ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1002
ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๑๐๐๒
สนทนาธรรม ที่ บ้านธัมมะ ลำพูน
วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ท่านอาจารย์ ตอนนี้ก็ฟังรู้ว่าธรรมคือสิ่งที่มีจริงทั้งหมดแต่ละหนึ่งแต่ละหนึ่ง แล้วก็ถูกกำบังไว้ด้วยความไม่รู้มาก จนกว่าจะฟังขึ้นละเอียดขึ้น ค่อยๆ รู้ขึ้นว่าทุกคำนั้นจริง เช่น ถามว่าเห็นคุณวิชัยหรือเห็นอะไร ตอบให้ตรงได้ไหม เห็นอะไร
ผู้ฟัง เห็นเป็นธรรม
ท่านอาจารย์ เป็นเราหรือเปล่า
ผู้ฟัง ก็ยังเป็นเราอยู่
ท่านอาจารย์ แต่ความจริงคือเราหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่เรา
ท่านอาจารย์ ความจริงเห็นเกิดแล้วก็ดับ และต้องอาศัยปัจจัยไม่มีใครไปทำให้เห็นเกิดได้เลยสักคนสักขณะ ถ้าไม่มีตา อย่างไรอย่างไรก็ไม่เห็น ใครจะไปทำอย่างไรก็เห็นไม่ได้ เพราะฉะนั้นเห็นก็เกิดเพราะเหตุปัจจัย ได้ยินก็เช่นเดียวกัน ไม่มีใครไปทำ ทุกคนก็ได้ยินเสียง เพราะมีปัจจัยที่ทำให้เกิดเสียง แต่ละหนึ่งเป็นธรรมแต่ละหนึ่งไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นเอาแค่ทางตาเดี๋ยวนี้ เห็นอะไร เห็นต้องมีสิ่งที่ถูกเห็นใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเห็นอะไร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าอย่างไร ที่เป็นความจริงถึงที่สุด ไม่เหมือนใคร ไม่เหมือนคำของใคร เพราะว่าเกิดจากการตรัสรู้ เพราะฉะนั้นเห็นกำลังเห็น แต่เห็นอะไร
ผู้ฟัง ก็ต้องเห็นความจริงใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง และความจริงที่เห็นนั่นแหละคืออะไร ที่ถูกเห็นนั่นแหละคืออะไร
ผู้ฟัง คือความเข้าใจ
ท่านอาจารย์ ความเข้าใจไม่ได้เป็นสิ่งที่ถูกเห็นด้วยตา นี่เรามีเห็น มีตาใช่ไหมกับมีเห็น แต่ว่าเห็นอะไร
ผู้ฟัง หนูก็ยังไม่เข้าใจเลย
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นการฟังพระธรรมครั้งเดียวไม่พอ รู้จักเห็นแต่ยังไม่รู้จักสิ่งที่ปรากฏให้เห็น เพราะฉะนั้นถ้ากล่าวว่า เห็นเกิดขึ้นต้องมีสิ่งที่ถูกเห็น แน่นอนใช่ไหม เหมือนได้ยินเกิดขึ้นก็ต้องมีเสียงที่กำลังได้ยินในขณะนั้น ไม่ใช่เสียงอื่นเฉพาะหนึ่งขณะจริงๆ ด้วยเหตุนี้เห็นอะไร เมื่อมีเห็น ต้องมีสิ่งที่ถูกเห็น แต่รู้ไหมว่าสิ่งที่ถูกเห็นคืออะไร
ผู้ฟัง อย่างเช่นเราเห็นเป็นดอกไม้
ท่านอาจารย์ อันนั้น เห็นเป็นดอกไม้ใช่ไหม ไม่เรียกว่าดอกไม้ ก็ยังมีสิ่งที่ถูกเห็นอยู่ใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นมีเห็นกับมีสิ่งที่ถูกเห็น ถ้าไม่มีสิ่งที่ถูกเห็น จะมีเห็นไหม
ผู้ฟัง ก็ไม่มี
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเมื่อมีเห็นแล้ว ต้องมีสิ่งที่ถูกเห็นใช่ไหม แล้วสิ่งที่ถูกเห็นคืออะไร
ผู้ฟัง ยากจริงๆ
ท่านอาจารย์ ยากจริงๆ ๑๐ปี ๒๐ปี ก็ยังยาก เพราะว่าสะสมความไม่รู้มาเกินอสงไขยแสนกัป เพราะฉะนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้สิ่งที่มีจริง คิดถึงพระปัญญาคุณ ถ้าไม่ทรงบำเพ็ญความดีคือบารมี ไม่มีทางที่จะรู้ได้เลย เพราะอกุศลจิตเกิดทั้งวัน จะเอาอกุศลไปรู้ความจริงไม่ได้ เพราะความไม่รู้จึงเป็นอกุศลประเภทต่างๆ เพราะฉะนั้นอกุศลรู้ความจริงไม่ได้ แต่ต้องแทนที่อกุศลจะเกิด ก็กุศลจิตเกิด ค่อยๆ น้อยลงทางฝ่ายอกุศล ทางฝ่ายกุศลเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นบารมีคือความดีแต่ละหนึ่งในชีวิตประจำวัน ถ้าไม่เกิดขึ้นขณะนั้นก็ไม่ใช่ ไม่สามารถที่จะทำให้เข้าใจสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพราะฉะนั้นลองคิดอีกทีก็แล้วกัน คิดเองจะทำให้รู้ว่านั่นคือปัญญา ถ้าเข้าใจถูกต้อง เห็นอะไร เห็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ เพราะฉะนั้นจะเป็นดอกไม้ได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เพราะหลับตาแล้ว หลับตาแล้วก็ไม่มีเลย คนตั้งกี่คน สนามหญ้า ดอกไม้ไม่มีเลยทันทีที่หลับตา เพราะฉะนั้นเห็นเพียงสิ่งที่กระทบตามีจริงๆ แต่เป็นรูปสิ่งที่มีจริงที่สามารถกระทบกับตาได้ เสียงกระทบตาได้ไหม
ผู้ฟัง เสียงกระทบตาไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไม่ได้เห็นเสียงใช่ไหม กลิ่นกระทบตาได้ไหม
ผู้ฟัง กลิ่นกระทบตาก็ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นมีธรรมหนึ่ง หนึ่งเดียวที่สามารถกระทบตาแล้วปรากฏ ว่านี่แหละเป็นสิ่งที่มีจริงอย่างหนึ่งเท่านั้นแล้วก็ดับไป เพราะแค่หลับตาก็ไม่ปรากฏแล้ว ไม่มีเหตุที่จะให้สิ่งนั้นปรากฏ แต่สิ่งนั้นต้องเกิด ไม่เกิดกระทบตาไม่ได้ และขณะนั้นถ้าดับไปก่อน จิตก็เห็นไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องเกิด คงอยู่ แล้วก็ดับไป แล้วก็จะเป็นคนได้ไหม จะเป็นดอกไม้ได้ไหม ถ้าไม่มารวมกันแต่ละหนึ่งสีหนึ่งลักษณะ
ผู้ฟัง ก็เป็นไปไม่ได้
ท่านอาจารย์ เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นกว่าจะรู้ว่าเห็นอะไร ก็เห็นมาตั้งนานกี่ชาติกี่ชาติ แต่ไม่รู้เลยว่าหลงเข้าใจว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง ติดข้องมากเลยในสิ่งที่ปรากฏให้เห็น แต่หารู้ไม่ว่าในขณะที่ติดข้อง สิ่งนั้นเพียงปรากฏแล้วดับ แล้วไม่กลับมาอีก เท่ากับว่าติดข้องในสิ่งที่ไม่มี เพราะจากไม่มี ก็เกิดมี แล้วก็หามีไม่ หาอีกไม่ได้ในจักรวาล กี่ชาติจะไปค้นหาอีกก็ไม่ได้ จะไปค้นหาสิ่งที่ปรากฏเดี๋ยวนี้ในชาติก่อนๆ ก็ไม่ได้ ชาติหน้าก็ไม่ใช่ เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าธรรมละเอียดมาก แม้แต่เพียงทางตากว่าจะเข้าใจ ฟังไปกี่วัน กี่เดือน กี่ปีระลึกบ้างไหม เริ่มจะเข้าใจหรือเปล่าว่าแท้ที่จริงแล้ว ก็แค่เห็นกับสิ่งที่ปรากฏ มิฉะนั้นละกิเลสไม่ได้
เพราะฉะนั้นไม่ลืม ขณะนี้เห็นอะไร เห็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ มีจริงๆ สิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้มีเพราะกำลังถูกเห็น แล้วสิ่งที่มีใครรู้ว่าดับ ใครรู้ว่าเกิดดับอยู่ตลอดเวลา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ด้วยเหตุนี้เริ่มเห็นพระปัญญาคุณ พระพุทธรูปเป็นเพียงเครื่องหมายเตือนให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธรูปไม่ใช่พระพุทธเจ้า ถ้าใครกราบไหว้โดยไม่เข้าใจธรรม ถึงกราบสักเท่าใด ก็ไม่รู้จักว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัญญาคุณคืออย่างไร เพราะฉะนั้นผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัส ถ้าไม่มีการฟังธรรม ไม่เข้าใจธรรม ไม่รู้จักพระพุทธเจ้าแน่นอน ต้องเป็นผู้ที่อดทน ขันติบารมี
ผู้ฟัง หนูก็ต้องอดทนไปอย่างนี้
ท่านอาจารย์ ในขณะที่อดทนก็ยังมีสัจจบารมี รู้ว่าสิ่งนี้เป็นความจริง ซึ่งยังไม่ได้เข้าใจถึงระดับขั้นที่ประจักษ์แจ้ง ก็ต้องเป็นผู้ที่ตรง เพราะฉะนั้นในขณะที่จิตเห็น จิตเป็นธาตุรู้เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ เช่นเห็น ได้ยิน เป็นต้น ในขณะที่จิตเกิดขึ้นเห็น รู้ไหมว่าสิ่งที่สะสมมาในจิตที่เห็น เหมือนกับสิ่งที่จมอยู่ใต้มหาสมุทร ยังไม่รู้ ยังไม่โผล่ขึ้นมา ยังไม่ลอยขึ้นมาให้เห็นเลย จิตเจตสิกเกิดดับไม่มีเราขณะนั้น แล้วก็เร็วมาก แล้วแต่ว่าขณะนั้นจิตใดเกิดประกอบด้วยเจตสิกใด ทั้งหมดทรงแสดงไว้เพื่ออะไร เพื่อให้รู้ว่าไม่ใช่เรา เพราะการที่จะละความเป็นเรายากมาก ต้องเป็นปัญญาที่ค่อยๆ เจริญขึ้นมั่นคงขึ้น อย่าลืมว่าพระธรรมละเอียดลึกซึ้ง แม้กำลังปรากฏก็ไม่รู้ จะค่อยๆ รู้ ค่อยๆ เข้าใจต่อเมื่อได้ฟัง ฟังเพียงเล็กน้อย แม้รู้ว่าเป็นความจริงก็ยังไม่สามารถที่จะถึงการประจักษ์แจ้ง เพราะว่าปัญญาต้องอบรมเจริญตามลำดับว่าไม่ใช่เรา ถ้ายังเป็นเราที่จะทำอย่างนั้นทำอย่างนี้ก็คือปิดหนทาง ไม่ใช่หนทางที่ถูกต้อง เพราะเหตุว่าขณะนั้นยึดถือว่าเป็นเราจะทำ
อ.ธิดารัตน์ การที่จะมั่นคงแม้ในขั้นปริยัติ ก็ต้องเข้าใจด้วยว่า หนทางที่ถูกต้องเป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ เพราะมั่นคงคือปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาก็ไม่มั่นคง เพราะฉะนั้นถ้ามีปัญญามั่นคง จะไปไหนหรือไม่ เพราะว่าขณะนี้สภาพธรรมกำลังเกิดดับ แต่ปัญญายังไม่เจริญถึงขั้นที่สามารถจะประจักษ์แจ้งได้ เพราะฉะนั้นให้คิดว่าแต่ละคนมีจิตหนึ่งขณะเกิดแล้วดับ จิตหนึ่งขณะนั้นสะอาดแค่ไหน หรือว่าสกปรกเน่าเหม็นด้วยความไม่รู้ ด้วยเชื้อโรค คือกิเลสมากสุดที่จะเยียวยา ถ้าไม่มียาวิเศษคือพระธรรม จิตนี้ก็จะสะสมความไม่สะอาดต่อไปมากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น เพราะฉะนั้นโอกาสดีก็คือเห็นค่าของเวลาของการฟังเพื่อที่จะเข้าใจธรรม เพราะเหตุว่าเราไม่รู้ เราจะจากโลกนี้ไปเมื่อใด ก่อนจากไปก็ได้ฟังแล้วได้เข้าใจ ซึ่งสามารถที่จะสะสมสืบต่อชำระจิตขณะนี้ได้หน่อยหนึ่ง พอไปถึงชาติหน้าก็ค่อยๆ ชำระต่อไปอีกจนกว่าจะสะอาด
ผู้ฟัง ดอกกุหลาบจริงๆ แล้วแยกออกละเอียดยิบจนย่อยแล้ว เราก็ไม่สามารถจะเรียกสิ่งนั้นได้ว่า เป็นดอกกุหลาบ ซึ่งเป็นความจริงก็คิดว่า สิ่งที่แยกย่อยละเอียดนิดหนึ่ง ก็ต้องมีมหาภูตรูป
ท่านอาจารย์ กำลังเห็น รู้ว่ามีมหาภูตรูปหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ ยังรู้ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นแค่เห็นกับสิ่งที่ปรากฏ ก็ต้องเข้าใจในลักษณะที่ต่างกัน มิฉะนั้นก็รวมกัน ไม่รู้ว่าเห็นเป็นอย่างไร และสิ่งที่ปรากฏจริงๆ คืออะไร เพราะฉะนั้นใช้คำว่าเห็น เพราะกำลังเห็น เห็นอะไร เห็นสิ่งที่เพียงปรากฏให้เห็นได้ และรู้ชัดว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ นั่นคือความถูกต้อง แต่กว่าขั้นต้นจะถึงขั้นนั้นได้ ต้องอาศัยความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นที่ว่า แล้วสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้อยู่ที่ไหน เห็นไหม แค่แต่ละคำถามธรรมดาๆ สิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ไม่ว่าจะเห็นอะไรก็ตาม อยู่ที่ไหน
ผู้ฟัง ถ้าไม่มีมหาภูตรูป ก็จะไม่มีการเห็นสิ่งที่ปรากฏ
ท่านอาจารย์ นั่นสำหรับคนที่เคยฟังธรรมแล้ว ใช่ไหม แต่ถ้าคนไม่เคยฟัง ก็ตอบไม่ได้เลยว่าอยู่ที่ไหน แต่ไม่รู้หรือว่า ถ้าไม่มีสิ่งที่เราเคยยึดถือว่าเป็นดอกไม้ ไม่ใช่มีแต่เฉพาะสี ใช่ไหม แต่ต้องมีที่อยู่ที่เกิดของสีที่ปรากฏที่กระทบตาได้ เพราะว่าเวลาที่กระทบสัมผัสดอกกุหลาบ แข็งหรืออ่อนปรากฏทางกาย แต่ไม่เห็น แต่พอลืมตาสีสันวรรณะปรากฏ แต่แข็งไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้นที่ใช้คำว่ามหาภูตรูป ก็ต้องเข้าใจคำว่าธรรมมี ๒ อย่าง แม้ว่าทุกอย่างจะเป็นธรรม แต่ธรรมที่เกิดขึ้นแต่ไม่รู้อะไรเลย เพียงแข็ง เพียงร้อน เพียงหอม เพียงหวานไม่รู้อะไรเลย ธรรมที่เกิดขึ้นแล้วไม่ใช่สภาพรู้ ไม่สามารถจะรู้อะไรได้ รวมเรียกว่ารูปธรรม แต่ไม่ใช่เอามารวมกันแล้วเป็นรูปธรรม ต้องเป็นรูปธรรมแต่ละหนึ่ง จะได้รู้ว่ารูปธรรมมีกี่อย่าง ส่วนสภาพรู้ถ้าไม่มีธาตุรู้เกิดขึ้น สิ่งใดๆ ก็ไม่ปรากฏว่ามี เพราะไม่เห็น เพราะฉะนั้นขณะใดก็ตาม ไม่ว่าเมื่อใดก็มีสภาพธรรม ๒ อย่าง สภาพธรรมอย่างหนึ่งไม่สามารถจะรู้อะไรได้เป็นรูปธรรม สภาพธรรมอีกอย่างหนึ่งเป็นธาตุรู้เป็นนามธรรม ไม่มีรูปร่างเลย เพราะฉะนั้นเวลาที่เห็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ อยู่ที่ไหน ถ้าไม่ยกขึ้นมาเห็นไหม
ผู้ฟัง ไม่เห็น
ท่านอาจารย์ เอาออกไปเห็นไหม
ผู้ฟัง ไม่เห็น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นที่ใดที่มีแข็ง สามารถรู้แข็งทางกาย แต่ลืมตาเห็นเพียงแค่สีสันวรรณะของสิ่งที่รวมอยู่มีอยู่ที่ตรงแข็งนั่นแหละ เป็นแต่ละรูป เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมต้องละเอียดมาก ละเอียดจนกระทั่งว่ารูปที่เป็นใหญ่เป็นประธานมี ๔ รูป รูปทั้งหมดมี ๒๘ รูป ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ เป็นต้นไม้ เป็นขนม เป็นอะไรก็ตาม ทั้งหมดนั่นก็คือรูปแต่ละรูปที่รวมกัน อย่างน้อยที่สุดรวมกัน ๘ รูป คือ เป็นมหาภูตรูป รูปที่เป็นใหญ่เป็นประธาน ๔ รูป มีลักษณะที่อ่อนหรือแข็ง ใช้คำว่าธาตุดินหรือปฐวีธาตุ ธาตุน้ำสภาพที่ซึมซาบเกาะกุมรูปที่รวมกันอยู่ ไม่ใช่น้ำที่เราดื่ม เพราะว่าทั้ง ๘ รูป ปราศจากกันไม่ได้เลย แต่ว่ารูปที่เป็นใหญ่เป็นประธานมี ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ธาตุดินอ่อนหรือแข็ง ธาตุน้ำซึมซาบหรือเกาะกุม ธาตุไฟเย็นหรือร้อน ธาตุลมตึงหรือไหว เราไม่รู้เลย เมื่อปรากฎจึงรู้ อย่างแข็งถ้าไม่กระทบสัมผัส ไม่มีที่จะปรากฏว่าแข็ง เพราะฉะนั้นรูปที่รู้ได้ทางกายที่กระทบสัมผัสได้ก็คือ เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว ๓ รูป ทั้ง ๓ รูปต้องมีอยู่ในที่นั้นรวมเรียกว่า โผฏฐัพพะ เพราะเป็นรูปที่กระทบได้ ชื่อไม่ต้องจำก็ได้ เพราะเป็นอีกภาษาหนึ่ง แต่เข้าใจในภาษาของตนของตนก่อน แล้วพอได้ยินคำอื่นก็สามารถที่จะรู้ได้ว่าหมายความถึงสิ่งนั้น
เพราะฉะนั้นสิ่งที่กระทบทางกายได้มี ๓ รูป แต่มหาภูตรูปมี ๔ เพราะฉะนั้นมหาภูตรูปหนึ่งซึ่งไม่สามารถจะกระทบทางกายได้เลย ก็คือธาตุน้ำซึ่งเกาะกุมธาตุทั้ง ๓ ไว้ เพราะฉะนั้นเวลากระทบเมื่อใดก็ปรากฏเฉพาะอาการของธาตุหนึ่งธาตุใด ก็คือแข็งหรืออ่อน กระทบไฟก็คือร้อนหรือเย็น กระทบตึงหรือไหว เพราะฉะนั้นทางตามีสิ่งที่ปรากฏให้เห็นอยู่ที่มหาภูตรูปนั่นเอง เพราะว่า ๘ รูปนี้แยกกันไม่ได้เลย วินัยคืออะไร
อ.วิชัย วินัยหมายถึง เครื่องนำออกจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะเหตุว่าพระองค์รู้ตามความเป็นจริงว่า สิ่งที่มีโทษ สิ่งที่เป็นเหตุให้เดือดร้อนทั้งหมด ก็คืออกุศลธรรมทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็คือความไม่รู้ ดังนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบัญญัติพระวินัยก็ด้วยพระมหากรุณา ที่จะรู้ว่าการกระทำอย่างนั้นไม่เหมาะไม่สมแก่เพศบรรพชิต ดังนั้นจึงบัญญัติเพื่อให้ภิกษุทั้งหลายได้ศึกษา แล้วก็รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นไปกับอกุศลมีโทษ อย่างเช่นคำพูดในแต่ละวัน พูดอะไรบ้าง ถ้าพูดคำไม่จริงดีไหม ไม่ดีแน่นอน แม้คฤหัสถ์ก็รู้ แต่พระภิกษุเมื่อกล่าวคำไม่จริง ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อ.ธีระพันธ์ อาบัติปาจิตตีย์ ก็เป็นอาบัติหนึ่งที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติ ปาจิตตีย์คือยังกุศลธรรมให้ตกไป ผิดต่ออริยมรรคคือขัดขวางต่อการที่จะรู้แจ้งความจริง แล้วขณะนั้นเป็นไปกับความไม่รู้
ท่านอาจารย์ ไม่ลืมว่า ธรรมละเอียดเพราะอะไร อกุศลที่สะสมมามากมายมหาศาลละเอียดไหม ไม่รู้ตัวเลยก็มีใช่ไหม ในขณะที่ลืมตาแล้วหลังจากนั้นเพียง ๓ ขณะจิต อกุศลก็เกิดแล้ว นี่คือพระมหากรุณาที่จะแสดงให้เห็นว่าแต่ละคนประมาทไม่ได้ว่าแต่ละวันสะสมอกุศลไว้มาก เมื่อได้ยินอย่างนี้ ใครยังชอบที่จะสะสมอกุศลไว้มากๆ อีกต่อไป อกุศลไม่ดี ทำให้ไม่รู้ความจริงเป็นโทษต่างๆ แล้วก็ทันทีที่แม้เพียงแค่เห็น ยังไม่ทันรู้ว่าเป็นดอกไม้ สักกลีบ สักดอกก็ยังไม่รู้ อกุศลก็เกิดแล้ว ทรงแสดงความจริงนี้เพื่อไม่ประมาทว่า อกุศลมากมายอย่างนี้ ใครยังพอใจที่จะให้มีอกุศลอย่างนี้อยู่ต่อไป ถ้าเป็นผู้ที่มีปัญญา เห็นโทษของอกุศล ก็รู้ว่าที่ถูกต้องก็คือว่าควรที่จะให้กิเลสหมดไป นำกิเลสออกไป แต่ละคนถ้าไม่มีปัญญาจริงๆ ไม่มีทางที่จะเอากิเลสออกไปได้ เพราะว่ากิเลสมีมาก อย่างผู้ที่ทำสมาธิความสงบถึงขั้นฌานจิต ไปเกิดในอรูปพรหม หรือรูปพรหมก็ตาม เขาก็ไม่ได้รู้ความจริงว่าเห็นขณะนี้เกิดดับ ต้องเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ทรงบำเพ็ญพระบารมี ตรัสรู้ความจริงทุกอย่าง ไม่ว่าคนนั้นจะเกิดที่สวรรค์หรือว่าที่พรหมโลก หรือว่าเป็นมนุษย์โลกก็ตามแต่ ล้วนเต็มไปด้วยกิเลส แต่การที่พระองค์สามารถที่จะดับกิเลสได้หมดไม่เหลือเลย คิดดู ต้องอาศัยกาลเวลา และต้องอาศัยเป็นผู้ที่ตรงที่จะรู้ว่ากิเลสไม่ดีมีมาก แต่เอาออกไม่ได้ด้วยตัวเอง ต้องอาศัยพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงแสดงธรรมให้เกิดความเข้าใจทีละเล็กทีละน้อย ค่อยๆ นำกิเลสออกทีละเล็กทีละน้อย
เพราะฉะนั้นธรรมก็นำกิเลสออก ธรรมก็เป็นวินัยเพราะนำกิเลสออก จากไม่รู้เป็นค่อยๆ รู้ขึ้น แต่ว่ากิเลสที่มีมากมายหลายระดับ เพราะฉะนั้นก็มีการแสดงโทษของกิเลสอย่างหยาบ ซึ่งทรงแสดงวินัย วินัยที่จะนำกิเลสประเภทนั้นๆ ออก ด้วยการที่เห็นโทษจริงๆ ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด ฟังแล้วต้องค่อยๆ คิด ค่อยๆ ไตร่ตรอง เพราะฉะนั้นทุกคนหมด ไม่ว่าเป็นภิกษุหรือคฤหัสถ์ก็มีกิเลส แล้วก็เห็นโทษของกิเลส ขณะที่ฟังธรรมเพราะเห็นโทษของกิเลส กำลังหาทางที่จะดับกิเลส แต่กิเลสมากๆ อย่างนี้จะดับได้อย่างไร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมนำกิเลสออก แต่ว่ายังไม่พอกับความประพฤติที่เป็นไปเพราะกิเลสหยาบๆ มีการพูดคำไม่จริง มีการเอาสิ่งของที่คนอื่นไม่ได้ให้ เป็นต้น นี่แสดงว่าถ้ายังคงเป็นกิเลสหยาบอย่างนี้ แล้วก็ยังไม่เห็นโทษ ก็ไม่สามารถที่จะดับกิเลสได้
ด้วยเหตุนี้พุทธบริษัทที่ฟังธรรม มีความประสงค์ที่จะเข้าใจธรรมเพื่ออะไร เพื่อละกิเลส แต่ไม่ได้หมายความว่า จะละเดี๋ยวนี้ด้วยความเป็นตัวตน แต่รู้ว่าหนทางเดียวคือความเข้าใจธรรมทีละเล็กทีละน้อย ก็นำกิเลสออกไปทีละเล็กทีละน้อย และความประพฤติทางกายทางวาจาที่ไม่ดีมากๆ ไม่ว่าเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิต ก็เริ่มรู้ว่าสมควรที่จะละกิเลสขั้นหยาบ เราละกิเลสที่ละเอียดไม่ได้ว่าไม่ใช่เราที่เห็น ยังไม่ถึงระดับนั้น แต่ระงับกิเลสซึ่งประทุษร้ายคนอื่น ด้วยกายบ้าง วาจาบ้าง เพราะเห็นโทษว่า เราคิดว่าเราทำร้ายเขา ใช่ไหม แต่ความจริงกิเลสทำร้ายผู้ที่มีกิเลสตั้งแต่กิเลสเกิด เพราะฉะนั้นหวังจะไปทำร้ายคนอื่น ลืมว่าถูกทำร้ายอยู่ตลอดเวลาที่อกุศลจิตเกิด
ด้วยเหตุนี้ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก ไม่ใช่ว่าฟังมาว่าศีล ๕ มีอะไรแล้วก็ประพฤติตาม แต่ไม่รู้ไม่เข้าใจ หรือว่าศีล ๘ มีอะไรมากกว่าศีล ๕ อีก รู้สึกว่าจะได้บุญมากกว่าศีล ๕ แต่ก็ยังเป็นเรา เพราะฉะนั้นธรรมไม่ใช่เป็นเรื่องที่ทำให้โลภะเกิดขึ้น เพราะเหตุว่าธรรมที่ถูกต้อง เป็นปัญญาที่สามารถจะเห็นโทษของอกุศลแม้เพียงเล็กน้อย แต่ก็จะดับหมดทันทีไม่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีวินัยทั้งของคฤหัสถ์ และของบรรพชิต แสดงความต่างกันว่า ผู้ที่เป็นชาวพุทธที่ได้ฟังธรรมที่เป็นคฤหัสถ์ เห็นโทษของกิเลสน้อยกว่าผู้ที่เป็นภิกษุ เพราะว่ารู้เลยว่าชีวิตของฆราวาสเต็มไปด้วยกิเลสทั้งวัน วาจาที่เป็นไปด้วยกิเลสมีไหม มี การกระทำที่เต็มไปด้วยกิเลสมีไหม มี มากมายมหาศาล ยิ่งเห็นละเอียด ผู้ที่เห็นโทษก็ทูลขออุปสมบท เพื่อที่จะประพฤติปฏิบัติตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องไม่ลืม เพราะเหตุว่าต้องเป็นเรื่องของการละคลาย และดับกิเลสด้วยปัญญา
เพราะฉะนั้นทั้งสองพวกคือทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิต ฟังธรรมแล้วก็มีความเข้าใจ รู้จักตัวเองตามความเป็นจริงว่า จะอบรมเจริญปัญญาในเพศใด ถ้าในเพศคฤหัสถ์ก็คือว่าสามารถที่จะรู้ความจริง เป็นพระโสดาบันได้ ดับกิเลสได้ถึงความเป็นพระอรหันต์เมื่อใด เมื่อนั้นจึงจะครองเรือนต่อไปอีกไม่ได้ มีชีวิตอย่างฆราวาสอีกไม่ได้ แต่สำหรับผู้ที่เห็นโทษของชีวิตของคฤหัสถ์ ต้องเป็นปัญญาที่สะสมมาด้วย ไม่ใช่ว่าไม่รู้ว่าบวชทำไม และบวชคืออะไร แต่อยากบวช นั่นไม่ใช่ภิกษุตั้งแต่ต้น ภิกษุไม่ใช่เพราะอยากบวชแล้วเป็นภิกษุ แต่เป็นภิกษุเพราะเห็นภัยของสังสารวัฏ เห็นโทษของกิเลส และรู้ตามความเป็นจริงว่า สามารถสละทุกสิ่งทุกอย่างในเพศคฤหัสถ์ได้ ดูฟุตบอลไม่ได้ ฟังเพลงไม่ได้ อะไรต่างๆ เหล่านี้ ไปตลาด เข้าห้างสรรพสินค้า ซื้อสิ่งนั้นสิ่งนี้ไม่ได้ ทำอาหารเองไม่ได้ ทั้งหมดไม่ใช่ผู้ที่เห็นโทษ และขัดเกลาในเพศบรรพชิตที่จะกระทำ เพราะว่าถ้าไม่ถึงการที่สะสมมาที่จะมั่นคงในการที่จะสละเพศคฤหัสถ์ การบวชเป็นบรรพชิต เพราะเพียงความอยากบวช ไม่สามารถที่จะเป็นบรรพชิต ภิกษุในธรรมวินัยได้ เพราะอะไร เพราะความประพฤติเหมือนคฤหัสถ์ แล้วจะไปเป็นภิกษุในธรรมวินัยได้อย่างไร ด้วยเหตุนี้ในครั้งพุทธกาลจึงมีผู้ที่เป็นฆราวาส ท่านอนาถบิณฑิกะ แม้แต่ท่านพระอนุรุทธะหรือใครทั้งหมด ท่านฟังธรรมก่อน
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 961
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 962
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 963
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 964
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 965
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 966
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 967
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 968
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 969
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 970
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 971
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 972
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 973
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 974
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 975
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 976
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 977
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 978
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 979
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 980
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 981
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 982
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 983
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 984
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 985
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 986
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 987
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 988
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 989
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 990
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 991
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 992
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 993
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 994
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 995
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 996
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 997
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 998
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 999
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1000
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1001
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1002
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1003
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1004
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1005
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1006
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1007
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1008
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1009
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1010
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1011
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1012
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1013
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1014
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1015
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1016
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1017
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1018
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1019
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1020