พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 847


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๘๔๗

    ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖


    ท่านอาจารย์ ทุกคนกำลังเห็น รู้ความจริงของเห็น หรือเปล่า ถ้าไม่รู้ขณะนั้นก็ไม่รู้ว่า กำลังติดข้องแล้วในสิ่งที่เห็น เพียงเท่านี้แล้วชีวิตทั้งวันทุกวันๆ มีเห็น มีได้ยินทั้งหมด เพราะฉะนั้นกล่าวได้เลยว่า ไม่ว่าจะมีการเห็น การได้ยิน การรู้เรื่องราวต่างๆ ตามมาด้วยโลภะ ถ้าขณะนั้นไม่ใช่โทสะ ไม่ใช่ความขุ่นเคืองใจ และไม่ใช่กุศล ถึงอย่างนี้เดี๋ยวนี้รู้ไหม เป็นเพียงแนวทางให้เข้าใจให้ถูกต้องว่า ชีวิตเต็มไปด้วยอกุศลมากแค่ไหนเพื่อที่จะได้ไม่ประมาท ใครมีโลภะน้อยบ้าง มีโลภะนั้นมีแน่ แล้วใครมีโลภะน้อยบ้าง ตอนนี้ทุกคนก็รู้ว่าไม่น้อยเลย

    อ.ธิดารัตน์ พูดถึงลักษณะขอโลภะ ท่านอาจารย์ใช้คำว่า ใครมีโลภน้อยบ้าง มีโลภะมาก แต่จริงๆ แล้วเวลาที่ท่านแสดงลักษณะของโลภะที่ละเอียดก็เหมือนกับโลภะน้อยๆ แต่จริงๆ เข้าใจว่า สะสมมาเยอะ แม้กระทั่งตัณหาซึ่งเกิดขึ้นแม้เพียงเล็กน้อยในขณะที่มีอารมณ์ปรากฏนิดเดียวแต่ไม่ได้หมายความว่า มีโลภะน้อยใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ น้อยหมายความว่า จำนวนของการสะสมทุกๆ ขณะทีละเล็กทีละน้อย

    อ.ธิดารัตน์ แต่ขณะที่เกิดมีทั้งที่เกิดแค่เพียงเบาบางกับเกิดที่มีกำลังเยอะ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจึงมีพระธรรมที่ทรงแสดงสภาพธรรมตามความเป็นจริง ตั้งแต่อนุสัยกิเลส นอนหลับอยู่มีแน่เพราะว่า พอตื่นมากิเลสก็มาแล้วเพราะไม่รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้นจึงมีกิเลสตั้งแต่อย่างละเอียด ไม่รู้เลยว่ามีแต่ว่าอยู่ในตชจิตทุกขณะตราบใดที่ยังไม่ดับไป และมีกิเลสที่เกิดตามทวารต่างๆ คือ ทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง ทางกายบ้าง ทางใจด้วยแต่ว่าไม่ได้รู้สึกเลย เช่น เดี๋ยวนี้ใครรู้บ้างว่า กิเลสเกิดหลังจากที่เห็นแล้ว เพราะฉะนั้นกิเลสประเภทนี้ใช้คำว่า "อาสวะ" หมายความว่า หมักดองสะสมอยู่ในจิต ทำไมใช้คำว่า หมักดองสะสมอยู่ในจิตเพราะเหตุว่า ทันทีที่จะเกิดสามารถเกิดเลยทันที อะไรๆ ก็ยับยั้งไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีการเห็นเลย จะชอบในสิ่งนั้นได้ไหม เพราะว่าสิ่งนั้นไม่ได้เกิดปรากฏให้เห็ฯว่ามี แต่ว่าเมื่อมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดแล้วติดข้องโดยไม่รู้เลย ทันทีที่เห็นดับไปไม่นานความติดข้องก็ได้ปัจจัยที่จะเกิดขึ้น และยินดีพอใจแม้ในสิ่งที่ปรากฏโดยยังไม่รู้เลยว่า สิ่งนั้นเป็นอะไร เป็นอกุศลประเภทอาสวะซึ่งพร้อมที่จะไหลไปเกิดขึ้นได้ทันทีที่มีโอกาสในสิ่งที่ปรากฏ

    เพราะฉะนั้นเมื่อมีการเห็นแล้วไม่รู้ตัวเลยว่าติดข้อง ต่อเมื่อใดรู้ว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด พอใจในรูปร่างสัณฐานอย่างนั้นเป็นสิ่งนั้น คุ้นเคยอย่างนั้นที่จะชอบ ยับยั้งได้ไหม ไม่ได้เลย เช่น เห็นดอกไม้ อาหารอร่อย ทุกสิ่งทุกอย่างที่น่าพอใจไม่มีใครยับยั้งได้เลย ขณะนั้นปรากฏลักษณะของโลภะเป็น "นิวรณธรรม" พัวพันจิตปรากฏไม่ทิ้งไป อยู่ในสิ่งที่ปรากฏนั้นแล้วแต่ว่า จะมากจะน้อย จะนานเท่าไหร่

    เพราะฉะนั้นบางคนสะสมมาที่จะดูภาพเขียน ชื่นชมในภาพเขียน เขาสามารถดูอยู่ได้นานอาจจะเป็นถึงครึ่งชั่วโมงก็ได้ แต่คนที่ไม่ได้สะสมมาพอเห็นก็ผ่านไป แสดงให้เห็นว่า ความพัวพัน นิวรณธรรม เกิดขึ้นมากน้อยเท่าไหร่ แต่ปรากฏให้รู้แล้วว่า ขณะนั้นเป็นความติดข้อง ถ้าติดข้องน้อยก็ดูเดี๋ยวเดียว ถ้าติดข้องมากๆ ก็นาน

    เพราะฉะนั้นขณะใดก็ตามที่พอจะเห็นลักษณะของความติดข้อง ขณะนั้นไม่ใช่อาสวะซึ่งติดตามทางตา หู จมูก ลิ้น กายโดยที่ไม่รู้สึกตัวเลยแต่เวลาที่มีความติดข้องในสิ่งหนึ่งสิ่งใด ลักษณะของความติดข้องอยู่ในสิ่งนั้นเป็นลักษณะของธรรมซึ่งพัวพันอยู่ในสิ่งนั้นจึงใช้คำว่า นิวรณธรรม

    ต้องไม่ลืมว่า เป็นสิ่งที่มีจริง และเป็นชีวิตประจำวัน ทุกคำที่ทรงแสดงเป็นวาจาสัจจะเพราะเหตุว่า จะรู้ความต่างกันของอกุศลธรรม เช่น อนุสย นอนเนื่องอยู่ในจิตซึ่งเราใช้คำว่า "อนุสัย" มีอยู่ตราบใดที่มัคคจิตยังไม่เกิดขึ้นดับกิเลสสภาพธรรมที่สะสมมาจึงนอนเนื่องพร้อมที่จะเกิด ขณะหลับไม่มีการที่อกุศลใดๆ จะเกิดในขณะที่หลับเลยแต่เมื่อตื่นมาแล้วหลังจากที่เห็นบ้าง ได้ยินบ้าง อกุศลจึงเกิด และทั้งวันก็เป็นอย่างนี้อกุศลจึงเพิ่มมากขึ้น จากอนุสัยเป็นอาสวะ และเป็นนิวรณธรรมซึ่งเราใช้คำว่า นิวรณ์ จริงๆ การศึกษาธรรมไม่ใช่ให้ไปรู้จักชื่อ เช่น "แล้วเดี๋ยวนี้เป็นอะไร" มานั่งคิด ไม่ต้องเลย ไม่ต้องบอกว่า กำลังเห็น หลังเห็นแล้วเป็นอาสวะ หรือว่าขณะนี้ชอบสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็นมากเป็นนิวรณ์แล้ว ก็ไม่ต้องไปใส่ชื่อเลยแต่ให้เข้าใจตามความเป็นจริงว่า เป็นธรรม

    จุดประสงค์ของการศึกษาไม่ใช่เพื่อรู้ชื่อ เรียกชื่อ แต่เพื่อให้เข้าใจถูกต้องในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แค่นี้รู้ หรือยัง ถ้าจะมีคำอีกมากมายในพระไตรปิฎก ลองคิดดูว่า เพียงเท่านี้ก็ยังไม่รู้ เพราะฉะนั้นถ้ายิ่งมีคำมากก็จะเพียรแต่จำคำโดยที่ไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ รู้ได้ไหมธรรมที่มีเดี๋ยวนี้รู้ได้ไหม รู้ได้เมื่อไหร่ ค่อยๆ เข้าใจขึ้น

    อ.ธิดารัตน์ ถ้ากล่าวถึงตัณหา หรือโลภะ เราก็กล่าวถึงอารมณ์ อารมณ์ที่โลภะติดข้องย่อมไม่พ้นจากรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ท่านแสดงว่า เหมือนกับจริงๆ ไม่ค่อยรู้สึกว่า ความหวัง หรือความติดข้องแค่ลูบนิดๆ เมื่อติดข้องแล้วจะเป็นปัจจัยให้โลภะที่มีกำลังเกิดขึ้นได้อย่างไร

    ท่านอาจารย์ เมื่อมีความติดข้อง ต้องการไหมที่จะได้ ถ้ายังไม่มีจะทำอย่างไร

    อ.ธิดารัตน์ แสวงหา

    ท่านอาจารย์ แสวงหาได้มาแล้วชื่นชมไหม

    อ.ธิดารัตน์ เป็นโลภะที่มีกำลังเพิ่มขึ้น

    ท่านอาจารย์ ใช้สอยบริโภคด้วยความพอใจ แล้วทิ้งไปเลย หรือเก็บไว้ สะสมต่อไป ถ้าจะพูดภาษาธรรม มีใครบ้างที่ไม่ติดข้องในทรัพย์สินเงินทอง พอไหมแต่ต้องไม่ลืม ถ้าทรัพย์สินเงินทองนั้นไม่สามารถจะนำมาซึ่งรูปที่จะปรากฏให้เห็นทางตา หรือว่าเสียง กลิ่น รส เครื่องอุปโภคบริโภคทั้งหลาย สิ่งนั้นไม่มีประโยชน์เลยเป็นเพียงกระดาษที่ไม่ได้นำมาซึ่งสิ่งที่ติดข้องทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจให้ถูกต้องด้วยว่า แท้ที่จริงแล้วปรารถนาอะไร ปรารถนาในทรัพย์สินเงินทอง ทรัพย์สมบัติมากมาย คือ เป็นความติดข้องในรูปในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะเท่านั้นสำหรับในภูมิที่มีรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่กระทบกาย เย็นร้อน อ่อนแข็ง

    เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจจริงๆ ว่า แท้ที่จริงแล้วติดข้องในอะไร เดี๋ยวนี้ติดข้องแล้ว และไม่ได้เพียงแค่ติดข้องยังแสวงหาจนกว่าจะได้มา ได้มาแล้วชื่นชมใช้สอยแล้วก็บไว้มากๆ เพื่อที่จะได้สิ่งอื่นซึ่งสามารถสละเพื่อได้สิ่งนั้น เพราะฉะนั้นทั้งหมดเป็นเรื่องของโลภะ แม้แต่การที่จะไปจัดหาสิ่งหนึ่งสิ่งใดราคาที่แพงมากแต่สละทรัพย์สินซึ่งเก็บไว้เพื่อที่จะไปซื้อ หรือไปได้สิ่งนั้นมา เพชรนิลจินดา หรือว่าเครื่องอุปโภคบริโภคทั้งหลายทั้งมวลเพราะเหตุว่า ถ้าไม่มีทรัพย์สินเงินทองก็ไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ เมื่อมีความปรารถนาไม่สิ้นสุดย่อมต้องมีเงินทองทรัพย์สินไม่สิ้นสุดเพื่อจะได้สิ่งที่ต้องการโดยไม่สิ้นสุด เป็นสิ่งที่พอมองเห็นว่า ชีวิตวันหนึ่งๆ ทั้งๆ ที่ได้ฟังธรรมแล้วก็ไม่สามารถที่จะมีตัวตนไปบังคับไม่ให้เกิดโลภะได้

    อ.ธิดารัตน์ คือที่ท่านแสดงแม้กระทั่งลักษณะของโลภะโดยชื่อต่างๆ มากมายแสดงว่า ตัวโลภะมีอาการที่มีความแตกต่างหลากหลาย และลึกซึ้งที่จะรู้ได้ยาก ท่านถึงแสดงโดยชื่อต่างๆ โดยอาการเหมือนกับลักษณะของอาการปรากฏของโลภะ

    ท่านอาจารย์ รู้ยากแน่นอนถ้าขาดการฟังพระธรรม ไม่มีอะไรเตือนเลยว่า เดี๋ยวนี้เป็นธรรม และแต่ละคำที่ใช้ เช่น โลภะ แสดงความหลากหลาย เย็นนี้คุณธิดารัตน์จะทำอะไร

    อ.ธิดารัตน์ ยังไม่ได้คิดเลย

    ท่านอาจารย์ ยังไม่ได้คิด คุณธีรพันธ์เย็นนี้จะทำอะไร จากมูลนิธิฯ จะไปไหน

    อ.ธีรพันธ์ กลับบ้าน

    ท่านอาจารย์ ใกล้เข้ามาหน่อย คือตอนเย็นยังคิดไม่ออกแต่ว่าใกล้ๆ จากมูลนิธิฯ แล้วจะไปไหน คุณวิชัยจากมูลนิธิฯ จะไปไหน

    อ.วิชัย กลับบ้าน

    ท่านอาจารย์ คุณอรรณพจากมูลนิธิฯ แล้วจะไปไหน

    อ.อรรณพ กลับบ้าน

    ท่านอาจารย์ ทุกคนกลับบ้านหมดเลย แม้แต่กำลังพูดว่า "จะกลับบ้าน" หวัง หรือเปล่า

    อ.ธิดารัตน์ หวังแล้ว

    ท่านอาจารย์ แค่นี้ เพราะฉะนั้นแม้แต่พยัญชนะว่า "อาสา" ความหวังก็เป็นลักษณะของโลภะ แค่ถามว่า "จะทำอะไร" หวัง หรือเปล่า

    อ.ธิดารัตน์ ก็ต้องหวังแล้ว

    ท่านอาจารย์ ที่จริงกำลังจะทำคือหวังแต่ไม่รู้ว่าเป็นโลภะ ไม่รู้ว่าเป็นธาตุ หรือธรรมชนิด ๑ เพียงคิดก็หวัง แค่เอื้อมมือไป หวังอะไร หรือเปล่า จะหยิบปากกา หวังอะไร หรือเปล่า เพราะฉะนั้นแม้แต่คำว่า หวังก็ไม่รู้ หวังตลอดเวลาแต่ไม่รู้เลยจนกว่าพระผู้มีพระภาคจะทรงแสดง แสดงให้เห็นว่า ความไม่รู้มากแค่ไหน เพราะฉะนั้นกว่าจะถึงขณะที่เพียงฟังว่า ขณะนี้สิ่งนี้เกิดปรากฏแล้วดับจะถึงการเป็นพระอรหันต์ได้ไหม จากการที่กว่าจากปุถุชนแล้วค่อยๆ มีความเข้าใจ มีการเริ่มรู้ลักษณะของสภาพธรรมทีละเล็กทีละน้อยจนกระทั่งปัญญาสมบูรณ์ถึงความเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันก็ยังไม่มีปัญญาถึงพระสกทาคามี

    เพราะฉะนั้นความละเอียดของการที่จะรู้ทั่วถึงในคำที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ไม่ใช่เพียงฟังแต่สิ่งนั้นกำลังมี และปัญญาสามารถที่จะเข้าใจถูกจนกระทั่งจากปุถุชนสู่ความเป็นพระโสดาบัน จากความเป็นพระโสดาบันถึงความเป็นพระสกทาคามี ยังไม่สามารถที่จะละความติดข้องในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะคือ เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหวที่ปรากฏที่กายได้ ยังไม่ถึงความเป็นพระอนาคามี เพราะฉะนั้นความละเอียดของการที่ปัญญาเพิ่มขึ้นรู้ทั่วขึ้นจึงตรงกับความหมายว่า ผู้ที่เป็นพระอรหันต์สามารถที่จะเข้าใจคำ และหนทางที่จะประพฤติปฏิบัติเพื่อละเพราะรู้จนกระทั่งดับกิเลสได้หมด

    อ.วิชัย กราบท่านอาจารย์ สำหรับผู้ที่อบรมเจริญปัญญาถ้าโดยฐานะของเพศบรรพชิตเป็นผู้ที่สละอาคารบ้านเรือน สละทรัพย์สิน สละญาติ ฯลฯ เพื่อที่จะบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ แสดงถึงการสละแต่ถ้าพูดถึงเพศของฆราวาส พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเรื่องของความติดข้องยินดี และทรงแสดงเรื่องของโทษของความติดข้องด้วย โดยปรกติในชีวิตประจำวันมีการแสดงหาในการดำรงชีวิตเป็นไป การกระทำต่างๆ ยังเป็นไปด้วยความพอใจอยู่ แต่พระผู้มีพระภาคยังทรงแสดงให้เห็นว่า สิ่งเหล่านั้นยังเป็นโทษ

    ท่านอาจารย์ แสดงความจริง หรือเปล่า

    อ.วิชัย เป็นความจริง

    ท่านอาจารย์ ห้ามไม่ให้ความจริงเกิดได้ไหม

    อ.วิชัย ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นต้องมีความเข้าใจถูกต้อง ความจริงป็นอย่างไรให้เข้าใจตามความเป็นจริงแต่ไม่ได้ห้ามเพราะห้ามไม่ได้ เมื่อรู้ว่าห้ามไม่ได้แล้วไปห้ามได้อย่างไรสำหรับผู้ที่เข้าใจจริงๆ

    อ.วิชัย คือมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่พูดถึงเพศ พูดถึงจิต เจตสิก รูป สภาพธรรมที่มีจริงๆ ไม่ว่าใครที่ไหนยังคงยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน หรือเปล่าถ้าไม่มีปัญญาที่จะเข้าใจถูกต้องในสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏ

    อ.วิชัย ยังมีอยู่

    ท่านอาจารย์ ไม่ว่าจะครองเพศบรรพชิต ห่มผ้ากาสายะ หรือว่าอยู่บ้าน หรือจะเป็นใครที่ไหนก็ตาม การไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม และการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดมีแน่นอนเพราะความไม่รู้เหมือนกันหมดเลย เพราะฉะนั้นพุทธบริษัทมี ๔ ไม่ใช่หมายความว่า จะเป็นพุทธบริษัทต่อเมื่ออุปสมบทบรรพชา แต่ไม่ว่าจะเป็นใครปัญญาไม่ใช่หญิง ไม่ใช่ชาย ไม่ใช่บรรพชิต ไม่ใช่คฤหัสถ์ ปัญญาเป็นความเห็นถูกความเข้าใจถูกในสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ

    อ.ธิดารัตน์ เชิญพี่อรวรรณ

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์คะที่ท่านอาจารย์ถามว่า กลับไปเย็นนี้ต้องกลับบ้าน หรือขณะนี้ที่เดินมาต้องมีความหวังที่จะถาม ท่านอาจารย์ชี้ให้เห็นถึงว่า จะรู้ หรือไม่ก็ตามโลภะ ความหวัง ความติดข้อง จะเกิดตลอดเวลา ทีนี้ถ้ารู้ตรงนี้แล้วยังไง

    ท่านอาจารย์ นี่แหละโลภะ ชัดเจน

    ผู้ฟัง หมายถึงท่านอาจารย์ชี้เลยว่า เดี๋ยวเดินมา จริงๆ ก่อนนอนถึงแม้จะเปิดธรรมฟังก็ต้องคิดทุกครั้งว่า พรุ่งนี้จะทำอะไร ก็รู้เลยว่า "อ๋อ คิดด้วยโลภะ"

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นปัญญาเกิด หรือเปล่า หลงลืม หรือเปล่าว่า อะไรขณะนั้นมีลักษณะอย่างไรที่เกิดแล้วปรากฏเพราะว่า ส่วนใหญ่จะเป็นเราก่อน กลับบ้านจะทำอะไร เราจะทำอะไร จะเปิดวิทยุ หรือจะฟังธรรม เมื่อไหร่ที่ไม่ต้องทำมีปัจจัยเกิดแน่ๆ รับรองได้ ไม่ต้องห่วงเลย ไม่ต้องทำอะไรอย่างนี้แหละ แล้วก็เกิดแล้ว เดี๋ยวเสียงเกิด เดี๋ยวแข็งเกิด เดี๋ยวคิดเกิด เกิดแล้วทั้งนั้นโดยไม่มีใครไปทำอะไร มิฉะนั้นยังคงเป็นเราคิด เราทำ เราเดิน เราเปิดวิทยุ

    เพราะฉะนั้นแม้แต่คำว่า ธรรม คำเดียวกว่าจะเป็นผู้ที่รอบรู้จริงๆ คือ เข้าใจถูกในลักษณะของสิ่งที่มี เช่น เมื่อตื่นขึ้นมาจะเปิดวิทยุไม่มีความเข้าใจในสภาพคิด เกิดแล้วคิด ไม่มีความเข้าใจในสภาพของสิ่งที่เกิดแล้วเลยใช่ไหม แข็งก็เกิดแล้ว เห็นก็เกิดแล้ว อะไรๆ ก็เกิดแล้ว ก็ไม่ได้รู้ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นเหมือนเปลี่ยนจากโลกเก่าซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องราวเพราะความเป็นเราเพราะไม่รู้ความจริงมาสู่โลกของความเข้าใจ ความเห็นถูก ความเข้าใจถูกในสิ่งที่มีจริงๆ ซึ่งไม่มีโอกาสจะเข้าใจเลยถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงแสดงพระธรรม

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์คะอันนั้น เป็นการเตือนว่า ใช้ชีวิตประจำวันด้วยการหลงลืมสติโดยที่ไม่รู้ว่า อกุศลไปตามโลภะแล้วแต่ถ้าฟังว่า เป็นธรรม และเป็นอนัตตาก็เหมือนใส่ใจในตัวลักษณะธรรมที่ปรากฏขณะนั้น

    ท่านอาจารย์ บังคับไม่ได้เลยแต่เพราะเข้าใจขึ้น หนทางเดียวคือ ค่อยๆ เข้าใจขึ้นคำเดิม ข้อความเดิม แต่ความเข้าใจเพิ่มขึ้น

    อ.ธิดารัตน์ อาจารย์อรรณพคะท่านแสดงตัณหาโดยความเป็นข่าย ข่ายเครื่องดักอย่างนี้

    อ.อรรณพ เหมือนนกโดนข่ายครอบไปไหนไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นสภาพธรรมอะไรที่คลุมครอบเอาไว้ พ้นได้ยาก ขณะนี้เหมือนข่าย พวกเราเหมือนนกที่ถูกข่ายคลุมเอาไว้ ข่ายขนาดใหญ่กว้างมาก และวิ่งวุ่นอยู่ในข่ายนี้ ถูกโลภะครอบไว้ หรือเปล่า หลังคาคือกิเลสก็มี หรือเป็นข่ายก็มีแล้วแต่จะทรงอุปมา แต่ในสภาพความจริงพ้นไปจากโลภะได้ไหม ยังไม่ได้เลย เต็มไปด้วยโลภะที่ครอบครองอยู่ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หลับก็เป็นภวังค์โลภะยังไม่มี ต่อมาส่วนใหญ่เป็นอะไร วันนี้จะทำอะไร โลภะครอบแล้ว ข่ายมาดักเลย

    ตั้งแต่ปฏิสนธิปฏิสนธิจิตยังไม่มีโลภะแต่มีเชื้อของโลภะอยู่ แต่ยังไม่มีโลภะเกิดกับปฏิสนธิจิต ภวังค์จิตก็ยังไม่มีโลภะเพราะเป็นผลของกรรมเหมือนกัน กรรมเดียวกับที่ปฏิสนธิแต่ทำหน้าที่ดำรงภพชาติ วิถีจิตวิถีแรกโลภะครอบเลย ไม่พ้นจากข่าย ทุกบุคคลที่เกิดมาเมื่อเกิดมามีจิต เจตสิก วิถีแรกจะต้องมีโลภะครอบแล้ว และหลังจากนั้นส่วนใหญ่มีโลภครอบทั้งนั้นโดยที่โลภะเกิดเลย หรือว่าแม้โทสะก็เพราะว่ามีโลภะ ถูกไหมเพราะว่า มีโลภะความติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เมื่อไม่ได้รับรูป เสียง กลิ่น รสที่น่าพอใจโทสะก็เกิดอีกแล้ว

    เพราะฉะนั้นก็มาจากข่ายหลักๆ คือตัณหา ทิฏฐิก็เป็นข่ายเหมือนกันซึ่งอาศัยโลภะเกิดเช่นกัน เป็นมูล เป็นข่าย และเป็นมูลให้อกุศลทั้งหลายช่วยกันครอบ อกุศลทั้งหลายก็ครอบทั้งนั้น เมื่อสักครู่ท่านอาจารย์กล่าวว่า "เมื่อโลภะเกิดแล้วดับไปแล้วอย่างไรต่อ" อย่างไรต่อคือ ตามการสะสมของแต่ละบุคคลที่ต่างกัน ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาธรรมเมื่อโลภะเกิดแล้วดับไปส่วนใหญ่เป็นอกุศลต่อไป เป็นโลภะก็ได้ หรือเป็นโทสะ เห็น ได้ยิน แล้วโลภะ โทสะ โมหะเกิดส่วนใหญ่ ถ้าได้ฟังธรรมบ้างเป็นปัจจัยที่เมื่อโลภะเกิดแล้วดับปัญญาย่อมเกิดได้ถ้ามีเหตุปัจจัย แต่เหตุปัจจัยให้โลภะเกิดมีเต็มเปี่ยม ส่วนเหตุปัจจัยที่ปัญญาจะเกิดก็แล้วแต่การสะสมของแต่ละบุคคล แต่ส่วนใหญ่เมื่อโลภะเกิดแล้วโลภะย่อมต้องมีอารมณ์ อารมณ์ของโลภะมีทั้งปรมัตถ์ และบัญญัติ ถ้าไม่มีปรมัตถ์ย่อมไม่มีบัญญัติ

    เพราะฉะนั้นนิมิตบัญญัติซึ่งโลภะติดมากเพราะมีตัวปรมัตถ์ด้วย เพราะฉะนั้นโลภะก็ติดไป บางทีไม่ว่าจะติดปรมัตถ์ หรือติดบัญญัติ ติดสัตว์ บุคคล หรือว่าติดมากๆ เข้าจนเป็นความยึดมั่นถือมั่นถึงมีคำว่า "อุปาทาน" โลภะเป็นตัณหา โลภะเป็นสภาพธรรมพระองค์ทรงใช้คำว่า โลภเจตสิก คือ กล่าวถึงตัวธรรมซึ่งเป็นตัวติดข้องคือ โลภเจตสิกแต่มีคำว่า ตัณหาคือ ความอยากอยากมากๆ เข้าคือ โลภะที่ค่อยๆ เกิดคือ ตัณหา จนเป็นอุปาทานขึ้นมา กามุปาทาน ซึ่งอาจจะยึดมั่นถือมั่นในเรื่องที่ชอบ อาจจะเป็นแนวคิดที่ชอบก็ยึดมั่นถือมั่นในแนวคิดนั้นด้วยความติดข้องอย่างมากมายจนเป็นความยึดมั่นด้วยความพอใจจนมากเข้าๆ แล้วเป็นปัจจัยให้เกิดโทสะได้อย่างมาก

    อ.ธิดารัตน์ ท่านอาจารย์คะนอกจากแสดงว่า เป็นเชือกที่ผูกแล้วเหมือนกับเป็นบ่วงของมาร และเป็นเบ็ดของมารด้วย


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 193
    23 ธ.ค. 2566

    ซีดีแนะนำ