ปกิณณกธรรม ตอนที่ 339


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๓๓๙

    สนทนาธรรม ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า

    พ.ศ. ๒๕๔๗


    ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นวิปัสสนามีทั้งความสงบด้วย ไม่ใช่ว่าปราศจากความสงบ เพราะฉะนั้น เมื่อไรก็ตามที่เป็นกุศลประกอบด้วยปัญญา แล้วรู้ลักษณะของสภาพธรรมก็เป็นการพิจารณาธรรมต่างกัน แต่ว่าอย่าเข้าใจผิดว่าสงบนั้นจะไปไหน ไปไหนกับขณะนี้กำลังเผชิญหน้ากับ แต่ละบุคคลมีความเป็นมิตร มีความเป็นเพื่อน มีความจริงใจ ไม่มีความแข่งดีพร้อมที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลด้วยใจจริงหรือเปล่า เพียงเท่านี้ไม่มี แล้วจะปลีกไปไหน ปลีกไปแล้วได้อะไร ในเมื่อพอกลับมา คนโน้นคนนี้ก็ไม่สามารถที่จะมีเมตตาได้ หรือว่าไม่สามารถจะสงบได้

    ป. ในพระสูตรนี้ท่านจะต่อด้วยคำว่า การสิ่งนี้อันบุคคลบำเพ็ญโดยชอบให้เป็นไปโดยชอบด้วย จึงจะถึงกาลอาสวะสิ้นไปโดยลำดับ

    ท่านอาจารย์ แล้วสงสัยว่าอะไร

    ป.โดยชอบ บำเพ็ญโดยชอบ และให้เป็นไปโดยชอบนี้เป็นอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ต้องถูก ใช่ไหม ถ้าผิด จะโดยชอบได้ไหม

    ป.ถ้าผิด ก็ไม่ชอบ

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ทุกคนจะได้สมถภาวนาถึงขั้นฌานจิต แต่สามารถที่จะมีกุศลจิตในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น ถ้าใครที่สะสมอัธยาศัยที่จะเป็นผู้ที่มีเมตตา มีกรุณา มีมุทิตา มีอุเบกขา ซึ่งก็เป็นสิ่งที่มีได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งลองคิดดูว่า เรามีหรือเปล่า ธรรมสำหรับฟังเข้าใจ แล้วประพฤติปฏิบัติตาม ถ้าเพียงฟังเข้าใจแล้วไม่ประพฤติปฏิบัติตาม จะไร้ประโยชน์ มีประโยชน์อะไร ในเมื่อถึงฟังแล้ว เข้าใจแล้วก็ยังไม่ได้ประพฤติปฏิบัติตาม แต่ความเป็นมิตร ความเป็นเพื่อน เมตตา กรุณา มีความเห็นใจ เข้าใจคนอื่น พร้อมที่จะเกื้อกูล ถ้าสามารถจะเป็นไปได้ มีมุทิตา ไม่ว่าใครจะได้ดีลาภยศต่างๆ ก็อนุโทนาในกุศลที่เขาได้กระทำมาแล้ว แล้วก็มีอุเบกขา คนในโลกนี้ เราเห็นได้ว่า มีทุกข์ต่างๆ กัน เราสามารถที่จะช่วยได้ทั้งหมดหรือเปล่า ถ้าไม่สามารถที่จะช่วยได้ทั้งหมด เราจะช่วยเท่าที่จะช่วยได้ แต่ถ้าช่วยไม่ได้ เราก็ไม่ควรจะเดือดเนื้อร้อนใจ เพราะมีความเห็นถูกว่า ทุกคนต้องเป็นไปตามกรรม ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นที่รักหรือที่ชัง ที่อย่างไรก็ตามแต่ เพราะฉะนั้น ถ้ามีพรหมวิหาร ธรรมเครื่องอยู่ของพรหม หรือว่าที่เป็นกุศลระดับนี้ในชีวิตประจำวัน คงไม่ต้องไปบำเพ็ญเมตตาพรหมวิหาร จนกระทั่งได้ฌานจิต กรุณาพรหมวิหารจนกระทั่งได้ฌานจิต เพราะว่าเป็นสิ่งที่ยากมาก อย่าเข้าใจว่า อัปปนาสมาธิซึ่งเป็นฌานจิตจะเกิดขึ้นโดยง่าย ถ้าไม่ศึกษาก็คิดว่าไปนั่งๆ สักประเดี๋ยวก็ได้ฌานขั้นต่างๆ แต่ความจริงต้องประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ที่จะรู้ความต่างของกุศลจิต และอกุศลจิต

    สมถภาวนา ไม่ใช่จุดประสงค์ที่ว่า ให้เราบำเพ็ญโดยที่ว่า ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม แต่หมายความว่า เราไม่สามารถที่จะบังคับสภาพธรรมใด ให้เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน มีทั้งกุศลจิต และอกุศลจิต แต่ปัญญาสามารถจะเห็นถูก เข้าใจถูกว่า ขณะที่เป็นอกุศลไม่สงบ ต้องเห็นโทษ แล้วเราก็เจริญกุศลยิ่งขึ้นในชีวิตประจำวัน จนกระทั่งเราเป็นผู้ที่สงบจากอกุศลในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น พร้อมกันนั้นก็จะสามารถอบรม โดยการพิจารณารู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นวิปัสสนาได้ แต่ไม่ใช่ว่า พอสติปัฏฐานเกิดก็เป็นวิปัสสนา แต่หมายความว่าอบรมปัญญา ที่จะถึงปัญญาที่ประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งเป็นวิปัสสนาได้

    สนทนาธรรมที่ จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๓๔

    ผู้ฟัง เรื่องพระไตรปิฎกที่เราเรียนศึกษา อาจจะเป็นต้องใช้กรรม ช่วยไม่ได้ คิดมาก อาจจะรู้นิดหน่อย แล้วก็คิดอีกที

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นความจริง รู้น้อยกว่าคิด แต่ก็รู้อีก รู้อีกได้

    ผู้ฟัง ต้องการความคิดที่ถูกต้องเรื่องธรรม เช่น แข็ง เพราะว่าเราฟัง แล้วก็คิดด้วย เวลาฟังคิดด้วย

    ท่านอาจารย์ แต่จะต้องรู้ว่า คิดไม่ใช่รู้

    ผู้ฟัง คือการรู้ตัวขึ้นมา รู้สึกยาก รู้สึกถึงกาลเวลา

    ท่านอาจารย์ ไม่มีใครบอกว่าง่าย แต่ว่ายาก แล้วก็ถึงได้ ถ้าใครบอกว่าง่าย คนนั้นผิด ถูกไม่ได้เลย ยากแต่ถึงได้

    ผู้ฟัง ผู้ที่เจริญสติปัฏฐานแล้ววิปัสสนาญาณเกิด แต่ยังไม่ถึงขั้นโสดาปัตติมรรค ท่านก็สิ้นชีวิต แล้วกลับมาเกิด หรืออาจจะเป็นในยุคปัจจุบัน ท่านสามารถที่จะหมดความสงสัย สมมติว่าท่านผ่านปัจจยปริคหญาณ แล้วหรือสัมมสนญาณ ท่านเคยประจักษ์ความจริงว่า นามธรรมต่างกับรูปธรรม แล้วก็ทราบด้วยว่า นามธรรมหรือรูปธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ท่านประจักษ์ด้วยวิปัสสนาญาณ ทีนี้มาถึงปัจจุบันนี้ ท่านต้องมีเวียนตายเวียนเกิด อาจจะลงมาเกิดในปัจจุบันชาติ ปัญญาของท่านจะเจริญในลักษณะไหน ต่อไปเลย หรือว่าจะต้องเริ่มต้นด้วยวิปัสสนาญาณที่ ๑

    ส. โดยมากคนสงสัยเรื่องวิปัสสนาญาณ ยังไม่พูดถึงเรื่องที่พระคุณเจ้ากล่าว เพราะว่าจะมาสรุปตรงคำถามสุดท้ายที่ว่า วิปัสสนาญาณที่ ๑ จะต้องเกิดอีกหรือเปล่า โดยมากคนจะถามว่า เวลาที่วิปัสสนาญาณที่ ๑ อย่างนามรูปปริจเฉทญาณเกิดแล้ว พอถึงปัจจยปริคคหญาณ สัมมสนญาณ อุทยัพพยาญาณ ต่อไปจนถึงวิปัสสนาญาณอื่นๆ นามรูปปริจเฉทญาณจะเกิดหรือเปล่า บางคนมีความสงสัยอย่างนั้น แต่ความจริงเมื่อเป็นวิปัสสนาญาณ หมายความว่าเป็นระดับขั้นของปัญญาที่ถึงความสมบูรณ์ในขั้นใดก็เป็นวิปัสสนาญาณในขั้นนั้น เช่นในขั้นต้น นามรูปปริจเฉทญาณที่เป็นวิปัสสนาญาณ หมายความว่า ปัญญาที่ถึงความสมบูรณ์ที่เป็นวิปัสสนาญาณขั้นแรกที่สุด คือ การประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมโดยสภาพธรรมปรากฏกับวิปัสสนาญาณ คือ ปัญญาในขณะนั้นเป็นปัญญาที่แทงตลอด ไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็สภาพธรรมไม่ปรากฏ แล้วไปแทงตลอด แต่หมายความว่าปัญญาถึงขั้นที่นามรูปที่กำลังเป็นปกตินั้นปรากฏลักษณะของสภาพธรรมที่ไม่ใช่ตัวตนกับวิปัสสนาญาณที่ ๑ ซึ่งเป็นมหากุศลญาณสัมปยุตต์ขณะนั้น จึงรู้ว่าไม่มีตัวตนเลย เป็นแต่ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมเท่านั้น

    นี่เป็นวิปัสสนาญาณที่ ๑ เมื่อถึงวิปัสสนาญาณที่ ๒ ปัจจยปริคคหญาณ หรือสัมมสนญาณ วิปัสสนาญาณที่ ๓ วิปัสสนาญาณที่ ๔ ต่อไป การประจักษ์แจ้งที่เป็นวิปัสสนาญาณ จะเปลี่ยนรูปแบบหรือลักษณะไม่ได้ หมายความว่า สภาพธรรมที่เป็นนามธรรม และรูปธรรมปรากฏลักษณะ เมื่อเป็นวิปัสสนาญาณแล้ว นามธรรมรูปธรรมต้องปรากฏ ลักษณะของเขา แต่ปัญญาในระดับขั้นที่ ๒ สามารถที่จะรู้อาการที่ลักษณะนั้นเกิดเพราะปัจจัย เพื่อที่จะคลายเป็นตัวตนว่า เป็นเรา แต่ว่าแม้กระนั้นก็ยังไม่สามารถที่จะดับได้ เป็นสมุจเฉท เพราะเหตุว่านามรูปปริจเฉทญาณขณะนั้นปัญญาเพียงเห็นความต่างในธาตุรู้ สภาพรู้ซึ่งไม่มีรูปร่างใดๆ เลยทั้งสิ้น กับลักษณะที่เป็นรูปธรรมซึ่งปรากฏ แล้วแต่ว่านามรูปปริจเฉทญาณนั้น ของแต่ละบุคคลจะประจักษ์ ลักษณะของนามธรรมใดรูปธรรมใด มากน้อยต่างกัน ยาวสั้นต่างกัน

    เมื่อเป็นวิปัสสนญาณที่ ๒ ซึ่งเวลาที่สภาพธรรมปรากฏ ลักษณะของนามปรากฏ ลักษณะของรูปปรากฏ ปัญญาขั้นต่อไปก็คือว่า เมื่อสภาพธรรมที่เป็นนามธรรมเกิด ปัญญาสามารถที่จะรู้ถึงปัจจัยที่จะทำให้สภาพธรรมนั้นเกิด

    เพราะฉะนั้น ก็ไม่มีความต่าง ลักษณะของวิปัสสนาญาณเหมือนกัน คือ ลักษณะสภาพนามธรรมรูปธรรมปรากฏ โดยสภาพที่เป็นนามธรรมซึ่งต่างจากรูปธรรม แต่ตัวปัญญาที่กำลังประจักษ์แจ้งนั้น มีความรู้ต่างกัน และมีความรู้เพิ่มขึ้น

    เมื่อเป็นวิปัสสนญาณที่ ๓ ก็สามารถที่จะเห็นความสั้นของ นามธรรม และรูปธรรมซึ่งเกิดว่า สั้นมากทีเดียว เกิดดับๆ ๆ เป็นสัมมสนญาณ แล้วเมื่อเป็นอุทยัพพยญาณ นามธรรมก็ต้องปรากฏลักษณะของนามธรรม รูปธรรมก็ต้องปรากฏลักษณะของรูปธรรมต่อปัญญา ซึ่งกำลังแทงตลอด แต่ว่าลักษณะความคมของการที่ประจักษ์ความเกิดแล้วดับชัดกว่าสัมมสนญาณ แล้ววิปัสสนาญาณอื่นๆ ก็ต้องตามลำดับไป แต่จะกล่าวว่า นามรูปปริจเฉทญาณเกิดอีกไหม ก็ต้องเป็นในขณะ เหมือนกับตอนต้นทุกอย่าง คือนามรูปปรากฏโดยสภาพที่ไม่ใช่ตัวตนแต่ละลักษณะซึ่งเป็นธาตุรู้ แล้วก็เป็นรูปต่างลักษณะไป แต่ปัญญาที่เพิ่มขึ้นๆ เป็นวิปัสสนาญาณแต่ละขั้น

    คนที่สามารถที่จะแทงตลอดทันที ไม่มีอะไรที่เป็นอุปสรรคเลย ไม่ต้องรอกาลเวลาด้วย บางคนอาจจะ ๓ วิปัสสนาญาณ แล้วก็สำหรับอุทยัพพยญาณ ซึ่งไม่ใช่ตรุณวิปัสสนา ก็เป็นวิปัสสนาซึ่งจะต้องใช้ปริญญา หมายความว่าความรู้ซึ่งเกิดจาก การประจักษ์แจ้ง แล้วก็พิจาณา แล้วก็ละคลายอีก จนกว่าจะถึงความสมบูรณ์ที่อุทยัพพยญาณ จะเกิดได้ ก็แล้วแต่บุคคล เมื่ออุทยัพพยญาณเกิด วิปัสสนาญาณอื่นอาจจะเกิดสืบต่อไปทันทีก็ได้

    ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้ที่เป็นเอตทัคคะ โดยการที่ว่าเป็นผู้ที่สามารถจะบรรลุตั้งแต่ โสดาบันถึงพระอรหันต์อย่างรวดเร็ว อย่างท่านพระพาหิยะเป็นเอตทัคคะ โดยการรู้ได้โดยพลัน หมายความว่าไม่มีเครื่องกั้น ไม่ต้องคอยเวลาเนิ่นช้าเลย ตั้งแต่โสดาบัน จนกระทั่งถึงอรหันต์

    เรื่องของวิปัสสสนาญาณก็เป็นเรื่องที่ว่า เมื่อใดที่ปัญญาถึงความสมบูรณ์ สมบูรณ์จนกระทั่ง สภาพธรรมไม่สามารถที่จะปิดกั้นได้ ก็ปรากฏลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม ตามความเป็นจริงของเขา ทางมโนทวารแต่ละลักษณะ ให้ปัญญารู้ ก็เป็นเรื่องที่ว่า ถ้าจะเกี่ยวโยงกับคำถามตอนต้นของพระคุณเจ้า ก็ไม่มีใครสามารถที่จะบอกได้ว่า สภาพธรรมเหล่านี้ จะเกิดเมื่อไร อย่างไร ในขณะที่เกิดแล้วตายไปแล้วเกิดอีก หรืออย่างไร

    ผู้ฟัง ผู้ที่ได้บรรลุวิปัสสนาญาณแล้ว มีความสมบูรณ์ของปัญญาตามขั้นของวิปัสสนาญาณแล้ว แล้วสิ้นชีวิต มาเกิด ข้ามภพข้ามชาติแล้ว ปัญญาของเขายังอยู่

    ท่านอาจารย์ เวลาที่สภาพธรรมปรากฏ ปัญญาของเขาก็ต้องต่อเจ้าค่ะ เมื่อสภาพธรรมปรากฏ คือ ลักษณะของนามรูปปริจเฉทญาณ ซึ่งเป็นขั้นแรก แต่ว่าปัญญาที่รู้เพิ่มขึ้น ลักษณะของนามธรรมรูปธรรมเมื่อปรากฏสภาพที่เป็นนามธรรม คนนั้นจะไม่สงสัยเลยว่า ธาตุรู้อย่างเดียว ซึ่งเป็นธาตุรู้ ไม่มีโลกมารวมกันต่อกันทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ให้เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันเป็นวัตถุ สัตว์ บุคคลได้ ธาตุรู้เฉพาะธาตุรู้แต่ละอย่าง ซึ่งไม่มีสิ่งใดปะปน เพราะเหตุว่าปรากฏทางมโนทวาร แล้วก็รูปในขณะนั้นที่จะปรากฏ ก็ต้องปรากฏด้วย เพราะว่าไม่ใช่มีแต่นามธรรมอย่างเดียว นามธรรมกำลังรู้รูปธรรม เพราะฉะนั้น ก็มีรูปปรากฏ นามปรากฏ สำหรับวิปัสสนาญาณแต่ละขั้น แล้วก็ขณะที่เป็นวิปัสสนาญาณขั้นแรก คือ ปรากฏโดยที่ปัญญาไม่ได้สามารถรู้อื่น นอกจากรู้ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม เท่านั้น แต่เมื่อปัญญาเพิ่มขึ้น เมื่อวิปัสสนาญาณเกิดอีก ลักษณะก็ต้องเหมือนเดิมของนามรูปปริจเฉทญาณ คือว่า นามธรรมก็ปรากฏโดยลักษณะที่เป็นธาตุรู้ เฉพาะอย่างทางมโนทวารเหมือนเดิม แต่ปัญญาเพิ่มขึ้นเป็นลำดับขั้น วิปัสสนาญาณไม่ต่างกัน เพราะปรากฏทางมโนทวาร ไม่ต่างกันเพราะว่ามีนามรูป ปรากฏลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตน แต่ปัญญาเพิ่มขึ้นเป็นวิปัสสนาญาณแต่ละขั้น

    เพราะฉะนั้น จะตายไป เวลาวิปัสสนญาณ เกิด ความรู้นั้นก็เพิ่มขึ้น เพราะว่าเขาเคยรู้ ไม่ได้สงสัยในลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมที่ปรากฏ แล้วรู้ด้วยว่า เป็นวิปัสสนาญาณ เพราะไม่ใช่อย่างธรรมดา

    ผู้ฟัง แสดงว่า วิปัสสนาญาณไม่ได้เสื่อม

    ท่านอาจารย์ วิปัสสนาญาณไม่เสื่อม

    ผู้ฟัง ถึงจะสิ้นชีวิตไปแล้วไปเกิดที่อื่น ถ้ามีโอกาสได้ฟังพระธรรม สติเกิดขึ้น

    ท่านอาจารย์ เมื่อสมควรที่วิปัสสนาญาณจะเกิด วิปัสสนาญาณก็เกิด แต่ว่าการที่วิปัสสนาญาณแต่ละลำดับขั้นจะเกิดขึ้นได้ ผู้นั้นจะรู้เลยว่า ถ้าไม่ใช่ปัญญาจริงๆ วิปัสสนาญาณขั้นต่อไปเกิดไม่ได้แน่นอน ก็ยังคงเป็นระดับนั้น เพราะว่าปัญญาไม่พร้อม หรือว่าความสมบูรณ์ของปัญญายังไม่มั่นคงพอที่จะประจักษ์ในขั้นต่อไป อย่างการเกิดดับของนามธรรม และรูปธรรม ที่กล่าวว่า เป็นโทษ เป็นภัย สำหรับภังคญาณ ภยญาณ อาทีนวญาณ เพราะเหตุว่าไม่ใช่สภาพที่น่าเพลิดเพลินยินดีพอใจเลย ไม่มีอะไรที่จะสั่น สะเทือนความยินดีติดข้องในโลกเท่ากับวิปัสสนาญาณที่ประจักษ์ การเกิดดับของนามธรรม และรูปธรรม ต้องถึงขั้นที่ประจักษ์แท้ๆ

    เพราะฉะนั้น ใครจะว่าเบื่อ ใครจะว่าบางครั้งเป็นอย่างนั้น บางครั้งเป็นอย่างนี้ ไม่มีทางที่จะเป็นไปได้เลย ถ้าไม่ใช่วิปัสสนาญาณจริงๆ แล้วยังไม่ถึงความเป็นพระอรหันต์ เพียงแต่วิปัสสนาญาณเพื่อที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมที่จะประจักษ์ลักษณะของพระนิพพานเท่านั้น แต่ปัญญาต้องสมบูรณ์จริงๆ เพราะแม้แต่ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมที่ปรากฏโดยสภาพที่ไม่เคยปรากฏ เพราะว่ามีแต่ตัวตน มีแต่เรา โลภะ กำลังเพลิดเพลินก็เรา เดี๋ยวนามนั้นรูปนี้ก็เกิดสลับ ไม่ใช่การประจักษ์ลักษณะที่เป็นธาตุล้วนๆ ซึ่งไม่มีตัวตน

    เรื่องของสภาพธรรมนี่เป็นเรื่องที่ ถ้าไม่ใช่ปัญญาจริงๆ ที่พร้อมจริงๆ แล้วจะมีความกลัว ไม่มีความต้องการที่จะเผชิญกับสภาพที่ไม่น่าพอใจถึงอย่างนั้น ไม่น่าพอใจที่นี่ หมายความว่าไม่น่าเพลิดเพลินติดข้อง ถึงจะถอนความยึดมั่นได้

    ผู้ฟัง ดิฉันยังมีความสงสัยเรื่องการรู้โดยไม่คิดว่า เพราะว่าวิปัสสนาญาณที่ ๒ ปัจจยปริคคหญาณ ก็คิดว่า แต่ยังไม่รู้ คิดไม่ออกโดยไม่คิด แต่เดี๋ยวนี้ก็สงสัย

    ท่านอาจารย์ เหมือนสงสัยว่า ถ้าไม่คิดก่อนว่า เป็นสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา แล้วจะรู้หรือว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา ถ้าปรากฏแล้วไม่รู้ ต้องแปลกมาก ถ้าปรากฏจริงๆ เห็นแล้วจะบอกว่าไม่เห็น ได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ วิปัสสนาญาณ คือ การประจักษ์แจ้ง แล้วจะบอกว่าไม่ประจักษ์แจ้งก็ไม่ได้

    ผู้ฟัง คงจะเป็นเฉพาะเรื่องของทางตา หู จมูก ลิ้น กาย

    ท่านอาจารย์ หมายความว่าอย่างไร

    ผู้ฟัง รู้โดยไม่ต้องคิด

    ท่านอาจารย์ แต่ไม่ใช่รู้ว่าเห็น ไม่ใช่รู้ว่าเห็นเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง แต่เวลาที่รู้ว่าเห็นเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ว่าคิดเอาว่า เห็นเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ไม่ใช่

    ผู้ฟัง คือลืมตาก็เห็นเลย

    ท่านอาจารย์ แล้วที่รู้ว่า เห็นเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ก็ไม่ใช่คิด ก็คิด ก็คิดเท่านั้นเอง จะรู้ได้อย่างไร ก็เพียงคิด เพราะว่ารู้คือรู้ คิดคือคิด ปัญญาไม่ใช่มีแต่เพียงขั้นคิด จะต้องอบรมจนกระทั่งถึงขั้นรู้ คือ ประจักษ์แจ้ง ขณะที่ประจักษ์แจ้งไม่ใช่คิด เห็น ประจักษ์ รู้

    ผู้ฟัง วิปัสสนาปัญญาแต่ละขั้น

    ท่านอาจารย์ เป็นการประจักษ์แจ้ง ไม่ใช่คิด คิดจะเป็นวิปัสสนาญาณไม่ได้ คิดคือคิด ไม่ใช่รู้ ไม่ใช่ประจักษ์ ถ้าคิดว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นวิปัสสนาญาณ คิดอย่างนี้หรือ เป็น

    ผู้ฟัง รู้โดยไม่ต้องคิด

    ท่านอาจารย์ ถ้าคิดก็คือคิด รู้ก็คือรู้

    ผู้ฟัง ลักษณะของสภาวะธรรมปรากฏเลย

    ท่านอาจารย์ เวลานี้สภาพธรรมปรากฏแล้วก็รู้ นี่ปัญญาอีกขั้น ๑ ไม่ใช่มีแต่ปัญญา เพียงขั้นคิด

    ผู้ฟัง เราก็รู้แต่ว่าประจักษ์ๆ แต่ว่าก็ยังไม่เคยประจักษ์

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ประจักษ์ไม่ใช่คิดแน่

    ผู้ฟัง ผมอยากจะทราบว่า อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา อันเดียวกับวิสุทธิไหม หรือต่างกันอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ขณะนั้นเป็นอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เพราะเหตุว่าสามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง วิสุทธิ คือ วิปัสสนาญาณแต่ละขั้นสติปัฏฐานยังไม่ใช่วิปัสสนาญาณ วิสุทธิ คือ วิปัสสนาญาณ คุณศุกลจะรีบไปบอกใครไหม

    ผู้ฟัง ดูเหมือนว่า อยากให้เขามีกำลังใจ ไม่ใช่ไปอวด

    ท่านอาจารย์ อย่างนี้ได้ไหม ถ้าคุณศุกลประจักษ์ และรู้ว่าคนอื่นยังไม่ได้ประจักษ์ คนอื่นยังไม่ได้เข้าใจ เพราะฉะนั้น ทางที่จะให้เขาประจักษ์ ต้องให้เขาเข้าใจเสียก่อน

    ผู้ฟัง ก็จะบอกหนทาง

    ท่านอาจารย์ ต้องให้เขา เกิดความเข้าใจ ไม่ใช่ไปบอกเขา

    ผู้ฟัง เขาต้องซักแน่

    ท่านอาจารย์ หมายความว่า เรารู้ว่า เขาไม่รู้อะไร เราก็ให้เขาเกิดความรู้สิ่งนั้น สิ่งนั้นขึ้น เมื่อเวลาเขาประจักษ์ คุณศุกลก็รู้ว่าเขาประจักษ์ แทนที่คุณศุกลไปบอกเขา ให้เขาเกิดความดีใจ เขาอาจจะหวัง เกิดความโลภ เกิดความสงสัย เกิดอะไรก็ได้ ซึ่งมันไม่ได้ประโยชน์เท่ากับให้เขาเกิดปัญญา ความรู้ของเขาเป็นลำดับขั้น แล้วถ้าเขาประจักษ์ คุณศุกลก็ดีใจที่เขาได้ประจักษ์ ไม่ใช่คุณศุกลดีใจแล้วรีบไปบอกเขา แต่คุณศุกลรู้ว่าเขาไม่รู้ ทำอย่างไรเขาถึงจะรู้ คุณศุกลก็ช่วยให้เขาเกิดความรู้ขึ้น จนกระทั่งเขาประจักษ์เมื่อไร คุณศุกลก็เป็นคนรู้ว่า เขาประจักษ์

    ผู้ฟัง การที่ไปช่วยให้เขารู้ นอกจากสิ่งที่ผมพูดไปเมื่อกี้นี้

    ท่านอาจารย์ คุณศุกลยังจะต้องไปบอกเขาอีกหรือว่า ผมประจักษ์มาแล้ว คุณต้องทำให้ได้อย่างผม หรืออะไรอย่างนี้

    ผู้ฟัง ไม่ใช่ทำให้ได้ หมายความว่า ไม่ควรสิ้นหวัง

    ท่านอาจารย์ ถึงเวลานี้ทุกคนก็ไม่ควรสิ้นหวัง ไม่ต้องมีใครประจักษ์หรือไม่มีใครประจักษ์ ทุกคนก็ไม่ควรสิ้นหวัง เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่ถึงได้ ไม่จำเป็นที่ต้องมีบุคคลหนึ่งบุคคลใดไปบอกเลย

    ผู้ฟัง ถ้าสมมติว่าสิ่งที่จะเป็นประโยชน์กับเขา เราไปแสดงหนทางอย่างนี้หรือ

    ท่านอาจารย์ ให้เขาเกิดความเข้าใจถูก เป็นความเข้าใจของเขาเอง ไม่ใช่ปัญญาของเรา แต่เป็นปัญญาของเขาที่ค่อยๆ เกิดขึ้น

    ผู้ฟัง เหตุปัจจัยที่จะทำให้เพิ่มพูนสติ และปัญญา นอกจากการฟังแล้วไม่มีอย่างอื่น ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ฟังแล้วต้องพิจารณาด้วย และต้องอบรมเจริญปัญญาขึ้นเรื่อยๆ

    ผู้ฟัง คำว่า “อบรมเจริญปัญญา” ขอคำอธิบายด้วย

    ท่านอาจารย์ ถ้าคุณศุกลฟังแล้วก็ผ่านไป ฟังอีกแล้วก็ผ่านไป ฟังอีกแล้วก็ผ่านไป เข้าใจอะไรบ้าง

    ผู้ฟัง อย่างนั้นเรียกว่าไม่ใช่ เป็นการอบรม

    ท่านอาจารย์ อยู่ที่ความเข้าใจว่า เข้าใจอะไรบ้าง จากการฟังครั้งหนึ่งๆ ที่เข้าใจสามารถที่จะต่อไปอีกได้ไหม เข้าใจเพิ่มขึ้นจากการไตร่ตรองพิจารณาจนกระทั่งเข้าใจขึ้น แล้วก็รู้ด้วยว่า ขณะไหนหลงลืมสติ ขณะไหนสติเกิด นี่คือการอบรมเป็นขั้นๆ

    ผู้ฟัง ไม่ต้องไปทำอย่างอื่น

    ท่านอาจารย์ จะไปทำอะไรอีก ก็สติเกิด ก็เหมือนได้ยินเกิด ใครทำได้ ถ้าคิดว่าทำได้ก็ผิด ถ้ารู้ว่า สติเกิดก็เหมือนได้ยินเกิด เหมือนโลภะเกิด เหมือนโทสะเกิด แต่นั่นเป็นสติที่เกิด

    ผู้ฟัง ทำไมรูปวิปัสสนาถึงขั้นสูงถึงขั้น ๓ ขั้น ๔ แล้วยังเกิดกิเลสได้

    ท่านอาจารย์ เป็นพระโสดาบันยังมีกิเลส เป็นพระสกทาคามียังมีกิเลส เป็นพระอนาคามีก็ยังมีกิเลส

    ผู้ฟัง ไม่ใช่ ที่ว่ากิเลส กิเลสนี้หมายความวิปัสสนูปกิเลสในวิปัสสนาญาณ

    ท่านอาจารย์ เพียงแต่ความพอใจเท่านั้น ก็เป็นวิปัสสนูปกิเลสแล้ว แล้วก็ยังไม่หมดความพอใจ

    ผู้ฟัง วิปัสสนูปกิเลส คืออะไร

    ท่านอาจารย์ กิเลสที่เกิดเมื่อวิปัสสนาญาณเกิด

    ผู้ฟัง เกิดหลังจากที่วิปัสสนาญาณเกิด

    ท่านอาจารย์ ใช่

    ผู้ฟัง แล้วทำไมถึงจะเป็นเหตุปัจจัยอย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ ก็กิเลสยังมี

    ผู้ฟัง แล้วที่ไม่เกิดได้ไหม ผู้ที่ได้วิปัสสนาญาณ แล้วไม่มีวิปัสสนูปกิเลส

    ท่านอาจารย์ ยาก เพราะเหตุว่าโลภะมีเป็นประจำ

    ผู้ฟัง แล้วก็ทุกคนจะต้องผ่าน

    ท่านอาจารย์ กิเลสเขาเกิดได้เรื่อยๆ

    ผู้ฟัง พอรู้แล้วก็อยากไปบอกคนอื่น

    ท่านอาจารย์ แต่จริงๆ แล้วท่านไม่คิดอย่างคุณศุกลที่จะไปบอกใคร เพียงแต่ความยินดีนิดหนึ่ง น้อยหนึ่งนั่นก็เป็นวิปัสสนูปกิเลส ไม่ต้อง ถึงกับไปบอกใคร เพราะว่าถึงกับไปบอกใครนั่นไม่ใช่วิปัสสนาญาณ แน่

    ผู้ฟัง จากการศึกษาก็จะเห็นว่า สิ่งที่ปรากฏทางตาไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล แล้วก็ไม่เป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นแต่เพียงลักษณะที่ว่าเป็นสีเท่านั้น เพราะฉะนั้น ถ้าจะพิจารณาก็ดูเหมือนว่า สีที่อาศัยสัณฐาน เพราะว่าถ้าไม่มีสัณฐาน จะกล่าวโดยเป็นเพียงลักษณะของสีเฉยๆ มันก็ดูว่า เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่เวลาที่มองไป จะเห็นว่า เช่น เราเห็นใบไม้ เห็นดอกไม้ก็คือเห็นสี หรือเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา มิฉะนั้น การที่เราจะระลึกในขณะที่เริ่มจะสังเกตทางตา มันก็ยังเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งตลอดเวลาเลย มันไม่ใช่เป็นสีอย่างที่เรากำลังพูดถึงเลย อันนี้เป็นเรื่องที่รู้สึกว่ายากมาก

    ท่านอาจารย์ อะไรยาก

    ผู้ฟัง ยากที่ว่าแม้จะกล่าวว่า ทางตามีเพียงสีเท่านั้น

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 98
    23 มี.ค. 2567