ปกิณณกธรรม ตอนที่ 341


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๓๔๑

    สนทนาธรรม ที่ จ.เชียงใหม่

    พ.ศ. ๒๕๓๔


    ท่านอาจารย์ คนที่จะดับกิเลส ต้องเห็นภัยของกิเลส แล้วก็รู้ว่ากิเลสดับยาก ต้องพากเพียรด้วยบารมี ๑๐ ที่จะสอนตัวเองว่า ถ้าไม่มีบารมีเหล่านี้แล้วละก็ไม่มีทางถึง เพราะฉะนั้น เราก็สำรวจเป็นเรื่องๆ ได้ อย่างทานบารมี ใจของเราเป็นอย่างไร ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ เราเป็นพระเวสสันดร หรือไม่อยู่ดีๆ เราก็เป็นสุเมธดาบส แต่ว่าขณะที่ควรจะให้ เราให้ไหม ถ้าเราให้ยังไม่ได้ ก็แปลว่า เรายังเหนียวแน่นมาก ตระหนี่มาก แต่เราก็ไม่ใช่ให้พร่ำเพรื่อ ไร้สาระ ไม่มีประโยชน์ เพราะว่าการกระทำทุกอย่าง ถ้าทำด้วยปัญญา ก็มีประโยชน์มากกว่าไร้ประโยชน์ ก็ต้องเป็นผู้ที่พิจารณาในเหตุในผล แล้วก็รู้ว่าเราปราศจากความตระหนี่ ในสิ่งที่ไม่ควรจะตระหนี่ แม้แต่ในพระไตรปิฎกก็ได้แสดงว่า อย่างธรรม ถ้าเราให้กับคนซึ่งสำคัญตน โอ้อวด ข่มคนอื่น หรืออะไรอย่างนี้ ไม่เป็นประโยชน์แก่พระศาสนา เราก็ไม่ควรที่จะให้เขาได้ธรรมซึ่งเมื่อเขาได้ไปแล้ว แทนที่จะไปขัดเกลาตัวเอง ก็กลับไปโอ้อวดหรือว่าข่มขี่คนอื่น ใช่ไหม เราก็ต้องเป็นผู้ที่พิจารณาว่าสิ่งที่เราทำ ไม่ใช่หวงแหนเพื่อตัวเราเอง แต่เพื่อประโยชน์กับพระศาสนา นี่ก็เป็นข้อหนึ่ง ซึ่งก็ต้องมีการพิจารณา มีสติปัญญาประกอบไปด้วย แล้วเราก็ค่อยๆ ไล่เรียงไปทีละบารมีว่า เราเป็นอย่างไร ขันติ ความอดทนเราพอไหม แล้วที่เราว่า เราอยากจะอดทน เราอดทนขนาดไหน อย่างไร บ่นว่าร้อน ขันติหรือเปล่า บ่นว่าหนาว ขันติหรือเปล่า บอกว่าไม่อร่อย ขันติหรือเปล่า นี่เป็นสิ่งซึ่งเราพิจารณาตัวเราได้ตลอดเวลา

    ผู้ฟัง แต่ถ้าเผื่อบอกว่า ไม่เป็นไร นี้มีขันติ

    ท่านอาจารย์ แล้วแต่จิตใจ ไม่ใช่เพียงคำพูด เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องละเอียดจริงๆ แม้แต่ความคิด เราคิดถึงใครด้วยความผูกพัน หรือว่าด้วยความผูกโกรธ ด้วยความริษยา ด้วยความอาฆาต หรือว่าด้วยความเมตตา ด้วยความกรุณา ยังไม่ต้องเห็นหน้า เพียงคิด สติสัมปชัญญะกับปัญญาก็ยังต้องรู้เลยว่า ขณะนั้นเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล เพราะฉะนั้น บารมีแล้วก็เป็นเรื่องของการที่ต้องรู้จักตัวเองตามความเป็นจริง ควบคู่กันไปกับการเจริญสติปัฏฐาน เพราะว่ายิ่งเจริญสติปัฏฐาน ก็ยิ่งรู้จักตัวเอง แต่ถ้าไม่ถึงขั้นเจริญสติปัฏฐานก็เป็นเพียงการคิดเรื่องตังเอง อย่างที่บอกว่า โลภะๆ แต่จริงๆ แล้ว โลภะตอนไหน กำลังเห็นไม่ใช่โลภะ เห็นเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งซึ่งไม่ใช่โลภะ ก็ต้องละเอียดไปอีก เรื่องของการใช้เวลาในการที่จะเข้าใจสภาพธรรมให้ถูกต้องตามความเป็นจริงว่า ไม่มีตัวตน ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล มีแต่สภาพธรรมแต่ละอย่าง

    ผู้ฟัง ขอให้เกิดชาติใดภพใดขอให้พบแต่พระพุทธศาสนา อธิษฐานว่า ถ้าเกิดต่อไปก็อย่าได้ต่ำกว่าชาติที่เป็นอยู่นี้ เพื่อที่จะให้ถึงนิพพานได้ ไม่ค่อยชอบ คำที่อาจารย์ว่า จิรกาลภาวนา

    ท่านอาจารย์ ตามความเป็นจริง เป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น เราต้องรับความจริง ถ้าเราไม่ชอบสิ่งที่เป็นจริง ก็ไม่ถูก ไม่ใช่เรื่องชอบไม่ชอบ แต่เราต้องรู้ตามความเป็นจริงว่า ความเป็นจริงเป็นอย่างไร อยากถึงนิพพานพรุ่งนี้ เอาไหม ยังไม่ทันรู้จักทุกข์เลย อยากจะถึงนิพพานแล้ว ยังไม่ได้ ถ้ายังไม่รู้จักจริงๆ เป็นโลภะแล้ว ไม่ใช่เป็นปัญญา เรื่องของโลภะ กับเรื่องของปัญญา ต้องแยกกัน ได้ยินใครเขาบอกว่า อยากถึงนิพพาน อย่าอนุโมทนา ถามก่อนว่า นิพพานเป็นอย่างไร ถ้าเขาบอกว่า นิพพานเป็นสวรรค์ชั้นฟ้า แล้วเขาอยากถึง ก็แปลว่าโลภะแล้ว ไม่ใช่ไปอนุโมทนาในโลภะ

    ผู้ฟัง ถ้าอยากถึงนิพพานโดยที่ยังไม่มีบารมีอะไรเลย ก็เป็นโลภะแล้ว

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้รู้ว่านิพพานเป็นอย่างไร แล้วจะถึงได้อย่างไร

    ผู้ฟัง แปลว่ายังไม่รู้จักทางเลย ทีนี้ผมก็นึกไป เอะ ถ้าเราถูกระเบิดปรมาณู คงจะสูญไปหมดเลย

    ท่านอาจารย์ ผิดแล้ว

    ผู้ฟัง การตายชนิดที่ว่าไม่มีอะไรเหลือเลย

    ท่านอาจารย์ คนตายธรรมดาที่ไม่ถูกปรมาณู มีอะไรเหลือ

    ผู้ฟัง มีคล้ายกับว่า จุติจิต ปฏิสนธิ

    ท่านอาจารย์ แล้วทำไมคนถูกระเบิดปรมาณู มีจุติจิต และปฏิสนธิจะไม่เกิด

    ผู้ฟัง ไม่มีอะไรที่จะคิดนึก

    ท่านอาจารย์ ไม่เกี่ยวเลย นามธรรมเขาเป็นปัจจัย มีอีกชื่อหนึ่ง คือ อนันตรปัจจัย หมายความว่า สภาพของจิต เจตสิกขณะนี้ดับไป เป็นปัจจัยโดยทำให้จิตขณะต่อไปเกิดสืบต่อไม่มีระหว่างคั่น เป็นอนันตรปัจจัย ใครก็จะทำลายอนันตรปัจจัย อันนี้ไม่ได้เลย นอกจากอรหัตมรรคดับปัจจัยหมดที่จะให้เกิดอีก

    เพราะฉะนั้น พอจุติจิตของพระอรหันต์ดับไม่มีปฏิสนธิจิต ต้องเป็นอรหัตมรรค ไม่ใช่ระเบิดปรมาณู แต่หนทางนี้ ทั้งๆ ที่ทุกคนรู้จะต้องรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ไม่ใช่ตัวตน ที่เป็นปรมัตถ์ แค่นี้ก็งง ก็ต้องฟังไปจนกว่าความเข้าใจจะเพิ่มขึ้น เมื่อมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นไม่ต้องไปรอสติ ไม่ต้องไปทำสติ ไม่ต้องหวังสติ เพราะเหตุว่าแน่นอนที่สุดคือ อนัตตา เมื่อเป็นอนัตตาแล้วไม่ใช่ใครจะทำ แต่เมื่อมีเหตุปัจจัย สติเกิด เมื่อนั้นก็รู้ว่าขณะนั้นเป็นสติ ไม่ใช่เรา ก็เลิกเรื่องทำแล้ว ใช่ไหม ถ้ายังคิดจะทำตราบใด ก็ไม่ถูกตราบนั้น แต่ว่าสะสมความเข้าใจเพิ่มขึ้นเมื่อไร ก็มีปัจจัยที่จะทำให้สติเกิดได้ โดยที่ว่าไม่ใช่เราอยากจะให้มีสติ แล้วสติก็เกิด เพราะเราอยาก หรือเราทำให้สติเกิดได้ ไม่ใช่อย่างนั้น ต้องเข้าใจในความหมายของคำว่า อนัตตา จริงๆ

    ผู้ฟัง แล้วเราควรจะทำอย่างไรก่อน ให้มาก เข้าใจ หมายความว่า เขาจะปฏิบัติตัวอย่างไรก่อน

    ท่านอาจารย์ ต้องการอะไร ในการพัฒนา ต้องการอะไร

    ผู้ฟัง ต้องการให้รู้ลักษณะ

    ท่านอาจารย์ ต้องการปัญญา หรือว่าต้องการอะไร

    ผู้ฟัง อยากจะทราบว่า ไอ้ตัวโกรธนี้มันเป็นอย่างไร พอโกรธปุ๊บ เราก็อยู่แค่นี้ อยู่ในใจของเราเอง แค่โกรธ คราวนี้อยากจะทราบว่า ลักษณะของความโกรธ ที่ว่าเขาให้เห็นหรืออะไรอย่างนี้ มันเป็นอะไร แต่ไม่ทราบว่าจะไม่ให้โกรธ โกรธ พอเรารู้ปุ็บ เราก็อยู่แค่นี้ เราก็ไม่ได้ไปเดือดร้อนคนอื่น เพียงแต่เรารู้ แต่คราวนี้ ถ้ารู้อยู่แค่นี้ มันก็แค่นี้ แล้วก็ไม่เห็นสักทีว่า ลักษณะของความโกรธนั้นมันเป็นอย่างไรอะไรอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ไม่มีหรอกที่ใครจะไม่รู้จักว่าโกรธ เป็นอย่างไร ไม่มีจริงๆ ที่จะไม่มีใครรู้จักว่า โกรธเป็นอย่างไร ทุกคนบอกได้ทั้งนั้นเลย เวลากำลังโกรธ บอกได้ว่าโกรธ เพราะฉะนั้น ไม่ได้หมายความว่า ไม่รู้ว่าความโกรธเป็นอย่างไร แต่ไม่รู้ความจริงของความโกรธ เพราะฉะนั้น ความจริงเป็นสิ่งที่ซ่อนเร้น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่เปิดเผย เพราะฉะนั้น ต้องเป็นปัญญาเท่านั้นที่จะรู้สิ่งที่ลึกลับ อย่างทางตาที่กำลังเห็น บอกกันไปเถอะ เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา ร้อยครั้ง พันครั้ง หมื่นครั้ง แสนครั้ง คำพูดนี้ก็ไม่เปลี่ยน ก็บอกแล้วก็บอกอีก จะให้บอกอย่างไร ก็บอกอย่างนี้แหละ บอกไปเรื่อยๆ แต่อวิชชาไม่สามารถจะรู้ความลึกลับของสภาพธรรมที่ปรากฏทางตา เพราะว่าอวิชชาไม่ใช่ปัญญา อวิชชารู้อะไรไม่ได้ เพราะฉะนั้น ก็ต้องอบรมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในขั้นของการฟัง ในขั้นของการพิจารณา ในขั้นของการระลึกที่จะรู้ว่า ขณะที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ ความเข้าใจที่เรียนมาตรงไหมว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ใช่ให้ไปทำอะไร แล้วก็ไม่ใช่ให้รู้อย่างอื่นด้วย รู้อย่างที่พูดนั่นแหละ คือ กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ลึกลับไหม สิ่งที่ปรากฏทางตาที่จะรู้ตามความเป็นจริงว่า ไม่ใช่ตัวตน เป็นแต่เพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ต้องอาศัยการอบรมจึงจะรู้ได้ เพราะเหตุว่าถ้ารู้ว่าเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตาจริงๆ ตัวตน คน สัตว์ ไม่มีในสิ่งที่ปรากฏทางตา นั่นแสดงว่ารู้จริง หมดความสงสัยในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แต่ถ้าจะให้พูดตามทุกคนพูดได้ ขณะนี้เห็นสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา พูดตามได้ แต่ความรู้จริงๆ ต้องไถ่ถอนความเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน เป็นวัตถุสิ่งหนึ่งสิ่งใด ออกจากสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ซึ่งต้องอาศัยกาลเวลา ไม่ใช่รู้แล้วจากฟัง บอกมาซิว่าจะทำอย่างไร ก็นี้ คือหมายความว่าให้รู้จริงๆ ทำคือรู้จริงๆ แล้วจะรู้จริงๆ ได้ไหม เพียงแต่ฟังอย่างนี้ แล้วจะรู้ จริงๆ ได้ไหม ถ้าจะรู้จริงๆ ได้ต้องอาศัยอย่างไร กำลังมีสิ่งที่ปรากฏทางตาแล้วเข้าใจไหมว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ ถ้าเข้าใจแล้ว เข้าใจอีกได้ไหม เข้าใจจนกระทั่งไม่ลืมเลยว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา เวลาที่มีการเห็นขณะใดก็รู้ ว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาจริงๆ ไม่ใช่ขั้นนึกคิดด้วย ไม่ใช่พอเห็นปุ๊บ ก็สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ขณะพูดอย่างนั้นไม่ได้เข้าใจลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะฉะนั้น ก็ต้องรู้ด้วยว่า สิ่งที่ปรากฏทางตาลักษณะแท้จริงคืออย่างไร แล้วก็ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนอย่างไร ไม่ใช่เรื่องทำ ไม่ใช่เรื่องบอก แต่เป็นเรื่องการอบรมเจริญปัญญาของคนนั้นเอง ที่ว่าฟังอย่างนี้ เข้าใจอย่างไรถึงสภาพที่กำลังปรากฏว่า ไม่ใช่สิ่งที่เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตนจริงๆ หรือเปล่า ลองพิจารณากำลังเห็นเดี๋ยวนี้ แล้วค่อยๆ เข้าใจขึ้น จนกว่าจะเข้าใจจริงๆ บอกให้ฟังได้ไหมว่า ประโยชน์ของการฟังจะมาช่วยให้เข้าใจอย่างนี้ได้ไหม ถ้าจะฟังต่อไปๆ หรือว่าไม่ต้องฟังก็สามารถที่จะระลึกอย่างนี้ได้บ่อยๆ จนกระทั่งรู้ชัด

    ประโยชน์ของการฟังคืออะไร เหมือนกับสิ่งที่เตือนให้เราเข้าใจสิ่งที่เราได้ฟังแล้ว ใช่ไหม เพราะว่าคนเรานี่ลืม ฟังครั้งเดียวลืม แต่ว่าถ้าเราฟังอีก พิจารณาอีก เข้าใจอีก ฟังอีก พิจารณาอีก เข้าใจอีก นี้เป็นทางเดียวที่จะทำให้เราไม่ลืมที่จะระลึกว่าทางตาที่กำลังเห็น เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ

    เราพูดกันวันนี้ เดี๋ยวสักครู่หนึ่งเราก็ไปที่อื่นแล้ว ลืมอีกแล้ว เพราะฉะนั้น จึงต้องมีการฟังอีก ฟังบ่อยๆ นี่คือประโยชน์ของการฟัง ซึ่งว่าฟังเท่าไรก็ไม่พอ จนกว่าสติของเราสามารถจะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม แล้วก็มีความเข้าใจเพิ่มขึ้น

    ผู้ฟัง ที่จริงดิฉันมีอุบายอีกอย่าง สำหรับตัวดิฉันเอง ก็ไม่ทราบว่าคนอื่นจะคิดเหมือนกันหรือเปล่า ดิฉันคิดว่า ขณะที่ความโกรธเกิดขึ้น ก็มานั่งคิดดูว่า เราจะเลือกเอา ระหว่างจิตที่เป็นอกุศลต่อไป หรือว่าให้จิตของเราเป็นกุศล ในขณะนั้น บางครั้งก็ได้ผล บางครั้งมันก็ไม่ได้ผล เพราะกว่าจะรู้ตัว โทสะก็เกิดเสียแล้ว แต่ก็ ได้ผลหลายครั้ง มันสั้นลง แทนที่มันจะยาวเป็นวันเป็นคืน มันสั้นลง เราเลือกได้ ขณะที่เราเข้าใจธรรม เราสามารถจะเลือกได้ แต่นั่นเราต้องเข้าใจ ไม่ได้หมายความว่า ถ้าเหตุปัจจัยมันไม่พร้อม เราก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจได้ ความโกรธนั้น มันก็ไม่ละ มันก็ไม่สั้นลง อย่างเมื่อไม่นานก็รู้สึกโกรธกับเพื่อนคนหนึ่ง ก็ยังชั่งใจว่า จะไปขอโทษ จะดีต่อเขาไหม ก็สู้กันตั้งนาน แต่ผลสุดท้ายเราทำใจสบายแล้ว พอดีมาเจอกับเพื่อน เพื่อนเขาก็ยิ้มแย้ม แจ่มใส เราก็มีความสุขดี

    ท่านอาจารย์ แต่อย่าลืมโลภะ อย่าลืมว่า โลภะมันก็ไม่ดี เหมือนกับโทสะ ตั้งหน้าตั้งตาแต่ไม่ชอบโทสะ พอโลภะเฉย ทั้งๆ ที่โลภะ เป็นเหตุของโทสะ แล้วตราบใดที่ยังมีโลภะอยู่ ก็ยังต้องมีโทสะ แล้วทำไมไม่ละเหตุ คลายเหตุ ตัวต้นตอ ทำไมไม่ละ

    ผู้ฟัง อาจารย์ลองให้ตัวอย่างให้เห็น

    ท่านอาจารย์ ถ้าคุณสุรีย์ไม่มีโลภะ คุณสุรีย์ไม่โกรธหรอก

    ผู้ฟัง ลองให้ตัวอย่าง

    ท่านอาจารย์ นี่ไง ตัวอย่าง

    ผู้ฟัง นึกไม่ออกว่าทำไมไม่มีโลภะ แล้วไม่มีโทสะ

    ท่านอาจารย์ คุณสุรีย์ชอบเสื้อตัวที่ใส่ไหม

    ผู้ฟัง ชอบมันอุ่นดี

    ท่านอาจารย์ ถ้ามันหายไป ไฟไหม้ หนูกัด โทสะหรือเปล่า

    ผู้ฟัง อันนี้เราเกลียดคน เราโกรธคน เราเกลียดคน ไม่ได้โลภที่จะเอา เราไม่ได้โลภชอบเขา

    ท่านอาจารย์ แต่เราชอบอย่างอื่นที่ไม่ใช่เขา แต่ถ้าเขาเป็นอย่างที่คุณสุรีย์ชอบ คุณสุรีย์ไม่โกรธ นี่คือเหตุของโทสะ

    ผู้ฟัง ความเข้าใจนี้เข้าใจถูกไหม ที่อาจารย์พูดว่า ให้ตัดโลภะตัวนี้

    ท่านอาจารย์ ให้รู้ว่าอะไรเป็นเหตุของโทสะ แล้วสามารถที่จะดับ หรือละเหตุของโทสะได้ จึงจะไม่มีโทสะ เพราะฉะนั้น ไปเดือดร้อนทำไม ในเมื่อเหตุยังเต็ม เมื่อเหตุเต็ม เขาก็มีผลปรากฏ คือโทสะ พอผลปรากฏก็ไปเดือดร้อน ในเมื่อตัวเหตุมี ถ้าเหตุไม่มี เป็นอีกเรื่องหนึ่ง นี่เหตุมี เขาก็เกิดตามเหตุตามปัจจัยของเขา

    ผู้ฟัง ผู้ที่เริ่มต้นมาศึกษาพระธรรม เริ่มมีศรัทธา มีหนทาง หรือแนวทางกี่แนวทาง ที่ว่าจะศึกษาพระธรรมได้อย่างถูกต้อง

    ท่านอาจารย์ ฟัง

    ผู้ฟัง ฟังก่อน

    ท่านอาจารย์ อ่าน คิด

    ผู้ฟัง การฟัง การอ่าน การคิดจากทั่วๆ ไป เราก็ไม่แน่ใจว่าพระธรรมที่เขาแสดงไว้นั้นถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง เพราะว่าปัญญาของผู้ที่แสดงอยู่ เราก็ไม่รู้

    ท่านอาจารย์ ถ้าเขาพูดเรื่องจริง เราเข้าใจได้ ก็ถูก

    ผู้ฟัง ทีนี้เราก็ไม่รู้ เพราะว่าปัญญาเรายังไม่ถึง

    ท่านอาจารย์ เรื่องจริง พูดเรื่องจริง ถ้าเข้าใจได้ก็ถูก ถ้าไม่ได้พูดเรื่องจริง ไปเห็นวงกลมตรงโน้นตรงนี้ จะเป็นไปได้อย่างไร

    ผู้ฟัง ถ้าฟังแล้ว ขั้นต่อไปก็ฟังให้เข้าใจก่อน ถ้าไม่เข้าใจก็เลิกกัน

    ท่านอาจารย์ ไม่เข้าใจก็ต้องคิด พิจารณา หาสิ่งที่เข้าใจได้ที่เป็นความจริง

    ผู้ฟัง แล้วอย่างคนที่เขาไม่เข้าใจ แล้วไปทำสมาธิ

    ท่านอาจารย์ เรื่องของเขา เราไม่เกี่ยว

    ผู้ฟัง เราต้องดูตัวของเราเป็นหลัก

    ท่านอาจารย์ แน่นอน ใครเขาจะทำอะไร เราจะไปทำอะไรได้

    ผู้ฟัง หมายถึงว่าเราศึกษาโดยทั่วๆ ไป วิธีการ

    ท่านอาจารย์ แต่ว่าถ้าใครจะทำอะไร เราจะทำอะไรได้ไหม เราจะไปทำอะไรเขาได้ไหม

    ผู้ฟัง ทีนี้ถ้าเกิดเราเข้าใจแล้ว โดยทั่วไปที่เขามีการสอน ศึกษาพระธรรม แล้วมีการสอนวิธีการนั่งสมาธิ เราควรจะเข้าไปนั่งก่อนตามเขา หรือว่าเราจะทำอย่างไรดี

    ท่านอาจารย์ แล้วแต่จุดประสงค์ของเราว่า เราทำเพื่ออะไร เราจะทำอะไร เราจะทำอะไรโดยไม่มีจุดประสงค์เลย ใครเขาทำอะไรเราก็ทำด้วย อันนั้นก็แปลก

    ผู้ฟัง เราเกิดอารมณ์ สมมติว่าเรากระทบกับคน อาชีพหนูต้องกระทบกับคน แล้วก็คนๆ นั้นทำให้เราโกรธ แล้วเรารู้แค่ว่าเราโกรธ อยู่แค่นี้ แล้วลักษณะที่เราจะเห็นความโกรธเป็นอย่างไร แต่เราทราบว่าตอนนี้เราโกรธ ตกลงก็อยู่แค่นี้

    ท่านอาจารย์ ก็อยู่แค่นี้ ถ้าไม่มีความเข้าใจเพิ่มขึ้นก็อยู่แค่นี้ ขณะนี้ไมโครโฟนที่จับ แข็งไหม

    ผู้ฟัง แข็ง

    ท่านอาจารย์ รู้แค่นี้ก็อยู่แค่นี้ พอโกรธเกิด รู้ว่าโกรธเกิด รู้แค่นี้ ก็อยู่แค่นั้นก็แค่นั้น เพราะไม่ใช่การรู้ลักษณะของสภาพธรรมเพิ่มขึ้น ต้องเป็นความเข้าใจ เพราะว่าส่วนมากคนจะทำสติ เจริญสติ แต่ไม่ได้รู้ว่า จะต้องเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เคยคิดอย่างนี้ไหมว่า กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ จะเข้าใจลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่คิดว่าจะไปเจริญสติ จะทำสติ จะอะไร แต่มีสภาพธรรมกำลังปรากฏ แล้วไม่เคยรู้ความจริงของสภาพธรรม แล้วก็อยากจะรู้ อยากจะเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏให้ถูกต้องไหม นี่คือการอบรมเจริญปัญญา

    ผู้ฟัง จริงๆ แล้วเขาคงอยากจะรู้ว่า เริ่มต้นเขาเรียนอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ก่อนอื่นต้องเข้าใจขึ้นก่อน นี่ยังไม่ทัน เข้าใจ แล้วจะไปทำสติ จะไปเจริญสตินี้ไม่ได้ เป็นความเข้าใจของเราที่ต้องเพิ่มขึ้น สำคัญที่สุดคือความเข้าใจ ถ้าความเข้าใจไม่มี ก็ค่อยๆ ทำอย่างไรที่จะเข้าใจขึ้น ฟังมากๆ พิจารณามากๆ ให้เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้เพิ่มขึ้น ไม่ต้องห่วงเรื่องสติ เพราะถ้าขณะใดที่กำลังเข้าใจขณะนั้นเป็นสติแล้ว

    ผู้ฟัง ต้องอาศัยฟัง แล้วพิจารณา ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ แน่นอน ต้องเป็นเรื่องของปัญญา ต้องเป็นเรื่องของความเข้าใจ ยังไม่ทันไรก็จะไปทำ จะทำได้อย่างไร

    ผู้ฟัง คือไม่ใช่ หนูเข้าใจผิด คิดว่า จะใช้คำนี้ว่าเจริญสติ อาจจะใช้คำ

    ท่านอาจารย์ ยังไม่ต้องเจริญ ถ้าไม่เข้าใจอะไร แล้วจะไปเจริญทำไม

    ผู้ฟัง มีคำถามจากท่านหนึ่ง ท่านพูดถึงว่าสิ่งที่ปรากฏ เช่น ทางตา สีเป็น รูป เสียงเป็นรูป การรู้สีก็ดี การรู้เสียงก็ดี นี้เป็นนามธรรม เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว แล้วจะให้ทำอย่างไรต่อไปในการพิจารณาธรรม

    ท่านอาจารย์ หมายความว่าคนนั้น ไม่เข้าใจเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน

    ผู้ฟัง ความเข้าใจที่จะนำไปสู่การพิจารณาต่อไป ควรที่จะได้รับคำแนะนำอย่างไรบ้าง

    ท่านอาจารย์ ต้องเข้าใจเรื่องสติปัฏฐาน ไม่ใช่ทำอย่างไรต่อไป นั่นคือไม่เข้าใจสติปัฏฐาน

    ผู้ฟัง ก็ในเมื่อพูดถึงลักษณะของสิ่งที่ปรากฏว่าทางตา เห็นเป็นรูป รู้เป็นนาม

    ท่านอาจารย์ ท่อง แต่ไม่ได้รู้

    ผู้ฟัง แต่ถ้าเวลาที่เราจำได้อย่างนี้

    ท่านอาจารย์ จำ ไม่ใช่เข้าใจ

    ผู้ฟัง แล้วเวลาเห็น จะช่วยทำให้เราเกิดการ

    ท่านอาจารย์ ไม่มีทาง

    ผู้ฟัง ไม่มีทาง

    ท่านอาจารย์ ก็ท่องเฉยๆ เวลานี้ถาม ทุกคนตอบได้ เห็นเป็นนาม สีเป็นรูป มีใครบ้าง ในที่นี้ที่ตอบไม่ได้ แต่มีใครรู้ลักษณะของเห็น ซึ่งเป็นสภาพรู้

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ควรจะเป็นการนึกคิดต่ออย่างนั้น ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ ไม่ได้มีข้อแนะนำให้ทำอย่างนี้ หรือให้ทำอย่างนั้น ไม่มีเลย ข้อแนะนำจะมีไม่ได้เลย แต่หมายความว่าคนนั้นต้องมีความเข้าใจ เพราะฉะนั้น ที่จะมาถามว่า ขอเจริญสติปัฏฐานให้ทำอย่างไร ทางตา เห็นเป็นนาม สีเป็นรูป จะให้ทำอย่างไร คือนั่นไม่ใช่ความเข้าใจเลย ใช้ไม่ได้เลยทั้งหมด ต้องมีการเขาใจขั้นการฟัง สติระลึกอะไร ระลึกทำไม ระลึกเพื่ออะไร อย่างทางตาที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ ทุกคนเห็น หลงลืมสติ ทุกคนก็รู้ว่าเป็นอกุศล ขณะใดที่ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ก็รู้ว่าขณะนั้นเป็นอวิชชา แล้วก็มีโลภะ มีอกุศลมากมาย แล้วทุกคนก็ไม่ชอบ คือไม่ชอบอกุศล แต่ชักจะชอบกุศล จริงหรือเปล่า ชักจะชอบ แต่ว่าไม่ได้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรม เพราะฉะนั้น คนที่ชักจะชอบ พยายามหาทางที่จะให้เป็นกุศล จะเจริญสติอย่างไร จะทำอย่างไร ต้องการแต่จะเจริญสติปัฏฐาน ไม่ได้คิดเลยว่า เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้หรือเปล่า นี้ไม่ได้คิด แต่จะเจริญสติปัฏฐาน

    ผู้ฟัง ขณะที่จิตเป็นอกุศลหรือ

    ท่านอาจารย์ หมายความว่า เขารู้ว่าสติไม่เกิดเป็นอกุศล เมื่อรู้อย่างนี้ เขาชักจะชอบกุศล อยากจะมีกุศล แต่ไม่ใช่จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ นี่ต่างกันหรือเปล่า มีสภาพธรรมในขณะนี้กำลังปรากฏ แล้วไม่เข้าใจว่าเป็นรูปธรรมต่างกับความคิดนึก ต่างกับเห็นอย่างไร นี่ไม่เข้าใจ แค่นี้แล้วจะทำอย่างไร คำถามนี้ก็แสดงว่าไม่เข้าใจ เรื่องความเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ หรือแม้แต่ว่า เห็นเป็นนาม สีเป็นรูป แล้วอย่างไรต่อไป นี่คือไม่ได้เข้าใจเลยว่า จะต้องเข้าใจสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมานานนักหนา เรื่องเห็นเป็นนามธรรม แล้วก็ยังขยายความออกไปอีกว่า ที่เป็นนามธรรม คือ เป็นสภาพรู้ เป็นลักษณะรู้ เป็นอาการรู้ เพื่อให้รู้จริงๆ ว่า กำลังเห็น เป็นสภาพรู้ แต่เขาไม่เข้าใจคำเหล่านี้เลย เข้าใจแต่ภาษา คือ คำนี้พูดอย่างนี้ แปลว่าอย่างนี้ แต่ไม่เข้าใจอรรถ อรรถว่าลักษณะรู้จริงๆ คืออย่างไร

    ในขณะที่กำลังเห็น ไม่พยายามที่จะเข้าใจว่า เป็นอาการรู้ เป็นลักษณะรู้ แต่ถามว่าแล้วอย่างไรต่อไป จะมีอย่างไรต่อไป ในเมื่อจะต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า เป็นสภาพรู้เท่านั้น เป็นอาการรู้เท่านั้น แล้วเมื่อเป็นสภาพรู้ เป็นอาการรู้ที่กำลังเห็น กำลังได้ยินก็ต้องเป็นสภาพรู้ เป็นอาการรู้ กำลังคิดนึกก็เป็นภาพรู้ เป็นอาการรู้ แล้วมีหรือจะถามว่า แล้วอย่างไรต่อไป ในเมื่อมันเป็นนามธรรม เป็นรูปธรรมแต่ละอย่าง ตลอดไปหมด ไม่ต้องมีอาการจะถามเลยว่า แล้วอย่างไรต่อไป ในเมื่อจะต้องรู้สิ่งอื่นๆ ที่กำลังเกิดขึ้นสืบต่ออยู่เรื่อยๆ พอคิดนึก ไม่ใช่แล้วอย่างไรต่อไป คิดนึกเป็นสภาพรู้ เป็นอากาารรู้ เป็นลักษณะรู้ ขณะที่จำ เป็นสภาพรู้ เป็นอากาารรู้ เป็นลักษณะรู้ พวกนี้ไม่เข้าใจเลย แต่จะทำอย่างไรต่อไป นี่ก็แสดงว่าไม่เข้าใจเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์พูดมาถึงลักษณะที่ต้องเข้าใจถึงสภาพ หรือลักษณะ

    ท่านอาจารย์ อย่างเวลานี้ เป็นต้น

    ผู้ฟัง เวลานี้ สมมติว่าที่เรากำลังพูดถึง บังเอิญเรากำลังมีการพิจารณาทางตา แล้วจะให้เกิดความรู้ความเข้าใจว่า เป็นเพียงการเห็น หรือว่าเป็นสภาพรู้ ธาตุรู้ จะต้องอาศัยอะไร

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ว่าใครจะบอกให้ทำอย่างนั้น อย่างนี้ แล้วเราก็จะรู้เพราะเขาบอกขึ้นมา แต่จะต้องรู้ว่าที่ไม่รู้เพราะอะไร ทั้งๆ ที่ผู้รู้แล้วสามารถที่จะรู้ทันทีที่เห็นว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ นี่คือผู้รู้แล้ว กว่าผู้รู้แล้วจะรู้แล้ว ท่านเจริญอย่างไร ท่านค่อยๆ ระลึกค่อยๆ เข้าใจ ค่อยๆ รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง จนกว่าจะรู้จริงๆ แต่ไม่ใช่ให้ทำอย่างไร ให้มาบอก แล้วคนนั้นก็จะทำได้ ไม่ใช่อย่างนั้น เป็นเรื่องของตัวเองที่จะรู้ว่า รู้ขึ้นบ้างหรือยัง ขณะนี้ที่กำลังเห็น กำลังมีความเพียรที่จะรู้ว่า เป็นเพียงสิ่งที่กำลังปรากฏจริงๆ หรือยัง เป็นปัญญาของตัวเอง

    ผู้ฟัง ถ้าเป็นในลักษณะอย่างนี้ ท่านอาจารย์คงจะหมายความถึงสติเกิด กับหลงลืมสติ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ขณะที่กำลังค่อยๆ เข้าใจขึ้น ขณะนั้นเป็นการอบรมเจริญปัญญา สติไม่ต้องพูดถึงขณะนั้นต้องมีแน่ ถ้าไม่มีจะกำลังค่อยๆ เข้าใจได้อย่างไร

    ผู้ฟัง ถ้าสติไม่เกิด ก็คงไม่มีสิทธิที่จะพูดถึงลักษณะของสภาพธรรม

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้ที่ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ต้องมีสติแน่นอน ถ้าไม่มีสติจะค่อยๆ เข้าใจขึ้นได้อย่างไร

    ผู้ฟัง อย่างนั้นก็คงจะเน้นในเรื่องของสติ ผมขอย้อนกลับไปหาคำถามแรกที่ ท่านผู้ฟังบอกว่า เวลานี้ชีวิตก็มีความสมบูรณ์ทุกสิ่งทุกอย่าง

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 98
    23 มี.ค. 2567