏ แต่ลืม ไม่รู้ว่าสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ไม่มี แต่ว่าเกิดสืบต่อจนปรากฏเหมือนกับว่า ไม่เคยขาดไปเลยต่างหาก แต่ลักษณะต่างๆ เป็นแต่ละหนึ่งแต่ละหนึ่งเท่านั้นเอง ค่อยๆ เข้าใจเท่านี้ เข้าใจไปเรื่อยๆ ได้ยินคำไหน ก็ไม่พ้นจากธาตุรู้ กับสภาพซึ่งไม่ใช่สภาพรู้ แต่ใครจะมาบอกอย่างไรว่า ธาตุรู้เป็นอย่างนี้อย่างนั้น มีชื่อต่างๆ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ เป็นธาตุรู้ เป็นจิตพวกนี้ก็เป็นแต่เพียงชื่อ ไม่เหมือนกับเดี๋ยวนี้มีธาตุรู้ กำลังเห็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็น ไม่สามารถจะรู้อะไรได้ กำลังได้ยินเสียงปรากฏ ธาตุรู้เกิดขึ้น ธาตุรู้ได้ยินเสียงนั้นแล้ว ในความมืดสนิทแล้วก็ดับไป
เพราะฉะนั้นก็เริ่มที่จะเข้าใจความต่างของธาตุรู้กับธาตุซึ่งไม่ใช่สภาพรู้ ค่อยๆ เข้าใจในขณะที่กำลังพูดถึงสิ่งนั้น ในขณะที่สิ่งนั้นกำลังมี ค่อยๆ สะสมไปจนกว่าสามารถที่จะถนัด ชิน ชำนาญขึ้น ในการที่จะเข้าใจว่า พอธาตุรู้ค่อยๆ เข้าใกล้ ต้องทีละหนึ่งโดยความเป็นอนัตตา ยากไหม ถ้าได้ฟังความจริงว่าความเข้าใจหรือปัญญาเกิดท่ามกลางอกุศล ไม่ผิดเลยคำนี้ แต่ว่ายากที่จะนึกถึงว่าแล้วจะนานสักแค่ไหน ในเมื่ออกุศลเกิดทั้งทางตาเห็น จักขุวิญญาณดับไปแล้ว สัมปฏิจฉันนะไม่เห็น แต่รับรู้สิ่งที่จักขุวิญญาณเห็นต่อหนึ่งขณะดับไปแล้ว สันตีรณะเกิดขึ้นรับรู้ต่อจากสัมปฏิจฉันนะดับไปแล้ว โวฏฐัพพนะเกิดขึ้น ชื่อของจิต ๓ ขณะไม่ต้องจำก็ได้ ดับไปแล้ว โลภะเกิดแล้ว หรืออกุศลก็ได้ อะไรก็ได้เกิดแล้ว เพราะฉะนั้นขณะนี้ เราทั้งเห็นทั้งได้ยิน อกุศลเกิดตามที่เห็นที่ได้ยินเร็วมาก กำลังเข้าใจธรรมท่ามกลางอกุศล ทำไมกล่าวอย่างนี้ เพื่อความไม่ประมาทในความลึกซึ้งอย่างยิ่ง ไม่ใช่ว่าธรรมง่าย ไม่ต้องฟัง ไม่ต้องเรียน ไม่มีทางที่จะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย
อ.วิชัย ดังนั้นหมายความว่าการที่มีความรู้ ความเข้าใจที่มั่นคง ในสิ่งที่มีจริงๆ ขณะนี้ เมื่อมีความเข้าใจแล้วไปศึกษาพระธรรมในส่วนไหนก็ตาม ก็เป็นปัจจัยเพื่อให้เข้าใจในสิ่งที่มีขณะนี้ทุกๆ คำ
ท่านอาจารย์ สอดคล้องกันเลยใช่ไหม พอรู้จักธาตุรู้ ทางตา ๑ ทางหู ๑ ทางจมูก ๑ ทางลิ้น ๑ ทางกาย ๑ ทางใจ ๑ แค่ ๖ วนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ นับไม่ถ้วนแสนโกฏกัป ก็แค่นี้เอง เพราะฉะนั้นกว่าจะชินกับการที่จะรู้ว่า เป็นธาตุรู้ ไม่ว่าทางไหน ทางตาพูดถึงแล้ว ทางหูธาตุรู้ก็เกิดขึ้นได้ยินเสียงแล้วก็ดับไป ทั้งเสียงก็ดับ ทั้งธาตุรู้ก็ดับ แล้วมีอะไรเหลือ แต่ความไม่รู้สะสมสืบต่อ เมื่อไม่รู้ก็ยึดถือว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง ก็สะสมสืบต่อ นานแค่ไหนกว่าจะออกได้ ด้วยความเข้าใจที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นทีละเล็กทีละน้อย
อ.นภัทร ที่พระวิหารเชตวันขณะที่เดินประทักษิณ ขณะที่สภาพธรรมปรากฏแล้วก็มีการพิจารณาว่า ด้วยความเป็นปัจจัยของสภาพธรรมที่ปรากฏ เพราะมีปัจจัยอย่างนั้น จึงทำให้สภาพธรรมปรากฏขึ้นมา การที่พิจารณาอย่างนั้น ปัญญาจะรู้ถูกอย่างไรว่าเป็นปัญญาที่เห็นถูกจริงๆ ว่าไม่ใช่เรา ที่จะไปพิจารณา หรือว่าเป็นสภาพธรรมที่พิจารณาโดยความเป็นปกติ และความเป็นอนัตตาที่เกิดขึ้น
ท่านอาจารย์ ย้อนหลัง แล้วเดี๋ยวนี้ลืมว่าจะรู้ความจริงเข้าใจได้ ก็คือเดี๋ยวนี้ เพราะว่าไม่ว่าจะที่พระวิหารเชตวัน ในห้องนี้ นอกห้องนี้ หรือที่ไหนก็คิด แล้วแต่จะคิดอะไร จะคิดเรื่องพระวิหารเชตวันก็ได้ จะคิดเรื่องแข็งที่พื้นของพระวิหารก็ได้ จะคิดอะไรก็ได้ทั้งหมด แต่ละหนึ่งดับ ไม่กลับมาอีกเลย เพราะฉะนั้นที่ฟังธรรมไม่ว่าจะที่นี่ที่นั่นเรื่องนั้นเรื่องนี้ก็ตาม เพื่อให้มีความเข้าใจถูกต้องว่าสภาพรู้ ธาตุรู้เกิดเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไปค่อยๆ สะสมความเบาสบาย ความคุ้นเคย ไม่กังวลกับการที่ว่าหมดแล้ว ผ่านไปแล้ว กับสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้
อ.นภัทร เพราะฉะนั้นสภาพที่พิจารณาความเป็นปัจจัยเกิดขึ้นโดยความเป็นอนัตตา
ท่านอาจารย์ ทุกอย่าง ยังไม่แยกออกมาเลย
อ.นภัทร เพราะฉะนั้นถ้าจงใจที่จะพิจารณา ก็ต้องทราบว่า นั่นไม่ใช่ความเป็นอนัตตา
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ต้อง ไม่ใช่ต้อง ให้เข้าใจถูกต้องว่า ขณะนั้นหมดแล้ว ไม่ใช่เราที่จะเลือกหรือที่จะทำหรือที่จะพิจารณาในแบบนั้นหรือแบบนี้ ผ่านไปด้วยการที่ฟังอีก เข้าใจอีก และความเข้าใจนี้ต่างหาก กำลังละความไม่รู้ ไม่ใช่ที่พระวิหารเชตวัน ผ่านไป และความเข้าใจเดี๋ยวนี้จะไปละความไม่รู้ ในขณะที่กำลังเดินที่พระวิหารเชตวัน แต่ให้ทราบว่าขณะนี้ฟังแล้วเข้าใจ ตรงเข้าใจต่างหากที่ละ แล้วก็ความเข้าใจตรงนั้นเองกำลังทำหน้าที่ระหว่างที่ฟัง จะมากจะน้อยจะละเอียดจะชัดเจนหรือเว้นไป ไม่มีความเข้าใจในขณะนั้นก็ได้ใช่ไหม ไม่ใช่ว่าเราฟังแล้วเราเข้าใจทุกคำ ซาบซึ้ง หรือว่าไปถึงการที่ลักษณะนั้น เป็นสิ่งที่เป็นอย่างนั้น ก็ยังไม่ใช่ เพียงแต่ว่าในขณะที่กำลังฟัง ความเข้าใจขณะนั้นก็ไม่ใช่เรา แต่ก็ไม่รู้ว่าไม่ใช่เรา เห็นไหม จะพบความไม่รู้มากขึ้น มากขึ้น ความติดข้องด้วยขณะนั้น ความเข้าใจเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่เหตุการณ์อย่างนั้น เป็นอย่างไร หรือเราสามารถจะไปทำให้เกิดความเข้าใจอีกอย่างหนึ่งได้เมื่อใด ไม่ใช่อย่างนั้นเลย
เพราะฉะนั้นประโยชน์ของการฟังสุตมยญาณ ปัญญาสำเร็จจากการฟัง หมายความว่าฟังแล้วเข้าใจ เพราะฉะนั้นความเข้าใจต้องมาจากการฟัง เพราะฉะนั้นขณะที่กำลังฟัง เข้าใจตรงไหน นั่นเอง เขากำลังดับ และก็สะสม แล้วก็สืบต่อ แล้วก็ปรุงแต่ง โดยไม่มีใครรู้เลยว่าออกจากห้องนี้ไป เราเข้าใจมากน้อยแค่ไหน เพราะเหตุว่าปัญญาที่เข้าใจตรงนั้น ละตรงนั้น หลังจากนั้นที่เป็นอวิชชา เป็นโลภะ เป็นความติดข้อง ไม่ได้ละ แต่ว่าความเข้าใจเกิดเมื่อใด ละความไม่รู้ตรงนั้น เพราะฉะนั้นวิธีที่จะรู้ว่าเราเข้าใจมากน้อยแค่ไหน ก็คือเดี๋ยวนี้เอง เข้าใจอะไร มากน้อยแค่ไหน คือละตรงนี้ แล้วก็เวลาที่ฟังเข้าใจ ความเข้าใจขั้นฟังก็ละความที่ไม่เคยเข้าใจ หรือว่าเคยเข้าใจผิด ปัญญาเขาก็ทำหน้าที่ของเขาตามลำดับขั้นด้วย แต่ไม่ใช่เรา จะเอาเราอยากรู้ตรงนี้ ไปเข้าใจแล้วคิดว่าจะละ ไม่ได้เลย ต้องเป็นความเข้าใจเกิดเมื่อใด ตรงนั้นทันทีที่เข้าใจ ก็ละความไม่รู้ ค่อยๆ เป็นอย่างนี้
อ.นภัทร เพราะฉะนั้นบุคคลผู้นั้นต้องทราบความต่าง
ท่านอาจารย์ แน่นอน พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มรดกจากพระองค์ที่ประเสริฐสุด คือปัญญาของผู้ฟัง ไม่ใช่ปัญญาของพระองค์ ไปบอกเขาว่าตรงนี้ผิด ตรงนั้นถูก ตรงนี้ต้องแก้ ตรงนั้นต้องทำอย่างนั้น แต่ต้องเป็นการที่ฟังพระธรรม ปัญญาของใครเกิด นั่นคือมรดกที่ได้รับจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อ.นภัทร พูดถึงเรื่องการสะสม แม้ในขณะนี้ก็มีการสะสมที่เป็นกุศลหรือเป็นอกุศลก็แล้วแต่เพราะว่าสลับกัน
ท่านอาจารย์ นี่คือเราเริ่มรู้จักสภาพรู้ว่าหลากหลายมาก และก็สภาพรู้ไหนสะสม สภาพรู้ไหนไม่สะสม
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 961
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 962
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 963
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 964
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 965
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 966
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 967
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 968
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 969
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 970
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 971
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 972
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 973
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 974
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 975
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 976
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 977
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 978
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 979
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 980
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 981
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 982
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 983
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 984
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 985
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 986
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 987
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 988
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 989
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 990
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 991
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 992
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 993
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 994
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 995
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 996
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 997
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 998
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 999
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1000
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1001
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1002
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1003
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1004
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1005
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1006
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1007
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1008
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1009
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1010
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1011
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1012
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1013
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1014
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1015
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1016
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1017
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1018
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1019
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1020